ดิจิทัลทีวี – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Tue, 01 Dec 2020 14:28:43 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 สรุปชัดๆ บริษัทแม่ “ONE31” ซื้อบริษัทผลิตคอนเทนต์เท่านั้น ช่อง GMM25 ยังอยู่กับแกรมมี่ https://positioningmag.com/1308456 Tue, 01 Dec 2020 11:57:24 +0000 https://positioningmag.com/?p=1308456 โยกพอร์ตชุลมุนภายใต้ร่มเงาแกรมมี่ ร้อนถึง “บอย-ถกลเกียรติ” แห่ง ONE31 ต้องแจกแจงชัดถึงการเข้าซื้อและการบริหาร ย้ำว่าเป็นการซื้อเฉพาะกลุ่มบริษัทผลิตคอนเทนต์ ส่วนช่อง GMM25 ยังคงอยู่กับแกรมมี่ และไม่ได้ปิดตัวลงแต่อย่างใด หลังจากนี้ จะทำให้ช่อง ONE31 และ GMM25 มีทิศทางกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจนแยกจากกัน ทำการตลาดได้แข็งแกร่งขึ้น

“ถกลเกียรติ วีรวรรณ” ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่ม “เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์” ร่วมด้วยผู้บริหารทุกบริษัทที่เกี่ยวข้อง เปิดโต๊ะแถลงแจกแจงการเข้าซื้อกิจการ โดยเราขอสรุปอย่างย่อๆ ถึงผลจากการปิดดีลครั้งนี้ ดังนี้

  1. เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ เข้าซื้อหุ้นใน บจก.จีเอ็มเอ็ม แชนแนล โฮลดิ้ง (GMMCH) ซึ่งเป็นเครือ 4 บริษัทกลุ่ม “ผลิตคอนเทนต์” ได้แก่ จีเอ็มเอ็ม ทีวี, จีเอ็มเอ็ม มีเดีย, เช้นจ์ 2561 และ จีเอ็มเอ็ม สตูดิโอส์ อินเตอร์เนชั่นแนล โดยใช้เม็ดเงินลงทุน 2,200 ล้านบาท
  2. บริษัท จีเอ็มเอ็ม แชนแนล จำกัด ผู้ถือใบอนุญาตช่องทีวีดิจิทัล “GMM 25” ยังคงอยู่ภายใต้จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ทำให้แกรมมี่ยังเป็นเจ้าของช่องต่อไป และช่องไม่ได้ปิดตัวลง
  3. ดีลนี้ทำให้กลุ่มสิริดำรงธรรมของตระกูลสิริวัฒนภักดี ผู้ถือหุ้นเดิมของ GMMCH ขายหุ้นออกจาก GMMCH ทั้งหมด
  4. การโยกผู้ผลิตคอนเทนต์ของจีเอ็มเอ็มไปรวมกับเดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ ทำให้แบ่งกลุ่มเป้าหมายได้ชัดเจนขึ้น โดยช่อง ONE31 จะเจาะกลุ่มตลาดแมส ละครรสแซ่บ ขณะที่ GMM25 จะเจาะกลุ่มวัยรุ่น เพลง ไลฟ์สไตล์ ดังนั้น คอนเทนต์บางส่วนจะจัดสรรใหม่ให้ตรงกลุ่มเป้าหมาย เช่น Club Friday The Series จะย้ายช่องไปอยู่กับ ONE31
  5. ทีมงานเดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์จะช่วยเรื่องการทำการตลาดให้ช่อง GMM25 เมื่อสองช่องนี้มีกลุ่มเป้าหมายต่างกัน จะตอบโจทย์สปอนเซอร์สินค้าที่ต้องการลงโฆษณาได้หลากหลายกว่า เพราะมีทางเลือกให้สินค้าครบทุกกลุ่มที่ต้องการ

กลุ่มผู้ผลิตคอนเทนต์ภายใต้ GMMCH นั้นครอบคลุมทุกเนื้อหาที่เรารู้จัก ไม่ว่าจะเป็น จีเอ็มเอ็ม ทีวี เป็นผู้ผลิตซีรีส์วัยรุ่น โดยเฉพาะซีรีส์วายที่โดดเด่นมาก เช่น “เพราะเราคู่กัน” จีเอ็มเอ็ม มีเดีย ซึ่งมีบริษัทลูกคือเอไทม์ มีเดีย เป็นผู้ผลิตรายการโทรทัศน์และรายการวิทยุ ที่เด่นๆ เช่น “แฉ” “พุธทอล์กพุธโทร” เช้นจ์ 2561 ผู้ผลิตละครดังอย่าง “Club Friday The Series” และทำธุรกิจโชว์บิซ จนถึง จีเอ็มเอ็ม สตูดิโอส์ ซึ่งผลิตซีรีส์เพื่อลงแพลตฟอร์มระดับสากล เช่น “Sleepless Society” ที่ลงฉายกับ Netflix

 

ดีลเพื่อสร้างความแกร่ง แยกเป้าหมายให้ชัด

ถกลเกียรติกล่าวถึงเบื้องหลังดีลว่า มีการพูดคุยกันมาหลายเดือนเพื่อหาจุดลงตัวในการควบรวม ทำให้เกิด synergy และสร้างความชัดเจนของกลุ่มเป้าหมายแต่ละช่อง

โดยสรุปหลังจากนี้ ช่อง ONE31 จะยังคงแนวทางกลุ่มเป้าหมายเดิมที่ชัดอยู่แล้ว คือการเจาะตลาด ‘Modern Mass’ เป็นตลาดแมสแบบทั่วประเทศ แฝงความเป็นคนเมืองเล็กน้อย โดดเด่นเรื่องละครรสแซ่บ เข้มข้น ในขณะที่ช่อง GMM25 จะเห็นชัดขึ้นว่าเป็นกลุ่ม ‘Trendy’ และ ‘Always Young’ เจาะตลาดวัยรุ่น ดนตรี ไลฟ์สไตล์

“GMM25 จะเป็นกลุ่ม Trendy ในช่วงไพรม์ไทม์ก็ยังคงเป็นซีรีส์จากจีเอ็มเอ็ม ทีวี ต่อด้วยรายการแฉของมดดำ-คชาภาเหมือนเดิม เพราะเป็นพระเอกของช่อง แต่ในช่วงกลางวัน เรากำลังมองว่าจะมีรายการสดมากขึ้น โดยจะเป็นรายการสดเกี่ยวกับดนตรี ไลฟ์สไตล์ Soft News เพราะยังไม่ค่อยมีใครทำ และช่องนี้ก็ชื่อ GMM อยู่แล้ว ควรจะนำจุดแข็งมาใช้ให้เป็นประโยชน์” ถกลเกียรติกล่าว

ซีรีส์วัยรุ่นจะยังเป็นจุดแข็งในช่วงไพรม์ไทม์ของช่อง GMM25

ซีอีโอเดอะ วันฯ ยังย้ำด้วยว่า ผลของดีลจะทำให้ทั้งสองช่องแข็งแกร่งขึ้น “อย่าลืมว่า ONE31 กับ GMM25 เป็นพี่น้องกันอยู่แล้วตั้งแต่ต้น”

แกรมมี่ยังคงถือหุ้น 33% ในเดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ (เป็นผู้ถือหุ้นอันดับ 2 รองจากบริษัท ประนันท์ภรณ์ จำกัด ของกลุ่มปราสาททองโอสถที่ถืออยู่ 50% ส่วนบริษัท ซีเนริโอ จำกัดและบอย-ถกลเกียรติถือหุ้นรวม 17%) ทำให้การโยกพอร์ตบริษัทกลุ่มคอนเทนต์ครั้งนี้เหมือนเป็นการจัดสรรให้บอย-ถกลเกียรติบริหาร และแกรมมี่ยังมีส่วนในการเป็นเจ้าของกลุ่มบริษัทคอนเทนต์เหล่านี้อยู่ รวมถึงยังเป็นเจ้าของช่องดังที่ย้ำไปข้างต้น

 

จัดระเบียบใหม่ Club Friday เตรียมย้ายช่อง

หลังจากวางวิสัยทัศน์ใหม่ ทำให้คอนเทนต์บางส่วนจะย้ายช่องเพื่อให้ตรงกับแนวทางของช่อง ที่คอนเฟิร์มแล้วคือ “สายทิพย์ มนตรีกุล ณ อยุธยา” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เช้นจ์ 2561 จำกัด เปิดเผยว่า Club Friday The Series Season 12 จำนวน 4 เรื่อง จะเริ่มออนแอร์ในช่อง ONE31 แทนช่องเดิมที่ GMM25 ตั้งแต่เดือนมกราคม 2564 เป็นต้นไป และรายการ Club Friday Show ก็จะย้ายออกไปอยู่ที่ช่องอมรินทร์ทีวี 34 ด้วย

Club Friday The Series ของเช้นจ์ 2561 ตอนใหม่ปี 2564 เตรียมย้ายไปช่อง ONE31

“เราทำละครลงช่อง ONE31 แต่ก็ยังผลิตให้ช่องอื่นหรือแพลตฟอร์ม OTT อื่นได้เหมือนเดิม และยังทำงานโชว์บิซเหมือนเดิม” สายทิพย์กล่าว

เธอระบุว่ายินดีที่ได้นำละครย้ายไปช่อง ONE31 เพราะตรงกับกลุ่มเป้าหมายกว่า ส่วนจะกลับมาทำคอนเทนต์ลง GMM25 หรือไม่ สายทิพย์มองว่าตามแนวทางใหม่ของ GMM25 ที่จะเน้นวัยรุ่น อาจจะไม่ใช่ทางถนัดของ เช้นจ์ 2561 เท่าใดนัก

 

ทำตลาดร่วม ตอบสปอนเซอร์ได้ทุกกลุ่ม

ด้าน “ระฟ้า ดำรงชัยธรรม” ประธานเจ้าหน้าที่การตลาด บริษัท เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด เปิดเผยว่า การรวมกันจะทำให้ระบบนิเวศของการผลิตคอนเทนต์มีประสิทธิภาพกว่าเดิม รวมถึงตอบโจทย์ลูกค้าสปอนเซอร์ได้ทุกเซ็กเมนต์ที่เข้ามา หลังจากนี้เดอะ วันฯ จะเสนอทางเลือกได้ทุกกลุ่ม ทั้งประเทศ และเลยไปถึงต่างประเทศด้วย เพราะมีจีเอ็มเอ็ม สตูดิโอส์เป็นผู้ผลิต

ผู้บริหารของเดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ และ GMMCH : (จากซ้าย) ระฟ้า ดำรงชัยธรรม ประธานเจ้าหน้าที่การตลาด บริษัท เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด, สมโรจน์ วสุพงศ์โสธร กรรมการผู้จัดการ บริษัท จีเอ็มเอ็ม มีเดีย จำกัด (มหาชน), เอกชัย เอื้อครองธรรม รองกรรมการผู้อำนวยการ-ฝ่ายผลิตรายการ บริษัท จีเอ็มเอ็ม สตูดิโอส์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด, สถาพร พานิชรักษาพงศ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท จีเอ็มเอ็ม ทีวี จำกัด, สายทิพย์ มนตรีกุล ณ อยุธยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เช้นจ์ 2561 จำกัด และ ถกลเกียรติ วีรวรรณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่ม เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์

ถกลเกียรติเสริมว่า มุมมองการบริหารวันนี้ไม่ได้มองแต่อันดับเรตติ้งของทีวีดิจิทัลอย่างเดียวแล้ว แต่จุดสำคัญคือ “คอนเทนต์” ยกตัวอย่าง ไบรท์-วิน ดาราคู่ขวัญจากเรื่องเพราะเราคู่กัน เรตติ้งในทีวีของซีรีส์เรื่องนี้ไม่ได้สูงมาก แต่ไบรท์-วินกลับดังมาก มีคนรู้จักทุกมุมเมือง เพราะคอนเทนต์แบบนี้เป็นคอนเทนต์ที่ลงได้ทั้งแพลตฟอร์มทีวีและออนไลน์ ซึ่งเป็นรูปแบบที่ดีที่สุดสำหรับการเรียกสปอนเซอร์

“สิ่งที่สำคัญมากคือตัวคอนเทนต์ เพราะวันนี้มีช่องทางให้ออกมากมายไปหมด ไม่ใช่แค่ในทีวี แต่อยู่ที่ว่าจะบริหารให้คอนเทนต์ออกตรงไหนถึงจะมีประสิทธิภาพมากที่สุด” ถกลเกียรติกล่าว

]]>
1308456
ฉากต่อไป “ทีวี ธันเดอร์” ยุคเจน 2 ต้องเด็กลง! ขอปรับภาพเกมโชว์ จับตลาด “ซีรีส์วาย” https://positioningmag.com/1297387 Thu, 17 Sep 2020 14:26:40 +0000 https://positioningmag.com/?p=1297387 อานิสงส์คนอยู่บ้านเเละต้อง Work from Home ในช่วงวิกฤต COVID-19 ทำให้ตลาดคอนเทนต์เติบโตขึ้นอย่างน่าจับตามอง

เมื่อผู้คนอยู่หน้าจอกันมากขึ้น เสพสื่อหลากหลาย ผ่านทั้งช่องทีวีดั้งเดิม แพลตฟอร์ม OTT ต่างชาติ เเละโซเชียลมีเดีย การเเข่งขันของรายการทีวี วาไรตี้ เเละตลาดใหญ่อย่างซีรีส์ดุเดือดมากขึ้น ผลักดันให้เหล่าผู้ผลิตต้องคิดหาของใหม่เร่งทำผลงานให้เข้าตาเเละเข้าใจผู้ชมยุค New Normal

ที่ผ่านมา เราคงคุ้นเคยกับชื่อของทีวี ธันเดอร์ ผู้ผลิตคอนเทนต์ที่คร่ำหวอดมายาวนานในวงการบันเทิงไทยเกือบ 3 ทศวรรษ มีรายการในตำนานอย่างมาสเตอร์คีย์ผ่านร้อนผ่านหนาวมามากทั้งปัญหาเล็กใหญ่ ครั้งนี้ถึงกับยอมรับว่าการมาของ COVID-19 เป็นวิกฤตที่หนักหนาที่สุด

ท่ามกลางความท้าทายนี้ทีวี ธันเดอร์มองทิศทางต่อไปที่จะปรับภาพลักษณ์จากผู้ผลิตรายการเกมโชว์ วาไรตี้ ละคร ส่งลงตามช่องทีวี หันไปเน้นผลิตซีรีส์ ป้อนให้ OTT มากขึ้น โดยเฉพาะตลาด “ซีรีส์วาย” ที่กำลังเนื้อหอมพร้อมๆ กับการปั้นนักเเสดง ให้มีเเฟนคลับต่างชาติที่มีกำลังซื้อหนา อย่างจีน รัสเซีย ฟิลิปปินส์เเละมาเลเซีย

จับกระเเสใหม่ ปั้น “ซีรีส์วาย” บุกเเพลตฟอร์ม OTT

ณฐกฤต วรรณภิญโญ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ทีวี ธันเดอร์ จำกัด (มหาชน) ทายาทรุ่นสองที่เข้ามาสืบทอดธุรกิจ เล่าให้ Positioning ฟังว่า ในไตรมาส 4 ของปีนี้ทีวี ธันเดอร์รับรู้รายได้ Black log 150 ล้านบาท จากการผลิตคอนเทนต์ป้อนแพลตฟอร์มต่างๆ ในจำนวนนี้ส่วนใหญ่เป็นการ “ผลิตซีรีส์”

เดิมทีภาพลักษณ์ของทีวี ธันเดอร์ จะถูกมองว่าเป็นผู้ผลิตคอนเทนต์ประเภทรายการโทรทัศน์ป้อนทีวีสถานีต่างๆ อย่าง ช่อง 3 , ช่อง 8 , PPTV , ไทยรัฐทีวีเเละ True4U เเต่เมื่อมีกระเเสความนิยมการดูวาไรตี้เเละซีรีส์ผ่านเเพลตฟอร์ม OTT ที่เพิ่มขึ้น จึงเป็น “โอกาสทอง” ที่จะขยายไปเป็นผู้เล่นสำคัญในตลาดนี้

โดยบริษัทเริ่มความสำคัญต่อช่องทาง OTT ตั้งแต่ 3 ปีก่อน เริ่มจาก AIS play และ LINE TV ปัจจุบันได้ขยายไปในหลายแพลตฟอร์มอย่าง WeTV, NetFlix, POPS และ Viu ยิ่งในช่วงการเเพร่ระบาดของ COVID-19 ที่เร่งให้ OTT ในไทยเติบโตได้เร็วขึ้น “ผลงานของคนไทย” จึงเป็นที่ต้องการของตลาดนี้มากขึ้น

“ทีวีธันเดอร์เป็นเบอร์แรกๆ ที่กลุ่ม OTT ต่างชาติเข้ามาเจรจาพูดคุยให้ผลิตคอนเทนต์ให้ โดยเฉพาะประเภทซีรีส์” ณฐกฤต กล่าว

ณฐกฤต วรรณภิญโญ เเละ ภัทรภร วรรณภิญโญ สองผู้บริหารทีวี ธันเดอร์

ทีวี ธันเดอร์ จึงปรับรับด้วยการตั้งทีมงานใหม่ที่โฟกัสกลุ่มซีรีส์อย่างจริงจัง โดยเฉพาะเทรนด์ซีรีส์วายที่กำลังเติบโตดังนั้นในปีนี้ไปจนถึงปีหน้า บริษัทจะเน้นผลิตคอนเทนต์ซีรีส์ให้เเพลตฟอร์ม OTT เป็นหลัก เช่น Manner of Death พฤติการณ์ที่ตาย ซึ่งเป็นซีรีส์สายวายที่จะทำป้อนให้กับทาง WeTV

“เรามองว่ากลุ่มผู้ชมซีรีส์สายวายมีการเติบโตขึ้น ไม่จำกัดเเค่กลุ่มผู้หญิง เเต่มีกลุ่มผู้ชายเเละหลากหลายช่วงวัย ด้วยความที่ตลาดนี้เริ่มมีผู้เล่นเข้ามาเยอะ ผู้ผลิตหลายเจ้าหันมาจับกระเเสนี้ เราจึงพยายามจะทำคอนเทนต์ให้เเตกต่าง อาจจะทำเป็นซีรีส์วายที่ไม่เน้นความโรเเมนติกจ๋ามาก เเต่หันไปเน้นพล็อตเรื่องที่ซับซ้อน เป็นเรื่องราวการสืบสวน สอบสวน” 

ก่อนหน้านี้ ทีวี ธันเดอร์ เคยประสบความสำเร็จจากซีรีส์วายที่ฉายบน LINE TV อย่าง “Together With Me อกหักมารักกับผม” เกิดกระเเสคู่จิ้น “แม็กซ์-ตุลย์” หรือ แม็กซ์-ณัฐพล ดิลกนวฤทธิ์ เเละตุลย์-ภากร ธนศรีวนิชชัย สองนักเเสดงนำที่ตอนนี้มีเเฟนคลับกว่า 30 ประเทศทั่วโลก โดยเฉพาะในจีน รัสเซีย ฟิลิปปินส์เเละมาเลเซีย ซึ่งจะเป็นเเนวทางให้ บริษัทบุกเเผน “ปั้นนักเเสดงหน้าใหม่” ออกมาอีกในช่วงต่อไป

“แม็กซ์-ตุลย์” จากซีรีส์ Together With Me อกหักมารักกับผม

“ภาพรวมของการลงทุนการผลิตคอนเทนต์จากนี้ไปจนถึงปีหน้า อาจจะต้องใช้มากขึ้นราว 20% ถือว่าเป็นปีที่กลับมาลงทุนสูงอีกครั้ง จากปกติที่มีการลงทุนราว 300 ล้านบาทต่อปี” 

ทั้งนี้ ปัจจุบันทีวี ธันเดอร์ ทำคอนเทนต์ป้อนเเพลตฟอร์ม OTT ในสัดส่วน 50% เท่าๆ กับช่องทางทีวี ซึ่งเเผนต่อไปจะขยายทำส่ง OTT มากขึ้น ตามความนิยมของตลาดคนดู

โดยล่าสุด บริษัทมีการผลิตคอนเทนต์ทั้งหมด 5 รายการ ซีรีส์เเละละคร 7 เรื่อง ยกตัวอย่าง เช่น มาสเตอร์คีย์ , Take Me Out Thailand , ใครเบอร์หนึ่ง Who is No. 1 , Show Me The Money thailand ซีซั่น 2 , ละคร หลวงตามหาชน , ละคร คุณแจ๋วกะเพราไก่คุณชายไข่ดาว , ซีรีส์ เสน่หาสตอรี่ , ซีรีส์ Manner of Death พฤติการณ์ที่ตาย , Take Me Out Reality , ราคาพารวย the Price is Right Thailand เเละ Take Guy Out Thailand

ตลาดทีวีไทย วาไรตี้…ยังขายได้ 

เเม้ทิศทางของทีวี ธันเดอร์ จะมุ่งไปเน้นการทำซีรีส์ป้อน OTT เเต่ก็ยังย้ำว่า “จะไม่ทิ้งทีวี” เพราะมีฐานผู้ชมเหนียวเเน่นมายาวนาน รายการวาไรตี้เเละรายการบันเทิงในตลาดทีวีไทยก็ยังได้รับความนิยมต่อเนื่องเเละเพิ่มขึ้น โดยในปีหน้ากำลังเจรจากับทางช่องต่างๆ อยู่ คาดว่าจะมีออกมาอย่างน้อย 2 รายการ

โดยคอนเทนต์ฮีโร่ของทีวี ธันเดอร์ ได้เเก่ Take Me Out Thailand , Show Me The Money thailand เเละ ซีรีส์ที่เพิ่งเปิดตัวไปอย่าง Manner of Death พฤติการณ์ที่ตาย

ณฐกฤต เล่าเกร็ดเล็กๆ ให้ฟังว่า ปกติเเลัวอายุของรายการทีวีที่มีกระเเสดีมากๆ จะอยู่ราว 3-4 ปี เพื่อไม่ให้คอนเทนต์ซ้ำเเละคนดูยังไม่เบื่อเกินไป เเต่ Take Me Out Thailand อยู่มาเเล้ว 7 ปีก็ถือว่ามาไกลกว่าที่คิดไว้มาก “อนาคตของ Take Me Out Thailand ก็คงไม่ได้เปลี่ยนอะไรมาก เเต่เราจะไปเน้นที่การรักษาคุณภาพ รักษาระดับที่เคยทำไว้ให้ดีเท่าเดิมมากกว่า” 

Photo : facebook /takemeoutthailand

เเม้ตลาดคอนเทนต์จะเติบโตขึ้น แต่ก็ยังมีความท้าทายอยู่มาก ผู้บริหารทีวี ธันเดอร์มองว่า สิ่งที่ผู้ผลิตคอนเทนต์ต้อง ตามให้ทัน คือ “รสนิยมของผู้ชม” ที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา มีความหลากหลาย ทำให้ต้องทำการบ้านกันเยอะขึ้น อีกทั้งการทำคอนเทนต์ส่งลงช่องทางต่างๆ ก็จะทำการตลาดที่ไม่เหมือนกัน

ยกตัวอย่างเช่น กลุ่มคนดูทีวี ส่วนใหญ่จะอายุ 35 ปีขึ้นไป ชอบดูอะไรที่คุ้นเคย เข้าใจง่าย ไม่ชอบดูอะไรที่ซับซ้อนมาก ส่วนกลุ่มผู้ชมผ่านแพลตฟอร์ม OTT ส่วนใหญ่จะอายุต่ำกว่า 25 ปี ต้องการความเเปลกใหม่ ไม่ซ้ำซาก ไม่ยืดยาว มีความเปิดกว้างกว่า 

“ละครผ่านทีวีจะเน้นเป็นบทประพันธ์นักเขียนรุ่นเก่า เเต่ซีรีส์ผ่าน OTT จะเป็นนักเขียนรุ่นใหม่ที่ทำผลงานโด่งดังในโลกโซเชียล ซึ่งทีวี ธันเดอร์ กำลังมองหาบทซีรีส์ใหม่ที่กำลังได้รับความนิยมในหมู่วัยรุ่น ซึ่งตอนนี้เราก็มีทีมงานคอยเสาะหานักเขียนใหม่ๆ บทใหม่ๆ ตามเเพลตฟอร์มต่างๆ อยู่ตลอด” 

หารายได้จาก “โซเชียล” ฝ่าพิษ COVID-19 

ตามที่กล่าวไว้ข้างต้น ว่าปีนี้ถือเป็นวิกฤตที่หนักที่สุดของวงการนี้ โดยผู้บริหารรุ่นก่อตั้งอย่าง “ภัทรภร วรรณภิญโญ” ซีอีโอของทีวี ธันเดอร์ เปิดเผยว่า ตั้งเเต่เดือนมี.ค.ช่วงนั้นแทบไม่ได้ออกไปถ่ายทำรายการหรือซีรีส์ เนื่องจากมาตรการล็อกดาวน์ต่างๆ ทำให้รายได้รวมในครึ่งปีนี้ติดลบ 20% เป็นปีแรก ขณะที่ตลาดรวมติดลบไป 30%

“คาดว่ารายได้ในปีนี้ไม่ได้โตไปกว่าปีก่อน และคิดว่าจะลดลงราว 10%” 

สัดส่วนรายได้ของบริษัท หลักๆ มาจากการรับจ้างผลิตคอนเทนต์ 60% โฆษณา 35% เเละอื่นๆ 5% โดยในส่วนอื่นๆ นี้ เเบ่งเป็นการจัดอีเวนต์ การทำคอนเทนต์มาร์เก็ตติ้งให้เเบรนด์ต่างๆ รวมถึงรายได้ที่เกิดจากช่องทางโซเชียลมีเดียของทั้งบริษัท

โดยทีวี ธันเดอร์ มีช่องทางออนไลน์ของตัวเองที่สามารถนำมาต่อยอดทำรายได้ เพื่อพยุงรายได้ในช่วงที่ผ่านมา ทั้งการพีอาร์นักเเสดง การรับเเอดโฆษณา รายได้ค่าวิดีโอจากเเพลตฟอร์ม อย่าง Youtube เเละ Facebook ซึ่งปัจจุบันช่องทาง Youtube มีตัวเลขผู้ติดตามอยู่ที่ 5.79 ล้านคน ทาง Facebook ของเพจ TV Thunder มีผู้ติดตาม 2.2 ล้านคน Twitter 4,600 คน ยอดผู้ติดตามใน Instagram 92,000 คน และเพจรายการ Take Me Out Thailand มีผู้ติดตามมากที่สุดในเครือที่ 7.8 ล้านคน

“เรามีการหารายได้อื่นๆ พยายามจะเป็น One Stop Service ทั้งผลิตคอนเทนต์ให้ โปรโมตทำมาร์เก็ตติ้งให้ได้ จัดอีเวนต์ได้ มีฐานโซเชียลที่เเข็งเเกร่ง” 

ภัทรภร ทิ้งทายว่า สิ่งที่ทำให้ทีวี ธันเดอร์ ยังอยู่ได้มาเกือบ 3 ทศวรรษ ผ่านมรสุมมามากมายทั้งวิกฤตต้มยำกุ้ง การปฎิวัติ น้ำท่วมใหญ่เเละตอนนี้คือ COVID-19 นั้นก็คือ “การปรับตัวอยู่เสมอ” การที่ตลาดคอนเทนต์โตในช่วงนี้ ก็ถือเป็นโอกาสที่ดี เเละเชื่อว่าธุรกิจจะผ่านวิกฤตไปได้

]]> 1297387