ธุรกิจเครื่องสำอาง – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Wed, 10 Jul 2024 04:01:52 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 “Beautrium x Bonchon” คอลแลปข้ามขั้ว ส่งลิปทินต์ “ซอสไก่เกาหลี” จับกระแส “K-Beauty” https://positioningmag.com/1481965 Tue, 09 Jul 2024 07:53:36 +0000 https://positioningmag.com/?p=1481965 “Beautrium x Bonchon” จับมือข้ามขั้วอุตสาหกรรมสร้างผลิตภัณฑ์คอลแลป “Korean Spicy Chicken Tint Oil” ทำการตลาดเรียกเสียงฮือฮาด้วยผลิตภัณฑ์แหวกแนวที่จะเป็นของแถมแบบ Limited Edition ให้กับลูกค้าร้านบิวเทรี่ยม

ตัวผลิตภัณฑ์เป็นลิปสติกแบบเหลวที่ใช้แรงบันดาลใจจาก “ซอสไก่เกาหลี” ของบอนชอน ออกมาเป็น “ลิปทินท์” สีแดงขุ่นเหมือนซอส ทาแล้วทิ้งสเตนบนปากเหมือนเพิ่งรับประทานไก่บอนชอน (Bonchon) แต่ให้กลิ่นหอมหวานเหมือนลิปสติกปกติ พร้อมด้วยสารบำรุงริมฝีปาก

Korean Spicy Chicken Tint Oil เป็นผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีวางจำหน่าย แต่จะมอบให้กับลูกค้าร้านบิวเทรี่ยมที่ช้อปในสาขา Siam Square Flagship Store ครบ 999 บาท (มีจำนวนจำกัด) เท่านั้น

Beautrium x Bonchon
Korean Spicy Chicken Tint Oil จะมาในกล่องแพ็กเกจไก่ทอดของจริงของบอนชอน!

“อติโรจน์ โรจน์รัตนวลี” ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการตลาด บริษัท บิวเทรี่ยม จำกัด เปิดเบื้องหลังการจับมือคอลแลประหว่างวงการ “อาหาร” กับ “บิวตี้” ครั้งนี้ เกิดจากแคมเปญการตลาดของบิวเทรี่ยมเองที่มีแคมเปญใหญ่แห่งปี “Beautrium K-Beauty Fest” พุ่งเป้าตลาดเครื่องสำอางและความงามแบบเกาหลี นำแบรนด์เครื่องสำอางเกาหลีจัดโปรโมชันมากมายในร้าน

ทำให้บริษัทต้องการจะสร้างแรงกระเพื่อมเพิ่มขึ้นในกลุ่ม K-Beauty จึงใช้กลยุทธ์การตลาด “คอลแลป” สินค้าซึ่งกำลังเป็นที่นิยมและผู้บริโภคให้ความสนใจสูง โดยเลือกอุตสาหกรรมอาหารเพื่อความแปลกแหวกแนว จึงออกมาเป็นผลิตภัณฑ์ลิปที่ได้แรงบันดาลใจจากอาหาร

ส่วนสาเหตุที่เลือกผนึกกำลังกับ “บอนชอน” เพราะมองว่าเป็นแบรนด์ร้านอาหารเกาหลีที่อยู่มานานในประเทศไทย มีฐานลูกค้าใกล้เคียงกันคือเป็นกลุ่มคนรุ่นใหม่ และบอนชอนใช้สีแดงเป็นสีหลักเหมือนบิวเทรี่ยม ทำให้ภาพลักษณ์แบรนด์ไปด้วยกันได้

อติโรจน์กล่าวด้วยว่า กระแส K-Beauty ยังคงเป็นที่นิยมในไทย เฉพาะยอดขายของบิวเทรี่ยมนั้นเมื่อปี 2566 สินค้าบิวตี้ของเกาหลีทำยอดขายเติบโตถึง 200% จากปีก่อนหน้า และคาดว่าปี 2567 น่าจะโตต่อเนื่องอีก 150% เพราะทางร้านมีการจัดแคมเปญการตลาดและมีการนำเข้าแบรนด์เครื่องสำอางเกาหลีใหม่ๆ เข้ามาอีกจำนวนมาก

ตลาดเครื่องสำอางนำเข้าในไทยนั้น “เครื่องสำอางเกาหลี” ถือเป็นเครื่องสำอางจากต่างประเทศอันดับ 3 ที่มีการนำเข้า โดยข้อมูลจากสำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ระบุว่า เมื่อปี 2566 ตลาดเครื่องสำอาง สบู่ และสกินแคร์ 5 อันดับแรกที่ประเทศไทยนำเข้ามามูลค่าสูงสุด ได้แก่ 1.ฝรั่งเศส (สัดส่วน 18.6%) 2.จีน (สัดส่วน 16.1%) 3.เกาหลีใต้ (สัดส่วน 12.1%) 4.สหรัฐอเมริกา (สัดส่วน 9.4%) และ 5.อินโดนีเซีย (สัดส่วน 8.7%)

]]>
1481965
เส้นทางกลับมาทำกำไรของ “บิวตี้ คอมมูนิตี้” รื้อกลยุทธ์ธุรกิจ-เปลี่ยนเพื่อสู้ในตลาด “เครื่องสำอาง” สุดเดือด https://positioningmag.com/1481699 Sun, 07 Jul 2024 08:32:27 +0000 https://positioningmag.com/?p=1481699 “บิวตี้ คอมมูนิตี้” เป็นหนึ่งในบริษัทที่ถูกพายุโควิด-19 ซัดกระหน่ำอย่างหนักจนผลประกอบการขาดทุนต่อเนื่องมา 4 ปี และต้องกลับมา “รื้อ” กลยุทธ์การทำธุรกิจใหม่หลายด้านให้ทันความเปลี่ยนแปลงในตลาด “เครื่องสำอาง” พร้อมกลับมาสู้เพื่อสร้างกำไรอีกครั้ง

“ก่อนหน้านี้เรามีร้าน Beauty Buffet ตามห้างฯ มากกว่า 300 สาขา พอโควิด-19 มาห้างฯ เขาก็ต้องปิด เราก็ต้องปิดด้วย และหน้าร้านรีเทลของเราเป็นช่องทางขายหลัก การปิดร้านจึงทำให้สต็อกเราบวมหนัก สะเทือนมาก” พิศาล ธาราพัฒน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บิวตี้ คอมมูนิตี้ จำกัด (มหาชน) หรือ BEAUTY กล่าว

นอกจากถูกปิดช่องทางขายแล้ว อีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้สถานการณ์โควิด-19 โหดร้ายกับบิวตี้ คอมมูนิตี้ เกิดจากพื้นฐานเดิมก่อนโควิด-19 แบรนด์หันไปเจาะตลาด “นักท่องเที่ยวจีน” จนลูกค้ากลุ่มนี้เคยเป็นแหล่งรายได้ถึง 40-50% ของยอดขายภายในประเทศ

เมื่อเกิดโรคระบาดและการปิดประเทศ รายได้ส่วนนี้จึงตกฮวบไปโดยปริยาย สะท้อนในผลประกอบการจากปี 2562 บริษัทเคยมีรายได้ 2,021 ล้านบาท กำไรสุทธิ 233 ล้านบาท มาถึงปี 2563 รายได้ร่วงเหลือ 787 ล้านบาท ขาดทุนสุทธิ -105 ล้านบาท และยังขาดทุนต่อเนื่องมาจนถึงปี 2566 แต่ลดน้อยลงเรื่อยๆ จนปีก่อนเหลือรายได้ 441 ล้านบาท ผลขาดทุนสุทธิ -46 ล้านบาท

บิวตี้ คอมมูนิตี้
พิศาล ธาราพัฒน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บิวตี้ คอมมูนิตี้ จำกัด (มหาชน) หรือ BEAUTY

“พิศาล” ซึ่งเป็นซีอีโอคนใหม่เข้ามารับตำแหน่งเมื่อเดือนตุลาคม 2566 บอกว่า บิวตี้ คอมมูนิตี้ดูเงียบหายไปจากตลาดมาตั้งแต่โควิด-19 ด้วยสภาวะที่เรื้อรังมาจากการปิดห้างฯ ทำให้บริษัทต้องปิดสาขาหน้าร้านจากเดิม 300 กว่าสาขา ปัจจุบันเหลือ 48 สาขา และสินค้าค้างสต็อกจำนวนมากทำให้บริษัทต้องเร่งขายสต็อกออกไปก่อน การออกสินค้าใหม่จึงน้อยมากในช่วงที่ผ่านมา

อย่างไรก็ตาม ปี 2567 นี้จะเป็นปีแรกที่ “บิวตี้ คอมมูนิตี้” ขอกลับมาผงาดในตลาด “เครื่องสำอาง” โดยซีอีโอพิศาลพร้อมทีมงานด้านการตลาดและโปรดักส์เข้ามาเริ่ม “รื้อ” กลยุทธ์การทำธุรกิจใหม่ตั้งแต่ปีก่อนซึ่งจะเปลี่ยนพื้นฐานวิธีทำตลาดของบิวตี้ คอมมูนิตี้หลายด้าน

 

3 กลยุทธ์ใหม่ “บิวตี้ คอมมูนิตี้”

พิศาลฉายภาพ 3 กลยุทธ์หลักที่จะปรับ บิวตี้ คอมมูนิตี้ ได้แก่

  1. Business Performance – ปรับการทำธุรกิจ เช่น ออกสินค้าใหม่, ทำการตลาดโดยเน้นที่ตัวสินค้า, รีโนเวตหน้าร้านรีเทลให้ลุคทันสมัยขึ้น, เน้นช่องทางขายอื่นนอกจากหน้าร้านมากขึ้น
  2. Cost Efficiency – ปรับปรุงการควบคุมต้นทุน เช่น เพิ่มกำไรขั้นต้นจาก 50% เป็น 52%, สินค้าออกใหม่ต้องมีมาร์จิ้นไม่ต่ำกว่า 70%, ลดค่าโลจิสติกส์สินค้าจาก 4% เหลือ 4.46%
  3. People Management – เพิ่มจำนวนพนักงานจาก 200 คน เป็น 233 คน
บิวตี้ คอมมูนิตี้
หน้าร้าน Beauty Buffet แบบใหม่ ปรับให้ทันสมัย มินิมอลมากขึ้น โดยปีนี้มีการรีโนเวตสาขาเดิมเป็นรูปแบบใหม่ไปแล้ว 4 สาขา

 

มุ่งเป้าวัยรุ่นไทย “Gen Z”– ทุ่มงบการตลาดเท่าตัว

เจาะลึกโจทย์ของบิวตี้ คอมมูนิตี้ที่เป็น ‘pain point’ สำคัญ พิศาลมองว่าจุดหลักคือการวาง “กลุ่มเป้าหมาย” และ “งบการตลาด”

บิวตี้ คอมมูนิตี้มีกลุ่มเป้าหมายที่เน้นกลุ่ม “วัยรุ่น” มาตั้งแต่ก่อตั้งบริษัท แต่เมื่อบริษัทตั้งมานาน 24 ปี กลุ่มลูกค้าดั้งเดิมของร้านก็เติบโตเป็นวัยผู้ใหญ่ไปหมดแล้ว ขณะที่วัยรุ่นในยุคนี้คือคนเจนใหม่ “Gen Z” มีพฤติกรรมและความชอบที่แตกต่างจากวัยรุ่นยุคก่อน หากบริษัทจะยังทำสินค้าจับกลุ่มวัยรุ่นก็ต้องเปลี่ยนทั้งลักษณะสินค้าและการตลาดใหม่หมด

การสื่อสารเน้น Gen Z ไทยมากขึ้น

พิศาลมองว่า ในมุมพฤติกรรมผู้บริโภค Gen Z กับตลาดเครื่องสำอางยุคนี้เรียกว่า “ลอยัลตี้ต่อแบรนด์เป็นศูนย์” ผู้บริโภคพร้อมที่จะเปลี่ยนแบรนด์ตามเทรนด์ สื่อที่ได้รับ ความสะดวกในการซื้อสินค้า หรือราคา/โปรโมชันได้เสมอ นั่นทำให้แบรนด์ใหม่ๆ สามารถเข้ามาชิงตลาดได้ง่ายเพราะผู้บริโภคชอบลองของใหม่

การทำตลาดเครื่องสำอางยุคนี้จึงต้องทุ่มทุนกับ “งบการตลาด” มากกว่าเดิม โดยบิวตี้ คอมมูนิตี้จะเพิ่มงบการตลาดจาก 3% ของยอดขายรวม เพิ่มเท่าตัวเป็น 6% ของยอดขายรวม

 

พรีเซนเตอร์ “เบอร์ใหญ่” ประกบสินค้ารายตัว

งบที่เพิ่มขึ้นจะมีการใช้พรีเซนเตอร์ที่ “เบอร์ใหญ่” มากกว่าเดิม เช่น เมื่อไตรมาส 2 บริษัทประเดิมเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ครีมกันแดด ‘Beauty Buffet Invisible Sunscreen UV Protection SPF 50 PA++++’ ประกบคู่กับพรีเซนเตอร์ขวัญใจวัยรุ่น “กลัฟ-คณาวุฒิ ไตรพิพัฒนพงษ์” ซึ่งช่วยให้ภาพลักษณ์แบรนด์ทันสมัยขึ้น

ส่วนในไตรมาส 3 นี้บริษัทจะเปิดตัวพรีเซนเตอร์คนใหม่เป็น ‘นักร้องหญิงชื่อดัง’ ประกบเข้ากับสินค้าซีรีส์ใหม่ของบริษัท คือ ‘Beauty Buffet Carissa Series’ สกินแคร์สูตรใหม่สกัดจากมะม่วงหาวมะนาวโห่ที่เพิ่งเริ่มออกวางจำหน่าย

กลัฟ-คณาวุฒิ ไตรพิพัฒนพงษ์ พรีเซนเตอร์เจาะตลาดวัยรุ่น

นอกจากใช้ดารา/นักร้องเบอร์ใหญ่ขึ้นและตรงเป้าหมาย Gen Z มากขึ้น บริษัทจะทุ่มงบไปกับกลุ่ม KOL ทุกระดับตั้งแต่ Mega-Influencer จนถึง Nano-Influencer และเน้นไปที่ KOL บนแพลตฟอร์ม TikTok เป็นหลัก เพราะเป็นโซเชียลมีเดียที่ Gen Z ไทยนิยมที่สุด

ทั้งหมดนี้จะต่างจากเดิมที่ร้าน Beauty Buffet มักจะใช้งบการตลาดไม่มากจนไม่ได้ผล แบบที่พิศาลเรียกว่า ‘เหมือนน้ำหยดเดียวหยดลงทะเล’ และเปลี่ยนมาใช้พรีเซนเตอร์ปั้นสินค้าให้เป็น ‘Hero Product’ แบบรายตัว

 

ส่ง “ครีมซอง” ลงตลาดเซเว่นฯ

ด้านการปรับ “ช่องทางขาย” จะให้น้ำหนักกับการขายในประเทศเพิ่มขึ้น และกระจายช่องทางไปที่ “Modern Trade” และ “General Trade” มากกว่าเดิม

ปัจจุบัน บิวตี้ คอมมูนิตี้ มีสัดส่วนการขายแบ่งเป็น ส่งออก 33% และขายในประเทศ 67% เฉพาะการขายในประเทศแบ่งสัดส่วนตามช่องทางการขาย คือ

  • 47% รีเทลหน้าร้าน Beauty Buffet
  • 9% อีคอมเมิร์ซ
  • 8% Modern Trade เช่น บิ๊กซี โลตัส ท็อปส์ วัตสัน ซี.เจ.เอ็กซ์เพรส
  • 1% General Trade (ตัวแทนจำหน่ายเข้าร้านค้าปลีกในต่างจังหวัด)

ด้วยพฤติกรรมผู้บริโภคปัจจุบันชอบที่จะเดินเลือกซื้อสินค้าในร้านที่เป็น ‘Multi-Brand Store’ มีหลายแบรนด์ให้เลือก หรือซื้อบนออนไลน์มากกว่า ทำให้บิวตี้ คอมมูนิตี้จะเน้นขยายช่องทางขายใน Modern Trade มากขึ้นเป็น 10-15% และ General Trade เพิ่มเป็น 3%

บิวตี้ คอมมูนิตี้
“ครีมซอง” เซรั่มในซีรีส์ Carissa ลงตลาดเซเว่น อีเลฟเว่น

เริ่มต้นจากปีนี้เป็นครั้งแรกที่บิวตี้ คอมมูนิตี้เริ่มผลิตสินค้าแบบ “ครีมซอง” ลงขายในเซเว่น อีเลฟเว่น 13,000 สาขาทั่วประเทศ ใช้สินค้าเซรั่มในซีรีส์ใหม่ ‘Beauty Buffet Carissa Hydra Glow Serum’ เป็นตัวชูโรงในการบุกตลาดครีมซองเซเว่นฯ และหลังจากนี้คาดว่าจะมีสินค้ากลุ่มครีมซองออกมาอย่างต่อเนื่อง

สรุปภาพรวมปีนี้ บิวตี้ คอมมูนิตี้ จะกลับสู่ตลาดเต็มตัว เตรียมออกสินค้าใหม่ 30 Items / 46 SKUs วางเป้าให้สินค้าใหม่สร้างยอดขายคิดเป็น 19% ของยอดขายรวม

ขณะที่เป้าหมายรายได้ปี 2567 พิศาลกล่าวว่าบริษัทตั้งเป้ารายได้เติบโต 60% จากปีก่อน ส่วนการ เทิร์นอะราวด์กลับมาทำกำไรยังไม่คอนเฟิร์มแต่ หวังว่า จะทำสำเร็จ โดยไตรมาสแรกของปีนี้บริษัททำรายได้ได้แล้ว 119 ล้านบาท เติบโต 25% จากช่วงเดียวกันปีก่อน ขณะที่ผลขาดทุนสุทธิลดลงเหลือ -1.77 ล้านบาท เห็นสัญญาณที่ดีขึ้นในการกลับมาของ บิวตี้ คอมมูนิตี้

]]>
1481699
“มิสทิน” เปิดหน้าสื่อสารกับชาว Gen Z ตอกย้ำความ “มั่นหน้า” เพราะทุกคนสวยในแบบของตัวเอง https://positioningmag.com/1360468 Tue, 09 Nov 2021 04:00:28 +0000 https://positioningmag.com/?p=1360468

มิสทิน แบรนด์เครื่องสำอางขวัญใจสาวไทย เดินหน้าปรับกลยุทธ์ในการสื่อสารกับกลุ่ม Gen Z มากขึ้น เปิดแคมเปญใหญ่แห่งปี I’M PERFECTLY ME “ฉันมั่นหน้า” ตอกย้ำถึงความมั่นใจในการสวยในแบบฉบับของตัวเอง ไม่ต้องสวยแบบพิมพ์นิยม พร้อมเดินหน้าก้าวสู่แบรนด์เครื่องสำอางระดับโลกในอนาคต


เปิดตำนานเครื่องสำอางสาวเซเลบ

ต้องบอกว่าสาวไทยในวัยที่เริ่มรักสวยรักงามขึ้นแล้วนั้น ต้องรู้จักแบรนด์ MISTINE (มิสทิน) อย่างแน่นอน เป็นอีกหนึ่งแบรนด์เครื่องสำอางสัญชาติไทยที่ประสบความสำเร็จ เป็นแบรนด์ต้นๆ ที่บุกเบิกตลาดเครื่องสำอางในไทย จนกลายเป็นที่รู้จัก และเป็นขวัญใจของสาวไทยทุกช่วงวัยไปในที่สุด

ในปีนี้มิสทินมีอายุ 32 ปีแล้ว เทียบกับคนก็อยู่ในวัยสาวเต็มตัว ในยุคแรกที่มิสทินเริ่มทำตลาดนั้น ตอนนั้นสินค้ากลุ่มเครื่องสำอาง เป็นสินค้าราคาแพง หาซื้อได้ยาก และส่วนใหญ่จะมีการนำเข้ามาจากต่างประเทศ มิสทินเองต้องการให้คนไทยทุกคนเข้าถึงเครื่องสำอางได้ง่าย ด้วยช่องทางการหาซื้อที่ง่าย และราคาที่เหมาะสม

มิสทินจึงถูกสร้างขึ้นมาด้วยการค้าขายแบบธุรกิจขายตรง และใช้วิธีการสื่อสารผ่านโฆษณาทีวีเพื่อสร้างการรับรู้ในฐานะเครื่องสำอางคนไทยเจ้าแรกในตลาดที่ทุกคนเข้าถึงสินค้าได้ง่ายในทุกระดับ จนถูกเรียกว่าเป็นเครื่องสำอางของสาวโรงงาน ซึ่งในตอนนั้นทีมงานภูมิใจมาก เพราะเป็นการบ่งบอกว่าแบรนด์สินค้าเราเป็นที่ยอมรับของผู้หญิงส่วนใหญ่ของประเทศ

ในยุดถัดมาที่เริ่มมีแบรนด์สินค้าเครื่องสำอางมากขึ้น การแข่งขันในตลาดก็ดุเดือดมากขึ้น มีทั้งแบรนด์ไทย และแบรนด์ต่างประเทศเข้ามาตีตลาด ธุรกิจเครื่องสำอางจึงกลายเป็นสินค้า Fashion Lifestyle ไปโดยปริยาย

มิสทินจึงปรับการสื่อสาร เพราะอยากให้สาวๆ รู้สึกว่าการใช้มิสทินเป็นการเลือกเครื่องสำอางของผู้หญิงที่สวยเก่ง และฉลาดในการการเลือกใช้สินค้า จึงเลือกวิธีการสื่อสารแบรนด์ผ่านความสวย และเก่งของดาราชั้นนำของประเทศ ซึ่งเป็นดาราตัวแม่ของวงการทั้งสิ้น ได้แก่ อั้ม พัชราภา, ชมพู่ อารยา, ญาญ่า อุรัสยา, แพนเค้ก เขมนิจ, พลอย เฌอมาลย์, ใบเฟิร์น พิมชนก, มิ้นต์ ชาลิดา, ปู ไปรยา, มีน พีชญา, คิมเบอร์รี่ และเบลล่า ราณี ไม่ว่าใครที่กำลังโด่งดัง หรือเป็นกระแสในตอนนั้น มิสทินก็พร้อมที่จะคว้ามาอยู่ในครอบครัวเดียวกันได้เสมอ

ซึ่งก็พบว่ากลยุทธ์นี้ได้ผลมากเลยทีเดียว จากการสำรวจตลาดพบว่ามิสทินได้รับการยอมรับมากขึ้นกว่าในยุคเริ่มต้น โดยเฉพาะผู้หญิงในกลุ่มคนเมือง และมิสทินมาพร้อมกับภาพจำของแบรนด์เครื่องสำอางที่มีตัวแทนเป็นดาราชั้นนำของเมืองไทยเพื่อบ่งบอกถึงรสนิยม และภาพลักษณ์ผู้หญิงของมิสทินนั่นเอง


เดินหน้าสื่อสารกับชาว Gen Z

จากกลยุทธ์ในการดึงดาราตัวแม่ของวงการมาเป็นพรีเซ็นเตอร์ สามารถสร้างการรับรู้ได้มากก็จริง แต่เมื่อยุคสมัยมีการเปลี่ยนไป กลุ่มคนรุ่นใหม่ๆ เริ่มมีบทบาทมากขึ้นในปัจจุบัน แถมยังเป็นผู้มีอิทธิพลหลักในการจับจ่ายซื้อสินค้ามากขึ้นด้วย ทำให้มิสทินต้องปรับกลยุทธ์การสื่อสารครั้งใหญ่ โดยพุ่งเป้าไปที่กลุ่ม Gen Z คนรุ่นใหม่มากขึ้น

จุดเริ่มต้นในการปรับกลยุทธ์ในครั้งนี้ มาจากเกือบ 2 ปีที่แล้ว จะมีการทำ Brand Health Check อยู่ตลอด หนึ่งในหัวข้อของครั้งนั้นเป็นการทำผลสำรวจแบบโฟกัสกรุ้ปกับกลุ่ม Gen Z ว่าคนกลุ่มนี้มองมิสทินอย่างไร โดยข้อสรุปแล้วทุกคนรู้จักมิสทินโดยจดจำภาพของแบรนด์ผ่านความสวยของดาราชั้นนำของประเทศ โดยเฉพาะถ้าถามว่าใครเป็นพรีเซ็นเตอร์ของมิสทิน ก็จะได้รับคำตอบว่า “อั้ม พัชราภา” อยู่เสมอ

แต่ก็พบว่ากลุ่มคน Gen Z ส่วนใหญ่จะไม่ใช้สินค้ามิสทิน ซึ่งถือว่าเป็นความท้ายทายใหม่ของแบรนด์ที่อยากจะเข้าใจ Gen Z มากขึ้น

ทำให้ก้าวย่างใหม่ของมิสทินนั้น ต้องทำความเข้าในการเปลี่ยนแปลงของผู้บริโภคมากขึ้น การที่โลกดิจิทัลเข้ามามีบทบาทสำคัญ จากโจทย์นี้ทางมิสทินได้เก็บข้อมูลทำความเข้าใจ Gen Z และหาทีมงานที่จะมาร่วมสร้างการเปลี่ยนแปลง จนเข้าใจนิยามความสวยของ Gen Z ว่าหมายถึงความสวยที่แต่ละคนมีความต่างที่ไม่จำเป็นต้องเหมือนกัน ซึ่งต่างจากค่านิยมความสวยเดิมๆ

มิสทินได้ทำงานร่วมกับเอเยนซี่ Dentsu One และ Youngster ในการที่จะปรับกลยุทธ์ และการสื่อสารให้เข้ากับ Gen Z โดยเริ่มจากการเข้าใจคนกลุ่มนี้ หัวใจสำคัญของคนกลุ่มนี้คือ ความเป็นปัจเจก มีความเป็นตัวของตัวเองสูงมาก เต็มเปี่ยมไปด้วยพลัง และความเชื่อมั่น แตกต่างกับคนกลุ่มอื่นอย่างมาก

นิยามความสวยของคนกลุ่มนี้ไม่เหมือนคนเจนอื่นโดย Beauty Standard แบบเดิมนั้นสำหรับคนยุคหนึ่งมองว่าความสวยของผู้หญิงนั้นต้องเป็นแบบอุดมคตินิยม ที่ผู้หญิงจะต้องมีความสวยที่เป็นความสวยสมบูรณ์แบบเหมือนที่เราเห็นจากทีวี มิสทินจึงดึงดาราชั้นนำมาเป็นพรีเซ้นเตอร์ เพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้สาวๆ แต่ Beauty Standard ของคน Gen Z นั้น เปลี่ยนเป็นปัจเจกนิยมที่แต่ละคนสวยในแบบของตัวเอง รักในทุกส่วนของใบหน้า ในขณะที่เคารพในสิ่งที่คนอื่นเป็น


I’M PERFECTLY ME ฉันมั่นหน้าสวยแบบตัวเอง!

จากมุมมองนี้เอง ทำให้มิสทินได้นิยามความเชื่อในเรื่องความสวยออกมาเป็นคอนเซ็ปต์ใหม่ของแบรนด์ว่า I’M PERFECTLY ME และสะท้อนความเชื่อนั้นผ่านแคมเปญ “ฉันมั่นหน้า” เป็นความสวยในแบบของตัวเอง มั่นใจในแบบของตัวเอง โดยที่ไม่สนคำพูดของคนอื่น

มิสทินเลือกหยิบวลีคำว่า “มั่นหน้า” มาใช้ ซึ่งคำนี้มักจะเคยได้ยินกันบ่อยๆ ในกลุ่มวัยรุ่น “มั่นหน้าจังเลยเนอะ” ส่วนใหญ่จะเป็นคำที่รู้สึกในแง่ลบ เหมือนเป็นคำนินทาให้ร้ายคนอื่นเสียมากกว่า แต่ในทางกลับกันถ้าเรามองกระจก และพูดว่า “ฉันมั่นหน้า” กับตัวเองมันกลับทำให้เรารู้สึกมีพลังบวกมากขึ้น สร้างความมั่นใจให้กับตัวเองได้อย่างดี

มิสทินจึงเปิดแคมเปญ พร้อมกับคลิปวิดีโอ “ฉันมั่นหน้า” I’M PERFECTLY ME ภายในวิดีโอมีเนื้อหาประมาณว่า มีสาวๆ ที่มีความหลากหลากในรูปร่างหน้าตา ทั้งปากใหญ่, คิ้วบาง, ตาชั้นเดียว และโหนกแก้มใหญ่ อาจจะเป็นปัญหาใหญ่ของสาวๆ หลายคน บางคนบอกให้ไปเสริม ไปทำให้ดีขึ้นตามแบบฉบับพิมพ์นิยม แต่สาวๆ กลุ่มนี้กลับมองมั่นใจในหน้าของตัวเอง มั่นใจในความสวยแบบนี้ของตัวเองด้วยซ้ำ

แคมเปญนี้เป็นเหมือนการที่มิสทินได้แสดงจุดยืนของคำว่า I’M PERFECTLY ME สนับสนุนให้คนรุ่นใหม่มีความมั่นใจ รักและภูมิใจในใบหน้าของตนเอง เพราะความสวยนั้นเราเป็นคนตัดสิน ไม่ใช่สังคม ยากให้ทุกคนได้ลองมองตัวเองในกระจกแล้วพูดกับตัวเองดูว่า “ฉันมั่นหน้า”

ไม่เพียงแค่แคมเปญฉันมั่นหน้าที่ทำการสื่อสารแล้ว มิสทินทำการปรับภาพลักษณ์ใหม่ทั้งหมดทั้งในส่วนของช่องทางการขายที่ทำการปรับปรุง Mistine Beauty Shop ให้ดูทันสมัย และเข้ากับกลุ่มวัยรุ่นยังรวมถึงการออกสินค้าใหม่ที่ถูกพัฒนาจากนักการตลาด Gen Z เพื่อให้เข้าใจความต้องการที่แท้จริง


สยายปีกสู่ Global Cosmetics Brand

ถึงแม้ว่ามิสทินจะเป็นแบรนด์เป็นเครื่องสำอางมีจุดเริ่มต้นจากประเทศไทย แต่ปัจจุบันมีการทำตลาดอยู่ในหลายประเทศ ตอนนี้มีสำนักงานที่ประเทศพม่า, ลาว, กัมพูชา และจีน โดยเฉพาะในตลาดประเทศจีน มิสทินมีสำนักงานถึง 3 แห่ง พร้อมทีมงานที่เป็นคนรุ่นใหม่กว่า 200 คน ที่กำลังลุยตลาดจีนอยู่

ในการทำคอนเซ็ปต์ของแบรนด์ใหม่ในครั้งนี้ จึงคิดแค่ภายในประเทศไม่ได้ ได้มีการแต่งตั้งบริษัท BETC ซึ่งเป็นเอเยนซี่ชั้นนำจากฝรั่งเศสเข้ามาช่วยทำในเรื่องภาพลักษณ์ของแบรนด์ในตลาดภาพรวมของมิสทินทั้งในประเทศ และต่างประเทศ จากนั้นทีมงานการตลาดในแต่ละประเทศจะนำไปปรับให้เข้ากับผู้บริโภคในแต่ละประเทศ

อย่างที่ประเทศจีนการสื่อสารจะเป็นการทำโดยใช้ KOL เป็นคนนำตลาด และด้วยความเป็นแบรนด์ไทยจึงใช้การผสมผสานระหว่าง KOL และดาราดังของจีนกับดาราชั้นนำของไทย เช่น ไมค์ พิรัชต์, ใบเฟิร์น พิมชนก, กลัฟ, เตนิว และออฟกัน เป็นต้น

แน่นอนว่ามิสทินไม่หยุดแค่การเป็นแบรนด์เครื่องสำอางชั้นนำในไทยเพียงย่างเดียว แต่จากนี้ไปอีก 5 ปีมิสทินตั้งเป้าที่จะเป็นแบรนด์เครื่องสำอางที่ได้ชื่อว่าเป็นแบรนด์ไทยที่ได้รับการยอมรับในตลาดโลก ด้วยวิธีการทำการตลาดร่วมกับประเทศจีน และเตรียมที่จะเปิดตัวก้าวสำคัญของมิสทินในฐานะเครื่องสำอางของคนไทยภายใต้คอนเซ็ปต์ใหม่นี้ที่งานแสดงสินค้าเครื่องสำอางที่ใหญ่ที่สุดของโลกปี 2022 กับงาน COSMOPROF WORLDWIDE BOLOGNA เพื่อให้มิสทินขยายตัวเข้าไปในตลาดโลกอย่างเต็มที่ โดยภาพความสำเร็จคือ การเป็น Global Cosmetics Brand

“ฉันมั่นหน้า” ในวันนี้เป็นเพียงจุดเริ่มต้นของเส้นทางใหม่ที่มิสทินจะสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมายใหม่ๆ โดยเฉพาะกลุ่ม Gen Z อีกทั้งเพื่อเป็นการเดินทางสู่เส้นทางที่ท้าทายของการแข่งขันในตลาดโลก ด้วยการเป็นมิสทินมั่นหน้าผ่านแคมเปญ “ฉันมั่นหน้า”


]]>
1360468
มองตลาดบิวตี้ไทย ผ่านมุม Yves Rocher รีเเบรนด์ใหม่รอบ 60 ปี สู่ “สวยรักษ์โลก” ยุคดิจิทัล https://positioningmag.com/1300040 Wed, 07 Oct 2020 11:09:24 +0000 https://positioningmag.com/?p=1300040 “ตลาดความงาม” ในไทยยัง “เหนื่อยหนัก” จากเดิมเป็นตลาดที่เเข็งเเกร่งเเห่งหนึ่งในโลกเเละเอเชีย มูลค่าตลาดรวมของธุรกิจความงามและเครื่องสำอางในไทยอยู่ที่ 7.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี มีการเติบโตต่อเนื่องราว 7-8% เเต่ว่าปีนี้กลับได้รับผลกระทบมากที่สุดในรอบทศวรรษ จากการเเพร่ระบาดของ COVID-19

วันนี้ Positioning ฉายภาพตลาดบิวตี้เมืองไทย ผ่านมุมมองของ Yves Rocher (อีฟ โรเช่) เเบรนด์อันดับ 1 จากฝรั่งเศสที่อยู่ยาวนานกว่า 60 ปี เข้ามาตีตลาดไทยกว่า 23 ปี เเล้ว เเละกำลังมีการเคลื่อนไหวเเบบยกเครื่องใหม่ ด้วยการ “รีแบรนดิ้งและทรานส์ฟอร์ม ครั้งใหญ่ คว้าโอกาสเทรนด์ “สวยรักษ์โลก” ให้คนไทยได้รู้จักความเป็น
เเบรนด์วีเเกน 100% ไปพร้อมๆ กับการขยายฐานลูกค้าไปสู่ “คนรุ่นใหม่” ผ่านเเพลตฟอร์มดิจิทัล

ตลาดความงามไทย ปีนี้ “ไม่โต” 

Yves Rocher เป็นเเบรนด์ที่ทำตลาดทั้งระดับเเมสเเละเฉพาะกลุ่ม มีสาขาทั้งเเบบเคาน์เตอร์เเละสเเตนด์อโลน มีไลน์สินค้าทั้งกลุ่มสกินเเคร์, กลุ่ม Hair Hygiene ดูเเลเส้นผม, เครื่องสำอาง (เมคอัพ) เเละน้ำหอม ซึ่งการที่มีสาขากว่า 120 เเห่งในไทยนั้น ก็ได้รับผลกระทบหนัก เมื่อต้องปิดชั่วคราวในช่วงล็อกดาวน์ 

วิลาสินี ภาณุรัตน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายการตลาด อีฟ โรเช่ (ประเทศไทย) เล่าว่า ในช่วงเดือนมีนาคม-พฤษภาคมที่ผ่านมา กลุ่มสินค้าที่ “ติดลบ” มากที่สุดคือ เครื่องสำอาง ที่ยอดขายลดลงไปถึง 40% เเละในตลาดโลกก็ติดลบ 30% จากปกติที่กลุ่มเมคอัพจะโตทุกปีราว 9-10% ส่วน น้ำหอม ยอดขายลดลง 10% เพราะลูกค้ามองว่าเป็นสินค้าฟุ่มเฟือยในช่วงที่ไม่ได้ออกจากบ้าน

“เคาน์เตอร์เเบรนด์ ก็ได้รับผลกระทบเหมือนลักชัวรีเเบรนด์ เพราะพึ่งพาลูกค้าหลักเป็นนักท่องเที่ยว ของเราบางสาขาที่อิงลูกค้าต่างชาติอย่าง เซ็นทรัลเวิลด์เเละไอคอนสยาม ก็จะโดนผลกระทบเยอะ”

เมื่อก่อนคนซื้อลิปสติกตามอารมณ์ เเต่ตอนนี้คิดเยอะขึ้น ลูกค้าถามตัวเองมากขึ้นว่า จำเป็นต้องใช้หรือไม่ กลายเป็นซื้อตามเหตุผลมากขึ้น

ส่วนตลาดที่เติบโตขึ้นเเบบไม่คาดคิดเลยคือ กลุ่มสินค้า Hair Hygiene เพราะที่ผ่านมาอยู่ในจุด “อิ่มตัว” ไปเเล้ว บางปีโตเเค่ 1-2% หรือติดลบด้วยซ้ำไป เเต่พอมี COVID-19 เข้ามา สินค้ากลุ่มนี้กลับเป็นสิ่งที่ลูกค้ามองว่าจำเป็นเพราะต้องการดูเเลรักษาความสะอาดร่างกายมากขึ้น โดยตลาดรวมของ Hair Hygiene โตขึ้นมากถึง 9-10%

หลังจากที่ Yves Rocher เริ่มบุกตลาดดูเเลเส้นผมมาตั้งเเต่ปีที่เเล้ว บวกกับอานิสงส์โรคระบาด ก็ถือว่าเป็นกลุ่มสินค้าที่ “โตเร็วที่สุด” ของเเบรนด์ประมาณ 54%

ตอนนี้ถ้าพูดถึงสินค้าของ Yves Rocher ส่วนที่เป็นกลุ่มเเฮร์ ตอนนี้ดังที่สุดเเล้ว รวมถึงสินค้าประเภทครีม
อาบน้ำเเละการทำความสะอาด ก็มีเเนวโน้มการเติบโตที่ดีมาก ดีมานด์เยอะ เเละมองว่าจะเป็นไปเรื่อยๆ เเม้จะผ่านวิกฤต COVID-19 ไปเเล้วก็ตาม

ส่วน “สกินเเคร์” ซึ่งเป็นสินค้าหลักของ Yves Rocher ได้รับผลกระทบพอสมควร ติดลบไป 30% เเต่ไม่ได้ลดลงด้วยเหตุผลเดียวกับเมคอัพเเละน้ำหอม เนื่องจากลดลงเพราะผู้คนไม่ได้ออกไปช้อปปิ้ง “มีดีมานด์อยู่เเต่ไม่มีโอกาสซื้อ” เเม้จะมีช่องทางขายออนไลน์ เเต่ยอดขายก็ไม่เท่าในร้านที่ลูกค้าอาจจะหยิบซื้อสินค้าอื่นๆ เพิ่มโดยไม่ได้ตั้งใจ

กลุ่มสกินเเคร์ ติดลบในช่วงล็อกดาวน์ เเต่เป็นกลุ่มที่กลับมาฟื้นตัวเร็วที่สุด คาดว่าสิ้นปีนี้น่าจะกลับมาเป็นบวก เพราะพอเปิดสาขาได้เเล้ว คนก็เเห่มาซื้อเหมือนเดิม ยิ่งเมื่อคนต้องใส่หน้ากากกันอยู่ การซื้อเมคอัพก็ยังน้อยลง เเต่มาให้ความสำคัญกับการบำรุงผิวมากขึ้น

ผู้บริหาร Yves Rocher คาดว่าทั้งปี 2020 ตลาดบิวตี้ไทยโดยรวมน่าจะติดลบหรือทรงตัว ดีที่สุดคือบวก 1-2% กลุ่มเครื่องสำอางยังไม่น่าจะกลับมา เพราะเมื่อกลุ่มลิปสติกร่วง กลุ่มอื่นก็ร่วง คนจะเน้นไปที่การเเต่งตามากกว่า เเต่เป็นสัดส่วนที่น้อยกว่ากลุ่มอื่น โดยทุกบริษัทความงามตอนนี้ กำลังหานวัตกรรมเครื่องสำอางใหม่ๆ ที่เข้ากับ New Normal ทาเเล้วไม่เลอะหน้ากาก เเต่ตอนนี้ยังไม่มีวางขาย จึงมองว่าตลาดความงามทั้งปีนี้น่าจะติดลบ

ส่วนปีหน้ายังมองด้วยความหวัง เเม้จะยังคาดเดายากเเต่ตลาดนี้อย่างไรผู้หญิงก็ไม่หยุดสวย ต้องกลับมาเเน่นอน เเต่รูปแบบอาจจะเปลี่ยนแปลงไป

เมื่อคนไทยเดินห้างลดลง หลังคลายล็อกดาวน์มาราว 3 เดือนกว่า พบว่า ทราฟฟิกของลูกค้าที่กลับมาช้อปปิ้งที่ห้างสรรพสินค้ามีเเค่ 50% ยังไม่รวมส่วนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่หายไป จึงเป็นจุดที่ฉุดให้ตลาดบิวตี้ยังฟื้นตัวยาก เพราะยังพึ่งพาตลาดออฟไลน์เยอะ เพราะบางสินค้าจุดขายมันอยู่ที่การได้ลองไม่ว่าออนไลน์จะโตขนาดไหน ณ ขณะนี้

“Yves Rocher จะเริ่มปรับตามพฤติกรรมลูกค้าที่เปลี่ยนไป เมื่อคนปรับจากซื้อโดยใช้อารมณ์ เป็นใช้เหตุผลมากขึ้น หน้าที่ของเเบรนด์ จึงกลายเป็นการหาเหตุผลให้ลูกค้าว่าทำไมต้องซื้อสิ่งนี้

โดยช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2020 นี้ Yves Rocher มีเเผนจะผลักดันกลุ่มที่เติบโตไวอย่างHair Hygiene” ให้มากยิ่งขึ้นไปอีก เเละจะมีผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ออกมา พร้อมโปรโมตเรื่องการดูเเลความสะอาดไม่ให้กระเเสหายไป เเละจะเน้นไปที่การบุกตลาดสกินเเคร์ ตามเเนวโน้มตลาดที่ฟื้นตัว

รักษ์โลก…ให้คนรู้ Yves Rocher ขอรีเเบรนด์ใหญ่ รอบ 60 ปี 

อีกเทรนด์ที่น่าสนใจคือ ตอนนี้ลูกค้าเริ่มใส่ใจว่าอะไรอยู่ในขวด มาจากไหน อะไรบ้าง ทำให้ต้องซื้อเเบรนด์ที่เชื่อใจได้ เป็นโอกาสของเเบรนด์ Yves Rocher ที่จะชูจุดเเข็งของเเบรนด์ที่มีความเป็นมากว่า 60 ปี เป็นแบรนด์ความงามอันดับ 1 จากฝรั่งเศสเเละมีชื่อเสียงในยุโรป มาเจาะใจตลาดคนไทยให้รู้จักกันมากขึ้น

เเม้ Yves Rocher จะเปิดในไทยมากว่า 23 ปีเเล้วเเต่ก็ยังไม่เเมสมากนัก ถึงคราวที่เเบรนด์จะรีแบรนดิ้งและทรานส์ฟอร์ม ครั้งใหญ่ ปรับตัว ปรับภาพลักษณ์ให้ทันสมัย ดึงดูดและสร้างการรับรู้ของคนรุ่นใหม่ยุคดิจิทัลมากขึ้น

เดิมที Yves Rocher มุ่งเน้นตลาดไปยังลูกค้า Loyalty ที่ใช้แบรนด์ต่อเนื่อง โดยกลุ่มนี้มีอยู่ประมาณ 300,000 คน อายุเฉลี่ยอยู่ที่ 39 ปี เเต่การรีเเบรนด์ครั้งนี้ จะขยายกลุ่มลูกค้าไปยังวัยทำงานรุ่นใหม่ ที่มีอายุเฉลี่ยที่ประมาณ 25-31 ปี ซึ่งมีเเนวโน้มมาใช้สินค้ามากขึ้น หลังเเบรนด์เริ่มบุกทำการตลาดออนไลน์อย่างจริงจัง

“Yves Rocher เป็นเเบรนด์วีเเกน 100% เป็นเรื่องราวของเเบรนด์ที่อยากให้คนรับรู้เเละเข้าถึงมากขึ้น ตอกย้ำจุดยืนแบรนด์รักษ์โลก โดยมีการปฏิรูปการออกแบบบรรจุภัณฑ์ตามแนวคิด Eco Design มานานหลายปีมาแล้ว ตอนนี้เราจึงผลิตขวดพลาสติกที่ใช้รีไซเคิลต่อได้ 100% ทำให้ลดการใช้พลาสติกไปได้ถึง 35 ตันต่อปี 

ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2020 เป็นต้นไป ขวดที่ผลิตออกมาจากโรงงานของ Yves Rocher จะเป็นพลาสติกรีไซเคิลที่สามารถนำไปรีไซเคิลต่อได้ 100% ซึ่งกำลังจะทยอยวางจำหน่ายที่หน้าร้านมากขึ้นเรื่อยๆ จนเต็มทุกชั้นในทุกไลน์ผลิตภัณฑ์ โดยที่ผ่านมา Yves Rocher ผลิตขวดพลาสติกมากถึง 135 ล้านขวดต่อปี

นอกจากนี้ การรีเเบรนด์ของ Yves Rocher จะครอบคลุมไปถึงการปรับ Mood & Tone ของผลิตภัณฑ์และภาพลักษณ์โฆษณาต่างๆ ให้มีสีสันสดใสขึ้น เเต่ยังคงเน้นความเป็นธรรมชาติ ป่าเเละมหาสมุทร ที่ได้แรงบันดาลใจจากบ้านเกิดของแบรนด์ ที่เมืองลา กาซิลี แคว้นบริตทานี ฝรั่งเศส เป็นการแสดงความหมายของ ธรรมชาติแบบโมเดิร์นขึ้น และมีความแอคทีฟ เพื่อสื่อถึงความเป็น “ Activistมากยิ่งขึ้น

“เราลดการใช้สารต่างๆ ในสูตรผลิตภัณฑ์ที่มีผลกระทบกับสิ่งแวดล้อม ลด Carbon Footprint จากโรงงานผลิตให้มากขึ้นทุกปี ที่ทำได้ก็เพราะ Yves Rocher ไม่มีตัวกลางในสายการผลิต เราปลูกเอง วิจัยเอง ผลิตเอง”

สำหรับเเคมเปญ ‘สวยโลกไม่เสีย’ จะมีการต่อยอดไปในปีต่อๆ ไป อย่าง การเปิดบริการ “รีฟิล” เติมสินค้าที่ร้านให้ใช้บรรจุภัณฑ์ให้ใช้ซ้ำได้ การใช้ Cardboard Box รุ่นใหม่ ที่เป็น Recycle Paper ซึ่งมาจาก Sustainability Forest รวมถึงป้ายต่างๆ ในร้านที่จะเอาพลาสติกออกทั้งหมด เป็นต้น

ลดสาขา มุ่งทำตลาดดิจิทัล 

ผู้บริหาร Yves Rocher ย้ำว่า การรีแบรนด์ครั้งนี้ ไม่ใช่แค่การเปลี่ยนโลโก้หรือเปลี่ยนแพ็กเกจจิ้ง แต่เป็นการเปลี่ยนทั้งแนวคิดและแนวทางการทำธุรกิจ เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของโลกในยุคดิจิทัล

โดยช่วงต้นปีมีการเปลี่ยน “ทีมงานใหม่” เเทบจะยกชุด เพื่อปรับรูปแบบขึ้นมาสื่อสารบนออนไลน์มากขึ้น ขยายทีมงาน โดยเฉพาะในสายงาน Digital Marketing ที่เป็น คนรุ่นใหม่เพิ่มขึ้นถึง 5 เท่า ตามกลยุทธ์บุกตลาดดิจิทัลจริงจัง

ทั้งนี้ การนำผลิตภัณฑ์ในพอร์ตของ Yves Rocher ทำตลาดชิงรุกในช่องทางขายใน E-Marketplace อย่าง Lazada (60%) Shopee (33%) และ Konvy (7%) ทำให้แบรนด์มีอัตราการเติบโตยอดขายในช่องทางออนไลน์สูงถึง 357%

เเผนต่อไปหลักๆ คือ Digitalized Omni-Channel เชื่อมโยงออฟไลน์-ออนไลน์ ที่ได้เริ่มทำมาตั้งแต่หลัง COVID-19 เช่น โปรแกรมที่กำลังจะเปิดตัวในเดือนพฤศจิกายนนี้ อย่างการขายด้วยรูปแบบโซเชียลเซลลิ่ง (Social Selling) ที่จะสามารถเพิ่มรายได้เสริมจากการแชร์ข้อมูลสินค้าไปบน Social Media Platform
ของสมาชิก

ขณะที่กลยุทธ์ด้านสาขานั้น ปัจจุบันมีหน้าร้านราว 120 สาขา แต่ในปีนี้จะปรับลดเหลือ 88 สาขา โดยเลือกปิดสาขาที่ทำเลไม่ตรงกับตำแหน่งทางการตลาดของแบรนด์ โดยบริษัทวางเป้ารายได้เติบโตคงที่เท่าปี 2019 อยู่ที่ประมาณ 900 ล้านบาท ซึ่งถือว่าน่าพอใจเเล้วในสถานการณ์นี้

“เราตั้งเป้าจะเพิ่มฐานลูกค้าใหม่ที่จะเข้ามาเป็นสมาชิกใหม่อีกราว 1 เเสนคน ก่อนสิ้นปี 2020 ด้วยกลยุทธ์ Omni-Channel และ CRM หวังว่าจะเพิ่มฐานลูกค้าในกลุ่มคนทำงานรุ่นใหม่ได้มากขึ้น ช่วยผลักดันฐานรายได้ เเละหวังว่ายอดขายเติบโตเท่าตัวได้ภายใน 3 ปี คาดว่ายอดขายปี 2021 จะโตขึ้น 7% โดยแบ่งเป็นตลาดออนไลน์ 40% ตลาดออฟไลน์ 60%” 

นอกจากนี้ แบรนด์ยังเตรียมทำการตลาดผ่าน “พรีเซ็นเตอร์ใหม่” เพิ่มอีกถึง 2 คนในเดือนธันวาคมนี้ เพื่อสร้างการรับรู้และความเข้าใจในแบรนด์ ทั้งในแง่ของการพรีเซนต์สินค้าและการทำกิจกรรมกับกลุ่มเป้าหมาย 

ผู้บริหาร Yves Rocher ปิดท้ายด้วยมองความท้าทายในตลาดไทยว่า หลักๆ เป็นเรื่องการสร้างการรับรู้เเละการทำให้รู้จักของเรื่องราวเเบรนด์ให้มากขึ้น ส่วนความสามารถในการเเข่งขันนั้นมองว่า “สู้ได้สบาย”

โดยการที่ผู้คนเริ่มหันมาใส่ใจความสะอาด สุขภาพเเละสิ่งเเวดล้อมมากขึ้น รวมถึงเทรนด์ผู้บริโภคที่ “ยอมจ่ายเพื่อเเบรนด์ที่เป็นมิตรกับโลก” ซึ่งจะอยู่ต่อไปในอนาคต นับเป็น “โอกาสทอง” ของ Yves Rocher ที่มีจุดเเข็งเป็นแบรนด์ความงามที่แสดงจุดยืนอย่างเป็นรูปธรรมในฐานะของแบรนด์รักษ์โลกมายาวนาน 60 ปี เเละมีราคาที่เข้าถึงได้อยู่เเล้ว ดังนั้นสิ่งที่ต้องทำต่อไปเรื่อยๆ คือ “ให้คนรู้จักความเป็น Yves Rocher มากขึ้น” นั่นเอง 

 

 

]]>
1300040