เทคนิคการตรวจ COVID-19 ที่ได้รับการปรับปรุงใหม่นี้ ซึ่งอ้างอิงแนวปฏิบัติในปัจจุบันที่เป็นการรวบรวมตัวอย่างสารคัดหลั่ง 5 หรือ 10 รายการ และทำการทดสอบพร้อมกันในครั้งเดียว มีเป้าหมายเพิ่มประสิทธิภาพการตรวจหาเชื้อไวรัสฯ อย่างรวดเร็ว โดยจะมีการปรับใช้วิธีใหม่นี้ทั่วประเทศ พร้อมการรับรองผลลัพธ์ที่มีคุณภาพ
คณะทำงานเฉพาะกิจฯ เผยแพร่แนวทางว่าด้วยเทคนิคที่ได้รับการปรับปรุงใหม่ ซึ่งแจกแจงข้อกำหนดสำหรับการรวบรวม การจัดเก็บ การประมวลผลในห้องปฏิบัติการ และการกำจัดตัวอย่างหลังทำการทดสอบแล้ว
การตรวจ COVID-19 ขนานใหญ่เป็นแนวทางปฏิบัติทั่วไปในการยับยั้งการกลับมาระบาดของ COVID-19 ภายในประเทศของจีน โดยเทศบาลนครเทียนจิน ซึ่งมีประชากร 13.9 ล้านคนและอยู่ใกล้กับกรุงปักกิ่ง ดำเนินการตรวจหาเชื้อขนานใหญ่ทั่วเมือง 3 รอบใน 1 สัปดาห์ นับตั้งแต่ตรวจพบผู้ติดเชื้อไวรัสฯ ชนิดกลายพันธุ์ สายพันธุ์โอมิครอน ครั้งแรกเมื่อวันที่ 8 ม.ค.
รายงานระบุว่าเทียนจินมียอดผู้ติดเชื้อไวรัสฯ ลดลง โดยพบผู้ป่วยจากการติดเชื้อในท้องถิ่นเพิ่ม 14 ราย ในวันอังคารที่ 18 ม.ค. ที่ผ่านมา
]]>ข้อมูลแถลงข่าวของ Nalagenetics ระบุว่า ชุดตรวจ “Quickspit” ของบริษัทมีความแม่นยำ “สูงสุด 97%” โดยได้รับการทดสองรับรองจากพันธมิตรโรงพยาบาลและแล็บหลายแห่งแล้วว่ามีประสิทธิภาพ รวมถึงมีผลศึกษาที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการเรียบร้อยแล้ว
เนื่องจากการทำ Swab Test มักจะเป็นประสบการณ์ที่ไม่สบายตัว และถึงขั้นเจ็บปวดร่างกายได้สำหรับบางคน ทำให้การมีชุดตรวจได้จากน้ำลายถือเป็นช่องทางที่สะดวกกว่า โดยเฉพาะกับผู้สูงอายุและเด็ก Quickspit ยังวางเป้าจำหน่ายในราคาเข้าถึงได้ และเป็นชุดตรวจที่ทำการตรวจเองได้ง่ายๆ
“เราใช้เวลาพัฒนากว่า 6 เดือน และมีการทดลองไปมากกว่า 300 ตัวอย่าง” Levana Sani ซีอีโอ Nalagenetics กล่าวกลับสำนักข่าว KrAsia “เรากำลังอยู่ในขั้นตั้งราคาจำหน่าย แต่พันธมิตรโรงพยาบาลและแล็บนำไปจำหน่ายแล้วในราคา 5 แสนรูปีอินโดฯ (ประมาณ 1,120 บาท) ซึ่งถูกกว่าชุดตรวจ PCR ที่ใช้อยู่ขณะนี้” ทั้งนี้ ชุดตรวจ PCR ที่ขายในอินโดฯ ปัจจุบันมีราคาตลาดที่ 7 แสนรูปี (ประมาณ 1,570 บาท)
ขณะที่สตาร์ทอัพอีกรายหนึ่งคือ Nusantics เลือกจับมือกับบริษัท Bio Farma ซึ่งเป็นบริษัทยาของรัฐ เปิดตัวชุดตรวจ “Bio Saliva” ลักษณะชุดตรวจจะให้ผู้ตรวจกลั้วคอด้วยน้ำยาตรวจ สามารถตรวจ COVID-19 ได้ 10 สายพันธุ์ ซึ่งรวมถึงสายพันธุ์เดลตาและแคปปาซึ่งมีอัตราแพร่ระบาดสูง
Bio Saliva ถูกระบุจากบริษัทว่ามีความแม่นยำ “สูงสุด 95%” ขั้นตอนการทดลองมีการทดสอบมาแล้ว 400 ตัวอย่างในกลุ่มผู้ป่วย COVID-19 และมีการวิจัยเพื่อให้การรับรองมานาน 7 เดือน
ทั้งบริษัท “Nalagenetics” และ “Nusantics” ต่างหวังว่าชุดตรวจแบบนี้จะทำให้อินโดนีเซียตรวจหาผู้ติดเชื้อได้ไวขึ้น เพราะทั้ง Quickspit และ Bio Saliva ไม่จำเป็นต้องให้บุคลากรการแพทย์ทำการ Swab ให้ และผู้ที่เสี่ยงติดเชื้อไม่จำเป็นต้องไปตรวจที่จุดบริการทางการแพทย์ ผู้ต้องการใช้สามารถสั่งชุดตรวจออนไลน์ไปทำเองได้ที่บ้าน นั่นทำให้พวกเขาไม่ต้องเสี่ยงกับการกระจุกตัว ลดความเสี่ยงของการแพร่ระบาดเพิ่ม
รวมถึงเหมาะกับการตรวจเชิงรุกในโรงงาน โรงเรียน บริษัท ชุมชนต่างๆ สามารถเก็บตัวอย่างกันเองได้ และส่งไปตรวจที่แล็บ ไม่ต้องรอเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์
ทั้งนี้ ประเทศไทยเองมีการคิดค้นและวิจัยเครื่องมือในลักษณะเดียวกันมาแล้วเช่นกัน โดยคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี ม.มหิดล เปิดตัวชุดตรวจ COVID-19 จากน้ำลาย “LAMP TEST” ตั้งแต่เดือนเมษายน 2563 มีความแม่นยำ 97.5% รู้ผลได้ใน 1 ชั่วโมง
]]>ทีมวิจัยในสหราชอาณาจักร ได้ฝึกฝนสุนัขให้จดจำ ‘กลิ่นพิเศษ’ จากผู้ป่วยโควิด-19 ที่จมูกมนุษย์ไม่สามารถตรวจจับได้ อย่างไรก็ตาม ต้องมีการรับรองผลในห้องแล็บอีกครั้งเพื่อความเเน่นอน
สุนัขสามารถดมกลิ่นได้ดีกว่ามนุษย์ถึง 1 แสนเท่า และมาช่วยงานดมกลิ่นหายาเสพติดและระเบิดเป็นเวลานานเเล้ว งานวิจัยในปัจจุบันชี้ให้เห็นว่า สุนัขสายพันธุ์รีทรีฟเวอร์และสแปเนียล สามารถดมและแยกแยะกลิ่นเฉพาะของโรคต่างๆ ได้ เช่น มะเร็ง พาร์กินสัน และมาลาเรีย
โดยสุนัข 6 ตัวได้รับการฝึกฝนให้ดมกลิ่นของผู้ติดเชื้อโควิด-19 จากถุงเท้า หน้ากากอนามัย และเสื้อผ้าต่างๆ หากพวกมันดมกลิ่นเเล้วระบุได้ว่า ของใช้เหล่านั้นเป็นของผู้ติดเชื้อโควิด-19 หรือของผู้ที่ไม่ติดเชื้อ ก็จะได้รับรางวัล
นอกจากนี้ ยังมีการฝึกให้สุนัขแยกเเยะกลิ่นของผู้ติดเชื้อโควิด-19 กับกลิ่นของผู้ที่เป็นไข้หวัดทั่วไป หรือติดเชื้อทางเดินหายใจอื่น ๆ ได้ รวมถึงผู้ติดเชื้อโควิดหลายสายพันธุ์ ทั้งที่ไม่แสดงอาการ หรือมีอาการน้อย
Claire Guest หัวหน้าทีมนักวิทยาศาสตร์ของ Medical Detection Dogs ซึ่งเป็นศูนย์ฝึกสุนัขในโครงการนี้ ระบุว่า “ผลการวิจัยดังกล่าวเป็นหลักฐานเพิ่มเติมว่า สุนัขเป็นหนึ่งในเครื่องตรวจจับทางชีวภาพที่เชื่อถือได้มากที่สุดสำหรับการค้นหากลิ่นโรคในมนุษย์”
โดยสุนัขดมกลิ่นสามารถตรวจจับผู้มีผลตรวจโรคโควิด-19 เป็นบวก ได้ถึง 88% หมายความว่า ในทุก ๆ 100 คนสุนัขดมกลิ่นผิดพลาดเพียง 12 คนเท่านั้น
ส่วนในกรณีผู้ที่ไม่ติดเชื้อโควิด สุนัขดมกลิ่นผิดพลาดไป 16 คน (บอกว่าผู้ไม่ติดเชื้อคือผู้ติดเชื้อ) โดยสมมติ หากเครื่องบินหนึ่งลำ มีผู้โดยสารทั้งหมด 300 คน เเต่มีผู้ติดเชื้อ 1 คน สุนัขดมกลิ่นก็มีแนวโน้มที่จะระบุถึงบุคคลนั้นได้อย่างถูกต้อง เเต่ก็อาจจะระบุผิดว่ามีผู้ติดเชื้อโควิด อีก 48 คน
“ดังนั้นทีมวิจัย จึงไม่แนะนำให้ใช้สุนัขดมกลิ่นเพียงอย่างเดียวในกรณีกลิ่นตรวจพบผู้ติดเชื้อโควิด-19 เป็นบวก”
โดยอาจใช้สุนัขดมกลิ่นมาเป็น ‘ตัวช่วย’ ร่วมในการคัดกรอง ไปพร้อม ๆ กับการใช้วิธีคัดกรองอื่น ๆ ด้วย เช่น ให้สุนัขดมกลิ่นคัดกรองในขั้นแรก จากนั้นก็ใช้การตรวจเเบบ swab ซึ่งกระบวนการเหล่านี้ จะสามารถตรวจพบผู้ติดเชื้อได้ถึง 91%
ประโยชน์ที่แท้จริงจากการนำสุนัขมาใช้ร่วมคัดกรอง คือ ‘ความรวดเร็ว’
นักวิจัยระบุว่า การตรวจเเบบ swab โดยทั่วไปใช้เวลาเร็วที่สุด 15 นาทีจึงจะทราบผล แต่สุนัขใช้เวลาดมเชื้อโรคได้ภายในไม่กี่วินาที ซึ่งสุนัขที่ได้รับการฝึกแล้ว 2 ตัว สามารถดมกลิ่นและคัดกรองคนได้ถึง 300 คนในเวลาเพียงครึ่งชั่วโมง
James Logan ศาสตราจารย์จากวิทยาลัยสุขภาพและเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยลอนดอน ซึ่งทำการวิจัยร่วมกับมหาวิทยาลัยเดอรัม ให้ความเห็นว่า “การทดสอบด้วยการดมกลิ่น เป็นวิธีที่เหมาะสมสำหรับการคัดกรองผู้คนจำนวนมาก”
งานวิจัยนี้ยังอยู่ในขั้นเริ่มต้น เเละยังต้องมีการทดลองเเละตรวจสอบอีกมาก ก่อนที่จะสามารถเผยแพร่ เเละดำเนินการในขั้นตอนต่อไปได้
]]>
จากข้อจำกัดด้านบุคลากรและทรัพยากรของโรงพยาบาลรัฐในญี่ปุ่น ทำให้มีการตรวจหา COVID-19 เเบบ Polymerase Chain Reaction (PCR) ทำได้เพียง 4 หมื่นครั้งต่อวัน ถือว่าน้อยเมื่อเทียบกับจำนวนประชากร เเละต้องตรวจเฉพาะผู้ที่มีอาการบ่งชี้หรือมีโอกาสติดเชื้อสูง
เหล่านี้ทำให้ประชาชนต้องหันไปพึ่งพาคลินิกหรือโรงพยาบาลเอกชน รวมถึงซื้อชุดตรวจ PCR ด้วยตนเอง
ญี่ปุ่นขึ้นชื่อว่าเป็นเมืองเเห่ง ‘ตู้ขายของอัตโนมัติ’ หรือ Vending Machine โดยมีติดตั้งอยู่ทั่วประเทศถึง 4.1 ล้านเครื่อง
‘Lake Town Takenoko’ โรงพยาบาลผู้เชี่ยวชาญด้านหูคอจมูก มองเห็นโอกาสนี้จึงวางขายชุดตรวจ COVID-19 แบบ PCR ตามตู้ขายของอัตโนมัติ ช่วยให้ผู้บริโภคมีทางเลือกมากขึ้น เพื่อหลีกเลี่ยงการเดินทางไปตรวจที่คลินิกที่มีผู้คนหนาแน่นหรือต้องรอการนัดหมาย
It is perhaps the world capital of vending machines and now Japan's many automated vendors have a new product to offer: virus testing kits https://t.co/XRshxTEdpU pic.twitter.com/qrI42XpQgk
— Reuters (@Reuters) March 8, 2021
โดยตู้ขายของอัตโนมัติเเต่ละเครื่องจะมี ชุดตรวจ COVID-19 ประมาณ 60 ชุด วางขายในราคา 4,500 เยน (ราว 1,200 บาท) ภายในชุดตรวจ จะมีอุปกรณ์ ‘เก็บตัวอย่างน้ำลาย’ พร้อมคำเเนะนำเเละวิธีใช้อย่างละเอียด ซึ่งจะใช้เวลาประมาณ 5 นาที
เมื่อผู้ซื้อทำตามขั้นตอนเก็บตัวอย่างเรียบร้อยเเล้ว ให้นำตัวอย่างน้ำลายใส่ไปในบรรจุภัณฑ์ที่เตรียมไว้ พร้อมระบุอีเมลของตัวเอง ส่งชุดตรวจไปให้โรงพยาบาลทางไปรษณีย์ เเละจะรู้ผลทางอีเมลภายใน 24 ชั่วโมง หลังชุดจรวจมาถึงโรงพยาบาลเเล้ว
โดยหลังจากเริ่มวางขาย 7 เครื่องทั่วกรุงโตเกียว ก็ได้รับการตอบรับที่ดีจากประชาชน ในช่วงเเรกมีบางเครื่องถึงต้องนำชุดตรวจมาเติมถึง 2 ครั้งต่อวัน จากนั้นความต้องการของตลาดก็ลดลงเล็กน้อย เนื่องจากสถานการณ์โรคระบาดเริ่มดีขึ้น มีผู้ติดเชื้อลดลง
ล่าสุด ยอดผู้ป่วยใหม่ในกรุงโตเกียวมีจำนวนเฉลี่ยราว 250 รายในช่วง 7 วันที่ผ่านมา ลดลงมากเมื่อเทียบกับช่วงต้นเดือนมกราคม ที่มีมากกว่า 2,000 ราย
นอกจากการวางขายชุดตรวจ COVID-19 แบบ PCR ตามตู้ขายของอัตโนมัติเเล้ว ญี่ปุ่นยังเพิ่มการเข้าถึงการตรวจของประชาชน โดยให้มีการวางขายตามร้านขายยาทั่วไปหรือสั่งซื้อได้ทางออนไลน์
ที่มา : Reuters , Japantimes
]]>ข่าวจาก บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) แจ้งการดำเนินงานภายในบริษัท บริษัทได้เร่งตรวจหาเชื้อโรคระบาด COVID-19 ให้กับพนักงานไทยยูเนี่ยนทุกคนในจังหวัดสมุทรสาคร รวม 27,522 คน
ณ วันที่ 5 มกราคม 2564 พนักงานไทยยูเนี่ยนจำนวน 23,630 คน หรือมากกว่า 85% ได้รับการตรวจหาเชื้อโรคระบาด COVID-19 แล้ว โดยจำนวนพนักงานที่ปฏิบัติงานในจังหวัดสมุทรสาครมีทั้งสิ้น 27,552 คน โดยใช้วิธีการตรวจหาเชื้อด้วยวิธี PCR พบมีพนักงานติดเชื้อ 69 คน หรือคิดเป็น 0.29% บริษัทได้ทำการแยกพนักงานกลุ่มดังกล่าวเพื่อกักตัวและส่งรักษากับทางภาครัฐต่อไป ทั้งนี้การตรวจทั้งหมดจะแล้วเสร็จในช่วงสัปดาห์หน้า
“ผมขอย้ำตรงนี้ว่าพนักงานของเราทุกคนจะได้รับการตรวจหาเชื้อ COVID-19 เพื่อให้มั่นใจว่าพนักงานของเราทุกคนจะได้รับการดูแลอย่างดี โดยไม่จำกัด อายุ เพศ หรือเชื้อชาติ เพื่อให้เรามั่นใจได้ว่าการผลิตของไทยยูเนี่ยนจะดำเนินอย่างต่อเนื่อง” ธีรพงศ์ จันศิริ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) กล่าว
ไทยยูเนี่ยนได้ปฏิบัติตามระเบียบวิธีและแนวทางของกระทรวงสาธารณสุข มีการกักตัวและดูแลพนักงานที่ติดเชื้อ ระบุผู้ใกล้ชิดผู้ที่ติดเชื้อ และมีการทำความสะอาดฆ่าเชื้อ big cleaning บริเวณต่างๆ
ธีรพงศ์ย้ำว่า โรงงานของไทยยูเนี่ยนทุกโรงยังคงเปิดดำเนินการตามปกติ เนื่องจากจำนวนพนักงานที่ได้รับผลกระทบมีอัตราและจำนวนที่น้อยมาก
นอกจากนี้ บริษัทมีการเพิ่มมาตรการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย คัดกรองผู้ที่จะเข้ามาปฏิบัติงานที่โรงงาน งดการประชุมติดต่อซึ่งครอบคลุมทั้งพนักงานบริษัทและผู้ที่มาติดต่อ ยกเว้นธุรกรรมที่จำเป็นเท่านั้น และต้องได้รับอนุญาตจากคณะผู้บริหารของบริษัท รวมถึงสนับสนุนให้พนักงานทำงานจากบ้านหากเป็นไปได้ และให้พนักงานปฏิบัติตามข้อแนะนำด้านสุขภาพอย่างเคร่งครัด
ไทยยูเนี่ยนยังอ้างอิงรายงานจากองค์การอนามัยโลก (WHO) ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งสหรัฐอเมริกาและสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ระบุว่า ไม่มีความเสี่ยงที่เกิดการแพร่เชื้อ COVID-19 ผ่านผลิตภัณฑ์อาหารหรือบรรจุภัณฑ์อาหาร
]]>โดย All Nippon Airways หรือ ANA จะเริ่มใช้งานเเอปพลิเคชัน “CommonPass” บนเที่ยวบินระหว่างสนามบินฮาเนดะของกรุงโตเกียว กับนครนิวยอร์กของสหรัฐฯ ในช่วงต้นเดือนธันวาคมนี้ เพื่อทดสอบประสิทธิภาพการใช้งาน ซึ่งทาง Japan Airlines ก็กำลังพิจารณาใช้โปรแกรมใบรับรองดิจิทัลในลักษณะนี้เช่นกัน
สำหรับเเอปพลิเคชัน “CommonPass” เป็นระบบที่เเสดงผลของผู้ผ่านการตรวจ PCR รวมถึงชื่อสถานที่ตรวจ หมายเลขหนังสือเดินทาง แผนการเดินทาง สถานะสุขภาพปัจจุบันของผู้ใช้ และข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการเดินทางอื่นๆ ผ่านการสแกนทางสมาร์ทโฟน
โดยเป็นการช่วยลดขั้นตอนตรวจคนเข้าเมืองในสถานการณ์ COVID-19 ที่มีความซับซ้อนเเละจะทำให้ทราบอย่างรวดเร็วว่าผู้ใช้เเอปฯ นี้ มีคุณสมบัติตรงตามข้อกำหนดในการเข้าประเทศหรือไม่
สายการบินหลายเเห่งทั่วโลก อยู่ระหว่างการพิจารณาว่าจะใช้ “CommonPass” กับเที่ยวบินโดยสาร เช่น สายการบิน United Airlines และ Cathay Pacific Airways ของฮ่องกง ก็กำลังทำการทดลองใช้เเอปฯ นี้ ซึ่งที่ผ่านมา CommonPass ได้รับการสนับสนุนการพัฒนาจาก World Economic Forum
อย่างไรก็ตาม การใช้ CommonPass อย่างเต็มรูปแบบเเละมีมาตรฐานระดับโลกนั้น ยังมีความท้าทายอยู่มากเพราะต้องได้รับความร่วมมือจากเจ้าหน้าที่กักกันโรค หน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามประเทศต่างๆ ซึ่งต้องรอดูว่าต่อไปจะมีการพัฒนาเชื่อมต่อข้อมูลกันได้ในระดับใด
ที่มา : NHK , Financial Times
]]>ศูนย์ตรวจ COVID-19 ดังกล่าว จะตั้งอยู่ในบริเวณใกล้ท่าอากาศยานนานาชาติฮาเนดะและนาริตะ และท่าอากาศยานนานาชาติคันไซในเมืองโอซาก้า เพื่อรองรับผู้ที่เดินทางมาจากต่างประเทศ โดยคาดว่าจะเปิดทำการได้อย่างเร็วที่สุดภายในฤดูร้อนนี้
ปัจจุบันญี่ปุ่นมีศูนย์กักกันโรคในสนามบิน ที่สามารถตรวจหาเชื้อแบบ Polymerase Chain Reaction (PCR) ได้เฉลี่ยราว 1,000 ตัวอย่างต่อวัน ซึ่งต้องรอผลตรวจประมาณ 1-2 วัน เเต่ศูนย์ตรวจเเห่งใหม่ที่กำลังจะสร้างนี้ จะเพิ่มจำนวนการตรวจ PCR เป็นมากกว่า 4,000 ตัวอย่างต่อวัน โดยหน่วยงานสาธารณสุขญี่ปุ่น หวังว่าจะช่วยร่นเวลาการตรวจเชื้อให้เหลือเพียงไม่กี่ชั่วโมง ด้วยการใช้วิธีการใหม่
ขณะเดียวกัน ตั้งเป้าว่าศูนย์ตรวจเชื้อในเมืองใหญ่เหล่านี้ จะขยายไปตรวจเชื้อให้กับผู้ที่เดินทางไปต่างประเทศได้ ซึ่งรัฐบาลกำลังพิจารณาออกใบรับรองให้แก่ผู้ที่มีผลตรวจเชื้อเป็นลบด้วย
ญี่ปุ่น ออกมาตรการจำกัดการเดินทางที่บังคับใช้มาตั้งแต่เดือนก.พ. เพื่อสกัดการระบาดของ COVID-19 เเละยังคงเดินหน้าควบคุมพรมแดนกับหลายประเทศ โดยเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ญี่ปุ่นได้เพิ่มอีก 18 ประเทศ เช่น แอลจีเรีย คิวบา และอิรัก เข้าไปในรายชื่อประเทศที่ถูกแบนการเดินทาง ทำให้จำนวนรวมเพิ่มเป็น 129 ประเทศ
จากข้อมูลจากรัฐบาลระบุว่า ในเดือนพ.ค.ที่ผ่านมา มีชาวต่างชาติที่เดินทางมาญี่ปุ่นเพียง 1,700 คน น้อยที่สุดเป็นประวัติการณ์ และลดลงจากช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้วถึง 99.9%
อย่างไรก็ตาม รัฐบาลญี่ปุ่น กำลังเจรจากับหลายประเทศเพื่อลดข้อจำกัดในการเดินทางร่วมกัน สำหรับนักธุรกิจที่ปลอดเชื้อ และมีการระบุแผนการเดินทางให้ชัดเจนในระหว่างที่พำนักในญี่ปุ่น โดยคาดว่าประเทศที่ญี่ปุ่นจะคลายล็อกให้นั้น มีไทยและออสเตรเลีย ขณะที่แหล่งข่าวทางการทูต เปิดเผยเมื่อกลางสัปดาห์ที่ผ่านมาว่า รัฐบาลอาจเริ่มเจรจากับไต้หวันและบรูไน ภายในเดือนนี้ด้วย
ทั้งนี้ เมื่อช่วงเมื่อปลายเดือนที่เเล้ว มีการเดินทางจากญี่ปุ่นไปเวียดนามบางส่วน ด้วยเที่ยวบินเช่าเหมาลำ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นนักธุรกิจ
ที่มา : japantimes
]]>
นพ.วิโรจน์ ตระการวิจิตร ผู้อำนวยการฝ่ายการแพทย์ โรงพยาบาลนครธน กล่าวว่า
“โรงพยาบาลนครธน มีศักยภาพในการรองรับการตรวจหาเชื้อ COVID-19 ให้ผู้ที่มีความเสี่ยง โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย และสามารถแจ้งผลตรวจได้รวดเร็ว ภายใน 6 ชั่วโมง สำหรับคนไทยทุกคนที่มีสิทธิ์บัตรทอง ข้าราชการ และประกันสังคม ด้วยวิธี Real-time RT PCR โดยนำสารคัดหลั่งที่อยู่ในคอผ่านโพรงจมูกไปตรวจหาเชื้อโดยตรงในห้องปฏิบัติการของโรงพยาบาลที่เป็น 1 ใน 23 ศูนย์ห้องปฏิบัติการเอกชนในกรุงเทพฯ และปริมณฑลที่ผ่านการทดสอบความชำนาญทางห้องปฏิบัติการ จากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ซึ่งสามารถยืนยันการติดเชื้อได้เร็วโดยวิธีนี้เป็นวิธีที่ได้มาตรฐานแม่นยำ และได้รับการรับรองจากทั่วโลก”
ผู้รับบริการจะต้องเข้าเกณฑ์ตามที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด โดยจะต้องมีอาการไข้สูง 37.5 องศาเซลเซียส หรือมีประวัติไข้ ร่วมกับ มีอาการระบบทางเดินหายใจ อย่างใดอย่างหนึ่งเช่น ไอ เจ็บคอ และเหนื่อยหอบ รวมถึง มีประวัติไปในพื้นที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อเช่น แหล่งชุมชน พื้นที่แออัด ตลาดสด ตลาดนัด ห้างสรรพสินค้า ร้านสะดวกซื้อขนส่งสาธารณะ เป็นต้น
สำหรับประชาชนที่ไม่เข้าเกณฑ์ฯ หรือมีความวิตกกังวล เพราะเคยพบปะ มีกิจกรรมร่วมกับผู้ป่วย COVID-19 หรือ เคยไปในพื้นที่สุ่มเสี่ยง แต่ยังไม่มีอาการ และอยากตรวจว่าตนเองติดเชื้อ COVID-19 หรือไม่ ทางโรงพยาบาลนครธนได้จัดบริการ Drive Thru Test ตรวจคัดกรองในราคาพิเศษ เพื่อยืนยันการติดเชื้อ COVID-19 โดยไม่ต้องลงจากรถ สะดวก ปลอดภัย รู้ผลเร็ว ซึ่งเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดต่ออันตราย
หากมีผู้รับบริการมาตรวจที่โรงพยาบาลนครธนทั้ง 2 กรณี แล้วพบว่ามีการติดเชื้อ COVID-19 เบื้องต้นทางโรงพยาบาลจะดำเนินการรับผู้ที่ติดเชื้อไว้รักษาในโรงพยาบาลโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย และส่งต่อตามสิทธิ์การรักษาต่อไป นอกจากนี้ทางโรงพยาบาลนครธนได้จัดเตรียมพื้นที่เฉพาะสำหรับดูแลรักษาผู้ป่วย COVID-19
โดยแยกเป็นพื้นที่ควบคุมเชื้อออกจากผู้ป่วยทั่วไปพร้อมทีมแพทย์และพยาบาลดูแลโดยเฉพาะ ส่วนการรองรับจำนวนผู้ป่วยกรณีที่เพิ่มขึ้นในอนาคตทางโรงพยาบาลได้จัดเตรียมสถานที่เหมาะสมที่อยู่ใกล้โรงพยาบาล ซึ่งแพทย์และพยาบาลสามารถให้การดูแลได้อย่างใกล้ชิด เพื่อเพิ่มความมั่นใจให้กับผู้ป่วยและญาติ
]]>สายการบินเอมิเรตส์ได้ออกแถลงการณ์ และเผยแพร่คลิปวิดีโอ ระบุว่า ด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโคโรนาไวรัสสายพันธุ์ใหม่ สายการบินเอมิเรสต์เป็นสายการบินแรกที่ดำเนินการตรวจหาเชื้อด้วยวิธีตรวจเร็ว หรือ Rapid Test โดยดำเนินการเป็นครั้งแรกในกลุ่มผู้โดยสารที่เดินทางจากดูไบไปยังประเทศตูนีเซีย
“เอมิเรตส์เป็นสายการบินแรกที่ดำเนินการตรวจ COVID-19 ด้วยวิธีตรวจเร็วให้กับผู้โดยสาร โดยผู้โดยสารบนเที่ยวบินไปยังตูนีเซียวันนี้ถูกตรวจเชื้อก่อนออกเดินทางจากดูไบ โดยสายการบินเอมิเรสต์ดำเนินการตรวจเชื้อร่วมกับหน่วยงานด้านสาธาณสุขของดูไบ (Dubai Health Authority) ณ อาคารผู้โดยสารหมายเลข 3 ของสนามบินนานาชาติดูไบ โดยการตรวจใช้เวลาเพียง 10 นาที”
อย่างไรก็ตาม จากข้อมูลกระทรวงสาธารณสุขของไทยโดย นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ก่อนหน้านี้ชี้ให้เห็นว่า ชุดตรวจ Rapid Test คือ “การตรวจหาภูมิคุ้มกัน” เมื่อร่างกายได้รับเชื้อเข้าไป จะสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมาต่อสู้กับเชื้อโรค ซึ่งจะใช้เวลาหลังจากรับเชื้อประมาณ 5 – 7 วัน
ฉะนั้นการตรวจ Rapid Test จะได้ผลเป็นบวก หรือลบ ต้องตรวจหลังรับเชื้อ 5 -10 วันขึ้นไป กว่าจะรู้ผลยืนยันว่าติดเชื้อหรือไม่ต้องใช้เวลากว่า 10 วัน ที่สำคัญหากไปตรวจหลังเสี่ยงรับเชื้อวันที่ 1 หรือ 3 เมื่อได้ผลเป็นลบก็ยังยืนยันไม่ได้ว่าติดเชื้อหรือไม่
ดังนั้นการตรวจด้วยอุปกรณ์นี้ช่วงเวลาการตรวจจึงมีความสำคัญ ส่วนที่เร็วคือขั้นตอนการตรวจใช้เวลาแค่ 5 นาทีเสร็จ แต่ในแง่ของการวินิจฉัยโรคถือว่าช้า จึงกล่าวได้ว่า “เร็วตอนตรวจแต่วินิจฉัยโรคได้ช้า”
ทั้งนี้วิธีการตรวจที่ใช้เป็นมาตรการทางการแพทย์ทั่วโลก รวมถึงในไทยใช้อยู่ที่ได้ผลดีที่สุด และองค์การอนามัยโลกแนะนำ คือ วิธีตรวจหาเชื้อไวรัสโดยตรง โดยวิธีการตรวจที่ไวที่สุดคือ “การตรวจสารพันธุกรรม”
]]>พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้โพสต์เฟซบุ๊กว่า ได้จับมือร่วมมือกับ ทนพ.ภาคภูมิ เดชหัสดิน เจ้าหน้าที่เทคนิคการแพทย์ชื่อดัง เจ้าของเพจ “หมอแล็บแพนด้า” ได้ออกบริการตรวจวินิจฉัยกับผู้ที่มีผลการคัดกรองเบื้องต้นเป็นกลุ่มเสี่ยง เชื้อไวรัส COVID-19
โดยส่งหน่วยเคลื่อนที่ออกไป SWAB ให้ถึงที่บ้าน หรือสถานที่ที่ผู้รับการตรวจสะดวก โดยหากพบว่าติดเชื้อไวรัส กทม.จะส่งเข้าสู่ระบบเพื่อรับการรักษาทันที โดยระบุข้อความว่า
เพื่อเป็นการควบคุมสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส covid-19 และดูแลพี่น้องชาวกรุงเทพฯ กทม.ได้จัดทำเว็บไซต์ BKK covid-19 สำหรับการตรวจคัดกรองเบื้องต้น ซึ่งหลังจากที่ได้เปิดตัวไปแล้วเมื่อวันศุกร์ ได้มีผู้เข้ามาใช้บริการมากถึงกว่า 18,000 คนแล้วครับ
และเพื่อเป็นการต่อยอดการดูแลพี่น้องประชาชนให้ครบสมบูรณ์มากขึ้น กทม. ได้ร่วมมือกับเพจหมอแล็บแพนด้า ให้บริการตรวจวินิจฉัยกับผู้ที่มีผลการคัดกรองเบื้องต้นเป็นกลุ่มเสี่ยง โดยส่งหน่วยเคลื่อนที่ออกไป SWAB ให้ถึงที่บ้าน หรือสถานที่ที่ผู้รับการตรวจสะดวก ซึ่งหากผลการ SWAB ออกมาเป็น positive หรือติดเชื้อ กทม.จะส่งเข้าสู่ระบบเพื่อรับการรักษาทันทีครับ
นอกจากนั้น เรายังจะขยายพื้นที่ในการ SWAB ออกไปให้ครอบคลุมพื้นที่ กทม.มากที่สุด เพื่อตัดวงจรการแพร่เชื้อด้วยการดึงผู้ป่วยออกมาจากชุมชนและส่งเข้าสู่ระบบการรักษา ซึ่งนอกจากจะเป็นการดูแลผู้ที่ติดเชื้อแล้วได้อย่างทันท่วงที ยังเป็นการลดความกังวลให้แก่พี่น้องประชาชนที่ยังไม่ติดเชื้อด้วยครับ
ผมต้องขอขอบคุณเพจหมอแล็บแพนด้า ที่ได้มาร่วมกันทำเพื่อสังคม ซึ่งในยามยากลำบากเช่นนี้ ความรักและความสามัคคีของทุกฝ่ายเท่านั้นที่จะช่วยให้เราผ่านวิกฤตนี้ไปได้
ผมขอให้พี่น้องชาวกรุงเทพฯ ดูแลตัวเองด้วยการงดเว้นการออกจากบ้านโดยไม่จำเป็น ล้างมือบ่อยๆ รักษาระยะห่างทางสังคม สวมหน้ากากอนามัย และหลีกเลี่ยงการใช้สิ่งของส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น โดยขอให้มั่นใจว่าผม เจ้าหน้าที่กรุงเทพมหานคร และทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง จะพยายามอย่างเต็มที่ในทุกวิถีทางเพื่อดูแลพี่น้องประชาชนทุกท่านอย่างดีที่สุด
แล้วเราจะผ่านวิกฤตนี้ไปด้วยกันครับ
]]>