ความยั่งยืน – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Tue, 14 May 2024 05:11:20 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ‘ทรู ดิจิทัล พาร์ค’ ชูเรื่องด้านความยั่งยืน ประกาศผลักดันสตาร์ทอัพกลุ่ม Climate Tech แก้ไขปัญหาโลกร้อน https://positioningmag.com/1473375 Tue, 14 May 2024 01:46:12 +0000 https://positioningmag.com/?p=1473375 ทรู ดิจิทัล พาร์ค (True Digital Park) ได้ชูประเด็นเรื่องของ Ecosystem ของบริษัทเทคโนโลยี นอกจากนี้ยังกล่าวถึงเรื่องของความยั่งยืน โดยประกาศผลักดันสตาร์ทอัพกลุ่ม Climate Tech แก้ไขปัญหาโลกร้อน เนื่องจากเป็นปัญหาที่สำคัญในอนาคต

ฐนสรณ์ ใจดี กรรมการผู้จัดการใหญ่ ทรู ดิจิทัล พาร์ค ได้กล่าวถึง True Digital Park นั้นมีอายุ 6 ปีแล้วได้พัฒนาระบบนิเวศ (Ecosystem) ของบริษัทเทคโนโลยีต่างๆ ทั้งไทยและในอาเซียน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการให้บริการสำนักงานให้เช่า การขอสิทธิประโยชน์จาก BOI ไปจนถึงการช่วยเหลือบริษัทต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการขอวีซ่าให้กับพนักงาน

โดย Ecosystem ของ True Digital Park นั้นมีทั้งบริษัทขนาดเล็กไปจนถึงบริษัทขนาดใหญ่ ทั้งในไทยและต่างประเทศ บริษัทร่วมลงทุน (VC) รวมถึงสตาร์ทอัพต่างๆ และมีสมาชิกราวๆ 14,000 ราย และมีผู้เช่าอยู่ราวๆ 200 องค์กร บนพื้นที่สำนักงาน 80,000 ตารางเมตร

นอกจากนี้ ฐนสรณ์ ยังกล่าวถึงการเชื่อมต่อองค์กรมากถึง 5,800 องค์กร ไม่ว่าจะเป็น มหาวิทยาลัย บริษัทต่างๆ นั้นสามารถเชื่อมต่อและสามารถสร้าง Ecosystem ดังกล่าวได้

ฐนสรณ์ ยังได้กล่าวถึงในส่วนของ True Digital Park ยังเน้นในเรื่องของความยั่งยืนเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่สีเขียวในอาคาร และทางตึกได้มีการใช้พลังงานทดแทนจากแสงอาทิตย์ มีการใช้ระบบไอทีที่สามารถดูการใช้พลังงาน อุณภูมิตึกได้ มีระบบทำความเย็นของตึกที่ใช้น้ำ รวมถึงการบำบัดน้ำเสีย

ธาริต นิมมานวุฒิพงษ์ ผู้จัดการทั่วไป ทรู ดิจิทัล พาร์ค กล่าวถึง True Digital Park ยังมีการผลักดันสตาร์ทอัพ Climate Tech ให้มีการเติบโต ผ่านความร่วมมือในรูปแบบต่างๆ รวมถึงการจัดโครงการและกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง เพื่อกระตุ้นให้เกิดการดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรม ในการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) มุ่งสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero)

โดยตลาด Climate Tech มีการเติบโตจากความต้องการใช้นวัตกรรมที่ตอบโจทย์ด้านความยั่งยืนขององค์กรธุรกิจต่างๆ ทั่วโลก ซึ่งจะช่วยให้องค์กรธุรกิจสามารถเติมเต็มพฤติกรรมของผู้บริโภคที่ใส่ใจด้านสิ่งแวดล้อมมากขึ้น รวมถึงลดความเสี่ยงในการดำเนินธุรกิจท่ามกลางนโยบายที่เข้มงวดของภาครัฐและกฎระเบียบทางการค้าใหม่ๆ ของประเทศต่างๆ ทั่วโลกที่มุ่งเน้นเรื่องการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

ผู้จัดการทั่วไป ทรู ดิจิทัล พาร์ค ยังชี้ว่าสตาร์ทอัพผู้พัฒนานวัตกรรม Climate Tech ยังต้องการมาตรการส่งเสริมการเติบโตจากภาครัฐ และการสนับสนุนทั้งในด้านการตลาดและการเข้าถึงแหล่งเงินทุน ซึ่งจะช่วยขับเคลื่อนอุตสาหกรรม Climate Tech ให้มีความหลากหลายและก้าวหน้าในระยะยาว

นวัตกรรม Climate Tech 4 กลุ่มที่น่าจับตามอง ได้แก่

  1. E-Mobility เช่น EV และระบบขนส่ง
  2. Decarbonization เช่น การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก การบริหารจัดการคาร์บอน และคาร์บอนเครดิต
  3. AgriTech เช่น ระบบบริหารจัดการน้ำ เชื้อเพลิงชีวภาพ และวัตถุดิบทางเลือก
  4. Energy เช่น การบริหารจัดการพลังงาน และพลังงานหมุนเวียน

สองผู้บริหารของ ทรู ดิจิทัล พาร์ค ยังมองว่าท้ายที่สุดแล้วเรื่องดังกล่าวนั้นจะมีความสำคัญมากขึ้นในอนาคต เนื่องจากหลายประเทศกำลังจะมีการเก็บภาษีในเรื่องดังกล่าว ซึ่งเป็นกฎระเบียบใหม่ของโลกถือว่าเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้

]]>
1473375
KBank Private Banking และ Lombard Odier ชูแนวคิด Rethink Sustainability ชี้เป็นโอกาสของผู้ประกอบการไทยที่จะเปลี่ยนผ่านสู่ความยั่งยืน https://positioningmag.com/1464208 Wed, 28 Feb 2024 16:21:57 +0000 https://positioningmag.com/?p=1464208 ธนาคารกสิกรไทย และ Lombard Odier รวมถึง KBank Private Banking ได้ชูแนวคิด Rethink Sustainability ชี้เป็นโอกาสของผู้ประกอบการไทยที่จะเปลี่ยนผ่านสู่ความยั่งยืน ในช่วงเวลาเปลี่ยนผ่านโครงสร้างทางเศรษฐกิจ เนื่องจากมาตรการการปรับคาร์บอนก่อนเข้าพรมแดน หรือ CBAM ที่กำลังใช้ในทวีปยุโรปในเวลานี้

อูแบร์ เคลเลอร์  Senior Managing Partner, Lombard Odier ได้ชี้ว่า เราพูดถึงเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาวะแวดล้อมกันมาก แต่ปัญหาของสภาวะภูมิอากาศนั้นเป็นแค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น แต่โลกเรายังพบปัญหาอีกหลายเรื่อง ไม่ว่าจะเป็น ดินเป็นพิษจากสารเคมี น้ำทะเลที่มีความเป็นกรดมากขึ้น ฯลฯ

เราอยู่ในระหว่างการเปลี่ยนผ่านไปสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ซึ่งมาพร้อมโอกาสในการลงทุนอย่างมหาศาล ดังนั้นนักลงทุนจึงต้องก้าวให้ทันการเปลี่ยนแปลง โดยหันมาให้ความสำคัญกับธรรมชาติ

Senior Managing Partner ของ Lombard Odier ยกตัวอย่างว่า ในตอนนี้โลกกำลังเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะการเปลี่ยนผ่านด้านเศรษฐกิจหลายเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นการใช้พลังงานสะอาด 70% ของเศรษฐกิจโลก หรือการลดใช้วัสดุต่างๆ นอกจากนี้ยังรวมถึงการซื้อขายคาร์บอนเครดิต การให้ราคากับธรรมชาติ

เขายังกล่าวว่าการที่จะทำให้การเปลี่ยนผ่านทางเศรษฐกิจที่หันมาใช้พลังงานสะอาด หรือการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับความยั่งยืนให้ได้คือการทำให้ผู้คนส่วนมากหันมาใช้สิ่งดังกล่าวจนถึงจุดเปลี่ยนสำคัญที่จะทำให้คนหันมาใช้จำนวนมาก (Tipping Point)

อูแบร์ ได้ยกตัวอย่าง เช่น ราคาแผงโซลาร์เซลล์ถูกขึ้น ราคาของ Battery ถูกลง หรือแม้แต่ความนิยมในการใช้รถยนต์ไฟฟ้า ซึ่งปัจจุบันรถยนต์ไฟฟ้ามีประสิทธิภาพมากกว่ารถยนต์สันดาปที่ใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลแล้ว 

ไม่เพียงเท่านี้รัฐบาลในหลายประเทศ หรือแม้แต่เอกชน ยังสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านเพื่อความยั่งยืนเหล่านี้ด้วย โดยคาดว่าเม็ดเงินลงทุนทั่วโลกรวมกันจะมากถึง 24.5 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ ภายในปี 2030 หรือคิดเป็นเงินไทยราวๆ 883 ล้านล้านบาท

เขายังชี้ว่าการผลักดันของรัฐบาลถือเป็นอีกส่วนที่อุ้มชูให้เกิด Tipping Point ขึ้นมาได้

จิรวัฒน์ สุภรณ์ไพบูลย์ (ซ้าย) อูแบร์ เคลเลอร์ (กลาง) และ พิพิธ เอนกนิธิ (ขวา) / ภาพจาก KBank Private Banking

นอกจากนี้ในช่วงการเปลี่ยนผ่านทางเศรษฐกิจ อูแบร์ ได้ชี้ว่าโมเดลธุรกิจทำให้หลายอย่างเปลี่ยนแปลงไป เขายกตัวอย่างกรณีของ Tesla ที่ไม่ได้ขายแค่รถยนต์ไฟฟ้าเท่านั้น แต่บริษัทได้ขาย Battery ซึ่งถือเป็นโครงสร้างพื้นฐาน หรือการทำ Energy Distribution รวมถึงขาย Software บนรถยนต์ไฟฟ้าด้วย

อูแบร์ได้ยกตัวอย่างอุตสาหกรรมไอทีเองได้ทุ่มเม็ดเงินลงทุนมหาศาล และชี้ว่าสิ่งที่ลงทุนนั้นได้ผลตอบแทนอย่างคุ้มค่า เขาชี้ว่ากำไรของกลุ่มไอทีในปี 2020 อยู่ที่ 20% มากกว่าในปี 1990 ซึ่งสัดส่วนกำไรอยู่ที่ 5% เท่านั้น

Senior Managing Partner ของ Lombard Odier ได้กล่าวทิ้งท้ายว่าช่วงเวลาการเปลี่ยนผ่านนั้นมาไวมาก เขาได้กล่าวถึงเรื่องการใช้พลังงานสะอาดนั้นเปลี่ยนแปลงเร็วกว่าที่คาด และทำให้การใช้พลังงานจากฟอสซิลลดลงไวด้วยเช่นกัน และบริษัทผลิตพลังงานจากฟอสซิลได้รับผลจากสถาบันการเงินมากขึ้น เช่น การไม่ปล่อยสินเชื่อ เป็นต้น

จิรวัฒน์ สุภรณ์ไพบูลย์ Executive Chairman, Private Banking Group ธนาคารกสิกรไทย กล่าวว่า ขณะที่โลกกำลังเปลี่ยนผ่านไปสู่เศรษฐกิจที่ยั่งยืน ซึ่งส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจทั่วโลก KBank Private Banking ในฐานะผู้เชี่ยวชาญและผู้ให้คำแนะนำการลงทุน มองว่านักลงทุนคือหนึ่งในแรงขับเคลื่อนสำคัญที่จะสร้างการเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นในสังคมได้ โดยให้ความสำคัญกับการลงทุนอย่างยั่งยืน ซึ่งไม่เพียงแต่จะสร้างผลตอบแทนจากการลงทุนในระยะยาวที่มีมูลค่ามหาศาลเท่านั้น แต่จะเป็นการเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจแห่งอนาคตไปสู่ความยั่งยืนได้ด้วย

พิพิธ เอนกนิธิ กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย กล่าวว่า ธนาคารกสิกรไทยมุ่งสู่การเป็นธนาคารแห่งความยั่งยืน และเป็นผู้นำด้าน ESG ทั้งในประเทศไทยและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งธนาคารพร้อมเป็นกำลังสำคัญในการสนับสนุนและผลักดันการลงทุนเพื่อเปลี่ยนผ่านสู่ความยั่งยืน ด้วยผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่สนับสนุนโครงการที่ส่งเสริมสิ่งแวดล้อม ปรับเปลี่ยนการดำเนินงานภายในของธนาคารเพื่อลดก๊าซเรือนกระจกและยกระดับมาตรฐานสู่สากล

กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย ยังกล่าวทิ้งท้ายว่า ธนาคารต้องการที่จะเป็นส่วนหนึ่งของการเปลี่ยนผ่านของลูกค้าธนาคารสู่ความยั่งยืน โดยก้าวไปด้วยกัน และมองว่านี่เป็นโอกาสทองของผู้ประกอบการไทย เนื่องจากในต่างประเทศเริ่มมีการใช้มาตรการมาตรการปรับคาร์บอนก่อนเข้าพรมแดน หรือ CBAM แล้ว อย่างเช่นทวีปยุโรป

]]>
1464208
สยามพิวรรธน์เสริมทัพทีมงาน Global Sustainability เดินหน้าสร้างมาตรฐานใหม่สู่ความยั่งยืนระดับโลก https://positioningmag.com/1446807 Thu, 05 Oct 2023 13:00:47 +0000 https://positioningmag.com/?p=1446807

กลุ่มบริษัทสยามพิวรรธน์ ผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์และธุรกิจค้าปลีก เจ้าของและผู้บริหาร สยามพารากอน สยามเซ็นเตอร์ สยามดิสคัฟเวอรี่ หนึ่งในพันธมิตรเจ้าของไอคอนสยาม และสยาม พรีเมี่ยม เอาท์เล็ต กรุงเทพ ตอกย้ำความเป็นผู้นำในการพัฒนาโครงการจุดหมายปลายทางระดับโลกที่นำความยั่งยืนมาใช้ในการดำเนินธุรกิจ เสริมทัพทีมงานผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาความยั่งยืน (Global Sustainability Team) ร่วมขับเคลื่อนหลากหลายโครงการที่ส่งผลกระทบเชิงบวกเชื่อมโยงด้านธุรกิจ ผู้คน ชุมชน และสิ่งแวดล้อม มุ่งสร้างมาตรฐานของความยั่งยืนผ่านความร่วมมือกับแบรนด์ดังและองค์กรชั้นนำระดับโลก 

นราทิพย์ รัตตประดิษฐ์ ประธานบริหารสายงานปฎิบัติการ บริษัท สยามพิวรรธน์ จำกัด ผู้นำในการขับเคลื่อนความยั่งยืนของกลุ่มสยามพิวรรธน์ และดำเนินโครงการอนุรักษ์และฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมของสยามพิวรรธน์สู่ Net Positive Impact และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ หรือ Net Zero ภายในปี 2050

หัวใจสำคัญคือ เราใช้หลักการความยั่งยืนมาเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินธุรกิจ ซึ่งเราได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่วันแรกที่ก่อตั้งบริษัทด้วยวิสัยทัศน์ที่มุ่งมั่นต่อการสร้างประโยชน์และคุณค่าให้กับผู้คน และเป็นส่วนสำคัญในการยกระดับคุณภาพชีวิตของคนไทย วันนี้เราพร้อมยกระดับความยั่งยืนไปอีกขั้น ผ่านความร่วมมือกับพันธมิตร และองค์กรชั้นนำระดับโลก ใช้ธุรกิจเป็นแพลตฟอร์มแห่งโอกาส ให้ความสำคัญกับความหลากหลายและความเท่าเทียม รวมทั้งการใช้แนวคิดอารยสถาปัตย์ในการออกแบบทุกโครงการ เพื่อให้ทุกคนสามารถเข้าโอกาส ตลอดจนดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมตามมาตรฐานที่เป็นที่ยอมรับในระดับสากล เพื่อร่วมฟื้นฟูและส่งต่อโลกที่ดีให้กับทุกคน”

อดิเรก อำนวยกาญจนสิน รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสายงานวิศวกรรมและก่อสร้างโครงการ รับผิดชอบบริหารจัดการพลังงานอย่างยั่งยืน (Sustainable energy management) 

“การบริหารจัดการพลังงานอย่างยั่งยืนเป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้องค์กรบรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน เราศึกษาและปรับวิธีการทำงานเพื่อหาโซลูชั่นที่ดีที่สุด เพื่อประหยัดพลังงานได้สูงสุด และไม่กระทบต่อการให้บริการลูกค้า ทั้งการปรับเปลี่ยนหลอดไฟและอุปกรณ์ต่างๆ  เรากำลังมองหาเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่จะตอบโจทย์การใช้งาน ทั้งในด้านบริหารจัดการอาคารให้มีประสิทธิภาพสูงสุด การใช้พลังงานสะอาด เพื่อให้เกิดการอนุรักษ์พลังงานอย่างยั่งยืน”

สุทธิรัตน์ ภาณววัฒน์ ผู้บริหารสายงานสื่อสารองค์กรและแบรนด์ดิ้ง สยามพิวรรธน์ ผู้ร่วมพัฒนากรอบการดำเนินงานด้านความยั่งยืนของกลุ่มสยามพิวรรธน์

“สยามพิวรรธน์ยึดมั่นในการสร้างความเจริญเติบโตให้กับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ไอคอนสยามนับเป็นโครงการแรกที่ใช้แนวคิดในการดำเนินธุรกิจด้านความยั่งยืนอย่างเต็มรูปแบบครบทุกมิติ เชื่อมธุรกิจสู่ผู้คนและสิ่งแวดล้อม สร้างประโยชน์และความเจริญรุ่งเรืองให้กับชุมชนสังคม ผู้ประกอบการโดยรอบและประเทศชาติกลายเป็นต้นแบบของการพัฒนาโครงการบนแนวคิดความยั่งยืนที่ได้รับการกล่าวขานและเป็นที่ยอมรับจากนานาชาติ”

นภนิศ อิศรางกูร ณ อยุธยา รักษาการผู้บริหารกลุ่มงานสร้างสรรค์ประสบการณ์และกลยุทธ์ ผู้ร่วมออกแบบพื้นที่ของโครงการที่จะยกระดับการใช้ชีวิตให้ก้าวไปอีกขั้นของความยั่งยืน (Taking sustainable living to the next level)

เรามุ่งสร้างสรรค์และพัฒนาโครงการ ให้เป็นพื้นที่ที่จะโชว์เคสเทคโนโลยีที่ทำให้การใช้ชีวิต
ในทุกๆวันของเราสะดวกสบายขึ้น แต่ยังคำนึงถึงการพัฒนาอย่างยั่งยืนในระยะยาว ให้เรื่องพลังงานทดแทนและการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่ดูเป็นเรื่องยาก ให้เป็นเรื่องที่เข้าถึงและเข้าใจง่าย ลูกค้าของเราจะได้มีโอกาสใกล้ชิดกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้มากขึ้น รวมถึงสร้างความตระหนักรู้และความรับผิดชอบต่อทรัพยากรที่อยู่รอบตัวด้วยการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมต่างๆ”

ศิวาภรณ์ เอี่ยมแก้ว ผู้อำนวยการ Corporate Partnership หนึ่งในทีม Global Sustainability ดูแลด้านการผนึกกำลังกับพันธมิตรทั้งในประเทศและต่างประเทศ ผสานแนวคิดสู่การสร้างความยั่งยืนร่วมกัน

“ความร่วมมือกับพันธมิตรธุรกิจ เป็นหัวใจสำคัญที่จะสร้างผลลัพธ์ให้เกิดเป็นรูปธรรม และจับต้องได้ สยามพิวรรธน์ให้ความสำคัญกับคู่ค้าและพันธมิตรที่จะร่วมกันต่อยอดความแข็งแกร่ง และเดินหน้าไปสู่เป้าหมายความยั่งยืนร่วมกัน นอกจากนั้น เรายังมีความมุ่งมั่นที่จะใช้ศักยภาพและเครือข่ายพันธมิตรทางธุรกิจ เพื่อให้เกิดแนวทางความร่วมมือด้านความยั่งยืนที่จะสร้างประโยชน์ให้กับทุกภาคส่วน ซึ่งท้ายที่สุดแล้ว จะนำไปสู่การหาจุดร่วมที่ทำให้ทุกฝ่ายต่างได้รับประโยชน์อย่างเต็มที่ หรือ “Win-Win Collaboration”

ดาริน เรืองโรจน์  ผู้อำนวยการ กลุ่มงานการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development) หนึ่งในผู้นำทีม Sustainability ที่ร่วมขับเคลื่อนแผนงาน และดำเนินโครงการความยั่งยืนสู่มาตรฐานสากล

“เราให้ความสำคัญในเรื่องการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก รวมถึงคาร์บอนจากเชื้อเพลิงฟอสซิลหรือ decarbonization เพื่อเดินหน้าสู่สังคมคาร์บอนต่ำ และตั้งเป้าสู่การเป็นศูนย์การค้าแรกในไทยที่ใช้พลังงานหมุนเวียนซึ่งเป็นพลังงานสะอาด 100% ในปี 2030  เรายังให้ความสำคัญกับการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุดตามแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy)  และมุ่งมั่นต่อการแก้ไขปัญหาขยะในประเทศไทยอย่างยั่งยืนผ่านโครงการ “Siam Piwat 360o Waste Journey to Zero Waste” เพื่อบริหารจัดการขยะอย่างครบวงจร” 

วรกร สมการสมัย ผู้จัดการฝ่ายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development) หนึ่งในทีม Sustainability ที่ร่วมดำเนินโครงการความยั่งยืนให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม

“เรามีความพร้อมที่จะขับเคลื่อนเมืองต้นแบบเป็นศูนย์กลางที่ใส่ใจฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมใจกลางเมือง ด้วยโครงการ Siam Piwat 360° Waste Journey to Zero Waste ส่งเสริมให้ผู้คนทั้งภายในและภายนอกองค์กรมีการใช้ทรัพยากรอย่างรู้คุณค่า สร้างความตระหนักรู้ในการคัดแยกขยะอย่างถูกต้อง ด้วย Recycle Collection Center หรือ RCC ซึ่งเป็นจุดรับวัสดุสะอาดที่ไม่ใช้แล้วแบบ Drive-Thru แห่งแรกในประเทศไทย ที่เปิดให้ทุกคนสามารถนำขยะที่ทำความสะอาดและคัดแยกแล้วมาให้ทางสยามพิวรรธน์นำไปส่งต่อเพื่อ
ดำเนินการนำกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่(Recycle) รวมถึงการอัพไซเคิล(Upcycle) ให้เกิดประโยชน์สูงสุดร่วมกับพันธมิตร ด้วยนวัตกรรมและความคิดสร้างสรรค์” 

]]>
1446807
โลตัส ประกาศนโยบายด้านความยั่งยืน “Vision 2030. Actions every day.” วางรากฐานความยั่งยืนทุกมิติของธุรกิจ New SMART Retail ขับเคลื่อนการดำเนินงานทุกวัน สู่เป้าหมาย UN SDGs 2030 https://positioningmag.com/1405518 Wed, 26 Oct 2022 10:00:38 +0000 https://positioningmag.com/?p=1405518

โลตัส ประกาศนโยบายด้านความยั่งยืน “Vision 2030. Actions every day.” วางแผนงานด้านความยั่งยืนในทุกมิติของการดำเนินธุรกิจค้าปลีก ในฐานะผู้นำ New SMART Retail เน้นขับเคลื่อนการดำเนินงานทุกวันอย่างยั่งยืนครอบคลุมทั้งด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และการกำกับดูแลกิจการ (ESG) มุ่งสู่วิสัยทัศน์การพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ United Nations Sustainable Development Goals 2030

นายสมพงษ์ รุ่งนิรัติศัย ประธานคณะผู้บริหาร ธุรกิจโลตัส ประเทศไทย กล่าวว่า “พื้นฐานที่สำคัญของการเป็นผู้นำ New SMART Retail คือนโยบายและแผนงานด้านความยั่งยืน โดยโลตัสได้ดำเนินงานตามแนวทางด้านความยั่งยืนมาโดยตลอด และด้วยสถานการณ์ด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างมากในช่วงที่ผ่านมา โลตัส จึงได้ทบทวนและยกระดับการดำเนินงานด้านความยั่งยืน สู่นโยบายที่เราประกาศในวันนี้ คือ Vision 2030. Actions every day. ที่มุ่งเน้นการสร้างความยั่งยืนจากการดำเนินงานในทุก ๆ วัน เพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายที่ได้วางไว้ภายในปี ค.ศ. 2030

นโยบายด้านความยั่งยืนของโลตัส สอดคล้องกับเป้าหมายด้านความยั่งยืนทั้ง 15 ข้อภายใต้เครือเจริญโภคภัณฑ์ โดยจากการประเมินประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืน (Materiality Assessment) ล่าสุด เราได้กำหนดประเด็นสำคัญ 5 ด้าน ที่ครอบคลุมทั้งด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และการกำกับดูแลกิจการ (ESG) คือ การสนับสนุนการมีสุขภาพและสุขภาวะที่ดี (Health & Well-being) การสร้างคุณค่าและประโยชน์ทางเศรษฐกิจให้แก่สังคม (Social impact & economic contribution) ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular economy) การปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate resilience) และ การจัดการห่วงโซ่อุปทานอย่างรับผิดชอบ (Responsible supply chain management) โดยมีการกำหนดยุทธศาสตร์และแผนงานที่ชัดเจนสำหรับแต่ละประเด็นสำคัญ เพื่อให้องค์กรสามารถบรรลุเป้าหมายที่วางไว้ภายในปี ค.ศ. 2030

ประเด็นด้านสังคม (Social)

การสนับสนุนการมีสุขภาพและสุขภาวะที่ดี (Health & Well-being)

ในฐานะธุรกิจค้าปลีกแบบ omni-channel ที่จำหน่ายสินค้าหลากหลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งสินค้าประเภทอาหาร ที่มีคุณภาพสูงในราคาที่เอื้อมถึง ผ่านช่องทางทั้งในสาขาและออนไลน์ โลตัส มุ่งมั่นในการสนับสนุนการมีสุขภาพและสุขภาวะที่ดีของคนไทย โดยได้ตั้งเป้าหมายว่า ภายในปี ค.ศ. 2030 ทุกตะกร้าสินค้าของลูกค้าจะต้องมีผลิตภัณฑ์ที่ส่งเสริมสุขภาพและสุขภาวะที่ดี และเพื่อขับเคลื่อนไปสู่วิสัยทัศน์ (vision) ดังกล่าว โลตัสได้วางแผนดำเนินการ (actions) ใน 4 ด้าน คือ

1. ผลิตภัณฑ์ (Products) มุ่งเน้นการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ภายใต้แบรนด์ของโลตัสที่ดีต่อสุขภาพ ปรับสูตรผลิตภัณฑ์เดิมให้ดีขึ้น อาทิ ลดหวาน มัน เค็ม การมีฉลากผลิตภัณฑ์ที่ช่วยให้ผู้บริโภคสามารถเลือกสินค้าที่ดีต่อสุขภาพได้ง่ายขึ้น

2. ราคา (Prices & promotions) ทำให้สินค้าที่ดีต่อสุขภาพมีราคาที่เข้าถึงได้สำหรับทุกคน

3. แพลทฟอร์ม (Platforms) ใช้ช่องทาง omni-channel ในการส่งเสริมสุขภาพที่ดีของผู้บริโภค ทั้งการให้ความรู้และข้อมูล รวมทั้งกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพที่ดี และ

4. ความร่วมมือ(Partnerships) กับทั้งคู่ค้าและพันธมิตรที่มีความเชี่ยวชาญ โดยในช่วงเวลาหลายปีที่ผ่านมา โลตัส ได้เป็นผู้นำในการเสนอสินค้าที่ดีต่อสุขภาพให้แก่ลูกค้า อาทิ เป็นค้าปลีกรายแรกที่ไม่ใช้ไขมันทรานส์ในผลิตภัณฑ์อาหารที่โลตัสผลิตทุกชนิด การริเริ่มโครงการรับซื้อผลผลิตตรงจากเกษตรกร ทำให้มั่นใจในคุณภาพความปลอดภัยของอาหารสดที่จำหน่ายแก่ลูกค้า


การสร้างคุณค่าและประโยชน์ทางเศรษฐกิจให้แก่สังคม (Social impact & economic contribution)

โลตัส ตั้งเป้าหมายว่า ภายในปี ค.ศ. 2030 จะสามารถสร้างงานได้จำนวน 200,000 ตำแหน่ง และสนับสนุนผู้ประกอบการ SME และเกษตรกร โดยเป็นการสร้างงานทั้งทางตรงและทางอ้อม ให้กับกลุ่มคนต่าง ๆ ในสังคม อาทิ ขยายผลการจ้างงานเยาวชน และผู้สูงอายุ ที่ปฏิบัติงานในสาขา รวมทั้ง โลตัส ยังเป็นแพลทฟอร์มแห่งโอกาสให้กับผู้ประกอบการ SME และเกษตรกรไทย โดยใช้แพลทฟอร์มของโลตัส ทั้งในสาขา ศูนย์การค้า และออนไลน์ เพื่อเป็นช่องทางการจำหน่ายสินค้า สร้างรายได้ที่ยั่งยืนให้กับผู้ประกอบการไทย

 

 


ประเด็นด้านการกำกับดูแลกิจการ (Governance)

การจัดการห่วงโซ่อุปทานอย่างรับผิดชอบ (Responsible supply chain management)

ในฐานะธุรกิจค้าปลีก ห่วงโซ่อุปทานของ โลตัส ครอบคลุมตั้งแต่ต้นน้ำไปจนถึงปลายน้ำ และเกี่ยวเนื่องกับผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย เป้าหมายของเราภายในปี ค.ศ. 2030 คือ สินค้าแบรนด์ของโลตัสที่มีความเสี่ยงด้านความยั่งยืน มีระบบตรวจสอบย้อนกลับได้ตลอดห่วงโซ่ และ คู่ค้าสำคัญลำดับที่ 1 (critical tier 1 suppliers) รวมถึงผู้ผลิตสินค้าแบรนด์ของโลตัสทุกรายได้รับการประเมินความเสี่ยงประเด็นด้านความยั่งยืนและการทวนสอบ 100% โดยครอบคลุมมิติที่หลากหลายตั้งแต่ คุณภาพและความปลอดภัยของสินค้า กระบวนการผลิตสินค้า แรงงาน สิทธิมนุษยชน สวัสดิภาพสัตว์ การจัดการด้านสิ่งแวดล้อม การใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืน เป็นต้น


ประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental)

การปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate resilience)

เป้าหมายของโลตัส คือ การเป็นองค์กรที่มีความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutral) ภายในปี 2030 และองค์กรที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ภายในปี 2050 ซึ่งได้มีการจัดทำแผนการดำเนินการ (actions) เพื่อมุ่งสู่ทั้งสองเป้าหมาย หลายรูปแบบ รวมถึง การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งทางตรงและทางอ้อม โดยในปี ค.ศ. 2021 โลตัส ในประเทศไทยและมาเลเซีย สามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เกิดจากการดำเนินธุรกิจลง กว่า 15% เมื่อเทียบกับปี 2020 ผ่านกิจกรรมต่าง ๆ รวมถึง การติดตั้งแผงโซล่าร์เซลล์บนหลังคาสาขาและศูนย์กระจายสินค้า โดยมีแผนงานติดตั้ง 1,042 สาขา มีกำลังผลิตรวม 135mw ภายในปี ค.ศ. 2024, การใช้รถไฟฟ้า (EV) ในการขนส่งสินค้า เป็นต้น นอกจากนั้น โลตัส จะเดินหน้าปลูกต้นไม้อย่างต่อเนื่อง เพิ่มเติมจากการปลูกต้นไม้ไปแล้วกว่า 20 ล้านต้น ในช่วงเวลากว่าสองทศวรรษที่ผ่านมา และจะยังผลักดันการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในห่วงโซ่อุปทานต่อไป

 


ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular economy)

เป้าหมายของโลตัส คือ ลดปริมาณของเสียในการนําไปฝังกลบและลดขยะอาหารเป็นศูนย์ ภายในปี ค.ศ. 2030 และบรรจุภัณฑ์สินค้าแบรนด์ของโลตัสทั้งหมด 100% ผลิตจากวัสดุที่รีไซเคิลได้ภายในปี ค.ศ. 2025

สำหรับการดำเนินงาน (actions) ในด้านการลดขยะอาหารนั้น โลตัส ประสบความสำเร็จในการลดปริมาณขยะอาหารอย่างต่อเนื่องตลอดระยะเวลา 4 ปีที่ผ่านมา ตั้งแต่ โลตัส เป็นธุรกิจค้าปลีกรายแรกในประเทศไทยที่เริ่มวัดและเปิดเผยข้อมูลขยะอาหาร โดยปัจจุบันได้บริจาคอาหารที่จำหน่ายไม่หมดแต่ยังรับประทานได้ให้กับผู้ยากไร้และองค์กรการกุศลรวมกว่า 2.87 ล้านมื้อ และได้บริจาคอาหารที่รับประทานไม่ได้แล้วกว่า 51,000 กิโลกรัม เพื่อเป็นอาหารสัตว์และทำปุ๋ย เพื่อขับเคลื่อนการลดขยะอาหารในธุรกิจให้เป็นศูนย์ตามวิสัยทัศน์ โลตัส จะดำเนินงานภายใต้กลยุทธ์ Farm to Fork เพื่อลดขยะอาหารตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ ซึ่งรวมถึงการวางแผนการเพาะปลูกร่วมกับเกษตรกร การขนส่งสินค้าด้วยรถควบคุมอุณหภูมิ การบริหารจัดการอาหารสดอย่างมีประสิทธิภาพ นวัตกรรมบรรจุภัณฑ์ ขยายการบริจาคอาหารที่จำหน่ายไม่หมดในแต่ละวันร่วมกับพันธมิตรต่าง ๆ ตลอดจนถึงการสร้างการรับรู้ในภาคครัวเรือนเกี่ยวกับขยะอาหารและการแยกขยะที่ถูกต้อง

สำหรับการดำเนินงาน (actions) ด้านบรรจุภัณฑ์ที่ยั่งยืน โลตัส ได้ตั้งเป้าหมายให้บรรจุภัณฑ์สินค้าแบรนด์ของโลตัสทั้งหมด 100% ผลิตจากวัสดุที่รีไซเคิลได้ภายในปี ค.ศ. 2025 ซึ่งปัจจุบันมีความคืบหน้าไปมากจนเกือบบรรลุเป้าหมายดังกล่าว โดยบรรจุภัณฑ์ประเภทอาหารสดและสินค้าอุปโภคทั้งหมด 100% สามารถรีไซเคิลได้แล้ว และหากดูในภาพรวมทั้งหมดความคืบหน้าอยู่ที่ 98.8% อีกส่วนสำคัญของแผนงานด้านบรรจุภัณฑ์คือการรีไซเคิล ทั้งการรีไซเคิลขยะที่เกิดจากการดำเนินงานภายในธุรกิจของโลตัสเอง และที่สำคัญคือการช่วยให้ลูกค้าและประชาชนสามารถแยกและรีไซเคิลขยะได้อย่างสะดวกผ่านสาขาของโลตัส โดยตั้งแต่เริ่มดำเนินการตั้งจุดรับขยะเพื่อนำไปรีไซเคิล โลตัส สามารถรวบรวมขวดพลาสติกได้เกือบ 3 ล้านขวด พลาสติกยืดกว่า 1.5 ล้านกิโกรัม และกล่องและลังกระดาษกว่า 157 ล้านกิโลกรัม เพื่อนำไปรีไซเคิลได้ทั้งหมด และพร้อมจะเดินหน้าจับมือกับพันธมิตรเพิ่มเติม รวมถึงซัพพลายเออร์ผู้ผลิตสินค้าประเภทต่าง ๆ เพื่อเก็บรวมรวมบรรจุภัณฑ์ที่ใช้แล้วกลับเข้าสู่ระบบเพื่อนำไปรีไซเคิลให้ได้ต่อไป

“โลตัส เน้นการลงมือปฏิบัติในทุก ๆ วันเพื่อสร้างความยั่งยืน ซึ่งเป็นการทำงานที่บูรณาการความร่วมมือของทุกภาคส่วนภายในธุรกิจของเรา รวมถึงการทำงานร่วมกับพันธมิตรทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน เพื่อขับเคลื่อนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่แท้จริง โดยจะมีการติดตามความคืบหน้าในการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องและเปิดเผยข้อมูลอย่างโปร่งใสในทุกปี

การเป็นผู้นำ New SMART Retail คือการเป็นผู้ประกอบการค้าปลีก ที่ดำเนินธุรกิจอยู่บนพื้นฐานของความยั่งยืน ธุรกิจใดก็ตามจะไม่สามารถอยู่รอดและเติบโตได้ หากไม่คำนึงถึงการดูแลผู้มีส่วนได้ส่วนเสียตลอดห่วงโซ่คุณค่า สังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อม ให้สามารถเติบโตไปได้พร้อม ๆ กัน ซึ่งสอดคล้องกับค่านิยม 3 ประโยชน์ของเครือเจริญโภคภัณฑ์ ในการคำนึงถึงประโยชน์ของประเทศและประชาชน ก่อนประโยชน์ของธุรกิจเสมอ” นายสมพงษ์ กล่าวสรุป

]]>
1405518
สยามพิวรรธน์ โชว์แนวคิดสร้างคุณค่าร่วม ผ่าน ECOTOPIA มัลติแบรนด์สโตร์รักษ์โลกแห่งแรกของไทย สะท้อนบทบาทองค์กรแห่งความยั่งยืน ในงาน Sustainability Expo 2022 https://positioningmag.com/1401835 Tue, 27 Sep 2022 10:00:02 +0000 https://positioningmag.com/?p=1401835
  • ความยั่งยืนในแบบสยามพิวรรธน์ เกิดขึ้นผ่านแนวทางการดำเนินธุรกิจแบบร่วมสร้าง (Co-creation) ที่ให้ความสำคัญด้านสิ่งแวดล้อม จึงผสานศักยภาพร่วมกันทุกฝ่าย และดำเนินการตลอดทั้งห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain) และระบบนิเวศ (Ecosystem) เพื่อสร้างผลกระทบเชิงบวก (Net Positive Impact) ให้กับ ผู้คน ชุมชน และ สิ่งแวดล้อม
  •  ECOTOPIA เป็นแบรนด์ที่ริเริ่มโดยสยามพิวรรธน์จากอุดมการณ์การดำเนินธุรกิจที่สร้างการเติบโตร่วมกันอย่างยั่งยืน โดยมีเจตนาที่ต้องการสะท้อนความตั้งใจในการปลุกจิตสำนึกของการดำเนินชีวิตตามแนวคิดรักษ์และฟื้นฟูโลกแบบครบวงจร เพื่อส่งต่อโลกที่น่าอยู่ให้ทุกชีวิต

  • บริษัท สยามพิวรรธน์ จำกัด ผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์และธุรกิจค้าปลีกชั้นนำ เจ้าของและผู้บริหารโครงการที่มีชื่อเสียงระดับโลก อาทิ สยามพารากอน สยามเซ็นเตอร์ สยามดิสคัฟเวอรี่ หนึ่งในพันธมิตรเจ้าของไอคอนสยาม และสยาม พรีเมี่ยม เอาท์เล็ต กรุงเทพ ตอกย้ำอุดมการณ์การดำเนินธุรกิจที่สร้างการเติบโตร่วมกันอย่างยั่งยืน โดยในงานได้จำลองเมืองแห่งคนรักษ์โลก ECOTOPIA มัลติแบรนด์สโตร์ร้านแรก ที่รวมสินค้ารักษ์โลกครบครันหลากหลายที่สุดในประเทศไทย ร่วมโชว์ศักยภาพด้านความยั่งยืนในงาน Sustainability Expo 2022 (SX2022) มหกรรมด้านการพัฒนาความยั่งยืนที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในอาเซียน สะท้อนแนวคิดในการดำเนินธุรกิจของสยามพิวรรธน์ผ่านการสร้างคุณค่าร่วม (Shared value) เพื่อสร้างการเติบโตร่วมกันอย่างยั่งยืนให้กับทุกภาคส่วน และทำให้เกิดผลกระทบเชิงบวกสู่สังคมชุมชน สิ่งแวดล้อม และประเทศชาติ

    สยามพิวรรธน์เปิด ECOTOPIA ในปี 2560 สะท้อนการเป็นผู้บุกเบิกที่กล้านิยามกระบวนทัศน์ใหม่ให้กับโลก ด้วยการนำเสนอสินค้าสร้างสรรค์จากแนวคิดรักษ์โลกและ well-being เพื่อให้เป็นจุดหมายปลายทางสำหรับผู้บริโภคที่ใส่ใจรักษ์โลกที่ครบวงจรยิ่งใหญ่ที่สุดในเอเชีย (Asia’s leading Eco Lifestyle Destination) โดยร่วมมือกับ 12 สุดยอดครีเอเตอร์ และผู้ประกอบการรายย่อย พัฒนาและรังสรรค์ผลิตภัณฑ์รักษ์โลก มากกว่า 300 แบรนด์ และสินค้ากว่า 100,000 รายการ บนพื้นที่กว่า 1,000 ตารางเมตร ชั้น 3 สยามดิสคัฟเวอรี่

    นางสาวนราทิพย์ รัตตประดิษฐ์ ประธานบริหารสายงานปฏิบัติการ (Chief Operating Officer) บริษัท สยามพิวรรธน์ จำกัด กล่าวว่า “งาน Sustainability Expo 2022 ที่มีแนวคิด พอเพียง ยั่งยืน เพื่อโลก เป็นการรวมพลังครั้งสำคัญขององค์กรชั้นนำของไทย ในการร่วมสร้างสมดุลที่ดี เพื่อโลกที่ดีกว่า (Good Balance, Better World) ซึ่งมีแนวทางที่สอดคล้องกับสยามพิวรรธน์ และถือเป็นโอกาสอันดีที่สยามพิวรรธน์จะนำเสนอต้นแบบของการสร้างแบรนด์ที่สะท้อนด้านความยั่งยืนได้อย่างเป็นรูปธรรม ตลอดช่วงเวลากว่า 63 ปีของการทำธุรกิจ การพัฒนาโครงการภายใต้สยามพิวรรธน์ทั้งหมดเป็นรูปแบบของการสร้างคุณค่าร่วม (Shared Values) และผลกระทบเชิงบวกไปสู่ชุมชนสังคมและประเทศชาติ

    สยามพิวรรธน์ได้นำแนวคิดความยั่งยืนมาใช้ขับเคลื่อนธุรกิจผ่านหลากหลายโครงการ อาทิ การเดินหน้าสู่การเป็น “องค์กรขยะเป็นศูนย์” ภายใต้โครงการ “Siam Piwat 360° Waste Journey to Zero Waste” ที่คำนึงถึงการจัดการขยะแบบครบวงจรตามแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) การรณรงค์เพื่อส่งเสริมการคัดแยกขยะและจัดตั้งจุดรับวัสดุบรรจุภัณฑ์สะอาดที่ไม่ใช้แล้วแบบไดร์ฟทรูแห่งแรกในประเทศไทย นับเป็นการนำขยะเข้าสู่กลไกการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ แล้วส่งต่อไปรีไซเคิลเป็นวัตถุดิบ ซึ่งบางส่วนนำเข้าสู่กระบวนการอัพไซคลิ่ง นำกลับมาใช้ประโยชน์ เพื่อสร้างสมดุลด้านสิ่งแวดล้อม

    นางอุสรา ยงปิยะกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจค้าปลีก บริษัท สยามพิวรรธน์ จำกัด เปิดเผยว่า “ECOTOPIA เป็นแบรนด์ที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อปลุกจิตสำนึกของการดำเนินชีวิตตามแนวคิดรักษ์และฟื้นฟูโลกแบบครบวงจร กลายเป็นแพลตฟอร์ม (Platform) ที่ได้ปฏิวัติวงการร้านค้าปลีกรูปแบบใหม่สร้างระบบนิเวศธุรกิจ ที่เชื่อมกลุ่มคนรักษ์โลกมาร่วมกันสร้างการเปลี่ยนแปลงที่ดีให้กับโลกไปด้วยกัน ล่าสุด ECOTOPIA ยังถูกจัดอันดับเป็นหนึ่งใน 20 ร้านค้าปลีกที่เยี่ยมยอดที่สุดเอเชีย จาก Inside Retail สื่อธุรกิจรีเทลชั้นนำของเอเชีย ถือเป็นเครื่องยืนยันถึงความสำเร็จอีกก้าวและเป็นความภาคภูมิใจของสยามพิวรรธน์ในการขับเคลื่อนธุรกิจด้านความยั่งยืนอีกด้วย”

    ในงานครั้งนี้ สยามพิวรรธน์ได้นำหลักการความยั่งยืนมาใช้ในการออกแบบและนำเสนอโครงสร้างบูธ ECOTOPIA ซึ่งประกอบด้วยวัสดุที่สามารถแยกชิ้นส่วนเพื่อไปใช้ประโยชน์ได้อีก

    ผู้เข้าร่วมงาน Sustainability Expo 2022 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 26 กันยายน – 2 ตุลาคม 2565 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ สามารถเข้าชมบูธ “ECOTOPIA โดย สยามพิวรรธน์” ทั้งในส่วนบูธ Showcase ที่ Exhibition Hall 3 ชั้น G โซน Better Living และ บูธ Market Place ชั้น LG ซึ่งจะอยู่ในโซนจำหน่ายสินค้า โดยในโซน Exhibition จะมีกิจกรรมต่างๆ ให้กับผู้เยี่ยมชมทุกวัน ไม่ว่าจะเป็น กิจกรรมถ่ายภาพ และกิจกรรม Workshop ร่วมกับ Co-creator ของ Ecotopia ซึ่งเป็น คูเรเตอร์ด้านสิ่งแวดล้อม อาทิ กิจกรรมระบายสีท้องฟ้าด้วยสี Soft Pastel ร่วมกัน ENVIRONMAN และ Friend & Forest กิจกรรม “ปลูกผักกับลุงรีย์” เรียนรู้การปลูกผักในธีมสิ่งแวดล้อมและสุขภาพกับ “ลุงรีย์” หรือ ชารีย์ บุญญวินิจ หรือ กิจกรรมของสาวรักษ์โลก ที่ Cleo ร่วมกับ Ali แบรนด์ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่ผลิตจากวัสดุธรรมชาติ ไร้สารเคมี

    พิเศษสุด สำหรับสาวก สินค้ารักษ์โลก 1,000 ท่านแรกที่มาเยี่ยม บูธ Ecotopia ในโซน Market Place จะได้รับของที่ระลึกเป็น เมล็ดพันธุ์ผักจากฟาร์มลุงรีย์ และรับโปรโมชั่นสำหรับการซื้อสินค้ามากมายในราคาพิเศษ

    สามารถติดตามรายละเอียดกิจกรรมได้ที่ Facebook: ECOTOPIA และ Sustainability Expo หรือ www.sustainabilityexpo.com

    ]]>
    1401835
    Ecotopia แหล่งรวมสินค้ารักษ์โลก ติดอันดับ Asia’s 20 Coolest Retailers 2022 จาก Inside Retail ตอกย้ำแนวคิดการดำเนินธุรกิจสู่ความยั่งยืน https://positioningmag.com/1397142 Wed, 24 Aug 2022 02:00:35 +0000 https://positioningmag.com/?p=1397142

    ปฏิวัติวงการร้านค้าปลีกรูปแบบใหม่สร้างระบบนิเวศธุรกิจที่เชื่อมกลุ่มคนรักษ์โลกมาร่วมสร้างสรรค์พื้นที่เพื่อสร้างโลกให้ดีขึ้นได้ด้วยกัน (Together, We Co-Create a Better World)

    กลุ่มบริษัทสยามพิวรรธน์ ผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์และธุรกิจค้าปลีกชั้นนำ เจ้าของและผู้บริหาร สยามพารากอน สยามเซ็นเตอร์ สยามดิสคัฟเวอรี่ หนึ่งในพันธมิตรเจ้าของไอคอนสยาม และสยาม พรีเมี่ยม เอาท์เล็ต ก้าวไปอีกขั้นของความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจด้วยแนวคิดความยั่งยืนเพื่อโลกของเรา โดย “Ecotopia” เมืองแห่งคนรักษ์โลก ติดอันดับ Asia’s 20 Coolest Retailers เป็นหนึ่งใน 20 ร้านค้าปลีกที่เยี่ยมยอดที่สุดเอเชีย จาก Inside Retail สื่อธุรกิจรีเทลชั้นนำของเอเชีย ซึ่งคัดเลือกแบรนด์ที่มีเอกลักษณ์ แตกต่าง สร้างสรรค์และสร้างแรงบันดาลใจจากทั่วภูมิภาคเอเชีย “Ecotopia” ได้รับการยกย่องในประเภทความยั่งยืน (Sustainability/department store) เป็นแหล่งรวมสินค้าสำหรับผู้บริโภคที่ใส่ใจการรักษ์โลกและสิ่งแวดล้อม ตอกย้ำโมเดลการขับเคลื่อนธุรกิจของสยามพิวรรธน์ ภายใต้กลยุทธ์ร่วมกันรังสรรค์และสร้างคุณค่าสมประโยชน์ร่วมกันทุกฝ่าย

    นางอุสรา ยงปิยะกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจค้าปลีก บริษัท สยามพิวรรธน์ จำกัด กล่าวว่า

    “เป็นความภาคภูมิใจอย่างยิ่งที่ Ecotopia ได้รับการจัดอันดับให้เป็นหนึ่งใน Asia’s 20 Coolest Retailers จาก Inside Retail นับเป็นอีกหนึ่งความสำเร็จ-ของ Ecotopia ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ ‘Ecotopia’ เกิดจากความตั้งใจในการ สร้างสังคมคนรักษ์โลก และร่วมกันเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างการเปลี่ยนแปลงให้กับโลกของเรา (Together, We Co-Create a Better World) ด้วยแนวทางและวิธีการต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น การลดการสร้างขยะ เพิ่มการใช้ซ้ำ ทำความรู้จักกับธรรมชาติในมุมมองใหมรวมถึง การสร้างคุณค่าของเหลือใช้ให้กลับมามีประโยชน์ขึ้นอีกครั้ง Ecotopia ยังเป็นแหล่งรวมผลิตภัณฑ์รักษ์โลก ที่มีความหลากหลายมากที่สุด สามารถค้นหาได้ง่าย จบในที่เดียวอีกด้วย

    การจัดอันดับในครั้งนี้จึงเป็นก้าวสำคัญในการบรรลุเป้าหมายของพันธกิจด้านความยั่งยืนของสยามพิวรรธน์ ภายใต้แนวคิดในการร่วมกันรังสรรค์ และการสร้างคุณค่าที่มีประโยชน์ร่วมกันทุกฝ่าย ซึ่งเป็นหลักการที่ได้ปลูกฝังเข้าไปอยู่ในโมเดลธุรกิจและการดำเนินการทุกๆ วัน ในทุกโครงการ”

    Inside Retail ระบุว่า “Ecotopia” เป็นแบรนด์ที่ปฏิวัติวงการร้านค้าปลีกรูปแบบใหม่ มุ่งเสริมสร้างระบบนิเวศทางธุรกิจ ส่งเสริมผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และได้รับการออกแบบมาอย่างดีเพื่อตอบโจทย์ผู้บริโภคในด้านวิถีทางการใช้ชีวิตแบบยั่งยืน Ecotopia ไม่เพียงแต่นำเสนอผลิตภัณฑ์ที่ปลอดภัยกับสิ่งแวดล้อมเท่านั้น แต่ยังแสดงให้ลูกค้าเห็นถึงวิธีการใช้ประโยชน์สูงสุดจากผลิตภัณฑ์ ยกตัวอย่างเช่น นอกจากการจำหน่ายบรรจุภัณฑ์สำหรับ refill แล้ว ยังอนุญาตให้ลูกค้านำบรรจุภัณฑ์มา refill เองได้ การให้ความรู้ด้านการทำครัวแบบปราศจากของเสีย รวมทั้งการเปิดพื้นที่สำหรับกิจกรรม Workshop รักษ์โลก เพื่อให้ผู้บริโภคสามารถเปลี่ยนขยะเป็นงานศิลป์ หรือนำไปเป็นวัสดุสำหรับการทำสวนแบบออร์แกนิค ถือเป็นการสร้างคอมมูนิตี้สำหรับคนรักษ์โลก รวมพลังผู้ที่มีความคิดสร้างสรรค์ และส่งเสริมการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าเพื่อใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันอย่างยั่งยืน สร้างความแตกต่างได้ในทุกๆ วัน

    “Ecotopia” ตั้งอยู่ที่ชั้น 3 สยามดิสคัฟเวอรี่ รวบรวมผลิตภัณฑ์รักษ์โลกกว่า 300 แบรนด์ โดยแบ่งเป็น 8 โซนไฮไลท์สำคัญ คือ

    1) โซน Hygiene เน้นผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่ผลิตจากวัสดุธรรมชาติหรือวัสดุที่ย่อยสลายได้

    2) โซน Zero Waste สามารถนำบรรจุภัณฑ์มา Refill เพื่อช่วยลดขยะให้กับโลกได้

    3) โซน Green แหล่งรวมต้นไม้ฟอกอากาศ และอุปกรณ์ทำสวน

    4) โซน Healthy โซนอาหารเพื่อสุขภาพที่คัดเลือกวัตถุดิบออร์แกนิคจากธรรมชาติ

    5) โซน Beautiful รวมผลิตภัณฑ์ความงามหลากหลายทั้งสินค้าออร์แกนิค และ Personal care ที่มีสารสกัดจากธรรมชาติ

    6) โซน Up-cycled ผลิตภัณฑ์ที่ถูกนำมารีไซเคิลใหม่

    7) โซน Stylish รวมแฟชั่นที่ทำมาจากฝ้ายออร์แกนิค, เศษผ้า และ

    8) โซน Kind รวบรวมงานฝีมือและภูมิปัญญาชาวบ้านที่สร้างสรรค์จากวัตถุดิบธรรมชาติเพื่อสร้างรายได้กลับคืนสู่ชุมชนและชาวบ้าน ทั้งนี้ Ecotopia ได้เป็นหนึ่งใน Asia’s 20 Coolest Retailers ซึ่งมีร้านค้าแบรนด์ดังที่มีคอนเซ็ปท์พิเศษจากนานาประเทศที่ร่วมในลิสต์ อาทิ Pop Mart และ I Do จากจีน Musinsa และ Gentle Monster จากเกาหลีใต้ Seeson จากเวียดนาม และ Ambush แบรนด์จากญี่ปุ่นที่เพิ่งเปิดบูธีคช้อปที่เซี่ยงไฮ้

    ทั้งนี้ การได้รับการจัดอันดับให้ Ecotopia เป็นหนึ่งใน Asia’s 20 Coolest Retailers จาก Inside Retail ถือเป็นบทพิสูจน์สำคัญในการขับเคลื่อนกลยุทธ์การพัฒนาธุรกิจที่เล็งเห็นความสำคัญในการเป็นผู้นำตอบสนองการใช้ชีวิตของคนรุ่นใหม่ที่ปรับเปลี่ยนการใช้ชีวิต และเพื่อให้ธุรกิจสร้างคุณค่าต่อผู้คน ชุมชนสังคม และโลกใบนี้ ตามแนวคิดการดำเนินธุรกิจสู่ความยั่งยืน

    ]]>
    1397142
    PwC ทุ่ม 1.2 หมื่นล้านดอลลาร์ ‘รีเเบรนด์’ จ้างงานเพิ่ม 1 เเสนตำแหน่งใน 5 ปี จับธุรกิจความยั่งยืน https://positioningmag.com/1337229 Wed, 16 Jun 2021 04:54:25 +0000 https://positioningmag.com/?p=1337229 PwC บริษัทตรวจสอบบัญชีรายใหญ่ของโลกที่อยู่ในกลุ่ม ‘Big 4’ ทุ่มเงินลงทุน 1.2 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 3.7 แสนล้านบาท) เพื่อสรรหาบุคลากร ฝึกอบรม พัฒนาเทคโนโลยีใหม่ เจาะตลาดธุรกิจด้านสิ่งแวดล้อม ความยั่งยืน และการจัดการองค์กรด้านธรรมาภิบาล

    โดยหนึ่งในเเผนนั้น คือการตั้งเป้าเพิ่มพนักงานทั่วโลก 100,000 ตำแหน่ง ในระยะ 5 ปีข้างหน้า นับเป็นการเพิ่มพนักงานใหม่เข้ามาอีกถึง 1 ใน 3  จากเดิมที่มีอยู่ราว 284,000 ตำแหน่ง

    การขยายองค์กรเชิงรุกครั้งนี้เป็นไปตามตลาดเติบโตขึ้นโดยรายได้ของ PwC ปัจจุบันอยู่ที่ประมาณ 4.3 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 1.3 ล้านล้านบาท) รายได้ต่อปีเพิ่มขึ้น 20%

    Bob Moritz ประธานฝ่าย Global ของ PwC กล่าวว่าบริษัทจะทุ่มลงทุนอย่างหนักเพื่อสร้างตัวตนเเละรีเเบรนด์องค์กรใหม่ เพื่อทำให้เห็นว่าเรามีในสิ่งที่ลูกค้าและโลกต้องการ” 

    แผนการลงทุนของ PwC เป็นสัญญาณบ่งชี้ทิศทางของกลุ่ม ‘Big 4’ ที่จะมุ่งให้ความสำคัญกับการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน หรือ ESG (Environmental, Social, Governance) ที่กำลังได้รับความสนใจอย่างกว้างขวางจากบริษัทจดทะเบียนและนักลงทุนทั่วโลก

    ในช่วงที่ผ่านมาจะเห็นได้ว่าผู้จัดการกองทุนโดยเฉพาะนักลงทุนสถาบันและนักลงทุนต่างประเทศต่างให้ความสำคัญกับการลงทุนในบริษัทที่มีแนวทางการดำเนินธุรกิจที่คำนึงถึงความยั่งยืนทั้งของกิจการและสังคมโดยรวมมากขึ้นเรื่อยๆ

    จากรายงานของ Source Global Research ระบุว่า เทคโนโลยีสะอาดและการลงทุนที่ยั่งยืนทั่วโลก ในปี 2020 มีมูลค่าสูงถึง 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ความต้องการด้านตำเเนะนำเเละบริการต่างๆ จะทำให้บรรดาบริษัทที่ปรึกษาทำกำไรมากขึ้นตามไปด้วย

    ไม่ใช่เเค่ PwC เเต่บริษัทที่เหลือในกลุ่ม Big 4 อย่าง Deloitte, EY และ KPMG ก็มุ่งไปยังประเด็นด้านความยั่งยืนเช่นเดียวกัน

    โดย PwC ยังวางแผนจะเข้าซื้อกิจการเพื่อปรับปรุงเเละพัฒนาในด้านต่างๆ ทั้งส่วน ESG เทคโนโลยีคลาวด์ และปัญญาประดิษฐ์ ฯลฯ

     

    ที่มา : financial times , Bloomberg 

     

    ]]>
    1337229
    เปิดความเห็น ‘เศรษฐีเอเชีย’ มองเทค บริหารเงินกงสี ความยั่งยืน ปรับพอร์ตลงทุนในตลาดผันผวน https://positioningmag.com/1320828 Wed, 24 Feb 2021 17:23:43 +0000 https://positioningmag.com/?p=1320828 เปิดความเห็นของเหล่า ‘เศรษฐี’ ในเอเชีย กับมุมมองด้านเทคโนโลยี การลงทุน การบริหารทรัพย์สินครอบครัว และความยั่งยืน ท่ามกลางตลาดที่ผันผวนในวิกฤต COVID-19 

    Lombard Odier (ลอมบาร์ด โอเดียร์) ร่วมกับ KBank Private Banking สำรวจมุมมองและข้อกังวลของผู้มีความมั่งคั่งสูง (UHNWIs) ในประเด็นสานสัมพันธ์ เปลี่ยนผ่าน และพลิกโฉม : การเข้าถึงผู้มีความมั่งคั่งสูงในภูมิภาคเอเชีย ในยุค New Normal’ 

    โดยรวบรวมความคิดเห็นของศรษฐี 150 ราย ใน 7 ประเทศ ได้แก่ ประเทศไทย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ ฮ่องกง ญี่ปุ่น และไต้หวัน 

    วินเซนต์ มาเนียนาต์ Limited Partner and Chief Executive Officer, Asia, Lombard Odier กล่าวว่า ผลกระทบจากโรคระบาดครั้งใหญ่ในศตวรรษ ทำให้เหล่านักธุรกิจชั้นนำเปลี่ยนมุมมองต่อสิ่งต่างๆ รอบตัว รวมไปถึงหันมาเน้นลงทุนไม่หวือหวา แต่ถือได้ยาวนานขึ้น

    ผู้มีความมั่งคั่งสูงหลายราย ต้องการพึ่งพาที่ปรึกษาที่มีความเชี่ยวชาญในประเทศนั้นๆ เพื่อช่วยให้พวกเขาเข้าถึงตลาดต่างประเทศได้ ในช่วงที่การเดินทางยังลำบาก เราจึงได้เห็นสถาบันการเงินระดับโลกหลายแห่งเริ่มมาเปิดธุรกิจบริหารความมั่งคั่งร่วมกับสถาบันการเงิน ‘ท้องถิ่น’ มากขึ้น

    จิรวัฒน์ สุภรณ์ไพบูลย์ Private Banking Group Head ธนาคารกสิกรไทย (ซ้าย) วินเซนต์ มาเนียนาต์ Limited Partner and Chief Executive Officer, Asia, Lombard Odier (ขวา)

    เเม้เศรษฐกิจโลกจะตกต่ำ เเต่ธุรกิจ Private Banking ที่ดูเเลลูกค้ามั่งคั่ง กลับมีผลประกอบการดีที่สุดในรอบหลายปี เพราะพิษเศรษฐกิจสะเทือน ‘รากหญ้า’ มากกว่า ‘คนรวย’

    Lombard Odier เเละ KBank Private Banking คาดว่า แนวโน้มการเติบโตของบุคคลผู้มีสินทรัพย์สูง หรือ Ultra High Net Worth Individuals : UHNWIs ในเอเชียจะยังคงมีอย่างต่อเนื่อง ราว 10-15% ภายหลังวิกฤตโรคระบาด เศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัว เเละสงครามการค้าคลี่คลายลง

    “จำนวนของเศรษฐีใหม่ในเอเชียจะมีเพิ่มขึ้นอย่างมาก ตามเทรนด์การลงทุนในธุรกิจดิจิทัลใหม่ๆ ที่เเจ้งเกิดเเละเติบโตในช่วง COVID-19”

    สำหรับในประเทศไทย มองว่า ธุรกิจที่จะสามารถ ‘ฟื้นตัวได้เร็ว’ จากวิกฤตเศรษฐกิจ เช่น ธุรกิจด้านพลังงาน ,  ธุรกิจด้านวัสดุหรือวัตถุดิบ (Material) และธนาคาร

    เทคโนโลยี : more digital…เเต่ยังชอบ ‘พบปะพูดคุย’ 

    ผลสำรวจนี้ ชี้ให้เห็นพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปอย่างชัดเจนของบุคคลผู้มีความมั่งคั่งสูงในการเปลี่ยนผ่านเชิงดิจิทัล

    กว่า 81% ของคนรวยในเอเชีย เห็นว่าการติดต่อผ่านช่องทางดิจิทัลเพิ่มขึ้น และลดการพบปะกันลง more digital, less physical จะกลายเป็นบรรทัดฐานใหม่

    โดยผู้มีความมั่งคั่งสูงในไทยที่คิดเห็นเช่นนี้ มีจำนวนมากเป็นลำดับที่ 3 ในเอเชีย

    อย่างไรก็ตาม พวกเขามองว่าไม่ใช่ทุกอย่างที่สามารถขับเคลื่อนบนโลกดิจิทัลได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับการติดต่อสื่อสาร และการสร้างความไว้วางใจระหว่างลูกค้าและ Private Bank

    เพราะการลงทุนครั้งละกว่าร้อยล้านพันล้าน การได้พูดคุยกันต่อหน้ายังมีความจำเป็น

    โดย 59% ของผู้มีความมั่งคั่งสูงในเอเชียและในประเทศไทยส่วนใหญ่ ยังคงต้องการพบปะพูดคุยที่ธนาคารหรือสถานที่อื่นๆ มากกว่าการติดต่อผ่านทางอีเมล จดหมาย วิดีโอคอล หรือโทรศัพท์

    เมื่อสถานการณ์ COVID-19 จบลง ผู้มีความมั่งคั่งสูงในประเทศไทยจำนวนหนึ่งกล่าวว่า การพบปะกันยังคงเป็นสิ่งสำคัญอย่างมากสำหรับการดำเนินธุรกิจ และไม่คิดว่ากิจกรรมเหล่านี้จะสามารถทดแทนได้ผ่านการติดต่อสื่อสารแบบออนไลน์

    การลงทุน : ‘ดอกเบี้ยต่ำ’ จะเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตวิถีใหม่

    ผู้มีความมั่งคั่งสูงในเอเชีย เห็นความผันผวนของตลาดมากขึ้น เเต่กลุ่มนักลงทุนที่เคยผ่านวิกฤตเศรษฐกิจมากเเล้ว ‘ไม่ได้ตื่นตระหนกต่อวิกฤตครั้งนี้มากนัก”

    ผลสำรวจ ระบุว่า70% ของผู้มีความมั่งคั่งสูงในประเทศไทย เเละ 81% ของผู้มีความมั่งคั่งสูงในเอเชียไม่ได้ปรับเปลี่ยนพอร์ตการลงทุน โดยเฉพาะระยะเวลาของการลงทุน

    สำหรับด้านการบริหารสินทรัพย์ แม้ว่าจะมีผู้มีความมั่งคั่งสูงในเอเชียบางส่วน เลือกที่จะบริหารจัดการแบบที่ความเสี่ยงค่อนข้างต่ำ (Conservative) โดยเลือกลงทุนในสินทรัพย์ปลอดภัยอย่างทองคำ เงินฟรังก์สวิส เงินเยน และพันธบัตรรัฐบาล

    “แต่ก็ยังมีผู้มีความมั่งคั่งสูงอีกจำนวนหนึ่งที่มองเห็นโอกาสในช่วงเวลานี้ โดยให้ความสนใจกับหุ้น และตราสารหนี้ภาคเอกชน เนื่องจากเล็งเห็นแนวโน้มว่าภาวะดอกเบี้ยต่ำจะเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตวิถีใหม่” 

    โดย 78% มองว่าภาวะดอกเบี้ยตํ่าจะเป็นส่วนหนึ่งของโลกยุคหลัง COVID-19 และอาจดําเนินต่อเนื่องไปอีกทศวรรษ

    ผู้มีความมั่งคั่งสูงในประเทศไทยกว่า 87% กล่าวว่า การมีบริการพิเศษที่นอกเหนือบริการด้านลงทุนจะส่งผลอย่างมากต่อการตัดสินใจในการเลือกธนาคาร โดยบริการ 3 อันดับแรกที่มีความสำคัญสูงสุด ได้เเก่ 

    • บริการด้านสินเชื่อ
    • ความสามารถในการเข้าถึงเครือข่ายผู้ประกอบการ
    • ความสามารถในการบริหารจัดการด้านการเงิน
    • การเข้าถึงโอกาสการลงทุนในสินทรัพย์จริง เช่น อสังหาริมทรัพย์

    บริหารทรัพย์สินครอบครัว : สนใจ ‘ธรรมาภิบาล’ มากขึ้น 

    ความผันผวนของตลาด ทำให้ผู้มั่งคั่งในเอเชีย เริ่มกลับมา ‘ทบทวน’ ธรรมาภิบาลในการจัดการทรัพย์สินครอบครัวและการดําเนินธุรกิจในระยะยาว และทําให้เรื่องนี้เร่งด่วนขึ้น

    สำหรับประเทศไทย 35% ของครอบครัวผู้มีความมั่งคั่งสูงได้มีการจัดทำธรรมาภิบาลของครอบครัวแล้ว และวิกฤตในครั้งนี้ก็ได้ส่งผลให้อีก 45% ของครอบครัวที่ยังไม่ได้จัดทำธรรมาภิบาลของครอบครัวสนใจที่จะเริ่มวางแผนในอนาคต

    นอกจากนี้ บริการที่ปรึกษาด้านอสังหาริมทรัพย์ (Real Estate Advisory Service) ได้กลายเป็นอีกหนึ่งบริการที่เติบโตสูงที่สุด และเข้ามาตอบโจทย์การบริหารจัดการที่ดินของครอบครัวผู้มีความมั่งคั่งสูงในประเทศไทย

    สำหรับในปี 2020 ที่ผ่านมา KBank Private Banking ได้ทำการศึกษาและดูแลพอร์ตการลงทุนด้านอสังหาริมทรัพย์ให้แก่กลุ่มลูกค้าผู้มีความมั่งคั่งสูงจำนวน 121 ราย โดยครอบคลุมที่ดินทั้งหมด 940 แปลง

    เศรษฐีรุ่นใหม่มองความ ‘ความยั่งยืน’ คืออนาคต 

    เหล่ามหาเศรษฐี เริ่มตระหนักถึงสิ่งที่มีคุณค่าต่อการดำเนินชีวิตหลังวิกฤต COVID-19 ซึ่งเทรนด์ ‘ความยั่งยืน’ เป็นที่สำคัญที่สุดสำหรับการตัดสินใจเลือก Private Bank

    69% ของผู้มีความมั่งคั่งสูงในประเทศไทย ได้จัดอันดับให้เทรนด์ด้านความยั่งยืนเป็น 1 ใน 3 ประเด็นที่สำคัญที่สุด โดยไทยคือประเทศที่ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มากเป็นที่สอง รองจากญี่ปุ่น

    แม้ว่า 89% ของผู้มีความมั่งคั่งสูงในเอเชียกล่าวว่า เทรนด์ความยั่งยืนจะยังคงมีบทบาทสำคัญในระยะยาว แต่กลับมีเพียง 61% ที่วางแผนการลงทุนโดยคำนึงถึงมิติด้าน ESG และการพัฒนาอย่างยั่งยืน

    ผู้มีความมั่งคั่งสูงบางส่วน ยังไม่เชื่อมั่นว่าการลงทุนด้านความยั่งยืนจะสร้างผลตอบแทนท่ีดีได้ โดย 1 ใน 3 ของผู้มีความมั่งคั่งสูงในเอเชีย (ส่วนใหญ่จาก ฮ่องกง ญี่ปุ่น และฟิลิปปินส์) ไม่มีแผนที่จะเพิ่มสัดส่วนการลงทุนที่คํานึงถึงมิติของการพัฒนาอย่างยั่งยืน

    สิ่งนี้แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของไพรเวทแบงก์ในการให้คำแนะนำ เพื่อแสดงให้กลุ่มผู้มีความมั่งคั่งสูงเห็นถึงศักยภาพและแนวทางการสร้างผลกำไรของการลงทุนอย่างยั่งยืนอย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น

    “กลุ่มเศรษฐีรุ่นใหม่ ให้ความสําคัญกับความยั่งยืนเป็นลําดับต้นๆ และต้องการใช้บริการของธนาคารที่มีการลงมือด้านนี้อย่างจริงจัง” 

    4 เรื่องที่ Private Bank ต้องพัฒนา 

    KBank Private Banking ให้บริการการบริหารความมั่งคั่งแก่ลูกค้าธนาคารกสิกรไทย ที่มีเงินฝากและเงินลงทุนกับธนาคาร ตั้งแต่ 50 ล้านบาทขึ้นไป ส่วน Lombard Odier เป็นบริษัทบริหารจัดการสินทรัพย์และความมั่งคั่งที่มีประสบการณ์กว่า 220 ปี ดูแลสินทรัพย์รวมของลูกค้าทั่วโลกกว่า 290 พันล้านฟรังก์สวิส (ข้อมูล วันที่ 30 มิถุนายน 2563)

    จิรวัฒน์ สุภรณ์ไพบูลย์ Private Banking Group Head ระบุว่า ผลสำรวจนี้สะท้อนให้เห็นความต้องการของกลุ่มผู้มีความมั่งคั่งสูงที่เพิ่มขึ้นและซับซ้อนมากยิ่งขึ้น

    KBank Private Banking เเละพันธมิตรทางธุรกิจอย่าง Lombard Odier มองว่ามี 4 เรื่องที่ผู้ให้บริการต้องทำเพื่อช่วยสร้างความมั่งคั่งที่ยั่งยืนให้แก่ลูกค้า ได้แก่

    1. เร่งพัฒนาคุณภาพของบริการดิจิทัล ทั้งในด้านการสื่อสาร การส่งมอบบริการ การรายงานข้อมูลทางการเงิน และการทำธุรกรรม ควบคู่ไปกับการใช้เทคโนโลยีเพื่อยกระดับการให้บริการของไพรเวทแบงเกอร์
    2. สร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการลงทุนที่มีกลไกควบคุมความเสี่ยง ติดตั้งเครื่องมือที่ช่วยให้ลูกค้าสามารถบริหารจัดการความเสี่ยงได้สะดวกขึ้นในทุกๆ ผลิตภัณฑ์
    3. เสริมความแข็งแกร่งของบริการที่ไม่ได้จำกัดอยู่เพียงการลงทุนในตลาดทุน ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนนอกตลาดและลงทุนโดยตรงในบริษัท หรือบริการให้คำแนะนำด้านอสังหาริมทรัพย์และการวางแผนความมั่งคั่ง
    4. เป็นสื่อกลางในการพิสูจน์ให้เห็นถึงผลตอบแทนในระยะกลางและระยะยาวของการลงทุนอย่างยั่งยืน และนำเสนอผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง

     

    อ่านรายงานฉบับเต็ม (ที่นี่)

     

    ]]>
    1320828
    “เลิกซื้อ ‘เสื้อผ้า’ ขูดรีดแรงงาน-ทำลายสิ่งแวดล้อม” ทัศนคติของผู้บริโภครุ่นใหม่ที่แบรนด์ต้องฟัง https://positioningmag.com/1319145 Fri, 12 Feb 2021 11:37:10 +0000 https://positioningmag.com/?p=1319145 “แฟชั่น” หรือ “เสื้อผ้า” ดูเผินๆ เหมือนไม่น่าจะมีอะไรเกี่ยวโยงกับสิ่งแวดล้อมมาก หากเทียบกับพลาสติก และดูจะไม่ใช่สินค้าหนักที่ต้องขูดรีดแรงงาน แต่ความเป็นจริงนั้นตรงกันข้าม เสื้อผ้าแฟชั่นคือหนึ่งในผู้ร้ายที่ทำลายสิ่งแวดล้อมมากที่สุด และขูดรีดแรงงานในหลายขั้นตอนการผลิต ความจริงเหล่านี้เมื่อออกสู่สายตาผู้บริโภคมากขึ้น ทำให้ผู้ซื้อเริ่มรับผิดชอบสังคมด้วยตนเอง นั่นคือเลิกซื้อแบรนด์ที่ไม่สนับสนุนการดูแลแรงงานและสิ่งแวดล้อม

    ย้อนกลับไปเมื่อเช้าวันที่ 24 เมษายน 2013 ตึกรานา พลาซา ใกล้กรุงดากา ประเทศบังกลาเทศ เกิดถล่มลงมา ทำให้มีผู้เสียชีวิต 1,134 คน และบาดเจ็บอีกกว่า 2,500 คน ตึก 8 ชั้นแห่งนี้เป็นที่ตั้งของโรงงานเย็บผ้าหลายบริษัท และคนที่เสียชีวิตส่วนใหญ่ก็คือคนงานเย็บผ้า

    ที่ร้ายไปกว่านั้นคือ โครงสร้างตึกเริ่มมีอาการร้าวตั้งแต่วันก่อนหน้า ทำให้บริษัทอื่นๆ ที่ไม่ใช่โรงงานเย็บผ้าประกาศปิดชั่วคราว แต่คนงานเย็บผ้ากลับถูกสั่งให้กลับมาทำงานอีกในวันรุ่งขึ้น และกลายเป็นโศกนาฏกรรมกลางเมืองหลวง

    โศกนาฏกรรมตึกรานา พลาซา บังกลาเทศ เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2013 (Photo : Shutterstock)

    โศกนาฏกรรมนี้ทำให้ความจริงเบื้องหลังอุตสาหกรรมแฟชั่นถูกเปิดโปง เพราะในบรรดากองเสื้อผ้าภายใต้ซากตึกถล่มคือเสื้อผ้าแบรนด์ดังระดับโลก เช่น Prada, Gucci, Versace, Mango ฯลฯ โดยที่เจ้าของแบรนด์ส่วนมากไม่รู้ด้วยซ้ำว่าเสื้อผ้าของตนถูกผลิตขึ้นที่นั่น จนต้องใช้เวลาสืบสาวกันหลายสัปดาห์กว่าจะรู้ว่าสัญญากับซัพพลายเออร์รายใดที่ไปผูกโยงกับโรงงานในตึกรานา พลาซา

     

    “แฟชั่น” ขูดรีดแรงงาน-ทำลายสิ่งแวดล้อม

    จุดปริแตกที่รานา พลาซา ทำให้ผู้บริโภคเริ่มตระหนักถึงการขูดรีดแรงงาน เพราะแหล่งผลิตเสื้อผ้าส่วนใหญ่จะอยู่ในประเทศกำลังพัฒนา เช่น บังกลาเทศ อินเดีย เวียดนาม กัมพูชา รวมถึงประเทศไทยด้วย และคนงานเหล่านี้มักจะได้รับรายได้ต่ำแต่ทำงานหนัก เพื่อแข่งขันทำต้นทุนให้ถูกที่สุด มิต้องพูดถึงความปลอดภัยในชีวิตและที่ทำงานซึ่งอยู่ในระดับต่ำจนเกิดเหตุตึกถล่มขึ้น

    ไม่เฉพาะโรงงานตัดเย็บเสื้อผ้า แต่ย้อนกลับไปถึงวัตถุดิบทำเส้นใยผ้าอย่าง “ไร่ฝ้าย” ชาวไร่ฝ้ายในอินเดียก็ได้รับรายได้ต่ำเช่นกัน รวมถึงไร่ฝ้ายในเขตซินเจียง ประเทศจีน มีรายงานว่าจีนมีการใช้แรงงานทาสชาวอุยกูร์ในไร่ฝ้ายและโรงงานผลิตเส้นใยฝ้าย แต่ทางการจีนปฏิเสธเรื่องนี้เสมอมา (อ่านเพิ่มเติม : สหรัฐฯ เตรียมแบนสินค้าที่ใช้ “ฝ้าย” จากซินเจียง โจมตีจีนละเมิดสิทธิมนุษยชนชาวอุยกูร์)

    ไร่ฝ้ายในมณฑลซินเจียง กำลังไถพรวนดินเพื่อรอหว่านเมล็ด ภาพถ่ายเมื่อวันที่ 5 เมษายน 2563 (Photo by VCG via Getty Images)

    ในด้านสิ่งแวดล้อม การผลิตผ้าคืออุตสาหกรรมที่ต้องใช้น้ำล้างสีย้อมผ้าปริมาณมหาศาล และน้ำที่ชะล้างสีทำให้มีสารเคมีปนเปื้อน อุตสาหกรรมผ้าจึงเป็นตัวการสร้าง “น้ำเสีย” ถึง 20% ของโลก และถ้าย้อนกลับไปถึงไร่ฝ้าย ฝ้ายเป็นพืชที่มักจะใช้สารกำจัดศัตรูพืชสูง โดยคิดเป็น 10-20% ของสารกำจัดศัตรูพืชที่ใช้ทั้งโลก (ข้อมูลจากธนาคารโลก)

    ข้อมูลเหล่านี้ทำให้ผู้บริโภคบางส่วนตระหนักถึงความรับผิดชอบของแบรนด์แฟชั่น แม้ว่าแบรนด์หนึ่งๆ จะมีซัพพลายเออร์ที่ทำงานด้วยนับร้อยๆ ราย หรือบางบริษัทอาจมีนับพันๆ ราย แต่ผู้บริโภคก็ต้องการให้แบรนด์ตรวจสอบย้อนกลับได้ทุกรายว่ามีการผลิตที่รับผิดชอบต่อสังคมในทุกๆ ด้าน รวมถึงเริ่มมองเห็นความรับผิดชอบของตัวเอง และอำนาจของผู้ซื้อที่จะบีบให้แบรนด์ต้องสร้างความยั่งยืนขึ้น

     

    ผู้บริโภคเริ่มเปลี่ยนพฤติกรรมการซื้อ

    กระแสการตระหนักถึงปัญหาของอุตสาหกรรมแฟชั่น ทำให้ผู้บริโภคมองการแก้ปัญหาเป็นสองทาง ทั้งตัวแบรนด์ที่ควรจะดูแลซัพพลายเชนดังกล่าว และตัวผู้บริโภคเองที่ต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการซื้อสินค้าด้วย

    ย้อนไปก่อนหน้านี้ ตลาดแฟชั่นกำลังฮิตแบรนด์สินค้าแบบ “ฟาสต์แฟชั่น” นั่นคือเสื้อผ้าแฟชั่นราคาถูก คุณภาพต่ำ เปลี่ยนเทรนด์เร็ว เติมสินค้าแบบใหม่กันแทบจะสัปดาห์ต่อสัปดาห์ ด้วยราคาที่ถูกและการสร้างค่านิยมเปลี่ยนเสื้อผ้าตามแฟชั่นให้ทัน ทำให้ผู้บริโภคสบายใจที่จะใส่เสื้อผ้าแค่ 1-2 ครั้งแล้วโยนทิ้ง ซื้อใหม่ กลายเป็นการสร้างขยะเสื้อผ้ากองโต และกระตุ้นให้แบรนด์ผลิตเสื้อผ้ามากขึ้นเรื่อยๆ

    เสื้อผ้าแฟชั่นราคาถูก คุณภาพต่ำ เปลี่ยนเทรนด์เร็ว ด้วยราคาที่ถูกและการสร้างค่านิยมเปลี่ยนเสื้อผ้าตามแฟชั่นให้ทัน ทำให้ผู้บริโภคสบายใจที่จะใส่เสื้อผ้าแค่ 1-2 ครั้งแล้วโยนทิ้ง ซื้อใหม่ กลายเป็นการสร้างขยะเสื้อผ้ากองโต

    มีการสำรวจของ Greenpeace เมื่อปี 2015 ที่ประเทศเยอรมนี สอบถามคนเยอรมันวัย 18-69 ปี ให้จัดแบ่งเสื้อผ้าในตู้ของตนเองว่าได้ใส่บ่อยแค่ไหน ค่าเฉลี่ยสัดส่วนเสื้อผ้ามีดังนี้ 36% ถูกสวมใส่เป็นประจำ 25% ถูกสวมใส่อยู่เรื่อยๆ 20% นานๆ หยิบใส่สักครั้ง และน่าตกใจที่มี 19% ของเสื้อผ้าในตู้ที่เจ้าของไม่เคยสวมใส่เลย ทั้งนี้ รายงานนี้ยังระบุด้วยว่าประเภทเสื้อผ้าที่ถูกใส่น้อยที่สุดคือ “ชุดงานปาร์ตี้” มีการใส่เฉลี่ยแค่ 1.7 ครั้ง

    เมื่อเป็นดังนี้ ผู้บริโภคเริ่มเข้าใจแล้วว่า “ฟาสต์แฟชั่น” และวิธีบริโภคของตนเองคือสิ่งกระตุ้นให้เกิดการผลิตในราคาถูก ต้นตอการกดขี่แรงงาน ดังนั้น จึงเกิดกระแสลด ละ เลิกการใส่เสื้อผ้าแบบใช้ไม่กี่ครั้งก็โยนทิ้ง สนับสนุนแบรนด์ที่มีนโยบายความยั่งยืน รวมถึงนิยมเสื้อผ้ามือสองมากขึ้น

     

    กระแสจุดติด รณรงค์เลิก “ฟาสต์แฟชั่น”

    เทรนด์เลิกซื้อเสื้อผ้าบ่อยๆ และการมองหาแบรนด์ที่สร้างความโปร่งใสด้านแรงงาน-สิ่งแวดล้อม เริ่มเห็นได้ชัดช่วง 3-4 ปีก่อนนี้เอง ยิ่งเกิดโรคระบาด COVID-19 ขึ้น ยิ่งทำให้ผู้บริโภคโดยเฉพาะฝั่งตะวันตกคำนึงถึงผลการกระทำของตนเองที่มีต่อโลก จากการสำรวจของ McKinsey สอบถามผู้บริโภค 2,000 คนในสหราชอาณาจักรและเยอรมนี เมื่อเดือนเมษายน 2020 คำถามบางส่วนเจาะลึกไปที่ธุรกิจแฟชั่นและเศรษฐกิจหมุนเวียน

    McKinsey พบว่า ผู้บริโภคมีปัจจัยสำคัญ 3 อันดับแรกเมื่อเลือกซื้อเสื้อผ้า คือ สไตล์ที่ชอบ สวมใส่สบาย และคุณภาพวัสดุ

    McKinsey พบว่า ผู้บริโภคมี ปัจจัยสำคัญ 3 อันดับแรกเมื่อเลือกซื้อเสื้อผ้า คือ สไตล์ที่ชอบ สวมใส่สบาย และ คุณภาพวัสดุ

    ส่วนเรื่อง “ความใหม่ เทรนด์ออกใหม่” กลายเป็นปัจจัยสุดท้ายที่คนให้ความสำคัญ รวมถึงเรื่อง “แบรนด์ที่มั่นใจ” ก็เป็นปัจจัยท้ายๆ เหมือนกัน แสดงให้เห็นว่าผู้บริโภคพร้อมจะซื้อแบรนด์ใหม่ๆ มากขึ้น

    นอกจากนี้ 71% ของผู้ตอบแบบสอบถามบอกว่า ตัวเองตั้งใจจะเก็บเสื้อผ้าไว้ใช้งานให้นานกว่าเดิม และ 57% ตอบว่าตัวเองตั้งใจจะซ่อมแซมเสื้อผ้าเพื่อให้เสื้อผ้าชิ้นนั้นใช้ได้นานขึ้น

    แบบสอบถามยังพบว่า 48% ของคนเจนวาย (อายุ 24-39 ปี) และคนเจนซี (อายุ 18-23 ปี) มีแนวโน้มที่จะซื้อเสื้อผ้ามือสอง หลังจากเกิด COVID-19 ส่วนเจนที่อายุมากกว่านี้จะมีแนวโน้มซื้อเสื้อผ้ามือสองน้อยกว่า

     

    แบรนด์ยักษ์ขยับตามผู้บริโภค

    เห็นได้ชัดว่ากระแสการตระหนักถึงความรับผิดชอบในการบริโภคแฟชั่นจุดติดแล้วในสังคมตะวันตก ส่วนผู้บริโภคไทยอาจจะยังเป็นนิชมาร์เก็ต แต่ก็มีการพูดถึงบนอินเทอร์เน็ต และมีบางแบรนด์ที่หยิบขึ้นมาเป็นจุดขาย เช่น Pomelo ที่ทำคอลเลกชัน Purpose ซึ่งผลิตเสื้อผ้าจากสีย้อมผ้าธรรมชาติ ไม่ทิ้งสารเคมี

    ตู้คอนเทนเนอร์บรรจุเครื่องจักรรีไซเคิลผ้าของ H&M

    ความตระหนักรู้ได้กดดันให้แบรนด์ระดับโลกต้องยอมขยับทำอะไรสักอย่าง ยกตัวอย่างเช่น H&M เริ่มมีจุดรับคืนเสื้อผ้าเพื่อนำไปรีไซเคิลและนำเส้นใยนั้นมาผลิตใหม่ในคอลเลกชัน H&M CONSCIOUS หรือ Uniqlo เริ่มมีการรับเสื้อผ้าไปรีไซเคิลเช่นกัน รวมถึงมีเทคโนโลยีลดการใช้น้ำระหว่างผลิตผ้ายีนส์ด้วย (อ่านเพิ่มเติม : Uniqlo ทำอะไรไปแล้วบ้างเพื่อ “ความยั่งยืน” และอะไรที่ยังเป็นประเด็นอนาคต)

    จากข้อมูลของ Fashion Revolution กลุ่มรณรงค์ให้แบรนด์แฟชั่นมีนโยบายที่โปร่งใสด้านแรงงาน-สิ่งแวดล้อมมีการจัดอันดับ Fashion Transparency Index 2020 โดยตรวจสอบนโยบายความยั่งยืนของแบรนด์ด้วยดัชนีชี้วัด 250 รายการ ตรวจสอบไปกว่า 250 แบรนด์ทั่วโลก รวมทั้งฟาสต์แฟชั่น ลักชัวรี และแบรนด์ที่ขายออนไลน์เท่านั้น โดยต้องเป็นแบรนด์ที่มียอดขายมากกว่า 400 ล้านเหรียญสหรัฐต่อปี

    แบรนด์ที่ได้คะแนนมากกว่า 50% จากการจัดอันดับความโปร่งใสของ Fashion Revolution Index 2020

    องค์กรนี้พบว่า ค่าเฉลี่ยความโปร่งใสด้านแรงงานและสิ่งแวดล้อมของโลกแฟชั่นอยู่ที่ 23% เท่านั้น แต่ดีขึ้นจากปี 2019 ที่มีค่าเฉลี่ยเพียง 21% โดยมุมบวกของปีที่ผ่านมาคือมีแบรนด์ที่ใส่ใจการจัดทำนโยบายมากขึ้น ส่วนมุมลบคือในแง่ความโปร่งใสด้านแรงงาน มีแบรนด์ไม่มากที่กล้าเปิดรายชื่อผู้ผลิตทั้งหมดในซัพพลายเชน และมีแค่ 5 แบรนด์เท่านั้นที่ประกาศไทม์ไลน์ชัดเจนในการส่งเสริมให้แรงงานในสายการผลิตทั้งหมดได้รับค่าจ้างที่เป็นธรรม

    สำหรับแบรนด์ที่ทำคะแนนมากกว่า 60% มีเพียง 6 แบรนด์ ได้แก่ H&M (72.8%), C&A (69.8%), Adidas (69.4%), Reebok (69.4%), Esprit (64.2%) และ Patagonia (60.4%)

    ส่วนแบรนด์กลุ่มฟาสต์แฟชั่นยักษ์ใหญ่ได้คะแนนความโปร่งใสในระดับรองลงมา เช่น ASOS (54.8%), Gap (50%), Zara (44.2%), Uniqlo (39.6%), Topshop (38.2%) และ Mango (21.6%)

    กระเป๋า Gucci Dionysus (Photo : Christian Vierig/Getty Images)

    แบรนด์ลักชัวรีเองก็เข้าร่วมในเส้นทางสู่ความยั่งยืนด้วยเช่นกัน โดยในรายงานนี้ แบรนด์ลักชัวรีที่ได้คะแนนมากที่สุด 5 อันดับแรก คือ Gucci (48.4%), Balenciaga (46.8%), Saint Laurent (46.8%), Bottega Veneta (46.4%) และ Burberry (36%)

    กระแสผู้บริโภคมีพลังมากเมื่อร่วมมือกัน ทำให้แบรนด์ใหญ่ก็ต้องฟังความต้องการและปรับตัวตาม แต่จุดที่ต้องระวังจากนี้คือ นโยบายของแบรนด์เป็นสิ่งที่ ‘ทำจริง’ หรือเป็นเพียงแค่ข้อความการตลาด (greenwashing) เท่านั้น

    Source: Fashion Revolution, McKinsey, EcoWatch

    ]]>
    1319145
    Uniqlo ทำอะไรไปแล้วบ้างเพื่อ “ความยั่งยืน” และอะไรที่ยังเป็นประเด็นอนาคต https://positioningmag.com/1317807 Wed, 03 Feb 2021 11:23:43 +0000 https://positioningmag.com/?p=1317807 Uniqlo ออกรายงานความยั่งยืนประจำปี 2021 สรุปไทม์ไลน์การพัฒนาด้าน “ความยั่งยืน” ช่วยเหลือสังคมและสิ่งแวดล้อมที่ทำมาตลอด 20 ปี พร้อมเป้าหมายในอีก 20 ปีข้างหน้า ทั้งนี้ ยังมีประเด็นอีกมากที่ผู้บริโภคจับตามองให้แบรนด์แฟชั่นรายนี้มีส่วนร่วม

    อุตสาหกรรมเสื้อผ้าแฟชั่นคือหนึ่งในธุรกิจที่ถูกจับตามองอย่างมากเกี่ยวกับการพัฒนา “ความยั่งยืน” โดยมี Uniqlo แบรนด์ภายใต้บริษัท Fast Retailing จากญี่ปุ่นเป็นหนึ่งในยักษ์แฟชั่นที่ถูกคาดหวังให้เป็นผู้นำ ด้วยจำนวนสาขากว่า 1,000 สาขาทั่วโลก การขยับของ Uniqlo จะสร้างผลกระทบอย่างใหญ่หลวง

    ปีนี้บริษัท Fast Retailing มีการจัดทำ “รายงานความยั่งยืนประจำปี 2021” โดยไฮไลต์สำคัญคือการครบรอบ 20 ปีของการพัฒนาเพื่อความยั่งยืน โดยเริ่มนับตั้งแต่ตั้ง “สำนักงานอุทิศเพื่อสังคม” (Social Contribution Office) ขึ้นในปี 2001 ทำให้รายงานฉบับนี้จะมีการย้อนไทม์ไลน์ว่า Uniqlo ทำอะไรไปแล้วบ้าง

    “ทาดาชิ ยาไน” ผู้ก่อตั้งและประธานบริหารกลุ่มบริษัท Fast Retailing

    “ทาดาชิ ยาไน” ผู้ก่อตั้งและประธานบริหารกลุ่มบริษัท Fast Retailing ยังกล่าวถึงการทำเพื่อความยั่งยืนด้วยว่าในมุมมองของเขา ความยั่งยืนคือการสร้างสถานการณ์ “วิน-วิน” ให้กับทุกฝ่าย และโลกใบนี้มีข้อจำกัด ทรัพยากรมีอยู่อย่างจำกัด ยิ่งเกิดโรคระบาด COVID-19 ขึ้นอีก ยิ่งทำให้ทุกคนต้องร่วมมือกัน จึงจะเกิดผลกระทบเชิงบวกได้จริง

    สำหรับหัวข้อการพัฒนาเพื่อความยั่งยืนของ Uniqlo ที่ทำมาอย่างต่อเนื่อง แบ่งเป็นหัวข้อต่างๆ ดังนี้

    “ผู้ลี้ภัย”

    Uniqlo เลือกทำงานกับกลุ่มผู้ลี้ภัย โครงการที่เริ่มทำตั้งแต่ปี 2001 เป็นครั้งแรกคือการบริจาคเสื้อผ้าให้กับกลุ่มผู้ลี้ภัย จนถึงปัจจุบันมีการบริจาคสะสม 41.1 ล้านชิ้น กระจายใน 75 ประเทศ/ดินแดน มีผู้รับการสนับสนุนมากกว่า 9.4 แสนคน

    Uniqlo ได้เป็นพาร์ตเนอร์ระดับโลกกับ UNHCR เมื่อปี 2011 ซึ่งทำให้การทำงานขยายจากเรื่องเสื้อผ้า สู่การว่าจ้างงาน และความช่วยเหลือฉุกเฉิน ขณะนี้มีการจ้างงานผู้ลี้ภัยในร้านของแบรนด์ 121 คน และแบรนด์มีการทำแคมเปญคอลเลกชันเพื่อระดมทุนช่วยเหลือต่อเนื่อง เช่น เดือนมิถุนายน 2020 นำรายได้ 10 ล้านเยนจากการจำหน่ายสินค้าที่เกี่ยวกับทารก บริจาคให้กับครอบครัวและเด็กๆ ผู้ลี้ภัยเพื่อต่อสู้กับ COVID-19

    Uniqlo บริจาคเสื้อผ้าให้ผู้ลี้ภัยสะสม 41.1 ล้านชิ้นในรอบ 20 ปี
    “ผู้ประสบภัยธรรมชาติ”

    หัวข้อนี้ค่อนข้างผูกโยงกับต้นกำเนิดของแบรนด์คือ “ญี่ปุ่น” ดินแดนที่มีภัยธรรมชาติบ่อยครั้ง ญี่ปุ่นเผชิญแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์เมื่อปี 2011 บริเวณภูมิภาคโทโฮขุ ดังนั้น Uniqlo จึงตั้งหน่วยสนับสนุนการฟื้นตัว Great East Japan Earthquake ขึ้นในปีเดียวกัน และได้ทำงานบริจาคให้ผู้ประสบภัยแผ่นดินไหว พายุไต้ฝุ่น น้ำท่วม ดินถล่ม โดยไม่ใช่แค่ในญี่ปุ่นแต่ยังไปสู่ประเทศอื่นด้วย เช่น ฟิลิปปินส์

    หน่วยสนับสนุนเกี่ยวกับภัยธรรมชาติยังขยายวงมาทำงานในช่วงโรคระบาด COVID-19 ด้วย โดยถือเป็นภัยจากธรรมชาติอย่างหนึ่ง รวมแล้ว Uniqlo มีการบริจาคเสื้อผ้าให้ผู้ประสบภัยไปแล้ว 3 ล้านชิ้น และปีที่ผ่านมาบริจาคมาสก์ AIRism ไป 16 ล้านชิ้น รวมถึงชุด PPE อีก 1.4 ล้านชิ้น

    Uniqlo บริจาคมาส์กผ้า AIRism ไป 16 ล้านชิ้น ต่อสู้ COVID-19
    “ผู้พิการและผู้ที่เผชิญความยากลำบากในการใช้ชีวิต”

    Uniqlo ต้องการสนับสนุนหัวข้อนี้ โดยมีการว่าจ้างงานผู้พิการกว่า 1,000 คนทั่วโลก ในแง่ของการผลิตสินค้า มีชุดแบบ Front-Open เปิดด้านหน้าได้เพื่อตอบโจทย์คนที่มีร่างกายไม่เหมาะกับการสวมเสื้อผ้าทางศีรษะ เช่น ผู้พิการ ผู้ป่วย คนชรา

    หัวข้อนี้ยังเกี่ยวโยงไปถึง “ผู้หญิง” ในบางแง่มุมด้วย โดยมีการบริจาคเสื้อผ้า 14,000 ชิ้นให้กับเหยื่อความรุนแรงในครอบครัวของญี่ปุ่น บริจาคเงิน 10 ล้านเยนให้กลุ่มสตรีในแซมเบียเพื่อให้พวกเธอเป็นอิสระทางการเงิน

    และมีโครงการ Grameen Uniqlo Business ที่บังกลาเทศ เป็นธุรกิจเพื่อสังคม ผลิตเสื้อผ้าและจำหน่ายกันเองในท้องถิ่น เมื่อได้กำไรนำมาลงทุนกลับคืนในร้าน มีหน้าร้านขาย 16 แห่งในกรุงดากา และเน้นการว่าจ้างผู้หญิงทำงาน เพื่อให้พวกเธอมีทางออกในการพึ่งพิงตนเองทางการเงินและเป็นอิสระในชีวิต

    Grameen Uniqlo สาขาแรกในบังคลาเทศ
    “แรงงาน”

    มาถึงหัวข้อภายในองค์กรเองบ้าง เรื่องแรงงานผลิตเสื้อผ้าคือหัวข้อที่ทุกคนจับตามอง ด้วยอุตสาหกรรมเสื้อผ้าโดยเฉพาะกลุ่มฟาสต์แฟชั่นมักจะแข่งขันกันด้านราคา จนมีการขูดรีดแรงงาน

    ต่อประเด็นนี้ Uniqlo จัดตั้ง Code of Conduct ขึ้นเมื่อปี 2004 ซึ่งนำไปใช้กับพาร์ตเนอร์ทุกรายที่ซัพพลายสินค้าให้แบรนด์ โดยจะต้องรับการมอนิเตอร์โดยตรงที่โรงงาน จนถึงปัจจุบัน มีโรงงานพาร์ตเนอร์ที่ต้องใช้กฎการทำงานเหล่านี้ 489 แห่งใน 22 ประเทศ และมี Hotline ให้พนักงานของบริษัทและของพาร์ตเนอร์แจ้งเรื่องต่อ Fast Retailing ได้โดยตรงหากไม่ได้รับการปฏิบัติที่เป็นธรรม

    จากนั้นแบรนด์เข้าร่วม Fair Labour Association (FLA) ในปี 2015 ตามด้วยการแสดงความโปร่งใส เปิดรายชื่อโรงงานเย็บผ้าที่ส่งสินค้าให้ Uniqlo ทั้งหมดเมื่อปี 2017 และเข้าร่วมเป็นพาร์ตเนอร์กับ International
    Labour Organization (ILO) ในปี 2019

    ประเด็นแรงงานยังเกี่ยวพันกับ “โอกาสของผู้หญิง” ด้วย โดยเปิดให้พนักงานหญิงจัดสมดุลชีวิตระหว่างงานบริษัทกับการดูแลลูกหรือดูแลผู้สูงอายุได้ และยังมีโอกาสเติบโตในหน้าที่การงาน ลดอคติที่มีต่อผู้หญิงออกไป ปัจจุบันมีผู้หญิงสัดส่วน 39.2% ในตำแหน่งบริหารทั้งหมดของกลุ่ม Fast Retailing

    “สิ่งแวดล้อม”

    ส่วนนี้เป็นหัวข้อที่กว้างมาก เพราะครอบคลุมตั้งแต่การผลิตจากต้นน้ำถึงปลายน้ำที่ร้านขายสินค้า และยังรวมถึงการรีไซเคิลเสื้อผ้ากลับมาผลิตใหม่ด้วย โดย Uniqlo มีโครงการที่เกี่ยวข้อง ดังนี้

    • เข้าร่วม Better Contton Initiative (BCI) องค์กรไม่แสวงหากำไรที่ทำงานเรื่องการให้ความรู้เกษตรกรไร่ฝ้ายเรื่องการใช้น้ำและเคมีในไร่
    • มีนโยบายปล่อยสารเคมีอันตรายจากโรงงานเป็น ‘ศูนย์’
    • พัฒนาเทคโนโลยีลดการใช้น้ำล้างผ้ายีนส์ 99% เท่ากับใช้น้ำเพียง 1 ถ้วยกาแฟต่อกางเกงยีนส์ 1 ตัว
    • นำเส้นใยจากขวดพลาสติก PET รีไซเคิลมาใช้ในผลิตภัณฑ์บางอย่าง
    • ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากในร้านค้า โดยทยอยเปลี่ยนมาใช้หลอด LED และติดแผงโซลาร์รูฟ
    • งดใช้ถุงพลาสติกในร้านค้า เปลี่ยนมาใช้ถุงกระดาษ และสนับสนุนให้ผู้ซื้อนำถุงมาเอง
    • โครงการ RE.UNIQLO รับคืนเสื้อผ้า แบ่งกลุ่มไปบริจาคและกลุ่มที่นำมารีไซเคิล กลุ่มรีไซเคิลจะถูกนำไปแยกเส้นใยมาผลิตใหม่เป็น Recycled Down Jacket สินค้าทั้งตัวถูกผลิตจากวัสดุรีไซเคิล โดยมีการรีไซเคิลเสื้อไปแล้วกว่า 6.2 แสนตัวจากโครงการนี้
    ดาวน์แจ็กเก็ตจากการรีไซเคิลเสื้อผ้า

    แล้วเป้าหมายต่อจากนี้ของ Uniqlo คืออะไร? “ยูกิฮิโระ นิตตะ” ประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านการพัฒนาที่ยั่งยืน Fast Retailing ระบุว่า อีก 20 ปีต่อจากนี้ บริษัทจะพัฒนาต่อเนื่องในหัวข้อต่อไปนี้

    1) รับมือโลกร้อน โดย Uniqlo ยึดถือ “ความตกลงปารีส” ที่จะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพื่อลดอุณหภูมิโลกลง 1.5 องศาภายในปี 2050 โดยบริษัทจะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในระยะยาวตลอดทั้งซัพพลายเชนภายในสิ้นปี 2021 นี้ ปัจจุบันเริ่มไปแล้วที่ส่วนของร้านค้า Uniqlo 60 สาขาในยุโรปติดตั้งระบบพลังงานสะอาดแล้ว 3 สาขาในไต้หวันติดตั้งโซลาร์รูฟแล้ว และกำลังจะเริ่มเปลี่ยนมาใช้พลังงานสะอาดในบางสาขาของญี่ปุ่นปีนี้

    2) สำนักงานอุทิศเพื่อสังคมจะพัฒนาขึ้นไปอีกขั้น โดยเฉพาะการเตรียมช่วยเหลือเกี่ยวกับภัยธรรมชาติ

    3) โครงการ RE.UNIQLO จะยกระดับ หาทางนำวัสดุอื่นมารีไซเคิลผลิตใหม่ได้ (ปัจจุบันทำได้เฉพาะดาวน์แจ็กเก็ต)

     

    ประเด็นที่ยังถูกจับตามอง

    จากนโยบายต่างๆ ที่ Uniqlo ริเริ่มและดำเนินการ Good On You องค์กรจัดเรตติ้งระดับความรับผิดชอบต่อสังคมในอุตสาหกรรมแฟชั่นโดยเฉพาะ มองว่า แบรนด์ Uniqlo ยังอยู่ในระดับ “เพิ่งเริ่มต้น” โดยเป็นระดับ 3 จาก 5 ระดับที่มีให้ ทำให้ถูกจัดเป็นแบรนด์ระดับกลางๆ ในแง่นี้

    เจาะลึกลงไปในแง่สิ่งแวดล้อม Uniqlo ถูกมองว่ามีนโยบายที่ดีแต่ไม่อัปเดตผลการดำเนินงานมากพอ (ซึ่งอาจจะดีขึ้นบ้างในปีนี้ เมื่อจัดทำรายงานความคืบหน้าว่าทำอะไรไปแล้วบ้าง)

    ในด้านแรงงานยิ่งทำได้ไม่ดีพอโดย Fashion Transparency Index (FTI) 2020 จัดให้ Uniqlo มีความโปร่งใสด้านแรงงานเพียง 31-40% เนื่องจากแบรนด์ไม่ได้เปิดเผยรายชื่อซัพพลายเออร์ตลอดสายการผลิตจนถึงต้นน้ำ และไม่ได้ระบุค่าแรงที่คนงานได้รับว่าเหมาะสมหรือไม่ รวมถึงการปกป้องสุขอนามัยคนงานในซัพพลายเชนท่ามกลาง COVID-19

    แต่ถ้ามองในแง่ดี ค่าเฉลี่ยของแบรนด์ในอุตสาหกรรมแฟชั่นอยู่ที่ 21-30% เท่านั้น เพราะฉะนั้นนับว่า Uniqlo ก็ยังดีกว่าแบรนด์ส่วนใหญ่

    ประเด็นร้อนอย่างหนึ่งที่ส่งผลกระทบทั้ง Uniqlo และอีกหลายแบรนด์ทั่ววงการคือ “ฝ้าย” ต้นทางการผลิตเสื้อผ้าที่มาจากซินเจียง ประเทศจีน ถูกมองว่ามีความน่าเคลือบแคลงเรื่องการใช้แรงงานทาสในไร่ฝ้ายและโรงงานฝ้าย

    ปัจจุบัน Uniqlo ยังไม่ได้ระบุที่มาของฝ้ายในซัพพลายเชน (มีระบุลึกถึงแค่ซัพพลายเออร์โรงงานเย็บผ้า) แต่สำนักข่าว NBC News เคยทำข่าวเจาะจนเจอผู้ผลิตผ้าฝ้ายรายใหญ่ Lu Thai Textile ซึ่งใช้ฝ้ายจากไร่ในซินเจียง และบริษัทนี้ส่งผ้าฝ้ายให้กับหลายแบรนด์ เช่น Hugo Boss, L.L. Bean, Brooks Brothers, Esprit และ Uniqlo

    หลายแบรนด์กำลังพยายามตรวจสอบย้อนกลับสินค้าของตนไปให้ถึงต้นทาง เพื่อควบคุมให้ตรงกับนโยบายไม่ขูดรีดแรงงาน ส่วนการพิจารณาเลือกใช้ฝ้ายจากแหล่งอื่นอาจจะยากสักหน่อย เพราะ 22% ของฝ้ายทั่วโลกส่งออกจากประเทศจีน และฝ้ายถึง 85% ของจีนก็มาจากซินเจียงนี่เอง

    Source: Uniqlo, Good On You, NBC News

    ]]>
    1317807