ขายกิจการ – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Thu, 22 Feb 2024 07:21:41 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ดีลล่ม! บริษัทแม่ Foodpanda แจ้งดีลขายกิจการใน SEA ที่ยืดเยื้อมาหลายเดือนสรุป “ตกลงกันไม่ได้” https://positioningmag.com/1463649 Thu, 22 Feb 2024 06:46:07 +0000 https://positioningmag.com/?p=1463649 ย้อนไปเมื่อเดือนกันยายนปีก่อน “Delivery Hero” บริษัทแม่ของ “Foodpanda” ยืนยันว่าบริษัทอยู่ระหว่างเจรจาขายกิจการในตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อยู่จริง แต่ล่าสุดเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2024 บริษัทออกแถลงการณ์แจ้งว่าดีลซื้อขายกิจการที่คุยกันมาตลอดหลายเดือนนั้นไม่สามารถตกลงกันได้ อย่างไรก็ตาม บริษัทยังเปิดกว้างต่อการเจรจาควบรวมกิจการกับผู้สนใจรายอื่นต่อไป

Delivery Hero บริษัทยักษ์ใหญ่ด้านฟู้ดเดลิเวอรีจากเยอรมนี ออกแถลงการณ์ประกาศว่าบริษัทตกลง “สิ้นสุดการเจรจา” กับบริษัทที่สนใจซื้อกิจการในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รายหนึ่งแล้ว โดยไม่ได้เปิดเผยชื่อบริษัทดังกล่าว

ก่อนหน้านี้เมื่อเดือนกันยายนปีก่อน Delivery Hero ตกเป็นข่าวว่ากำลังขายกิจการ Foodpanda ในตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ สิงคโปร์ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ ไทย กัมพูชา เมียนมา และลาว ในช่วงเวลาเดียวกัน บริษัทมีการประกาศเลย์ออฟพนักงานเพื่อ ‘จัดโครงสร้างบริษัท’ และ ‘ให้เกิดความคล่องตัวขึ้น’ สะท้อนให้เห็นว่าบริษัทน่าจะกำลังลดการลงทุนในตลาดแถบนี้

ในแถลงการณ์ที่ออกมาล่าสุด Delivery Hero ระบุว่า บริษัทที่กำลังพูดคุยซื้อกิจการไม่ตกลงตามเงื่อนไข

“การตัดสินใจที่จะสิ้นสุดการเจรจาหลังจากพูดคุยกันมานานหลายเดือนนั้นเกิดขึ้นหลังจากเราได้พิจารณาอย่างรอบคอบแล้ว” Niklas Östberg ซีอีโอและผู้ร่วมก่อตั้ง Delivery Hero กล่าว

แถลงการณ์ครั้งนี้บริษัทก็ยังคงไม่แจ้งอย่างชัดเจนว่าผู้ซื้อที่สนใจคือใคร อย่างไรก็ตาม เมื่อเดือนกันยายนที่มีข่าวครั้งแรกนั้น หนังสือพิมพ์ธุรกิจในเยอรมนี Wirtschaftswoche ให้ชื่อว่าผู้ที่สนใจซื้ออยู่คือ Grab คู่แข่งสำคัญในตลาดนี้

เมื่อสัปดาห์ก่อนที่จะประกาศล่มดีล Östberg เพิ่งจะให้ข่าวกับ CNBC ว่า เขาพอใจถ้าจะต้องเก็บแบรนด์ Foodpanda ไว้ต่อไป ไม่ได้มีความจำเป็นที่จะต้องรีบขาย เป็นการตอบโต้หลังมีข่าวลือมาก่อนหน้านี้แล้วว่าการเจรจาตกลงซื้อขายหน่วยธุรกิจของบริษัทใน SEA น่าจะไม่เกิดขึ้นจริง จนทำให้ราคาหุ้นของ Delivery Hero ตกลง

Östberg ยังกล่าวในแถลงการณ์ยุติเจรจาซื้อขายครั้งนี้ด้วยว่า “ความแข็งแกร่งของธุรกิจของเราในเอเชียแปซิฟิกนั้นชัดเจนขึ้นมาเมื่อไตรมาสที่แล้ว หลังจากตลาดภูมิภาคนี้ผ่านจุดต่ำสุดไปแล้วในปี 2023 เราเชื่อว่าภูมิภาคนี้จะยังเป็นตลาดที่สร้างการเติบโตและกำไรได้อย่างแข็งแกร่ง”

อย่างไรก็ตาม กิจการของ Delivery Hero ในเอเชียซึ่งเป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุดของบริษัทนั้นเริ่มจะทรงตัวหลังจากมาตรการเกี่ยวกับโควิด-19 เริ่มผ่อนคลายลงเมื่อปีก่อน

ในแถลงการณ์ชุดเดียวกัน Delivery Hero กล่าวว่า บริษัทยัง “เปิดกว้าง” ให้กับดีลควบรวมกิจการ (M&A) ยังคงรับพิจารณาดีลทดแทนอื่นๆ ที่มีศักยภาพเพียงพอ โดยจะต้องเป็นดีลที่สร้างคุณค่าให้กับผู้ถือหุ้น และต้องเป็นดีลที่มีความแน่นอนในการปิดดีลได้จริง

เมื่อเดือนมกราคม 2024 บริษัท Delivery Hero เพิ่งจะขายหุ้นเป็นสัดส่วน 4.5% ของบริษัทให้กับคู่แข่ง Deliveroo บริษัทฟู้ดเดลิเวอรีชื่อดังจากอังกฤษที่ขยายตลาดไปแล้วหลายประเทศ โดยมีบริการในตลาดเอเชียแปซิฟิกที่สิงคโปร์และฮ่องกง

Source

]]>
1463649
“ซิตี้แบงก์” ขายธุรกิจรายย่อย 13 ประเทศ “ไทย” โดนด้วย! เตรียมถอนตัวจากตลาด https://positioningmag.com/1327892 Fri, 16 Apr 2021 04:12:56 +0000 https://positioningmag.com/?p=1327892 “ซิตี้กรุ๊ป” ประกาศขายกิจการลูกค้ารายย่อยใน 13 ประเทศทวีปเอเชียและยุโรปตะวันออก จากแรงกดดันของนักลงทุนที่ต้องการให้ธนาคารลดต้นทุน โดยหนึ่งในประเทศที่อยู่ในรายชื่อตัดขายคือประเทศ “ไทย” ธุรกิจบัตรเครดิต สินเชื่อ เงินฝากจะถูกขายออกทั้งหมด และซิตี้จะหันไปเน้นธุรกิจบริหารความมั่งคั่งแทน

The Financial Times รายงานเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 15 เม.ย. 2021 ถึงความเคลื่อนไหวดังกล่าวของ “ซิตี้กรุ๊ป” โดยเป็นการตัดสินใจที่เกิดขึ้นหลังซีอีโอคนใหม่ “เจน เฟรเซอร์” เข้ารับตำแหน่งได้กว่า 1 เดือน เฟรเซอร์เข้าประชุมร่วมกับนักลงทุนรายใหญ่ของธนาคารหลายครั้งก่อนจะเกิดการตัดสินใจครั้งนี้ขึ้น

“แม้ว่าธุรกิจใน 13 ประเทศเหล่านี้ต่างทำได้อย่างยอดเยี่ยม แต่ตลาดไม่สามารถขยายตัวได้อย่างที่เราต้องการเพื่อจะแข่งขันต่อ” เฟรเซอร์กล่าว “ฉันวางนโยบายอย่างชัดเจนถึงการให้ความสำคัญสูงสุดของเรา นั่นคือการให้ผลตอบแทนกับนักลงทุน”

ซิตี้กรุ๊ป เป็นธนาคารสัญชาติอเมริกันที่ขยายตัวไปยังลูกค้ารายย่อยต่างประเทศได้มากที่สุด หากเปรียบเทียบกับธนาคารอเมริกันอื่นๆ

13 ประเทศเหล่านี้จะถูกตัดขายกิจการรายย่อยออกไป ได้แก่ ออสเตรเลีย บาห์เรน เกาหลีใต้ จีน ไต้หวัน อินเดีย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ ไทย เวียดนาม โปแลนด์ และรัสเซีย

(Photo : Shutterstock)

ซิตี้กรุ๊ปประกาศด้วยว่า ธนาคารจะหันไปมุ่งเน้นธุรกิจบริหารจัดการความมั่งคั่งแทน โดยมีศูนย์กลางการดำเนินกิจการเพียง 4 แห่ง คือ สิงคโปร์ ฮ่องกง UAE และลอนดอน (อังกฤษ)

“เราได้ตัดสินใจว่า เราจะเสี่ยงทุ่มลงทุนในธุรกิจความมั่งคั่ง” เฟรเซอร์กล่าว

ทั้งนี้ ธุรกิจลูกค้ารายย่อยของ 13 ประเทศที่ซิตี้จะออกจากตลาด ทำรายได้รวมกันอยู่ที่ 4.2 พันล้านเหรียญสหรัฐ เป็นสัดส่วนที่ไม่สูงมากหากเทียบกับรายได้รวมทั้งเครือปีก่อนซึ่งอยู่ที่ 7.43 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ โดยปีก่อนซิตี้กรุ๊ปมีผลขาดทุน

ธุรกิจลูกค้ารายย่อยของธนาคารซิตี้แบงก์ในไทยนั้น มีบริการประกอบด้วย บัตรเครดิต สินเชื่อ และเงินฝาก สำหรับธุรกิจบัตรเครดิตซิตี้แบงก์ เมื่อปี 2561 ซิตี้แบงก์เคยรับซื้อพอร์ตบัตรเครดิตกว่า 1 แสนรายมาจากธนาคารทิสโก้ โดยธนาคารทิสโก้เองก็รับซื้อจากสแตนดาร์ด ชาร์เตอร์ดมาเมื่อปี 2559 แต่ตัดสินใจขายให้ซิตี้แบงก์เพราะมองว่าไม่ใช่ความถนัดของธนาคาร

ไมค์ มาโย นักวิเคราะห์หลักทรัพย์จาก Wells Fargo สนับสนุนการตัดสินใจครั้งนี้ของซิตี้กรุ๊ป โดยมองว่าเป็นการพัฒนาที่ชัดเจนที่สุดของธนาคารในรอบทศวรรษ

เขายังให้ความเห็นด้วยว่า เฟรเซอร์ตัดสินใจขายกิจการภายในระยะเวลาแค่ 46 วันหลังรับตำแหน่ง นั่นทำให้เห็นสัญญาณว่าธนาคารกำลังรับมือกับปัญหาด้วยความรู้สึกของ “ความฉุกเฉิน”

Source

]]>
1327892
‘ฟิลิปส์’ ขายธุรกิจเครื่องใช้ไฟฟ้าให้ ‘Hillhouse’ บริษัทจีนในมูลค่า 4.37 พันล้านดอลลาร์ https://positioningmag.com/1325108 Thu, 25 Mar 2021 17:03:57 +0000 https://positioningmag.com/?p=1325108 เชื่อว่าชาวไทยหลายคนอย่างน้อยต้อง ‘มี’ หรือ ‘เคยมี’ เครื่องใช้ไฟฟ้าแบรนด์ ‘Philips’ (ฟิลิปส์) อย่างน้องก็คงจะเป็นหลอดไฟแน่นอน ซึ่งก็ไม่น่าแปลกเพราะฟิลิปส์บริษัทผู้ผลิตเครื่องใช้อิเล็กทรอนิกส์สัญชาติดัตช์ที่มีอายุเกือบ 130 ปีแล้ว แต่จากนี้คงไม่ได้ใช้สินค้าจากฟิลิปส์อีกแล้ว เพราะบริษัทเพิ่งขายหน่วยธุรกิจดังกล่าวให้กับ ‘Hillhouse Capital’ บริษัทสัญชาติจีนในมูลค่า 4.37 พันล้านดอลลาร์

ผู้บริโภคไทยคงจะชินกับเครื่องใช้ไฟฟ้าของฟิลิปส์ แต่จริง ๆ แล้วเป็นแค่ขาหนึ่งของบริษัทเท่านั้น โดยหลายคนอาจจะยังไม่รู้ว่าฟิลิปส์เป็นผู้ผลิตเครื่องมือแพทย์ชั้นนำระดับโลก ทั้งเครื่องตรวจวัดสัญญาณชีพ เครื่องเอกซเรย์ หรือเครื่อง MRI อีกด้วย ซึ่งสาเหตุที่ฟิลิปส์ได้ขายธุรกิจกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้านั้นก็เพราะต้องการจะเน้นไปที่อุปกรณ์ด้านการแพทย์และอุปกรณ์สำหรับดูแลสุขภาพนั่นเอง

โดยฟิลิปส์เปิดเผยว่านอกจากการซื้อธุรกิจเครื่องใช้ไฟฟ้าแล้ว Hillhouse Capital ยังจะเช่าชื่อแบรนด์ฟิลิปส์เป็นเวลา 15 ปีสำหรับใช้ผลิตสินค้า โดยบริษัทคาดว่าจะได้รับเงินประมาณ 700 ล้านยูโรเนื่องจากค่าลิขสิทธิ์

ภาพจาก shutterstock

ทั้งนี้ ฟิลิปส์เคยกล่าวเมื่อปีที่แล้วว่า ตั้งใจจะขายแผนกซึ่งมีเครื่องชงกาแฟ, เครื่องฟอกอากาศ และเครื่องดูดฝุ่นสร้างที่สร้างยอดขาย 2.2 พันล้านยูโรในปีที่แล้วเนื่องจากไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของธุรกิจหลักอีกต่อไป

“ธุรกรรมนี้เป็นการสรุปการถอนการลงทุนครั้งใหญ่ของเรา โดยเราต้องการก้าวไปข้างหน้าโดยมุ่งเน้นที่การขยายความเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีด้านสุขภาพ” Frans van Houten ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ Philips กล่าว

หุ้นของฟิลิปส์เพิ่มขึ้น 1.7% เนื่องจากข้อตกลงดังกล่าวจะนำไปสู่รายได้สุทธิ 3 พันล้านยูโรในไตรมาสที่สาม โดย Van Houten ระบุว่า เงินที่ได้จะถูกนำไปใช้เป็นเงินปันผลและการซื้อคืนหุ้น รวมถึงใช้ซื้อกิจการใหม่ ๆ ที่บริษัทเห็นโอกาสในการสร้างการเติบโต

bloomberg / Nekkei

]]>
1325108
ทนพิษบาดแผลไม่ไหว! Victoria’s Secret ขายบริษัท ซีอีโอลงจากตำแหน่ง https://positioningmag.com/1266240 Fri, 28 Feb 2020 03:52:12 +0000 https://positioningmag.com/?p=1266240
  • หลังรายได้บริษัทลดลงต่อเนื่อง ในที่สุด Victoria’s Secret ตัดสินใจขายหุ้น 55% ของบริษัทให้ไพรเวท อิควิตี้ ในราคาต่ำจนน่าตกใจ
  • ส่งผลต่อ Leslie Wexner อดีตซีอีโอและประธานบริษัทของ L Brands วัย 82 ปี ยอมลงจากตำแหน่งหลังบริหารบริษัทมาหลายทศวรรษ
  • ธุรกิจของ L Brands อดีตบริษัทแม่ จะมี Bath and Body Works เป็นธุรกิจหลักแทน
  • Victoria’s Secret ยังครองมาร์เก็ตแชร์สูงสุดในตลาดชุดชั้นในสหรัฐฯ แต่สัดส่วนนั้นลดลงไปอย่างชัดเจน โดยมีผู้ท้าชิงที่มาแรงคือ Savage X Fenty ของ Rihanna
  • L Brands บริษัทแม่ของธุรกิจชุดชั้นใน Victoria’s Secret ตัดสินใจขายหุ้นส่วนใหญ่ 55% ให้กับบริษัทไพรเวท อิควิตี้ Sycamore Partners มูลค่าดีล 525 ล้านเหรียญสหรัฐ นั่นทำให้บริษัท Victoria’s Secret จะถูกแยกออกไปเป็นบริษัทนอกตลาดหลักทรัพย์ แม้ว่า L Brands จะยังถือหุ้นอยู่ 45%

    การซื้อขายหุ้นครั้งนี้ส่งผลให้ Leslie Wexner วัย 82 ปี อดีตประธานบริษัทและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ผู้กุมบังเหียน L Brands มานานหลายทศวรรษ ต้องลงจากตำแหน่ง แต่จะยังอยู่ในตำแหน่งประธานกิตติมศักดิ์ต่อไป

    โดย Wexner แถลงในข่าวประชาสัมพันธ์การซื้อขายหุ้นว่า บริษัทเชื่อว่า Sycamore มีความเข้าใจและประสบการณ์อย่างลึกซึ้งในธุรกิจรีเทล และจะนำทางบริษัทนี้ให้กลับไปสู่การเติบโตและการทำกำไรเช่นในอดีตได้ ด้วยมุมมองที่สดใหม่กว่าในการทำธุรกิจ

    ทั้งนี้ หลังจาก L Brands ตัดขายหุ้นใหญ่ในบริษัทชุดชั้นในออกไป ทำให้ Bath and Body Works กลายเป็นธุรกิจหลักของบริษัทแทน

    การขายหุ้นส่วนใหญ่ของ Victoria’s Secret ในราคาเพียง 525 ล้านเหรียญ นับว่าเซอร์ไพรส์ตลาดพอสมควร เพราะมูลค่าดังกล่าวคิดเป็นสัดส่วนเพียง 15% ของยอดขาย 7,370 ล้านเหรียญเมื่อปี 2018 สะท้อนให้เห็นว่านักลงทุน “เป็นต่อ” ในการต่อรองดีลนี้มากเพียงใด

    Victoria’s Secret เผชิญสภาวะรายได้ลดลงมานานหลายปี โดยเกิดจากผู้บริโภคเสื่อมความนิยมในแบรนด์ แต่เดิมแบรนด์นี้เป็นไอคอนของตลาดชุดชั้นใน ด้วยภาพลักษณ์แบรนด์และสินค้าชุดชั้นในที่เซ็กซี่ ขี้เล่น มีเหล่า “นางฟ้า Victoria’s Secret” เป็นภาพแบรนด์ที่ชัดเจน นั่นคือเหล่านางแบบผอมสูงขายาว หุ่นแบบที่ผู้หญิงหลายคนฝันใฝ่

    แฟชันโชว์ของ Victoria’s Secret ที่เคยเป็นจุดขายกลับกลายเป็นจุดบอดของแบรนด์

    แต่ต่อมากระแสสังคมได้เปลี่ยนไป จากที่นิยาม “ความงาม” มีเพียงรูปแบบเดียว กลายเป็นการโอบกอดความงามหลากหลายแบบของผู้หญิง แบรนด์ชุดชั้นในใหม่ๆ ชูคอนเซ็ปต์สินค้าที่ครอบคลุมหุ่นของผู้หญิงทุกประเภท มีการใช้นางแบบพลัสไซส์ และดีไซน์สินค้าที่เรียบง่ายขึ้น ขณะที่ Victoria’s Secret ยังยืนยันแนวทางของตัวเอง แถมซีอีโอยังแสดงความเห็นเหยียดเพศหญิง รวมถึงมีข่าวอื้อฉาวเกี่ยวพันกับ Jeffrey Epstein นักการเงินผู้ถูกจับข้อหาค้าประเวณี

    เมื่อภาพลักษณ์แบรนด์และสินค้าไม่ตรงใจผู้บริโภค ทำให้ส่วนแบ่งตลาดของ Victoria’s Secret ลดลงจาก 32% ในปี 2013 เหลือ 24% ในปัจจุบัน แม้จะยังเป็นอันดับ 1 ของตลาดสหรัฐฯ แต่ก็มีแนวโน้มที่รายได้และส่วนแบ่งตลาดจะลดลงเรื่อยๆ หากไม่เร่งกู้สถานการณ์ โดยล่าสุดยอดขายสาขาเดิม (same-store growth) ลดลงไปอีก 10% เมื่อไตรมาส 4 ที่ผ่านมา

     

    View this post on Instagram

     

    A post shared by badgalriri (@badgalriri) on

    สำหรับแบรนด์ผู้ท้าชิงซึ่งกำลังมาแรงในสหรัฐฯ คือ Savage X Fenty ที่ก่อตั้งโดยศิลปินดัง Rihanna แบรนด์นี้เพิ่งเปิดตัวเมื่อเดือนพฤษภาคม 2018 แต่นักวิเคราะห์ประเมินว่าปี 2019 ที่ผ่านมา แบรนด์นี้น่าจะโกยรายได้ไปแล้ว 150 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และยังได้รับเงินลงทุนสะสมแล้ว 70 ล้านเหรียญ รวมถึงน่าจะกลายเป็นแบรนด์หลักในตลาดโลกเร็วๆ นี้ ด้วยพลังโซเชียลมีเดียที่ Rihanna มี

    Source: CNN, Forbes

    ]]>
    1266240
    ข่าวลืออาจเป็นจริง? “เทสโก้” กำลังวางแผนธุรกิจใหม่ อาจขายกิจการในไทยเเละมาเลเซีย https://positioningmag.com/1256305 Mon, 09 Dec 2019 05:09:18 +0000 https://positioningmag.com/?p=1256305 หลังจากมีกระเเสข่าวลือมานาน ล่าสุด Tesco ยักษ์ค้าปลีกรายใหญ่สัญชาติอังกฤษที่มีอายุกว่า 100 ปีกำลังทบทวนเเผนธุรกิจในเอเชีย เเละอาจจบลงที่การขายธุรกิจในไทยและมาเลเซีย

    Tesco (เทสโก้) ระบุในเเถลงการณ์ที่ออกมาในวันอาทิตย์ว่า ยังคงสนใจธุรกิจในต่างประเทศแต่บริษัทได้เริ่มทบทวนตัวเลือกเชิงกลยุทธ์สำหรับธุรกิจในประเทศไทยและมาเลเซีย รวมถึงการประเมินความเป็นไปได้ที่จะมีการขายธุรกิจเหล่านี้

    อย่างไรก็ตาม การตรวจสอบนี้ยังอยู่ในช่วงเริ่มต้นและไม่สามารถให้รายละเอียดของกระบวนการในการขายได้ รวมถึงยังไม่มีการตัดสินใจเกี่ยวกับอนาคตของ Tesco ไทยหรือมาเลเซีย และไม่สามารถรับประกันได้ว่าจะมีการทำธุรกรรมใดๆ เกิดขึ้น

    ขณะที่ตลาดในเอเชียยังเติบโตได้ดี โดย Tesco มี 1,967 สาขาในประเทศไทย และ 74 สาขาในมาเลเซีย ในช่วง 6 เดือนถึงวันที่ 24 สิงหาคมที่ผ่านมา มียอดรายได้ 2.6 พันล้านปอนด์ (ราว 1.03 แสนล้านบาท) เพิ่มขึ้น 1% หากนับตามอัตราแลกเปลี่ยนคงที่และกำไรจากการดำเนินงาน 171 ล้านปอนด์ (ราว 6.8 พันล้านบาท) เพิ่มขึ้น 42.3%

    อย่างไรก็ตาม เเม้ว่าธุรกิจในเอเชียจะมีผลประกอบการที่ดี โดยเฉพาะในประเทศไทย แต่ภายใต้นโยบายของ Dave Lewis ซีอีโอของบริษัทที่มุ่งเน้นการลงทุนและให้ความสำคัญกับธุรกิจที่สหราชอาณาจักรมากกว่า ทำให้ Tesco ใช้เงินถึง 4 พันล้านปอนด์ซื้อกิจการค้าส่ง Booker ไปเมื่อปีที่ผ่านมา

    เเละก่อนหน้านี้ Tesco ยังได้ขายกิจการในเกาหลีใต้ ญี่ปุ่น สหรัฐฯ และจีน เพื่อนำไปชำระหนี้และพยุงผลประกอบการที่ย่ำเเย่ในอังกฤษให้ดีขึ้น และหาก Tesco ขายธุรกิจในไทยและมาเลเซียสำเร็จจริงก็จะเป็นการยุติบทบาทการดำเนินธุรกิจในเอเชียไปด้วย

    สำหรับข่าวการขายกิจการในไทยมีมาเป็นระยะ เเละก่อนหน้านี้ในเดือนกรกฎาคม “สมพงษ์ รุ่งนิรัติศัย” ประธานกรรมการบริหาร เทสโก้ โลตัส กล่าวว่า กลุ่มเทสโก้มุ่งมั่นที่จะลงทุนอย่างต่อเนื่องในประเทศไทย ซึ่งเป็นธุรกิจที่ใหญ่ที่สุดรองจากในสหราชอาณาจักร แต่ขณะเดียวกันก็ต้องปรับเปลี่ยนธุรกิจให้เป็นไปตามพฤติกรรมของผู้บริโภคด้วย เเละวางแผนการเดินหน้าเปิดร้านเอ็กซ์เพรสรูปแบบใหม่เพิ่มอีก 750 สาขาภายในระยะเวลา 3 ปีข้างหน้า

    ล่าสุด แถลงการณ์จากกลุ่มเทสโก้ (Tesco PLC) ในวันที่ 8 ธันวาคม 2562 ชี้เเจงว่า ตามที่มีผู้สนใจในธุรกิจของเทสโก้ในเอเชีย กลุ่มเทสโก้จึงได้เริ่มทำการศึกษาความเป็นไปได้ของกลยุทธ์รูปแบบต่างๆ สำหรับธุรกิจในประเทศไทยเเละมาเลเซีย ซึ่งรวมถึงการพิจารณาความเป็นไปได้ในการขายธุรกิจทั้งสองนี้ อย่างไรก็ตาม การศึกษาความเป็นไปได้ของกลยุทธ์รูปแบบต่างๆ ยังอยู่ในระยะเบื้องต้น เเละยังไม่มีการตัดสินใจใดๆ สำหรับอนาคตของธุรกิจของเทสโก้ในประเทศไทยเเละมาเลเซีย รวมทั้งไม่มีการยืนยันว่าจะมีการซื้อขายเกิดขึ้นในที่สุด ทั้งนี้จะมีการประกาศข้อมูลเพิ่มเติมให้ทราบเมื่อถึงเวลาที่เหมาะสม

    ที่มา : Reuters , tescolotus.com

     

    ]]>
    1256305