ตลาด NFT – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Mon, 25 Sep 2023 07:11:17 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 นักสะสม 23 ล้านคนทั่วโลกติดดอย “NFT” ผลงานศิลปะดิจิทัล 95% ในตลาดมูลค่าลดจนเป็น “ศูนย์” https://positioningmag.com/1445385 Mon, 25 Sep 2023 07:08:50 +0000 https://positioningmag.com/?p=1445385 ยังจำ “NFT” กันได้หรือไม่? “สินทรัพย์ดิจิทัล” ที่เคยฮิตจัดช่วงปี 2021-2022 บัดนี้นักวิจัยพบว่า 95% ของงานศิลปะดิจิทัลในตลาดลดมูลค่าลงเหลือ “0 ETH” ส่วนคอลเล็กชันที่ยังมีการถือครองแลกเปลี่ยน 5% ที่เหลือนั้นส่วนใหญ่มีราคาเพียงชิ้นละ 5-100 เหรียญสหรัฐ (ประมาณ 180-3,600 บาท) สถานการณ์นี้ส่งผลให้นักสะสม 23 ล้านคนมีอาการ “ติดดอย” กันถ้วนหน้า

“ตลาด NFT ตายหรือยัง?” เป็นคำถามตั้งโจทย์ของนักวิจัย dappGambl และคำตอบที่พวกเขาพบก็น่าจะตอบได้กลายๆ ว่า “ตายแล้ว”

นักวิจัยกลุ่มนี้ใช้ดาต้าจาก NFT Scan และ CoinMarketCap รวบรวมราคาคอลเล็กชัน NFT ทั้งหมด 73,257 ชิ้น และปรากฏว่ามี 69,795 ชิ้น หรือคิดเป็น 95% ที่มีมูลค่าตลาดเท่ากับ “0 ETH”

พวกเขายังประเมินด้วยว่า มีนักสะสมราว 23 ล้านคนที่ถือสินทรัพย์ไร้ค่าเหล่านี้ไว้ในมือ

“ความจริงวันนี้เป็นเหมือนอาการสร่างเมาจากฤทธิ์ยาที่ทำให้เคลิบเคลิ้มในช่วงที่ทุกคนเห่อ NFT” นักวิจัยกล่าว “ท่ามกลางเรื่องราวฮือฮาของการขายงานศิลปะดิจิทัลได้ชิ้นละหลายล้านเหรียญสหรัฐ และการประสบความสำเร็จชั่วข้ามคืนของการขายทำกำไร มันก็ง่ายที่คนจะมองข้ามความจริงที่ว่าตลาดนี้เต็มไปด้วยหุบเหวของความเสี่ยงที่จะขาดทุน”

คอลเล็กชัน Bored Apes

NFT คืองานศิลปะหรืองานสะสมแบบดิจิทัลที่อยู่บนระบบบล็อกเชน ส่วนใหญ่มักจะใช้ระบบอีเธอเรียม (ETH) แต่ละชิ้นงานบนบล็อกเชนนี้มีเอกลักษณ์พิเศษที่ไม่สามารถทำซ้ำได้

ช่วงปี 2021-2022 งาน NFT ได้รับความนิยมมากจนตลาดขยายตัวเร็ว ช่วงที่ขยายตัวมากที่สุดคือมีการเทรดคิดเป็นมูลค่า 2,800 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 1 แสนล้านบาท) ภายในเดือนเดียว

ช่วงนั้นเป็นช่วงที่คอลเล็กชันดังๆ อย่าง Bored Apes และ CryptoPunks ออกสู่ตลาดและขายได้ในราคาหลายล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยมีเซเลปดังๆ เช่น Snoop Dogg หรือ Justin Bieber ร่วมวงประมูลซื้อด้วย

จังหวะการบูมของ NFT สอดคล้องไปกับจังหวะขาขึ้นของสกุลเงินดิจิทัล ในช่วงเดียวกันนั้นบิตคอยน์ซื้อขายกันที่ราคาเกือบ 70,000 เหรียญ (ประมาณ 2.52 ล้านบาท) แต่ในเดือนกันยายน 2023 ราคาบิตคอยน์ลงมาเหลือแค่ 27,000 เหรียญ (ประมาณ 9.73 แสนบาท)

dappGambl พบว่า 79% ของผลงาน NFT ในตลาดปัจจุบันยังไม่เคยขายได้เลย และเมื่อซัพพลายล้นเกินดีมานด์ไปแล้วทำให้ปัจจุบันตลาด NFT คือตลาดของผู้ซื้อ ซึ่งก็เป็นตลาดที่ไม่ได้มีอะไรจะมาปลุกชีวิตชีวาขึ้นมาใหม่อีกครั้ง

ในจำนวนคอลเล็กชันมากกว่า 7 หมื่นชิ้นนั้น ถ้านับเฉพาะคอลเล็กชันที่มีความสำคัญในตลาด เป็นผลงานที่พอจะมีชื่อเสียง จะมีประมาณ 8,850 ชิ้น แม้กระทั่งคัดกรองแต่กลุ่มผลงานระดับบนมาแล้ว แต่ผลงานเหล่านี้ส่วนใหญ่คิดเป็นสัดส่วน 41% ก็มีมูลค่าแค่ 5-100 เหรียญ (ประมาณ 180-3,600 บาท) หนำซ้ำยังมีถึง 18% ที่จัดอยู่ในหมวด “ไร้ค่า” ไม่เหลือราคาแล้ว

เหลืองาน NFT เพียง 1% ในตลาดเท่านั้นที่ยังทำราคาได้เกิน 6,000 เหรียญต่อชิ้น (ประมาณ 2.16 แสนบาท) แต่ราคานี้ก็ยังถือว่าต่ำลงฮวบฮาบเทียบกับเมื่อ 2 ปีก่อนที่ผลงานพวกนี้มีราคาอย่างน้อย 1 ล้านเหรียญต่อชิ้น (ประมาณ 36 ล้านบาท)

“เห็นได้ชัดเลยว่าตลาด NFT ส่วนใหญ่เต็มไปด้วยนักเก็งกำไรและเข้าตลาดมาด้วยความหวังว่าราคาจะขึ้น” นักวิจัยระบุ “นอกจากนี้ ความต่างของราคาตั้งขายกับราคาที่ขายได้จริงในตลาดวันนี้ ยังเป็นตัวบอกด้วยว่าผู้ขายหลายรายยังคงรอคอยที่จะมีเวฟขาขึ้นรอบใหม่ของ NFT เหมือนกับที่เคยเกิดขึ้นในปี 2021 ซึ่งอาจจะไม่เกิดอีกเลยก็ได้”

Source

]]>
1445385
ทำความเข้าใจ ‘NFT’ ในฐานะ ‘เครื่องมือการตลาด’ ที่มีดีกว่าแค่เป็น ‘ของสะสม’ https://positioningmag.com/1403822 Mon, 10 Oct 2022 10:01:09 +0000 https://positioningmag.com/?p=1403822 หากพูดถึงตลาด Non-Fungible Token หรือที่เรียกย่อ ๆ ว่า NFT หลายคนมักจะมองแต่ในฝั่งของ ‘ผู้บริโภค’ ที่ทำการซื้อ-ขายกัน หรือไม่ก็ดูในแง่ของ ‘กำไร-ขาดทุน’ แต่ไม่ค่อยมีใครพูดถึงฝั่งของ ‘แบรนด์’ ที่กระโดดเข้ามาในตลาด NFT จำนวนมาก ไม่ว่าจะแบรนด์ใหญ่หรือแบรนด์เล็ก ว่าแต่ NFT น่าสนใจแค่ไหนในฐานะ Marketing Tools ไปดูกัน

NFT = วิวัฒนาการของศิลปะ

หลายคนน่าจะพอรู้ว่า NFT ได้ถูกนำไปใช้ในวงการศิลปะไม่ว่าจะเป็น ภาพวาด ภาพกราฟิก วิดีโอ และเพลง โดยถือเป็นวิธีสากลสำหรับครีเอเตอร์ในการเป็นผู้ ควบคุม และ ได้รับประโยชน์ จากการสร้างสรรค์ผลงานของพวกเขา ไม่เหมือนในอดีตที่ถูกก๊อปเกลื่อนอินเทอร์เน็ต ดังนั้น NFT จึงช่วยขยายตลาดของคน รักงานศิลปะ เพราะไม่ต้องซื้อของจริงเพื่อสะสม

“ศิลปินที่ทำผลงานในรูปแบบ NFT มันทำให้เขาได้ส่วนแบ่งกลับมาเรื่อย ๆ ช่วยแสดงความเป็นตัวตน ไม่ได้ถูกก๊อปไปลงอินเทอร์เน็ตเหมือนอดีต นอกจากนี้ ยังใช้บล็อกเชนบันทึกเส้นทางร่องรอยของผลงานได้ คนเป็นเจ้าของร่วมก็ได้ประโยชน์ ถือเป็นโอกาสที่ดีของศิลปินในอนาคต” วรพจน์ ธาราศิริสกุล Chief of Technology บริษัท เจ เวนเจอร์ส จำกัด อธิบาย

ไทยมีผู้ใช้ NFT มากสุดในโลก

ที่น่าสนใจคือ ตัวเลขของปี 2021 ที่รวบรวมโดย Statista ระบุว่า ไทยถือเป็นประเทศที่มีผู้ใช้ NFT มากที่สุดในโลกถึง 5.65 ล้านบัญชี ตามด้วย

  • บราซิล 4.99 ล้านบัญชี
  • สหรัฐอเมริกา 3.81 ล้านบัญชี
  • จีน 2.68 ล้านบัญชี
  • เวียดนาม 2.19 ล้านบัญชี

“ส่วนหนึ่งคนไทยชอบเล่นเกม และที่ผ่านมาก็มีเกม NFT เยอะ และต้องยอมรับว่า คนไทยชอบเก็งกำไร เห็นอะไรทำกำไรได้ก็โดดเข้ามาเล่น มันเลยเติบโตในกลุ่มคนรุ่นใหม่ แต่เราเชื่อว่าตลาดจะไม่ได้ขับเคลื่อนเพราะเก็งกำไร แต่เกิดจากนักสะสม”

NFT กับ Token ต่างกันอย่างไรในมุมการตลาด

ตั้งแต่การมาบูมของตลาด คริปโตเคอร์เรนซี ในช่วง COVID-19 ที่ผ่านมา จะเห็นว่าแบรนด์เริ่มใช้ประโยชน์จากการออก Token และ NFT โดยในส่วนของการออก Token นั้น จะใช้เสมือนการแจก พอยต์ สำหรับใช้แทนอะไรบางอย่าง แต่สำหรับ NFT นั้นจะเปรียบเสมือน ของสะสม ดังนั้น จะเหมาะสำหรับการตลาดที่เล่นกับ Emotional การสร้าง Membership การสร้าง Community ของลูกค้า แฟนคลับ และกลุ่มคนรุ่นใหม่

อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่ทุกแบรนด์ที่ใช้ NFT เป็นเครื่องมือการตลาด แต่ควรเป็นแบรนด์ที่มี ฐานลูกค้า หรือ ฐานแฟนคลับ ดังนั้น สำหรับประเทศไทยจะเห็นแบรนด์ในกลุ่ม คอนซูมเมอร์โปรดักส์ เพื่อใช้ NFT เป็นของสะสมหรือสร้าง Engagement ให้กับลูกค้า เพราะจะช่วยให้แบรนด์หา Real User หรือ แฟนคลับของแบรนด์จริง ๆ เพื่อเก็บเป็นข้อมูลในการทำการตลาดต่อไป ไม่ใช่แค่แจกแล้วจบ

ตัวอย่างงานศิลปะ NFT บนมาร์เก็ตเพลซ OpenSea

นอกจากนี้ NFT ยังช่วยเพิ่มรายได้จากการขายสินค้า เพราะข้อดีของการทำ NFT คือ งบลงทุนที่น้อยกว่า ดังนั้น สามารถทำควบคู่กับของสะสมแบบ Physical ได้ อย่างไรก็ตาม สำหรับแบรนด์ที่ทำ NFT เพื่อแจกให้เป็นของสะสมในปริมาณมาก ควรจะแบ่งระดับความหายากหาง่าย (Rare, Super Rare) เพื่อให้เกิดความต้องการ

“อย่างหัวเว่ย ทำ NFT แจกเฉพาะลูกค้าที่ซื้อมือถือ แปลว่าคนที่ถือ NFT เป็นแฟนคลับจริง ๆ ต่อไปการทำโฟกัสกรุ๊ป หรือจะทำการตลาดอื่น ๆ เราก็สามารถต่อยอดกับคนกลุ่มนี้ได้ ซึ่งเราเชื่อว่า NFT มันเป็นตัวเชื่อมโลกดิจิทัลและเทรดดิชันนอล โดยที่แบรนด์เข้ามาโดยไม่ตะขิดตะขวงใจ โดยเราเชื่อว่า NFT มันจะแมสมากขึ้น เพราะเข้าใจง่ายกว่าคริปโตฯ”

Use Case การใช้ NFT ของแบรนด์ไทย

  • ไปรษณีย์ไทย : ถือเป็นหนึ่งใน Use Case ที่เห็นภาพการใช้ NFT ได้ชัดที่สุด เพราะก่อนหน้านี้ไปรษณีย์ไทยจำหน่าย แสตมป์ เพื่อสะสม โดยล่าสุดได้ทำ แสตมป์ NFT ส่งผลให้จำนวนลูกค้ากว่า 80% ที่เข้ามาซื้อเป็นผู้เล่น NFT ไม่ใช่นักสะสมแสตมป์ แสดงให้เห็นว่า NFT ช่วยขยายฐานลูกค้าให้กับไปรษณีย์
  • Index Creative Village : การจำหน่าย NFT Collection พิเศษในงานตอนเสิร์ต แสตมป์ อภิวัชร์ รวมถึงใช้ NFT เป็นตั๋วแบบ Excrusive ซึ่งช่วยเพิ่มรายได้จากเดิมที่ขายบัตรและสปอนเซอร์ โดยได้รับการตอบรับที่ดีจากกลุ่มแฟนคลับและวัยรุ่น
  • Pixel Paint : การนำเอา NFT มาใช้เป็นสื่อกลางในการสร้างประสบการณ์การซื้อขายสิทธิ์ เพื่อยืนยันว่าใครคือผู้ที่ซื้องานศิลปะ เพื่อยืนยันตัวตนในการรับรูปภาพ โดยหลังจากเปิดขายรอบแรกมียอดจองขายหมดภายใน 24 ชั่วโมง
  • เจมาร์ท โมบาย : ที่ออก Jaybird NFT Collection 2022 จำนวน 7,777 ชิ้น ภายใต้คอนเซ็ปต์  Enjoy MetaWorld

“อย่างงาน หมู่ วาไรตี้โชว์ ที่ Jmart Group เป็นสปอนเซอร์เราก็ใช้ NFT เป็นตั๋วเข้างาน และจะเป็นของสะสมจากงานนี้ ซึ่งเราเชื่อว่าโลกจากนี้จะเป็นการไฮบริดระหว่างดิจิทัลและประสบการณ์บนโลกจริง ช่วยสร้างแวลู และประสบการณ์ใหม่ ๆ ในยุคที่คนรุ่นใหม่ต้องการความแตกต่าง ความแปลกใหม่”

เดินหน้าขยายลูกค้า B2B

สำหรับเป้าหมายของ JNFT ในปี 2566 ตั้งเป้าที่จะขยายความร่วมมือระหว่างธุรกิจต่อธุรกิจ (B2B) เพื่อนำเอา NFT เข้าสู่ธุรกิจและองค์กรในรูปแบบต่าง ๆ นอกจากนี้ ยังเดินหน้าผลักดันแพลตฟอร์ม NFT Marketplace ของตัวเองที่เปิดมาประมาณ 1 ปี โดยปัจจุบันมีทรานแซกชั่นประมาณ 50,000 – 100,000 ครั้ง/เดือน จากผู้ใช้ประมาณ 5,000 บัญชี โดยตั้งเป้าปีหน้าเติบโตหลายเท่าตัว

“ต้องยอมรับว่าตอนนี้มันเป็นช่วงขาลง แต่เราเชื่อว่าตลาดยังกลับมาได้ เพราะ NFT เป็นของสะสม มูลค่าอาจไม่มีตอนนี้แต่อนาคตมันอาจมีมูลค่าเหมือนของสะสมอื่น ๆ”

ปัจจุบัน มีแบรนด์ที่สนใจทำ NFT กับบริษัทประมาณ 2 ราย/เดือน นอกจากนี้ เริ่มมีเอเจนซี่การตลาดเริ่มมาปรึกษาการทำ NFT ให้กับลูกค้า ซึ่งถ้าแบรนด์ใช้ NFT ในการทำการตลาดมากขึ้น ต่อไป NFT ก็จะแมสและผู้ใช้แพลตฟอร์ม Marketplace ก็จะตามมา

ตอนนี้ความท้าทายการประยุกต์ใช้ NFT กับการตลาดคือเรื่องความเข้าใจ แบรนด์ยังคิดว่ามันเป็นเรื่องการเก็งกำไรนำ แต่เป็นในแง่ของสะสมซึ่งมันแมสมากกว่า การแจก NFT มันสามารถสร้างแวลูได้มากกว่าแทนที่จะแจกเป็นสิ่งของแล้วเขาเอาไปทิ้ง แต่ให้ NFT เราสามารถเก็บข้อมูลลูกค้ากลับมาได้ด้วย

]]>
1403822
สัญญาณลบ? ตลาด NFT ดิ่งตามคริปโต มูลค่าการขายบน OpenSea ลดลง -73% ในเดือนเดียว https://positioningmag.com/1391453 Wed, 06 Jul 2022 08:56:54 +0000 https://positioningmag.com/?p=1391453 หลังจากมูลค่าสกุลเงินคริปโตดิ่งลง ตลาด NFT เองก็ร่วงลงตามเช่นกัน โดยเมื่อเดือนมิถุนายน 2022 มูลค่าการขายผ่านแพลตฟอร์ม OpenSea ลดลงเหลือ 700 ล้านเหรียญสหรัฐ จากเมื่อเดือนพฤษภาคม 2022 อยู่ที่ 2,600 ล้านเหรียญสหรัฐ แต่บางบริษัทนักลงทุนยังมั่นใจว่าตลาดจะกลับมา รวมถึงความหวังการเติบโตของ NFT ในวงการเกม

OpenSea แพลตฟอร์มซื้อขาย NFT (non-fungible token) ที่ใหญ่ที่สุด ประกาศตัวเลขการซื้อขายบนแพลตฟอร์มที่ลดลง -73% เมื่อเทียบเดือนมิถุนายนกับพฤษภาคม 2022 และจะถือว่าลดลงหลายเท่าตัว หากนับจากเดือนที่มีการซื้อขายสูงสุดเมื่อเดือนมกราคม 2022 เคยมีการซื้อขายถึง 5,000 ล้านเหรียญสหรัฐ

ราคาเฉลี่ยต่อชิ้นของ NFT ก็ลดลงแรงเช่นกัน โดยเดือนมิถุนายนที่ผ่านมาเหลือเฉลี่ยชิ้นละ 412 เหรียญสหรัฐ เทียบกับเมื่อสิ้นเดือนเมษายนปีนี้เคยอยู่ที่เฉลี่ย 1,754 เหรียญสหรัฐ เก็บข้อมูลจาก NonFungible.com ซึ่งติดตามยอดขายผ่านบล็อกเชนของอีเธอเรียมและโรนิน

“ตลาดหมีของการเทรดคริปโตมีผลกระทบต่อวงการ NFT อย่างแน่นอน” เกาเธียร์ ซัปปิงเกอร์ ผู้ร่วมก่อตั้ง NonFungible.com กล่าว “เราได้เห็นการเก็งกำไรอย่างหนัก มีกระแสนิยมสูงอย่างรวดเร็วในสินทรัพย์ชนิดนี้ แต่ขณะนี้เราเห็นความนิยมที่ลดลง เพราะคนเริ่มเข้าใจแล้วว่าตัวเองจะไม่ได้กลายเป็นเศรษฐีได้ภายในสองวัน”

NFT ตลาดดิ่ง
ยอดขาย NFT ผ่าน OpenSea ตกลงมากในเดือนมิถุนายน 2022 (ที่มา: Asia Financial)

NFT เริ่มปรับตัวลดมูลค่าลงพร้อมกับคริปโต เมื่อธนาคารกลางหลายแห่งเริ่มขึ้นอัตราดอกเบี้ยสู้กับปัญหาเงินเฟ้อ และทำให้นักลงทุนในวงการนี้เริ่มชะลอลง

ราคาบิตคอยน์ลดลง -57% ในรอบ 6 เดือนที่ผ่านมา ขณะที่ราคาอีเธอเรียมก็ลดลง -71% เช่นกัน

ตัวอย่างความเจ็บปวดของนักลงทุน NFT เช่น นักธุรกิจชาวมาเลเซียรายหนึ่งที่ลงทุนซื้อ NFT ข้อความทวีตแรกของ “แจ็ค ดอร์ซีย์” ผู้ร่วมก่อตั้ง Twitter ไปในราคา 2.5 ล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อปี 2021 เขาพยายามจะรีเซลขายต่อผลงานชิ้นนี้เมื่อเดือนเมษายน 2022 แต่ไม่เคยได้ราคาเสนอซื้อที่มากกว่าหลักพันดอลลาร์เลย

 

แต่บางกลุ่มลงทุนก็ยังมีความหวัง

อย่างไรก็ตาม บางกลุ่มลงทุนก็ยังเห็นโอกาส “เบนัวต์ บอช” หัวหน้าฝ่ายผลิตภัณฑ์ระดับสากลของบริษัท GSR บริษัทเทรดคริปโต ยังคงมองว่า ตลาดขาลงแบบนี้คือช่วงเวลาเหมาะเจาะที่จะสร้างคอลเลกชัน NFT ของบริษัท ในมุมมองเดียวกับธนาคารดั้งเดิมที่สะสมศิลปะชั้นสูงไว้จัดแสดงสร้างความประทับใจแก่ลูกค้า

ชิ้นงาน Bored Ape ที่ Eminem ซื้อไป

เดือนก่อนนี้ GSR ใช้เงินลงทุน 500,000 เหรียญสหรัฐ เพื่อประมูลซื้อ NFT คอลเลกชันที่บอชเรียกว่าเป็น “บลูชิพ” แห่งวงการ นั่นคือผลงานศิลปะที่มีแฟนคลับออนไลน์กลุ่มใหญ่

ผลงานที่เขาซื้อนั้นรวมถึงผลงานชื่อดังอย่าง Bored Ape Yacht Club ศิลปะการ์ตูนรูปลิงจำนวน 10,000 ชิ้น ผลิตโดยบริษัท Yuga Labs และมีคนดังมากมายเข้าซื้อและสนับสนุนผลงาน เช่น ปารีส ฮิลตัน, Eminem แรปเปอร์ดัง

งานชุด Bored Ape เคยขึ้นไปสูงสุด 238,000 เหรียญต่อชิ้นเมื่อเดือนมกราคม 2022 แต่ล่าสุดในเดือนมิถุนายน ตกลงไปเหลือ 110,000 ต่อชิ้น จากข้อมูลของ CryptoSlam

NFT
ราคา NFT ตกลงตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2022 ตามตลาดคริปโต (ที่มา: Asia Financial)

ทางบริษัท GSR จึงไปซ้อนชื้อมาได้ชิ้นหนึ่งในราคา 125,000 เหรียญ และนำมาจัดแสดงบนจอภายในสำนักงานของบริษัทที่นิวยอร์ก

“สำหรับเรา มันเป็นการบริหารแบรนด์ของเราด้วย” บอชกล่าวว่า การเป็นเจ้าของ NFT ที่มีมูลค่าและนำมาใช้เป็นภาพโปรไฟล์บนโซเชียลมีเดีย คือการวางรากฐานของความน่าเชื่อถือ การมีอำนาจ และมีอิทธิพลในโลกคริปโต

 

รอกระแสในวงการ “เกม”

นักวิเคราะห์บางรายในตลาดมองว่า NFT ในแง่ของการเป็นศิลปะสำหรับนักสะสมน่าจะหดตัวลง ขณะที่ตลาดในโลกเมตาเวิร์สก็ยังไม่เป็นรูปเป็นร่าง ทำให้ความหวังน่าจะอยู่ในวงการเกม ตัวอย่างเช่น มีช่องทางให้ผู้เล่นครอบครองสินทรัพย์ภายในเกมนั้น อย่างการมีสกินตัวละครแบบพิเศษ

NFT
ตลาด NFT แบ่งตามประเภทช่องทางการใช้งาน (ที่มา: Asia Financial)

แต่การรวมกันของวงการเกมและวงการเก็งกำไรทางการเงินก็อาจจะยากลำบาก เพราะเกมเมอร์หลายคนไม่ชอบแนวคิดการมี NFT ในเกม หรือการมีฟังก์ชัน ‘play-to-earn’ จากข้อมูลของ จอห์น อีแกน ซีอีโอบริษัท L’Atelier บริษัทด้านการวิจัยเทคโนโลยี

ขณะนี้ L’Atelier ยังเห็นว่า ตลาด NFT ไม่น่าจะฟื้นกลับไปได้เท่ากับที่เคยบูมมาก่อนหน้านี้ “มันเป็นสถานการณ์ที่มีเงินทุนมากผิดปกติไหลเข้าไปจ่ายให้กับสินทรัพย์ที่มีจำกัดอย่างผิดปกติ และไม่ได้ทำเงินเพิ่มได้สักเท่าไหร่” อีแกนกล่าว

แต่คอนเซ็ปต์ของการสร้างสรรค์สินทรัพย์ดิจิทัลที่มีความเฉพาะตัวก็จะยัง “เป็นพื้นฐานที่สำคัญ” และจะเป็นคุณสมบัติที่สำคัญให้กับวงการการเงินต่อไปในอนาคต

Source

]]>
1391453
หรือจะตามคริปโต? ตลาด ‘NFT’ ถูกมองไม่ปลอดภัย หลังการซื้อขายราว 90% เป็นของปลอม https://positioningmag.com/1386235 Mon, 23 May 2022 07:31:13 +0000 https://positioningmag.com/?p=1386235 ปีที่ผ่านมา ตลาด ‘NFTs’ (Non-fungible token) ดูเหมือนจะเติบโตอย่างก้าวกระโดด ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะการที่ผู้มีชื่อเสียงจำนวนหนึ่งช่วยทำให้ตลาดมูลค่าหลายพันล้านดอลลาร์ยิ่งดูน่าสนใจสะสม (หรือลงทุน) แต่หลังจากการที่ตลาดคริปโตเคอร์เรนซีกำลังดิ่งยกแผง ทำให้เกิดความกลัวว่า NFT อาจเป็นรายต่อไป

NFT ถือเป็นคริปโตเคอร์เรนซีรูปแบบหนึ่งที่ใช้แสดงถึงความเป็นเจ้าของในสินทรัพย์ โดยจะมีลักษณะเฉพาะตัว ไม่สามารถทดแทนได้ ถือเป็นสินทรัพย์ที่ไม่ซ้ำใครในโลกดิจิทัล โดยยังสามารถซื้อและขายได้เหมือนกับทรัพย์สินอื่น ๆ ปัจจุบัน NFT ได้ถูกนำไปใช้ในวงการศิลปะ โดยครีเอเตอร์ใช้ในการเป็นเจ้าของ ควบคุม และได้รับประโยชน์จากการสร้างสรรค์ผลงาน

ที่ผ่านมา มีคนดังอย่าง Paris Hilton, Gwyneth Paltrow และ Serena Williams ต่างก็โอ้อวดเกี่ยวกับการเป็นเจ้าของ NFT จนหลายคนมองว่านี่เป็นการล่อลวงเด็กที่อายุต่ำกว่า 30 ปีจำนวนมาก ให้เข้ามาหาโอกาสในการทำกำไรอย่างรวดเร็ว

ยิ่งกว่าก้าวกระโดด! ตลาด ‘NFT’ โตพุ่ง 21,000% มูลค่าทะลุ 1.7 หมื่นล้านดอลลาร์

แต่หลังจากที่ตลาดคริปโต ส่อแววว่าจะไม่ค่อยดี เนื่องจากมูลค่าเหรียญในตลาดต่างกอดคอกันร่วงหมด ทำให้ NFT ถูกมองว่าอาจจะตามเหรียญคริปโตไป โดยจำนวน NFT ที่ซื้อขายในตลาดช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ลดลงเกือบ 50% เมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ปี 2021 ตามรายงานของบริษัทวิเคราะห์ Non-Fungible

และจากรายงานของบริษัทตรวจสอบ CryptoSlam ระบุว่า ตลาดนับตั้งแต่วันที่ 1-15 พฤษภาคม มียอดใช้จ่ายไปกับงานศิลปะและของสะสมเพียง 31 ล้านดอลลาร์ ซึ่งเป็นตัวเลขที่ต่ำที่สุดตลอดทั้งปี หรืออย่างการขาย ทวีตแรกของ Jack Dorsey ผู้ก่อตั้ง Twitter ที่เคยขายได้เกือบ 3 ล้านดอลลาร์ในปีที่แล้ว มาปีนี้เจ้าของใหม่ยังไม่เจอผู้ที่เสนอราคาสูงกว่า 20,000 ดอลลาร์เพื่อซื้อมันได้

Molly White นักวิจารณ์ของ Crypto Sphere บอกกับ AFP ว่า มีเหตุผลที่เป็นไปได้หลายประการสำหรับการชะลอตัว อาทิ โฆษณาที่ลดลง, การกลัวการหลอกลวงหลังจากคนมีชื่อเสียงจำนวนมาก หรืออาจเป็นเพราะผู้คนรัดเข็มขัดเนื่องจากภาวะเศรษฐกิจ

ด้าน OpenSea แพลตฟอร์มการแลกเปลี่ยนหลักยอมรับว่า ในเดือนมกราคมว่ามากกว่า 80% ของ NFT ที่สร้างขึ้นด้วยเครื่องมือฟรีนั้นเป็นการโกง ส่วนใหญ่เป็นสำเนา NFT อื่น ๆ หรืองานศิลปะที่มีชื่อเสียงซึ่งเป็นการก๊อบปี้โดยไม่ได้รับอนุญาต เช่นเดียวกันกับ LookRare ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มแลกเปลี่ยน NFT ได้พบว่าการทำธุรกรรมมากถึง 95% บนแพลตฟอร์มนั้นเป็น NFT ของปลอม

Eric Barbry ทนายความ กล่าวกับ AFP ว่า ตลาด NFT ไม่มีกฎระเบียบเฉพาะ ทำให้หน่วยงานบังคับใช้กฎหมายจึงละเลย ขณะที่ Molly White กล่าวเสริมว่า กฎระเบียบที่เข้มงวดสามารถช่วยขจัดการเก็งกำไรที่รุนแรงได้อีกด้วย

Source

]]>
1386235
ทิศทาง ‘LINE for Business’ ธุรกิจลักชัวรี่-ภาครัฐมาเเรง ลุยโซลูชันจัดการข้อมูลเเละ NFT https://positioningmag.com/1379204 Fri, 25 Mar 2022 09:10:45 +0000 https://positioningmag.com/?p=1379204 เปิดกลยุทธ์ LINE for Business เเพลตฟอร์มดิจิทัลยอดนิยม พบกลุ่มธุรกิจสินค้าหรูเติบโตก้าวกระโดด ภาครัฐไทยทำรายการดิจิทัลผ่าน LINE API โตถึง 482 % ปีนี้พร้อมบุกโซลูชันจัดการข้อมูล ‘อย่างง่าย’ จับธุรกิจขนาดกลาง-เล็ก เริ่มทำตลาดสินทรัพย์ดิจิทัล คว้าโอกาส NFT 

นรสิทธิ์ สิทธิเวชวิจิตร รองประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ LINE ประเทศไทย เล่าถึงภาพรวมธุรกิจในปีที่ผ่านมาว่าเป็น ‘ปีเเห่งความท้าทาย’ ที่ต้องปรับตัวอย่างมาก ทั้งวิถีการใช้ชีวิตเเละกลยุทธ์ในการทำธุรกิจ

ในช่วงเเรกของวิกฤตโควิด-19 ผู้คนปรับตัวเเบบเฉพาะหน้า เเต่เมื่อเวลาผ่านไปมีหลายพฤติกรรมที่ได้กลายมาเป็นเทรนด์กระเเสหลักอย่างการทำงานจากที่บ้าน การใช้บริการส่งของหรือส่งอาหารเเบบเดลิเวอรี่ รวมไปถึงการหารายได้ในรูปเเบบสกุลเงินดิจิทัล

นอกจากนี้ เเรงกดดันจากราคาพลังงานที่เพิ่มสูงขึ้นและแนวโน้มการเพิ่มขึ้นของอัตราเงินเฟ้อทั่วโลก เหล่านี้ล้วนเป็นต้นทุนที่เพิ่มขึ้นของธุรกิจ

ลักชัวรี่มาเเรง ภาครัฐใช้ LINE API โต 482%

ประเทศไทย มีการเติบโตในเศรษฐกิจดิจิทัลเป็นอย่างมาก ในปี 2564 โดยมียอดผู้ใช้ LINE ทั้งสิ้น 50 ล้านราย เพิ่มจากสิ้นปี 2563 ที่มียอดผู้ใช้ 47 ล้านราย

ดัชนีชี้วัดของการใช้งานบริการดิจิทัลผ่าน LINE API เติบโตขึ้นถึง 47% จาก 4.6 หมื่นล้านการดำเนินการในปี 2563 สู่ 6.9 หมื่นล้านการดำเนินการในปี 2564

โดยธุรกิจกลุ่มสถาบันการเงินยังคงเป็นผู้นำในการใช้งาน ‘LINE API’ มากที่สุด

ส่วนกลุ่มธุรกิจสินค้าหรู ‘Luxury’ ถือเป็นธุรกิจกลุ่มใหม่ที่มีการบริโภคภายในประเทศสูงขึ้นเป็นอย่างมาก จากมูลค่าเงินลงทุนที่เติบโตอย่างก้าวกระโดดบน LINE for Business ถึง 200% ในช่วงปี 2562-2564

ที่น่าสนใจ คือ กลุ่มภาครัฐและบริการสาธารณะ กลายเป็นกลุ่มที่เติบโตทางด้านดิจิทัลมากที่สุดในปี 2564 ด้วยยอดการทำรายการดิจิทัลผ่าน LINE API เติบโตถึง 482% เมื่อเทียบกับปี 2563

ตามมาด้วย กลุ่มธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ท่องเที่ยว และค้าปลีก ที่มียอดการเติบโตของการใช้งานผ่าน LINE API มากกว่า 100%

พัฒนาโซลูชันจัดการข้อมูล ‘อย่างง่าย’ จับธุรกิจกลาง-เล็ก

สำหรับกลยุทธ์ของ LINE ในปี 2565 จะมุ่งเป็นแพลตฟอร์มหลักสำหรับธุรกิจในการปรับตัวสู่ดิจิทัล เพิ่มประสิทธิภาพลดต้นทุนและสร้างมูลค่าเพิ่มให้กลุ่มธุรกิจไทยให้เเข่งขันในได้ในระดับสากล

นอกจากนี้ จะมีการเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องข้อมูล หรือ DATA ที่จะเข้ามามีบทบาทอย่างมากในการพัฒนาธุรกิจให้เติบโต

ที่ผ่านมา LINE มีโซลูชันจัดการข้อมูลให้แบรนด์ธุรกิจขนาดใหญ่ภายใต้ชื่อ ‘MyCustome’ โซลูชันในการบริหารจัดการข้อมูลที่ทำให้แบรนด์สามารถเก็บข้อมูลโดยได้รับการอนุญาตจากลูกค้าโดยตรง (1st party data consent)

ทั้งจากภายในแพลตฟอร์ม LINE หรือนำข้อมูลภายในของแบรนด์ หรือที่ได้จากช่องทางอื่นมารวมไว้ในที่เดียวกัน เพื่อเป็นประโยชน์ในการเข้าถึงและวิเคราะห์ข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ และนำไปใช้งานได้ทั้งในและนอกแพลตฟอร์ม LINE

เเละในปีนี้ LINE พัฒนาโซลูชันใหม่ล่าสุด ‘Business Manager’ ช่วยบริหารจัดการข้อมูลอย่างง่าย ตอบโจทย์ธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็กที่ไม่ได้ต้องการบริหารงานข้อมูลที่ซับซ้อน โดยจะเน้นไปที่การบริหารจัดการข้อมูลที่เกิดขึ้นโดยตรงบนแพลตฟอร์ม LINE ระหว่าง LINE Official Account และ LINE Ads Platform เพื่อให้แบรนด์สามารถนำมาวิเคราะห์ นำเสนอสินค้าบริการที่โดนใจลูกค้า

ด้านการสร้างความน่าเชื่อถือให้กับเเบรนด์ นอกจาก บัญชีรับรอง (Verified Account) เเล้ว ในปีนี้จะมีโปรแกรม BLUE BADGE ให้ความรู้ จัดอันดับ และให้รางวัลแก่แบรนด์ที่ส่งมอบประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้า ทั้งในแง่ของสินค้า บริการ เเละการออกแบบผลิตภัณฑ์ร้านค้า

เดินหน้าลุย NFT for Business

ในปี 2022-2023 นี้ LINE เตรียมความพร้อมเพื่อเดินหน้าเข้าสู่ธุรกิจโลกใหม่ ผ่านการพัฒนาโซลูชันสำหรับธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับ NFT (Non-fungible Token)

โดย LINE ตั้งเป้าที่จะเป็นแพลตฟอร์มที่เป็นโครงสร้างพื้นฐานให้กับองค์กรธุรกิจไทย ที่จะเดินหน้าสู่การทำการตลาดด้วยสินทรัพย์ดิจิทัล ทั้งในด้าน การจัดหา creator ให้กับแบรนด์ และเป็นศูนย์กลางองค์ความรู้ในการใช้งาน NFT เพื่อธุรกิจ (NFT for Business) ด้วยการร่วมมือกับ LINE Consumer Business ที่เพิ่งประกาศทิศทางในการดำเนินธุรกิจในอุตสาหกรรม NFT อย่างเต็มรูปแบบ

โดย LINE เตรียมจะผลักดันให้เหล่าครีเอเตอร์ซึ่งปัจจุบันมีกว่า 1 ล้านราย สร้างรายได้เพิ่ม ผ่านการสร้างสรรค์ commercial arts ในรูปแบบต่าง ๆ อาทิ Licensing IP Business หรือการขายสินค้า (Merchandising) โดยที่ผ่านมา มีครีเอเตอร์ชาวไทยมากกว่า 28 รายที่กลายเป็นผู้เล่นธุรกิจ IP ผ่านการเป็นพันธมิตรทางธุรกิจ ซึ่งช่วยสร้างมูลค่าให้กับแบรนด์ต่าง ๆ เช่น Uniqlo และ AIS สำหรับปีนี้ LINE ก็มีแผนจะจะเปิดตัว Line Valley สำหรับการขายสินค้าให้กับเหล่าครีเอเตอร์ด้วย

พร้อมออกโปรแกรมพัฒนาครีเอเตอร์ใหม่ จัดตั้ง LINE Creators Academy สร้างความรู้ที่เกี่ยวข้องกับ NFT ตั้งแต่ระดับพื้นฐานจนถึงระดับสูงสำหรับครีเอเตอร์ที่สนใจ ซึ่งปัจจุบัน LINE ประเทศไทย ได้เป็นพันธมิตรกับตลาด NFT (NFT Marketplace) ชั้นนำ อาทิ EAST NFT, Bitkub NFT, Coral by KASIKORN X และ Zixel by Zipmex  NFT

เมื่อวันพุธที่ 23 มี..ที่ผ่านมา  LINE ประเทศญี่ปุ่น ได้ประกาศเเผนเตรียมเปิดตัว “LINE NFT” ในวันที่ 13 เม.ย.ที่จะถึงนี้ โดยจะเปิดให้ซื้อขาย NFT ได้ครบจบในแอปพลิเคชันเดียว ซึ่งจะมีการจัดแสดงผลงาน NFTs มากกว่า 100 รูปแบบ พร้อมเปิดให้ชมผลงาน NFT limited edition ของบริษัทบันเทิงญี่ปุ่นยักษ์ใหญ่อย่าง Yoshimoto Kogyo ซึ่ง ณ ตอนนี้จะเปิดให้บริการ “LINE NFT” แค่ในประเทศญี่ปุ่นเท่านั้น

ทั้งนี้ ข้อมูลจาก NFT Nonfungible.com ระบุว่า ในปี 2021 ที่ผ่านมา มียอดขาย NFT ทั่วโลกถึง 1.7 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ เติบโตถึง 21,000% จากปี 2020 ที่มียอดรวมเเค่ 82 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

]]> 1379204 ยอดประมูล ‘งานศิลปะ’ ปี 2021 โต 60% ทำสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์จาก ‘NFT’ และตลาดเอเชีย https://positioningmag.com/1377998 Thu, 17 Mar 2022 09:09:08 +0000 https://positioningmag.com/?p=1377998 การประมูลงานศิลปะในปี 2021 ประกอบด้วยภาพจิตรกรรม ประติมากรรม ภาพวาด ภาพถ่าย ภาพพิมพ์ วีดิทัศน์ ศิลปะการจัดวาง งานพรมผนัง และ NFT ทำสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์ด้วยยอดขาย 1.71 หมื่นล้านดอลลาร์ โดยปัจจัยที่สร้างการเติบโตดังกล่าวมาจากตลาดเอเชียที่เริ่มฟื้นตัวจากภาวะตกต่ำของ COVID-19 รวมไปถึงการมาของ NFT

มูลค่าตลาดงานศิลปะเติบโตกว่า +60% เมื่อเทียบกับปี 2020 ซึ่งเป็นปีที่ยอดขายงานศิลปะได้รับผลกระทบจากการระบาดใหญ่ของ COVID-19 ในช่วงแรก และถือว่าเติบโตได้ +28% เมื่อเทียบกับปี 2019 ที่ยังไม่มีการระบาด โดย ประเทศจีน ได้กลายเป็นตลาดงานศิลปะที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีมูลค่า 5.95 พันล้านดอลลาร์หรือ 35% ของยอดขายทั้งหมด

ส่วน สหรัฐฯ อยู่อันดับ 2 มีส่วนแบ่ง 34% แต่ตลาดมีความหลากหลายมากกว่าจีน และผลงานถูกขายได้ในราคาเฉลี่ยที่ต่ำกว่า ขณะที่ เกาหลีใต้ เติบโตอย่างรวดเร็วโดยติด Top 10 ด้วยมูลค่า 237 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นจาก 58 ล้านดอลลาร์ในช่วงก่อนการระบาดหรือ เติบโตขึ้น 4 เท่า

“สามประเทศแรกที่มีมูลค่าการซื้อขายสูงสุดในตลาดงานศิลปะโลก มีสัดส่วน 80% ของมูลค่าการประมูลงานศิลปะทั่วโลก

อย่างไรก็ตาม จากการ Brexit หรือการถอนตัวออกจากยุโรปของ สหราชอาณาจักร ได้ส่งผลให้มูลค่าการซื้อขายจากการประมูลลดลง -10% เมื่อเทียบกับปี 2018 โดยมีมูลค่ารวม 1.99 พันล้านดอลลาร์ และนับเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์สำหรับ ฝรั่งเศส ที่มีมูลค่าการประมูลทั้งปีเกิน 1 พันล้านดอลลาร์ ได้กลายเป็นผู้เล่นหลักในตลาดงานศิลปะระดับโลกด้วย

ทั้งนี้ การเติบโตของตลาดศิลปะในปีที่ผ่านมาได้รับแรงหนุนจากการประมูลผลงานชื่อดังมากมาย อาทิ ผลงาน Botticelli มูลค่า 45 ล้านดอลลาร์ และผลงาน Frida Kahlo มูลค่า 34.9 ล้านดอลลาร์ นอกจากนี้ยังมีการขายผลงาน NFT ของ Beeple ในราคา 69 ล้านดอลลาร์ ซึ่งถือเป็นมูลค่าสูงสุดอันดับ 3 ของโลก สำหรับผลงานของศิลปินที่ขายได้ขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ และเมื่อนับเฉพาะผลงาน NFT ที่มีการประมูลรวมแล้วกว่า 300 ครั้ง มีมูลค่ารวม 232 ล้านดอลลาร์

สำหรับผลงานของศิลปินที่มียอดขายสูงสุด ได้แก่ Gerhard Richter และ Banksy โดยผลงานศิลปะของ Banksy จำนวน 1,186 ชิ้น ถูกขายไปในปี 2021 มีมูลค่ารวม 206 ล้านดอลลาร์ ขณะที่ ศิลปะร่วมสมัย ที่นับผลงานหลังปี 1945 ก็มีส่วนแบ่งการขายเพิ่มขึ้น โดยคิดเป็น 20% ของตลาด เพิ่มขึ้นจาก 3% ในปี 2000

“การมาของ COVID-19 ได้เร่งให้ตลาดศิลปะกลายเป็นดิจิทัล โดย 87% ของที่จัดการประมูล 6,300 แห่ง ที่บริษัทติดตามอยู่มีสำนักงานหลังบ้านที่เกี่ยวข้องกับการขายออนไลน์” Thierry Ehrmann ประธานบริษัท Artprice กล่าว

Source

]]>
1377998