ค่าจ้าง – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Wed, 16 Feb 2022 08:23:10 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 เศรษฐกิจไทยเริ่มฟื้น เเต่เปราะบาง ตลาดเเรงงาน-กำลังซื้ออ่อนเเอ ค่าจ้างต่ำกว่าก่อนโควิด https://positioningmag.com/1374184 Wed, 16 Feb 2022 07:49:54 +0000 https://positioningmag.com/?p=1374184 วิจัยกรุงศรี คาดกนง.ตรึงดอกเบี้ย 0.5% ตลอดทั้งปีนี้ มองเเนวโน้มเศรษฐกิจไทยเริ่มฟื้นตัว เเต่ยังเปราะบาง ตลาดเเรงงานอ่อนเเอ ค่าจ้างยังอยู่ในระดับต่ำกว่าช่วงก่อนโควิด เเละแตกต่างกันตามกลุ่มรายได้ ฉุดกำลังซื้อผู้บริโภค

คาดกนง.ตรึงดอกเบี้ยทั้งปี 0.5%

วิจัยกรุงศรี คาดการณ์ว่าคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) จะตรึงดอกเบี้ยไว้ที่ระดับ 0.50% ตลอดจนถึงสิ้นปีนี้ เนื่องจาก แม้อัตราเงินเฟ้อมีความเสี่ยงด้านสูงเพิ่มขึ้น แต่ กนง.คาดว่าอัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยในปี 2565 และอัตราเงินเฟ้อคาดการณ์ในระยะปานกลางยังอยู่ในกรอบเป้าหมาย (ต่ำกว่า 3%) และยังไม่เห็นสัญญาณการปรับเพิ่มของราคาสินค้าและบริการเป็นวงกว้าง อีกทั้งแรงกดดันเงินเฟ้อด้านอุปสงค์ยังอยู่ในระดับต่ำ

การฟื้นตัวของเศรษฐกิจยังมีความเปราะบางและแตกต่างกันอยู่มาก โดยเฉพาะภาคท่องเที่ยวที่ฟื้นตัวล่าช้าและต่ำกว่าช่วงก่อนเกิดโควิด-19 อยู่มาก

“เศรษฐกิจโดยรวม กว่าจะฟื้นกลับสู่ระดับก่อนวิกฤตการระบาดอาจเป็นช่วงปลายปีนี้หรือต้นปีหน้า และตลาดแรงงานยังอ่อนแอและค่าจ้างที่อาจยังอยู่ในระดับต่ำกว่าช่วงเกิดโควิด-19” 

ค่าจ้างยังต่ำกว่าระดับก่อนโควิด 

วิจัยกรุงศรี ประเมินค่าจ้างที่แท้จริงของครัวเรือนที่มีรายได้ต่ำสุดในปีนี้ จะเพิ่มขึ้นเพียง 1% เมื่อเทียบรายปี ต่ำกว่าค่าจ้างที่แท้จริงของครัวเรือนรายได้สูงสุดที่จะเพิ่มขึ้น 3.2%

ขณะที่ค่าจ้างที่แท้จริงของทุกกลุ่มครัวเรือนในปีนี้ จะยังอยู่ต่ำกว่าระดับก่อนเกิดโควิด-19 สะท้อนถึงกำลังซื้อที่ยังอ่อนแอและมีความแตกต่างกันตามกลุ่มรายได้ ซึ่งจะส่งผลให้ความสามารถในการใช้จ่ายไม่เท่าเทียมกัน และยังบ่งชี้ถึงความเปราะบางในการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ

Photo : Shutterstock

เงินเฟ้อพุ่งช่วงต้นปี 

ด้านความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนมกราคมปรับลดลงเป็นครั้งแรกในรอบ 5 เดือน สะท้อนความอ่อนแอของการใช้จ่ายในประเทศ แต่ยังพอมีแรงพยุงจากมาตรการรัฐ โดยดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนมกราคมปรับลดลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบ 3 เดือนที่ 44.8 จาก 46.2 เดือนธันวาคม เช่นเดียวกับดัชนีความเชื่อมั่นฯ คาดการณ์ (6 เดือนข้างหน้า) ปรับลดลงสู่ระดับ 52.5 จาก 53.8 เดือนธันวาคม

ปัจจัยลบจากความกังวลการระบาดของไวรัสโอมิครอนที่แพร่ได้เร็ว ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่ปรับสูงขึ้นกระทบต่อราคาวัตถุดิบและราคาสินค้า รวมถึงความกังวลเกี่ยวกับเสถียรภาพทางการเมืองในประเทศ

ในช่วงต้นปีกำลังซื้ออาจได้รับแรงกดดันจากเงินเฟ้อที่พุ่งสูงขึ้น เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าในกลุ่มพลังงานตามราคาน้ำมันดิบในคลาดโลก นอกจากนี้ กำลังซื้อของผู้บริโภคยังมีความเปราะบางและแตกต่างกันตามกลุ่มรายได้อีกด้วย

มาตรการรัฐกระตุ้นใช้จ่าย 

อย่างไรก็ตาม ยังพอมีปัจจัยบวกที่จะช่วยประคับประคองการใช้จ่ายในประเทศได้บ้าง จากมาตรการควบคุมการระบาดที่ผ่อนคลายมากขึ้น มาตรการช้อปดีมีคืน รวมถึงมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจล่าสุดวงเงินรวม 53.2 พันล้านบาท ผ่านโครงการสำคัญ ๆ ได้แก่

  • โครงการคนละครึ่ง ระยะที่ 4 (วงเงิน 34.8 พันล้านบาท)
  • โครงการช่วยเหลือผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐและกลุ่มเปราะบาง (วงเงิน 9.4 พันล้านบาท)
  • โครงการเราเที่ยวด้วยกัน ระยะที่ 4 (วงเงิน 9 พันล้านบาท)

“คาดว่ามาตรการเหล่านี้จะช่วยให้มีเม็ดเงินหมุนเวียนเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจประมาณ 1-1.5 แสนล้านบาท” 

 

]]>
1374184
อังกฤษ ‘Jobs Boom’ คนเเห่ลาออกเพื่อหางานใหม่ บริษัททุ่มเพิ่มค่าจ้าง เเย่งชิงพนักงาน https://positioningmag.com/1370309 Thu, 13 Jan 2022 14:57:49 +0000 https://positioningmag.com/?p=1370309 สหราชอาณาจักรกำลังอยู่ในช่วง ‘Jobs Boom’ เเรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ ทยอยลาออกเพื่อ ‘หางานที่มีรายได้ดีกว่า’ ท่ามกลางความต้องการที่พุ่งสูง นายจ้างพร้อมทุ่มโบนัสเเละปรับเงินเดือน

Alan Bannatyne หัวหน้าฝ่ายการเงินของ Robert Walters บอกกับ BBC ว่า ผู้คนกำลังมองหาค่าเเรงขั้นต่ำที่เพิ่มขึ้นกว่า 15% เเละบางคนก็ต้องการเงินเดือนใหม่เพิ่มขึ้นถึง 50%

เขามองว่า ปี 2022 จะเป็นปีเเห่งโอกาสสำหรับลูกจ้าง โดยตำแหน่งว่างในสหราชอาณาจักร พุ่งแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ นับตั้งแต่เศรษฐกิจเริ่มกลับมาเปิดอีกครั้ง เเละบรรดาเหล่านายจ้างกำลังแย่งชิงเเรงงานที่ขาดเเคลนนี้

ด้าน Robert Walters จากบริษัทจัดหางานที่เน้นแรงงานระดับมืออาชีพ ระบุว่า บริษัทต่างๆ กำลังอยู่ในช่วงที่ต้องแข่งขันอย่างดุเดือด เพื่อเฟ้นหาบุคลากรที่มีความสามารถ และก็เป็นเรื่องยากที่จะหา ‘คนที่ใช่’

เเม้จะมีนายจ้างจำนวนมากที่ยอม ‘ขึ้นเงินเดือน’ เพื่อดึงดูดเเรงงาน เเต่ในช่วงสถานการณ์โควิด-19 เมื่อมีผู้ชนะก็ต้องมีผู้แพ้ เเละไม่ใช่ทุกบริษัทจะทุ่มจ่ายเงินเช่นนี้ได้ “บริษัทค้าปลีกและสายการบิน ต่างเผชิญกับความยากลำบาก ดังนั้นก็อาจจะไม่จ่ายโบนัสหรือขึ้นค่าแรง”

สวนทางกับกลุ่มธุรกิจอย่างค้าปลีกออนไลน์ บริษัทที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีและดิจิทัล และผู้ผลิตสินค้าในครัวเรือน ที่มีการเติบโตสูง

ฝั่งบริษัทจัดหางาน Manpower กล่าวว่า นายจ้างกำลังพยายามมองหาพนักงานที่มี ‘ทักษะสูง’ มากขึ้น โดยผู้ที่มีทักษะตรงกับความต้องการ ก็จะมีอำนาจต่อรอง มีอิสระที่จะเลือกทำงานตามความคาดหวังของพวกเขา

ตามรายงานของ BCL Legal และบริษัทข้อมูล Vacancysoft ระบุว่า การขาดแรงงานทักษะสูง ส่งผลกระทบในหลายอุตสาหกรรม เช่น ด้านกฎหมาย ที่มีอัตราการประกาศหางานเพิ่มขึ้นถึง 131% เมื่อเทียบกันระหว่างตำแหน่งงานว่างเมื่อเดือนมกราคมและพฤศจิกายนปีก่อน

Photo : Shutterstock

ด้านข้อมูลของ Robert Waters ชี้ว่า เมื่อเร็ว ๆ นี้ ได้เกิดปัญหาการขาดแคลน ‘ทนายความ’ ที่มีคุณสมบัติเหมาะสม ท่ามกลางการลาออกของผู้ที่มีประสบการณ์

ทนายความที่ผ่านเกณฑ์เข้าทำงานใหม่ในบริษัทชื่อดัง สามารถได้ค่าจ้างมากถึง 147,000 ปอนด์ต่อปีหรือราว 6.68 ล้านบาท โดยไม่รวมโบนัส ที่คาดว่าจะเป็นเงินก้อนโต

เทียบกับปี 2018 ที่เงินเดือนเฉลี่ยของทนายความที่ทำงานเต็มเวลาอยู่ที่ 62,000 ปอนด์ต่อปี (เพิ่มขึ้นเป็น 88,000 ปอนด์หากทำงานในกรุงลอนดอน)

ส่วนงานที่ได้รับค่าจ้างต่ำ ก็พบว่ามีอัตราค่าจ้างที่เพิ่มสูงขึ้นเช่นกันเช่น ซูเปอร์มาร์เก็ต Sainsbury’s ที่ประกาศเพิ่มค่าแรงให้กับพนักงานเป็น 10 ปอนด์ หรือราว 450 บาท ต่อชั่วโมง

อีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้เกิดภาวะขาดเเคลนเเรงงานก็คือ การที่ผู้คนหันมา ‘ประเมินอาชีพตัวเองใหม่’ ในช่วงล็อกดาวน์ ทำให้มีการเปลี่ยนงานหรือออกจากตลาดแรงงานไปเลย ซึ่งสถานการณ์นี้ถูกเรียกว่า Great Resignation การลาออกจากงานครั้งใหญ่ ส่งผลให้ค่าจ้างแรงงานเฉลี่ยสูงขึ้น รวมถึงโบนัสที่เพิ่มสูงขึ้นด้วย

James Reed ประธานบริษัทจัดหางาน Reed Recruitment กล่าวว่า สหราชอาณาจักรอยู่ท่ามกลาง “jobs boom” ซึ่งเป็นเวลาที่ดีที่สุดในรอบ 50 ปีในการหางานใหม่

 

ที่มา : BBC

 

 

 

]]>
1370309
เวียดนาม ลุยเเผนเศรษฐกิจ 5 ปี ลบภาพ ‘แรงงานถูก’ เร่งเป็น ‘ศูนย์กลางใหม่’ เทคโนโลยีไฮเทค https://positioningmag.com/1317386 Mon, 01 Feb 2021 07:41:45 +0000 https://positioningmag.com/?p=1317386 รัฐบาลเวียดนาม ประกาศเเผนเศรษฐกิจ 5 ปี ฟื้นฟูประเทศจากพิษ COVID-19 ตั้งเป้าจีดีพีเติบโตสูงสุดถึง 7% เร่งพัฒนาให้เป็นศูนย์กลางใหม่ของการลงทุนเทคโนโลยีไฮเทค

พรรคคอมมิวนิสต์เวียดนาม ร่วมประชุมใหญ่ในรอบ 5 ปี มีมติรับรองพิมพ์เขียวแผนยุทธศาสตร์เศรษฐกิจของประเทศ ในช่วงปี 2021-2025 กำหนดเป้าหมายการเติบโตทางเศรษฐกิจไว้ที่ 6.5-7.0% เพิ่มขึ้นจากเดิมที่เคยตั้งเป้าไว้ที่ 6%

ในแผนยุทธศาสตร์ดังกล่าว เน้นไปที่ข้อตกลงการค้าเสรีที่ดึงดูดบรรดาบริษัทเทคโลโลยีระดับโลกให้มาตั้งโรงงานในเวียดนาม เร่งพัฒนาให้กลายเป็นศูนย์กลางการผลิตของเทคโนโลยีขั้นสูงเพื่อปรับเปลี่ยนภาพลักษณ์ จากการเป็นประเทศที่ได้รับการเลือกลงทุนเพราะที่มีอัตราค่าจ้างแรงงานถูกให้กลายเป็นจุดมุ่งหมายใหม่ของธุรกิจและอุตสาหกรรมด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี

(Photo by Linh Pham/Getty Images)

ช่วงการระบาดของ COVID-19 เวียดนามได้อนุมัติใบอนุญาตให้Foxconn’ บริษัทอิเล็กทรอนิกส์จากไต้หวัน ผู้ผลิตสินค้าให้กับเเบรนด์ ‘Apple’ สร้างโรงงานในจังหวัดทางตอนเหนือ ซึ่งมีมูลค่าการลงทุน ราว 270 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 8 พันล้านบาท) เพื่อผลิตสินค้ายอดนิยมอย่าง iPad และ MacBook โดยจะมีกำลังการผลิตราว 8 ล้านเครื่องต่อปี

Foxconn มีการลงทุนในเวียดนามไปเเล้วกว่า 1,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 4.5 หมื่นล้านบาท) เเละมีมีแผนลงทุนเพิ่มอีก 700 ล้านดอลลาร์ (ราว 2.1 หมื่นล้านบาท) พร้อมสร้างตำแหน่งงานเพิ่มอีก 10,000 ตำแหน่ง

ขณะเดียวกันผู้ผลิตชิปรายใหญ่ของสหรัฐฯ อย่าง ‘Intel’ ก็ประกาศว่าจะเพิ่มการลงทุนในเวียดนามจาก 475 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เป็น 1,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐเช่นกัน

เเม้ปีที่ผ่านมา เศรษฐกิจของเวียดนามจะขยายตัวได้เป็นบวกที่ 2.9% ถือว่าดีกว่าหลายประเทศที่ต้องเจอผลกระทบอย่างสาหัสจากโรคระบาด แต่ก็ถือเป็นปีที่เลวร้ายที่สุดในรอบหลายทศวรรษ ซึ่งเวียดนามจะต้อง
เตรียมรับมือกับอุปสรรคมากมายที่รออยู่ข้างหน้า

โดยหลังวิกฤตเวียดนามจะต้องพึ่งพาตนเองให้มากขึ้น เเละต้องมีการบริหารจัดการให้มีความยั่งยืน รวมถึงคำนึงถึงปัญหาสิ่งเเวดล้อมที่มาพร้อมกับการเติบโตของโรงงานในประเทศ

 

 

ที่มา : Reuters , Japantimes

]]>
1317386
รัฐบาลอังกฤษ ขยายมาตรการอุ้มเอกชน ช่วยจ่ายเงินเดือนพนักงาน 80% ไปอีก 4 เดือน https://positioningmag.com/1278490 Thu, 14 May 2020 05:34:05 +0000 https://positioningmag.com/?p=1278490 รัฐบาลอังกฤษ ประกาศขยายมาตรการช่วยเหลือพนักงานของบริษัทเอกชนต่างๆ ที่ไม่สามารถสามารถปฏิบัติงานได้ในช่วงการเเพร่ระบาดของ COVID-19 ออกไปอีก 4 เดือนจนถึงเดือน ต.ค.นี้

โดยรัฐบาลยังจะคงให้เงินสนับสนุนเงินเดือนพนักงานต่อไปอย่างน้อย 80% ของอัตราเงินเดือนเดิมเเต่ต้องไม่เกิน 2,500 ปอนด์ (ราว 9.8 หมื่นบาท) ต่อเดือน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการเลิกจ้างงานเเละปิดกิจการ ซึ่งตามกำหนดเดิมมาตรการนี้จะสิ้นสุดในเดือน มิ.ย. เเต่เห็นว่าสถานการณ์การเเพร่ระบาดในอังกฤษยังคงน่าเป็นห่วง จึงขยายออกไปอีก 4 เดือน จนถึงเดือน ต.ค.นี้

Rishi Sunak รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของสหราชอาณาจักร เปิดเผยว่า ตอนนี้มีพนักงานกว่า 7.5 ล้านคนที่ได้รับความช่วยเหลือจากโครงการนี้ เพิ่มขึ้นจาก 6.3 ล้านคนในสัปดาห์ก่อน

ขณะเดียวกันมีบริษัทในอังกฤษราว 9.35 เเสนบริษัทเข้าร่วมโครงการนี้ โดยทางบริษัทต้องจ่ายเงินให้ลูกจ้างที่ถูกพักงาน 20% (ส่วนรัฐจ่ายเเทนอีก 80%) ให้ครอบคลุมอัตราค่าจ้างเดิม เพื่อให้ยังคงรักษาตำแหน่งงานต่อได้ โดยคิดเป็นมูลค่ากว่า 10,000 ล้านปอนด์

“มาตรการดังกล่าวจะดำเนินต่อไปทั่วสหราชอาณาจักรจนถึงเดือนต.ค. แต่จะมีความยืดหยุ่นมากขึ้น เพื่อรองรับความเป็นไปได้ที่ผู้คนจะทยอยกลับไปทำงานในช่วงเดือน ส.ค.”

กระทรวงการคลัง คาดว่าเศรษฐกิจของอังกฤษในปีนี้จะร่วงลงถึง 14% จึงต้องมีการขยายมาตรการดังกล่าวเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการในประเทศ โดยได้รับการสนับสนุนจากประชาชน โดยผลสำรวจล่าสุดพบว่าชาวอังกฤษวกว่า 72% เห็นด้วยกับการขยายมาตรการนี้ แม้ว่าจะมีกระเเสข่าวว่ามีบริษัทขนาดใหญ่เข้าร่วมโครงการก็ตาม

ทั้งนี้ คาดว่าการยืดมาตรการช่วยจ่ายเงินเดือนพนักงานออกไปอีก 4 เดือนจะทำให้รัฐบาลมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นราว 10,000 ล้านปอนด์ พร้อมมีมาตรการปล่อยเงินกู้พิเศษให้ธุรกิจอีกราว 14,000 ล้านปอนด์ รวมถึงมาตรการอื่นๆ ที่รัฐบาลช่วยเหลือเศรษฐกิจมาตั้งเเต่เดือน มี.ค. จะเพิ่มเป็นราว 6,000 หมื่นล้านปอนด์

ด้านสถานการณ์การเเพร่ระบาดของ COVID-19 สหราชอาณาจักรยังอยู่ในช่วงรุนเเรงด้วยยอดผู้ป่วยสะสมมากกว่า 2.24 เเสนราย มีผู้เสียชีวิตเเล้วกว่า 3.2 หมื่นราย ซึ่งถือว่าเป็นยอดผู้เสียชีวิตที่สูงสุดในยุโรปเเละเป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากสหรัฐฯ โดยรัฐบาลอังกฤษต้องเผชิญกับการวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับการจัดการการเเพร่ระบาดของ COVID-19 ที่ไม่ได้ประสิทธิภาพเท่าที่ควร

 

ที่มา : BBC , AFP

]]>
1278490
“ลูกจ้างคนรวย” งานที่กำลังโตเร็วที่สุดในอเมริกา…อีกด้านไม่ได้สวยหรูอย่างที่คิด https://positioningmag.com/1256621 Wed, 11 Dec 2019 12:27:17 +0000 https://positioningmag.com/?p=1256621 AP Photo/Julio Cortez

ปัจจุบันคนที่มีฐานะร่ำรวยในอเมริกามีจำนวนเพิ่มขึ้น รายได้ที่สูงขึ้นก็มักตามมาด้วยความต้องการด้านบริการเเละสิ่งอำนวยความสะดวกในชีวิตมากขึ้นด้วย อย่างเช่น การไปนวด เข้าร้านเสริมสวยทำเล็บทำผม หรือมีเงินจ้างคนให้พาสุนัขไปเดินเล่น

งานเหล่านี้มักถูกเรียกว่า “ลูกจ้างคนรวย” (wealth workers) ซึ่งเป็นงานภาคบริการที่กำลังได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ สวนทางกับตำแหน่งงานสำหรับชาวอเมริกันที่เป็นคนชั้นกลางที่ยังคงลดน้อยลงอย่างต่อเนื่อง

เเม้ว่าจะตำเเหน่งงานเหล่านี้จะมีมากขึ้นเเละดึงดูดใจให้ใครหลายคนอยากทำ เเต่ก็มีสิ่งที่น่าเป็นห่วงอีกด้าน นั่นคือเรื่องสวัสดิการที่ไม่ครอบคลุมเเละค่าจ้างต่ำ

Mark Muro เจ้าหน้าที่อาวุโสของสถาบัน Brookings Institute กล่าวว่า คนที่มีรายได้สูงยินดีที่จ่ายเงินซื้อบริการต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการจ้างครูสอนโยคะ จ้างคนจูงสุนัขไปเดินเล่น หรือจ้างคนดูแลตารางการทำงานให้ ขณะเดียวกันคนที่อยากจะมาทำงานบริการเเนวนี้ก็มีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเช่นเดียวกัน

รายงานจากสำนักงานสถิติแรงงานสหรัฐ ระบุว่า อาชีพด้านการให้บริการส่วนบุคคล กำลังเป็นอาชีพที่เติบโตเร็วที่สุดของตลาดงานสำหรับคนงานที่ไม่ได้จบการศึกษาระดับมหาวิทยาลัย และคาดว่างานประเภทนี้จะเติบโตขึ้นอีกราว 17% ในช่วง 10 ปีข้างหน้า ซึ่งจะทำให้มีตำแหน่งงานใหม่มากกว่า 1 ล้านตำแหน่ง

โดยงานที่ให้บริการคนรวยในอเมริกาตอนนี้ ส่วนใหญ่มีเเนวโน้มเป็น ผู้หญิงเเละเป็นชาวละติน หลายคนไม่มีวุฒิการศึกษาระดับมหาวิทยาลัย และอาจทำงานหลายอย่างพร้อมกันเพื่อให้บริการแก่ผู้ที่มีฐานะทางการเงินดีกว่าตัวเอง

ข้อมูลจากสถาบัน Brookings Institute ชี้ว่า อาชีพช่างทำเล็บมือและเล็บเท้า เพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าในช่วงปี 2010 – 2017 โดยอาชีพครูฝึกออกกำลังกาย ครูสอนโยคะ และคนรับจ้างเดินจูงสุนัขไปเดินเล่น เพิ่มขึ้นถึงสามเท่าของอัตราการจ้างงานโดยรวม

“เราไม่ได้กังวลถึงการอยู่ของอาชีพเหล่านี้ เพราะมันเป็นไปตามโครงสร้างการทำงานในอเมริกา เเต่สิ่งที่เรากังวลคือการได้รับค่าตอบเเทนที่ไม่ค่อยดีนัก” Muro กล่าว

ทุกวันนี้มีผู้คนอย่างน้อย 3 ล้านคนในสหรัฐ ที่ต้องพึ่งพางานประเภทนี้เพื่อเลี้ยงชีพ ถึงเเม้ว่าจะ “ไม่ใช่งานที่ดีนักและค่าตอบแทนน้อย” เเละเสี่ยงที่จะถูกนายจ้างเอารัดเอาเปรียบ อีกทั้งยังไม่ค่อยได้รับสวัสดิการทั้งในเรื่องการลาป่วย วันลาพักร้อน หรือเงินบำเหน็จบำนาญ ดังนั้นคนที่ทำงานเหล่านี้จึงจัดอยู่ในกลุ่มที่ถูกใช้งานอย่างไม่ยุติธรรม

อย่างไรก็ตาม งานบริการนี้ได้ให้โอกาสกับผู้อพยพ โดย 1 ใน 3 ของแรงงานในสหรัฐอยู่ในระบบเศรษฐกิจ
แบบ Gig Economy (ทำงานอิสระ) เป็นสัดส่วนถึง 10% ของพนักงานเต็มเวลา ขณะที่อีกส่วนหนึ่งพยายามทำงานเสริม เช่น เป็นคนขับ Uber เพื่อเพิ่มรายได้

โดย Louis Hyman ผู้อำนวยการศูนย์ Workplace Studies ของมหาวิทยาลัยคอร์เนลล์ ให้ความเห็นว่า เป็นเรื่องดีต่อเศรษฐกิจเพราะการที่มีคนจำนวนมากต้องการให้คนทำงานเหล่านั้นก็เป็นอุปสงค์ที่มีพลัง คำถามคือไม่ใช่การจะกำจัด Gig Economy ออกไปยังไง เเต่เราจะอยู่ร่วมกันอย่างมั่นคงอย่างไรมากกว่า เเละนี่ก็ไม่ใช่เรื่องเฉพาะคนที่ทำงานประเภทนี้เท่านั้นเเต่รวมไปถึงคนที่มีค่าแรงต่ำในอเมริกาทั้งหมดด้วย

Hyman เสนอทางช่วยเหลือว่า อาจจะต้องมีการตั้งค่าระบบบัญชีส่วนตัวของพนักงานเหล่านี้ เมื่อทุกครั้งที่มีค่าจ้างจากนายจ้างเข้ามาก็จะเข้าสู่ระบบประกันสุขภาพหรือบัญชีออมทรัพย์ด้วย เป็นต้น

นอกจากนี้ เขายังเป็นห่วงเรื่องสังคมของคนอเมริกัน ที่งานบริการมักแสดงให้เห็นถึงความแตกต่างระหว่างคนรวยกับคนจน จึงขอเรียกร้องให้มีการเคารพในอาชีพเเละการทำงานของผู้คนในส่วนนี้ด้วย

 

ที่มา VOA : US Fastest Growing Jobs: Caring for the Wealthy
ภาพ : AP Photo/Julio Cortez

]]>
1256621