มหาเศรษฐีเอเชีย – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Tue, 02 Mar 2021 11:42:50 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 COVID-19 ดันความรวย ประเทศจีน มีจำนวน ‘เศรษฐีพันล้าน’ เพิ่มขึ้นมากที่สุดในโลก https://positioningmag.com/1321490 Tue, 02 Mar 2021 09:38:01 +0000 https://positioningmag.com/?p=1321490 โรคระบาดไม่ได้ฉุดความรวยของเศรษฐีจีน’ เเต่กลับเป็นตัวส่งเสริม’ ทรัพย์สินของพวกเขาให้เพิ่มพูนมากขึ้น สวนทางเศรษฐกิจโลกที่ตกต่ำ ความเหลื่อมล้ำระหว่างคนจนคนรวยร้าวลึก

ในปี 2020 ที่ผ่านมา ประเทศจีนมีมหาเศรษฐีระดับพันล้านดอลลาร์สหรัฐ-Billionaire’ (ราว 3 หมื่นล้านบาท) เพิ่มขึ้น 259 คน ด้วยอานิสงส์ธุรกิจดิจิทัล อีคอมเมิร์ซ เเละเกมออนไลน์ที่ความนิยมพุ่งกระฉูด รวมถึงตลาดหุ้นที่เฟื่องฟูเเละการเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ของหลายบริษัท ช่วยชดเชยหายนะจาก COVID-19

จากรายงานของ Hurun Global Rich List พบว่า จำนวนของเศรษฐีของจีนในปี 2020 รวมกันเเล้วมากกว่าของทั้งโลกรวมกัน โดยจีนมีมหาเศรษฐีระดับพันล้านกว่า 1,058 คน นับเป็นประเทศแรกในโลกที่มีตัวเลขเกิน 1,000 คน ทั้งห่างอันดับ 2 อย่างสหรัฐอเมริกา ที่มีจำนวนมหาเศรษฐีเพิ่มขึ้นอีก 70 คน รวมเป็น 696 คน

โดยผู้ครองเเชมป์มหาเศรษฐีอันดับ 1 ของจีนตามรายงานนี้ คือจง สานส่านเจ้าของกิจการน้ำดื่มหนงฟู สปริง’ (Nongfu Spring) ที่เพิ่งโค่นมูเกช อัมบานีนักธุรกิจอินเดียไปหมาดๆ ด้วยทรัพย์สินรวม 8.5 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ขึ้นแท่นมหาเศรษฐีรวยที่สุดในเอเชีย เเละติด 1 ใน 10 ของโลกไปหมาดๆ

จง สานส่าน เจ้าของน้ำดื่ม Nongfu Spring

เขาได้รับว่าฉายาว่าหมาป่าเดียวดายเนื่องจากเป็นคนชอบเก็บตัว ต่างจากผู้นำธุรกิจรายใหญ่อื่นๆ ของจีน และเขาเป็นหนึ่งในไม่กี่คนในจีน ที่สามารถสร้างบริษัทมูลค่ามากกว่าหมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ได้ถึง 2 บริษัท

ความรุ่งเรืองของจง สานส่านในปีที่ผ่านมา สวนทางกับเศรษฐีจีนชื่อก้องโลกอย่างแจ็ค หม่าที่อันดับความรวยลดลง หลังมีข้อขัดเเย้งกับรัฐบาลจีนในประเด็นผูกขาดทางการค้า อีกทั้งยังโดนสกัดการเสนอขายหุ้นครั้งแรกแก่ประชาชน (IPO) ของบริษัทฟินเทคในเครืออย่าง Ant Group ซึ่งเคยถูกประเมินว่าจะเป็นหุ้น IPO ที่ระดมทุนได้สูงสุดในโลก 

ในการสำรวจนี้ ยังพบว่า มหาเศรษฐี Elon Musk ซีอีโอของ Tesla , Jeff Bezos ผู้ก่อตั้งของ Amazon และ Colin Huang จาก Pinduoduo หนึ่งในอีคอมเมิร์ซที่เติบโตเร็วที่สุดของจีน มีรายได้เพิ่มขึ้นมากกว่า 5 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐภายในปีเดียว

Elon Musk ซีอีโอของ Tesla / Photo by Kevork Djansezian/Getty Images

ตลอด 5 ปีที่ผ่านมา ประเทศจีนมีมหาเศรษฐีระดับพันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นเกือบ 2 เท่า เนื่องจากการเติบโตทางเศรษฐกิจที่เเซงหน้าหลายประเทศ อีกทั้งในปีที่ผ่านมาก็สกัดความเสียหายจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ได้รวดเร็วทำให้มีจำนวนมหาเศรษฐีเพิ่มขึ้นตามไปด้วย

ด้านรายงานขององค์การ Oxfam ระบุว่า เกือบทุกประเทศในโลก มีความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น อันเป็นผลมาจากการเเพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา

เมื่อนำสินทรัพย์ของเหล่ามหาเศรษฐีรวยที่สุด 10 อันดับแรกของโลก ที่เพิ่มขึ้นนับตั้งแต่ COVID-19 เริ่มระบาด พบว่ามีมูลค่าสูงกว่าประมาณ 5 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยมีระบบเศรษฐกิจเอื้อให้กลุ่มคนร่ำรวย สามารถรักษาความร่ำรวยไว้ได้ ท่ามกลางภาวะวิกฤตทางอันเลวร้าย

 

 

ที่มา : AFP

]]>
1321490
เปิดความเห็น ‘เศรษฐีเอเชีย’ มองเทค บริหารเงินกงสี ความยั่งยืน ปรับพอร์ตลงทุนในตลาดผันผวน https://positioningmag.com/1320828 Wed, 24 Feb 2021 17:23:43 +0000 https://positioningmag.com/?p=1320828 เปิดความเห็นของเหล่า ‘เศรษฐี’ ในเอเชีย กับมุมมองด้านเทคโนโลยี การลงทุน การบริหารทรัพย์สินครอบครัว และความยั่งยืน ท่ามกลางตลาดที่ผันผวนในวิกฤต COVID-19 

Lombard Odier (ลอมบาร์ด โอเดียร์) ร่วมกับ KBank Private Banking สำรวจมุมมองและข้อกังวลของผู้มีความมั่งคั่งสูง (UHNWIs) ในประเด็นสานสัมพันธ์ เปลี่ยนผ่าน และพลิกโฉม : การเข้าถึงผู้มีความมั่งคั่งสูงในภูมิภาคเอเชีย ในยุค New Normal’ 

โดยรวบรวมความคิดเห็นของศรษฐี 150 ราย ใน 7 ประเทศ ได้แก่ ประเทศไทย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ ฮ่องกง ญี่ปุ่น และไต้หวัน 

วินเซนต์ มาเนียนาต์ Limited Partner and Chief Executive Officer, Asia, Lombard Odier กล่าวว่า ผลกระทบจากโรคระบาดครั้งใหญ่ในศตวรรษ ทำให้เหล่านักธุรกิจชั้นนำเปลี่ยนมุมมองต่อสิ่งต่างๆ รอบตัว รวมไปถึงหันมาเน้นลงทุนไม่หวือหวา แต่ถือได้ยาวนานขึ้น

ผู้มีความมั่งคั่งสูงหลายราย ต้องการพึ่งพาที่ปรึกษาที่มีความเชี่ยวชาญในประเทศนั้นๆ เพื่อช่วยให้พวกเขาเข้าถึงตลาดต่างประเทศได้ ในช่วงที่การเดินทางยังลำบาก เราจึงได้เห็นสถาบันการเงินระดับโลกหลายแห่งเริ่มมาเปิดธุรกิจบริหารความมั่งคั่งร่วมกับสถาบันการเงิน ‘ท้องถิ่น’ มากขึ้น

จิรวัฒน์ สุภรณ์ไพบูลย์ Private Banking Group Head ธนาคารกสิกรไทย (ซ้าย) วินเซนต์ มาเนียนาต์ Limited Partner and Chief Executive Officer, Asia, Lombard Odier (ขวา)

เเม้เศรษฐกิจโลกจะตกต่ำ เเต่ธุรกิจ Private Banking ที่ดูเเลลูกค้ามั่งคั่ง กลับมีผลประกอบการดีที่สุดในรอบหลายปี เพราะพิษเศรษฐกิจสะเทือน ‘รากหญ้า’ มากกว่า ‘คนรวย’

Lombard Odier เเละ KBank Private Banking คาดว่า แนวโน้มการเติบโตของบุคคลผู้มีสินทรัพย์สูง หรือ Ultra High Net Worth Individuals : UHNWIs ในเอเชียจะยังคงมีอย่างต่อเนื่อง ราว 10-15% ภายหลังวิกฤตโรคระบาด เศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัว เเละสงครามการค้าคลี่คลายลง

“จำนวนของเศรษฐีใหม่ในเอเชียจะมีเพิ่มขึ้นอย่างมาก ตามเทรนด์การลงทุนในธุรกิจดิจิทัลใหม่ๆ ที่เเจ้งเกิดเเละเติบโตในช่วง COVID-19”

สำหรับในประเทศไทย มองว่า ธุรกิจที่จะสามารถ ‘ฟื้นตัวได้เร็ว’ จากวิกฤตเศรษฐกิจ เช่น ธุรกิจด้านพลังงาน ,  ธุรกิจด้านวัสดุหรือวัตถุดิบ (Material) และธนาคาร

เทคโนโลยี : more digital…เเต่ยังชอบ ‘พบปะพูดคุย’ 

ผลสำรวจนี้ ชี้ให้เห็นพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปอย่างชัดเจนของบุคคลผู้มีความมั่งคั่งสูงในการเปลี่ยนผ่านเชิงดิจิทัล

กว่า 81% ของคนรวยในเอเชีย เห็นว่าการติดต่อผ่านช่องทางดิจิทัลเพิ่มขึ้น และลดการพบปะกันลง more digital, less physical จะกลายเป็นบรรทัดฐานใหม่

โดยผู้มีความมั่งคั่งสูงในไทยที่คิดเห็นเช่นนี้ มีจำนวนมากเป็นลำดับที่ 3 ในเอเชีย

อย่างไรก็ตาม พวกเขามองว่าไม่ใช่ทุกอย่างที่สามารถขับเคลื่อนบนโลกดิจิทัลได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับการติดต่อสื่อสาร และการสร้างความไว้วางใจระหว่างลูกค้าและ Private Bank

เพราะการลงทุนครั้งละกว่าร้อยล้านพันล้าน การได้พูดคุยกันต่อหน้ายังมีความจำเป็น

โดย 59% ของผู้มีความมั่งคั่งสูงในเอเชียและในประเทศไทยส่วนใหญ่ ยังคงต้องการพบปะพูดคุยที่ธนาคารหรือสถานที่อื่นๆ มากกว่าการติดต่อผ่านทางอีเมล จดหมาย วิดีโอคอล หรือโทรศัพท์

เมื่อสถานการณ์ COVID-19 จบลง ผู้มีความมั่งคั่งสูงในประเทศไทยจำนวนหนึ่งกล่าวว่า การพบปะกันยังคงเป็นสิ่งสำคัญอย่างมากสำหรับการดำเนินธุรกิจ และไม่คิดว่ากิจกรรมเหล่านี้จะสามารถทดแทนได้ผ่านการติดต่อสื่อสารแบบออนไลน์

การลงทุน : ‘ดอกเบี้ยต่ำ’ จะเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตวิถีใหม่

ผู้มีความมั่งคั่งสูงในเอเชีย เห็นความผันผวนของตลาดมากขึ้น เเต่กลุ่มนักลงทุนที่เคยผ่านวิกฤตเศรษฐกิจมากเเล้ว ‘ไม่ได้ตื่นตระหนกต่อวิกฤตครั้งนี้มากนัก”

ผลสำรวจ ระบุว่า70% ของผู้มีความมั่งคั่งสูงในประเทศไทย เเละ 81% ของผู้มีความมั่งคั่งสูงในเอเชียไม่ได้ปรับเปลี่ยนพอร์ตการลงทุน โดยเฉพาะระยะเวลาของการลงทุน

สำหรับด้านการบริหารสินทรัพย์ แม้ว่าจะมีผู้มีความมั่งคั่งสูงในเอเชียบางส่วน เลือกที่จะบริหารจัดการแบบที่ความเสี่ยงค่อนข้างต่ำ (Conservative) โดยเลือกลงทุนในสินทรัพย์ปลอดภัยอย่างทองคำ เงินฟรังก์สวิส เงินเยน และพันธบัตรรัฐบาล

“แต่ก็ยังมีผู้มีความมั่งคั่งสูงอีกจำนวนหนึ่งที่มองเห็นโอกาสในช่วงเวลานี้ โดยให้ความสนใจกับหุ้น และตราสารหนี้ภาคเอกชน เนื่องจากเล็งเห็นแนวโน้มว่าภาวะดอกเบี้ยต่ำจะเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตวิถีใหม่” 

โดย 78% มองว่าภาวะดอกเบี้ยตํ่าจะเป็นส่วนหนึ่งของโลกยุคหลัง COVID-19 และอาจดําเนินต่อเนื่องไปอีกทศวรรษ

ผู้มีความมั่งคั่งสูงในประเทศไทยกว่า 87% กล่าวว่า การมีบริการพิเศษที่นอกเหนือบริการด้านลงทุนจะส่งผลอย่างมากต่อการตัดสินใจในการเลือกธนาคาร โดยบริการ 3 อันดับแรกที่มีความสำคัญสูงสุด ได้เเก่ 

  • บริการด้านสินเชื่อ
  • ความสามารถในการเข้าถึงเครือข่ายผู้ประกอบการ
  • ความสามารถในการบริหารจัดการด้านการเงิน
  • การเข้าถึงโอกาสการลงทุนในสินทรัพย์จริง เช่น อสังหาริมทรัพย์

บริหารทรัพย์สินครอบครัว : สนใจ ‘ธรรมาภิบาล’ มากขึ้น 

ความผันผวนของตลาด ทำให้ผู้มั่งคั่งในเอเชีย เริ่มกลับมา ‘ทบทวน’ ธรรมาภิบาลในการจัดการทรัพย์สินครอบครัวและการดําเนินธุรกิจในระยะยาว และทําให้เรื่องนี้เร่งด่วนขึ้น

สำหรับประเทศไทย 35% ของครอบครัวผู้มีความมั่งคั่งสูงได้มีการจัดทำธรรมาภิบาลของครอบครัวแล้ว และวิกฤตในครั้งนี้ก็ได้ส่งผลให้อีก 45% ของครอบครัวที่ยังไม่ได้จัดทำธรรมาภิบาลของครอบครัวสนใจที่จะเริ่มวางแผนในอนาคต

นอกจากนี้ บริการที่ปรึกษาด้านอสังหาริมทรัพย์ (Real Estate Advisory Service) ได้กลายเป็นอีกหนึ่งบริการที่เติบโตสูงที่สุด และเข้ามาตอบโจทย์การบริหารจัดการที่ดินของครอบครัวผู้มีความมั่งคั่งสูงในประเทศไทย

สำหรับในปี 2020 ที่ผ่านมา KBank Private Banking ได้ทำการศึกษาและดูแลพอร์ตการลงทุนด้านอสังหาริมทรัพย์ให้แก่กลุ่มลูกค้าผู้มีความมั่งคั่งสูงจำนวน 121 ราย โดยครอบคลุมที่ดินทั้งหมด 940 แปลง

เศรษฐีรุ่นใหม่มองความ ‘ความยั่งยืน’ คืออนาคต 

เหล่ามหาเศรษฐี เริ่มตระหนักถึงสิ่งที่มีคุณค่าต่อการดำเนินชีวิตหลังวิกฤต COVID-19 ซึ่งเทรนด์ ‘ความยั่งยืน’ เป็นที่สำคัญที่สุดสำหรับการตัดสินใจเลือก Private Bank

69% ของผู้มีความมั่งคั่งสูงในประเทศไทย ได้จัดอันดับให้เทรนด์ด้านความยั่งยืนเป็น 1 ใน 3 ประเด็นที่สำคัญที่สุด โดยไทยคือประเทศที่ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มากเป็นที่สอง รองจากญี่ปุ่น

แม้ว่า 89% ของผู้มีความมั่งคั่งสูงในเอเชียกล่าวว่า เทรนด์ความยั่งยืนจะยังคงมีบทบาทสำคัญในระยะยาว แต่กลับมีเพียง 61% ที่วางแผนการลงทุนโดยคำนึงถึงมิติด้าน ESG และการพัฒนาอย่างยั่งยืน

ผู้มีความมั่งคั่งสูงบางส่วน ยังไม่เชื่อมั่นว่าการลงทุนด้านความยั่งยืนจะสร้างผลตอบแทนท่ีดีได้ โดย 1 ใน 3 ของผู้มีความมั่งคั่งสูงในเอเชีย (ส่วนใหญ่จาก ฮ่องกง ญี่ปุ่น และฟิลิปปินส์) ไม่มีแผนที่จะเพิ่มสัดส่วนการลงทุนที่คํานึงถึงมิติของการพัฒนาอย่างยั่งยืน

สิ่งนี้แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของไพรเวทแบงก์ในการให้คำแนะนำ เพื่อแสดงให้กลุ่มผู้มีความมั่งคั่งสูงเห็นถึงศักยภาพและแนวทางการสร้างผลกำไรของการลงทุนอย่างยั่งยืนอย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น

“กลุ่มเศรษฐีรุ่นใหม่ ให้ความสําคัญกับความยั่งยืนเป็นลําดับต้นๆ และต้องการใช้บริการของธนาคารที่มีการลงมือด้านนี้อย่างจริงจัง” 

4 เรื่องที่ Private Bank ต้องพัฒนา 

KBank Private Banking ให้บริการการบริหารความมั่งคั่งแก่ลูกค้าธนาคารกสิกรไทย ที่มีเงินฝากและเงินลงทุนกับธนาคาร ตั้งแต่ 50 ล้านบาทขึ้นไป ส่วน Lombard Odier เป็นบริษัทบริหารจัดการสินทรัพย์และความมั่งคั่งที่มีประสบการณ์กว่า 220 ปี ดูแลสินทรัพย์รวมของลูกค้าทั่วโลกกว่า 290 พันล้านฟรังก์สวิส (ข้อมูล วันที่ 30 มิถุนายน 2563)

จิรวัฒน์ สุภรณ์ไพบูลย์ Private Banking Group Head ระบุว่า ผลสำรวจนี้สะท้อนให้เห็นความต้องการของกลุ่มผู้มีความมั่งคั่งสูงที่เพิ่มขึ้นและซับซ้อนมากยิ่งขึ้น

KBank Private Banking เเละพันธมิตรทางธุรกิจอย่าง Lombard Odier มองว่ามี 4 เรื่องที่ผู้ให้บริการต้องทำเพื่อช่วยสร้างความมั่งคั่งที่ยั่งยืนให้แก่ลูกค้า ได้แก่

  1. เร่งพัฒนาคุณภาพของบริการดิจิทัล ทั้งในด้านการสื่อสาร การส่งมอบบริการ การรายงานข้อมูลทางการเงิน และการทำธุรกรรม ควบคู่ไปกับการใช้เทคโนโลยีเพื่อยกระดับการให้บริการของไพรเวทแบงเกอร์
  2. สร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการลงทุนที่มีกลไกควบคุมความเสี่ยง ติดตั้งเครื่องมือที่ช่วยให้ลูกค้าสามารถบริหารจัดการความเสี่ยงได้สะดวกขึ้นในทุกๆ ผลิตภัณฑ์
  3. เสริมความแข็งแกร่งของบริการที่ไม่ได้จำกัดอยู่เพียงการลงทุนในตลาดทุน ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนนอกตลาดและลงทุนโดยตรงในบริษัท หรือบริการให้คำแนะนำด้านอสังหาริมทรัพย์และการวางแผนความมั่งคั่ง
  4. เป็นสื่อกลางในการพิสูจน์ให้เห็นถึงผลตอบแทนในระยะกลางและระยะยาวของการลงทุนอย่างยั่งยืน และนำเสนอผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง

 

อ่านรายงานฉบับเต็ม (ที่นี่)

 

]]>
1320828
CP รวยกว่า Samsung! “เจียรวนนท์” ขึ้นแท่น Top 3 ตระกูลรวยที่สุดในเอเชีย https://positioningmag.com/1308773 Wed, 02 Dec 2020 14:55:57 +0000 https://positioningmag.com/?p=1308773 บลูมเบิร์กเปิดทำเนียบ Top 20 ตระกูลรวยที่สุดในเอเชีย แชมป์อันดับ 1 เป็นของตระกูลอัมบานี เจ้าของบริษัทน้ำมัน บริษัทโทรคมนาคม และบริษัทค้าปลีกยักษ์ใหญ่ในอินเดีย ความน่าตื่นเต้นของตารางปีนี้อยู่ที่เจียรวนนท์จากประเทศไทยสามารถครองเก้าอี้อันดับ 3 ได้สำเร็จ แซงหน้าตระกูลลี เจ้าของซัมซุงจากเกาหลีใต้ไปได้แบบชัดเจน

นอกจากเจียรวนนท์ ตระกูลเศรษฐีของไทยอย่างอยู่วิทยาและจิราธิวัตน์ก็ติดโผในตารางเช่นกัน โดยเจ้าพ่อทีซีพีกรุ๊ปนั่งเก้าอี้อันดับ 6 ขณะที่ครอบครัวเซ็นทรัลกรุ๊ปรั้งอันดับที่ 20 ในทำเนียบตระกูลที่ร่ำรวยที่สุดในเอเชีย

ในภาพรวม ครอบครัวมหาเศรษฐีเอเชียทั้ง 20 ตระกูลสามารถครองความมั่งคั่งรวมกว่า 4.63 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 13 ล้านล้านบาท แถมตระกูลที่รวยที่สุดยังมีความมั่งคั่งมากขึ้นไปอีก เทียบแล้วมีทรัพย์สินมูลค่ามากเป็น 2 เท่าของตระกูลอันดับ 2 และหากเทียบกับตระกูลอันดับ 5 แชมป์จะมีความรวยมากกว่า 3 เท่าตัวเลยทีเดียว

รวยแล้วยิ่งรวยอีก

อันดับ 1 ที่สำนักข่าวบลูมเบิร์กยกย่องว่าเป็นตระกูลที่ร่ำรวยที่สุดคือตระกูลอัมบานี ของอินเดีย มูลค่าทรัพย์สินคือ 7.6 หมื่นล้านดอลลาร์ ตามประวัติธีรุไภย อัมบานีเคยอพยพจากอินเดียไปทำงานเป็นเสมียนตั้งแต่อายุ 17 ปี ก่อนจะกลับมาเริ่มตั้งบริษัท Reliance Retail ใน .. 2500

45 ปีผ่านไป ธีรุไภยเสียชีวิตโดยไม่มีพินัยกรรม ลูกชายคือมูเกซได้ควบคุมกิจการของตระกูลทั้งโรงกลั่นน้ำมันขนาดใหญ่สุดของโลก บริษัทโทรคมนาคมที่มีสมาชิกรายเดือนกว่า 307 ล้านคน คิดเป็น 23% ของประชากรประเทศอินเดีย และบริษัทค้าปลีกรายใหญ่ที่สุดในอินเดียด้วยจำนวนสาขาไม่น้อยกว่า 10,901 แห่งใน 6,700 เมืองทั่วประเทศ เกร็ดน่ารู้ของตระกูลคือศิลปินดัง Beyonce และ Chris Martin แห่งวง Coldplay เคยร่วมแสดงในงานแต่งงานของสมาชิกหลายคนในครอบครัวอัมบานี

ตระกูลที่ร่ำรวยเป็นอันดับ 2 คือตระกูลกว็อก แห่งฮ่องกง เจ้าของ Sun Hung Kai Properties มูลค่าทรัยพ์สิน 3.3 หมื่นล้านดอลลาร์ บลูมเบิร์กเล่าว่ากว็อกตักเส็งจดทะเบียนบริษัทใน พ.. 2515 จนวันนี้บริษัทเติบโตเป็นผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์รายใหญ่สุดของฮ่องกง ล่าสุด Thomas Kwok เพิ่งกลับมาเข้าร่วมธุรกิจของครอบครัวในปีนี้ หลังจากพ้นโทษจำคุกในข้อหาติดสินบน

อันดับ 3 คือตระกูลเจียรวนนท์แห่งเครือเจริญโภคภัณฑ์ สถิติความมั่งคั่ง 3.17 หมื่นล้านดอลลาร์ ทุกอย่างเริ่มจากเจีย เอ็กชอคุณพ่อของธนินท์ เจียรวนนท์ได้อพยพจากภาคใต้ของจีนมาตั้งต้นชีวิตใหม่ในประเทศไทย จนกระทั่งเริ่มธุรกิจค้าขายเมล็ดพันธุ์พืชกับพี่ชายใน .. 2464 ผ่านไปหลายสิบปีกิจการขยายออกไปทั้งการค้าปลีก อาหาร และโทรคมนาคม ประเด็นน่าสนใจของบริษัทในปีนี้คือแผนขยายไปตั้งฟาร์มกุ้งที่สหรัฐฯ

ซัมซุงนั่งที่ 5

อันดับ 4 คือตระกูลฮาร์โตโนของอินโดนีเซีย สถิติความมั่งคั่งคือ 3.13 หมื่นล้านดอลลาร์ ตระกูลนี้ร่ำรวยจากธุรกิจบุหรี่ Djarum ซึ่งเป็นรายใหญ่ที่สุดในประเทศ และการขยายไปสู่ธุรกิจธนาคาร Bank Central Asia ขณะที่อันดับ 5 คือตระกูลลีแห่งเกาหลีใต้ เจ้าของ Samsung ซึ่งมีทรัพย์สินรวม 2.66 หมื่นล้านดอลลาร์ จุดเริ่มต้นของความร่ำรวยมาจากลี บยองชอลที่เริ่มต้นกิจการ Samsung ในรูปของบริษัทส่งออกสินค้า ผัก และปลาใน พ.. 2481 จากนั้นจึงมีการขยายเข้าสู่ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ด้วยการตั้งบริษัท Samsung Electronics ใน พ.. 2512 จนกลายเป็นผู้ผลิตสมาร์ทโฟนและชิพความจำรายใหญ่สุดของโลก

สำหรับตระกูลอยู่วิทยานั่งอันดับ 6 ของตาราง เจ้าของทีซีพีกรุ๊ปถูกระบุว่ามีทรัพย์สินมูลค่า 2.42 หมื่นล้านดอลลาร์ หลังจากที่เฉลียว อยู่วิทยาก่อตั้งบริษัทยา T.C. Pharmaceutical เมื่อ .. 2499 บริษัทได้ขยายกิจการไปสู่สินค้าอุปโภคบริโภค สินค้าเด่นคือเครื่องดื่มบำรุงกำลังกระทิงแดงรวมถึงอีกหลายแบรนด์ที่อยู่ภายใต้ทีซีพีกรุ๊ป

ภาพ : centralretail

ส่วนตระกูลจิราธิวัฒน์ครอบครัวธุรกิจเซ็นทรัลกรุ๊ปถูกจัดเป็นอันดับที่ 20 สถิติความมั่งคั่ง 1.29 หมื่นล้านดอลลาร์ วันนี้หนึ่งในกลุ่มบริษัทใหญ่ที่สุดของไทยมีบริษัทลูกกว่า 50 บริษัท ความมั่งคั่งของตระกูลไม่ได้รับผลกระทบใดจากวิกฤตที่ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ถูกวางเพลิงเมื่อ 10 ปีที่แล้วในระหว่างการชุมนุมต่อต้านรัฐบาล

ผู้สนใจสามารถติดตามตาราง 20 อันดับตระกูลร่ำรวยที่สุดในเอเชียได้เพิ่มเติมจากที่มา.


ที่มาhttps://www.bloomberg.com/features/2020-asia-richest-families/

]]>
1308773
‘มูเกช อัมบานี’ มหาเศรษฐีเบอร์ 1 ของเอเชียสูญเงินกว่า 6.5 พันล้านเหรียญหลังราคาน้ำมันตกต่ำ https://positioningmag.com/1304304 Tue, 03 Nov 2020 12:17:24 +0000 https://positioningmag.com/?p=1304304 ความมั่งคั่งของมหาเศรษฐีเบอร์ 1 ของเอเชียอย่าง ‘มูเกช อัมบานี (Mukesh Ambani)’ CEO ของ ‘รีไลอันซ์ (Reliance)’ ลดลงประมาณ 6.5 พันล้านดอลลาร์ หลังจากหุ้นในกลุ่มบริษัทของเขาลดลงมากถึง 8.6% ตามดัชนี Bloomberg Billionaires ซึ่งติดตามบุคคลที่ร่ำรวยที่สุดในโลก

หุ้นของ Reliance Industries ลดลงหลังจากบริษัทมีผลประกอบการที่น่าผิดหวังอันเป็นผลมาจากไตรมาสที่ยากลำบากสำหรับธุรกิจโรงกลั่นน้ำมันขนาดใหญ่ รายได้ในส่วนนั้น “อ่อนแอกว่าที่เราคาดการณ์ไว้มาก” นักวิเคราะห์ของ Nomura เขียนไว้ในบันทึกการวิจัยหลังรายงาน โดยกำไรก่อนหักภาษีลดลง 30% ในช่วงไตรมาส 3

Photo : Indranil Aditya/NurPhoto via Getty Images

การแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ได้ทำลายความต้องการน้ำมันทั่วโลกในปีนี้ เนื่องจากการเดินทางการขนส่งกิจกรรมทางอุตสาหกรรมและการค้าลดลงอย่างมาก แม้ว่าส่วนอื่น ๆ ของรีไลอันซ์กรุ๊ปอย่างค้าปลีกและกลุ่มเทคโนโลยีจะช่วยชดเชยรายได้ที่ตกต่ำของน้ำมันแล้วก็ตาม ซึ่งอัมบานีเองก็รู้ตัวและพยายามที่จะเปลี่ยนจุดโฟกัสมาที่ด้านเทคโนโลยีมากขึ้นก็ตาม แต่ก็ยังไม่ทัน โดยนักวิเคราะห์มองว่าอัมบานีอยู่ภายใต้แรงกดดันที่จะพิสูจน์ว่าส่วนของธุรกิจเทคโนโลยีที่บริษัทของเขาพัฒนาขึ้นจะชดเชยในส่วนของน้ำมันและภาคอื่น ๆ ได้หรือไม่

ที่ผ่านมา อัมบานี สามารถระดมทุนได้มากกว่า 20,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐในเวลาเพียง 4 เดือนสำหรับกลุ่มธุรกิจด้านเทคโนโลยีอย่าง Jio Platforms

ทั้งนี้ ทรัพย์สินของอัมบานีคาดว่าจะมีมูลค่า 7.1 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยยังคงติด Top 10 บุคคลที่ร่ำรวยที่สุดในโลกในปีนี้ โดยหุ้นของ Reliance Industries เพิ่มขึ้น 25% ในปีนี้ ซึ่งช่วยเพิ่มมูลค่าสุทธิของอัมบานีมากกว่า 1.25 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ตามรายงานของมหาเศรษฐีบลูมเบิร์ก

Source

]]>
1304304