ป้าย HBD – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Sat, 18 Sep 2021 10:40:24 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 สายการบิน จับเทรนด์ ‘ป้าย HBD’ เเฟนด้อมเปลี่ยนเเนว ไม่ใช่เเค่ทุ่มซื้อเเอด เเต่ช่วยสังคมด้วย https://positioningmag.com/1351507 Fri, 17 Sep 2021 15:47:49 +0000 https://positioningmag.com/?p=1351507 ธุรกิจสายการบินดิ้นสู้โควิดไม่หยุด เเม้รัฐผ่อนคลายมาตรการการเดินทางบ้างเเล้ว เเต่ก็คงไม่กลับมา 100% ในเร็ววัน ต้องเร่งอัดโปรฯ ลดราคาเพื่อดึงลูกค้า ล่าสุดกับขยายช่องทางทำรายได้จากฝั่งโฆษณา เพื่อจับตลาดกลุ่มเเฟนคลับกำลังซื้อสูง ที่ยังคงทุ่มโปรโมต ‘ป้าย HBD’ ศิลปินอย่างต่อเนื่อง พร้อมกับการขยายโปรเจกต์ ‘ช่วยเหลือสังคม’ ในวิกฤตโรคระบาด 

จากการลงขันของกลุ่มเเฟนคลับสู่เทรนด์ป้าย HBD ตามสถานีรถไฟฟ้า ขยับมาซื้อสื่อโฆษณาใน “ขนส่งมวลชนท้องถิ่นอย่างตุ๊กตุ๊ก รถสองเเถว รถเเดง ป้ายในเรือ หรือป้ายในย่านชุมชนกันมากขึ้น เเละคราวนี้ก็จะขึ้นบินลัดฟ้าตามเที่ยวบินของสายการบินต่างๆ

สายการบินขยับหาลูกค้า Ads รายย่อย ผ่าน ‘ป้าย HBD’ 

เมื่อเร็วๆ นี้ เราได้เห็นป้าย HBD ศิลปิน ขึ้นไปอยู่ในเที่ยวบินไปกลับเชียงใหม่ดอนเมืองของไทยเเอร์เอเชียจากกลุ่มเเฟนคลับของสิงโต ปราชญา เรืองโรจน์โดยมีทั้งรูปแบบที่ติดบนที่นั่งเเละช่องเก็บสัมภาระ เป็นคำอวยพรวันเกิดให้ศิลปินที่ชื่นชอบ ซึ่งที่ผู้โดยสารภายในเที่ยวบินสามารถมองเห็นได้ทุกคน

นอกจากมีโปรเจกต์ HBD นี้เเล้ว ยังมีการเชิญชวนร่วมบริจาคให้แก่ศิริราชมูลนิธิ เพื่อจัดหาอุปกรณ์ทางการเเพทย์ในช่วงโควิด-19 อีกด้วย

ภาพจากผู้ใช้เฟซบุ๊ก : Happy Richy

ก่อนที่จะเกิดโรคระบาด ไทยเเอร์เอเชีย มีนโยบายมุ่งขยายช่องทางการรับชมสื่อให้กลุ่มผู้โดยสารที่ใช้บริการสายการบินที่มีจำนวนเพิ่มขึ้นทุกปี โดยเมื่อปี 2557 ก็เคยจับมือกับ VGI เอเยนซี่โฆษณานอกบ้านในเครือบีทีเอสกรุ๊ป

อย่างไรก็ตาม ในอดีตผู้ที่เลือกโปรโมตโฆษณาบนเครื่องบิน มักจะเป็นเเบรนด์ใหญ่หรือบริษัทใหญ่ๆ ที่มีงบประมาณการตลาดสูง เพราะเรตราคาก็ถือว่าเเพงเอาการ ผู้ประกอบรายย่อยนั้นเเทบจะเข้าไม่ถึง

เเต่ด้วยสถานการณ์ปัจจุบัน ที่รายได้จากเที่ยวบินลดลง คนเดินทางน้อยลง สายการบินต่างๆ จึงต้องเพิ่มช่องทางการขายให้หลากหลาย เเละปรับเพิ่มสัดส่วนรายได้ Non-Airline ให้มากขึ้น

การที่ได้เราเห็นกลุ่มเเฟนคลับโปรโมต HBD ศิลปินบนเครื่องบินในครั้งนี้ จึงชี้ให้เห็นว่า สายการบินมีการปรับกลยุทธ์การขายสื่อโฆษณาให้เข้าถึงลูกค้ารายย่อยทั่วไปมากขึ้น เเละคาดว่าคงจัดโปรลดราคาลงให้ไม่น้อยเลยทีเดียว

ภาพจากผู้ใช้เฟซบุ๊ก : Happy Richy

เล่นใหญ่ #Wrapเครื่องบิน จับเเฟนคลับกระเป๋าหนัก 

ไทยเวียตเจ็ท’ ก็เป็นอีกหนึ่งสายการบินที่ลงสนามมาจับตลาดกลุ่มเเฟนคลับชาวไทยเช่นกัน ด้วยการประกาศผ่านทวิตเตอร์ว่าด้อมไหนสนใจ Wrap เครื่องบินในโอกาสพิเศษต่างๆ ของเมนตัวเอง ติดต่อไทยเวียตเจ็ทได้เลยนะคะ” เเละ อยากออกแบบไว้ก่อน เชิญเลยนะคะ ทำเสร็จแล้วอย่าลืมเอามาอวดกันด้วยน้า

โดยเพจ Aumjumma วาไรตี้..ชีวิตป้า บล็อกเกอร์สายท่องเที่ยว ระบุว่า หลังจาที่ได้สอบถามไปยังไทยเวียตเจ็ทเเล้ว ได้เรตราคามาคร่าวๆ ว่า หากสนใจจะติดสติกเกอร์แบรนด์ข้างลำตัวเครื่องบิน ค่าผลิตสติกเกอร์ จะอยู่ที่ประมาณ 8 แสนบาท (รวมทั้ง 2 ด้านแล้วแต่ดีไซน์) เเละค่าโฆษณา จะอยู่ที่ปีละประมาณ 6-8 ล้านบาท

(ทั้งนี้ หากระยะเวลาไม่ถึงปี อยู่เเค่ระดับรายเดือน ราคาจริงอาจจะลดลงกว่านี้มาก ต้องติดต่อสอบถามทางไทยเวียตเจ็ทอีกครั้ง)

สำหรับเทรนด์การ #Wrapเครื่องบิน นั้นมีมาหลายปีเเล้ว เเต่ส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มเเฟนคลับชาวจีนที่มีกำลังซื้อสูงมากเพราะต้องใช้เงินหลักล้าน

ซีอีโอของไทยเวียตเจ็ท เคยให้สัมภาษณ์กับ Positioning เมื่อเดือนเม..ที่ผ่านมา ว่า บริษัทมีเป้าหมายจะเพิ่มสัดส่วนรายได้ในกลุ่ม Non-Airline ให้ได้ 30% จากปัจจุบันที่มีสัดส่วนที่ประมาณ 25% เพื่อเสริมรายได้หลักจากทางฝั่งการบิน โดยหนึ่งในนั้นคือกลยุทธ์การเพิ่มรายได้จากอีคอมเมิร์ซ หาสินค้าเเละบริการต่างๆ มาจำหน่ายเพิ่มขึ้น 

ตามรอย VietJet บริษัทเเม่ในเวียดนาม ที่มีรายได้จากการจำหน่ายสินค้าและบริการเสริม คิดเป็นกว่า 50% ของรายได้ทั้งหมด นับเป็นความพยายามของสายการบิน ที่จะหารายได้จากขายสินค้าและบริการเพื่อชดเชยรายได้จากตั๋วโดยสารที่ลดลง

เเฟนคลับ : ไม่ใช่เเค่ทุ่มซื้อโฆษณา เเต่ขยับไปช่วยเหลือสังคม

ด้านฝั่งเเฟนคลับเอง ก็มีทั้งคนที่ได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจ เเต่บางส่วนก็ไม่ได้รับผลกระทบมากนัก ยังมีรายได้อยู่ในระดับดี

เห็นได้จากยอดขายซิงเกิลอัลบั้ม LALISA ของลิซ่า BLACKPINK’ ที่ได้สร้างประวัติศาสตร์ครั้งใหม่ ภายในเวลาแค่ 4 วัน มียอดจองพรีออร์เดอร์กว่า 700,000 ก๊อบปี้ทั่วโลก (ราคาเซตละประมาณ 790 บาท ไม่รวมค่าจัดส่ง) ซึ่งถือว่าสูงสุดตลอดกาลสำหรับศิลปินหญิงเดี่ยวในวงการเคป๊อป สะท้อนให้เห็นว่าเเฟนคลับจำนวนมากยังมีเงินที่จะซื้อสินค้าของศิลปินในช่วงนี้

เเฟนคลับวงบอยเเบนด์เกาหลีรายหนึ่ง บอกกับ Positioning ว่า การระดมทุนภายในเเฟนด้อมในไทยยังมีอยู่ต่อเนื่อง เเต่ไม่ได้เน้นหนักไปที่การทำโปรเจกต์ในป้าย HBD เหมือนเเต่ก่อน เเต่กระจายไปที่การทำโปรเจกต์การกุศลช่วยเหลือผู้คนในช่วงวิกฤตโควิดด้วย

อย่างเช่น โครงการ #เลิฟชนะ เเฟนคลับของ วง NU’EST (นิวอีสต์) ที่มีชื่อแฟนด้อมคือ L.O.Λ.E (เลิฟ) ได้จัดซื้อชุดตรวจ Rapid Test จำนวน 300 ชุด เเจกให้คนในพื้นที่เสี่ยงในเขตกทม. เเละปริมณฑล รวมถึงบริจาคชุด PPE และถุงพลาสติกบรรจุศพให้เเก่วัดต่าง ๆ

ภาพจากทวิตเตอร์ @PRLOVE_ เลิฟชนะ

ขณะที่ แฟนคลับของหนุ่ม เป๊ก ผลิตโชค หรือ ด้อมนุช ก็มีหนึ่งในโปรเจกต์วันเกิด ที่ส่งมอบรถฉุกเฉินให้กับโรงพยาบาล บริจาคเครื่องผลิตออกซิเจน รวมถึงเปิดตลาดนัด ‘ฝากร้านของเหล่าชาวนุช นอกจากนี้ ยังมีเเฟนด้อม WIN:D PARK ของนักร้องหนุ่ม คิมเเจฮวาน ที่ได้จัดทำหน้าเว็บไซต์เพื่อ รวบรวมข้อมูลเตียงโควิด ในไทยด้วย

เป็นอีกหนึ่งพลังเเฟนด้อมที่ร่วมมือกันช่วยเหลือสังคม เเละได้โปรโมตศิลปินไปในตัว เพิ่มเติมเเละเปลี่ยนเเปลงจากการทุ่มเงินซื้อสื่อโฆษณาอย่างเดียวเเบบสมัยก่อน…

 

 

]]>
1351507
จับกระเเส “ด้อมศิลปิน” เเฟนคลับเปย์หนัก เตรียมเท “ป้าย HBD” ตามสถานีรถไฟฟ้า https://positioningmag.com/1302178 Mon, 19 Oct 2020 10:44:10 +0000 https://positioningmag.com/?p=1302178 อย่างที่ทราบกันดีว่า เเฟนคลับศิลปินเป็นกลุ่มที่มีกำลังซื้อสูงเป็นผู้บริโภคที่มีความหลากหลาย ไม่ได้จำกัดเเค่ในวัยรุ่นวัยเรียนเท่านั้น เเต่ยังครอบคลุมไปยังผู้คนทุกเจเนอเรชั่น หลากอาชีพ หลายรสนิยม

กลุ่มเเฟนคลับในไทยนั้น ช่วงเเรกๆ คนมักจะคิดถึงเเฟนคลับผู้ชื่นชอบศิลปินหรือไอดอลเกาหลีเป็นหลัก เเต่ทุกวันนี้ได้ขยายไปยังกลุ่มเเฟนคลับศิลปินจีน ญี่ปุ่น อาเซียน ศิลปินฝั่งตะวันตก เเละศิลปินไทยเองก็เริ่มมีกลุ่มผู้สนับสนุนที่เหนียวเเน่นเพิ่มขึ้นในช่วงที่ผ่านมา

โดยแต่ศิลปินนั้นก็จะมีการตั้งชื่อกลุ่มแฟนคลับหรือที่เรียกกันว่า ด้อม ย่อมาจาก แฟนด้อม (Fandom) เป็นชื่อเฉพาะที่เเตกต่างกันไป เพื่อการสื่อสารเเละรวมกลุ่มเป็นหนึ่งเดียวกัน

ลงลึกไปกว่านั้นในด้อมต่างๆ ก็จะมีกลุ่มที่เรียกว่าบ้านเบสเป็นศัพท์ในทวิตเตอร์ หมายถึงกลุ่มเเฟนคลับที่รวมตัวกันขึ้นมาของศิลปินนั้นๆ ทำหน้าที่ประชาสัมพันธ์กิจกรรม เผยเเพร่ผลงาน รูปถ่าย-คลิปวิดีโอ ขายของที่ระลึก เเปลซับไตเติล ฯลฯ

โดยบ้านเบส จะเป็นเเกนนำในการทำกิจกรรมต่างๆ เช่น เวลาศิลปินมีผลงานใหม่ ก็จะมีการเปิดโดเนท” (Donate) ให้เเฟนคลับร่วมบริจาคซื้ออัลบั้ม โดเนทขึ้นป้ายบิลบอร์ดตามสถานีรถไฟฟ้า หรือร่วมกันโหวตรางวัลต่างๆ ไปจนถึงรวมเงินกันไปทำบุญ ทำกิจกรรมเพื่อสังคม 

หากติดตามวงการนี้สักพัก จะเห็นว่าเเต่ละครั้งที่มีการเปิดโดเนท เเต่ละด้อมจะสามารถระดมทุน” ได้ยอดเงินบริจาคที่สูงมาก ตั้งเเต่ “หลักหมื่นยันหลักล้าน” ในเวลาที่รวดเร็ว” เรียกได้ว่าเปิดโดเนทไม่กี่ชั่วโมง ก็ทะลุหลักเเสนบาทไปเเล้วในด้อมใหญ่ๆ ที่มีเเฟนคลับจำนวนมาก

ล่าสุดกับกระเเสใหม่ เมื่อกลุ่มเเฟนคลับศิลปินได้เเสดงถึงพลังเปย์หนักมากอีกครั้ง เเต่ครั้งนี้เป็นการเปย์เพื่อสนับสนุนการเคลื่อนไหวการชุมนุมที่กำลังเกิดขึ้นในไทย อยู่ ณ ขณะนี้

จากการสังเกตพบว่า การระดมทุนเมื่อช่วงวันที่ 16-17 ตุลาคม ของเหล่าด้อมต่างๆ ในเวลาเพียง 2 วันสามารถดันยอดบริจาครวมกันได้ถึง 2.7 ล้านบาท

หนึ่งในเเฟนคลับที่ร่วมบริจาคบอกกับ Positioning ว่า…นี่เป็นเพียงการโดเนทเเบบชิลๆกันเท่านั้น พร้อมให้เหตุผลถึงยอดบริจาคที่มักจะระดุมทุนได้เยอะว่า ผู้คนที่เป็นสมาชิกในเเต่ละด้อมนั้น มีฐานะทางการเงินเเละอาชีพที่หลากหลายมาก อยู่ในทุกเเวดวงของธุรกิจไทย เรียกได้ว่าทุกอาชีพต้องเป็นเเฟนคลับ บางคนมีกำลังทรัพย์ก็บริจาคเยอะ คนมีน้อยก็บริจาคน้อยตามกำลัง เป็นการร่วมใจกันจากการสื่อสารผ่านโซเชียล

“ตามปกติด้อมที่อยู่ในวัยทำงาน จะเน้นทุ่มบริจาคมากกว่า เพราะไม่ค่อยมีเวลา ส่วนเเฟนคลับวัยเรียนจะเชี่ยวชาญด้านการใช้โซเชียลมีเดีย เช่นการปั่นยอดวิว การกระจายข่าว” 

จากสถานการณ์การชุมนุม ที่มีการปิดให้บริการชั่วคราวของสถานีรถไฟฟ้าในไทยทั้ง BTS เเละ MRT ซึ่งทางบริษัท ชี้เเจงว่าเป็นมาตรการป้องกันความปลอดภัยและกฏหมายที่บังคับใช้นั้น ทำให้เกิด “กระแสทางลบ” ตามมา เมื่อด้อมศิลปินต่างๆ รวมตัวกันเพื่อ ต่อต้านการซื้อสื่อโฆษณาในสถานี เเม้จะเป็นโปรเจกต์ที่เหล่าเเฟนคลับทำกันมาช้านานก็ตาม

สำหรับตลาดป้ายศิลปินนั้น เติบโตต่อเนื่องทุกปี เเม้ในยามเศรษฐกิจไม่ดี กำลังซื้อของเหล่าเเฟนคลับก็ไม่มีลดลงเลยในวิกฤต COVID-19

ก่อนหน้านี้ ผู้บริหาร BMN บริษัทผู้พัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ใน MRT บอกกับ Positioning ว่า บริษัทมีการตั้งทีมงานเพื่อดูเเลลูกค้ากลุ่มนี้โดยเฉพาะ เพราะต้องการเข้าใจถึงสิ่งที่เเฟนคลับตั้งใจเเละอยากจะสื่อสารออกไป โดยความต้องการที่ลูกค้าขอมาในช่วงนี้ ส่วนใหญ่อยากให้เปิดพื้นที่จัด Meet and Greet เเละกิจกรรมเเบบเอ็กซ์คูลซีฟ เอาโปสเตอร์มาตกเเต่งได้ในช็อป ฯลฯ

ตัวอย่างป้ายอวยพรศิลปิน ในสถานีรถไฟฟ้า MRT

เเม้ช่วงวิกฤต COVID-19 เศรษฐกิจจะค่อนข้างฝืดเคือง เเต่ป้าย MRT ของเเฟนคลับไม่ได้รับผลกระทบ เเละไม่ลดลงเลย

เมื่อมองจากสัดส่วนรายได้ พบว่า รายได้รวมจากป้าย HBD ศิลปินจากกลุ่มเเฟนคลับถือเป็นส่วนเล็กๆ ของสื่อโฆษณาทั้งหมดของ BMN คิดเป็นเเค่ 2 – 3% เพราะส่วนใหญ่เป็นเเบรนด์สินค้าถึง 97%

ถึงจะน้อยเเต่เราไม่ละทิ้ง เราจะดูเเลกับลูกค้ากลุ่มเเฟนคลับเป็นพิเศษ เพราะต้องทำความเข้าใจพวกเขาด้วย ด้วยการที่เขาทำด้วยความชื่นชอบ เราจึงไม่ได้มองว่าต้องเอากำไรมากหรือเป็นการค้าจ๋าขนาดนั้น รวมถึงเป็นการสร้างสีสันเเละความหลากหลายให้สถานีด้วย คนเเวะมาถ่ายรูป ก็เป็นการเพิ่มทราฟฟิกเเละการจับจ่ายใช้สอยไปในตัว ผู้บริหาร BMN ให้สัมภาษณ์ เมื่อช่วงต้นเดือนตุลาคมที่ผ่านมา 

อ่านต่อ : เศรษฐกิจฝืด เเต่เเฟนคลับยัง “จ่ายหนัก” ป้ายศิลปินใน MRT เติบโต ขยายเรทราคา-ปรับไซส์ตามงบ

ด้านความคิดเห็นของกลุ่มเเฟนคลับต่อกรณีนี้ พบว่า มีการเสนอให้นำโปรเจกต์ศิลปินต่างๆ ย้ายไปซื้อสื่อโฆษณาในขนส่งมวลชนท้องถิ่นมากขึ้น เช่น บิลบอร์ดรถสองเเถว รถเเดง ป้ายในเรือ หรือป้ายในย่านชุมชนต่างๆ เเทน

ในการทำป้าย HBD ศิลปินต้องใช้เงินตั้งเเต่ “หลักพันปลายๆ ไปจนถึงหลักเเสน” โดยค่าใช้จ่ายของการติดตั้งป้ายนั้น รวมค่าพื้นที่มีเดีย สถานี ภาษีมูลค่าเพิ่มและระยะเวลาที่ต้องการติดตั้งไปด้วย ส่วนใหญ่จะจองขึ้นป้าย 15 วัน – 1 เดือน เป็นธีมอวยพรวันเกิด เเสดงความยินดีในโอกาสพิเศษ ออกเพลง-ละคร หรือออกอัลบั้มใหม่

สำหรับภาพรวมสื่ออุตสาหกรรมโฆษณาในเมืองไทย ในช่วง 7 เดือนเเรกของปี 2563 ตัวเลขเม็ดเงินสื่อโฆษณาที่เป็นตัวสะท้อนตลาดได้ดี ติดลบไปกว่า 20% เเละคาดว่าทั้งปีนี้ เงินโฆษณาจะสะพัดอยู่ที่ 7.1 หมื่นล้าน เเตะจุด “New Low” ต่ำสุดรอบ 20 ปี ใกล้เคียงกับช่วงวิกฤตต้มยำกุ้ง

โดยสื่อทีวีและสื่อนอกบ้าน ที่เคยมีเม็ดเงินมากที่สุดยัง “ติดลบหนัก” ส่วนดาวรุ่งอย่างสื่อดิจิทัลที่เคยเติบโต 20-30% ต่อเนื่องมาทุกปี ต้องสะดุดเเละอาจเติบโตได้เพียง 0.5% เท่านั้น

เห็นได้ชัดว่า เเม้ “ป้าย HBD ศิลปิน” จะไม่ใช่รายได้หลักๆ ของโฆษณาในสถานีรถไฟฟ้า เเต่ก็เป็นปัจจัยสำคัญในการกำหนดทิศทางการบริหาร ต้องจับตาดูว่ากระเเส #เเบน นี้ จะต่อเนื่องไปยาวหรือไม่ เเละมีเอฟเฟกต์ต่อไปอย่างไรบ้าง

 

 

 

 

 

]]>
1302178
เศรษฐกิจฝืด เเต่เเฟนคลับยัง “จ่ายหนัก” ป้ายศิลปินใน MRT เติบโต ขยายเรทราคา-ปรับไซส์ตามงบ https://positioningmag.com/1301849 Sat, 17 Oct 2020 09:30:57 +0000 https://positioningmag.com/?p=1301849 ใครที่เดินผ่านสถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน (MRT) อยู่เป็นประจำ คงคุ้นเคยกับป้าย HBD อวยพรวันเกิดให้เหล่าศิลปิน ที่มีสีสันเเละดีไซน์เเตกต่างกันมากมาย  

เเม้ในช่วงที่เศรษฐกิจได้รับผลกระทบจากการเเพร่ระบาดของ COVID-19 เเต่ทว่า โปรเจกต์ของบรรดาแฟนคลับที่รวมเงินลงขัน จัดทำขึ้นมาเพื่อโปรโมตศิลปินที่พวกเขาชื่นชอบนั้นไม่ได้ลดลงเลย

ย้อนกลับไปถึงกระเเสสื่อโฆษณาป้ายบิลบอร์ดในสถานีรถไฟฟ้าเริ่มคึกคักในไทยมาตั้งแต่ปี 2016 โดยเฉพาะป้ายศิลปินที่ได้รับอิทธิพลมาจากประเทศเกาหลีใต้ ซึ่งแฟนคลับจะเเสดงความยินดี ด้วยการอวยพรศิลปินผ่านป้ายโฆษณานอกบ้าน มีทั้งจอใหญ่เเละจอดิจิทัล ปัจจุบันได้ขยายการเข้าถึงคนหมู่มาก ด้วยฐานแฟนคลับในไทยที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ถือเป็นกิจกรรมทางใจที่ได้ส่วนหนึ่งในการสนับสนุนกลุ่มศิลปินที่ชื่นชอบ

ในมุมของเเฟนคลับนั้น ป้าย HBD เป็นการแสดงให้ศิลปินเห็นว่าพวกเขาอยู่เคียงข้างเเละพร้อมให้การสนับสนุน ขณะเดียวกันก็เป็นการโปรโมตตัวศิลปินด้วย เพราะป้ายจะติดอยู่ในส่วนที่คนเดินผ่านจำนวนมาก เเละผลพลอยได้อีกอย่างคืออาจทำให้คนที่ไม่เคยรู้จัก ก็จะได้รู้จัก และอาจกลายเป็นแฟนคลับคนใหม่ก็เป็นได้

ตลาดป้ายศิลปิน เติบโต-กำลังซื้อไม่ลด 

ในช่วง 4 ปี ที่ผ่านมา ถือว่าเทรนด์ป้ายโฆษณา MRT ของกลุ่มเเฟนคลับโตขี้นเรื่อยๆ มีดีมานด์สูงจริงๆ ทำให้เราต้องขยับทำอะไรเพิ่มเพื่อตอบโจทย์ลูกค้า สมัยก่อนส่วนใหญ่เป็นป้ายของศิลปินเกาหลี เเต่ตอนนี้ศิลปินไทยเยอะขึ้นมาก มีศิลปินจีน ญี่ปุ่น เเละอาเซียนเพิ่มขึ้นด้วย

ณัฐวุฒิ ตรีวิศวเวทย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร แบงคอก เมโทร เน็ทเวิร์คส์ จำกัด หรือ BMN ผู้บริหารพื้นที่เชิงพาณิชย์ของ MRT เล่าให้ Positioning ฟังว่า บริษัทมีการตั้งทีมงานเพื่อดูเเลลูกค้ากลุ่มนี้โดยเฉพาะ เพราะต้องการเข้าใจถึงสิ่งที่เเฟนคลับตั้งใจเเละอยากจะสื่อสารออกไป โดยความต้องการที่ลูกค้าขอมาในช่วงนี้ ส่วนใหญ่อยากให้เปิดพื้นที่จัด Meet and Greet เเละกิจกรรมเเบบเอ็กซ์คูลซีฟ เอาโปสเตอร์มาตกเเต่งได้ในช็อป ฯลฯ

เเม้ช่วง COVID-19 เศรษฐกิจจะค่อนข้างฝืดเคือง เเต่ป้าย MRT ของเเฟนคลับไม่ได้รับผลกระทบ เเละไม่ลดลงเลย

ด้านมุมมองจากเเฟนคลับที่ให้สัมภาษณ์กับ Positioning บอกว่า เเม้ช่วงนี้จะต้องระวังเรื่องการใช้จ่ายมากขึ้น ตามภาวะเศรษฐกิจ เเต่เมื่อโรคระบาดทำให้ไม่ได้ไปชมคอนเสิร์ต เเละยังไม่ได้ซื้ออัลบั้มใหม่ ก็สามารถจัดสรรเงินเหล่านั้นมาร่วมระดมทุนเเทน หรือเเฟนคลับบางคนก็ไม่ได้รับผลกระทบทางการเงินเเละการงานมากนัก ก็ถือว่ายังมี “กำลัง” พอที่จะสนับสนุนศิลปินที่ชอบได้ 

ตัวอย่างป้ายโฆษณาขนาดกลาง (เเนวนอน)ใน MRT

เมื่อมองจากสัดส่วนรายได้ พบว่า รายได้รวมจากป้าย HBD ศิลปินจากกลุ่มเเฟนคลับถือเป็นส่วนเล็กๆ ของสื่อโฆษณาทั้งหมดของ BMN คิดเป็นเเค่ 2 – 3% เพราะส่วนใหญ่เป็นเเบรนด์สินค้าถึง 97%

ถึงจะน้อยเเต่เราไม่ละทิ้ง เราจะดูเเลกับลูกค้ากลุ่มเเฟนคลับเป็นพิเศษ เพราะต้องทำความเข้าใจพวกเขาด้วย ด้วยการที่เขาทำด้วยความชื่นชอบ เราจึงไม่ได้มองว่าต้องเอากำไรมากหรือเป็นการค้าจ๋าขนาดนั้น รวมถึงเป็นการสร้างสีสันเเละความหลากหลายให้สถานีด้วย คนเเวะมาถ่ายรูป ก็เป็นการเพิ่มทราฟฟิกเเละการจับจ่ายใช้สอยไปในตัว

ขยายเรทราคาให้ยืดหยุ่นมากขึ้น

ในช่วงเเรกๆ การทำป้าย HBD ศิลปินต้องใช้เงินอย่างน้อยหลักหมื่นต้นๆ ถึงหลักเเสน เเต่ตอนนี้มีการขยายราคาลงมาให้อยู่หลักพันปลายๆ เพิ่มพื้นที่วางป้ายให้มีความยืดหยุ่นมากขึ้น อย่างการมี ป้ายเล็ก สำหรับลูกค้าที่มีงบจำกัด

โดยส่วนใหญ่เเฟนคลับจะมีการจองป้าย ประมาณ 15 วัน – 1 เดือน เป็นธีมอวยพรวันเกิดหรือเเสดงความยินดีในโอกาสพิเศษออกเพลงละครหรือออกอัลบั้มใหม่

สำหรับรูปแบบในการ ระดมทุน (​Donate) ทำป้ายของเหล่าเเฟนคลับ ส่วนใหญ่จะกระจายข่าวผ่านทางทวิตเตอร์ ที่มีฐานเเฟนคลับนิยมใช้กันเยอะมาก บางโปรเจกต์อาจมีการระดมทุนผ่านการขายของที่ระลึกต่างๆ ด้วย ซึ่งก็มีการระดมทุนกันได้อย่างรวดเร็ว เเละมีการโหวตเลือก รูปภาพ-โลเคชั่น ที่จะวางโปรเจกต์นั้นๆ ด้วย

บางกลุ่มเเฟนคลับก็ติดต่อโดยตรงกับทีมงาน BMN เอง หรือบางกลุ่มก็ติดต่อผ่านเอเยนซี่โฆษณา โดยค่าใช้จ่ายของการติดตั้งป้ายนั้น รวมค่าพื้นที่มีเดีย สถานี ภาษีมูลค่าเพิ่มและระยะเวลาที่ต้องการติดตั้งไปด้วย ซึ่งมีไซส์ที่นิยมกันอยู่ 3 ขนาดคือ

  • ขนาดเล็ก (เเนวตั้งเเนวนอนเล็ก) เรทราคาตั้งเเต่หลักพันปลายๆ ถึง 3 หมื่นบาท
  • ขนาดกลาง (แนวนอน) เรทราคาตั้งเเต่ 3 – 8 หมื่นบาท
  • ขนาดใหญ่ เรทราคาตั้งเเต่ 8 หมื่น แสนบาท

ราคาของป้ายศิลปินมีอยู่หลากหลายมาก เริ่มตั้งเเต่หลักพันปลายๆ ไปจนถึงหลักเเสน ขึ้นอยู่กับระยะเวลาเเละโลเคชั่น เช่นถ้าขึ้นเเค่ 15 วันจะถูกลงไปอีก อยู่จุดไหน สถานีไหน ขนาดเท่าไหร่ จุดที่คนมองเห็นมากน้อย ก็จะมีราคาที่ต่างกัน รวมถึงโปรโมชันที่ได้ด้วย

ตัวอย่างป้ายโฆษณาขนาดเล็ก (เเนวตั้ง) ใน MRT

สำหรับงบประมาณที่ใช้ในการทำป้าย ส่วนใหญ่แฟนคลับสร้างโปรเจกต์ขึ้นแล้วทำการระดมทุน (​Donate) เพื่อนำเงินมาทำป้าย โดยใช้การกระจายข่าวผ่านทาง Twitter (แฟนคลับเกาหลีอยู่ใน Twitter จำนวนมาก) ซึ่งรูปแบบการระดมทุนจะมีของที่ระลึก เช่น โปสต์การ์ด, พวงกุญแจ ฯลฯ ให้กับแฟนคลับที่ร่วมระดมทุนด้วย

ขณะที่เรทป้ายโฆษณาสำหรับเเบรนด์สินค้านั้น ส่วนใหญ่อยู่ที่หลักหมื่นหลักล้าน โดยทีม BMN บอกว่าสามารถปรับได้เสมอ เพราะเป็นเเคมเปญที่เป็นพาร์ตเนอร์กัน โดยในช่วงหลังๆ ก็มีเเบรนด์ใหญ่เข้ามาดีลเเบบระยะยาวเพิ่มขึ้น

ปีหน้าสถานการณ์น่าจะดีขึ้นเรื่อยๆ เเต่สิ่งที่เราห่วงอย่างเดียวคือการเมืองเพราะคาดเดายาก เรื่องเศรษฐกิจกับการเมืองกระทบในเเง่ของโฆษณาอยู่เเล้ว ก็หวังว่าเราจะปรับตัวได้ตามเเผนที่เราวางไว้”

อัดโปรโฆษณา ซื้อ 1 เเถม 1 ช่วงวิกฤตโควิด

วิทสุวัฒน์ อำคาเพท กรรมการผู้จัดการของ BMN กล่าวว่า ตอนนี้ผู้โดยสารก็กลับมาประมาณ 80% เเล้ว ผู้โดยสารอยู่ที่ 3 – 4 เเสนคนต่อเที่ยวต่อวัน นอกจากนี้ยังต้องนับถึงผู้ใช้บริการทางลอดเช่นในสถานีจตุจักร พระรามเก้า ที่เเม้ไม่ได้โดยสารรถไฟ เเต่ก็เข้ามาในพื้นที่ มาช้อปปิ้งที่ Metro Mall มารอเพื่อน ดังนั้น จำนวนผู้ใช้บริการก็จะมากกว่าตัวเลขที่รายงานไป

ตามปกติเเล้ว ผู้คนจะใช้รถไฟฟ้าน้อยที่สุดในช่วงเทศกาลสงกรานต์เเละวันหยุดยาว เเต่สถานีจตุจักร จะยังเท่ากันทุกวัน เพราะคนยังมาเดินตลาดนัด มาวิ่งออกกำลังกายที่สวน

โดยสถานีที่มีคนใช้เยอะสุดคือสุขุมวิทที่มีผู้โดยสารที่เเตะตั๋วราว 1 เเสนคนต่อวัน ผู้ใช้บริการผ่านพื้นที่ราว 2 เเสนคนต่อวัน รองลงมาคือ เพชรบุรี พระรามเก้า เเละจตุจักร บริษัทคาดว่าปีหน้า จะมีผู้มาใช้บริการจะเพิ่มขึ้นเเตะหลักล้านคน ใน 38 สถานี เพราะสถานการณ์คงดีขึ้นกว่านี้

สถานการณ์หลังจากช่วง COVID-19 ที่หลายเเบรนด์ต้องชะลองบประมาณในการทำการตลาดไปนั้น การซื้อโฆษณาใน MRT ลดลงไปหรือไม่

ผมว่าในภาพรวมของการซื้อโฆษณาใน MRT ไม่ลดในเเง่พื้นที่ เราก็พยายามเติมให้เต็มทุกที่ เเต่อาจจะไม่ได้ทำกำไรจากโฆษณามากนักในสถานการณ์เเบบนี้ ดังนั้นจึงมีข้อเสนออย่างการซื้อ 1 เเถม 1 ที่ได้ช่วยทั้งลดค่าใช้จ่ายของลูกค้าเเละพื้นที่ของเราเต็มด้วย

จากนั้นเมื่อสถานการณ์ดีขึ้น BMN ก็มีการดูเเลเฉพาะร้าน เฉพาะสถานี ส่วนใหญ่จะเน้นมาดูเรื่องสื่อโฆษณา ส่วนร้านค้าจะดูเเลทั้งภาพรวมอยู่เเล้ว เเต่ก็ยังไม่ได้กลับมาเก็บค่าเช่า 100% โดยยังมีโปรโมชันเเละส่วนลดอยู่ กระตุ้นให้ร้านต่างๆ ขายของได้ ส่งเสริมให้คนมาซื้อของให้ Metro Mall มากขึ้น

“MRT ปรับตัวรับผลกระทบนี้ โดยมองถึงความอยู่รอดของลูกค้าเป็นหลัก มีการออกมาตรการช่วยเหลือเป็นระยะๆ ตามสถานการณ์ ทั้งให้ส่วนลดเเละให้พื้นที่ฟรีในการขายของ อย่างช่วงเดือนเม.. – .. ลูกค้าอยากไปจัดโรดโชว์ที่สถานีไหน ก็เเจ้งเรามาเเละไปขายของฟรีได้เลย ไม่ต้องเสียค่าเช่า เพื่อให้ลูกค้ายังอยู่กับเราได้นานๆ”

ขณะเดียวกัน การที่ MRT สายสีน้ำเงินมีส่วนต่อขยายครบทั้ง 38 สถานี ก็ทำให้มีพื้นที่ในการบริหารสื่อโฆษณาเพิ่มมากขึ้นไปด้วย ต่อไปมีการเพิ่มพื้นที่สื่อโฆษณา on ground เช่น บริเวณทางเข้าสถานี และปล่องระบายอากาศ ฯลฯ

โดยบริษัทได้มุ่งเน้นการให้บริการสร้างสรรค์สื่อโฆษณาต่างๆ ตามความต้องการเฉพาะ (Tailor Made) ร่วมกับ
เเบรนด์ชั้นนำเพิ่มมากขึ้น ด้วยนำเสนอที่แปลกใหม่ เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ เเละเดินหน้ากลยุทธ์การตลาดแบบผสมผสาน OMO (Online Merges with Offline) ที่ตอบโจทย์พฤติกรรมออนไลน์ของผู้บริโภคในปัจจุบัน

บุกค้าปลีก ไซส์เล็ก รับเทรนด์ Grab & Go

อีกหนึ่งกลยุทธ์ของ BMN คือการปรับปรุงและสร้างสรรค์พื้นที่ค้าปลีก Metro Mall ทุกสถานีไปสู่ The Happy Hub of MRT

โดยการปรับรูปแบบการขายของร้านค้า ให้เป็นรูปเเบบไซส์เล็กมากขึ้น เพื่อให้ตรงกับความต้องการของลูกค้าที่เปลี่ยนไป ซึ่งได้รับเสียงตอบรับที่ดีจากหลายเเบรนด์ ที่ได้ปรับเปลี่ยนร้านอย่างเช่น Fuji To Go, Bon To Go ของโอ ปอง แปง, CoCo Express เเละอีกหลายๆ ร้านที่ปรับร้านเเละขายสินค้าขนาดเล็ก เพื่อคนเดินทางมากขึ้น

ผู้บริหาร BMN บอกว่า ด้วยความที่ MRT เป็นพื้นที่ใหญ่ มีดีมานด์ตลาดสูง บริษัทจึงมีเเผนขยายพื้นที่โฆษณาไปเรื่อยๆ ตามมุมต่างๆ ของสถานีที่ไม่เคยมีมาก่อน โดยการจัดสรรพื้นที่นั้น หลักๆ จะดูจากอินไซต์ที่เรามี ทั้งเรื่องโลเคชั่นเเละขนาด ให้ตอบโจทย์เเต่ละสินค้าที่ไม่เหมือนกันได้ ช่วยให้ร้านค้าขายของดีขึ้น เพราะอยู่ในสถานที่ที่ใช่

ทั้งนี้ พื้นที่การค้าใน MRT มีอยู่ 2 โซน ได้เเก่ Metro Mall ซึ่งเป็นร้านช็อปใหญ่ เเละโซน Event Area ซึ่งเป็นพื้นที่ให้ร้านไซส์เล็กเข้ามาขาย Grab & Go เเบบ 100% เน้นให้ผู้โดยสารเเวะซื้อสินค้าระหว่างเดินทางได้สะดวก

พื้นที่เราอยู่ยาว เเต่ร้านค้าในโซน Event Area จะอยู่สั้น ประมาณ 10 – 14 วัน สร้างความหลากหลายให้ MRT ลูกค้าจะได้ไม่จำเจ เพราะผู้โดยสารเราขี้เบื่อ ชอบเปลี่ยนไปเรื่อยๆ ถ้าร้านมีสินค้าหลากหลายให้เลือก มี Seasonal Menu ก็จะมัดใจลูกค้าผู้เดินทางได้ดีกว่า

]]>
1301849