ประกันชีวิต – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Mon, 04 Mar 2024 03:20:31 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 คุยกับผู้บริหาร ‘กรุงเทพประกันชีวิต’ ในวันที่เน้นเจาะลูกค้ากลุ่มวัยรุ่น ใช้ KOL ในการทำการตลาด เพื่อเป็น Top Of Mind อีกครั้ง https://positioningmag.com/1464839 Sun, 03 Mar 2024 15:07:33 +0000 https://positioningmag.com/?p=1464839 คุยกับผู้บริหารหญิงของ ‘กรุงเทพประกันชีวิต’ โดยเธอจะมาเล่าถึงการเปลี่ยนแปลงของแบรนด์ประกันชีวิต ที่ในอดีตนั้นผู้คนจะจดจำว่าเป็นแบรนด์ ‘ผู้ใหญ่’ แต่ล่าสุดประกันชีวิตรายนี้ได้หันมาเน้นลูกค้ากลุ่มวัยรุ่นมากขึ้น และตั้งเป้าที่จะเป็น Top of Mind อีกครั้ง

สำหรับแบรนด์ ‘กรุงเทพประกันชีวิต’ หลายคนที่มีอายุมากกว่า 30 ปีขึ้นไปอาจได้ยินชื่อเสียงของบริษัทประกันชีวิตรายนี้มาบ้าง ซึ่งแบรนด์ดังกล่าวก่อตั้งในปี 1951 (หรือ พ.ศ. 2494) ซึ่งปัจจุบันวัยรุ่นหลายคนอาจไม่รู้จักแบรนด์นี้แล้ว หรืออาจลืมไปแล้วบ้าง

Positioning ได้พูดคุยกับ อรนาฎ นชะพงษ์ ผู้อำนวยการอาวุโส สายกลยุทธ์การตลาดและบริหารจัดการลูกค้า บริษัท กรุงเทพประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) จะมาเปิดเผยกลยุทธ์ของกรุงเทพประกันชีวิตหลังจากนี้ว่าอะไรคือจุดเปลี่ยนของแบรนด์ที่หันมาเจาะกลุ่มวัยรุ่น และกลยุทธ์การตลาดในการเจาะกลุ่มลูกค้าวัยรุ่น ซึ่งบริษัทตั้งเป้าที่จะเป็นหนึ่งในแบรนด์ที่ลูกค้านึกถึง

จุดเปลี่ยนสำคัญของบริษัท

อรนาฎ ได้เล่าถึงการที่ต้องเจาะกลุ่มวัยรุ่น เนื่องจากการทำสำรวจของบริษัทพบว่าในมุมมองของคนทั่วไปนั้นแบรนด์ กรุงเทพประกันชีวิต มีความมั่นคง แต่อาจมีเรื่องความเข้าถึงยาก ทำให้มีช่องว่างในการเข้าถึงยาก และแบรนด์นั้นยังดูไม่กันเองมากพอ

เธอยังได้เล่าว่าเมื่ออดีต บริษัทได้ทำเรื่องแบรนด์ดิ้ง แต่เวลาผ่านไปอาจทำให้คนลืมแบรนด์ กรุงเทพประกันชีวิต หรือแม้แต่ลูกค้าที่เข้าธนาคารกรุงเทพเอง ได้เห็นแบรนด์บ้าง แต่ก็ไม่ได้นึกถึงแบรนด์มากนัก และการปรับตัวครั้งนี้เพื่อที่จะปิดช่องว่างที่ลูกค้ามองว่าแบรนด์เข้าถึงยากด้วย

นอกจากนี้ยังรวมถึงเสียงตอบรับจากช่องทางตัวแทนขาย ที่หาทีมงานเพิ่มเติม นั้นต้องการวัยรุ่นเพิ่มมากขึ้น เลยทำให้บริษัทเลยตัดสินใจที่จะปรับตัวเอง

Refresh แบรนด์ด้วย นาย ณภัทร

ผู้บริหารหญิงของกรุงเทพประกันชีวิต ได้เล่าว่าก่อนหน้าที่กรุงเทพประกันชีวิตได้เลือก ‘นาย’ ณภัทร เสียงสมบุญ มาเป็นแบรนด์แอมบาสเดอร์ในช่วงปี 2019 ซึ่งทำให้มุมมองของลูกค้ากับแบรนด์นั้นดีขึ้นอย่างมาก ขณะเดียวกันก็ยังทำให้แบรนด์กรุงเทพประกันชีวิตนั้นดูเด็กลงด้วย

เธอยังกล่าวว่าการเลือก ‘นาย’ ยังส่งผลทำให้แบรนด์เข้าถึงมากขึ้น และยังทำให้เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้กรุงเทพประกันชีวิตเจาะตลาดวัยรุ่นเพิ่มมากขึ้นด้วย

ไม่เพียงเท่านี้การเลือกนาย ณภัทร เองยังเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้กลุ่มธนาคารกรุงเทพได้เลือกเป็นแบรนด์แอมบาสเดอร์อีกด้วย

ทำไมถึงต้องเจาะกลุ่มวัยรุ่น

ผู้อำนวยการอาวุโสฯ ของ กรุงเทพประกันชีวิต ยังได้เล่าว่า การที่เจาะกลุ่มวัยรุ่นเนื่องจากมีมูลค่า (Lifetime value) ที่ยาวกว่า เมื่อเทียบกับวัยกลางคน นอกจากนี้หลังจากการเป็นวัยรุ่นมีการเปลี่ยนแปลงชีวิต เช่น การมีครอบครัว หรือแม้แต่การงานที่ดีขึ้น ย่อมทำให้ต้องการผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่ตอบโจทย์

ขณะเดียวกันการแพร่ระบาดของโควิดเองนั้นยังทำให้มุมมองทัศนคติของวัยรุ่นเปลี่ยนไปว่าประกันสุขภาพสำคัญกับชีวิตของเขามาก ขณะเดียวกันวัยรุ่นอายุ 25 ปีขึ้นมานั้นต้องการประกันบ้างแล้ว ซึ่งบริษัทมองว่าถ้าหากเจาะตลาดด้วยการเข้าถึงลูกค้ากลุ่มนี้ก่อน ก็สามารถที่จะอยู่ในใจลูกค้าด้วย

และยังมีเรื่องของการลดหย่อนภาษี เนื่องจากการซื้อประกันชีวิตหรือประกันสุขภาพ ซึ่งเป็นการกระจายความเสี่ยงด้วย

นาย ณภัทร แบรนด์แอมบาสเดอร์ของกรุงเทพประกันชีวิต / ภาพจากบริษัท

มองแบรนด์แข็งแกร่ง เจาะลูกค้าวัยรุ่นได้

อรนาฎ ยังกล่าวถึงการซื้อประกันชีวิต หรือแม้แต่ประกันสุขภาพ ปัจจัยที่ทำให้คนเลือกแบรนด์นั้นๆ คือความน่าเชื่อถือคือสิ่งสำคัญ แล้วก็สิ่งที่ได้มาคุ้มค่ากับเงินที่จ่ายไปไหม นอกจากนี้ยังรวมถึงบริการโดยเฉพาะอย่างยิ่งเวลาเคลมประกันนั้นทำได้สะดวก ง่าย หรือไม่

นอกจากนี้สิ่งที่สำคัญก็คือช่องทางตัวแทนขาย ถ้าหากหาคนไว้ใจได้แล้ว ก็ยากที่จะเปลี่ยน เนื่องจากการหาตัวแทนขายคนใหม่นั้นถือว่าเป็นความเสี่ยงไม่น้อยว่าจะไว้ใจได้หรือไม่

เธอยังกล่าวว่า แม้วัยรุ่นเองจะสามารถเปลี่ยนไปใช้แบรนด์สินค้าอื่นๆ ได้ง่าย แต่สำหรับประกันถ้าหากซื้อกรมธรรม์แล้วการเปลี่ยนประกันนั้นมีความยุ่งยาก โดยเฉพาะเรื่องของคำถามสุขภาพ เบี้ยประกัน ฯลฯ ทำให้ถ้าหากแบรนด์สามารถเจาะกลุ่มลูกค้าได้แล้ว ยากที่จะมีการเปลี่ยน

การตลาดนำโดย KOL เน้นเรื่องจริง

ผู้อำนวยการอาวุโสฯ ของ กรุงเทพประกันชีวิต ยังกล่าวว่า การทำการตลาดในการที่จะเจาะกลุ่มวัยรุ่นก็คือจะต้องเน้นที่เรื่องเกิดขึ้นจริง เนื่องจากวิธีการเข้าถึงหรือเสพสื่อของแต่ละวัยนั้นแตกต่างกัน อย่างวัยรุ่นเองส่วนใหญ่นั้นจะเป็นช่องทางออนไลน์

ทางบริษัทจะใช้ Key Opinion Leader หรือ KOL มาบอกเล่าถึงแบรนด์ผ่านช่องทางออนไลน์ ซึ่งทำให้แบรนด์สามารถเจาะเข้าถึงวัยรุ่นได้มากขึ้น

กรุงเทพประกันชีวิตยังมีการใช้ลูกค้าของบริษัทมาเล่าถึงสิ่งที่เกิดขึ้นจริง ซึ่งจะทำให้เกิดความเข้าใจ และสร้างความผูกพันธ์กับแบรนด์มากขึ้น และทำให้เกิด Impact แบบ Organic โดยเธอได้กล่าวว่าแคมเปญนี้น่าจะเปิดตัวได้ในช่วงเดือนมิถุนายน

เธอยังกล่าวว่าปัจจุบันวัยรุ่นเองได้ทำการบ้านในการหากรมธรรม์ที่เหมาะสมกับตัวเอง ซึ่งทำให้มีข้อเปรียบเทียบได้หลายอย่าง ซึ่งบริษัทเองก็ได้ออกผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมกับวัยรุ่นออกมาเพิ่มด้วย

ขณะที่ช่องทางผ่านตัวแทนจำหน่ายที่เป็นวัยรุ่นจะเน้นไปยังเรื่องจริง และใช้งานได้จริง ไม่ว่าจะเป็นการเลือกประกันชีวิตที่ดีควรจะเลือกคุณสมบัติอะไรบ้าง ฯลฯ ซึ่งแตกต่างกับการขายให้กับลูกค้าวัยอื่นๆ เนื่องจากการพูดคุยนั้นในวัยเดียวกันย่อมที่จะเข้าใจกันมากกว่า

นอกจากนี้ยังรวมถึงการนำ CRM เข้ามาดูแลลูกค้า รวมถึงทำสิทธิประโยชน์ให้ตอบโจทย์ลูกค้ามากขึ้นกว่าเดิม

ตั้งเป้าเป็น Top Of Mind 1 ใน 5

ปัจจุบันสัดส่วนลูกค้ากรุงเทพประกันชีวิต มากถึง 51% นั้นมีอายุมากกว่าหรือเท่ากับ 45 ปี ขณะที่วัยรุ่นต่ำกว่า 25 ปีลงมานั้นอยู่ที่ 19.5% เท่านั้น ทำให้หลังจากบริษัทปรับกลยุทธ์นั้นคาดหวังว่าลูกค้ากลุ่มวัยรุ่นจะมีสัดส่วนเพิ่มมากขึ้นมาเป็น 25% ให้ได้

โดยผู้อำนวยการอาวุโสฯ ของ กรุงเทพประกันชีวิต ตั้งเป้าว่ากรุงเทพประกันชีวิตจะเป็น 1 ใน 5 ของแบรนด์ประกันฯ ที่ลูกค้าจดจำได้ภายใน 5 ปีหลังจากนี้

]]>
1464839
“เอไอเอ อีสต์ เกตเวย์” อาคารสำนักงานที่เป็นมากกว่าที่ทำงาน https://positioningmag.com/1377127 Fri, 11 Mar 2022 10:30:38 +0000 https://positioningmag.com/?p=1377127

ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในช่วงกว่า 2 ปีที่ผ่านมาได้ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญต่อเศรษฐกิจของไทย รวมถึงตลาดอสังหาริมทรัพย์ ทั้งที่อยู่อาศัย โรงแรม และอาคารสำนักงาน ทำให้ผู้ประกอบการต้องปรับตัวและปรับแผนการลงทุนครั้งใหญ่ เพื่อรองรับกับความต้องการของกลุ่มผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป โดยเฉพาะตลาดอาคารสำนักงาน ที่เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านการใช้ประโยชน์ของพื้นที่สำนักงานให้ได้มากที่สุด หลังจากกลุ่มเจ้าของธุรกิจที่เช่าพื้นที่สำนักงานได้ปรับรูปแบบการทำงานให้เป็นแบบผสมผสานการทำงานในสำนักงานและจากสถานที่อื่น(ไฮบริด) มาใช้มากขึ้น เพื่อทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพ และควบคุมค่าใช้จ่ายได้

นางสาวรุ่งรัตน์ วีระภาคย์การุณ กรรมการผู้จัดการ ซีบีอาร์อี ประเทศไทย กล่าวว่า

“การเปลี่ยนแปลงด้านการใช้ประโยชน์พื้นที่สำนักงานในช่วงที่เกิดการแพร่ระบาดของโควิด-19 จะทำให้อาคารสำนักงานเก่าหลายแห่งไม่เหมาะสำหรับการเป็นสถานที่ทำงานยุคใหม่   ขณะที่จำนวนโครงการสำนักงานใหม่ๆ ทยอยสร้างเสร็จเข้าสู่ตลาดอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้อาคารสำนักงานเก่าหลายแห่งในกรุงเทพฯ ที่ยังไม่ได้รับการปรับปรุงหรือปรับโฉมใหม่จะกลายเป็นอาคารที่ล้าสมัย เพราะผู้เช่าพื้นที่สำนักงานจะย้ายหรือขยายพื้นที่สำนักงานไปยังอาคารที่มีคุณภาพสูงที่จะแล้วเสร็จในอนาคตอันใกล้นี้แทน เนื่องจากอาคารสำนักงานรุ่นใหม่มีพื้นที่ที่มีคุณภาพมากขึ้น    มีการจัดพื้นที่ทำงาน (Workplace Strategy) ให้สอดคล้องกับการทำงานในอนาคตรวมถึงมีการออกแบบให้เป็นอาคารที่มีความทันสมัยและได้มาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาลสิ่งแวดล้อม (ESG)”


ซัพพลายใหม่ ปริมาณการใช้พื้นที่สานักงาน และอัตราพื้นที่ว่างของตลาดอาคารสำนักงานในกรุงเทพฯ

ที่มา: แผนกวิจัย ซีบีอาร์อี

เอไอเอ อีสต์ เกตเวย์” (AIA East Gateway) เป็นหนึ่งในอาคารสำนักงานแห่งใหม่ที่กำหนดเปิดตัวในช่วงปลายปีนี้ พัฒนาโดยเอไอเอ ประเทศไทย ที่ประกอบธุรกิจหลักด้านประกันชีวิตรายใหญ่ของประเทศไทย แต่กลับประสบความสำเร็จในการเข้ามาลงทุนในตลาดอาคารสำนักงานในช่วงเวลาไม่กี่ปีที่ผ่านมา  ล่าสุดได้ทำการเปิด Sales Gallery อย่างเป็นทางการแล้วเพื่อให้ผู้ที่สนใจสามารถเข้ามาเยี่ยมชมโครงการได้แล้วตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป

นายโยฮัน ดีทอย ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการลงทุน เอไอเอ ประเทศไทย กล่าวว่า “เอไอเอ อีสต์ เกตเวย์ เป็นอาคารแห่งที่ 3 ของเอไอเอ ประเทศไทย ที่ยังคงเดินหน้าลงทุนด้านอสังหาริมทรัพย์อย่างต่อเนื่องภายใต้วิสัยทัศน์ของกลุ่มบริษัทเอไอเอ ที่ต้องการขยายฐานการลงทุนเพิ่มในธุรกิจอื่นๆ นอกเหนือไปจากธุรกิจประกันชีวิตที่เป็นธุรกิจหลัก ซึ่งในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา เอไอเอประสบความสำเร็จในการพัฒนาโครงการอาคารสำนักงานให้เช่าระดับพรีเมียมไปแล้ว 2 โครงการ คือ อาคารเอไอเอ แคปปิตอล เซ็นเตอร์  บนถนนรัชดาภิเษก และอาคารเอไอเอ สาทร ทาวเวอร์ ย่านสาทร ปัจจุบันทั้ง 2 อาคารมีอัตราการเช่าสูงถึง 90%

โดยตัวอาคาร “เอไอเอ อีสต์ เกตเวย์” สูง 33 ชั้น ถูกออกแบบให้เป็นอาคารมาตรฐานที่ใส่ใจผู้คนและสิ่งแวดล้อมที่ได้รับการยอมรับในระดับสากลตามเกณฑ์มาตรฐานของ LEED (Leadership in Energy and Environmental Design) และ WELL Building Standard ระดับโกลด์ ซึ่งสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของเอไอเอ “Healthier, Longer, Better Lives – เพื่อสุขภาพและชีวิตที่ดีขึ้น”

สำหรับพื้นที่ใช้สอยของอาคารเอไอเอ อีส เกตเวย์ขนาดใหญ่ถึง 70,000 ตารางเมตร แบ่งพื้นที่ใช้สอยออกเป็น 2ส่วนหลัก คือ พื้นที่ค้าปลีก 5 ชั้นขนาดเนื้อที่ประมาณ 10,000 ตารางเมตร พื้นที่ใช้สอยเริ่มต้นที่ 20 ตารางเมตร แบ่งเป็นพื้นที่รีเทลชั้น 1-3 มีทั้งร้านค้า ร้านกาแฟ และร้านสะดวกซื้อ พื้นที่ฟิตเนสแบบครบวงจร และสระว่ายน้ำตั้งอยู่บนชั้น 4 และพื้นที่ Co-Working Space บนชั้น 4-5 รองรับการทำงานหรือนัดพบปะของคนที่ทำงานในอาคารแห่งนี้

ส่วนพื้นที่สำนักงานให้เช่าทั้งหมดประมาณ 60,000 ตารางเมตร จะตั้งอยู่บนชั้น 6 – 33 ขนาดพื้นที่ใช้สอยเริ่มต้นที่ 85 ตางรางเมตร ไปจนถึงพื้นที่ขนาดใหญ่เต็มชั้น 2,270 ตางรางเมตร โดยคิดอัตราค่าเช่าเปิดตัวที่ 700 บาทต่อตารางเมตรต่อเดือน

โดยเอไอเอได้ดีไซน์ฟังก์ชั่นการใช้งานของพื้นที่ให้สามารถทำงานได้หลายรูปแบบ โดยเฉพาะพื้นที่ระหว่างชั้นสามารถติดตั้งบันไดภายในออฟฟิศได้เพื่อความสะดวกของผู้ใช้งาน เน้นความโปร่งโล่งด้วยความสูงตั้งแต่พื้นถึงเพดาน 3 เมตร ที่สำคัญไม่มีเสากั้นกลางพื้นที่เช่า ทำให้ใช้สอยพื้นที่ได้ทุกตารางเมตร

ครบครันด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกด้านสุขภาพที่มีให้มากกว่าอาคารสำนักงานทั่วไป เพื่อสนับสนุนให้ผู้เช่าได้มีสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดีระดับเวิลด์คลาส อาทิ AIA Vitality Zone ซึ่งเป็นพื้นที่สำหรับให้ผู้ใช้สอยภายในอาคารสามารถเข้ามาใช้ทำกิจกรรมเพื่อส่งเสริมสุขภาพได้

นอกจากนี้ยังมีสวนผักออร์แกนิก (Urban Farming) ฟิตเนสเซ็นเตอร์ครบวงจร Trail Network Rooftop Running Track สระว่ายน้ำระบบเกลือ และ Co-Working Area พร้อมความสะดวกสบายด้วยที่จอดรถมากกว่า 1,500 คัน

ส่วนพิกัดของอาคารเอไอเอ อีสต์ เกตเวย์ เอไอเอเลือกทำเลติดถนนใหญ่บางนา-ตราด กม.4.5 เป็นที่ตั้งโครงการ เพราะมองเห็นถึงศักยภาพในการพัฒนาและการเติบโตทางเศรษฐกิจของย่านบางนา-ตราด ทั้งในปัจจุบันและอนาคต เนื่องจากเป็นย่าน New CBD หรือศูนย์กลางธุรกิจแห่งใหม่ย่านกรุงเทพฯฝั่งตะวันออก

อีกทั้งยังมีความสะดวกในการเดินทางทั้งทางถนนและระบบขนส่งทางราง ที่มีทั้งรถไฟฟ้าบีทีเอสสายสีเขียว เส้นทางอ่อนนุช-แบริ่ง-สมุทรปราการ  และรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง ที่คาดว่าจะพร้อมเปิดให้บริการในปีหน้า โดยที่ตั้งโครงการอยู่ห่างจากรถไฟฟ้าสายสีเหลือง สถานีศรีเอี่ยมประมาณ 350 เมตรเท่านั้น ซึ่งเป็นจุดตัดระหว่างถนนบางนา-ตราดกับถนนศรีนครินทร์ และเป็นสถานีที่เชื่อมต่อกับอาคารจอดแล้วจร (Park and Ride) และศูนย์ซ่อมบำรุง (Depot)

หากสนใจเยี่ยมชมโครงการ หรือต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม สามารถติดต่อได้ที่ โทรศัพท์ 02-119-1500 วันจันทร์ – วันศุกร์ ตั้งแต่เวลา 08.30 – 17.00 น.

]]>
1377127
“ไทยประกันชีวิต” เตรียม IPO สยายปีกสู่การเป็น Life Solutions Provider เพื่อเป็นทุกคำตอบของประกันชีวิต https://positioningmag.com/1375778 Fri, 04 Mar 2022 10:00:47 +0000 https://positioningmag.com/?p=1375778

บิ๊กมูฟครั้งใหญ่ของบริษัท ไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)(“ไทยประกันชีวิต”) เตรียม IPO และนำหุ้นเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (“ตลาดหลักทรัพย์ฯ”)ด้วยวิสัยทัศน์ “มุ่งสู่การเป็นบริษัทประกันชีวิตแห่งความยั่งยืน” วางจุดยืนเป็นมากกว่าบริษัทประกันชีวิตโดยจะเป็นทุกคำตอบของการประกันชีวิต ไม่ว่าจะเป็นการประกันชีวิต ประกันสุขภาพ และการวางแผนทางการเงินส่วนบุคคล หรือLife Solutions Provider


เติบโตเคียงข้างคนไทยตลอด80ปี

ถ้าพูดถึงตลาดประกันชีวิต ประกันสุขภาพ แน่นอนว่าแบรนด์แรกๆ ที่นึกถึง ต้องมี “ไทยประกันชีวิต” อยู่ใน Top of Mind ของคนไทยอย่างแน่นอน ต้องบอกว่าไทยประกันชีวิตเป็นบริษัทประกันชีวิตซึ่งก่อตั้งโดยคนไทยที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย¹ อยู่เคียงข้างคนไทยมาตลอด 80 ปี และยังคงยึดมั่นที่จะดูแลคนไทยในทุกช่วงเวลา

o จากยุคบุกเบิก ไทยประกันชีวิตใช้กลยุทธ์ป่าล้อมเมือง เข้าถึงประชาชนในระดับเกษตรกรด้วยการนำเสนอผลิตภัณฑ์แบบชำระเบี้ยประกันภัยแบบรายเดือน พร้อมสร้างอาชีพให้กับคนไทยในต่างจังหวัด

o ต่อมาในยุคสร้างสรรค์ ไทยประกันชีวิตมุ่งสร้างแบรนด์ของคนไทยให้ได้รับความเชื่อมั่น และไว้วางใจ สร้างแรงบันดาลใจให้กับคนในสังคม พร้อมนำเสนอนวัตกรรมสินค้าและการบริการที่หลากหลาย

o มาจนถึงปัจจุบันยุคคิดต่าง ซึ่งไทยประกันชีวิตพร้อมก้าวสู่การเป็น Life Solutions Providerเป็นทุกคำตอบของการประกันชีวิต ประกันสุขภาพ และการวางแผนทางการเงินส่วนบุคคล

พร้อมฝ่าฟันมาทุกอุปสรรค เติบโตท่ามกลางวิกฤติสำคัญๆ ของประเทศ ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม ภัยธรรมชาติ หรือโรคระบาดด้วยวัฒนธรรมองค์กร ที่ปลูกฝังให้ทุกคนมีความเชื่อ และค่านิยมเดียวกันว่าไทยประกันชีวิตคือ บ้าน ไม่ใช่แค่องค์กร โดยไทยประกันชีวิตให้คุณค่ากับทุกคนอย่างเท่าเทียม ทั้งลูกค้า ผู้ถือหุ้น พนักงาน คู่ค้าหรือคนในสังคม ขณะเดียวกันก็นำความมีน้ำใจ มาผสมผสานให้เห็นคุณค่าของความรัก ความเอาใจใส่กัน สร้างจิตวิญญาณให้คนไทยประกันชีวิต เป็นองค์กรที่ เข้าใจ จริงใจ ไม่ทิ้งกัน

ตลอด 80ปีที่ผ่านมา ไทยประกันชีวิตได้ส่งต่อภาพลักษณ์ของความเป็น “คู่คิด เพื่อทุกชีวิต รู้รอบ รอบรู้ คนดี มุ่งมั่นทำดี และ มองไกลและทุ่มเท” มาโดยตลอด ทั้งยังให้ความสำคัญกับเรื่องของมนุษยนิยม โดยเชื่อมั่นในคุณค่าความเป็นคน สร้างคุณค่าสูงสุดให้ผู้ที่เกี่ยวข้อง เพราะเชื่อว่า คน คือกุญแจสำคัญของความสำเร็จ

และนับจากนี้ ไทยประกันชีวิตเตรียมมุ่งสู่การเป็นบริษัทประกันชีวิตแห่งความยั่งยืนสร้างความมั่นคงทางการเงินให้กับทุกชีวิต เพื่อมุ่งสู่การเป็นบริษัทประกันชีวิตชั้นนำในระดับสากลที่เป็นทุกคำตอบของการประกันชีวิตจากข้อมูลผลการสำรวจคุณภาพของแบรนด์ (Brand Health Check) ซึ่งจัดทำในเดือนพฤศจิกายน2563โดย Nielsen ซึ่งแบรนด์ไทยประกันชีวิต ได้รับการจัดอันดับให้อยู่ในอันดับที่ 2 ของอุตสาหกรรมประกันชีวิตในประเทศไทย เมื่อพิจารณาจากดัชนีชี้วัดคุณค่าของแบรนด์ (Brand Equity Index) ซึ่งเป็นดัชนีที่สะท้อนถึงภาพลักษณ์ของการเป็นบริษัทประกันชีวิตที่อยู่ในใจผู้บริโภค เมื่อพิจารณาจากความชื่นชอบของแบรนด์ และความเต็มใจที่จะจ่ายเงินเพื่อใช้บริการของแบรนด์

จุดเด่นที่สำคัญของไทยประกันชีวิตก็คือ การมีทีมผู้บริหารที่มีประสบการณ์ที่สั่งสมมาอย่างยาวนาน ทำให้เข้าใจพฤติกรรมผู้บริโภคอย่างแท้จริง คีย์แมนคนสำคัญหนีไม่พ้น “ไชย ไชยวรรณ” กรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหารซึ่งทุ่มเททำงานให้กับไทยประกันชีวิตมาเกือบ 40 ปีรวมไปถึงรองประธานเจ้าหน้าที่บริหารทั้ง 2 ท่าน คือ วรางค์ ไชยวรรณ วิญญู ไชยวรรณ และผู้จัดการใหญ่ คือ เคียน ฮิน ลิม ซึ่งทุกท่านล้วนมีความเชี่ยวชาญในธุรกิจ และอยู่กับไทยประกันชีวิตมาอย่างยาวนานมีบทบาทสำคัญในความสำเร็จของไทยประกันชีวิต ที่มีผลการดำเนินงานที่แข็งแกร่งตลอดมา พร้อมด้วยคณะผู้บริหารทั้งคนไทย และต่างชาติที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านในแต่ละสาขาการผสานทีมผู้บริหารทั้งรุ่นเก่าและรุ่นใหม่นำจุดแข็งที่แตกต่างของผู้บริหารในแต่ละ Generation มาเป็นประโยชน์ในการขับเคลื่อนให้ไทยประกันชีวิตบรรลุ Business Purpose ที่มุ่งสู่การเป็น Life Solutions Provider

นอกจากนี้ ไทยประกันชีวิต ยังได้รับการสนับสนุนจากพันธมิตรคือ Meiji Yasuda Life Insurance Company (“MY”) ในการเติบโตสู่ระดับนานาชาติโดย MYเป็นหนึ่งในบริษัทประกันชีวิตชั้นนำที่เก่าแก่และใหญ่ที่สุดในประเทศญี่ปุ่นที่มีบริษัทในเครือทั้งในสหรัฐอเมริกาสหราชอาณาจักร จีน อินโดนีเซีย โปแลนด์ และประเทศไทยโดยปัจจุบันMY เป็นผู้ถือหุ้นและถือหุ้นในไทยประกันชีวิตคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 15.0 ของหุ้นที่ออกและชำระแล้วของบริษัทฯ ก่อน IPO

ซึ่ง MY ได้แสดงความสนใจและความพร้อมที่จะสนับสนุนแผนการขยายธุรกิจในอนาคตของไทยประกันชีวิตไปยังประเทศเมียนมา กัมพูชา ลาว และช่วยเพิ่มโอกาสในการจัดจำหน่ายและการขยายตลาดกับองค์กรญี่ปุ่นในประเทศไทย(Japanese Worksite Marketing)รวมถึงช่วยต่อยอดจากประสบการณ์ของ MY ในการเปลี่ยนผ่านสู่การทำธุรกิจแบบ Digitalization ของไทยประกันชีวิต


ต้องเป็นทุกคำตอบของประกันชีวิต

ใครว่าบริษัทประกันชีวิตจะต้องมีผลิตภัณฑ์แค่เพียงประกันชีวิตอย่างเดียวเท่านั้น ไทยประกันชีวิตมีผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตที่ครบวงจร ซึ่งครอบคลุมถึงผลิตภัณฑ์ประเภทบุคคลและผลิตภัณฑ์ประเภทกลุ่ม โดยมีผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายทั้งด้านการคุ้มครองชีวิต คุ้มครองสุขภาพ การออม การลงทุน และการวางแผนมรดกและสามารถออกแบบตามความต้องการของลูกค้าเฉพาะบุคคลได้ และจะเห็นได้ว่าไทยประกันชีวิตมักเป็นผู้นำเสนอผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ออกสู่ตลาดเป็นรายแรกๆ อย่างสม่ำเสมอ

ปัจจุบันไทยประกันชีวิตมีกลุ่มผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตแบ่งได้เป็น 6 กลุ่ม ได้แก่

1. ประกันชีวิตประเภทสามัญ (Basic Ordinary Life Insurance) แบ่งออกเป็นแบบสะสมทรัพย์(Endowment) แบบตลอดชีพ (Whole Life) แบบชั่วระยะเวลา (Term Life) และแบบเงินได้ประจำหรือแบบบำนาญ (Annuity)

2. ประกันชีวิตประเภทควบการลงทุน (Investment-linked) แบ่งออกเป็นแบบยูนิเวอร์แซลไลฟ์ (Universal Life) และแบบยูนิต ลิงค์ (Unit-linked)

3. ประกันชีวิตประเภทอุตสาหกรรม (Industrial Life Insurance)

4. ประกันชีวิตประเภทกลุ่ม (Group Life Insurance) แบ่งออกเป็นแบบชำระเบี้ยประกันภัยครั้งเดียว (Single Premium Policy)และแบบชั่วระยะเวลาต่ออายุรายปี (Yearly Renewable Term Policy)

5. ประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคล (Personal Accident)

6. สัญญาเพิ่มเติม (Riders)ครอบคลุมถึงสัญญาเพิ่มเติมที่หลากหลาย เช่น สัญญาเพิ่มเติมประกันสุขภาพ (Health Rider) สัญญาเพิ่มเติมชดเชยรายได้ระหว่างเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล (Hospital Benefit Rider) และสัญญาเพิ่มเติมประกันอุบัติเหตุในกรณีที่เสียชีวิต / สูญเสียอวัยวะ / ทุพพลภาพถาวร (Accidental Death /Dismemberment / Total Permanent Disability Rider)สัญญาเพิ่มเติมประกันโรคร้ายแรง (Critical Illness Rider) และสัญญาเพิ่มเติมคุ้มครองผู้ชำระเบี้ยประกันภัย (Payer Benefit Rider)

ไทยประกันชีวิตมุ่งสู่การเป็น Life Solutions Provider ด้วยกลยุทธ์หลัก 3 ด้าน ได้แก่

  •  การขับเคลื่อนองค์กรสู่ Data Driven Company – ไทยประกันชีวิตปรับเปลี่ยนโครงสร้างองค์กรเพื่อเปลี่ยนสู่การเป็น Life Solutions Provider อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยการนำเสนอนวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อขับเคลื่อนองค์กรด้วยการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงกลยุทธ์เพื่อปรับปรุงกระบวนการปฏิบัติงานแบบครบวงจร (End-to-end) จากความได้เปรียบที่ไทยประกันชีวิตมี Big Data จากฐานลูกค้าโดยอ้างอิงจากจำนวนกรมธรรม์ที่มีผลบังคับใช้กว่า 4,500,000 กรมธรรม์²นำไปสู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการที่จะตอบสนองความต้องการของผู้เอาประกันแบบเฉพาะบุคคล (Personalization) ในทุกช่วงของชีวิต (Life Stage) ทุกจังหวะชีวิต (Life Event) และทุกการใช้ชีวิต (Lifestyle)
  •  การเติบโตอย่างยั่งยืนทั้งในประเทศและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ – ไทยประกันชีวิตมีกลยุทธ์ในการรักษาความเป็นผู้นำตลาดด้วยการพัฒนาเครือข่ายการจัดจำหน่ายที่หลากหลายและครอบคลุม ไม่ว่าจะเป็นช่องทางตัวแทนประกันชีวิตที่แข็งแกร่งกว่า 60,000 รายและเป็นบริษัทประกันชีวิตสัญชาติไทยเพียงแห่งเดียวที่ประสบความสำเร็จในการสร้างเครือข่ายตัวแทนประกันชีวิตที่ครอบคลุมทั่วประเทศ

ขณะเดียวกันไทยประกันชีวิตยังร่วมมือกับพันธมิตรที่แข็งแกร่งอย่าง ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารและองค์กรของรัฐ บริษัทลีสซิ่งและเช่าซื้อ และบริษัทสินเชื่อเพื่อผู้บริโภค ซึ่งทำให้ไทยประกันชีวิตมีความยืดหยุ่นทางธุรกิจในการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ผ่านช่องทางของพันธมิตรที่หลากหลาย และสามารถเข้าถึงลูกค้าได้ทุกกลุ่มเป้าหมาย

นอกจากนี้ยังมีการขายผลิตภัณฑ์ผ่านทางโทรศัพท์ (Telesales) และขยายสู่แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ (E-Commerce)

    •  การยกระดับประสบการณ์ของผู้เอาประกัน –ไทยประกันชีวิตมุ่งพัฒนาบริการที่มากกว่าการประกันชีวิต ใช้เทคโนโลยีเสริมสร้างความโดดเด่นในการให้บริการ โดยเป็นบริษัทประกันชีวิตเพียงแห่งเดียวที่ให้บริการไทยประกันชีวิตฮอตไลน์ ซึ่งเป็นการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยฉุกเฉินทางการแพทย์ทั่วโลกตลอด 24 ชั่วโมงโดยไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม การเพิ่มความสะดวกสบายให้กับผู้เอาประกันในการเข้าถึงข้อมูลกรมธรรม์ การตรวจสอบความคุ้มครองและสิทธิประโยชน์ การชำระค่าเบี้ยประกันภัย และการค้นหาชื่อคลินิกและโรงพยาบาลคู่สัญญา ตลอดจนฟังก์ชันอื่นๆ ผ่านแอปพลิเคชันไทยประกันชีวิต และการมอบสิทธิพิเศษด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านสุขภาพ การพักผ่อน การเดินทาง และบริการต่างๆ แก่ผู้เอาประกันผ่านไทยประกันชีวิต Privilege นอกจากนั้น ยังมีการนำเสนอการให้บริการที่ยกระดับประสบการณ์และความพึงพอใจของผู้เอาประกันอย่างต่อเนื่อง และในอนาคตไทยประกันชีวิตจะพัฒนาการจัดทำแพลตฟอร์มด้านไลฟ์สไตล์ที่เป็นประโยชน์ตามความสนใจของลูกค้า (Interest-based)

แบรนด์ประกันชีวิตสัญชาติไทยที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย

ไทยประกันชีวิตขึ้นชื่อว่าเป็นแบรนด์ประกันชีวิตสัญชาติไทยที่ก่อตั้งโดยคนไทยที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย เมื่อพิจารณาจากรายได้เบี้ยประกันภัยรับรวมสำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2563 และสำหรับรอบระยะเวลา6 เดือนสิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2564³ เป้าหมายสำคัญก็คือ การก้าวขึ้นเป็นบริษัทประกันชีวิตที่ยั่งยืนผ่านการนำเสนอผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตแบบครบวงจร เพื่อเป็นทุกคำตอบของการประกันชีวิต การประกันสุขภาพ และการวางแผนทางการเงินส่วนบุคคล หรือ Life Solutions Provider ในทุกช่วงชีวิต (Life Stage) ทุกจังหวะชีวิต (Life Event) และทุกการใช้ชีวิต (Lifestyle) ของลูกค้า

ด้วยบริการ และผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์คนไทย ทำให้ไทยประกันชีวิตครองส่วนแบ่งทางการตลาดสูงเป็นหนึ่งในสามของบริษัทประกันชีวิตชั้นนำในประเทศไทยด้วยรายได้เบี้ยประกันภัยรับรวมคิดเป็น 13.7% ของตลาดประกันชีวิต 4

อีกทั้งจุดแข็งสำคัญก็คือ ไทยประกันชีวิตมีเครือข่ายตัวแทนประกันชีวิตที่ครอบคลุมทั่วประเทศมากกว่า 60,000 ราย และจากข้อมูลของสมาคมประกันชีวิตไทย ณ เดือนมิถุนายน 2564 ตัวแทนประกันชีวิตของบริษัทฯ คิดเป็นจำนวนมากกว่า 25% ของจำนวนตัวแทนประกันชีวิตทั้งหมดในประเทศไทยแต่ไม่ใช่แค่มีจำนวนเยอะอย่างเดียวเท่านั้นตัวแทนประกันชีวิตของไทยประกันชีวิตพร้อมที่จะดูแลลูกค้าด้วยหัวใจ ด้วยการสร้างจิตวิญญาณแห่งการบริการ หรือ Heart Made เสมือนการดูแลคนในครอบครัว

ไทยประกันชีวิตมีความสามารถในการทำกำไรที่แข็งแกร่งและการสร้างมูลค่าให้กับผู้ถือหุ้นจากผลการดำเนินงานที่เติบโตอย่างยั่งยืนและสามารถทำกำไรได้ในทุกๆ วงจรธุรกิจอันเป็นผลมาจากความสามารถในการดำเนินงานที่แข็งแกร่ง กลยุทธ์การจัดการการลงทุนที่สามารถบรรลุผลตอบแทนที่ดีได้ในระยะยาว

โดยไทยประกันชีวิตสามารถรักษาประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจได้แม้ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 เนื่องจากมีการเตรียมแผนความต่อเนื่องทางธุรกิจควบคู่ไปกับการบริหารความเสี่ยงอย่างมีประสิทธิภาพภายใต้โครงสร้างการกำกับดูแลกิจการที่ดี


เตรียม IPO สยายปีกสู่การเป็น Life Solutions Provider เพื่อเป็นทุกคำตอบของประกันชีวิต

เรียกว่าเป็นการเคลื่อนไหวครั้งใหญ่ของไทยประกันชีวิตเลยก็ว่าได้ ด้วยการเตรียมตัวเพื่อนำหุ้นเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ในชื่อย่อว่า TLI โดยอยู่ระหว่างการขออนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์เพื่อเสนอขายหุ้นสามัญต่อประชาชนเป็นครั้งแรก (IPO)

เป้าหมายของการระดมทุนในครั้งนี้ แน่นอนว่าส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับการลงทุน เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการให้ดียิ่งขึ้นไป มีทั้งการลงทุนด้านเทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Transformation) และการทำการตลาด

รวมไปถึงการเสริมสร้างความแข็งแกร่งของช่องทางการจัดจำหน่ายผ่านทางพันธมิตร ที่เป็นจุดเชื่อมต่อกับลูกค้าทั่วประเทศไทย และสร้างความแข็งแกร่งของเงินทุน และสำรองเป็นเงินทุนหมุนเวียนและวัตถุประสงค์อื่นๆ

ไทยประกันชีวิตเป็นอีกหนึ่งบริษัทที่น่าจับตามองจากทั้งผู้บริโภคที่ต้องการผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตแบบครบวงจร รวมไปถึงผู้ลงทุนที่มองหาบริษัทที่มั่นคง มีการเติบโตอย่างยั่งยืน เชื่อว่าการ IPO ในครั้งนี้ ยิ่งช่วยติดสปีดให้ไทยประกันชีวิตมุ่งสู่เป้าหมายในการเป็นบริษัทประกันชีวิตแห่งความยั่งยืนได้อย่างแน่นอน

หมายเหตุ: การลงทุนมีความเสี่ยงผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน ข้อมูลในเอกสารฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการเผยแพร่ในประเทศไทยเท่านั้น และไม่ถือเป็นการเสนอขายหลักทรัพย์ ห้ามมิให้มีการทำซ้ำ ส่งต่อ หรือเผยแพร่เอกสารฉบับนี้โดยไม่ได้รับอนุญาต

¹จากข้อมูลของสมาคมประกันชีวิตไทย เมื่อพิจารณาจากรายได้เบี้ยประกันภัยรับรวมสำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2563 และสำหรับรอบระยะเวลา  6 เดือนสิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน2564

² ข้อมูล ณ วันที่ 30 กันยายน 2564

³ข้อมูลจากสมาคมประกันชีวิตไทย

4 ข้อมูลจากสมาคมประกันชีวิตไทย สำหรับรอบระยะเวลา 6 เดือนสิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน2564

]]>
1375778
ก้าวใหม่ FWD กับ ‘เดวิด โครูนิช’ ซีอีโอสไตล์ Young At Heart เปลี่ยนภาพประกันชีวิตให้ ‘สนุก’ https://positioningmag.com/1336958 Tue, 15 Jun 2021 05:35:31 +0000 https://positioningmag.com/?p=1336958 ผมวาดฝันไว้ว่า วันใดวันหนึ่งผู้คนจะตื่นมาพร้อมกับความรู้สึกที่ว่าพวกเขาควรจะมีประกัน

นี่คือหนึ่งในเป้าหมายชีวิตของเดวิด โครูนิช(David Korunic) ผู้ทำงานรันวงการไฟเเนนซ์เเละประกันมายาวนานเกือบ 4 ทศวรรษ

บรรยากาศของออฟฟิศกลางใจเมืองที่พนักงานหัวเราะสนุกสนาน เเต่งตัวตามสบาย พูดคุยกับซีอีโออย่างเป็นกันเอง เป็นจุดเล็กๆ ที่ทำให้เห็นถึงรูปแบบการทำงานเเบบใหม่ที่เขาได้นำมาใช้ในองค์กร เพื่อสลัดภาพธุรกิจประกันที่เคร่งขรึมสู่การทำงานเเบบสตาร์ทอัพที่เน้นความสร้างสรรค์เเละเเตกต่าง

เดวิด เล่าถึงราวชีวิตคร่าวๆ ให้ฟังว่า เขาเกิดเเละเติบโตในนิวซีเเลนด์ จุดพลิกผันเกิดขึ้นเมื่อเขาตัดสินใจมาท่องเที่ยวพักร้อนเพื่อหาประสบการณ์ใหม่ เเละไม่คาดคิดว่าหนึ่งปีหลังจากนั้น เขาจะได้ใช้เวลามากกว่าครึ่งชีวิตในเอเชีย เเละสร้างครอบครัวในประเทศไทย

เขาเริ่มทำงานด้านไฟเเนนซ์ในอินโดนีเซีย ขยับไปฮ่องกง เคยไปอยู่เกาหลีใต้ จีน ย้ายมาสิงคโปร์ บุกเบิกประกันสุขภาพโซนอาเซียนกับ ‘Allianz’ ค่อยๆ เลื่อนตำเเหน่งขึ้นมา เเละมาอาศัยอยู่ในไทยหลายปี พร้อมขึ้นตำเเหน่งซีอีโอของกรุงไทยแอกซ่า’ โดยเมื่อปลายปี 2019 ที่ผ่านมาได้ข้ามค่ายมานั่งเเท่นบิ๊กบอสของ FWD ประเทศไทย

“FWD เป็นน้องใหม่ที่เพิ่งเปิดตัวได้เพียง 8 ปี ท่ามกลางคู่เเข่งที่อยู่มาเป็น 100 ปี นี่คือโอกาสที่เราจะปั้นเเบรนด์ให้เเตกต่าง เเละสร้างปรากฏการณ์ใหม่ให้วงการนี้”

มองมุมกลับ ปรับมุมมอง

เหตุผลหลักๆ ที่ทำให้เขาเลือกมาอยู่กับ FWD นั่นก็คือปรัชญาขององค์กรที่มุ่งเน้นไปที่การเปลี่ยนมุมมองของผู้บริโภคที่มีต่อประกันชีวิต นับเป็นความท้าทายครั้งใหญ่ในเส้นทางอาชีพของเขา

เดิมทียุคสมัยพ่อเเม่ บริษัทประกันถูกมองว่าสร้างความกลัวให้ลูกค้า กลัวต้องตาย กลัวต้องป่วย ไร้ความเห็นอกเห็นใจ มีภาพลักษณ์ในเเง่ลบ มาวันนี้เขาต้องการเปลี่ยนภาพนั้น ด้วยการปรับธุรกิจประกันให้สื่อสารอย่างเป็นมิตร เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งในชีวิต ทำให้รู้สึกว่ามีเเล้วหายห่วงเเละเป็นไปในรูปเเบบสนุกสนาน

ไม่มีใครคิดหรอกว่า ตื่นขึ้นมาเเล้วอยากซื้อประกันจังเลย เรามักซื้อประกันในยามที่จำเป็นต้องใช้ จึงนำมาสู่การคิดผลิตภัณฑ์ใหม่ให้เข้าถึงชีวิตผู้คน โดยที่พวกเขาไม่ต้องรู้สึกกดดันหรืออึดอัด ต้องสื่อสารสิ่งที่ซับซ้อนให้เข้าใจง่าย ใช้คำง่ายๆ เเต่ตรงประเด็นเเละน่าเชื่อถือ เปลี่ยน Mistrusting เป็น Trustworthy”

No More Drama

ในช่วงวิกฤตโรคระบาด พฤติกรรมเเละไลฟ์สไตล์ผู้บริโภคเปลี่ยนไป หันมาใช้เวลาบนเเพลตฟอร์มออนไลน์ เพื่อหาความบันเทิงในยามสถานการณ์ตึงเครียด เริ่มหาความสุขจากสิ่งเล็กๆ น้อยๆ ในชีวิตประจำวัน

FWD จึงจับเทรนด์ ‘Micro Moments’ มาเป็นกลยุทธ์ในสร้างการรับรู้ของเเบรนด์ผ่านคอนเซ็ปต์ Celebrate living ที่นำอินไซต์ของคนยุคนิวนอร์มอล มาสื่อสารให้ตรงกับความต้องการของลูกค้า พร้อมใช้ Entertainment Marketing ส่งต่อเรื่องราวสร้างเเรงบันดาลใจ กระตุ้นความสุข ตรงข้ามกับโฆษณา ‘เรียกน้ำตา’ ที่ทำคล้ายๆ กันมา

“If you enjoy , you remember … คนเราถ้าสนุกกับอะไร ก็จะจำสิ่งนั้นได้” เดวิดกล่าว

เขาบอกอีกว่า ‘เพลง’ เเละ ‘วิดีโอ’ เป็นสื่อบันเทิงหลักที่ผู้บริโภคคนไทยชื่นชอบและเข้าถึงได้ง่าย ซึ่งผ่านมา FWD ใช้สิ่งนี้เป็นสื่อกลางการสื่อสาร อย่างเเคมเปญโรเเมนติกคอมเมดี้อย่าง ‘น้อง.พี่.ที่รัก(ษา)’ เเละเพลง ‘ทุกก้าวไป’ ที่ร้องโดยตู่ ภพธร ซึ่งเป็นเพลงฟังที่ในร้านอาหารได้ ไม่ใช่เเค่ผ่านเเอดโฆษณา เเละให้ความสำคัญกับ Storytelling บอกเล่าเรื่องราวผ่านสารคดีเพลง ด้วยภาษาที่เข้าใจง่าย มีโมเมนต์ที่ทุกคนเข้าถึง

นอกจากนี้ ยังมีการสื่อสารเเบรนด์ผ่านอาหาร โดยทำ ‘รสชาติไอศกรีมของ FWD’ ร่วมกับ Guss Damn Good

“ใครจะคิดว่าจะมีรสไอติมของบริษัทประกัน…ต่อไปนี้เราจะไปอยู่ทุกที่ ให้ทุกคนเห็นเรา คุ้นเคยกับเรา ค่อยๆ เป็นส่วนหนึ่งในชีวิตของลูกค้า”

ประกันยุคใหม่ : เสิร์ฟตามไลฟ์สไตล์ ไม่ใช่ ‘อายุ’ 

กลุ่มเป้าหมายหลักของธุรกิจประกันชีวิต อยู่ในช่วงวัย 35-55 ปี เเละส่วนใหญ่เป็น ‘Older Generation’ เเต่ตอนนี้คนรุ่นใหม่ก็หันมาสนใจซื้อประกันมากขึ้น

เราจะออกผลิตภัณฑ์ตามไลฟ์สไตล์ ที่ไม่ใช่เเค่ตัวเลขอายุ คนอายุมากอาจจะมีหัวใจวัยรุ่น ดังนั้น เราจึงโฟกัสไปที่บริการในสิ่งที่ลูกค้าอยากได้”

เเม้ในช่วงล็อกดาวน์ คนจะต้องอยู่บ้านไม่ได้เจอพบปะสังสรรค์ ไม่ได้ไปธนาคาร ไม่ได้เจอตัวเเทน เเต่จากการสำรวจพบว่า ลูกค้ายังอยากเจอผู้คน การซื้อประกันจึงเป็นไปแบบไฮบริดคือลูกค้าหาข้อมูลจากออนไลน์ เเต่พอจะตัดสินใจซื้อจริงๆ มักจะต้องโทรหรือวิดีโอคอล ให้เห็นหน้าเห็นตากัน

ขณะเดียวกัน จุดประสงค์การซื้อประกันก็เปลี่ยนไปด้วย เช่น เมื่อก่อนคนจะซื้อเพื่อลงทุน เเต่หลังโควิด-19 เริ่มดูที่การคุ้มครอง การดูเเลรักษาพยาบาลอย่างจริงจัง

โดยผลิตภัณฑ์ที่ลูกค้ามองหามากที่สุดตอนนี้ คือกลุ่มสุขภาพที่ผ่านมาบริษัทได้ออกผลิตภัณฑ์ใหม่เพื่อจับตลาดนี้โดยเฉพาะ อย่าง ‘OPD คุ้มครบ จบหายห่วง’ เเละ FWD Precious CARE แผนคุ้มครองสุขภาพเหมาจ่าย พร้อมขยายความคุ้มครองลูกค้าที่แพ้วัคซีนด้วย

เดวิด บอกว่า ที่ผ่านมาบริษัทประกันไม่ค่อยออกผลิตภัณฑ์คุ้มครอง OPD (ผู้ป่วยนอก) จะมีบ้างเเต่ไม่มาก ส่วนใหญ่จะมีเงื่อนไขเยอะ ข้อจำกัดเยอะ เป็นโอกาสตลาดที่ FWD จะเข้าไปเจาะลูกค้าที่มีความต้องการส่วนนี้ เพราะพวกเขาอยากได้ประกันที่ซื้ออะไรเเล้วครั้งเดียวจบ ไม่ใช่ใครขายถูกเเล้วชนะ เเต่เป็นการที่ใครบริการได้ดีที่สุด

เมื่อถามถึงสถานการณ์ที่ว่าเเม้ประกันสุขภาพจะบูม เเต่คนไม่มีเงินจ่ายเบี้ย ซีอีโอ FWD มองว่า

ผมคิดว่ามันเป็นไปตามสภาพเศรษฐกิจที่ซบเซา คนรายได้ลดลง ต้องใช้เงินเพื่อดำรงชีวิตไว้ก่อน ประหยัดไว้ก่อน ดูปัจจัย 4 ไว้ก่อน เเต่ตอนนี้ประกันสุขภาพก็กำลังจะเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญของการดำรงชีวิตไปเเล้ว”

โดยพื้นฐานลูกค้าประกันเเต่ละประเทศที่เคยทำงานมา จะต่างกันที่สิ่งเเวดล้อมเป็นหลัก เช่น อินโดฯ จะชอบลงทุน เเต่ออสเตรเลียจะไม่ค่อยซื้อประกันสุขภาพ เพราะมีระบบสาธารณสุขรองรับอยู่เเล้ว ส่วนคนไทยเเม้จะมี 30 บาทรักษาทุกโรค ซึ่งเป็นโครงการที่ดี เเต่ผู้คนยังต้องการความสะดวกสบาย ไม่ต้องรอคิวนาน ก็หันมาซื้อประกันสุขภาพมากขึ้น

สำหรับตลาดประกันในไทยที่มีมูลค่ารวม 6 เเสนล้านบาท นั้น ‘ยากที่จะคาดการณ์ต้องดูการกระจายวัคซีน การฟื้นตัวของเศรษฐกิจ เเละระยะเวลาในการเปิดประเทศ

เปลี่ยนเเปลงจาก ‘ภายใน’ 

การที่จะพลิกโฉมธุรกิจได้ ต้องเริ่มจากการดิสรัปต์ในบริษัทก่อน ซึ่งเดวิดยอมรับว่าเป็นเรื่องที่ท้าทายมากเพราะต้อง ‘Rebuild’ วัฒนธรรมองค์กรใหม่หลังควบรวมกับ SCBLIFE ก้าวขึ้น ‘เบอร์สอง’ ในตลาดประกัน โดยจะเน้นไปที่การทรานส์ฟอร์มสู่ดิจิทัล ที่ไม่ใช่เเค่ย้ายไปอยู่บนเเพลตฟอร์มออนไลน์ เเต่หมายถึงการใช้ AI , Machine learning , Robotics , อัพสกิลพนักงานเเละเปลี่ยนระบบการทำงานใหม่

อย่างเช่น การเทรนนิ่งพนักงานช่วงโควิด-19 ที่รูปแบบการขายเปลี่ยนไปเยอะ ต้องปรับมาเทรนนิ่งออนไลน์ มีการพบปะลูกค้าเเบบ face to face ผ่านหน้าจอ เปลี่ยนการนำเสนอ อบรมเป็นกลุ่มเล็กลงฯลฯ

ขณะเดียวกัน ต้อง ‘Repurpose’ เปิดพื้นที่ให้พนักงานได้คิดสร้างสรรค์เเละทำให้เเตกต่าง โดยการสร้างบรรยากาศที่เอื้อต่อการคิดไอเดียใหม่ ทำงานเเบบ  Hot- Desk เเต่งตัวได้ตามสบาย ไม่รู้สึกกดดัน อยากที่จะเปลี่ยนเเปลงเเละกล้าเเสดงความคิดเห็น รวมถึงการมีค่าตอบเเทนที่ดี สวัสดิการที่ครอบคลุมการใช้ชีวิต

เราต้องเชื่อในตัวพนักงาน เชื่อในความสามารถพวกเขา ว่ามีความรับผิดชอบเเละเป็นตัวเทนของเเบรนด์ได้เป็นอย่างดี

Young At Heart อยู่เสมอ

วันว่างของเดวิด โครูนิชเขามักจะขับรถคลาสสิกไปเที่ยวต่างจังหวัดกับครอบครัวอยู่บ่อยครั้ง อย่างหัวหินที่อยู่ใกล้กรุงเทพฯ ซึ่งเขาใช้เวลาอยู่ที่นั่นถึง 4 วันต่อสัปดาห์ในช่วงที่ต้อง WFH เเละงานอดิเรกที่ชื่นชอบที่สุด…นั่นก็คือการทำอาหารลองสูตรใหม่ เมนูใหม่ตลอดเวลา

ความชอบลองอะไรใหม่ๆ สะท้อนไปถึงหลักยึดที่เขานำมาใช้ในองค์กร คือ การทำงานด้วยความสนุก “it’s okay to fail” คนเราทำผิดพลาดได้ เเต่ต้องนำกลับมาปรับปรุง เเละสิ่งสำคัญคือการ ‘Open Minds’ เปิดใจเรียนรู้สิ่งใหม่ ไม่ตีกรอบความคิด เชื่อในความหลากหลาย “ความเเตกต่างของคน จะทำให้เกิดความเเตกต่างในงาน

นี่คือจุดกำเนิดที่ดีที่สุดที่เขาเชื่อว่า จะสร้างสรรค์ผลงานที่เเตกต่างจากคนอื่น เพราะมาจากหลากหลายมุมมอง ไม่ได้มาจากมุมใดมุมหนึ่ง ขณะเดียวกันต้องมุ่งมั่นในงานไปทางเดียวกัน ดูเเลทุกคนให้ทั่วถึง ไม่ยึดติดกับตำเเหน่ง

โดยการบริหารคนที่มาจากหลายเจเนอเรชัน สิ่งที่ต้องทำคือรับฟังความคิดเห็นให้พนักงานเป็นตัวของตัวเองมากที่สุด เช่น ที่ FWD เปิดให้ทุกคนเเต่งตัวได้ตามเพศสภาพ ให้มีประกันเพื่อการผ่าตัดเเปลงเพศ ให้สิทธิพาร์ตเนอร์ lgbtqia+ เหมือนคู่สมรส ฯลฯ

ผมชอบคุยกับคนรุ่นใหม่นะ ชอบใช้เเอปพลิเคชันใหม่ๆ ไม่เคยคิดว่าตัวเองต้องเเก่ Young At Heart อยู่เสมอ เปิดใจรับว่าโลกใหม่คิดอย่างไร หมุนตามโลกให้ทัน

 

 

 

]]>
1336958
จับเทรนด์ Micro Moments ความสุขเล็กๆ สู่ ‘Musicumentary’ กลยุทธ์ประกันยุคใหม่ของ FWD https://positioningmag.com/1330799 Fri, 07 May 2021 11:30:11 +0000 https://positioningmag.com/?p=1330799 ธุรกิจประกันเร่งพลิกโฉมภาพลักษณ์ สื่อสารเเบรนด์ให้เข้าถึงไลฟ์สไตล์คนยุคใหม่มากขึ้น ผ่านการจับ ‘Micro Moments’ ความสุขเล็กๆ ใกล้ตัว เปลี่ยนจากความกลัว สิ่งที่ถูกมองว่ายุ่งยาก มาสร้างเเรงบันดาลใจ ให้ดูทันสมัยเเละน่าเชื่อถือ

ในอดีตเมื่อถามว่าความสุขของคุณคืออะไร หลายคนอาจมองไปถึงเป้าหมายใหญ่อย่างการมีบ้าน มีรถ เเต่งงาน มีการงานมั่นคง เเต่ทุกวันนี้ผู้คนเริ่มหาความสุขจากสิ่งเล็กๆ น้อยๆ ในชีวิตประจำวันกันมากขึ้น อย่างการได้กินอาหารอร่อย ได้ดูซีรีส์ที่ชอบ นอนพักสบายๆ เล่นกับสัตว์เลี้ยง ฯลฯ นี่จึงเป็นเทรนด์ผู้บริโภคยุคใหม่ที่เเบรนด์ทั้งหลายต้องเชื่อมโยงให้ได้

FWD บริษัทประกันชีวิตที่เข้ามาทำในตลาดไทยได้ราว 8 ปีเเละเพิ่งควบรวมกับ SCB Life ไปเมื่อปีที่ผ่านมา ขยับมูฟใหม่สร้าง brand awareness ด้วยการปล่อยแคมเปญเเรกของปี 2021 อย่าง ‘Celebrate living” ที่นำอินไซต์ของคนยุค New Normal มาสื่อสารให้ตรงกับความต้องการของลูกค้า

Micro moments เทรนด์ความสุขของผู้บริโภค 

FWD ได้ทำวิจัยทางการตลาดทั้งแบบเชิงคุณภาพและปริมาณกับกลุ่มตัวอย่างราวพันคน ในช่วงอายุระหว่าง 25 – 50 ปีทั่วประเทศไทย เพื่อหาคำตอบว่าอะไรเป็นสิ่งที่ทำให้ชีวิตมีความสุข เเละมุมมองที่พวกเขามีต่อประกันชีวิตเป็นอย่างไรในยุคโควิด-19

ผลวิจัยพบว่าสิ่งที่ทำให้คนในยุคนี้ มีความสุขและเดินหน้าต่อไปได้ คือความสุขเล็กๆ รอบตัวที่เรียกว่า ‘Micro moments’ ซึ่งเป็นความสุขจากสิ่งเล็กๆ น้อยๆ ที่ทำได้ทุกวัน

ยิ่งไปกว่านั้น ยังพบว่าเพลง เเละ ‘วิดีโอ’ ยังคงเป็นหนึ่งในสื่อ Entertainment ความบันเทิงหลักที่ผู้บริโภคคนไทยชื่นชอบและเข้าถึงได้ง่าย จึงเป็นที่มาของการนำเพลงมาเป็นสื่อกลางในการสื่อสารแบรนด์แคมเปญในครั้งนี้

-กว่า 70% ของคนที่สตรีมเพลงในไทย มีอายุเฉลี่ย 18-35 ปี เป็นกลุ่มคนรุ่นใหม่ ซึ่งเป็นเป้าหมายสำคัญของเเบรนด์ FWD
คนไทยผู้ใช้อินเทอร์เน็ตกว่า 9 ใน 10 คนชอบดูวิดีโอในเเพลตฟอร์มยูทูบ โดยใช้เวลารัชมสูงสุดเป็นอันดับ 8 ของโลก เเละครองอันดับ 1 ในอาเซียน

โดย FWD เลือกสื่อสารเเคมเปญผ่านรูปแบบ ‘Musicumentary’ นำเพลงและสารคดี มารวมกันถ่ายทอดเรื่องราวชีวิตของผู้คนจริงๆ เพื่อให้ผู้บริโภคมีส่วนร่วม เเละรู้จักแบรนด์ได้ดียิ่งขึ้น

จดจำเเบรนด์ผ่าน ‘Musicumentary’ 

ปวริศา ชุมวิกรานต์ ประธานเจ้าหน้าที่สายงานภาพลักษณ์และสื่อสารองค์กร บริษัท เอฟดับบลิวดี ประกันชีวิต จำกัด (มหาชนเล่าให้ฟังถึงการนำกลยุทธ์ ‘Musicumentary’ ที่มาจากคำว่า Music + Documentary มาสร้างเป็นภาพยนตร์โฆษณาที่เล่าเรื่องในรูปแบบสารคดี เชื่อมโยงกับ ‘Celebrate living’ เเละ ‘Micro moments’ ความสุขใกล้ตัว

เเคมเปญนี้ไม่มีการ casting นักแสดง เเต่เลือกเอาเรื่องราวจากผู้บริโภคตัวจริงมานำเสนอ เพราะปัจจุบันคนอยากเห็นสิ่งที่ใกล้เคียงกับชีวิตจริงของพวกเขา ถ่ายทอดเรื่องราวความสุข ผ่านความชอบที่หลากหลายและแตกต่างกัน เช่น สายกิน สายเที่ยว สายรักสุขภาพ ผสมกับการใช้บทเพลง เพื่อดึงความสนใจร่วมของคนไทย เชื่อมต่อระหว่างคนดูกับภาพยนตร์โฆษณาให้ใกล้ชิดกันมากยิ่งขึ้น

โดยในภาพยนตร์โฆษณาชุดนี้ ใช้เทคนิค Storytelling ที่เผยให้เห็นตั้งเเต่เบื้องหลังของการทำเพลง เส้นทางการพบเจอกันระหว่างทีมงานกับเจ้าของเรื่อง ที่มีทั้งครอบครัวที่เลี้ยงน้องหมา 16 ตัว เชฟหนุ่มผู้ชื่นชอบการนวด คุณป้าผู้หลงใหลในเสียงดนตรี คุณพ่อที่มีความสุขในการเลี้ยงลูก ฯลฯ

GEO Fencing ส่ง ads สู่กลุ่มเป้าหมายตามไลฟ์สไตล์

นอกเหนือจากการทำโฆษณาให้เชื่อมโยงกับไลฟ์สไตล์ผู้คนเเล้ว ‘ช่องทางการสื่อสารการตลาดก็สำคัญไม่เเพ้กัน FWD เน้นไปยังสื่อออฟไลน์และออนไลน์ ทั้งสื่อโทรทัศน์, วิทยุ, Out of Home, ป้ายโฆษณาดิจิทัล ครอบคลุมพื้นที่กรุงเทพฯ และหัวเมืองต่างจังหวัด รวมไปถึง Entertainment Platform อย่าง LINE TV และ Viu เป็นต้น 

สิ่งที่น่าสนใจคือ มีการนำเทคโนโลยี ‘GEO Fencing’ มาใช้เป็นกลยุทธ์โฆษณาแบบใหม่ โดยเลือกป้ายโฆษณาดิจิทัลใน Strategic location กว่า 31 จุดทั่วกรุงเทพฯ ‘แบ่งตามความสนใจของคนเพื่อส่ง Online ads ที่ตรงกับความสนใจของกลุ่มเป้าหมายนั้น เป็นการตลาดเเบบ Personalized ที่เชื่อมต่อไลฟ์สไตล์ของผู้คนจากออฟไลน์สู่ออนไลน์

นอกจากนี้ ยังให้ความสำคัญกับการสื่อสารผ่าน KOL และ Influencer เพื่อร่วมกันถ่ายทอดมุมมองความชอบในรูปแบบที่แตกต่างกัน เพื่อให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายมากขึ้น

สำหรับตลาดประกันในช่วงนี้ การเเพร่ระบาดของโควิด-19 ระลอกที่ 3 มีส่วนทำให้ผู้คนหันมาใส่ใจสุขภาพเเละตัดสินใจซื้อประกันมากขึ้น โดยผลิตภัณฑ์ที่ลูกค้ามองหามากที่สุด คือกลุ่มสุขภาพ

โดยที่ผ่านมาบริษัทได้ออกผลิตภัณฑ์ใหม่เพื่อจับตลาดนี้โดยเฉพาะ อย่าง OPD คุ้มครบ จบหายห่วง เเละ FWD Precious CARE แผนคุ้มครองสุขภาพเหมาจ่าย พร้อมขยายความคุ้มครองลูกค้าที่แพ้วัคซีนโควิด-19 ด้วย

ในช่วงที่ผู้คนมีกังวลในความไม่เเน่นอนของโรคระบาด เราหวังว่าเเคมเปญ Celebrate living จะเป็นการส่งต่อพลังบวกให้มีความสุขกับ Micro moments เล็กๆ น้อยๆ ควบคู่ไปกับการออกผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ตอบโจทย์การใช้ชีวิตในสถานการณ์ต่างๆ ซึ่งในปีนี้จะมีเเคมเปญอื่นๆ ตามมาอีกเเน่นอน เพื่อให้ไปสู่เป้าหมายการเปลี่ยนมุมมองของผู้คนมีต่อธุรกิจประกันชีวิต

 

 

]]>
1330799
เปิดภารกิจ ‘ฐากร ปิยะพันธ์’ นำ Data พลิกโฉม ‘เครือไทย โฮลดิ้งส์’ ของเจ้าสัวเจริญ ลุยตลาดสินเชื่อ https://positioningmag.com/1324409 Tue, 23 Mar 2021 14:14:53 +0000 https://positioningmag.com/?p=1324409 ธุรกิจประกันเปิดศึกสู้กันดุเดือดเเบบไม่มีพักรับโลกยุคใหม่เเละพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่เปลี่ยนไปของผู้บริโภค

ความเคลื่อนไหวของเครือไทย โฮลดิ้งส์กลุ่มธุรกิจประกันภัยและการเงินในเครือทีทีซี ของเจ้าสัวเจริญ สิริวัฒนภักดีกำลังถูกจับตามองอย่างมาก หลังดึงฐากร ปิยะพันธ์ผู้บริหารมือทองด้านดิจิทัลแบงกิ้ง นวัตกรรมเเละ AI จากค่ายกรุงศรี คอนซูมเมอร์มานั่งคุมทัพใหญ่

เมื่อย้ายสู่บ้านหลังใหม่ได้สักพัก ฐากร ปิยะพันธ์ได้ฤกษ์เปิดแผนธุรกิจในระยะ 3-5 ปี กับกลยุทธ์สู่เป้าหมายการเป็นตัวท็อปธุรกิจประกันและการเงินของประเทศไทย พร้อมขยายไปยังอาเซียน

มาดูกันว่าการใช้ ‘Data’ ให้เกิดประโยชน์สูงสุดตามความถนัดของฐากร จะนำพาเครือไทย โฮลดิ้งส์ไปบนเส้นทางสายใหม่นี้อย่างไร

ปัจจุบันเครือไทย โฮลดิ้งส์’ หรือ TGH ทำธุรกิจหลักๆ 3 กลุ่ม ได้เเก่ กลุ่มธุรกิจประกัน กลุ่มธุรกิจการเงิน และกลุ่มธุรกิจ Health & Wellness

ธุรกิจสุขภาพด้าน Health & Wellness เป็นพาร์ตใหม่ที่เปิดมารองรับสังคมสูงวัยโดยเฉพาะทั้งการวางเเผนการเงินในวัยเกษียณทำประกันที่คุ้มครองจนสิ้นอายุขัย เเละให้บริการที่พักอาศัย ซึ่งจะมีความคืบหน้าในเร็ว ๆ นี้

หากเจาะลึกลงไปในธุรกิจประกัน จะมีบริษัทลูกในเครืออย่าง อาคเนย์ประกันชีวิต อาคเนย์ประกันภัย และ บมจ.ไทยประกันภัย ที่มีสินทรัพย์รวมกันประมาณ 75,000 ล้านบาท

ส่วนเบี้ยฯ รับรวมทั้งตลาดประกันชีวิตของปี 2563 อยู่ที่ราว 6 เเสนล้านบาท ลดลง 1.75% เเละเบี้ยฯ รับรวมทั้งตลาดประกันภัย อยู่ที่ราว 2.5 เเสนล้านบาท เติบโต 3.9%

ขณะที่ธุรกิจการเงิน จะมีบริษัทลูกอย่างอาคเนย์แคปปิตอล’ ผู้ให้บริการรถเช่าองค์กร ที่มีสินทรัพย์รวม 15,000 ล้านบาท เป็นที่ 1 ในตลาด เเละอาคเนย์มันนี่’ ที่กำลังจะเริ่มปล่อยสินเชื่อในช่วงไตรมาส 3 ของปีนี้

การเเพร่ระบาดของ COVID-19 ส่งผลกระทบไปทุกอุตสาหกรรม ทำให้เครือไทย โฮลดิ้งส์ มีรายได้รวมลดลงต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 โดยในปี 2020 มีรายได้รวม 23,300 ล้านบาท ลดลง 4% เเต่ขณะเดียวกันก็สามารถทำกำไร 168% เป็น 739 ล้านบาท จากการบริหารต้นทุน ปรับพอร์ตโฟลิโอ และการบริหารจัดการต่าง ๆ 

ทิศทางต่อไปจากนี้ จึงไม่ใช่งานง่ายๆอย่างเเน่นอน

ปั้น อาคเนย์มันนี่ รุกสินเชื่อรายย่อย

เเต่เดิมเครือไทย โฮลดิ้งส์พึ่งพารายได้ส่วนใหญ่มาจากธุรกิจประกันภัยเเละประกันชีวิต เเต่ทิศทางหลัง COVID-19 จะไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป เพราะจะหันมารุกสินเชื่อธุรกิจรายย่อยมากขึ้น

จากข้อมูลพบว่า ในปีที่ผ่านมา ธุรกิจการเงินของเครือไทย โฮลดิ้งส์ มีการเติบโตเพิ่มขึ้น 11%  สวนทางธุรกิจประกันชีวิตที่เติบโตลดลง 11% เเละธุรกิจประกันภัยที่เติบโตลดลง 3%

ฐากร บอกว่าตลาดสินเชื่อยังมีโอกาสเติบโตได้อีกมากเเม้จะต้องเผชิญกับคู่เเข่งทั้งสายเเบงก์เเละนอนเเบงก์เเละเข้าตลาดนี้ช้ากว่าก็ตาม

อาคเนย์มันนี่เพิ่งเปิดตัวเมื่อปลายปีที่ผ่านมา เขาบอกว่าคืองานหินที่ต้องทำให้ได้ โดยจะใช้กลยุทธ์จับมือกับพาร์ตเนอร์ที่มีวิสัยทัศน์ตรงกัน เน้นเป็นบริษัทขนาดกลางที่มีเครือข่ายเข้าถึงลูกค้าอยู่ทั่วประเทศ ซึ่งมีการเจรจาพูดคุยไว้เบื้องต้นเเล้ว

ความท้าทายตอนนี้ เหมือนการปีนขึ้นยอดเขาเอเวอเรสต์ แต่เราก็มองว่าจะสามารถเข้าไปซื้อกิจการหรือหาพันธมิตรร่วมทุนได้

อีกมุมหนึ่ง การมาของอาคเนย์มันนี่ ก็เป็นการเสริมความเเกร่งของธุรกิจรถเช่าอย่าง อาคเนย์ แคปิตอลที่ตอนนี้มีจำนวนรถกว่า 22,100 คัน เเบ่งเป็นลูกค้าภาครัฐ 50% ลูกค้านอกกลุ่มทีซีซี 30% เเละลูกค้ากลุ่มทีซีซี 20% ซึ่งปกติจะมีการประกาศขายรถมือสองอยู่แล้ว

อาคเนย์มันนี่มีเเผนตั้งเป้าสินเชื่อปล่อยใหม่ภายในปี 2564 ให้ได้ 2,000 ล้านบาท โดยจะเริ่มต้นจากบริษัทในเครือ ผ่านสินเชื่อเพื่อคู่ค้าก่อน จากนั้นในไตรมาส 3 จะปล่อยสินเชื่อรถยนต์ รถเช่ามือสอง สินเชื่อมอเตอร์ไซค์ และในไตรมาส 4 จะเป็นสินเชื่อจำนำทะเบียน และสินเชื่อส่วนบุคคล

ติดอาวุธเทคฯ พลิกโฉม ‘ประกัน’ ยุคใหม่

เเม้จะบุกหนักไปที่ธุรกิจการเงิน เเต่ผู้บริหารเครือไทย โฮลดิ้งส์ยืนยันที่จะให้ความสำคัญกับธุรกิจประกันยิ่งกว่าเดิม ด้วยเเพชชั่นที่ต้องการทำให้ประกันไปอยู่ในชีวิตของทุกคน

โดยจะมีการปรับพอร์ตธุรกิจประกันขึ้นมาใหม่ นำข้อมูลจำนวนมากที่ธุรกิจประกันมีเป็นจุดเเข็ง มาผสมกับเทคโนโลยีให้ใช้งานง่าย ใช้ปัญญาประดิษฐ์หรือ AI มาช่วยออกแบบผลิตภัณฑ์ให้ตรงกลุ่มลูกค้า

สำหรับอาคเนย์ประกันชีวิต มีเบี้ยประกันภัยรับรวมปี 2563 อยู่ที่ 8,345 ล้านบาท ครองอันดับ 9 ของตลาด จะมุ่งกลยุทธ์ไปที่การขยายฐาน ‘ตัวแทนใหม่ ในต่างจังหวัด พร้อมๆ กับการรักษาพันธมิตรธนาคาร ที่เรียกว่าแบงก์แอสชัวรันซ์เเละมองหาพันธมิตรใหม่ช่องทางอื่นไปด้วย โดยคาดว่าสัดส่วนช่องทางขายระหว่างแบงก์และตัวแทนต่อจากนี้ จะอยู่ที่ 60% และ 40% ตามลำดับ

ทั้งนี้ พอร์ตส่วนใหญ่ของบริษัทกว่า 70% มาจากแบงก์แอสชัวรันซ์ ผ่านธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (...)

ฐากร ยังตั้งเป้ารายได้ที่จากประกันกลุ่มเเละจะออกแบบประกันชีวิตควบการลงทุนอย่าง Unit Linked ซึ่งคาดว่าจะเปิดตัวได้ภายในปีนี้

ตามมาด้วย อาคเนย์ประกันภัย ที่ปี 2563 มีเบี้ยประกันภัยรับโดยตรง 10,556 ล้านบาท ครองส่วนแบ่งทางการตลาดที่ร้อยละ 4.1 ครองอันดับ 6 ของตลาด

ส่วนใหญ่เป็นประกันรถยนต์ 66% ทรัพย์สินเเละเบ็ดเตล็ด 24% อุบัติเหตุเเละสุขภาพ 10% โดยปีนี้ บริษัทมีเเผนจะออกผลิตภัณฑ์ที่เเตกต่างจากตลาด เเละรองรับเทรนด์การใช้ชีวิตยุคใหม่อย่าง ประกันรถยนต์ไฟฟ้า EV ฯลฯ

ส่วนไทยประกันภัย ที่ปี 2563 มีเบี้ยประกันภัยรับโดยตรงราว 1,321 ล้านบาท จะปรับรูปแบบการทำงานเเละโครงสร้างธุรกิจ เน้นการขายผ่านช่องทางออนไลน์มากขึ้น ซึ่งตอนนี้มีสัดส่วนอยู่ที่ 25%

โดยจะมีการทุ่มงบ 1,500 ล้านเพื่อพัฒนาระบบดิจิทัล เพิ่มยอดขายทางดิจิทัลของบริษัทในเครือทั้งหมด หลังจากปีที่ผ่านมา มียอดขายเเล้วกว่า 1,200 ล้านบาท เติบโตถึง 70% ส่วนใหญ่มาจากลูกค้าคนรุ่นใหม่

นอกจากนี้จะมีการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในการปรับโครงสร้างการทำงานภายในองค์กรช่วยให้พนักงานทำงานสะดวกเเละลูกค้าได้รับประสบการณ์ที่ดีเเละรวดเร็ว

ฐากร บอกว่า จะจัดตั้งบริษัทขึ้นมาใหม่เพื่อทำ Data Analytics เเละเพิ่มแผนก Business Transformation พร้อมตั้งบริษัท Sofin เพื่อทำ Digital Solution โดยเฉพาะ

ครือไทย โฮลดิ้งส์ตั้งเป้าหมาย 3 ปี รายได้จะอยู่ที่ 30,000 ล้านบาท เติบโตเฉลี่ยปีละ 14% กำไรเติบโตเฉลี่ย 20%

โดยในช่วง 2 ปีเเรกจะลุยตลาดในประเทศให้ประสบความสำเร็จก่อน จากนั้นในปีที่ 3 จึงจะขยับไปยังประเทศในอาเซียน เริ่มจากเวียดนาม ที่กลุ่มทีซีซีวางตลาดไว้อยู่เเล้ว ต่อไปจะขยายไปยังสปป.ลาว และกัมพูชา โดยจะรุกให้บริการทางการเงิน สินเชื่อรถยนต์ สินเชื่อส่วนบุคคล ต่อยอดไปเป็นประกันภัยและประกันชีวิต

นี่คือทิศทางต่อไปของเครือไทย โฮลดิ้งส์ภายใต้การนำทัพของฐากร ปิยะพันธ์ที่หวังจะมาเขย่าวงการประกันยุคใหม่ด้วย ‘Data’ …น่าจับตามองไม่น้อย

 

 

]]>
1324409
กรณีศึกษา : ทำการตลาด CRM เชื่อมใจด้วย Virtual Concert อย่างไร เมื่อลูกค้ากลุ่มใหญ่เป็นวัย 40+ https://positioningmag.com/1304439 Tue, 10 Nov 2020 16:30:41 +0000 https://positioningmag.com/?p=1304439 การสร้างเเละรักษาความสัมพันธ์กับลูกค้า (CRM) ในช่วงวิกฤต COVID-19 กลายเป็นความท้าทายใหม่” ในการทำตลาดของเเบรนด์ต่างๆ ไปเเล้ว เมื่อโรคระบาดทำให้เกิดการเว้นระยะห่าง” จากกลุ่มผู้บริโภค

ผู้คนใช้ชีวิตประจำวันบนโลกออนไลน์มากขึ้น ทั้งการช้อปปิ้ง สั่งอาหารเดลิเวอรี่ ทำงานเเบบ Work from Home รวมไปถึงการดูหนัง ฟังเพลง ชมคอนเสิร์ตเเบบเสมือนจริง หรือ Virtual Concert

เราได้เห็นหลายเเบรนด์ ปรับรับการตลาดยุคใหม่ด้วย “คอนเสิร์ตออนไลน์สร้างเเคมเปญต่างๆ เพื่อสื่อสารกับลูกค้ามีทั้งเเบบชมฟรีและเสียเงินบ้าง เเต่ก็ได้รับเสียงตอบรับดี เพราะผู้คนต้องการความบันเทิงเพื่อคลายเครียดจากสถานการณ์ที่เป็นอยู่

การที่เเบรนด์ทำ Virtual Concert กับลูกค้าที่เป็นคนรุ่นใหม่นั้นทำได้ง่ายเเละเข้าถึงไม่ยากนัก เพราะมีความคุ้นชินกับการใช้เทคโนโลยีเเละโซเชียลมีเดียอยู่เเล้ว เเต่ถ้าคุณเป็นเเบรนด์ที่มีฐานลูกค้าส่วนใหญ่เป็นวัย “40+” เเล้วล่ะก็…อาจจะต้องคิดหลายตลบทีเดียว

เมื่อเร็วๆ นี้ “อลิอันซ์ อยุธยา” เพิ่งจัดกิจกรรมคอนเสิร์ตออนไลน์ครั้งเเรกของบริษัท หลังให้บริการในไทยมากว่า 69 ปี (เริ่มปีพ.ศ. 2494) ความน่าสนใจอยู่ที่ว่า ลูกค้าประกันชีวิตมักจะเป็นวัยทำงานเเละชาวสูงวัยทั้งหลาย การที่เเบรนด์อยู่มานานมาก อายุเฉลี่ยของลูกค้าที่เติบโตไปด้วยกันจึงทะลุ 40 อัพ

ความท้าทายในการจัดคอนเสิร์ตออนไลน์ เพื่อเชื่อมใจลูกค้าครั้งนี้ “ไม่ง่าย” อย่างไร…เรามาหาคำตอบกัน

พัชรา ทวีชัยวัฒนะ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานบริหารงานลูกค้าประจำประเทศไทยของ อลิอันซ์ อยุธยา บอกเล่าถึงประสบการณ์การจัด Virtual Concert ครั้งนี้ให้ฟังว่า

“พอมี COVID-19 ผู้คนต้องทำงานที่บ้านกัน 2-3 เดือน เรารู้สึกว่าเราห่างจากลูกค้าพอสมควร จึงน่าจะมีกิจกรรมที่สร้างความสนุกสนานเเละความใกล้ชิดกับลูกค้า เเม้จะอยู่ที่บ้านกันได้” 

โดยก่อนที่จะมีการจัด Virtual Concert ครั้งนี้ บริษัทก็มีการจัดส่งบัตรกำนัลต่างๆ รวมไปถึงส่วนลดค่าจัดส่งฟู้ดเดลิเวอรี่ให้ลูกค้าเป็นระยะๆ เพื่อให้เข้ากับไลฟ์สไตล์ในช่วงเวลานั้น โดยสิ่งสำคัญคือทำให้ลูกค้ารู้สึกว่า…

อยู่กับพวกเขาตลอดเวลา” 

เราเป็นมากกว่าคนขายประกัน ไม่ได้เจอกันเเค่ตอนเก็บเบี้ย

การตัดสินใจจัด Virtual Concert เป็นครั้งเเรกของอลิอันซ์ฯ เกิดขึ้นจากโจทย์ที่ว่า นอกจากจะจัดเเคมเปญทำให้ลูกค้าเรามีความสุขเเล้ว จะทำอย่างไรให้พวกเขามีความสุขกันทั้งบ้านได้

ทางบริษัทจึงได้ไปปรึกษากับพล หุยประเสริฐ นักออกแบบคอนเสิร์ตชื่อดังว่า จะมีการจัดเเสดงเเบบไหนได้บ้างที่เข้าถึงผู้คนได้ทั้งครอบครัว

เหล่านี้นำมาสู่เหตุผลของการเลือกศิลปินที่จะมาเล่นในคอนเสิร์ตออนไลน์ Together Sunday โดยจะต้องเป็นไลน์อัพที่ดึงดูดคน “หลากหลายเจเนอเรชั่นที่มีทั้งพ่อเเม่ ลูกเเละญาติผู้ใหญ่ในบ้านไว้ได้

ในที่สุดก็ได้ 5 ศิลปินที่มีฐานเเฟนคลับของเเต่ละช่วงวัยมารวมกันในคอนเสิร์ตเดียว ได้แก่ แสตมป์ อภิวัชร์
นนท์ ธนนท์ , ปาล์มมี่ , เจ เจตรินและเจ้านาย โดยมีการคุยรายละเอียดเเละเตรียมงานกันถึง 2 เดือน

กลุ่มลูกค้าหลักๆ ของอลิอันซ์ อยุธยา มีอายุระหว่าง 35-44 ปี จะอยู่ที่ราว 25% เเละกลุ่มอายุ 45-54 ปีจะอยู่ที่ราว 24% รวมกันเเล้วจะเห็นว่ากว่าครึ่งหนึ่งของลูกค้าทั้งหมดมีอายุอยู่ในช่วง 35-54 ปี เพราะบริษัทดำเนินกิจการมากว่า 60 ปี มีลูกค้าราว 1 ล้านกว่ารายลูกค้าส่วนใหญ่จึงเป็นกลุ่มคนที่เติบโตมาพร้อมๆ กับบริษัทนั่นเอง

ความท้าทายจึงเกิดขึ้นในกระบวนการกิจกรรมการตลาดเนื่องจากกลุ่มคนอายุ 40+ อาจจะไม่คุ้นเคยกับเทคโนโลยีการชมคอนเสิร์ตแบบ Virtual มากนัก

บริษัทจึงต้องงัดกลเม็ดต่างๆ มาใช้ในการเชิญชวนให้เกิดการลงทะเบียน และการเข้าชมในวันจริง โดยมีการชวนทำ Challenge ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเข้าชมช่วยเหลือ เเละอธิบายขั้นตอนอย่างละเอียด เพื่อกระตุ้นให้ลูกค้ารู้สึกอยากเข้าร่วมมากขึ้นเรื่อยๆ

การสื่อสารกับลูกค้าสำคัญมาก ในช่วง 2 สัปดาห์ก่อนวันจริง ต้องตั้งทีมไว้ดูเเลโดยเฉพาะ หากลูกค้าไม่เข้าใจระบบต่างๆ สามารถส่งคำถามเข้ามาได้ทันที ทั้งช่องทางคอลเซ็นเตอร์ อีเมลเเละ Facebook ซึ่งทีมจะได้รับการเทรนนิ่งอย่างดีให้อธิบายกับลูกค้าได้ สอนวิธีการใช้ได้ รวมถึงมีการให้ตัวเเทนมาลองเทสต์การใช้ก่อนเเล้วนำไปบอกต่อกับลูกค้าในเครือข่ายของเขา

ปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้ชมกับศิลปินใน Virtual Concert ยังเป็นหัวใจสำคัญ ที่นำมาสู่การตัดสินใจเลือกเทคโนโลยีที่จะนำมาใช้ ทั้งเเอปพลิเคชันในการถ่ายทอด เเละการเลือก AR, VR ที่เหมาะสม เพื่อการมีส่วนร่วมของคนดูมากที่สุด

สิ่งที่เรากังวลคือ ทำอย่างไรคนจะนั่งดูผ่านหน้าจอได้ยาวถึง 3 ชั่วโมง โดยที่ไม่เบื่อไปเสียก่อน จึงการมีคิดกิมมิกเป็นคอนเสิร์ตแบบ Interactive ให้นักร้องกับแฟนเพลงโต้ตอบกันได้ เสมือนอยู่ในคอนเสิร์ตจริงๆ การได้เห็นท่าทางสีหน้าระหว่างกันจึงสำคัญมาก เราจึงเลือกการจัดผ่าน Zoom มากกว่า Facebook Live”

โดยใน Together Sunday Live Online Concert มีการเเสดงสดผ่านแอปพลิเคชัน ZOOM เป็นหลัก (เเต่ก็มีช่องทาง Facebook Live ในกรุ๊ป Private รองรับกรณีที่ลูกค้ามีปัญหาเข้าไม่ได้) นำเสนอการทำงานของเทคโนโลยี AR สร้างกราฟิกคอนเสิร์ตในรูปแบบ 3 มิติสุดล้ำ มาพร้อมใส่ลูกเล่นการชูป้ายไฟแบบเวอร์ชวล การพูดคุย ร่วมร้องเพลงด้วยกัน มีกิจกรรมเเจกเสื้อของขวัญส่งกำลังใจให้กันเเละกันในทุกช่วงศิลปิน

ศิลปินเเต่ละคนก็จะมีลูกเล่นของตัวเอง อย่างเช่นคุณแสตมป์ ก็จะมีการแปลงเนื้อเพลงสร้างเสียงฮา เเละให้ผู้ชมร่วมวาดรูปครอบครัวตัวเองมาโชว์ให้ดู เเม้คอนเสิร์ตจะยาวเกือบ 3 ชั่วโมง เเต่เราไม่รู้สึกว่ามันมีช่วงเบื่อเลย เพราะศิลปินทั้ง 5 คนก็จัดโชว์ได้หลากสไตล์ มีการดึงดูดใจคนดูได้เเตกต่างกัน

สำหรับการจัดคอนเสิร์ตครั้งนี้ มีการใช้เครื่องมือดิจิทัลความบันเทิงอย่างเต็มที่ เพื่อทำให้ระหว่างศิลปินและผู้ชมมี “Engagement” รู้สึกใกล้ชิดกันมากขึ้น ทั้งการใส่ลูกเล่นหรือ Gadget ต่าง ๆ เช่น การแพนกล้องเข้าหาศิลปินหลายหลายมุม การสร้างฉากด้วยกราฟิกภาพสามมิติ เน้นให้ผู้ชมได้พูดคุยกับศิลปินที่ชื่นชอบ

ยิ่งไปกว่านั้น ผู้ชมสามารถดาวน์โหลดแอปพลิเคชันเฉพาะงาน อย่าง Together Sunday เพื่อร่วมส่งสติกเกอร์รูปหัวใจ ส่งกำลังใจผ่านป้ายไฟชื่อศิลปินหรือส่งข้อความไปให้ศิลปิน ที่กำลังแสดงอยู่ผ่านหน้าจอแบบเรียลไทม์

โดยจะมีทีมงานคอยเชียร์และไกด์ผู้ชมให้ร่วมสนุกอยู่เรื่อยๆ ให้คำแนะนำปรึกษาการเข้าร่วมกิจกรรมอย่างต่อเนื่องเป็นระยะ เพื่อให้ผู้ชมสามารถเข้าสู่เครื่องมือในการชมคอนเสิร์ต โดยไม่สะดุดเตรียมพร้อมรับคำถามที่จะเกิดขึ้นระหว่างการรับชม

แสตมป์อภิวัชร์ เอื้อถาวรสุขเล่าถึงการเตรียมตัวเพื่อมาโชว์ใน Together Sunday Live Online Concert ครั้งนี้ว่า มีการเตรียมตัวเป็นพิเศษทั้งการจับจังหวะการเคลื่อนตัวบนเวทีเพื่อให้รองรับกับมุมกล้องและลูกเล่นต่าง ๆ ที่ออกแบบไว้ การเล่นกับ Gadget ต่าง ๆ เพื่อมีสมาธิกับการโชว์เพิ่มมากขึ้น ได้ใช้จินตนาการในการคาดการณ์ปฏิกิริยาของผู้ชม และถึงแม้จะไม่ได้เห็นคนดูแบบคอนเสิร์ตปกติ แต่การมีเทคโนโลยี AR ก็ทำให้ศิลปินเห็นปฏิกิริยาคนดูผ่านจอได้ เกิดความรู้สึกอบอุ่นไม่ต่างกัน กลับเป็นความรู้สึกสนุกและท้าทายที่ได้ทำสิ่งใหม่

นับเป็นการเปิดประสบการณ์เเละเรียนรู้สิ่งใหม่ๆในการชมคอนเสิร์ตยุค New Normal ไปด้วยกันทั้งผู้จัดผู้ชมทีมงานเเละศิลปิน

อีกหนึ่งสิ่งที่นับว่าเป็นบทเรียน ที่ได้จากการจัด Virtual Concert ครั้งเเรกของอลิอันซ์ฯ คือ ยอดผู้ลงทะเบียนก่อนเข้างานมีสูงถึง 7 พันคน เเต่วันจริงมีผู้เข้าร่วมราว  2 พันกว่าคน

“Virtual Concert ใช้เวลาเตรียมการเยอะกว่าที่คิด เป็นสิ่งที่ทำให้เราได้เรียนรู้เหมือนกันว่า การคอนเสิร์ตเเบบเสมือนจัดในวันอาทิตย์ตอนบ่ายมีผู้คนส่วนหนึ่งต้องเดินทาง ไม่ได้อยู่บ้าน หรือเลือกไปทำกิจกรรมพักผ่อนอย่างอื่นเเทน บางส่วนมีความตั้งใจอยากดูจึงลงทะเบียนไว้ก่อน เเต่พอไม่ใช่คอนเสิร์ตเเบบปกติที่ต้องตั้งใจดูมากๆ ก็ถือเป็นเรื่องที่ท้าทายของเรา

อลิอันซ์ฯ มองว่าการจัด Virtual Concert ได้ผลลัพธ์ที่เกินคาดในด้านการสร้าง Awareness การขยายการรับรู้ไปยังครอบครัวเเละคนใกล้ชิดของกลุ่มลูกค้า ส่วนคนดูมีส่วนร่วมเเละพึงพอใจ โดยมีการให้คะเเนนถึง 4.8 จากเต็ม 5 คะเเนนเเละส่วนใหญ่มีข้อเสนอเเนะให้มีการจัดกิจกรรมเช่นนี้อีก

โดยกลยุทธ์ CRM ต่อไป เมื่อสถานการณ์ COVID-19 ในประเทศไทยคลี่คลายลงเเล้ว ผู้บริหารอลิอันซ์ฯ บอกว่า จะเป็นในรูปแบบผสมออฟไลน์ออนไลน์เเบ่งไปตามกลุ่มเป้าหมายที่เเตกต่างกัน หากเป็นการจัดเเสดงคอนเสิร์ตก็ต้องมีทั้ง 2 อย่างคือ ให้ผู้คนได้ดูในโชว์จริงเเต่ต้องมีการจัดการที่ดีเเละเว้นระยะห่าง ส่วนใครที่สะดวกทาง Virtual Concert ก็ดูได้ทันทีไปพร้อมๆ กัน

การเเพร่ระบาดของ COVID-19 ทำให้คนตื่นตัวมาซื้อประกันสุขภาพกันมากขึ้น ตัวเเทนฯ ก็ต้องมีการปรับตัวเข้าสู่เทคโนโลยีเร็วขึ้นเช่นกัน ทั้งการขายผ่านวิดีโอคอล ใช้เเอปพลิเคชัน กรอกใบสมัครออนไลน์ โดยกว่า 85% ของตัวเเทนผู้ขายประกันทั้งหมดของอลิอันซ์ฯ ใช้ iPad เเละเเท็บเล็ตในการนำเสนอขายกับลูกค้า

พฤติกรรมของผู้ซื้อประกันก็เปลี่ยนไป หันมาชอบการทำกิจกรรมโดยผ่านเเอปพลิเคชันมากขึ้น ไม่อยากมาที่สำนักงานเเล้ว

เมื่อผู้บริโภคปรับ…เเบรนด์ต้องเปลี่ยน นี่จึงเป็นอีกหนึ่งกรณีศึกษาของการตลาดเเบบ CRM เพื่อเข้าหาลูกค้าทางออนไลน์ ไม่ให้รู้สึก “ห่างกัน” เเม้ในยามที่เราต้อง “เว้นระยะห่าง” ได้ดีทีเดียว 

 

 

]]>
1304439
มองธุรกิจประกัน หลังโควิด เบี้ยรับรวมหดตัวลึก คนเลี่ยงซื้อเพื่อออม เพราะผลตอบเเทนต่ำ  https://positioningmag.com/1299102 Mon, 28 Sep 2020 18:20:20 +0000 https://positioningmag.com/?p=1299102 COVID-19 ฉุดภาพรวมเบี้ยประกันชีวิตปีนี้หดตัวต่อเนื่อง เบี้ยรับรายใหม่เสี่ยงที่จะหดตัวต่ำเป็นประวัติการณ์แตะเลขสองหลัก คนซื้อประกันเพื่อออมลดลง เพราะผลตอบเเทนต่ำไปอีกอย่างน้อย 1-2 ปีข้างหน้า

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย วิเคราะห์ว่า ประกันชีวิตเป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 ในช่วงที่ผ่านมา โดย 7 เดือนแรกของปี 2563 ภาพรวม “เบี้ยประกันชีวิต” อยู่ที่ 5.74-5.99 แสนล้านบาท หดตัวลง 3.6% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และคาดว่าปีนี้จะหดตัวในกรอบ ติดลบ 2-6% ถือว่าติดลบต่อเนื่องเป็นปีที่ 2

“คาดว่าเบี้ยรับรายใหม่ มีความเสี่ยงที่จะหดตัวต่ำเป็นประวัติการณ์ ที่ระดับติดลบ 10-15% แม้ว่าเบี้ยปีต่ออายุน่าจะมีสัญญาณฟื้นตัวขึ้นในช่วงที่เหลือของปีนี้” 

Photo : Shutterstock

โดยปัจจัยหลักๆ ที่ทำให้ธุรกิจประกันภัยในปีนี้ มีการเติบโตที่หดตัว ได้เเก่

1) ปัจจัยเดิม : ฐานธุรกิจเบี้ยจ่ายครั้งเดียว (Single Premium: SP) ที่สูง และบริษัทยังจำเป็นต้องปรับลดพอร์ตประกันประเภทจ่ายครั้งเดียวลง เพื่อลดภาระในการตั้งสำรองประกันภัยเมื่อเข้าสู่มาตรฐานบัญชีใหม่

2) ปัจจัยใหม่ : อัตราผลตอบแทนการลงทุนที่ลดต่ำลงเป็นประวัติการณ์ ทำให้บริษัทประกันปรับลดอัตราผลตอบแทน (Internal Rate of Return หรือ IRR) ของผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ขายในปีนี้ลง เหลือเพียงเฉลี่ย 1% ใกล้เคียงกับอัตราดอกเบี้ยเงินฝากในระบบสถาบันการเงินบางประเภทที่มีระยะเวลาการออมสั้นกว่า ลดแรงจูงใจในการออมผ่านการซื้อประกันลง โดยเฉพาะในกลุ่มลูกค้าระดับบน และกลุ่มลูกค้าระดับกลางบางส่วนที่ถูกกระทบจากวิกฤต COVID-19  สุดท้ายแล้ว อาจกระทบให้เบี้ยใหม่ในภาพรวม หดตัวแตะเลขสองหลัก

โดยในระยะที่เหลือของปีนี้ คาดว่าเบี้ยรับรวมจะยังหดตัวต่อเนื่อง ทำให้เบี้ยรับรวมของทั้งปี 2563 คาดว่าจะหดตัวในกรอบ -2% ถึง -6% เป็น 5.74-5.99 แสนล้านบาท จากปี 2562 ที่หดตัวลง -2.6% YoY ด้วยเบี้ยรับรวม 6.11 แสนล้านบาท นำโดยทิศทางการหดตัวของเบี้ยรับรายใหม่ (New Business) ที่คาดว่าจะอยู่ในช่วง -10% ถึง -15% ส่วนเบี้ยปีต่ออายุ (RYP) คาดว่าจะอยู่ในระดับประคองตัวหลังปรับฐานลงค่อนข้างมากในปีที่ผ่านมา

อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมาบริษัทประกันชีวิตต่างปรับตัวเพื่อเข้าถึงลูกค้าหลายกลุ่ม ทั้งแบบสามัญ (Basic Plan) บำนาญ ยูนิตลิงก์ และยูนิเวอร์แซลไลฟ์ (โดยส่วนแบ่งตลาดของผลิตภัณฑ์ประเภทยูนิตลิงก์และยูนิเวอร์แซลไลฟ์ อยู่ที่ระดับประมาณ 5% ปรับตัวลดลงในช่วงปี 2562-2563 จากระดับสูงสุดในปี 2561 ที่ระดับ 7.2%)

โดยมองว่าควรปรับทุนประกันของแผนประกันชีวิตสัญญาหลักให้เล็กลง ให้สอดคล้องกับกำลังซื้อ และขยายโอกาสการเข้าถึงลูกค้าให้มากขึ้น เเละคาดว่าในช่วงที่เหลือของปี เบี้ยประกันสุขภาพน่าจะปรับตัวดีขึ้น และผ่านจุดต่ำสุดไปแล้วในไตรมาส 2/63 

Photo : Shutterstock

ส่วนหนึ่งที่จะทำให้เบี้ยประกันสุขภาพเพิ่มขึ้น มาจากปัจจัยบวกของการเพิ่มค่าลดหย่อนภาษี สำหรับการซื้อประกันสุขภาพเป็น 25,000 บาทต่อปี รวมถึงความตื่นตัวหลังสถานการณ์ COVID-19 ทำให้บริษัทประกันชีวิตหลายแห่ง ได้ออกผลิตภัณฑ์ประกันภัยโรคร้ายแรงขึ้นเป็นการเฉพาะ

ประกอบกับภาวะที่ไทยกำลังก้าวเข้าสู่สังคมสูงวัยสมบูรณ์ในปี 2564 ล้วนมีส่วนช่วยกระตุ้นการซื้อใหม่และซื้อเพิ่ม ดังสะท้อนจากสัดส่วนเบี้ยประกันสุขภาพต่อเบี้ยประกันสัญญาหลักรายบุคคล ที่ปรับตัวสูงขึ้นตลอด 5 ปี และคาดว่าจะแตะระดับ 20% ในปีนี้ จากระดับ 10.3% ในปี 2558

“ปัญหาผลตอบแทนจากการลงทุนที่อยู่ระดับต่ำนี้ ยังน่าจะปรากฏต่อเนื่องในอีก 1-2 ปีข้างหน้า ตามทิศทางอัตราดอกเบี้ยที่จะยังอยู่ในระดับต่ำ ในระหว่างที่เศรษฐกิจไทยยังไม่กลับเข้าสู่ระดับช่วงก่อนการระบาดของ COVID-19” 

ส่วนประเด็นที่น่าจับตามองต่อไป ข้อเรียกร้องจากบริษัทประกันชีวิตที่ขออนุมัติการขายประกันสุขภาพเดี่ยว โดยไม่ต้องควบคู่กับสัญญาหลัก เหมือนปัจจุบันประกันวินาศภัยขายอยู่เดิม ขณะที่การบริหารต้นทุนของบริษัทประกันภัยโดยเฉพาะค่าคอมมิชชันอาจมีการปรับลดลง ในส่วนของลูกค้าอาจปรับลดอัตราดอกเบี้ยที่จ่ายให้ลูกค้าที่คงเงินปันผลสะสมไว้ในบริษัทด้วย

Photo : Shutterstock

ในอีกทางหนึ่งครึ่งปีแรก 2563 ธุรกิจประกันชีวิต มีตัวช่วยจากค่าใช้จ่ายจากการเคลมสินไหมที่ลดลง จากสถานการณ์การ COVID-19 ที่ทำให้จำนวนการเข้าใช้บริการในโรงพยาบาลลดลงตามไปด้วย

โดยครึ่งแรกปีนี้ธุรกิจประกันชีวิตมีรายจ่ายจากการเคลมสินไหมรวมลดลงกว่า 9% เป็นประมาณ 2.28 หมื่นล้านบาท เทียบกับที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นมาโดยตลอดโดยในปี 2562 มียอดจ่ายสินไหมที่ 5.06 หมื่นล้านบาท แต่ก็เพียงเป็นปัจจัยบวกชั่วคราว ท่ามกลางปัจจัยลบที่กดดันธุรกิจ

“นอกจากตัวผลิตภัณฑ์แล้ว บริษัทประกันชีวิตยังมีโจทย์ในการปรับปรุงช่องทางขายและบริการผ่านดิจิทัลมากขึ้น เพื่อรองรับวิถีชีวิตใหม่ ซึ่งมีผลกระตุ้นช่องทางขายหลักเดิมทั้งตัวแทนและแบงก์แอสชัวรันส์ ให้ตื่นตัวในการนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการหลังการขายบนดิจิทัลเพิ่มขึ้น เพื่อให้สามารถแข่งขันได้กับนายหน้ารายใหม่ที่เน้นเข้าถึงลูกค้าบนโลกออนไลน์เป็นหลัก”

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เเนะว่า ทิศทางที่น่าจะตอบโจทย์ใหม่ของธุรกิจประกันชีวิตหลังจากนี้ จำเป็นต้องพึ่งจุดเด่นของธุรกิจในด้านความคุ้มครองอย่างแท้จริง มากกว่าการกระจุกตัวอยู่ในกลุ่มลูกค้าที่ซื้อประกันเพื่อผลตอบแทนด้านภาษีและอัตราดอกเบี้ยอย่างที่เคยเป็นมา เมื่อต้องเจออัตราดอกเบี้ยในประเทศที่จะยังทรงตัวต่ำต่อเนื่องไปอีกอย่างน้อย 1-2 ปีข้างหน้า

 

]]>
1299102
ส่องประกัน COVID-19 คนแห่ซื้อยอดทะลัก เบี้ยต่ำสุดมีตั้งแต่ 99 บาท https://positioningmag.com/1267449 Sun, 08 Mar 2020 18:34:07 +0000 https://positioningmag.com/?p=1267449 ส่องกรมธรรม์คุ้มครอง COVID-19 ในตลาด คนไทยแห่ซื้อยอดล้น ซื้อหลักร้อยคุ้มครองหลักล้าน คุ้มครอง 1 ปี ทิพยประกันภัยกวาดลูกค้าถึงเซเว่น อีเลฟเว่น คุ้มครองค่ารักษาพยาบาลและระยะสุดท้ายของชีวิต รายอื่นออกกรมธรรม์แบบ เจอ-จ่าย-จบ ตรวจพบรับเงินก้อนไปเลย เบี้ยต่ำสุดมีตั้งแต่ 99 บาท บางบริษัทเพิ่มสิทธิความคุ้มครองให้ลูกค้าเดิม ส่วนคนมีประกันสังคมได้รับความคุ้มครอง

ประกัน COVID-19 ยอดทะลัก

ดูเหมือนการระบาดของไวรัสโควิด-19 ทำให้เกิดความเสียหายในหลายภาคส่วนทั้งทางตรงและอ้อม แต่ภายใต้สถานการณ์เดียวกัน พบว่า มีธุรกิจและกิจการบางประเภทได้รับผลบวกจากสถานการณ์ดังกล่าว

ขณะนี้ธุรกิจประกันได้ออกกรมธรรม์คุ้มครองโรคไวรัสโควิด-19 มาเสนอขายหลายค่าย และได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี เบี้ยเริ่มต้นเพียง 99 บาทสำหรับความคุ้มครอง 1 ปี และสามารถซื้อได้ตามร้านสะดวกซื้อ

ค่ายที่ออกกรมธรรม์ ทิพยประกันภัย ประกันไวรัสโคโรนา (Covid-19) เจอ จ่ายแต่ไม่จบ คุ้มครองต่อจนถึงระยะสุดท้าย คุ้มครองการติดเชื้อไวรัสโคโรนา ค่ารักษาพยาบาลสูงสุด 1 แสนบาท ค่าชดเชยการเจ็บป่วยระยะสุดท้ายสูงสุด 1 ล้านบาท เบี้ยเริ่มต้น 150-850 บาท

เงื่อนไขการรับประกัน อายุรับประกัน 1-99 ปี ผู้ทำประกันต้องมีสุขภาพร่างกายแข็งแรง ไม่พิการ ไม่มีโรคเรื้อรัง ไม่คุ้มครองผู้ที่ติดเชื้อ หรือสงสัยว่าติดเชื้อไวรัสโคโรนามาก่อนการทำประกันภัย รวมถึงภาวะแทรกซ้อนต่างๆ จำกัดการซื้อ 1 คนต่อจำนวนเงินเอาประกันภัยไม่เกิน 1 ล้านบาท และ/หรือค่ารักษาพยาบาลรวมกันไม่เกิน 1 แสนบาท

นอกจากนี้ ทางทิพยประกันภัยยังออกผลิตภัณฑ์ ประกันภัยทิพยโควิด แคร์ เสนอขายกรมธรรม์ “ประกันภัยโควิด-19” ซื้อได้ที่เคาน์เตอร์เซอร์วิส และเซเว่น อีเลฟเว่น แพ็กเกจเริ่มต้นเพียง 117 บาทต่อปี หรือเลือกรับความคุ้มครองสูงสุด 770,000 บาท และสามารถใช้แต้ม All member แลกซื้อ แยกเป็น 2 รูปแบบ

แผน 1 เบี้ย 117 บาท/คน/ปี ความคุ้มครอง ค่ารักษาพยาบาล 7,000 บาท อยู่ในภาวะโคม่า 70,000 บาท ใช้แต้ม All member 11,700 แต้ม

แผน 2 เบี้ย 711 บาท/คน/ปี ความคุ้มครอง ค่ารักษาพยาบาล 70,000 บาท อยู่ในภาวะโคม่า 700,000 บาท ใช้แต้ม All member 71,100 แต้ม สามารถซื้อได้มากกว่า 1 กรมธรรม์ ความคุ้มครองรวมไม่เกิน 1 ล้านบาท

ทั้งนี้ มีข้อยกเว้นดังนี้ ไม่รับประกันผู้ที่เดินทางไปประเทศจีน ใน 14 วันที่ผ่านมา (นับจากวันที่เดินทางถึงประเทศไทยเป็นวันแรก) และไม่รับประกันผู้ที่เป็น หรือเคยเป็นโรคลมชัก โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูงที่เคยนอนโรงพยาบาล โรคเบาหวาน โรคกระดูก เช่น โรคกระดูกพรุน และ/หรือกล้ามเนื้อ เช่น กล้ามเนื้อลีบ กล้ามเนื้ออ่อนแรง โรคมะเร็ง โรคเอดส์ หรือมีเชื้อไวรัส HIV หรือโรคหลอดเลือดสมอง (เส้นเลือดในสมองแตก)

เจอ-จ่าย-จบ

นอกจากนี้ ยังมีกรมธรรม์ของบริษัทสินมั่นคงประกันภัย ประกันภัยไวรัสโคโรนา …เจอ จ่าย จบ… พร้อมจ่ายเงินชดเชยทันทีที่ตรวจพบว่า ผู้เอาประกันภัยติดเชื้อไวรัสโคโรนา สายพันธุ์ใหม่ (มีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์) โดยจะจ่ายเป็นเงินก้อน (เต็มทุนวงเงินคุ้มครอง) เบี้ยประกัน 250 บาท/คน/ปี วงเงินคุ้มครองเมื่อตรวจพบเชื้อ 50,000 บาท และเบี้ยประกัน 450 บาท/คน/ปี วงเงินคุ้มครองเมื่อตรวจพบเชื้อ 100,000 บาท

เงื่อนไข อายุรับประกัน 1-99 ปี ผู้ทำประกันต้องมีร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์ ต้องไม่ติดเชื้อ หรือถูกสงสัยว่าติดเชื้อไวรัสโคโรนามาก่อนการทำประกันภัย คำว่าถูกสงสัยว่าติดเชื้อ หมายถึง การที่ผู้เอาประกันภัยได้รับการตรวจสอบ และ/หรือตรวจสุขภาพมาแล้วโดยแพทย์และถูกกักตัวไว้เพื่อดูอาการ และ/หรือเพื่อการรักษาให้หายจากการเจ็บป่วยในเวลาต่อมา และกำหนด 1 คน สามารถทำประกันภัยได้ 1 ฉบับ

บริษัทสินทรัพย์ประกันภัยออก “ประกันภัยไวรัสโคโรนา โควิด-19 (COVID-19)” เบี้ยเริ่มที่ 99 บาท ตรวจเจอเชื้อไวรัส COVID-19 เป็นครั้งแรกรับ 15,000 บาท และแถมความคุ้มครองจากประกันอุบัติเหตุกรณีเสียชีวิต อวัยวะ สายตา ทุพพลภาพถาวร (อบ.1) 4,000 บาท และค่าปลงศพจากการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุ 2,000 บาท และยังมีแผนอื่นให้เลือกเบี้ยประกัน 199 บาท 299 บาท และ 499 บาท เมื่อตรวจเจอเชื้อไวรัส COVID-19 รับเงินสูงสุด 100,000 บาท และแถมประกันอุบัติเหตุและค่าปลงศพให้ตามวงเงินของเบี้ยประกัน

บริษัท กรุงเทพประกันภัย จำกัด (มหาชน) ร่วมกับบริษัท ทีคิวเอ็ม คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เบี้ยประกันต่อปี 299 บาท วงเงินคุ้มครอง 50,000 บาท พร้อมเงื่อนไขสะดวกไม่ต้องตรวจสุขภาพ

อ่านรายละเอียดให้ดี

แหล่งข่าวจากวงการประกันชีวิต กล่าวว่า ในตลาดประกันโควิด-19 ที่เสนอขายกรมธรรม์ใหม่ มีทั้งแบบตรวจเจอว่าติดเชื้อ COVID-19 แล้วจ่ายเต็มจำนวนวงเงินตามที่ระบุไว้ หรือมักที่เข้าใจกันง่ายๆ ว่า “เจอ จ่าย จบ” กับอีกรูปแบบหนึ่งคือจ่ายค่ารักษาพยาบาลตามจริง และจ่ายให้อีกกรณีป่วยระยะสุดท้าย ซึ่งเป็นของทิพยประกันภัย ที่จำหน่ายกรมธรรม์ผ่านธนาคารกรุงศรีอยุธยา และที่บริษัท รวมถึงจำหน่ายผ่านเซเว่น อีเลฟเว่น

ดังนั้น ผู้ที่ต้องการซื้อกรมธรรม์คุ้มครองโควิด-19 มีหลายแผนความคุ้มครองให้เลือกและต้องศึกษาเงื่อนไขให้ดีก่อน บางแห่งมีเงื่อนไขไม่รับประกัน เช่น เพิ่งเดินทางกลับมาจากประเทศจีน แต่บางแห่งแม้จะเพิ่งกลับมาจากจีนก็สามารถทำประกันได้ หรือบางค่ายอาจแถมความคุ้มครองจากอุบัติเหตุมาให้ด้วย ตรงนี้ผู้ที่สนใจต้องนำมาพิจารณาเพื่อตัดสินใจ

กรมธรรม์รูปแบบนี้เหมาะกับผู้ที่มีความกังวลกับโอกาสที่จะเจ็บป่วยจากไข้หวัด (Covid-19) ตัวนี้ โดยเฉพาะผู้ที่ไม่ได้ทำประกันใดๆ ไว้เลย การซื้อกรมธรรม์ประเภทนี้ติดไว้เพื่อความอุ่นใจ หรือซื้อเพื่อเป็นตัวเสริมกับประกันที่มีอยู่ เพื่อเพิ่มวงเงินความคุ้มครองให้สูงขึ้น บางแห่งมีค่าชดเชยพักรักษาตัวรายวันให้อีก

“สำหรับผู้ที่มีประกันสังคมสามารถใช้สิทธิของท่านในการตรวจรักษาได้ตามที่ท่านระบุสถานพยาบาลไว้ หากฉุกเฉินเข้าสถานพยาบาลรัฐที่เป็นคู่สัญญากับประกันสังคมได้ 242 แห่ง หรือผู้ที่มีประกันชีวิตและประกันสุขภาพอยู่แล้ว ผู้ออกกรมธรรม์บางแห่งได้เพิ่มสิทธิในการคุ้มครองหรือให้ค่าชดเชยต่างๆ จาก COVID-19 แล้วหลายราย เช่น เมืองไทยประกันชีวิต แนะนำให้ลองตรวจสอบกับบริษัทประกันที่ท่านได้ทำไว้”

คาดว่าจะมีบริษัทประกันอื่นทยอยออกความคุ้มครองไวรัส COVID-19 ออกมาอีกตามที่คณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ให้การสนับสนุน ส่วนจะซื้อกรมธรรม์เหล่านี้หรือไม่ เป็นสิทธิของแต่ละบุคคล กรมธรรม์คุ้มครองเฉพาะโรคภายใต้สถานการณ์นี้เป็นการจ่ายเบี้ยเพียงครั้งเดียว คุ้มครอง 1 ปี ส่วนใหญ่แล้วมักใช้หลักฐานเพียงบัตรประชาชน แต่ผู้ซื้อต้องไม่ผิดเงื่อนไขของผู้ออกกรมธรรม์หรือไม่เป็นผู้ติดเชื้อ COVID-19 รวมถึงเงื่อนไขข้ออื่นๆ

Source

]]>
1267449
KBank ขยายความคุ้มครองประกันชีวิต COVID-19 จาก 30 วัน เป็น 90 วัน https://positioningmag.com/1266510 Mon, 02 Mar 2020 04:42:21 +0000 https://positioningmag.com/?p=1266510 ธนาคารกสิกรไทย ขยายความคุ้มครองประกันชีวิต COVID-19 ให้ลูกค้า K PLUS เพิ่มจาก 30 วัน เป็น 90 วัน ฟรี! ให้ลูกค้าคลายกังวลจากประกาศยกระดับเป็นโรคติดต่ออันตราย

โดยลูกค้า K PLUS ลงทะเบียนรับสิทธิ์ฟรี ผ่าน LINE KBank Live ได้ตั้งแต่วันที่ 1 ถึง 15 มีนาคม 2563 ไม่จำกัดจำนวนสิทธิ์ สำหรับลูกค้าที่ลงทะเบียนก่อนหน้านี้ จะได้รับการขยายความคุ้มครองโดยอัตโนมัติ

ตารางรายละเอียดความคุ้มครอง จำนวนเงิน
1.    คุ้มครองการเสียชีวิตทุกกรณี 1,000  บาท
2.    คุ้มครองการเสียชีวิต จากการติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (COVID-19) 100,000 บาท
3.    ค่าชดเชยรายวัน ในฐานะผู้ป่วยในจากการติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (COVID-19) สูงสุดไม่เกิน15 วัน 1,000 บาท/วัน
·    ผู้ขอเอาประกันภัยต้องมีอายุไม่เกิน 70 ปี ณ วันที่ลงทะเบียน·    ลูกค้า 1 หมายเลขบัตรประชาชน ต่อ 1 สิทธิ์เท่านั้น

·    ระยะเวลาคุ้มครอง 90 วัน (วันที่เริ่มมีผลคุ้มครอง เวลา 00.01 น. จากวันที่ได้รับการยืนยันการรับสิทธิ์ตามเงื่อนไขที่ธนาคารกำหนด)

 

วิธีการลงทะเบียนรับสิทธิ์

1) ลงทะเบียนรับสิทธิ์ (ไม่จำกัดจำนวน) ได้ที่ https://kbank.co/LINEfriend

2) กรอกข้อมูลส่วนตัว

3) รับ OTP เพื่อยืนยันตัวตน

4) รับข้อความเพื่อยืนยันได้รับสิทธิ์ผ่าน LINE KBank Live

5) ลูกค้าที่ลงทะเบียนและได้รับสิทธิ์แล้ว กรมธรรม์จะเริ่มคุ้มครองในวันถัดไปจนถึงวันที่สิ้นสุดความคุ้มครอง 90 วัน

รายละเอียดเพิ่มเติม https://kbank.co/3ciZWWn

*เงื่อนไขเป็นไปตามที่ธนาคารกำหนด รับประกันชีวิต โดย บมจ. เมืองไทยประกันชีวิต

]]>
1266510