ตลาดหุ้นสหรัฐ – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Fri, 18 Feb 2022 00:10:16 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 “Shein” ย้ายสำนักงานใหญ่ไป “สิงคโปร์” คาดเลี่ยงปัญหา “จีน” ห้ามเข้าตลาดหุ้นสหรัฐฯ https://positioningmag.com/1374457 Thu, 17 Feb 2022 16:53:30 +0000 https://positioningmag.com/?p=1374457 Shein แพลตฟอร์มขายเสื้อผ้าฟาสต์แฟชั่นยักษ์ใหญ่ ปักหลัก “สิงคโปร์” เป็นสำนักงานใหญ่แห่งใหม่ของบริษัท โดยคาดว่าเป็นเพราะบริษัทต้องการเดินหน้าแผนเปิด IPO ในตลาดหุ้นนิวยอร์ก ท่ามกลางความเข้มงวดของ “จีน” ที่กดดันให้บริษัทจีนถอนตัวออกจากตลาดหุ้นต่างชาติในช่วงปีที่ผ่านมา พร้อมมีข่าวว่า “คริส ซู” ผู้ก่อตั้ง อาจเปลี่ยนสัญชาติเป็นสิงคโปร์ด้วยเพื่อเลี่ยงปัญหาเหล่านี้

Reuters รายงานว่า บริษัท Shein ซึ่งก่อตั้งเมื่อปี 2008 ที่เมืองนานจิง และเติบโตจนกลายเป็นมาร์เก็ตเพลสระดับโลกด้านสินค้าแฟชั่น เพิ่งจะปิดบริษัท Nanjing Top Plus Information Technology Co Ltd ซึ่งเป็นบริษัทหลักในจีนไปเมื่อปีก่อน

การจัดการองค์กรของ Shein เป็นไปพร้อมกับแผนของบริษัทที่ต้องการจะเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์ก และมีแหล่งข่าววงในระบุด้วยว่า “คริส ซู” ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งและซีอีโอ อาจจะเปลี่ยนสัญชาติเป็นสิงคโปร์ เพื่อหลีกเลี่ยงกฎระเบียบของจีนที่กดดันการเข้า IPO ในต่างประเทศของบริษัทจีน

สำหรับการถ่ายโอนบริษัท ซูและกรรมการอีก 3 รายมีการจดทะเบียนบริษัท Roadget Business Pte ในสิงคโปร์ไว้ตั้งแต่ปี 2019 และตั้งแต่ปลายปี 2021 บริษัทนี้กลายมาเป็นบริษัทที่มีอำนาจทางกฎหมายในการบริหารเว็บไซต์ Shein ทั่วโลก และเว็บไซต์ทางการเองยังระบุให้ “สิงคโปร์” เป็นสำนักงานใหญ่ของบริษัท

รวมถึงบริษัท Roadget ยังเป็นเจ้าของทั้งบริษัท Guangzhou Shein International Import & Export Co Ltd และเจ้าของเครื่องหมายการค้า Shein

บริษัท Shein ถูกประเมินมูลค่าบริษัทไว้ถึง 50,000 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 1.6 ล้านล้านบาท) เมื่อต้นปี 2021

บริษัทนี้ใช้ฐานผลิตในจีน ขายสินค้าเข้าสหรัฐฯ ยุโรป และเอเชีย แต่ไม่มีการขายในจีนเลย ด้วยกลยุทธ์สินค้าราคาถูกมาก และใช้อินฟลูเอนเซอร์ผลักดัน ทำให้แบรนด์ประสบความสำเร็จมากในกลุ่มผู้บริโภค “เจนซี” ในตลาดตะวันตก

สำหรับการย้ายสัญชาติของซูนั้น ปัจจุบันซูถือครองสิทธิพำนักถาวร (PR) ในสิงคโปร์แล้ว โดยยังไม่มีแหล่งข้อมูลยืนยันว่าซูได้รับ PR ตั้งแต่เมื่อใด และได้จากโครงการนักลงทุนระดับโลก (global investor programme) หรือไม่ แต่การได้ PR ในสิงคโปร์นั้น หากถือครองครบ 2 ปีก็จะสามารถยื่นขอสัญชาติได้

อย่างไรก็ตาม Shein และซูไม่สะดวกที่จะให้คำตอบเรื่องการขอสัญชาติ และให้คำตอบกับ Reuters เพียงว่า “ซูเป็นประชาชนจีนที่มีรากฐานยาวนานในประเทศจีน”

Shein เข้ามาทำตลาดในไทยเช่นกัน (Photo: IG@Shein_Thailand)

ด้านการขยายงานในสิงคโปร์ Shein ตั้งเป้าขยายตัวเป็น 4 เท่าภายในสิ้นปีนี้ โดยจะทำให้มีพนักงานเพิ่มเป็นประมาณ 200 คน ขณะนี้บริษัทเปิดรับสมัครงานทั้งเจ้าหน้าที่รัฐกิจสัมพันธ์, ทรัพยากรบุคคล, การตลาด และไอที

บริษัทนี้ทำรายได้ไปถึง 1 แสนล้านหยวน (ประมาณ 5.07 แสนล้านบาท) เมื่อปี 2021 และปัจจุบันมีพนักงาน 7,000 คนทั่วโลก (ข้อมูลจากเว็บไซต์ทางการ)

สิงคโปร์ ถือเป็นฐานสำคัญของบริษัทจีนที่ต้องการเลี่ยงสงครามการค้าและการเมืองระหว่างจีนกับสหรัฐฯ เนื่องจากสิงคโปร์เป็นฮับทางการเงินอยู่แล้ว และมีรากฐานประชากรจีนอยู่จำนวนมาก ล่าสุดทั้งบริษัท ByteDance และ Tencent Holdings ต่างก็ตั้งสำนักงานประจำภูมิภาคขึ้นที่สิงคโปร์

ด้านแผนการเปิด IPO ที่นิวยอร์กของ Shein หากทำได้สำเร็จ จะถือเป็นบริษัทขนาดใหญ่จากจีนแห่งแรกที่เข้ามาจดทะเบียนในตลาดสหรัฐฯ นับตั้งแต่จีนเริ่มกดดันการจดทะเบียนนอกประเทศมาตั้งแต่เดือนกรกฎาคมปี 2021

ส่วนสาเหตุที่บริษัทจีนต้องการจะเข้าตลาดหุ้นสหรัฐฯ โดยเฉพาะบริษัทที่มีฐานตลาดหลักในต่างประเทศอยู่แล้ว ก็เป็นเพราะว่าตลาดหุ้นสหรัฐฯ มีนักลงทุนขาใหญ่อยู่จำนวนมากที่พร้อมลงทุน

Source

]]>
1374457
ยอมถอยอีกหนึ่ง! Didi แอปฯ เรียกรถ “จีน” เตรียม “ถอนหุ้น” จากตลาดนิวยอร์กตามคำสั่งรัฐ https://positioningmag.com/1365442 Sat, 04 Dec 2021 05:59:20 +0000 https://positioningmag.com/?p=1365442 Didi ประกาศเมื่อวันที่ 3 ธ.ค. ที่ผ่านมาว่า บริษัทเตรียม “ถอนหุ้น” ออกจากตลาดหุ้นนิวยอร์กในทันที และจะย้ายไปจดทะเบียนในตลาดหุ้นฮ่องกง ตามคำสั่งรัฐบาลจีน

“หลังจากการศึกษาอย่างระมัดระวัง บริษัทตัดสินใจเริ่มกระบวนการถอนหุ้นออกจากตลาดหุ้นนิวยอร์กทันที และเริ่มกระบวนการเตรียมตัวเข้าจดทะเบียนในตลาดหุ้นฮ่องกง” บริษัทแถลงเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาผ่านบัญชีทางการบน Weibo

ส่วนแถลงการณ์ภาษาอังกฤษ บริษัทระบุว่า คณะกรรมการบริษัทได้ให้ไฟเขียวให้บริษัททำการถอนหุ้นจากตลาดนิวยอร์กได้ โดยคณะกรรมการจะจัดประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อลงมติในประเด็นนี้ต่อไป

การตัดสินใจของ Didi เกิดขึ้นหลังการเปิด IPO ในตลาดนิวยอร์กเพียง 5 เดือน โดยช่วงที่เปิด IPO หุ้นของ Didi ถือว่าเป็นหุ้นระดับบล็อกบลัสเตอร์ของตลาด สามารถระดมทุนไปถึง 4,400 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 1.49 แสนล้านบาท)

แต่หลังจากนั้น การตัดสินใจเปิด IPO กลายเป็นหายนะของบริษัท เพราะรัฐบาลจีนขู่ลงดาบ Didi หากไม่ยอมถอนหุ้นออกจากตลาดหุ้นนิวยอร์ก โดยจะแบนแอปพลิเคชัน Didi ออกจาก App Store ต่างๆ ที่มีให้บริการในประเทศจีน เพราะถือว่าแอปฯ ละเมิดกฎหมายด้านความปลอดภัยไซเบอร์และความเป็นส่วนตัวของประเทศ

(Photo by GettyImages) ืทว

เหตุการณ์นี้ทำให้ราคาหุ้นของ Didi ร่วงลงเรื่อยๆ จากราคาเปิด IPO ที่ 14 เหรียญต่อหุ้น ปัจจุบันราคาตกลงไปราวครึ่งหนึ่ง และทำให้มาร์เก็ตแคปของบริษัทสูญเสียไปเกือบ 30,000 ล้านเหรียญ (ประมาณ 1.12 ล้านล้านบาท)

การลงดาบตีกรอบบริษัทเทคโนโลยีจีนรายใหญ่เกิดขึ้นทั่วทั้งวงการ โดยการลงดาบ Didi นับเป็นการ ‘เชือดไก่ให้ลิงดู’ ของรัฐบาลจีน เป็นบทลงโทษสำหรับบริษัทจีนที่จะแหกคอกไปจดทะเบียนในตลาดหุ้นต่างประเทศ

รัฐบาลจีนมองว่าการที่บิ๊กเทคคัมปะนีจีนไปจดทะเบียนในตลาดหุ้นต่างประเทศนั้น เป็นความเสี่ยงต่อความมั่นคงของชาติ ยกตัวอย่างในตลาดหุ้นนิวยอร์ก บริษัทที่เข้าไปจดทะเบียนจะต้องถูกตรวจสอบโดยผู้ตรวจสอบสัญชาติอเมริกัน ทำให้จีนไม่พอใจ

ทั้งนี้ ข่าวการถอนหุ้นของ Didi นับว่าเป็น ‘ทอล์กออฟเดอะทาวน์’ ของเมืองจีนเช่นกัน โดยเรื่องนี้ขึ้นเป็นเทรนด์บนโซเชียลมีเดีย Weibo เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา และโพสต์ที่เกี่ยวกับการถอนหุ้นของบริษัทมียอดชมสูงมากกว่า 120 ล้านครั้ง

เรื่องนี้ส่งผลสะเทือนถึงผู้ถือหุ้นใหญ่อย่าง Softbank ที่เข้าไปถือหุ้น Didi ผ่าน Vision Fund ด้วย เมื่อวันศุกร์นั้นราคาหุ้นของ Softbank ที่ตลาดหุ้นโตเกียวตกลง 0.7% และถ้านับตั้งแต่การเปิดข่าวถอนหุ้นของ Didi โดยสำนักข่าว Bloomberg เมื่อสัปดาห์ก่อนหน้า หุ้น Softbank ราคาตกไปแล้ว 5%

 

อาจต้องถอนหุ้นกันทั้งหมด

ไม่ใช่แค่ Didi ที่ถูกจัดการ บริษัทเทคจีนรายใหญ่ที่ไปจดทะเบียนในตลาดหุ้นสหรัฐฯ และยอมไปจดทะเบียนแบบ dual-listing ในตลาดหุ้นฮ่องกงแล้ว เช่น Alibaba, JD.com และ Baidu

อารอน คอสเตลโล หัวหน้าประจำภูมิภาคเอเชียที่ Cambridge Associates ให้ความเห็นกับ CNBC ว่า บริษัทวิเคราะห์ว่าเทคคัมปะนีจีนที่จดทะเบียนในตลาดหุ้นสหรัฐฯ จะทยอยย้ายไปจดทะเบียนในตลาดหุ้นฮ่องกงหรือจีนแผ่นดินใหญ่เกือบทั้งหมด

“นี่เป็นส่วนหนึ่งในแผนของรัฐบาลจีน เพราะพวกเขาไม่สบายใจอีกต่อไปกับการใช้อำนาจกฎหมายกำกับเทคคัมปะนีจีน เพราะการใช้กฎเกณฑ์ของสหรัฐฯ มากำหนดพวกเขา และเพราะประเด็นด้านความปลอดภัยของดาต้าด้วย” คอสเตลโลกล่าว

บริษัทจีนที่ไปจดทะเบียนในตลาดหุ้นสหรัฐฯ มีมากกว่า 200 บริษัท และหลายบริษัททำธุรกิจด้านเทคโนโลยี นอกจากชื่อที่กล่าวไปข้างต้น ยังมีบริษัทเช่น บริษัทเกม NetEase, บริษัทอีคอมเมิร์ซ Pinduoduo, บริษัทลูกด้านสตรีมมิ่งดนตรี Tencent Music, บริษัทสตรีมมิ่งวิดีโอ iQiyi ฯลฯ

ที่มา: CNN, CNBC

]]>
1365442
จับตา ‘VinFast’ ผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่สุดของเวียดนาม จ่อเข้า ‘ระดมทุน’ ในตลาดหุ้นสหรัฐฯ https://positioningmag.com/1327814 Wed, 14 Apr 2021 10:47:07 +0000 https://positioningmag.com/?p=1327814 จับตาความเคลื่อนไหวของ ‘VinFast’ (วินฟาสต์) เเบรนด์รถยนต์เจ้าใหญ่ที่สุดของเวียดนาม ธุรกิจในเครือ Vingroup เตรียมเข้า IPO ในตลาดหุ้นสหรัฐฯ คาดระดมทุนได้ถึง 2 พันล้านดอลลาร์ (ราว 6.3 หมื่นล้านบาท)

Bloomberg รายงานโดยอ้างเเหล่งข่าวใกล้ชิด ระบุว่า Vingroup บริษัทที่มีมูลค่าสูงที่สุดในเวียดนาม เตรียมการจะส่งบริษัทลูกอย่าง ‘VinFast’ เสนอขายหุ้นต่อประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก (IPO) ในตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์ก

ผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่ที่สุดในเวียดนาม กำลังอยู่ในช่วงดำเนินงานร่วมกับที่ปรึกษา โดยคาดว่าข้อเสนอดังกล่าวที่อาจเกิดขึ้นได้ภายในไตรมาสนี้ เเละประเมินว่าการระดุมทุน IPO ของ VinFast อาจเพิ่มขึ้นสูงสุดเเตะ 3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 9.4 หมื่นล้านบาท)

ขณะที่แหล่งข่าวให้ข้อมูลกับ Reuters ว่ากลุ่มธุรกิจของ Vingroup ซึ่งมีอยู่หลากหลายอุตสาหกรรม ตั้งเเต่อสังหาริมทรัพย์ไปจนถึงสมาร์ทโฟนกำลังทำงานร่วมกับ Credit Suisse HongKong เพื่อเสนอขาย IPO ในครั้งนี้

หลังจากมีกระเเสข่าวนี้เผยเเพร่ออกมา ส่งผลให้หุ้นของ Vingroup เพิ่มขึ้นมากถึง 5.3% (ณ วันที่ 13 เมษายน) สูงสุดเป็นประวัติการณ์ ทำให้มูลค่าตลาดของบริษัทพุ่งขึ้นเป็น 2 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 6.27 เเสนล้านบาท)

ในช่วงเเรก Vingroup ปฏิเสธที่จะแสดงความคิดเห็นต่อข่าวนี้ เเต่ต่อมาได้ออกมาชี้เเจงว่า บริษัทกำลังกำลังพิจารณาหาโอกาสในการระดมทุนซึ่งอาจจะเป็นไปได้ทั้งรูปเเบบ IPO หรือ SPAC (บริษัทที่สร้างขึ้นมาเพื่อระดมเงินทุนไปซื้อบริษัทอื่น) เเต่การระดมทุนใดๆที่อาจจะเกิดขึ้นนั้น ต้องขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ เช่นสภาวะตลาด

VinFast เพิ่งเปิดตัวรถยนต์ไฟฟ้าขับเคลื่อนอัตโนมัติ 3 รุ่นใหม่ ได้แก่ VF31 ,VF32 และ VF33 ในเวียดนาม เเละกำลังจะส่งไปทำตลาดในสหรัฐฯ แคนาดาและยุโรปในปีหน้า โดยกำลังมองหาโอกาสที่จะเปิดโรงงานใหม่ในอเมริกาด้วย

นอกจากนี้ เมื่อเดือนที่เเล้ว มีกระเเสข่าวว่า Vingroup กำลังเจรจากับ Foxconn ยักษ์ใหญ่ผู้ผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ของไต้หวัน เพื่อร่วมมือเป็นพันธมิตรพัฒนาเทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้ากับเเบรนด์ VinFast

 

 

ที่มา : Bloomberg , Reuters

]]>
1327814