ไปรษณีย์ไทย – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Thu, 07 Sep 2023 06:28:34 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ไปรษณีย์ไทย เผยกลยุทธ์ เปลี่ยนภาพจำของลูกค้าให้ดีกว่าเดิม เพิ่มคุณภาพการส่งสินค้า เข้าถึงบริการง่าย https://positioningmag.com/1443670 Thu, 07 Sep 2023 05:37:16 +0000 https://positioningmag.com/?p=1443670 ไปรษณีย์ไทย ครบรอบ 140 ปี ได้เปิดเผยกลยุทธ์ที่จะเจาะกลุ่มลูกค้าเพิ่มมากขึ้น โดยเน้นไปยังเรื่องมุมมองของผู้บริโภค ผ่านคุณภาพการให่้บริการ รวมถึงบริการที่เข้าถึงง่าย และทำมากกว่าที่ผู้บริโภคคาดหวังเพื่อที่จะเปลี่ยนมุมมอง

ดร.ดนันท์ สุภัทรพันธุ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด ได้กล่าวถึงการฉลองครบรอบ 140 ปี ว่าจากในอดีตไปรษณีย์ไทยเปรียบเหมือนกับคนส่งสาร แต่ปัจจุบันกลายเป็นส่งสินค้า เขามองว่าทุกอย่างเปลี่ยนแปลงไว และก้าวกระโดดมาก ทำให้พฤติกรรมคนเปลี่ยนไป เช่น จากการส่งข้อความแบบ Physical เปลี่ยนเป็นข้อความแบบดิจิทัล

สิ่งที่เกิดขึ้นต้องทำให้ไปรษณีย์ไทยก็ต้องปรับเปลี่ยนเช่นกัน เขาได้ยกตัวอย่างแม้แต่การแพร่ระบาดของโควิดก็เปลี่ยนพฤติกรรม ขณะเดียวกันคู่แข่งอย่างบริษัทเทคโนโลยีก็หันมาทำธุรกิจ Logistics เช่นกัน ส่งผลทำให้เกิดการแข่งขันด้านราคา

สำหรับกลยุทธ์ของไปรษณีย์ไทยล่าสุดคือ 1-4-0 โดย 1 คือ การเป็นที่หนึ่งเรื่องคุณภาพ 4 คือ เส้นทางขนส่งทางรถยนต์ ทางรถไฟ ทางอากาศ และทางดิจิทัล รวมถึง 0 คือ การลดข้อร้องเรียนให้เป็นศูนย์ หรือแก้ปัญหาให้ผู้ใช้บริการอย่างรวดเร็วที่สุด และ Net Zero เป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ในปี 2065

ดร.ดนันท์ สุภัทรพันธุ์ – กรรมการผู้จัดการใหญ่บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด (ภาพจากบริษัท)

ขณะเดียวกันสิ่งที่จะได้เห็นบริการจากไปรษณีย์ไทยหลังจากนี้ เช่น 

  • บริการ Prompt Post ที่จะเปลี่ยนเอกสารทุกรูปแบบสู่เอกสารอิเล็กทรอนิกส์ การแปลงระบบจ่าหน้าหรือที่อยู่ในรูปแบบดิจิทัลผ่านระบบ Digital Post ID การให้บริการในรูปแบบ Postman as a service
  • บริการและโซลูชันผ่าน Post Family ที่ทำให้ผู้ประกอบการสามารถใช้บริการของไปรษณีย์ไทยขนส่งสินค้าที่หลากหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็นสินค้าขนาดใหญ่ สินค้าที่ใช้ความยุ่งยากในการส่ง สินค้าที่ส่งยาก หรือแม้แต่ส่งสินค้าที่ควบคุมความเย็นก็ทำได้ และจะมีสิทธิพิเศษต่างๆ เพิ่มเติมให้กับลูกค้ากลุ่มนี้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

ปัจจุบัน ลูกค้าที่ใช้บริการของ Post Family เป็นประจำมีมากถึง 600,000 รายในครึ่งปีแรก และดนันท์ตั้งเป้าที่จะมีลูกค้าขาประจำที่ใช้บริการดังกล่าวมากถึง 1 ล้านรายหลังจากนี้

กรรมการผู้จัดการใหญ่ฯ ไปรษณีย์ไทย ยังกล่าวถึงการปรับปรุงเรื่องของการคัดแยกสินค้าที่ใช้ระบบอัตโนมัติเข้ามาเพิ่มขึ้น เขาชี้ว่าการที่สินค้าส่วนใหญ่เสียหายเพราะว่าพัสดุผ่านมือคนจำนวนมาก ฉะนั้นการลงทุนในระบบคัดแยกสินค้านั้นช่วยเพิ่มคุณภาพในการขนส่งด้วย

ทางด้านผลประกอบการในครึ่งปีแรกของปี 2023 นั้น ไปรษณีย์ไทยมีรายได้รวม 10,833.31 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา 12.67% และมีกำไรสุทธิทั้งสิ้น 157.72 ล้านบาท

บริการ Digital Post ID คาดว่าจะได้เห็นในหลังจากนี้ (ภาพจากไปรษณีย์ไทย)

ถ้าแยกสัดส่วนรายได้ของไปรษณีย์ไทยในครึ่งปีแรก กลุ่มบริการขนส่งและโลจิสติกส์ครองสัดส่วนมากถึง 44.11% กลุ่มบริการไปรษณียภัณฑ์ 36.04% กลุ่มบริการระหว่างประเทศ 13.60% กลุ่มบริการค้าปลีก 2.35% กลุ่มบริการการเงินและบริการอื่นๆ 2.84% และรายได้อื่นๆ 1.06% ตามลำดับ

ดนันท์ชี้ว่า ไปรษณีย์ไทยเปลี่ยนแปลงไปมาก ตอนนี้มีขอบข่ายของการให้บริการมากกว่านั้น และองค์กรมีการปรับโครงสร้างภายในหลายอย่าง จากผลการขาดทุนในปี 2021 และปี 2022 ซึ่งมีผลขาดทุน 1,730 ล้านบาท และขาดทุน 3,018 ล้านบาท ตามลำดับ

เขาชี้ว่าการปรับปรุงระบบหลังบ้านของไปรษณีย์ไทย 2 ปีที่ผ่านมา ยังส่งผลให้ Gross Profit Margin ดีขึ้นกว่าเดิม และยังลดค่าใช้จ่ายอื่นๆ ลงมาได้ด้วย

ขณะที่กลยุทธ์การตลาดครบรอบ 140 ปี ไปรษณีย์ไทยได้ใช้กลยุทธ์เรื่องของความสัมพันธ์ที่มีมายาวนาน นอกจากนี้ผู้บริหารของไปรษณีย์ไทยยังกล่าวว่าบริษัทได้โฟกัสมากคือการนำระบบการจัดการลูกค้าสัมพันธ์ (CRM) เพื่อทำความรู้จักลูกค้ามากขึ้น และมองว่าบริษัทมีข้อมูลมหาศาลจากเครือข่ายของบุรุษไปรษณีย์

iPost บริการจุดส่งไปรษณีย์ (ภาพจากไปรษณีย์ไทย)

นอกจากนี้ ดนันท์ ยังกล่าวว่าไปรษณีย์ไทยจะต้องเปลี่ยนมุมมอง (Perception) ของผู้บริโภคว่าเข้าถึงง่าย แตกต่างกับราชการ แต่ต้องทำตัวเหมือนเอกชน และทำให้มากกว่าที่ผู้บริโภคคาดหวังในเรื่องของบริการ รวมถึงต้องเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กรด้วย

ท่ามกลางการแข่งขันดุเดือดของตลาดขนส่งพัสดุ กรรมการผู้จัดการใหญ่ฯ ไปรษณีย์ไทย มองว่าถึงระยะเวลาหนึ่งจะมีผู้เล่นควบรวมกิจการกัน เนื่องจากจำนวนผู้เล่นจะต้องเหมาะสมกับขนาดของตลาด ขณะที่เรื่องสงครามราคา เขามองถึงเรื่องคุณภาพการให้บริการมากกว่า เพราะในที่สุดถ้าหากสงครามราคาเกิดขึ้นมาก ผู้บริโภคอาจได้รับผลกระทบ จากในช่วงที่ผ่านมา ผู้เล่นบางรายมีข่าวที่ผู้บริโภคต้องไปหาพัสดุของตัวเองที่ศูนย์คัดแยก เป็นต้น

ดนันท์ ยังกล่าวทิ้งท้ายว่าอุตสาหกรรมขนส่งพัสดุยังต้องการให้มีหน่วยงานกำกับดูแลเข้ามาดูแลการแข่งขัน เนื่องจากกังวลถึงการทุ่มตลาดจากผู้เล่นต่างประเทศ ซึ่งส่งผลต่อคุณภาพการบริการ และยังทำให้ผู้บริโภคได้รับผลกระทบ และเขายังมองว่าไปรษณีย์ไทยเป็นโครงสร้างพื้นฐานซึ่งเกี่ยวกับความมั่นคงของประเทศ

]]>
1443670
ถาม-ตอบ “ดร.ดนันท์” แม่ทัพ “ไปรษณีย์ไทย” กับน่านน้ำใหม่ที่จะใช้เครือข่าย “พี่ไปรฯ” ทำธุรกิจ https://positioningmag.com/1413815 Fri, 23 Dec 2022 08:58:34 +0000 https://positioningmag.com/?p=1413815 ปี 2564 ที่ผ่านมาถือว่าโหดร้ายกับ “ไปรษณีย์ไทย” เป็นอย่างมาก จากผลประกอบการที่ขาดทุน ขณะที่ปี 2565 นี้ “ดร.ดนันท์ สุภัทรพันธุ์” แย้มๆ ว่าผลรวมทั้งปียัง ‘หนัก’ แต่เห็นสัญญาณที่ดีขึ้นในช่วง 2 เดือนสุดท้ายนี้หลังไปรษณีย์ไทยมีการปรับตัวชิงส่วนแบ่งตลาดสำเร็จ และองค์กรจะลุยต่อในปี 2566 เริ่มหา “น่านน้ำใหม่” ธุรกิจใหม่ที่ต่อยอดได้จากเครือข่าย “บุรุษไปรษณีย์” ที่เข้มแข็ง

สมรภูมิขนส่งพัสดุนั้นเป็นพื้นที่ที่ดุเดือดอย่างยิ่ง มองไปในตลาดมีทั้งสีเหลือง ส้ม แดง แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซก็มีบริษัทขนส่งของตนเอง ยังไม่นับฟลีทของบริษัทกระจายสินค้าต่างๆ ที่หันมาเปิดรับขนส่งให้รายย่อยเพิ่มอีก ตลาดแบบสุดยอด ‘เรดโอเชียน’ ท้าทายการดำเนินงานของ “ไปรษณีย์ไทย” มาตลอด จนปี 2564 เป็นปีที่องค์กรเห็นผลขาดทุน

ขณะที่ปี 2565 นั้น “ดร.ดนันท์ สุภัทรพันธุ์” กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด คาดว่าปีนี้ไปรษณีย์ไทยน่าจะมีการนำจ่ายพัสดุเฉลี่ย 4.5-5 ล้านชิ้นต่อวัน หรือคิดเป็นรายได้ประมาณ 20,000 ล้านบาทต่อปี เทียบกับในอดีตแล้ว ไปรษณีย์ไทยเคยนำส่งพัสดุได้ถึง 8 ล้านชิ้นต่อวันเมื่อปี 2562

เหตุที่ปีนี้จะค่อนข้างหนักเพราะนอกจากคู่แข่งเยอะมากแล้ว ยังเป็นปีที่กำลังซื้อในตลาดลดลง ผู้บริโภคสั่งสินค้าน้อยลงก็ทำให้ ‘เค้ก’ ของจำนวนชิ้นพัสดุลดลงตาม

ไปรษณีย์ไทย
“ดร.ดนันท์ สุภัทรพันธุ์” กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด

อย่างไรก็ตาม ไปรษณีย์ไทยไม่ได้นิ่งนอนใจ แต่มีการปรับตัวสู้ไปหลายด้านในช่วงปี 2564-65 เช่น

  • ขยายบริการ “Pick-up Service” รับพัสดุถึงบ้านครอบคลุม “ทั่วประเทศ” นัดหมายได้ผ่านช่องทาง LINE
  • ปรับให้ ปณ. ทุกแห่งในกรุงเทพฯ และ ปณ. จังหวัดทุกจังหวัด ทำงานทุกวัน “ไม่มีวันหยุด” และ ปณ. ทั่วประเทศมีการ “ขยายเวลาปิดทำการ” ปิดเร็วที่สุดคือ 19:00 น. และบางแห่งขยายไปถึง 24:00 น.
  • ปรับมาตัดรอบขนส่งรอบสุดท้ายเวลา 20:00 น. เพื่อตอบโจทย์พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ซึ่งมักจะขายและแพ็กสินค้าในช่วงเย็น ให้สามารถมาส่งพัสดุทันตัดรอบในวันเดียวกัน

ไปรษณีย์ไทย

หากไม่นับเรื่องราคา ที่ผ่านมาไปรษณีย์ไทยมีจุดอ่อนคือเรื่องวันหยุดและเวลาทำการที่ปิดเร็วตามเวลาราชการ รวมถึงคู่แข่งรุกหนักด้วยบริการรับพัสดุถึงบ้าน/หน้าร้าน ทำให้การปรับของไปรษณีย์ไทยมาสู้ในจุดที่เคยเสียเปรียบ จึงทำให้ดึงลูกค้ากลุ่มอีคอมเมิร์ซได้ดีขึ้น

เมื่อประกอบกับชื่อเสียงของไปรษณีย์ไทยที่ยังมีคุณภาพดีกว่าในแง่ของการบริการ ส่งจริงไม่ทิ้งงาน ไม่ค้างจ่าย และรู้จักชุมชนอย่างละเอียด ส่งได้ถึงมือผู้รับตัวจริง ทำให้ลูกค้ากลับมาใช้งาน โดยดร.ดนันท์ระบุว่าปีนี้ไปรษณีย์ไทยสามารถดึง ‘ลูกค้าเก่า’ กลับมาได้ถึง 40%

“ไตรมาส 4 น่าจะเป็นช่วงที่ดีที่สุดของเราในปีนี้ โดยเฉพาะเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคมเราดีขึ้นชัดเจน จะเป็นไตรมาสที่ขาดทุนน้อยลงแน่นอน” ดร.ดนันท์กล่าว “เชื่อว่าเป็นเพราะบริการของเราดีขึ้น ขณะที่คู่แข่งอาจจะเพลี่ยงพล้ำด้านคุณภาพงาน”

 

2566 เสริมแกร่งธุรกิจหลัก และ สำรวจน่านน้ำใหม่

สำหรับปี 2566 จะเกิดอะไรขึ้นบ้าง? ดร.ดนันท์กล่าวว่า ไปรษณีย์ไทย วางกลยุทธ์การทำงานออกเป็น 2 แกนคือ Fit the Core Business & Explore New Ocean นั่นคือจะมีทั้งการเสริมแกร่งธุรกิจหลัก และ การสำรวจหาน่านน้ำธุรกิจใหม่

ธุรกิจหลักของไปรษณีย์ไทยหมายถึงงานขนส่งไปรษณียภัณฑ์ทั้งหลาย ซึ่งปัจจุบันรายได้นั้นแบ่งครึ่งๆ มาจาก B2B 50% และ B2C 50%

การจะหารายได้เพิ่ม ชิงส่วนแบ่งมาให้ได้ เท่ากับไปรษณีย์ไทยต้องปรับปรุง “งานบริการ” ให้ดียิ่งขึ้นไปอีก และปรับระบบ “งานขาย” ให้สอดคล้องกับตลาดปัจจุบัน

ในด้านการบริการ After Sales Service ไปรษณีย์ไทยมุ่งเป้าจะเป็น “Zero Complain Company” เน้นด้านคุณภาพการบริการ ให้มีข้อร้องเรียนน้อยที่สุด ลดพัสดุค้างจ่าย ลดจำนวนการเคลมพัสดุเสียหายลงอีก จากปัจจุบันมียอดเคลมราว 6,000 ชิ้นต่อปี

“เป้าหมายนี้ไม่ใช่ไม่ให้มีใครบ่นเลย แต่ถ้ามีการบ่นเกิดขึ้น เราต้องเข้าไปแก้ปัญหาได้ทันที ไม่ทิ้งลูกค้า โทรฯ มาต้องรับสาย มอนิเตอร์การบ่นทุกช่องทาง และต้องไปแก้ไขให้” ดร.ดนันท์กล่าว

ไปรษณีย์ไทย

ด้านงานขายนั้น “เซลส์” ไปรษณีย์ไทยทั้งประเทศจะถูกปรับโยกย้ายตามพอร์ตโฟลิโอที่เหมาะกับตลาด เพราะงานปัจจุบันมีทั้งกลุ่มองค์กรขนาดใหญ่ (Enterprise) จนถึงลูกค้าอีคอมเมิร์ซรายใหญ่-รายย่อย รวมถึงเซลส์จะต้องใช้ดาต้าให้เป็นประโยชน์ในการติดต่อหาลูกค้าเก่ามากขึ้น ทำความเข้าใจว่าทำไมลูกค้าจึงไม่เลือก และทำอย่างไรให้ลูกค้ากลับมา

 

ธุรกิจใหม่จากเครือข่าย ‘พี่ไปรฯ’

แกนที่สองคือการหาน่านน้ำใหม่นั้น จะเห็นว่าไปรษณีย์ไทยเริ่มต้นมาแล้วระยะหนึ่ง กับการเปิดธุรกิจค้าปลีก thailandpostmart.com ขายสินค้าของดีท้องถิ่น หรือการสร้างบริการ Post Next บริการด้านดิจิทัล เช่น บริการ e-Timestamp รับรองเวลาอิเล็กทรอนิกส์

ดร.ดนันท์มองว่า การหาน่านน้ำใหม่เป็นสิ่งที่ต้องเดินต่อ โดยต่อยอดมาจากจุดแข็งที่ไปรษณีย์ไทยมีนั่นคือ “บุรุษไปรษณีย์” ที่มีอยู่กว่า 20,000 คนทั่วประเทศ และมีการเดินทางนำจ่ายพัสดุรวมวันละกว่า 1 ล้านหลังคาเรือน

เครือข่ายเจ้าหน้าที่ที่ลงลึกถึงรากฝอยชุมชนขนาดนี้ ในปีหน้าจะได้เห็นไปรษณีย์ไทยนำมาใช้ให้บริการใหม่ในด้าน ‘Market Research’ ทำวิจัยด้านการตลาด รวมถึงจะเริ่มเปิดให้แบรนด์เป็นพันธมิตรในการขายสินค้าผ่านเครือข่ายบุรุษไปรษณีย์

“ยกตัวอย่าง สมมติว่าสินค้านั้นเป็นอาหารสุนัข บุรุษไปรษณีย์เรารู้อยู่แล้วว่าบ้านไหนในชุมชนที่เลี้ยงสุนัข และดูแลสัตว์เลี้ยงอย่างดีด้วย น่าจะสนใจซื้ออาหารสุนัข บุรุษไปรษณีย์ก็สามารถนำเสนอได้ตรงเป้าหมาย” ดร.ดนันท์กล่าว

จะไปคาดหวังให้จำนวนงานกลับไปถึง 8 ล้านชิ้นต่อวันเหมือนเดิมไม่ได้ ไม่ควรคาดหวังอย่างนั้น เราควรมาหาทางทำตลาดที่เป็นของเราเองให้ได้มากกว่า อย่างบุรุษไปรษณีย์นี้จะเป็นกุญแจหลักในการต่อสู้ของเรา

การหาน่านน้ำใหม่นี้จะทำให้สถานการณ์ทำรายได้และกำไรของไปรษณีย์ไทยมั่นคงขึ้นในอนาคต “จะไปคาดหวังให้จำนวนงานกลับไปถึง 8 ล้านชิ้นต่อวันเหมือนเดิมไม่ได้ ไม่ควรคาดหวังอย่างนั้น เราควรมาหาทางทำตลาดที่เป็นของเราเองให้ได้มากกว่า อย่างบุรุษไปรษณีย์นี้จะเป็นกุญแจหลักในการต่อสู้ของเรา”

ที่น่าสนใจอีกส่วนคือ เมื่อเป้าหมายขององค์กรขยับ “โครงสร้างบุคลากร” ก็ขยับเช่นกัน โดยปีหน้าเจ้าหน้าที่ประจำ ปณ. จะได้ทำงานตำแหน่งอื่นที่เป็นการพัฒนาองค์กร เช่น เจ้าหน้าที่ Pick-up Service, เจ้าหน้าที่ดูแลบริการหลังการขาย และพนักงานไปรษณีย์ไทยรุ่นใหม่ที่รับเข้ามาก็จะทำหน้าที่ที่ช่วยขับเคลื่อนไปตามเป้าเช่นกัน เช่น งานด้านดิจิทัล จะเปิดรับมากขึ้นในช่วง 5 ปีข้างหน้า

]]>
1413815
‘Kerry-Flash’ สบโอกาส ‘ไปรษณีย์’ ขึ้นราคา จัดโปร ‘ดัมพ์ค่าส่ง’ หวังโกยลูกค้าเพิ่มมาร์เก็ตแชร์ https://positioningmag.com/1392782 Fri, 15 Jul 2022 09:24:18 +0000 https://positioningmag.com/?p=1392782 หากพูดถึง ‘ราคาน้ำมัน’ แม้จะเริ่มปรับลดลงมาบ้างแล้ว แต่ถ้าเทียบกับปี 2020 ที่เกิดการระบาดของ COVID-19 ราคาน้ำมันในปัจจุบันก็แพงขึ้นกว่าเดิมถึง เท่าตัว แน่นอนว่าหลายคนต้องคิดว่าด้วยต้นทุนที่สูงขึ้น ธุรกิจที่ต้องใช้น้ำมันเยอะ ๆ อย่าง ‘โลจิสติกส์’ ต้องได้รับผลกระทบแน่นอน โดยผู้เล่นรายแรกที่ออกมาปรับขึ้นราคาก็คือ ไปรษณีย์ไทย แต่ที่น่าสนใจคือ คู่แข่งได้ใช้โอกาสนี้ดัมพ์ราคาลงอีก โดยไม่แคร์ถึงต้นทุนที่สูงเลยทีเดียว

ไปรษณีย์ไทยขึ้นราคาในรอบ 18 ปี

ย้อนไปช่วงเดือนเมษายนที่ผ่านมา คณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบที่จะปรับอัตราค่าบริการ โดยได้อนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดอัตราไปรษณียากรและค่าธรรมเนียมอื่น พ.ศ. …. ตามที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดศ.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้วดำเนินการต่อไปได้ เนื่องจากในช่วง 18 ปีที่ผ่านา บริษัทไปรษณีย์ไทย จำกัด (ปณท) ไม่ได้ขอปรับอัตราราคาค่าบริการ

โดยเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม คือวันแรกของการบังคับใช้ โดย จดหมายประเภทซอง แม้จะเริ่มต้น 3 บาทเช่นเดิม แต่มีการปรับราคาเพิ่มเติมตามแต่ละน้ำหนัก เช่น จาก 10-20 กรัม 3 บาทก็ปรับเป็น 5 บาท, น้ำหนัก 20-100 กรัม จาก 5 บาทเป็น 10 บาท เป็นต้น ส่วน จดหมายประเภทหีบห่อ น้ำหนักไม่เกิน 500 กรัม ราคาอยู่ที่ 30 บาท และมีอัตราค่าบริการสูงสุด 55 บาท สำหรับพิกัดน้ำหนักเกิน 1,000 กรัม แต่ไม่เกิน 2,000 กรัม

แน่นอนว่าที่สาเหตุของไปรษณีย์ไทยต้องปรับราคาเป็นเพราะ ต้นทุน ที่เพิ่มขึ้นตามอัตราเงินเฟ้อ ขณะที่กิจการไปรษณีย์ในปัจจุบันมีแนวโน้มประสบปัญหาขาดทุน โดยปีที่ผ่านมาแม้จะมีรายได้ถึง 22,000 ล้านบาท แต่ก็ ขาดทุนถึง 1,600 ล้านบาท ดังนั้น จึงไม่น่าแปลกใจที่บริษัทจำต้องปรับราคาค่าส่ง

KerryFlash สบโอกาสดัมพ์ราคา

คงไม่ต้องบอกว่า ตลาดขนส่งพัสดุไทย (Parcel Delivery) นั้นแข่งขันรุนแรงแค่ไหน เพราะมีคู่แข่งจากต่างชาติตบเท้าเข้ามาจำนวนมาก ที่เห็นจะมี Kerry, Flash, J&T, Best Express, Ninja Van เป็นต้น โดยในช่วงปี 2019-2021 ตลาดสามารถเติบโตได้ถึง 38% โดยในปี 2021 ตลาดมีมูลค่ากว่า 91,000 ล้านบาท

ขณะที่ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ Economic Intelligence Center (EIC) ธนาคารไทยพาณิชย์ ประเมินว่า ตลาดปีนี้อาจเติบโตได้ถึง 17% คิดเป็นมูลค่าราว 1.06 แสนล้านบาท และมีปริมาณขนส่งพัสดุเพิ่มขึ้นเป็นอย่างน้อย 7 ล้านชิ้นต่อวัน

ที่น่าสนใจคือ แม้ต้นทุนจะสูงแต่กลับยังไม่เห็นการเคลื่อนไหวของผู้เล่นเจ้าไหนที่จะปรับราคาขึ้น แต่หลังจากไปรษณีย์ไทยปรับราคาขึ้นได้ไม่เท่าไหร่ ผู้เล่นรายใหญ่อย่าง Kerry และ Flash ทำโปรโมชันลดราคาทันที โดย Kerry เปิดราคาใหม่เริ่มต้นเพียง 15 บาท ต่ำกว่า J&T ที่เริ่มต้น 19 บาทเสียอีก ส่วน Flash ก็ลดราคาลง 10% สำหรับการส่งพัสดุที่มีขนาด 1 กิโลกรัม หรือความยาว x กว้าง x สูง ไม่เกิน 40 เซนติเมตร เรียกได้ว่าลดราคา สวนทางต้นทุนที่พุ่งสูง

คำตอบคือ ที่ผ่านมา ผู้เล่นแต่ละรายจำต้อง บริหารต้นทุนเพื่อตรึงราคาไว้ก่อน เพื่อให้สามารถ แข่งขันกับคู่แข่ง ได้ และเมื่อมีใครปรับราคาขึ้นหรือลง แต่ละแบรนด์ถึงจะเริ่มขยับตาม และในกรณีที่ไปรษณีย์ไทยที่เป็นผู้เล่นที่กินมาร์เก็ตแชร์ถึง 57% จึงถือเป็นโอกาสทองให้ผู้เล่นรายใหญ่รีบ ดัมพ์ราคา เพื่อชิงส่วนแบ่งตลาด เพราะต้องยอมรับว่าตลาดไม่ได้มีลอยัลตี้ขนาดนั้น รายไหนให้ราคาดีก็ใช้เจ้านั้นเพื่อประหยัดต้นทุน

หารายได้จากเซ็กเมนต์อื่น

เมื่อทุกคนหันมาแข่งราคากันหมด คำถามคือ เอากำไรจากไหน? คำตอบคือ ความ เฉพาะทาง ถือเป็นทางออกที่ดีที่สุด ไม่ว่าจะเป็น พัสดุขนาดใหญ่ อย่างเช่น ต้นไม้, อะไหล่รถ หรืออย่าง สินค้าที่ต้องควบคุมอุณหภูมิ เช่น การจัดส่งยาและเวชภัณฑ์ เป็นต้น และจากราคาน้ำมันที่ปรับขึ้น (และไม่รู้จะลดลงเมื่อไหร่) การวางแผนควบคุมต้นทุนระยะยาวจึงจำเป็นที่ต้องคำนึงถึง ดังนั้น จึงเริ่มเห็นเทรนด์การนำ รถมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า มาใช้งานเพื่อเป็นการลดต้นทุนระยะยาว

จับตายักษ์ใหญ่ ‘โลจิสติกส์’ แตกเซกเมนต์ใหม่ ‘Bulky’ ส่งของชิ้นใหญ่ฉีกหนี ‘สงครามราคา’

ด้วยตลาดที่ยังเติบโต ผู้เล่นที่มีมากตลาดขนส่งพัสดุจึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะแข่งขันกันอย่างดุเดือด แต่ไม่ใช่แค่คำแผนทำโปรโมชันหรือแข่งราคา ผู้เล่นแต่ละรายยังต้องพยายามที่จะบริหารต้นทุนให้ได้ดีที่สุด และมองหาลู่ทางสร้างกำไร เพื่อที่จะยังเป็นผู้อยู่รอดในตลาดต่อไป

]]>
1392782
“ไปรษณีย์ไทย” ยุค “ดร.ดนันท์ สุภัทรพันธุ์” ต้อง Beyond Logistics ใช้พี่ไปรฯ เป็นจุดแข็งมากกว่าราคา https://positioningmag.com/1373454 Wed, 09 Feb 2022 15:25:09 +0000 https://positioningmag.com/?p=1373454 ไปรษณีย์ไทยหนึ่งในองค์กรเก่าแก่กว่า 140 ปี จนถึงทุกวันนี้ต้องทรานส์ฟอร์มเพื่อให้เข้ากับยุคสมัย และการแข่งขันในตลาดโลจิสติกส์ที่สุดแสนจะดุเดือด เป็นความท้าทายรอบด้านสำหรับ “ดร.ดนันท์ สุภัทรพันธุ์” กรรมการผู้จัดการใหญ่ ที่ขอย้ำว่าปีนี้ไปรษณีย์ไทยจะต้อง Beyond Logistics เป็นมากกว่าส่งพัสดุ แต่ไม่ลงเล่นสงครามราคา มีพี่บุรุษไปรษณีย์เป็นจุดแข็ง

ไม่เล่นราคา มี “พี่ไปรษณีย์” เป็นจุดแข็ง

ต้องบอกว่าในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา นอกจากธุรกิจอีคอมเมิร์ซที่มีการแข่งขันอันดุเดือดเลือดสาดแล้ว ตลาดโลจิสติกส์ และส่งพัสดุก็เป็นอีกหนึ่งตลาดที่เหมือนสมรภูมิสงครามย่อมๆ ได้เห็นแบรนด์ยักษ์ใหญ่จากต่างประเทศเริ่มเข้ามาทำตลาด รวมถึงแบรนด์ในประเทศก็เพิ่มบริการเพื่อที่จะจับตลาดด้วยเช่นกัน กลายเป็นว่าตอนนี้มีผู้ส่งพัสดุไม่ต่ำกว่า 10 ราย ทั้งรายใหญ่ รายย่อย รายโลคอลเฉพาะพื้นที่

มีการประเมินว่าภาพรวมตลาดโลจิสติกส์ในปี 2564 มีมูลค่า 100,000 ล้านบาท เป็นตลาดที่รวมผู้ส่งรายย่อย หรือขขนส่งแบบส่วนตัวขององค์กร ส่วนตลาดส่งพัสดุแบบด่วนมีมูลค่าราว 50,000 ล้านบาท เติบโต 19% เป็นอัตราเติบโตลดลงจากปี 2563 เนื่องด้วยสภาวะเศรษฐกิจ และกำลังซื้อของผู้บริโภคที่ลดลง อีกทั้งผู้เล่นในตลาดยังเล่นเรื่องราคากันหนักหน่วง

ถ้าพูดถึงตลาดส่งพัสดุแล้ว คงต้องนึกถึง “ไปรษณีย์ไทย” เป็นอันดับต้นๆ เรียกว่าเป็นพี่ใหญ่ในตลาด เฝ้ามองดูการตบเท้าเข้ามาของผู้เล่นใหม่ๆ ในทุกๆ ปี ไม่ว่าจะเป็น KERRY Express, Flash Express, SCG, J&T, Ninja, Best Express หรือแม้แต่ผู้เล่นในตลาด e-Marketplace อย่าง Shopee และ Lazada ก็ยังต้องมีโลจิสติกส์เป็นของตัวเอง

เนื่องด้วยความที่ไปรษณีย์ไทยเป็นองค์กรรัฐวิสาหกิจ ทำให้ในช่วงหลังมีการเรียกการส่งพัสดุเป็น “ส่งปณ.” กับ “ส่งเอกชน” ไปโดยปริยาย

ในยุคแรกๆ การส่งพัสดุต่างชูจุดเด่นเรื่อง “ความเร็ว” และจุดรับสินค้าที่ครอบคลุม เข้ามาอุดช่องว่างในอดีตที่กว่าจะได้รับสินค้าใช้เวลา 2-3 วัน ใครเร็วกว่าก็ได้ใจกว่า ต่อมาเริ่มมีการสร้างแบรนด์ เริ่มเปิดตัว “พรีเซ็นเตอร์” กันแบบรัวๆ เพื่อสร้างการรับรู้ จากนั้นก็เข้าสู่ “สงครามราคา” แบบเต็มรูปแบบ จะเห็นว่ามีการดัมพ์ราคากันอย่างต่อเนื่อง จากเริ่มต้นที่ 25 บาท เริ่มลงมาที่ 23 บาท บ้าง 19 บาทบ้าง ตอนนี้ J&T ทุบราคาที่เริ่มต้น 15 บาท แต่ละเจ้ายอมเฉือนเนื้อตัวเอง เพื่อให้ได้ฐานลูกค้ามากขึ้น

กลยุทธ์ราคาสามารถดึงดูดผู้บริโภคได้พอสมควร เพราะในยุคนี้พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ ต่างต้องการลดต้นทุนในการส่งสินค้ามากขึ้น ต้องบอกว่าในตลาดนี้ลูกค้าอาจจะไม่มี Loyalty ที่แท้จริง นอกเสียจากจะเจอประสบการณ์ในการส่งที่แย่มากๆ จากเจ้าไหนก็ตาม จนไม่สามารถใช้เจ้านั้นได้อีก

ในการส่งพัสดุ ไปรษณีย์มีรูปแบบส่งแบบธรรมดา, ส่งแบบลงทะเบียน และส่ง EMS ถ้าให้เทียบกับเจ้าอื่นๆ คงต้องเป็นการส่ง EMS เพราะมีความไวพอๆ กัน แต่ราคาอาจจะสูงกว่า เฉลี่ยแล้วอยู่ที่ 30-50 บาท ในขณะที่เจ้าอื่นอยู่ที่ 15-25 บาท เมื่อปลายปีที่ผ่านมาไปรษณีย์ไทยได้จัดโปรเหมาค่าส่ง EMS ในราคา 25 บาทมาแล้ว หวังสู้ศึกในครั้งนี้

แต่ถ้าถามว่ามีแผนที่จะปรับราคาค่าส่ง EMS ในระยะยาวหรือไม่ “ดร.ดนันท์ สุภัทรพันธุ์” กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด บอกว่า ไม่มองเกมสงครามราคาเป็นหลัก แต่เน้นการให้บริการที่เข้าถึงลูกค้า โดยมีพี่บุรุษไปรษณีย์เป็นคนสำคัญในการเชื่อม ที่เจ้าอื่นก็ไม่สามารถทำได้

“การแข่งขันเรื่องราคารุนแรงมาก ราคาเป็นสิ่งที่ง่ายที่สุดในการสร้างความแตกต่างที่ผู้ให้บริการเอามาเล่น เราไม่ได้มองว่าเกมนี้ไปรษณีย์ไทยจะไปเล่นแต่ราคา สิ่งที่สำคัญเราจะสร้างคุณภาพในการให้บริการ เข้าถึงลูกค้าให้ดีชึ้น ประสบการณ์ให้ดีขึ้น ราคาคุ้มค่า อีกทั้งไปรษณีย์ไทยก็มีความแข็งแกร่งในแง่ความเป็น Human Networking หรือการเข้าถึงเครือข่ายครัวเรือน ดังนั้นเราจึงใช้ความแข็งแกร่งตรงนี้ในการเป็นช่องทางในการให้บริการกับประชาชนเพิ่มเติม”

บุรุษไปรษณีย์ หรือพี่ไปรษณีย์ เป็นคีย์แมนคนสำคัญของไปรษณีย์ไทยก็ว่าได้ จุดเด่นที่สำคัญก็คือ พี่ไปรฯ สามารถเข้าถึงทุกพื้นที่ และสามารถจำรายละเอียดแต่ละบ้านได้ ชนิดที่ว่าถ้าใครจ่าหน้าจดหมาย หรือพัสดุผิด พี่ไปรฯ ก็สามารถส่งให้ถูกได้ เนื่องจากไปรษณีย์มีทั้งการส่งจดหมายแบบดั้งเดิม จดหมายใบแจ้งหนี้ต่างๆ ไปจนถึงพัสดุ ทำให้มีปริมาณการส่งเยอะ เข้าออกชุมชน ตรอกซอกซอยได้อย่างชำนาน

ไปรษณีย์ไทยมีพนักงานรวมทั้งหมด 40,000 คน แบ่งเป็นพี่บุรุษไปรษณีย์เป็นสัดส่วนถึง 50% หรือราว 20,000 คน นอกนั้นเป็นพนักงานที่สาขา 40% และที่สำนักงานใหญ่ 10%

ดร.ดนันท์บอกว่า อัตราการเทิร์นโอเวอร์ของพนักงานไปรษณีย์ไทยต่ำมาก พูดได้ว่าต่ำกว่าตลาดแน่นอน มีพนักงานที่อยู่ตั้งแต่ต้นจนเกษียณเยอะ อยู่มาเหมือนครอบครัว ยอดเทิร์นโอเวอร์ต่ำกว่าเอกชนแน่นอน

ขยับองค์กร 140 ปี มีแต่ความท้าทาย

ดร.ดนันท์ สุภัทรพันธุ์ เข้ารับตำแหน่งกรรมการผู้จัดการใหญ่ และกรรมการบริษัท ไปรษณีย์ไทย ตั้งแต่วันที่ 17 พฤษภาคม 2564 เป็นต้นมา โดยการดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการใหญ่ มีวาระ 4 ปี

ดร.ดนันท์ มีประสบการณ์การทำงานด้านเทคโนโลยีและดิจิทัล มากว่า 25 ปี ได้รับการยอมรับในวงการสื่อสารโทรคมนาคม รวมถึงมีบทบาทด้านการพัฒนาและบริหารธุรกิจสื่อสารโทรคมนาคมของ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ซึ่งก่อนเข้าดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด  ดร.ดนันท์ เคยดำรงตำแหน่งสำคัญ อาทิ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานการตลาดและบริการ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ กลุ่มพัฒนาผลิตภัณฑ์ ดูแลผลิตภัณฑ์ใน 6 กลุ่มหลัก ทั้ง Datacom, Voice, Internet, Cloud& Data Center, IT Security และ e-Business

การมาอยู่บริษัทที่มีอายุยาวนาน 140 ปี จึงมีความท้าทายอย่างมากที่จะทรานส์ฟอร์มเพื่อรับกับยุคสมัยใหม่ๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านองค์กร และบริหารคน

ดร.ดนันท์บอกว่า “ความท้าทายหลักอยู่ที่ เป็นอุตสาหกรรมการแข่งขันสูง แต่เติบโต มีความสำคัญกับเศรษฐกิจประเทศ ความต้องการของผู้บริโภคก็เปลี่ยนแปลง เราอยู่มานานแต่ไม่แก่ ต้องทำอย่างไรให้พัฒนาไปกับเทคโนโลยี และดิจิทัลเซอร์วิส เรื่องการบริการภายในก็ต้องได้ คนต้องมีความคุ้นเคยกับดิจิทัล เป็นปกติของธุรกิจโลจิสติกส์ที่มีคนเยอะ มีความซับซ้อนในการบริหารจัดการ ทำอย่างไรให้พนักงานเห็นเป้าหมายเดียวกัน

thailand post ไปรษณีย์

เราอยู่กับคนไทยมา 140 ปี เติบโตมากับสังคมไทย เป็นเพื่อน สิ่งนี้เป็น Positioning สำคัญ ปีนี้จะรีเฟรชแบรนด์สิ่งที่ทำชัดเจนขึ้น ทำให้เห็นถึงความเชื่อมโยงไปรษณีย์ไทยกับสังคมไทย ไม่หยุดแค่โลจิสติกส์”

ล่าสุดไปรษณีย์ไทยยังเพิ่มบริการส่ง EMS แบบไม่มีวันหยุด โดยปกติแล้วจุดอ่อนของไปรษณีย์ไทยก็คือ “เวลาทำการ” แบบราชการ บางสาขาเปิดทำการตามเวลาราชการ มีวันหยุดเสาร์อาทิตย์ ในช่วงหลังมีการปรับวันเวลาทำการใหม่ บางสาขามีเปิดเสาร์อาทิตย์ บางสาขาเปิดแค่ครึ่งวันเสาร์ หรือบางสาขาก็มีเปิดถึงดึก รวมไปถึงการส่งพัสดุก็มีวันหยุดก็คือวันอาทิตย์ ตอนนี้มีการนำจ่ายพัสดุทุกวัน เพราะพฤติกรรมคนซื้อของออนไลน์ต้องการได้ของเร็ว

พี่ไปรฯ เป็นทุกอย่างให้เธอแล้ว ส่งมากกว่าพัสดุ

สำหรับแผนในปี 2565 ไปรษณีย์ไทยเตรียมงบลงทุนอีก 3,000 ล้านบาท วางจุดยืนใหม่ Beyond Logistics จะเป็นมากกว่าผู้ให้บริการขนส่ง ดร.ดนันท์เปรียบว่า ธุรกิจขนส่งเหมือนคอมมูนิตี้แล้ว การแข่งขันอยู่ที่การพัฒนาประสิทธิภาพ สุดท้ายไปที่การเล่นราคา ถึงแม้ส่งพัสดุจะเป็นธุรกิจหลัก แต่ต้องต่อยอดไปน่านน้ำใหม่ๆ จะไปดิจิทัลแพลตฟอร์ม บุรุษไปรษณีย์จะไม่ใช่แค่ส่งของ แต่ให้บริการอื่นๆ แก่ประชาชน

“บุรุษไปรษณีย์เป็นจุดแข็งที่สร้างมานาน คนไทยรักบุรุษไปรษณีย์ รู้จักทุกครัวเรือน เป็นความคุ้นเคย ความเชื่อมั่น เป็นเหมือนเพื่อนกัน จากแค่ส่งจดหมาย ส่งพัสดุ จะเริ่มมีบริการถึงบ้านมากขึ้น”

เมื่อปี 2564 ไปรษณีย์ไทยมีเปิดตัวบริการใหม่ที่ต่อยอดจากการส่งพัสดุอย่างเดียว แต่ใช้จุดแข็งที่ตัวบุรุษไปรษณีย์เข้าถึงลูกค้าตามบ้าน มีทั้งเงินกู้ เติมเงิน ซื้อซิมมือถือ เป็นบริการที่มาจากความสัมพันธ์กับสังคมและชุมชน

  • จับมือ เอสซีบี อบาคัส ปล่อยสินเชื่อสำหรับผู้ประกอบการที่ใช้บริการส่งสินค้าเก็บเงินปลายทาง หรือ Cash on Delivery (COD) ด้วยสินเชื่อตั้งหลัก ผ่านแอปพลิเคชัน “เงินทันเด้อ” รู้ผลอนุมัติไวเพียง 15 นาที
  • จับมือกับ True และ AIS ให้บริการเติมเงินโทรศัพท์มือถือ และซื้อแพ็กเน็ตเสริม ผ่านบุรุษไปรษณีย์ทั่วประเทศ
  • ร่วมกับ AIS ในการฝากทิ้งขยะอิเล็กทรอนิกส์ กับพี่ไปรฯ
  • ขยายบริการการเป็นตัวแทนธุรกรรมทางการเงิน หรือ Banking Agent ผ่านเครือข่ายที่ทำการไปรษณีย์ทั่วประเทศ

ปัจจุบันไปรษณีย์ไทยมีจุดให้บริการมากกว่า 10,000 จุด ตู้ไปรษณีย์ 20,000 จุด ดร.ดนันท์บอกว่า ในปีนี้จะมีการแปลงร่างตู้ปณ.ให้กลายเป้นจุด Touch Point ใหม่ เอามาบริหารจัดการให้ง่ายขึ้น และจะเน้นทำแฟรนไชส์มากขึ้น เพิ่มจุดรับส่งสินค้า และต้องจัดการให้ราคาหน้าบ้านเท่ากันหมด เพราะก่อนหน้านี้จุดให้บริการของไปรษณีย์ไทยจะมีปัญหา ถ้าเป็นจุดของเอกชนจะราคาสูงกว่า

ในปี 2564 คาดว่าจะปิดรายได้ที่ 22,000 ล้านบาท เป็นช่วงเวลาที่ไม่พูดถึงกำไร เพราะถือว่าเป็นปีที่เจ็บหนักกันทุกธุรกิจ

]]>
1373454
จับตายักษ์ใหญ่ ‘โลจิสติกส์’ แตกเซกเมนต์ใหม่ ‘Bulky’ ส่งของชิ้นใหญ่ฉีกหนี ‘สงครามราคา’ https://positioningmag.com/1373383 Wed, 09 Feb 2022 09:04:43 +0000 https://positioningmag.com/?p=1373383 หากพูดถึงตลาด โลจิสติกส์ แล้ว เชื่อว่าแม้ไม่ใช่คนที่อยู่ในวงการยังมองออกว่าแข่งขันกันดุเดือดแค่ไหน เนื่องจากมีผู้เล่นมากมายโดยเฉพาะจากต่างประเทศตบเท้าเข้ามาฟาดฟันกันอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะเห็นว่าปีที่ผ่านมา ‘อัลฟ่า’ ที่ต้องยอมถอยปิดกิจการก่อนที่จะเจ็บไปมากกว่านี้ ขณะที่รายใหญ่เองก็เริ่มหาทางขยับหนีออกจากสงครามราคาแล้ว เพราะตอนนี้ตลาดเองก็ไม่ได้เติบโตเหมือนก่อนหน้านี้

ตลาดโตน้อย ต้นทุนสูงขึ้น

อ้างอิงจากศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินว่า ภาพรวมธุรกิจขนส่งสินค้าที่ซื้อผ่านออนไลน์ในปี 2564 แม้มีแนวโน้มขยายตัว 19% หรือมีมูลค่าราว 71,800 ล้านบาท แต่ก็น้อยกว่าปี 63 ที่เติบโตถึง 31.3% ในขณะที่ปี 65 นี้ คมสันต์ ลี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แฟลช เอ็กซ์เพรส จำกัด ก็มองว่าการเติบโตของอีคอมเมิร์ซในปีนี้ก็จะยิ่งชะลอตัวลง และไม่ใช่แค่การเติบโตที่ชะลอตัวลง แต่ปัญหาต้นทุนพลังงานอย่าง ‘น้ำมัน’ ก็ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมจาก 20 บาท ขึ้นเป็น 30 บาท สวนทางกับราคาค่าบริการที่ถูกลงเพราะสงครามราคา

“ภาพของตลาดโลจิสติกส์ปีนี้อาจจะไม่ได้เติบโตก้าวกระโดดเหมือนกับปีที่ผ่านมา ๆ เนื่องจากสภาวะเศรษฐกิจทำให้ผู้บริโภคชะลอการจับจ่าย โดยจะเห็นว่ากำลังซื้อลดลงทำให้การซื้อสินค้าแฟชั่นลดลง เน้นไปที่สินค้าอุปโภคบริโภคแทน ต้องยอมรับว่าต้นทุนของเราสูงขึ้น และการแข่งขันในตลาดยังคงสูงโดยเฉพาะการแข่งขันด้านราคาที่ยังคงดุเดือด เนื่องจากผู้เล่นแต่ละรายต่างระดมทุนมาได้มากขึ้นก็มาใส่กับโปรโมชัน”

คมสันต์ ลี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แฟลช เอ็กซ์เพรส จำกัด

Bulky เซกเมนต์ใหม่ที่ใคร ๆ ก็ไป

ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาเป็นช่วงที่การซื้อของออนไลน์กลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต ผู้คนคุ้นเคยกับการสั่งของ สั่งอาหารออนไลน์มากขึ้น จึงได้เห็นผู้เล่นตลาดโลจิสติกส์ทั้งในประเทศ และต่างประเทศก็เข้ามาจับจองตลาดกันทั้งสิ้น แน่นอนว่าตลาดได้กลายเป็น Red Ocean แข่งขันกันอย่างดุเดือด

หากพูดถึงแง่ของคุณภาพการให้บริการจะเห็นว่าผู้เล่นแต่ละรายแทบจะกลืนกันไปหมด ในช่วงแรกมีการพูดถึงจุดเด่นด้านความเร็วในการจัดส่ง ต่อมาก็เริ่มเข้าสู่ยุคการใช้พรีเซ็นเตอร์เพื่อเพิ่มการสร้างแบรนด์ สร้างการรับรู้ จะเห็นว่าช่วงหนึ่งมีการเปิดตัวพรีเซ็นเตอร์ตามกันรัวๆ แบบไม่มีใครยอมใคร

มาจนถึงจุดที่การแข่งขันสูงมากๆ การส่งพัสดุเข้าสู่ยุค ‘สงครามราคา’ มีการตัดราคากันเพื่อดึงดูดลูกค้า โดยเฉพาะเหล่าพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ ที่ต้องการผู้ส่งที่ค่าส่งถูกๆ เพื่อลดต้นทุนในการจัดส่งสินค้าได้มากขึ้น จากค่าส่งที่เริ่มต้น 25 บาท เริ่มลดลงเป็น 20 บาทบ้าง 19 บาทบ้าง ล่าสุดที่ J&T ทุบราคาไปที่เริ่มต้น 15 บาท

นอกจากเรื่องปัจจัยราคาแล้ว ผู้เล่นในตลาดยังต้องขยายบริการเพื่อหาน่านน้ำใหม่ๆ ไม่ว่าจะเป็นการเปิดบริการส่งพัสดุแบบ Same Day ได้รับสินค้าภายในวันเดียวกัน หรือมีบริการเก็บเงินปลายทาง รองรับพฤติกรรมของคนไทยที่ยังต้องจ่ายเงินหลังรับของ รวมไปถึงการส่งแบบเย็น หรือเก็บอุณหภูมิ ที่ตอนนี้แทบทุกเจ้าจะต้องมีบริการนี้ เพื่อรองรับแม่ค้าสายอาหาร เบเกอรี่

หรือล่าสุดที่หลายรายเริ่มมาจับตลาดก็คือ Bulky หรือ สินค้าที่มีน้ำหนักมาก เรียกว่าเป็นอีกหนึ่งเซกเมนต์ที่มีความน่าสนใจไม่น้อย เพราะเทรนด์ของผู้บริโภคในปัจจุบัน ไม่ได้ซื้อสินค้าออนไลน์เพียงแค่ของชิ้นเล็กอย่างเดียวเท่านั้น แต่ซื้อทุกอย่างที่อยากได้ ชิ้นใหญ่ หรือน้ำหนักเยอะก็ไม่หวั่น

แนวโน้มการสั่งซื้อสินค้าที่มีขนาดใหญ่เริ่มเพิ่มสูงขึ้น จะเห็นว่าปีที่ผ่านมามีเทรนด์ของ ไม้ด่าง ทำให้มีการสั่งซื้อต้นไม้เพิ่มมากขึ้น ซึ่งถือเป็นสินค้าที่มีขนาดใหญ่และมีน้ำหนัก หรืออย่าง อะไหล่รถยนต์ ก็มีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง ซึ่งไทยเองก็ถือเป็นหนึ่งในประเทศผู้ผลิตอะไหล่รถยนต์รายใหญ่

นอกจากนี้ กลุ่มสินค้าที่เห็นการเติบโตบนอีคอมเมิร์ซ คือ สินค้าประเภทของใช้สัตว์เลี้ยง อุปกรณ์ฟิตเนส เติบโตขึ้น 71% เครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดใหญ่ จำพวก ตู้เย็น เครื่องซักผ้า เติบโต 63% และ เฟอร์นิเจอร์ต่าง ๆ เติบโต 55% ซึ่งล้อไปกับเทรนด์การใช้ชีวิตอยู่กับบ้านมากขึ้น

จากเทรนด์ดังกล่าวจึงไม่น่าแปลกใจที่ผู้ให้บริการจะเริ่มให้ความสนใจที่จะเพิ่มบริการส่งของชิ้นใหญ่ อย่าง

  • BEST Express ที่มีบริการ BEST Big Parcel สำหรับส่งพัสดุขนาดใหญ่สูงสุด 300 กก.
  • Flash Express ก็มี Bulky Service รับพัสดุตั้งแต่ 5-100 กก. เริ่มต้น 50 บาท
  • ไปรษณีย์ไทย ก็มีบริการ Logispost ส่งสินค้าชิ้นใหญ่ตั้งแต่ 20-200 กก.
  • SCG Express ก็มีบริการ ยกใหญ่ ไซซ์บิ๊ก จัดส่งพัสดุที่มีน้ำหนัก 25-50 กก.
  • Kerry ก็มีบริการ Kerry Less than Truck Load ส่งพัสดุน้ำหนัก 30 กก. ขึ้นไป

เหลือแต่ J&T ที่ยังรับน้ำหนักพัสดุสูงสุดที่ 30 กก. ดังนั้น ต้องรอดูว่าจะลงมาเล่นในตลาดนี้เมื่อไหร่

รายได้เยอะ แต่แทบไม่เห็นกำไร

เนื่องจากธุรกิจโลจิสติกส์ไม่ได้มีพื้นฐานที่สามารถทำกำไรได้สูง จะอยู่ได้ต้องเน้นจำนวน ดังนั้น จะเห็นว่าอดีตเบอร์ 1 อย่าง ไปรษณีย์ไทย ในปี 2563 นั้นมีรายได้ลดลงเหลือ 23,877 ล้านบาท โดยกำไรลดลงเหลือเพียง 160 ล้านบาท เท่านั้น ส่วนรายได้ของ Kerry Express 6 เดือนแรกของปี 64 อยู่ที่ 8,788 ล้านบาท ลดลง 14% มีกำไร 638 ล้านบาท ลดลง 13% ส่วนด้านของ Flash Express มีการเปิดเผยว่ารายได้ปี 64 อยู่ที่ 17,000 ล้านบาท แต่ไม่เปิดเผยว่า กำไรหรือขาดทุน เท่าไหร่

แน่นอนว่าการแข่งขันด้านราคาของตลาดโลจิสติกส์จะยังอยู่ไปอีกนาน ดังนั้น จากนี้คงจะได้เห็นเซกเมนต์เฉพาะทางใหม่ ๆ เพื่อทำกำไรมากขึ้น ที่น่าเป็นห่วงคือ ผู้เล่นรายเล็ก ที่จะเริ่มใช้จุดแข็งอย่างความเฉพาะทางมาใช้ยาก เพราะรายใหญ่เริ่มลงมาเล่นกันหมด

]]>
1373383
10 เรื่องน่ารู้ “ไปรษณีย์ไทย-JWD-Flash” ร่วมทุนปั้น FUZE POST บุกตลาดส่งควบคุมอุณหภูมิ https://positioningmag.com/1348344 Tue, 24 Aug 2021 08:34:30 +0000 https://positioningmag.com/?p=1348344 บิ๊กดีลในตลาดขนส่ง เมื่อ 3 ผู้เล่นใหญ่อย่างไปรษณีย์ไทย, JWD และ Flash Express ได้ร่วมลงขัน เปิดบริษัทร่วมทุนธุรกิจขนส่งควบคุมอุณหภูมิ FUZE POST ดีเดย์เปิดให้บริการ 1 ก.ย. นี้ ตอนนี้เซ็น MOU แล้ว รอจัดตั้งบริษัทภายหลัง

1.ร่วมทุนโดย 3 บิ๊กเนม

FUZE POST (ฟิ้วซ์ โพสต์) ก่อตั้งโดย 3 ผู้ลงทุนใหญ่ บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด บริษัทขนส่งสัญชาติไทย ที่ทำตลาดมายาวนาน 138 ปี, บริษัท เจดับเบิ้ลยูดี อินโฟโลจิสติกส์ จำกัด (มหาชน) หรือ JWD บริการโลจิสติกส์ และซัพพลายเชนแบบครบวงจร และบริษัท แฟลช เอ็กซ์เพรส จำกัด บริษัทขนส่งเอกชนรายแรกที่เป็นยูนิคอร์น

ทั้ง 3 บริษัทได้ใช้โมเดลร่วมทุน หรือ Joint Venture สัดส่วนการลงทุนคาดว่าจะใกล้เคียงกัน แต่ยังไม่เปิดเผยงบลงทุน หรือทุนจดทะเบียน กำลังอยู่ในช่วงพิจารณาอยู่

2. บุกตลาดส่งเย็น รับตลาดของสดออนไลน์บูม

ปัจจุบันตลาด Cold Chain Logistics หรือขนส่งแบบควบคุมอุณหภูมิ มีมูลค่าตลาดราว 34,000 ล้านบาท และมีแนวโน้มเติบโตราว 8-10% คิดเป็นสัดส่วน 5% ของตลาดโลจิสติกส์ทั้งหมด ในระยะเวลาอีก 3-5 ปี มีปัจจัยขับเคลื่อนหลักจากการขยายตัวของกลุ่มธุรกิจอาหาร และเครื่องดื่ม

ยิ่งในช่วงล็อกดาวน์จากการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ทำให้ร้านอาหาร ตลาด ร้านขนมต่างๆ ไม่สามารถเปิดให้บริการได้ตามปกติ จึงมีการขายออนไลน์มากขึ้น ทำให้มีการใช้บริการขนส่งแบบควบคุมอุณหภูมิมากขึ้นเช่นกัน เพื่อรักษาคุณภาพสินค้าให้สดใหม่จนถึงปลายทาง

รวมทั้งการขนส่งยา และเวชภัณฑ์ ด้วยเช่นกัน ซึ่งจะกลายเป็นเทรนด์ใหญ่ในอนาคตด้วย

3. ตลาดนี้ไม่มีเจ้าตลาดชัดเจน

ตลาดขนส่งแบบควบคุมอุณหภูมิ จะเป็นการส่งของแบบแช่เย็น ส่วนใหญ่จะแบ่งเป็นแบบแช่แข็งสำหรับอาหารสด และแช่เย็นสำหรับอาหาร หรือขนมทั่วไป ตลาดนี้มีผู้เล่นไม่เยอะมาก หลักๆ มีอยู่ 5 ราย ได้แก่ SCG Express, FedEx, Inter Express, Sicha group และ JWD group รวมไปถึงขนส่งแบบออนดีมานด์อย่าง Deliveree ก็มีรถห้องเย็น

แต่ตลาดนี้ยังไม่มีเจ้าตลาดอย่างชัดเจน เพราะยังเป็นตลาดที่เล็ก แต่เชื่อว่าในตลาดโตจะมีการเติบโตขึ้นเรื่อยๆ จากดีมานด์ความต้องการที่เพิ่มสูงขึ้น

scg express

4. สัญลักษณ์ 3 สี

โลโก้ของ FUZE POST คือ การรวมตัวกันของแบรนด์ด้านการขนส่ง โดยมีตัว Z ที่ผสมสี 3 สีเข้าด้วยกัน

  • สีฟ้า มาจากสีของ JWD
  • สีเหลือง มาจากสีของ Flash Express
  • สีแดง มาจากสีของ ไปรษณีย์ไทย
  • สีน้ำเงิน สื่อถึงความเย็น ซึ่งเป็นหัวใจหลักของ FUZE POST

5. ผนึก 3 จุดแข็ง

  • ไปรษณีย์ไทย : พี่ใหญ่ในตลาด เข้าถึงได้ทุกตารางนิ้วในประเทศไทย เชี่ยวชาญด้านการขนส่งแบบ Door to Door มีเครือข่ายที่ครอบคลุมทุกพื้นที่ทั่วประเทศกว่า 10,000 สาขา มีบุรุษไปรษณีย์กว่า 20,000 คนที่รู้จักทุกพื้นที่ทั่วไทย ชนิดที่ว่าถ้าจ่าหน้าซองผิด ก็ยังส่งถูกบ้านได้
  • JWD : เชี่ยวชาญในการให้บริการขนส่งระบบควบคุณอุณหภูมิ 25 ปี มีองค์ความรู้ และความชำนาญครบทุกด้าน ทั้งระบบควบคุมคุณภาพ และความปลอดภัยของสินค้า การบริหารคลังสินค้า และการขนส่ง
  • Flash Express : เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีที่ทันสมัยตั้งแต่ต้นทางจนถึงมือผู้รับ ตอบโจทย์ความต้องการของผู้ใช้งานได้ดีลดความผิดพลาด จากศักยภาพของทีมงานไอทีกว่า 100 คน

ไปรษณีย์ไทย

6. แบ่งงานกันเป็นสัดส่วน

การผนึกกันของ 3 แบรนด์ แต่การทำงานของ FUZE POST จะแยกสัดส่วนกันอย่างชัดเจนตามความถนัดของแต่ละองค์กร

  • ไปรษณีย์ไทย : ใช้เครือข่ายที่ครอบคลุมทุกพื้นที่ทั่วประเทศ ดูแลระบบขนส่งสินค้าตั้งแต่ First Mile ทั้ง Direct Pick-up และการให้บริการจุดรับส่งสินค้า Drop off จนถึง Last Mile
  • JWD : ดูแลบริหารจัดการสินค้าควบคุมอุณหภูมิของทั้งในส่วนของคลังจัดเก็บ และกระจายสินค้าคลังศูนย์กลางคัดแยก และกระจายสินค้าควบคุมอุณหภูมิเทคโนโลยี กล่องควบคุมอุณหภูมิ และรถขนส่งกระจายสินค้าแบบควบคุมอุณหภูมิ
  • Flash Express : วางระบบขนส่ง Cold Chain Management System การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีมาปรับปรุงระบบให้ตอบโจทย์ผู้ใช้งาน และแก้ไขปัญหาอย่างทันท่วงที ระบบ Cloud computing หรือการคำนวณด้วยเทคโนโลยี การวางระบบเชื่อมการทำงานเข้ากับระบบปฏิบัติการและระบบจัดการคำสั่งซื้อ

FLASH

7. เริ่มในพื้นที่กทม. และ 6 จังหวัด

FUZE POST เริ่มให้บริการในวันที่ 1 กันยายน 2564 ในระยะแรกจะเน้นให้บริการในพื้นที่กรุงเทพฯ ปริมณฑล และ 6 จังหวัด คือ หนองคาย, เชียงใหม่, สุราษฎร์ธานี, ภูเก็ต, ตราด และบางละมุง เป็นหลักก่อน เริ่มจับกลุ่มลูกค้ารูปแบบ B2B B2C และ C2C ที่เป็นกลุ่มลูกค้าเดิมของ JWD และไปรษณีย์ไทย

สำหรับลูกค้าใหม่จะเน้นการให้บริการแบบ Direct Pick-up เป็นหลัก โดยเรียกใช้บริการผ่าน www.fuzepost.co.th และมีแผนจะเปิดให้บริการจุดรับฝาก (Drop off) ขยายเส้นทางขนส่งระหว่างภูมิภาคในเดือนมกราคม 2565

8. กระบวนการขนส่ง

  • รับสินค้าจากลูกค้า : ระยะแรก FUZE POST จะเน้นให้บริการแบบ Direct Pick-up สำหรับกลุ่มลูกค้าเดิมของไปรษณีย์ไทย และ JWD และจะขยายการให้บริการ Drop Off ที่สาขาในปี 2565
  • ขนส่งสินค้า First & Middle Mile : แบ่งเส้นทางกันระหว่างไปรษณีย์ไทย และ Flash Express
  • คลังสินค้าส่วนภูมิภาค / ส่วนกลาง : ใช้ศูนย์กระจายสินค้าของทั้งไปรษณีย์ไทย, JWD และ Flash Express ในการให้บริการ Sorting และ Fulfillment และเป็นศูนย์พักสินค้าสำหรับการขนส่งระยะทางไกล
  • การขนส่งสินค้า Last Mile : แบ่งเส้นทางกันระหว่างไปรษณีย์ไทย และ Flash Express

ไปรษณีย์ไทย

9. จากคู่แข่งมาเป็นคู่ค้า

ถ้าดูกันตามตรงแล้ว ไปรษณีย์ไทย และ Flash Express เป็นคู่แข็งกันโดยตรง เพราะเป็นผู้จัดส่วนพัสดุเช่นเดียวกัน เพียงแต่ต่างกันที่รูปแบบขององค์กร จริงๆ แล้วทั้งคู่ก็มีแผนที่จะเปิดบริการขนส่งแบบควบคุมอุณหภูมิเช่นกัน เพราะตลาดมีการเติบโตสูง

การจับมือกันครั้งนี้จึงอาจจะเป็นข้อดีกว่าการที่ลงทุนสร้างบริการใหม่ขึ้นมาเอง เพราะต้องใช้เงินลงทุนอีกสูง และประสบการณ์ในการขนส่ง การจับมือร่วมกันกับคนที่มีประสบการณ์ อาจจะ Win-Win กันทุกฝ่ายก็ได้

10. จับตา KERRY ก็เตรียมกระโดดร่วมวง

จากแผนของ KERRY Express (เคอรี่ เอ็กซ์เพรส) ที่ประกาศล่าสุด ในไตรมาส 4 เตรียมเปิดบริการ KERRY Wallet และขนส่งแบบควบคุมอุณหภูมิ เรียกว่ารายใหญ่เตรียมร่วมวงกันอย่างเต็มที่

การประกาศเซ็น MOU ของ 3 เจ้านี้ อาจจะเป็นการปาดหน้าเค้ก KERRY เข้าอย่างจังก็เป็นได้ เพราะขอให้ได้เปิดตัวก่อน เปิดให้บริการก่อน แล้วค่อยจัดตั้งบริษัทจดทะเบียนทีหลัง สร้างชื่อก่อน สร้างแบรนด์ก่อน ถือว่ามีชัยไปกว่าครึ่ง

เพราะทางผู้บริหารได้เปิดเผยเลยว่า “ตอนนี้เซ็น MOU ก่อน แล้วคอ่ยไปก่อตั้งบริษัท เพราะการร่วมทุนใช้เวลาพอสมควร อีกทั้งไปรษณีย์ไทยก็เป็นรัฐวิสาหกิจ JWD เป็นมหาชน มีกระบวนการของแต่ละคนต่างกัน ตอนนี้พ่อค้าแม่ค้าได้รับผลกระทบ ขายของออฟไลน์ไม่ได้ ถ้ารอให้พร้อมจะสนับสนุนผู้ประกอบการได้ไม่เพียงพอ”

]]>
1348344
ไปรษณีย์ไทย X Amazon Global Selling Thailand จบสวยสัมมนาออนไลน์เสริมแกร่ง อีคอมเมิร์ซไทยโกอินเตอร์ผ่าน EP.1 ‘Made in Thailand สร้างแบรนด์ไทย ส่งไกลทั่วโลก’ https://positioningmag.com/1346804 Sun, 15 Aug 2021 13:40:46 +0000 https://positioningmag.com/?p=1346804 ผ่านไปแล้วกับงานสัมมนาออนไลน์ฟรี ที่ “ไปรษณีย์ไทย X Amazon Global Selling Thailand” จัดขึ้นเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2564 ที่ผ่านมา

จุดประสงค์การจัดงานครั้งนี้เพื่อเสริมความแกร่งให้ผู้ประกอบการอีคอมเมิร์ซไทยฝ่าวิกฤติ Covid-19 ไปด้วยกัน โดยนำความแข็งแกร่งด้านการขนส่งระดับชาติมาผนึกกำลังกับแพลตฟอร์มการซื้อขายระดับโลกที่พร้อมช่วยเหลือผู้ประกอบการไทยอย่าง Amazon Global Selling Thailand ประเดิมความปังกับ EP.1 “Made in Thailand สร้างแบรนด์ไทย ส่งไกลทั่วโลก” โดยได้รับความสนใจจากผู้ประกอบธุรกิจเข้าฟังสัมมนาออนไลน์รวมกว่า 68,000 ราย

นำทัพโดย ดร.ดนันท์ สุภัทรพันธุ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด (ปณท) พาเหล่ากูรูมาแนะนำและแชร์ประสบการณ์จริง เพื่อเสริมเพิ่มสกิลให้ผู้ประกอบการธุรกิจอีคอมเมิร์ซเติบโตระดับโลกผ่านแพลตฟอร์ม Amazon Global Selling Thailand ซึ่งบรรยากาศภายในงานเต็มไปด้วยความสนุกสนานและสาระความรู้มากมาย โดยมีเสนาลิง – สมเกียรติ จันทร์พราหมณ์ เป็นผู้ดำเนินรายการ พร้อมด้วย คุณจารุสตรี สุวรรณวงษ์ Head of Amazon Global Selling Thailand มาให้ความรู้ด้าน ecosystem ให้เหมาะสมกับอีคอมเมิร์ซแบบ cross border ไทยมากยิ่งขึ้น ซึ่งปัจจุบันผู้ประกอบการไทยสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเองได้จากการเข้าเว็บไซต์ของ Amazon Global Selling Thailand รวมถึงช่องทาง E-Marketplace ต่างๆ

นอกจากนี้ยังมี ครูทิป มัณฑิตา จินดา Founder of Digital Tips Academy และผู้ขายตัวจริง เสียงจริงถึง 2 ท่าน คือ คุณแนท มีชูบท GM, Opimus เจ้าของแบรนด์กล้วยฉาบ Banana Joe และ คุณทรัพย์ เกียรติฐิตินันท์ Founder & CEO, Bophie มาแบ่งปันประสบการณ์การขายสินค้าออนไลน์และส่งสินค้าไทยเติบโตไกลยังตลาดต่างประเทศ พร้อมเทคนิคเด็ดที่ผู้ขายจริงมาเผยในสัมมนาครั้งนี้โดยเฉพาะ

สำหรับใครที่พลาดไลฟ์สดสัมมนาออนไลน์ในครั้งนี้ สามารถชมแบบย้อนหลังผ่านช่องทางเฟซบุ๊ก ไปรษณีย์ไทย รวมทั้งสามารถดาวน์โหลด E-Book รายละเอียดเนื้อหาเน้นๆ ได้ด้วย เพียงสมัครเข้าร่วมเป็นครอบครัว POST FAMILY https://thailandpost.force.com/postfamily/Signin ก่อนการดาวน์โหลด พร้อมรอรับสิทธิพิเศษมากมายก่อนใคร และติดตามข่าวสาร กิจกรรมดีๆ ได้ที่ www.postfamily.thailandpost.com

]]>
1346804
เฮือกสุดท้าย ‘เเม่ค้าออนไลน์’ ขายไม่ได้ สินค้าตีกลับ ผลกระทบขนส่งพัสดุ ล่าช้า-อ่วมโควิด https://positioningmag.com/1344529 Thu, 29 Jul 2021 13:05:15 +0000 https://positioningmag.com/?p=1344529 หลังเจอวิกฤตโควิดจนล้มลุกคลุกคลานมาหลายรอบ บรรดาแบรนด์ต่างๆ ทั้งค้าปลีก ร้านอาหาร สินค้าเกษตร พ่อค้าเเม่ค้ารายย่อย คนตกงานหารายได้เสริม กระโจนเข้าสู่โลกช้อปปิ้งออนไลน์เพื่อดิ้นรนหาทางรอด ปรับตัวพยุงธุรกิจ

ฝั่งผู้บริโภคเอง ด้วยความกังวลเสี่ยงติดโรคเเละมาตรการล็อกดาวน์ ก็หันมาสั่งซื้อสินค้าทางออนไลน์ เเทบจะกลายเป็นส่วนหนึ่งในวิถีชีวิตไปเเล้ว

ธุรกิจอีคอมเมิร์ซในไทย กำลังจะไปได้สวย จนกระทั่งวันนี้ การระบาดใหญ่รอบล่าสุด ที่มียอดผู้ติดเชื้อพุ่งสูงเเตะระดับ 17,000 คนต่อวัน ได้ขยายวงกว้างไปสู่พนักงานขนส่งพัสดุซึ่งเป็นอีกหนึ่งหัวใจสำคัญของธุรกิจขายออนไลน์เลยก็ว่าได้

บริษัทขนส่งยักษ์ในไทย กำลังประสบปัญหาเรื่องการรับ-ส่งสินค้าบางรายอาการหนักจนต้องปิดศูนย์กระจายสินค้า พนักงานจำนวนมากต้องกักตัว บางเจ้าต้องปิดสาขาตามห้างสรรพสินค้าตามคำสั่งล็อกดาวน์ ทำให้ช่วงนี้มีพัสดุตกค้างเเละล่าช้า จำนวนมาก อีกทั้งยังเปิดให้บริการได้ไม่เต็มที่

นอกจากความเดือดร้อนของบริษัทขนส่งเเละพ่อค้าเเม่ค้าออนไลน์ ที่ต้องเจอศึกหนัก ตามหาของที่ยังส่งไม่ถึงเเล้ว อีกมุมหนึ่งปัญหาเหล่านี้ ก็ส่งผลให้เหล่าผู้บริโภคไม่กล้าสั่งซื้อของออนไลน์ ในช่วงนี้ ซ้ำเติมยอดขายเเละรายได้ที่ลงลดอยู่เเล้ว จากการหดหายของกำลังซื้อให้ยิ่งลดลงไปอีก

บิ๊กขนส่งพัสดุในไทย ‘อ่วมโควิด’ 

ล่าสุดของบริษัทขนส่งต่างๆ ยังสามารถเปิดให้บริการตามปกติ’ ได้ทุกเจ้า แต่มีการกำหนดเกณฑ์การรับพัสดุใหม่ เเละบางส่วนอาจส่งของล่าช้า 1-2 วัน

ย้อนกลับไปไปรษณีย์ไทยเป็นผู้ให้บริการขนส่งพัสดุรายเเรกที่ออกมายอมรับว่า มีพนักงานติดเชื้อโควิด-19 เเม้จะฉีดวัคซีนเข็มแรกไปเเล้วกว่า 12,000 คน และเข็มสองอีกกว่า 4,200 คนก็ตาม

ปกติเเล้ว ไปรษณีย์ไทย มีปริมาณไปรษณียภัณฑ์และพัสดุด่วน เฉลี่ยอยู่ที่ 8 ล้านชิ้นต่อวัน เป็นเบอร์หนึ่งในตลาด จากสถานการณ์ดังกล่าว “อาจมีการจัดส่งสิ่งของล่าช้าในบางพื้นที่

โดยได้ระงับการฝากส่ง ผลไม้สด ต้นไม้ กล้าพันธุ์ไม้ และของเน่าเสียง่าย เป็นการชั่วคราวถึงวันที่ 31 .. 2564 เพื่อป้องกันผลไม้และต้นไม้เสียหาย 

ไปรษณีย์ไทย มีปรับแผนบริหารความเสี่ยงเคลียร์พัสดุตกค้าง เช่น แบ่งเจ้าหน้าที่นำจ่ายออกเป็น 2 กลุ่ม กำหนดให้ทำงานเหลื่อมเวลากัน นำเจ้าหน้าที่จากไปรษณีย์ที่อยู่ใกล้เคียงมาปฏิบัติหน้าที่ในการนำจ่ายแทนเจ้าหน้าที่ของไปรษณีย์ที่ต้องปิดให้บริการชั่วคราว

รวมไปถึง ปรับเปลี่ยนเวลาการทำงานของเจ้าหน้าที่ กำชับให้เว้นระยะห่างเพื่อลดความเสี่ยง ขยายพื้นที่ปฏิบัติงานสำรอง พร้อมย้ำว่าจะไม่ปกปิดข้อมูล’ กับลูกค้า 

ด้าน ‘Flash Express’ สตาร์ทอัพยูนิคอร์นรายเเรกของไทย ที่มีมูลค่ากิจการเกิน 1,000 ล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 31,000 ล้านบาท) เมื่อเดือนมิ..ที่ผ่านมา ก็เกิดปัญหาใหญ่ พนักงานติดโควิด-19 เช่นเดียวกัน จนถึงขั้นต้องปิดศูนย์กระจายสินค้าที่วังน้อยชั่วคราว ส่งผลกระทบต่อลูกค้าจำนวนมาก

คมสันต์ ลีประธานเจ้าหน้าที่บริหาร Flash Express เทคเเอกชั่นด้วยการส่งจดหมายเเสดงความเสียใจเเละขอโทษลูกค้าทุกคน พร้อมตั้งงบชดเชยความเสียหายกว่า 200 ล้านบาท

โดยมีมาตรการเยียวยาอย่าง การคืนเงินค่าขนส่ง 100% มอบคูปองมูลค่ารวม 50 บาท เเละชดเชยความเสียหายของพัสดุเต็มจำนวนภายใต้กฎเกณฑ์ของบริษัท เป็นต้น

-คมสันต์ ลี ประธานกรรมการบริหาร กลุ่มธุรกิจแฟลช (Flash Group)

นอกจากนี้ ยังต้องงดรับของสด และ ผลไม้ทุกชนิดเเละงดพัสดุที่มีน้ำหนักเกินกว่า 10 กิโลกรัม และขนาดความกว้าง ความยาว และความสูงแต่ละด้านเกินกว่า 100 เซนติเมตร และสามด้านรวมกันเกินกว่า 150 เซนติเมตรเป็นการชั่วคราวด้วย

ทั้งนี้ ในปี 2563 Flash Express มียอดส่งมากกว่า 300 ล้านชิ้น ส่วนในปี 2564 บริษัทมีจำนวนพัสดุเฉลี่ยต่อวันประมาณ 2 ล้านชิ้น เติบโตจากเดิมที่มียอดส่งพัสดุเฉลี่ยอยู่ 1.3 ล้านชิ้นต่อวัน

ขณะที่เจ้าใหญ่ฝั่งเอกชนอย่าง Kerry Express เเม้ตอนนี้ปัญหาเรื่องพนักงานติดโควิดจะไม่รุนเเรงเท่ารายอื่น เเต่ก็ได้รับผลกระทบจากมาตรการล็อกดาวน์ของภาครัฐ 

ทำให้ต้องปิดบางสาขาในห้างฯ เเละบางสาขามีพนักงานติดโควิด ดังนั้นการขนส่งไปยังปลายทาง จึงต้องใช้เวลามากกว่าปกติราว 1-2 วัน โดยเฉพาะในพื้นที่ 13 จังหวัดสีแดงเข้ม โดยเเนะนำให้ลูกค้าวางแผนก่อนส่ง หลีกเลี่ยงพัสดุที่มีวันหมดอายุและเน่าเสียง่าย

ประกอบกับช่วงนี้จำนวนพัสดุเพิ่มขึ้นมากขึ้น 2.2 ล้านชิ้น จากช่วงปกติจำนวนพัสดุอยู่ที่ประมาณ 2 ล้านชิ้น ในขณะที่พนักงานเคอร์รี่ทั่วประเทศมีประมาณ 20,000 คน จึงมีความล่าช้ากว่าปกติด้วย

ด้านขนส่งรายอื่นๆ อย่าง J&T Express , SCG Express , BEST Express เเละ NIM Express ก็ยังไม่สามารถให้บริการพ่อค้าเเม่ค้าออนไลน์ได้เต็มที่ เพราะมีข้อจำกัดเช่นเดียวกัน

โดย SCG Express งดจัดส่งบางพื้นที่ และงดบริการเข้ารับพัสดุที่บ้านชั่วคราว ส่วนพัสดุแบบควบคุมอุณหภูมิ แช่เย็นแช่แข็งยังจัดส่งได้ตามปกติ

NIM Express แจ้งการส่งสินค้าล่าช้ากว่ากำหนด เเละของดรับสินค้าปลายทางในพื้นที่สาขาพุทธมณฑล สาย 2 ในระหว่างวันที่ 27-30 .. 2564 โดยยังคงดำเนินการจัดส่งสินค้าตามปกติ 

BEST Express ประกาศ จัดส่งพัสดุเกิดความล่าช้ากว่าปกติ ในพื้นที่สาขาเขตพระนคร กรุงเทพฯ ในช่วงตั้งแต่วันที่ 23 กรกฎาคม – 5 สิงหาคม 2564

J&T Express จำเป็นที่จะต้องปรับเปลี่ยนวิธีการคำนวณน้ำหนักและขนาดปริมาตรใหม่ โดยด้านใดด้านหนึ่งไม่เกิน 100 ซม. ทั้งสามด้านรวมกันไม่เกิน 180 ซม. และน้ำหนักจริงไม่เกิน 50 กิโลกรัม ข้อกำหนดนี้ใช้กับพัสดุทุกประเภท ยกเว้นพัสดุจาก Shopee เริ่มตั้งแต่วันที่ 27 กรกฎาคม 2564 เป็นต้นไป

ท่ามกลางความปั่นป่วนของธุรกิจขนส่งในไทยนั้นทีวี ไดเร็คเห็นโอกาสธุรกิจ รีบเปิดรับฝากส่งพัสดุ อุดช่องว่างขนส่งขาด ราคาเริ่มต้น 32 บาท โดยมีจุดรับฝากส่งพัสดุ ณ ศูนย์กระจายสินค้าของบริษัท จำนวน 58 แห่งทั่วประเทศ

ประกาศรับสินค้าขนาดใหญ่น้ำหนักไม่เกิน 150 กก. สามารถจัดส่งสินค้าได้ทุกประเภท รวมถึงกล้าพันธุ์ไม้ ระยะเวลาจัดส่ง ภายในกรุงเทพฯปริมณฑลใช้เวลา 2 วันทำการ ส่งต่างจังหวัดประมาณ 3 วัน สามารถรองรับการขนส่งพัสดุได้ 10,000 ชิ้นต่อวัน

ช้อปปิ้งออนไลน์ สะดุด ขายไม่ได้-ส่งของยาก-สินค้าตีกลับ 

เเม่ค้าออนไลน์รายหนึ่ง บอกกับ Positioningmag ว่า เริ่มปรับตัวมาขายออนไลน์อย่างจริงจัง มาตั้งเเต่ช่วงปีก่อน หลังยอดขายหน้าร้านลดลงมาก จึงได้ส่วนขายออนไลน์ ช่วยพยุงธุรกิจให้อยู่รอดในช่วงโรคระบาด

โดยช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา หลังมีปัญหาในระบบขนส่ง บางสินค้าส่งไปถึงปลายทางเเต่เกิดความเสียหาย ต้องรับผิดชอบด้วยการส่งของใหม่ไปให้ลูกค้า ทำให้ต้องเเบกรับต้นทุนสูงขึ้น รวมถึงมีสินค้าโดน ‘ตีกลับจำนวนมาก มองว่า เเม้จะมีการชดเชยค่าส่ง 100% เเต่ก็ไม่คุ้มกับความเสียหายของสินค้า เเละความเชื่อใจของลูกค้าที่หายไป 

ส่วนยอดขายที่มีอยู่ในปัจจุบัน ก็ลดลงอย่างเห็นได้ชัด เหมือนคนไม่ค่อยกล้าสั่งของออนไลน์กัน เพราะกลัวเสี่ยงติดเชื้อเเละกังวลจะได้รับของช้าหรืออาจเสียหาย

โดยหวังว่าสถานการณ์ของธุรกิจขนส่งจะคลี่คลายโดยเร็ว เบื้องต้นในช่วงนี้ก็ต้องปรับตัว เช่น เปลี่ยนบริษัทที่ส่งให้เหมาะสมกับจังหวัดปลายทาง เเม้จะมีค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้น ก็พยายามให้ของไปถึงลูกค้าอย่างสมบูรณ์เเละรวดเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้พร้อมต้องติดตามสินค้าให้ด้วย

ด้านพ่อค้าเเม่ค้าออนไลน์ที่จำหน่าย ผลไม้สด ต้นไม้ กล้าพันธุ์ไม้ และของเน่าเสียง่าย ที่บริษัทขนส่งหลายราย ‘งดรับบริการชั่วคราวนั้น เรียกได้ว่าซวยเเล้วซวยอีก จากราคาผลผลิตทางการเกษตรที่ตกต่ำอยู่เเล้ว

โดยผู้ใช้ทวิตเตอร์รายหนึ่ง โพสต์ข้อความถึงความเสียหายจากอุทกภัย ทำให้มังคุดที่มีอยู่ขายไม่ได้ เเม้จะลดราคาลงเหลือกิโลกรัมละ 5 บาทเเล้วก็ตาม อีกทั้งส่งขายทางออนไลน์ไม่ได้อีก

ระวังพิษเศรษฐกิจ ฉุด ‘กำลังซื้อลด’ 

จากข้อมูลของ We are Social เปิดเผยในรายงาน Global Digital Stat 2021 ระบุว่า วิกฤตโควิดเป็นปัจจัยสำคัญทำให้การเติบโตของอีคอมเมิร์ซไทย ทั้งอีโคซิสเต็มส์ขยายตัวเพิ่มขึ้นมากอย่างมีนัยสำคัญ

คนไทยนิยมช้อปปิ้งออนไลน์สูงสุดเป็นอันดับ 3 ของโลก หรือราว 83.6% สูงกว่าหลายประเทศพัฒนาแล้ว เช่นเดียวกับการช้อปปิ้งออนไลน์ผ่านมือถือ คนไทยก็ครองอันดับ 2 ของโลก ด้วยสัดส่วนถึง 74.2% โดยหมวดอาหาร ของใช้ส่วนตัว ของใช้ภายในบ้านเพิ่มขึ้นอย่างมาก อันเป็นผลมาจากมาตรการล็อกดาวน์

ขณะเดียวกัน ด้วยภาวะเศรษฐกิจที่ซบเซา ก็ทำให้กำลังซื้อความเชื่อมั่นของผู้บริโภคลดลงตามไปด้วย เพราะคนต้องประหยัดมากขึ้น ระวังการจับจ่ายใช้สอย

ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจธนาคารไทยพาณิชย์ หรือ EIC ประเมินว่า โควิด-19 ระลอกที่ 3 มีแนวโน้มสร้างความเสียหายต่อการบริโภคภาคเอกชนกว่า 7.7 แสนล้านบาท หรือราว 4.8% ของ GDP จากผลของมาตรการล็อกดาวน์ ความกังวลของประชาชนต่อการติดเชื้อและความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจที่สูงขึ้นมาก ตลอดจนรายได้ของผู้ประกอบการและแรงงานในหลายภาคธุรกิจที่จะปรับลดลงมาก

แม้ภาคธุรกิจและผู้บริโภคบางส่วนจะหันไปใช้ธุรกรรมออนไลน์มากขึ้น ซึ่งจะช่วยบรรเทาผลกระทบได้บางส่วนเท่านั้น ทำให้เกิด ‘แผลเป็นเศรษฐกิจที่ลึกขึ้น’ ขณะที่เม็ดเงินช่วยเหลือจากภาครัฐที่ออกมายังไม่เพียงพอ โดยรัฐต้องเร่งกระจายวัคซีนให้ทั่วถึงอย่างเร็วที่สุด

ผลกระทบต่อธุรกิจขายออนไลน์ครั้งนี้ จึงเป็นการซ้ำเติมความลำบากของประชาชนรายย่อยให้ร้าวลึกลงไปอีก โดยฝั่งธุรกิจขนส่งพัสดุด่วนเองก็ต้องปรับตัวรับมือครั้งใหญ่ เมื่อโรคระบาดยังไม่หายไปโดยเร็ว เเต่พนักงานยังต้องลงพื้นที่เสี่ยงในทุกๆ วัน

 

]]>
1344529
‘ไปรษณีย์ไทย’ เปิดเเผนจัดการ ‘พัสดุตกค้าง’ หลังพนักงานติดโควิด แบ่งทีม-ปรับเวลาทำงาน ย้ำจะไม่ปิดบังข้อมูล  https://positioningmag.com/1344274 Tue, 27 Jul 2021 09:37:11 +0000 https://positioningmag.com/?p=1344274
‘ไปรษณีย์ไทย’ เปิดเเผนใหม่ จัดการ ‘พัสดุตกค้าง’ หลังพนักงานติดโควิด แบ่งทีม-ปรับเวลาทำงาน ย้ำจะให้ข้อมูลตรงไปตรงมา ไม่ปิดบัง 

จากการระบาดของโควิด-19 ในปัจจุบัน ทำให้มีเจ้าหน้าที่ไปรษณีย์ไทยจำนวนหนึ่งติดเชื้อ และไปรษณีย์บางแห่งต้อง ‘ปิดให้บริการชั่วคราว’ เพื่อป้องกันการระบาดนั้น

ดร.ดนันท์ สุภัทรพันธุ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด ชี้เเจงว่า กรณีดังกล่าว มีเจ้าหน้าที่บางส่วนต้องทำการรักษาและกักตัวชั่วคราว แต่ไปรษณีย์ไทยซึ่งเป็นหน่วยงานผู้ให้บริการด้านขนส่งและการสื่อสารภายใต้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ยังคงต้องให้บริการประชาชนอย่างต่อเนื่องแม้ในภาวะวิกฤต “จึงอาจมีการจัดส่งสิ่งของล่าช้าในบางพื้นที่”

ปัจจุบันไปรษณีย์ไทย มีปริมาณไปรษณียภัณฑ์และพัสดุด่วน เฉลี่ยอยู่ที่ 8 ล้านชิ้นต่อวัน

จากการระบาดของ ไปรษณีย์ไทย ให้ความสำคัญในการไม่ให้งานตกค้าง โดยได้มีการจัดทำแผนบริหารความเสี่ยง และแนวทางดำเนินงานรองรับสถานการณ์การแพร่ระบาด ดังนี้

1.แบ่งเจ้าหน้าที่นำจ่ายออกเป็น 2 กลุ่ม โดยกำหนดให้ทำงานเหลื่อมเวลากัน

2.นำเจ้าหน้าที่จากไปรษณีย์ที่อยู่ใกล้เคียงมาปฏิบัติหน้าที่ในการนำจ่ายแทนเจ้าหน้าที่ของไปรษณีย์ที่ต้องปิดให้บริการชั่วคราว

3.ปรับเปลี่ยนเวลาการทำงานของเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ศูนย์ไปรษณีย์ที่ใช้ในการคัดแยกปลายทางซึ่งเปิดทำการตลอด 24 ชั่วโมง พร้อมจัดพื้นที่ปฏิบัติงานให้มีความปลอดภัย ตามมาตรการเว้นระยะห่างทางสังคม

4.กำชับให้เว้นระยะห่างเพื่อลดความเสี่ยง แยกกันรับประทานอาหาร ห้ามสูบบุหรี่ร่วมกัน และห้ามจับกลุ่มคุยกันอย่างใกล้ชิด

5.ไปรษณีย์ที่มีพื้นที่ปฏิบัติงานหลายจุดให้กำหนดเป็นพื้นที่ปฏิบัติงานสำรอง ในกรณีที่จุดใดจุดหนึ่งต้องปิด

6.ปรับสถานที่ปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่นำจ่ายให้มีระยะห่างกันเพิ่มมากขึ้น

ไปรษณีย์ไทย ย้ำว่าจะไม่ปกปิดข้อมูล หากพบว่ามีเจ้าหน้าที่ติดเชื้อและจะรายงานให้ผู้ใช้บริการทุกท่านทราบผ่านช่องทางออนไลน์ต่าง ๆ ของไปรษณีย์ไทยอย่างตรงไปตรงมา แต่ด้วยสถานการณ์ในปัจจุบันอาจส่งผลกระทบให้การนำจ่ายสิ่งของในช่วงนี้อาจล่าช้าบางพื้นที่ จึงต้องขออภัยผู้ใช้บริการมา ณ ที่นี้

นอกจากนี้ ไปรษณีย์ไทย ได้กำชับให้เจ้าหน้าที่ทุกคนปฏิบัติตามมาตรการด้านสุขอนามัยอย่างเคร่งครัด เช่น

  • ที่ทำการไปรษณีย์ทุกแห่งต้องคัดกรองผู้ใช้บริการก่อนเข้าที่ทำการอย่างเข้มงวด
  • ให้บริการเจลล้างมือแอลกอฮอล์ตั้งแต่เข้าที่ทำการ ระหว่างใช้บริการ และหลังจากเสร็จสิ้นกิจกรรม จัดระยะห่างทั้งเคาน์เตอร์ให้บริการ เก้าอี้พักรอใช้บริการ
  • ทำความสะอาดจุดสัมผัสในที่ทำการ เช่น จุดกดบัตรคิว มือจับประตู เคาน์เตอร์ให้บริการทุกๆ 20 นาที
    คัดกรองเจ้าหน้าที่ก่อนปฏิบัติหน้าที่อย่างเคร่งครัด ต้องสวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลาระหว่างปฏิบัติงาน ล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอล์ และงดการพูดคุยระหว่างให้บริการ
  • เจ้าหน้าที่นำจ่ายต้องตรวจวัดอุณหภูมิก่อนปฏิบัติงานทุกครั้ง และล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอล์ระหว่างนำจ่ายสิ่งของให้ลูกค้าทุกครั้ง ศูนย์ไปรษณีย์มีการพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อบนพัสดุทุกชิ้น
  • สำหรับผู้ใช้บริการที่ไม่ต้องการลงนามรับสิ่งของ สามารถแจ้งให้บุรุษไปรษณีย์บันทึกชื่อ-นามสกุล แทนการลงนามได้ เพื่อลดความเสี่ยงในการสัมผัส

ก่อนหน้านี้ ไปรษณีย์ไทยได้ระงับการฝากส่ง ‘ผลไม้สด ต้นไม้ กล้าพันธุ์ไม้ และของเน่าเสียง่าย’ เป็นการชั่วคราวถึงวันที่ 31 ก.ค. 2564 เพื่อป้องกันผลไม้และต้นไม้เสียหาย เนื่องจากมีวันหยุดต่อเนื่อง รวมถึงการระบาดของโควิด-19 ส่งผลให้การจัดส่งและนำจ่ายสิ่งของเป็นไปอย่างจำกัด และบางพื้นที่การจัดส่งอาจล่าช้า

โดยไปรษณีย์ไทยจะแจ้งข้อมูลที่ทำการไปรษณีย์ที่ปิดให้บริการรับฝากชั่วคราว หรืองดนำจ่ายชั่วคราว หรือนำจ่ายล่าช้า รวมทั้งการปิดทำการชั่วคราวของไปรษณีย์บางแห่ง ให้ผู้ใช้บริการทราบทุกวัน ผ่านช่องทาง เว็บไซต์ www.thailandpost.co.th เฟซบุ๊ก ไปรษณีย์ไทย ทวิตเตอร์ @Thailand_Post เเละไลน์ออฟฟิเชียล @Thailand Post

]]>
1344274
AIS เปิดโครงการ ฝากทิ้ง E-Waste ขยะอิเล็กทรอนิกส์ กับพี่ไปรษณีย์ได้ฟรี! https://positioningmag.com/1319766 Wed, 17 Feb 2021 06:01:05 +0000 https://positioningmag.com/?p=1319766 ปัญหาขยะอิเล็กทรอนิกส์ (E-Waste) ถือเป็นอีก 1 ประเด็นที่หลายภาคส่วนต่างออกมารณรงค์ให้คนไทยตระหนักและให้ความสำคัญกับการทิ้งอย่างถูกที่ และถูกวิธี เพราะขยะประเภทนี้นอกจากจะไม่ย่อยสลายตามธรรมชาติแล้ว ยังปลดปล่อยสารพิษลงสู่สภาพแวดล้อม ซึ่งท้ายที่สุดก็จะย้อนกลับมาทำร้ายพวกเราได้อีกด้วย

ที่ผ่านมา แม้จะมีหลายหน่วยงานออกมาตั้งจุดรับทิ้ง E-Waste แต่ก็อาจจะยังไม่ทั่วถึงอยู่ดี รวมถึงในสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ระลอกใหม่ ที่แม้จะทำให้เราควรต้องอยู่บ้าน หยุดเชื้อเพื่อชาติกันมากขึ้น แต่บริการรับ/ส่ง จดหมายหรือพัสดุจากไปรษณีย์ไทยไม่เคยหยุด

จึงเป็นที่มาของบริการ “ฝากทิ้ง ขยะอิเล็กทรอนิกส์” กับพี่ๆ ไปรษณีย์ นับเป็นการต่อยอดความร่วมมือระหว่าง เอไอเอส กับ ไปรษณีย์ไทย หลังจากร่วมกันตั้งจุดรับทิ้ง E-Waste ณ ที่ทำการไปรษณีย์ ในโครงการ “คนไทยไร้ E-Waste” มาก่อนหน้านี้ ดีเดย์วันแรก 15 กุมภาพันธ์

สายชล ทรัพย์มากอุดม หัวหน้าฝ่ายงานประชาสัมพันธ์ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส เล่าว่า

“เชื่อว่าวันนี้พวกเราตื่นตัวกับปัญหาขยะอิเล็กทรอนิกส์กันมากขึ้น แต่ Pain Point คือ ไม่สะดวกที่จะนำไปทิ้ง ณ จุดรับทิ้ง ดังนั้นการเข้าไปรับฝากทิ้งขยะอิเล็กทรอนิกส์ถึงที่บ้านเพื่อส่งต่อให้เอไอเอส ทุกๆ คนสามารถมั่นใจได้ว่าเราจะนำไปกำจัด และ Recycle อย่างถูกต้องตามมาตรฐานสากลในรูปแบบของ Zero Landfill จึงเป็นสิ่งที่จะช่วยแก้ปัญหานี้ได้อย่างดีที่สุด ซึ่งต้องขอขอบคุณทางไปรษณีย์ไทย ที่ให้ความสำคัญกับปัญหาสิ่งแวดล้อม โดยร่วมกับเอไอเอส ในการรณรงค์ และเป็นช่องทาง “ฝากทิ้ง ขยะอิเล็กทรอนิกส์” ผ่านบุรุษไปรษณีย์กว่า 20,000 คนทั่วประเทศ เพื่อให้คนไทยทิ้งขยะอิเล็กทรอนิกส์จากที่บ้านได้ง่ายๆ สะดวก และที่สำคัญไม่เสียค่าใช้จ่าย โดยสามารถฝากทิ้งได้ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป”

2 ขั้นตอนง่ายๆ “ฝากทิ้ง ขยะอิเล็กทรอนิกส์” กับบุรุษไปรษณีย์

  1. เตรียม E-Waste ทั้ง 5 ประเภท ได้แก่ โทรศัพท์มือถือ/แท็บเล็ต, สายชาร์จ, หูฟัง, พาวเวอร์แบงก์ และแบตเตอรี่มือถือ ให้พร้อม และนำใส่กล่อง พร้อมเขียนหน้ากล่อง “ฝากทิ้ง ขยะอิเล็กทรอนิกส์”
  2. ฝากทิ้ง กับพี่ไปรษณีย์ ที่มาส่งจดหมาย หรือพัสดุ ที่บ้านได้เลย โดยไม่มีค่าใช้จ่าย
]]>
1319766