ผู้ผลิตชิป – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Mon, 24 Jan 2022 06:10:51 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ศึกเจ้าแห่งชิป! Intel สร้างโรงงาน “ชิป” 2 หมื่นล้านในสหรัฐฯ ลดพึ่งพิงซัพพลายเชนในเอเชีย https://positioningmag.com/1371288 Mon, 24 Jan 2022 05:08:25 +0000 https://positioningmag.com/?p=1371288 Intel ประกาศลงทุน 2 หมื่นล้านเหรียญสร้างโรงงาน “ชิป” ในโอไฮโอ สหรัฐฯ ดึงสมดุลซัพพลายเชนกลับสู่ฝั่งตะวันตกทั้งในเชิงเศรษฐกิจและการเมือง หลังที่ผ่านมาเกิดเหตุชิปขาดแคลน ขณะที่ดีมานด์ต่อชิปจะสูงขึ้นเรื่อยๆ เพราะเป็นส่วนประกอบสำคัญในมือถือ คอมพิวเตอร์ รถยนต์ ฯลฯ

Intel ประกาศการลงทุนมูลค่า 2 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 6.61 แสนล้านบาท) เพื่อสร้างโรงงานผลิต “ชิป” ในรัฐโอไฮโอ สหรัฐอเมริกา เฟสแรกจะสร้างโรงงาน 2 แห่งบนพื้นที่ 2,529 ไร่ สนับสนุนการผลิตทั้งชิปที่ Intel ออกแบบเอง และธุรกิจ “Foundry” คือการรับจ้างผลิตชิปยี่ห้ออื่น ซึ่งปัจจุบันธุรกิจนี้มีผู้นำคือ TSMC ในไต้หวัน

Pat Gelsinger ซีอีโอ Intel ให้สัมภาษณ์กับ TIME ว่า “เราหวังว่าต่อไปที่นี่จะเป็นแหล่งผลิตชิปซิลิคอนที่ใหญ่ที่สุดในโลก” เนื่องจากที่ดินของบริษัทมีถึง 5,058 ไร่ หรือยังเหลือที่ว่างอีกเท่าตัว สามารถขยายโรงงานได้เป็น 8 แห่ง

“เรามีส่วนช่วยในการก่อตั้ง Silicon Valley” Gelsinger กล่าว “ตอนนี้เราจะก่อตั้ง Silicon Heartland ขึ้นมา” ทั้งนี้ การก่อตั้งโรงงานผลิตชิปเฟสแรกคาดว่าจะเริ่มเดินเครื่องได้ในปี 2025 และจะช่วยสร้างงานในพื้นที่ได้ 3,000 ตำแหน่ง ยังไม่รวมถึงการสร้างงานให้บริษัทซัพพลายเออร์และพาร์ทเนอร์อีกนับหมื่นตำแหน่ง

 

อำนาจในโลกใหม่อยู่ที่ “ชิป”

การตัดสินใจสร้างโรงงานชิปของ Intel มีเหตุผลทั้งทางเศรษฐกิจและการเมือง ดังที่ทราบกันว่า ที่ผ่านมาซัพพลายชิปเซ็ตขาดแคลนอย่างมาก โดยที่บริษัทสหรัฐฯ มีอำนาจควบคุมน้อยลง ข้อมูลจาก สมาคมอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ (SIA) รายงานว่า สัดส่วนการผลิตชิปในสหรัฐฯ ลดลงจากสัดส่วน 37% เมื่อปี 1990 เหลือเพียง 12% ในปัจจุบัน

เนื่องจากการตั้งโรงงานในเอเชียตะวันออก เช่น จีน ไต้หวัน เกาหลีใต้ สิงคโปร์ มีต้นทุนต่ำกว่าในสหรัฐฯ ถึง 30% โรงงานจึงย้ายออกหรือเลือกตั้งไลน์ผลิตใหม่ในฝั่งเอเชียแทน

“หนึ่งในบทเรียนที่เห็นชัดที่สุดที่เราได้เรียนรู้ระหว่างเกิดการระบาดคือ เราไม่ควรมองข้ามความสำคัญของการเข้าถึงเทคโนโลยีและการผลิต” Gelsinger กล่าว “คุณก็รู้ว่าเราได้เห็นการดิสรัปต์ต่อซัพพลายเชนทั่วโลก ดีมานด์ที่มีต่อเซมิคอนดักเตอร์วันนี้มีมากขึ้นอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน”

ช่วงที่ผ่านมา สหรัฐฯ จึงมีความพยายามที่จะดึงดูดโรงงานชิปกลับมาตั้งในประเทศ ทั้ง Intel, AMD, Nvidia, GlobalFoundries เข้าล็อบบี้ประธานาธิบดี Joe Biden เพื่อให้ลงงบสนับสนุนการวิจัยและการผลิตชิปในสหรัฐฯ จนเมื่อเดือนมิถุยายนปีก่อน วุฒิสภาสหรัฐฯ ได้ผ่านร่างกฎหมายสนับสนุนเทคโนโลยีและการผลิตชิปมูลค่า 5.2 หมื่นล้านเหรียญ (ประมาณ 1.72 ล้านล้านบาท) เป็นที่เรียบร้อย

ไม่เฉพาะบริษัทอเมริกันเท่านั้น การฝากซัพพลายเชนไว้ในทวีปใดทวีปหนึ่งไม่เป็นผลดีกับทุกบริษัท ทำให้ TSMC จากไต้หวันเองก็จะมาตั้งโรงงานชิปมูลค่า 1.2 หมื่นล้านเหรียญ (ประมาณ 3.97 แสนล้านบาท) ในรัฐแอริโซนา ขณะที่ Samsung จากเกาหลีใต้จะมาตั้งโรงงานชิปที่รัฐเท็กซัส มูลค่า 1.7 หมื่นล้านเหรียญ (ประมาณ 5.62 แสนล้านบาท)

Mike DeWine ผู้ว่าการรัฐโอไฮโอ กล่าวถึงการสร้างโรงงานชิปของ Intel ว่า นี่จะเป็นข้อความส่งถึงประเทศจีน “เพราะนี่คือความมั่นคงของประเทศ เป็นเรื่องสำคัญยิ่งชีวิตที่เราจะต้องผลิตชิปที่นี่บนแผ่นดินสหรัฐอเมริกา”

Source: Aljazeera, TIME

]]>
1371288
ดีลสำเร็จ! บริษัทชิปยักษ์ใหญ่ TSMC – Foxconn ต่อรองซื้อวัคซีน 10 ล้านโดสให้ไต้หวัน เเก้เกมจีน https://positioningmag.com/1342005 Tue, 13 Jul 2021 10:40:03 +0000 https://positioningmag.com/?p=1342005 ต่อรองสำเร็จ! ‘TSMC’ และ ‘Foxconn’ บริษัทชิปยักษ์ใหญ่ของไต้หวัน ผู้ผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ป้อนวงการเทคโนโลยีโลก บรรลุข้อตกลงกับ BioNTech จัดซื้อวัคซีนโควิดเเบบ mRNA ที่พัฒนาร่วมกับ Pfizer เพื่อนำมาฉีดฟรีให้ประชาชนชาวไต้หวัน 10 ล้านโดส ‘เเก้เกม’ ข้อพิพาทระหว่างรัฐบาลไทเปและปักกิ่ง

สำหรับค่าใช้จ่ายการจัดซื้อวัคซีนของ BioNTech รวมไปถึงค่าบริการระบบการขนส่งและค่าประกันภัย จะอยู่ที่ไม่เกิน 175 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 5.7 พันล้านบาท) ซึ่งทั้งสองบริษัทจะเป็นผู้รับผิดชอบทั้งหมด เเละจะนำไปบริจาคให้กระทรวงสาธารณสุขของไต้หวัน

ปกติเเล้ว BioNTech จากเยอรมนี ร่วมมือกับ Shanghai Fosun Pharmaceutical ให้เป็นตัวแทนจัดจำหน่ายวัคซีนชนิด mRNA ที่ได้พัฒนากับ Pfizer ในประเทศจีน

โดยรัฐบาลไต้หวัน อ้างว่าทางการจีนพยายามขัดขวางไม่ให้ไต้หวันจัดหาวัคซีนจาก BioNTech ซึ่งจีนยื่นข้อเสนอว่าจะบริจาควัคซีนป้องกันโควิดให้เอง เเต่ไต้หวันยืนยันปฏิเสธ

ท่ามกลางยอดผู้ติดเชื้อที่พุ่งสูง ไต้หวัน ต้องหาทางออกใหม่ โดยจับมือกับบริษัทเอกชนรายใหญ่ที่มี ‘อำนาจการต่อรองทางธุรกิจสูง’ อย่าง Foxconn และ TSMC ให้ไปติดต่อกับ BioNTech และ Shanghai Fosun Pharmaceutical โดยตรงเพื่อจัดหาวัคซีนเเทนรัฐบาล

อย่างไรก็ตาม ด้วยข้อตกลงใหม่ที่ว่า BioNTech และ Fosun ได้รับอนุญาตให้จำหน่ายวัคซีนให้กับบริษัทเอกชน (มากกว่ารัฐบาลไต้หวัน) นั้น ทางรัฐบาลจีนก็คงยังมองว่า เป็นเรื่องที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย 

Terry Gou มหาเศรษฐีผู้ก่อตั้ง Foxconn โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัวว่า ตอนนี้ยังไม่มีการแทรกแซงจากทางการจีน เเละขอบคุณที่การเจรจาทางธุรกิจครั้งนี้ผ่านไปได้ด้วยดี

อย่างที่ทราบกันว่า ‘Foxconn’ เป็นผู้ผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์รายใหญ่ของโลก มีลูกค้าส่วนใหญ่เป็นเเบรนด์ดังต่างๆ ทั้ง HP, Dell , Lenovo เเละ Apple ส่วน TSMC เป็นบริษัทเซมิคอนดักเตอร์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก ผลิตชิปให้ AMD, Apple และ Nvidia รวมถึงชิ้นส่วนสำคัญของของสมาร์ทโฟนทั่วโลก

โดยฐานการผลิตของ Foxconn ส่วนใหญ่อยู่ในประเทศจีนเเละประเทศอื่นๆ แต่ฐานการผลิตของ TSMC ส่วนใหญ่ยังอยู่ในไต้หวัน

ที่ผ่านมา ไต้หวันได้รับการยกย่องว่ามีการควบคุมการระบาดใหญ่ได้ดีเป็นอันดับต้นๆ ของโลก แต่ขณะนี้กำลังประสบปัญหาระลอกใหม่ที่คร่าชีวิตผู้คนไปแล้วกว่า 700 ราย ซึ่งปัจจุบันไต้หวันกระจายวัคซีนโควิด-19 โดสเเรกไปแล้ว 3.3 ล้านคน คิดเป็น 14% ของประชากรทั้งหมด

โดยทาง TSMC และ Foxconn ระบุว่า วัคซีนจาก ‘BioNTech’ จะถูกจัดส่งมาจากรงงานในเยอรมนี และจะนำเข้าไต้หวันได้เร็วที่สุดในช่วงปลายเดือนกันยายนที่จะถึงนี้

 

ที่มา : The Verge , Financial Times

 

 

 

 

]]>
1342005
‘หัวเว่ย’ ยันไม่ปลดพนักงานบริษัทลูก ‘HiSilicon’ แม้รายได้หดเกือบ 90% เพราะถูกคว่ำบาตร https://positioningmag.com/1336920 Mon, 14 Jun 2021 09:12:00 +0000 https://positioningmag.com/?p=1336920 ‘หัวเว่ย’ (Huawei) บริษัทเทคโนโลยีรายใหญ่ของจีนที่คนไทยคุ้นเคย แม้ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาหัวเว่ยต้องเผชิญกับปัญหาการถูก ‘คว่ำบาตร’ โดยสหรัฐอเมริกา ส่งผลให้บริษัทในอเมริกาไม่สามารถทำธุรกิจกับหัวเว่ยได้ ซึ่งนั่นก็ส่งผลโดยตรงกับบริษัท ‘HiSilicon’ ที่ผลิตชิปต่าง ๆ แต่หัวเว่ยก็ยังยืนยันว่าจะไม่ปลดพนักงาน ถึงแม้รายได้จะเกือบเป็นศูนย์ก็ตาม

Catherine Chen ผู้อำนวยการและรองประธานอาวุโสของ Huawei กล่าวว่า บริษัทไม่มีแผนที่จะปรับโครงสร้างบริษัทลูก HiSilicon ที่เป็นบริษัทเกี่ยวกับชิปเซ็ต Kirin ที่หลายคนต้องเคยได้ยินชื่อ แม้ว่าบริษัทจะโดนสหรัฐฯ คว่ำบาตร ซึ่งส่งผลให้ต้องหยุดการผลิตชิปเซ็ตมาเกือบปีแล้วก็ตาม

ในปี 2020 บริษัท HiSilicon มีพนักงานมากกว่า 7,000 คน ซึ่งเป็นจำนวนค่อนข้างมาก เพราะปัจจุบัน HiSilicon แทบไม่มีรายได้ เนื่องจากการคว่ำบาตรทำให้ Taiwan Semiconductor Manufacturing Co. (TSMC) ซึ่งเป็นผู้ผลิตเซมิคอนดักเตอร์รายใหญ่ที่สุดของโลก ซึ่งเป็นผู้รับเหมาเอาต์ซอร์สที่สำคัญของ HiSilicon ไม่สามารถทำธุรกิจกับหัวเว่ยได้

นั่นหมายความว่ายอดขายของ HiSilicon จะลดลงเหลือศูนย์ไม่ช้าก็เร็ว โดยบริษัทวิจัยของอังกฤษ Omdia เปิดเผยว่า HiSilicon มียอดขาย 385 ล้านดอลลาร์ในไตรมาสแรกของปี 2564 ตัวเลขดังกล่าวแสดงถึงการลดลง 87% จากช่วงเดือนเมษายน-มิถุนายนของปี 2563 ซึ่งเป็นช่วงที่ยอดขายของ HiSilicon พุ่งสูงสุด ซึ่ง Chen ได้ยืนยันว่าหัวเว่ยไม่มีแผนที่จะลดจำนวนพนักงานของ HiSilicon

HiSilicon บริษัทเซมิคอนดักเตอร์ก่อตั้งขึ้นในปี 2547 ได้พัฒนาชิปสำหรับสมาร์ทโฟนของหัวเว่ยและอุปกรณ์อื่น ๆ ซึ่งถือว่าเป็นหนึ่งในผู้พัฒนาชิปที่ก้าวหน้าที่สุดในโลก ซึ่ง Chen กล่าวว่า HiSilicon ยังคงพัฒนาเซมิคอนดักเตอร์ต่อไป และสามารถประคองตัวเองได้แม้จะมีการคว่ำบาตร ซึ่งคาดว่าจะคงอยู่เป็นเวลาสองถึงสามปี

เนื่องจากประเทศอื่น ๆ กำลังส่งเสริมอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ของตนเอง ซึ่งจะช่วยให้ HiSilicon ได้รับพันธมิตรด้านซัพพลายเชนรายใหม่ที่ไม่พึ่งพาเทคโนโลยีของสหรัฐฯ นอกจากนี้ บริษัทกำลังพัฒนาผลิตภัณฑ์ประเภทใหม่ เช่น ชิปสำหรับทีวีที่รองรับความละเอียด 8K อยู่อีกด้วย

Source

]]>
1336920