การเเพร่ระบาด – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Thu, 23 Dec 2021 12:14:57 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 วิจัยพบ “โอมิครอน” รุนแรงถึงขั้นเข้าโรงพยาบาลน้อยกว่า 15-20% เทียบกับ “เดลตา” https://positioningmag.com/1368493 Thu, 23 Dec 2021 09:11:35 +0000 https://positioningmag.com/?p=1368493 ผลการศึกษาจากเคสจริงในอังกฤษพบว่า ผู้ติดเชื้อโรค COVID-19 สายพันธุ์ “โอมิครอน” มีแนวโน้มส่งผลรุนแรงถึงขั้นเข้าโรงพยาบาลน้อยกว่า 20% เมื่อเทียบกับเชื้อสายพันธุ์ “เดลตา” แม้ว่าการระบาดจะรวดเร็วกว่าและหลบภูมิคุ้มกันจากวัคซีนได้ดีกว่าก็ตาม

ก่อนหน้านี้นักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกต่างเคร่งเครียดกับการค้นพบในระยะแรกว่า แม้ว่าความรุนแรงของเชื้อโรค COVID-19 สายพันธุ์ “โอมิครอน” น่าจะรุนแรงถึงแก่ชีวิตน้อยกว่า “เดลตา” แต่ก็ยังต้องชั่งน้ำหนักกับความสามารถของเชื้อที่แพร่ไปได้เร็วกว่า และหลบหลีกภูมิคุ้มกันจากการฉีดวัคซีนได้ดีกว่า แม้จะรุนแรงน้อยแต่การติดเชื้อเร็วก็อาจจะทำให้คนไข้ล้นระบบสาธารณสุขได้

อย่างไรก็ตาม ผลการศึกษาจาก Imperial College London ซึ่งศึกษาจากกรณีผู้ติดเชื้อสายพันธุ์โอมิครอนในอังกฤษ พบว่า เชื้อสายพันธุ์นี้มีแนวโน้มทำให้เข้าโรงพยาบาลน้อยกว่าอีกด้วย

โดยการวิจัยนี้พบว่า ผู้ติดเชื้อโอมิครอนมีแนวโน้มเข้าโรงพยาบาลน้อยกว่าผู้ติดเชื้อเดลตา 15-20% และแนวโน้มที่จะอยู่ในโรงพยาบาลระยะสั้นกว่าผู้ติดเชื้อเดลตา 1 วันหรือมากกว่าถึง 40-45% สะท้อนให้เห็นความรุนแรงของโรคต่ำกว่า

ทั้งนี้ พบว่าผู้ติดเชื้อที่เป็นการติดเชื้อซ้ำมีความเสี่ยงรุนแรงถึงขั้นเข้าโรงพยาบาลต่ำกว่า 50-60% เมื่อเทียบกับผู้ติดเชื้อครั้งแรก รวมถึงพบว่าผู้ที่ฉีดวัคซีน AstraZeneca, Pfizer หรือ Moderna ครบโดสแล้ว จะลดความเสี่ยงการเข้าโรงพยาบาลได้อย่างชัดเจนเมื่อติดเชื้อโอมิครอน เทียบกับผู้ที่ไม่เคยรับวัคซีนเลยและติดเชื้อเดลตา

การศึกษานี้เก็บข้อมูลจากผู้ติดเชื้อในอังกฤษระหว่างวันที่ 1-14 ธันวาคม 2021 แบ่งเป็นผู้ติดเชื้อสายพันธุ์โอมิครอน 56,000 เคส และสายพันธุ์เดลตา 269,000 เคส

ผู้วิจัยมีข้อคำนึงถึงระบุไว้ด้วยว่า การศึกษานี้ทำในอังกฤษซึ่งประชาชนมีอัตราเคยผ่านการติดเชื้อโรค COVID-19 มาแล้วถึง 17.3% ของประชากรทั้งหมด และอาจจะไม่ใช่ตัวเลขครบทั้งหมดด้วย มีความเป็นไปได้ว่าคนกว่าครึ่งหนึ่งของอังกฤษเคยผ่านการติดเชื้อมาแล้วก่อนจะเกิดการระบาดของสายพันธุ์โอมิครอน ทำให้การวิจัยนี้มีกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบ้างแล้วจากการที่เคยติดเชื้อ

สถานการณ์ปัจจุบันหลังการระบาดของโอมิครอน หลายประเทศทั่วโลกต่างสั่งยกระดับความเข้มงวดในการเข้าประเทศ บางประเทศเริ่มมีคำสั่งที่ลดการพบปะของผู้คน เช่น เนเธอร์แลนด์มีคำสั่งปิดร้านค้าที่ไม่จำเป็น ปิดบาร์ ฟิตเนส และสถานที่สาธารณะ ในบางประเทศสายพันธุ์โอมิครอนกำลังกลายเป็นสายพันธุ์หลักแทนที่เดลตาแล้ว เช่น สหรัฐอเมริกา

Source: Imperial College London, Aljazeera

]]>
1368493
ซีอีโอ ‘Moderna’ ผู้ผลิตวัคซีนรายใหญ่ มองว่า COVID-19 อาจจะอยู่กับเรา ‘ตลอดไป’ https://positioningmag.com/1314626 Sun, 17 Jan 2021 11:50:13 +0000 https://positioningmag.com/?p=1314626 ซีอีโอของบริษัทผู้ผลิตวัคซีน COVID-19 รายใหญ่ของโลกอย่างModerna’ บอกว่า เราอาจจะต้องอยู่กับไวรัสชนิดนี้ตลอดไป

สอดคล้องกับความเห็นของผู้เชี่ยวชาญด้านโรคระบาดหลายคนที่มองว่า มีความเป็นไปได้สูงที่ไวรัสโคโรนาจะกลายเป็นโรคประจำถิ่นที่สามารถพบได้ตลอดเวลา แม้ว่าตอนนี้มีอัตราการระบาดจะลดลงแล้วก็ตาม

Stephane Bancel ซีอีโอของ Moderna กล่าวในงาน JPMorgan Healthcare Conference ตอนหนึ่งว่าผู้คนทั่วโลกอาจจะต้องอยู่กับไวรัสชนิดนี้ตลอดไป มันจะไม่หายไปไหน’

ด้านเจ้าหน้าที่ด้านสาธารณสุข กำลังจับตาการกลายพันธุ์ของ COVID-19 อย่างต่อเนื่อง เเม้ตอนนี้จะมีการผลิตวัคซีนออกมาเเละมีการเริ่มฉีดให้ประชาชนบางส่วนเเล้ว เเต่นักวิจัยจากรัฐโอไฮโอ สหรัฐฯ ระบุว่า พวกเขาเพิ่งค้นพบ COVID-19 สายพันธุ์ใหม่ 2 ชนิดที่มาจากอเมริกา เเละเริ่มเเพร่ระบาดในประเทศมาอย่างน้อย 3 สัปดาห์เเล้ว ตั้งแต่ปลายเดือนธันวาคม 2020

ก่อนหน้านี้ มีการค้นพบการกลายพันธุ์ของ COVID-19 ในอังกฤษเเละเเอฟริกาใต้ ก่อนจะลุกลามไปเเล้วกว่า 50 ประเทศทั่วโลก ซึ่งคาดว่าการกลายพันธุ์ดังกล่าวสามารถเเพร่ระบาดได้เร็วขึ้นกว่าเดิมมาก

โดยองค์การอนามัยโลก ระบุว่าตอนนี้มีไวรัส COVID-19 อยู่ 4 สายพันธุ์ เเต่ความรุนเเรงที่อาจทำให้ถึงขั้นเสียชีวิตยังไม่เท่ากับสายพันธุ์เดิม

ด้านนักวิจัยจาก Pfizer ระบุว่า วัคซีนที่ได้ร่วมพัฒนากับ BioNTech นั้นมีประสิทธิภาพในการป้องกัน COVID-19 สายพันธุ์ใหม่ที่กำลังแพร่ระบาดอยู่ในอังกฤษและในแอฟริกาใต้ 

ส่วนวัคซีนของ Moderna เพิ่งได้รับอนุมัติจากองค์การอาหารและยาของสหรัฐฯ ให้สามารถใช้กับชาวอเมริกันที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปได้ แต่วัคซีนสำหรับเด็กยังต้องพัฒนาต่อไป เนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันของเด็กแตกต่างกับผู้ใหญ่

ตอนนี้ ทางการสหรัฐฯ กำลังเร่งเเจกจ่ายวัคซีนให้กับประชาชน เเต่ยังต้องใช้เวลาหลายเดือนกว่าที่จะครอบคลุมประชากรในจำนวนที่เพียงพอให้เกิด ‘herd immunity’ หรือการสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ได้

ซีอีโอของ Moderna มองว่า สหรัฐฯ น่าจะเป็นหนึ่งในประเทศขนาดใหญ่ชาติเเรกๆ ที่ประสบความสำเร็จจากการปกป้องจากโรค COVID-19 ด้วยการฉีดวัคซีนอย่างเพียงพอ

 

ที่มา : CNBC

]]> 1314626 COVID-19 : การระบาดระลอกสองเกิดขึ้นหรือยัง และจะมาเมื่อไหร่? https://positioningmag.com/1285598 Mon, 29 Jun 2020 06:10:11 +0000 https://positioningmag.com/?p=1285598 หลังประเทศต่างๆ รอบโลกเริ่มผ่อนคลายการล็อกดาวน์และกฎการเว้นระยะห่างทางสังคม บางพื้นที่จึงเกิดผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นอีกครั้ง แต่คำถามก็คือ ต้องเกิดผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นมากแค่ไหน นานแค่ไหน และเป็นวงกว้างแค่ไหน จึงจะเรียกได้ว่าเป็นการระบาดระลอกสองของโรค COVID-19 และผู้เชี่ยวชาญคาดว่าจะเกิดขึ้นเมื่อไหร่

ในสหรัฐอเมริกา เคสผู้ติดเชื้อรายใหม่เริ่มลดลงจนเหลือประมาณ 20,000 รายต่อสัปดาห์ ก่อนจะกลับขึ้นมาพุ่งขึ้นอีกเมื่อเร็วๆ นี้ สหรัฐฯ รายงานพบจำนวนผู้ติดเชื้อถึง 40,000 คนเฉพาะในวันที่ 25 มิถุนายน 2020 เพียงวันเดียว นับเป็นวันที่มีผู้ติดเชื้อรายใหม่มากที่สุดตั้งแต่เกิดโรคระบาดในสหรัฐฯ มา

วันเดียวกันนั้น ฮานส์ คลูจ ผู้อำนวยการประจำภูมิภาคยุโรปของ องค์การอนามัยโลก (WHO) แถลงว่าประเทศ 30 ประเทศในยุโรปพบเคสผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่มขึ้นช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา เพราะเริ่มผ่อนคลายล็อกดาวน์ โดยมี 11 ประเทศในจำนวนดังกล่าวที่มี “การเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ” ของเคสผู้ติดเชื้อ ทั้งนี้ คลูจขอสงวนการระบุชื่อประเทศ

Photo : Shutterstock

อย่างไรก็ตาม กลุ่มผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า จะประกาศว่าพื้นที่เหล่านี้มีการระบาดระลอกสองได้หรือยังนั้นยังไม่แน่ชัด เนื่องจากนิยามของ “ระลอกสอง” ก็ยังไม่ชัดเจนเช่นกัน

“แอนโธนี ฟอซี” ผู้อำนวยการสถาบันภูมิแพ้และโรคติดต่อแห่งชาติ สหรัฐอเมริกา ให้สัมภาษณ์กับ The Washington Post เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2020 ว่า สหรัฐฯ ยังถือว่าเป็นการระบาดรอบแรกอยู่ แม้ว่าจะเห็นจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ลดลงและกลับเพิ่มขึ้นในเวลาที่แตกต่างกัน และเกิดขึ้นในหลายพื้นที่ของประเทศก็ตาม

 

ไม่น่าจะเกิดจากการกลายพันธุ์ แต่เกิดจากคนเปลี่ยนพฤติกรรม

ด้าน “จอห์น แมทธิวส์” ศาสตราจารย์เกียรติคุณด้านสุขภาวะโลกและประชากร มหาวิทยาลัยเมลเบิร์น กล่าวว่า “การระบาดระลอกสอง” ตามปกติแล้วจะหมายถึง สภาวะที่โรคมีการระบาดลดลงอย่างรวดเร็ว ตามด้วยการกลับมาระบาดซ้ำสูงอย่างกะทันหัน

“แต่ไม่เคยมีใครให้คำนิยามการวัดสเกลอย่างชัดเจนว่าเท่าไหร่จึงจะเรียกว่าระบาดรอบสอง ไม่ว่าจะเป็นนิยามของช่วงเวลา พื้นที่ หรือจำนวนผู้ติดเชื้อ” แมทธิวส์กล่าวและเสริมว่า นิยามของระลอกสองยังคงคลุมเครือ และไม่ควรมีใครใช้คำนี้อย่างไม่ระมัดระวัง

การระบาดระลอกสองมักจะถูกเชื่อมโยงเข้ากับการระบาดของ ไข้หวัดใหญ่สเปน เมื่อปี 1918 ซึ่งทำให้มีผู้ติดเชื้อ 500 ล้านคน และเสียชีวิต 50 ล้านรายทั่วโลก ความร้ายแรงของมันเกิดจากการระบาดรอบสองซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิตมากกว่ารอบแรก และมาเกิดขึ้นเอาหลายเดือนหลังจากรอบแรกผ่านไปแล้ว รวมถึงยังมีระลอกที่สามตามมาอีกในหลายประเทศช่วงปี 1919

photo: Shutterstock

แมทธิวส์กล่าวว่า การระบาดระลอกสองของไข้หวัดใหญ่แบบนี้มักจะเกิดจาก การเปลี่ยนแปลงของตัวไวรัสเอง หรือ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของคน ซึ่งในกรณีของไข้หวัดสเปน 1918 คาดว่าเกิดจากการเปลี่ยนในตัวไวรัสเอง เนื่องจากประชากรจำนวนหนึ่งเริ่มสร้างภูมิคุ้มกันได้ ทำให้ไวรัสไข้หวัดใหญ่เริ่มพัฒนาตนเองเพื่อ “หลีกเลี่ยงระบบภูมิคุ้มกัน” และกลับมาทำให้คนติดเชื้ออีกครั้ง

“เราไม่คิดว่าสิ่งนี้จะเกิดขึ้นกับไวรัสโคโรนาเร็วๆ นี้” เขากล่าว เนื่องจากปริมาณประชากรที่มีภูมิคุ้มกันยังต่ำอยู่ เปรียบเทียบกับทฤษฎีว่าจะต้องมีประชากรที่มีภูมิคุ้มกัน 60-70% นั่นหมายถึงต้องมีการคิดค้นวัคซีนได้ก่อน และเมื่อประชากรมีภูมิคุ้มกันสูงขึ้น จะบีบบังคับให้ไวรัสต้องหยุดการแพร่ระบาดหรือกลายพันธุ์

เมื่อมาดูสถานการณ์ปัจจุบัน ประชากรส่วนใหญ่ยังอ่อนแอต่อโรค COVID-19 ดังนั้นตัวแปรที่อาจทำให้เกิดการระบาดระลอกสองจึงเป็น “การเปลี่ยนพฤติกรรมของคน” ซึ่งมาจากการบังคับใช้กฎเกณฑ์ของรัฐบาลแต่ละประเทศ

 

“มาแน่” แค่จะมาเมื่อไหร่

“ฮันนาห์ แคลปแฮม” นักระบาดวิทยาและผู้ช่วยศาสตราจารย์ด้านสาธารณสุข มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ เห็นด้วยว่า ปัจจัยสำคัญในการระบาดนี้คือนโยบายด้านสาธารณสุขที่ใช้ตอบโต้การพุ่งขึ้นของจำนวนผู้ติดเชื้อ

นิยามการระบาดระลองสองสำหรับแคลปแฮมนั้น เธอมองว่าไม่ใช่การพบเคสผู้ติดเชื้อพุ่งขึ้นสูงในวันเดียว แต่เป็นการเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ของเคสอย่างต่อเนื่อง และพื้นที่นั้นจะตอบโต้อย่างไรในเชิงนโยบายสาธารณสุขเพื่อควบคุมการติดต่อ

ผู้เชี่ยวชาญบางส่วนกังวลว่าประวัติศาสตร์ไข้หวัดสเปน 1918 จะกลับมาอีกครั้ง “เกือบจะแน่ใจได้เลยว่าการระบาดระลองสองต้องเกิดขึ้น หากยังไม่มีวัคซีนป้องกันเมื่อถึงจุดนั้น” กาเบรียล เหลียง คณบดีคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยฮ่องกง กล่าวบนเวทีสัมมนาออนไลน์เมื่อช่วงต้นเดือนที่ผ่านมา

“ระหว่างช่วงกลางถึงปลายฤดูใบไม้ร่วง น่าจะเกิดวิกฤตอีกครั้งหนึ่ง” เขากล่าว (*อยู่ในช่วงราวกลางเดือนตุลาคมถึงเดือนพฤศจิกายน)

Source

]]>
1285598
ธนาคารโลกเผย COVID-19 ทำเศรษฐกิจโลกพังทลาย หนักสุดในรอบ 150 ปี https://positioningmag.com/1282733 Tue, 09 Jun 2020 06:08:42 +0000 https://positioningmag.com/?p=1282733 ธนาคารโลก รายงานคาดการณ์ภาพรวมเศรษฐกิจโลก Global Economic Prospects ประจำปี 2020 ระบุว่า การเเพร่ระบาดของ COVID-19 ไปทั่วโลก ทำให้เกิดภาวะช็อกครั้งใหญ่อย่างรวดเร็วเเละรุนเเรง ซึ่งจะนำไปสู่การพังทลายของเศรษฐกิจโลกในวงกว้างที่สุด นับตั้งเเต่ปี 1870 (ในรอบ 150 ปี) แม้ว่ารัฐบาลในประเทศต่างๆ จะออกมาตรการมากมายอย่างไม่เคยมีมาก่อนเพื่อช่วยพยุงเศรษฐกิจเเล้วก็ตาม

จากรายงานการคาดการณ์เศรษฐกิจโลกฉบับล่าสุด ธนาคารโลก (World Bank) ประเมินว่าเศรษฐกิจโลกจะติดลบ 5.2% ในปีนี้ โดยหากพิจารณาจีดีพีต่อหัว จะพบว่าการหดตัวของเศรษฐกิจโลกในครั้งนี้ ตกต่ำที่สุดนับตั้งแต่ปี 1945-46 ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2

ขณะเดียวกัน ยังมีอีกหลายประเทศที่ประสบความสูญเสียทางเศรษฐกิจมากกว่านั้น ซึ่งหมายความว่าขนาดของภาวะเศรษฐกิจจะตกต่ำรุนแรงเป็นวงกว้างที่สุดในรอบ 150 ปี

โดยคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจของสหรัฐฯ และญี่ปุ่น จะติดลบ 6.1% ยูโรโซน ติดลบ 9.1% บราซิล ติดลบ 8.0% อินเดีย ติดลบ 3.2% ส่วนเศรษฐกิจจีนคาดว่าจะยังเติบโต แต่จะเติบโตเพียง 1% ซึ่งเป็นอัตราที่ต่ำที่สุดในรอบ 44 ปี

ขณะที่เศรษฐกิจของตลาดเกิดใหม่ และประเทศกำลังพัฒนาจะติดลบ 2.5% นับเป็นการหดตัวครั้งแรกของประเทศกลุ่มนี้ในรอบ 60 ปี ทั้งนี้คาดว่าเศรษฐกิจไทยจะติดลบ 5.0%

การชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกเเละเศรษฐกิจจีน อาจส่งผลกระทบต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาโดยเฉพาะประเทศที่ส่งออกสินค้าโภคภัณฑ์เป็นหลัก

เเม้ World Bank จะคาดการณ์ว่า เศรษฐกิจโลกจะเริ่มฟื้นตัวและเติบโตได้ราว 4.2% ในปี 2021 แต่ก็เตือนว่า อาจมีการปรับตัวเลขคาดการณ์เศรษฐกิจโลกให้ลดลงอีก หากเกิดความไม่แน่นอนเกี่ยวกับการระบาด ซึ่งจะทำให้รัฐบาลจำเป็นต้องใช้มาตรการล็อกดาวน์เเละสั่งปิดภาคธุรกิจต่างๆ อีกรอบ ทำให้ยังมีความเสี่ยงที่เศรษฐกิจจะดิ่งลงไปมากกว่านี้ เเละหากการเเพร่ระบาดยังคงยืดเยื้อ ในสถานการณ์ที่เลวร้ายที่สุดเศรษฐกิจโลกอาจหดตัวได้ถึง -8% ในปีนี้

“ความเลวร้ายของวิกฤต COVID-19 ครั้งนี้ จะทำให้ผู้คน 70-100 ล้านคน ตกอยู่ในสภาพยากจนถึงขีดสุด มากกว่าตัวเลขที่เคยมีการประเมินก่อนหน้านี้ที่ 60 ล้านคน”

 

ที่มา : World Bank , AFP

]]>
1282733
ลาตินอเมริกา กำลังเป็น “ศูนย์กลางเเห่งใหม่” ของการระบาด COVID-19 https://positioningmag.com/1280343 Sun, 24 May 2020 10:35:36 +0000 https://positioningmag.com/?p=1280343 WHO ประกาศให้กลุ่มประเทศในลาตินอเมริกา เป็น “ศูนย์กลาง” การระบาดเเห่งใหม่ของ COVID-19 เนื่องจากมียอดผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยสถานการณ์ในบราซิลนับว่าวิกฤตที่สุดในตอนนี้

นายเเพทย์ Michael Ryan อำนวยการเหตุฉุกเฉินขององค์การอนามัยโลก (WHO) เปิดเผยว่า ในขณะนี้ทวีปอเมริกาใต้ได้กลายเป็นศูนย์กลางของการระบาดเเห่งใหม่ของ COVID-19 แล้ว และประเทศที่อยู่ในขั้นวิกฤตคือ “บราซิล” ที่มียอดผู้เสียชีวิตเกิน 2 หมื่นราย มีผู้ติดเชื้อสะสมเเล้วกว่า 3.3 เเสนราย ขณะที่เม็กซิโกและเปรู ก็ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงเช่นกัน

โดยล่าสุดบราซิล เป็นประเทศที่มีผู้ติดเชื้อมากเป็นอันดับ 3 ของโลก รองจากสหรัฐฯ และรัสเซีย ส่วนยอดผู้ติดเชื้อในอเมริกากลางและอเมริกาใต้ พุ่งสูงเกือบ 5.5 เเสนราย ทำให้ยอดผู้ติดเชื้อสะสมทั่วโลกตอนนี้เกือบแตะ 5.2 ล้านรายเเล้ว

อีกประเด็นที่น่าสนใจคือ ช่วงอายุของผู้เสียชีวิตเเละผู้ป่วย COVID-19 ในบราซิลเเตกต่างจากหลายประเทศที่จัดให้กลุ่มผู้สูงอายุเเละคนที่มีโรคประจำตัวเป็นกลุ่มเสี่ยง เเต่ผู้เสียชีวิตเเละติดเชื้อในบราซิล ส่วนใหญ่กลับเป็นคนหนุ่มสาว

นายเเพทย์ Ryan วิเคราะห์ว่า สถานการณ์นี้สะท้อนให้เห็นปัญหาในหลายปัจจัย ทั้งระบบสาธารณสุขเเละระบบเศรษฐกิจที่กดดันให้ประชาชนยังคงต้องออกมาทำงานหาเลี้ยงชีพ ท่ามกลางภาวะเสี่ยงของโรคระบาด

สุสานฟอร์โมซาในนครเซาเปาโล เมืองใหญ่ที่สุดในบราซิล กำลังเร่งขุดหลุมฝังศพเพิ่ม เพื่อให้เพียงพอกับการเสียชีวิตของผู้ป่วย COVID-19 ที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง คนงานของสุสานแห่งหนึ่งบอกว่า พวกเขาต้องฝังศพวันละ 12 ชั่วโมงติดต่อกันมาหลายวันแล้ว

สำหรับพิธีฝังศพนั้น รัฐบาลอนุญาตให้เฉพาะสมาชิกครอบครัวเท่านั้นที่สามารถเข้าไปภายในสุสานได้ โดยบุคคลอื่นที่มาร่วมไว้อาลัยต้องรอด้านนอก

ขณะที่ประธานาธิบดี Jair Bolsonaro เเห่งบราซิลกำลังถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนัก เรื่องการรับมือ COVID-19 ที่ไม่มีประสิทธิภาพ โดยในช่วงเเรกของโรคระบาด เขาเคยกล่าวว่านี่เป็นเพียง ไข้หวัดธรรมดาเเละร่วมสนับสนุนผู้ชุมนุมฝ่ายต่อต้านคำสั่งล็อกดาวน์ด้วย

นอกจากโซนลาตินอเมริกาที่สถานการณ์กำลังน่าเป็นห่วงเเล้ว “ทวีปเเอฟริกา” ก็กำลังเข้าสู่ช่วงวิกฤต โดยมียอดผู้ติดเชื้อสะสมเเล้วกว่า 1 เเสนราย ใน 54 ประเทศ เเต่ตอนนี้ยอดผู้เสียชีวิตยังอยู่ในระดับต่ำราว 3 พันราย อย่างไรก็ตาม ต้องเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิดเนื่องจากการระบาดยังไม่ถึงจุดสูงสุด โดยประเทศที่มีความเสี่ยงสูงคือประเทศที่มีระบบสาธารณสุขที่ไม่มีประสิทธิภาพเเละมีความขัดเเย้งภายใน อย่างโซมาเลียเเละซูดานใต้ ซึ่งขณะนี้กำลังมียอดผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว

 

ที่มา : AFP, euronews , Reuters

]]> 1280343