มาม่า – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Thu, 12 Oct 2023 15:04:25 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 “พันธ์ พะเนียงเวทย์” แห่ง “มาม่า” กล่าวถึงแนวโน้มการขึ้น “ค่าแรง” ของรัฐบาล https://positioningmag.com/1447988 Thu, 12 Oct 2023 15:03:53 +0000 https://positioningmag.com/?p=1447988 “ถ้าเราทำให้ต้นทุนค่าแรงคนงานต่อมาม่า 1 ซองยังเท่าเดิมได้ แปลว่าเราก็ไม่มีผลกระทบจากการขึ้นค่าแรง โดยเราต้องปรับตัวลงเครื่องจักรใหม่ที่ทันสมัย ผลิตได้เร็วขึ้น แต่ยังใช้จำนวนคนงานต่อ 1 ไลน์ผลิตเท่าเดิม

ตัวอย่างเช่น สมัยก่อนเราเคยผลิตมาม่าได้ 150 ก้อน/นาที ปัจจุบันเราทำได้สูงสุด 450 ก้อน/นาที เท่ากับเราทำได้เร็วขึ้น 3 เท่าแต่ใช้จำนวนคนเท่าเดิม”

“เราไม่ได้ไม่อยากจ่าย เพราะอย่างไรค่าแรงวันหนึ่งก็ต้องขึ้น และถ้าค่าแรงขึ้น พนักงานเราก็มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นด้วย

— พันธ์ พะเนียงเวทย์ ผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์ จำกัด (มหาชน) กล่าวถึงกรณีแนวโน้มนโยบายขึ้นค่าแรงขั้นต่ำของรัฐบาลเศรษฐา ทวีสิน

]]>
1447988
“มาม่า” บุกหนัก “จีน” – คืนสังเวียนตลาด “เวียดนาม” เตรียมเพิ่ม​ “โรงงาน” ใหม่ในไทย ลงทุน 2 พันล้าน https://positioningmag.com/1447913 Thu, 12 Oct 2023 11:18:14 +0000 https://positioningmag.com/?p=1447913
  • อัปเดตแผน “มาม่า” วางเป้าเพิ่มสัดส่วนรายได้ต่างประเทศเป็น 50% โดยจะเริ่มบุกหนักในตลาด “จีน” หลังสินค้าไทยเป็นที่นิยม และหวนคืนสังเวียนในตลาด “เวียดนาม” ที่เคยต้องถอยกลับเมื่อปี 2542
  • ด้านการผลิตปีนี้มีการย้ายฐานผลิตในเมียนมาจากย่างกุ้งสู่มัณฑะเลย์ พร้อมเพิ่มไลน์ผลิตหลังดีมานด์ในเมียนมาเติบโต อนาคตวางแผนเพิ่ม “โรงงาน” แห่งใหม่ในไทย 1 แห่ง 8 ไลน์การผลิต งบลงทุนกว่า 2,000 ล้านบาท รองรับดีมานด์ได้ 10 ปี
  • เมื่อปี 2565 “มาม่า” ประกาศแผนเพิ่มรายได้จากต่างประเทศเป็น 50% ของรายได้รวม จากปัจจุบันมีรายได้จากต่างประเทศ 30% จากการส่งจำหน่ายไป 68 ประเทศ

    มาถึงโค้งท้ายปลายปี 2566 “พันธ์ พะเนียงเวทย์” ผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์ จำกัด (มหาชน) อัปเดตความคืบหน้าในแต่ละตลาด ไฮไลต์สำคัญคือ “จีน” และ “เวียดนาม” ที่กำลังเป็นเป้าหมายหลัก

    มาม่า
    “พันธ์ พะเนียงเวทย์” ผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์ จำกัด (มหาชน)

    พันธ์อธิบายว่า มาม่าเคยลงทุนหนักใน “จีน” ช่วงปี 2541-42 ก่อนจะผ่อนคันเร่งเพราะไม่ได้รับผลตอบรับที่ดีนัก หลังจากนั้นมาม่ายังส่งขายในตลาดจีนแต่ไม่ได้ทำการตลาดมากนัก

    อย่างไรก็ตาม ในระยะอันใกล้มาม่าจะกลับไป ‘บุกหนัก’ ในจีนอีกครั้ง

    “เมื่อก่อนสินค้าไทยไม่เป็นที่นิยม แต่ตอนนี้คนจีนกลับมานิยมสินค้าไทย และมองว่าสินค้าไทยเป็นของพรีเมียม ทำให้เราต้องกลับไปเจาะตลาดให้ได้ โดยจะเน้นทำการตลาดแบบไวรัลบน Douyin (*ชื่อแพลตฟอร์ม TikTok ในจีน) และใช้ KOL เป็นหลัก จีนมีประชากรถึง 1 พันล้านคน ขอเพียงเราเจาะได้ 1% ก็ถือว่าเป็นตลาดใหญ่แล้ว” พันธ์กล่าว

    ส่วนอีกตลาดที่น่าสนใจคือ “เวียดนาม” ซึ่งก็เคยถอยออกมาในช่วงปี 2542 เช่นกัน เพราะคู่แข่งแบรนด์ท้องถิ่น 3-4 แบรนด์แข็งแรงมาก และเวียดนามเป็นตลาดที่ต้องทำสงครามราคา แต่ด้วยจำนวนประชากร 100 ล้านคนจึงเป็นอีกตลาดที่น่าสนใจ อีกทั้งห้างสรรพสินค้าสัญชาติไทยยังเข้าไปเปิดในเวียดนามจำนวนมาก

    พันธ์กล่าวว่า ปี 2567 น่าจะได้เห็นแผนที่ชัดเจน โดยขณะนี้กำลังเจรจาพาร์ทเนอร์เพื่อพา “มาม่า” เข้าสู่ตลาดเวียดนามอีกครั้ง

    มาม่า
    มาม่า ที่จำหน่ายในต่างประเทศ (Photo: Facebook@mamaglobalofficial)

    อีกตลาดที่มาม่ากำลังดูศักยภาพ คือ “ทวีปแอฟริกา” ปัจจุบันไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์เข้าไปถือหุ้นในโรงงานผลิตบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปยี่ห้อหนึ่งในประเทศเคนยา และมีการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการผลิตให้กับพาร์ทเนอร์ร่วมทุน

    ขณะนี้ในตลาดเคนยาใช้แบรนด์บะหมี่กึ่งฯ ของพาร์ทเนอร์ในการจำหน่าย ยังอยู่ระหว่างดูผลตอบรับในตลาดแอฟริกา เพราะถือเป็นตลาดที่ยังต้องประชาสัมพันธ์การรับประทานบะหมี่กึ่งฯ ถ้าหากตลาดน่าสนใจมากขึ้น อาจจะมีการนำแบรนด์มาม่าเข้าไปจำหน่าย

    ส่วนตลาดในกลุ่มชาวตะวันตก เช่น สหรัฐฯ ยุโรป ออสเตรเลีย เป็นกลุ่มที่บริษัทกำลังเปลี่ยนแปลงทางการตลาด จากเดิมเน้นลงขายในร้านค้าเอเชีย (Asian Store) เพื่อเจาะกลุ่มผู้อพยพชาวเอเชีย ขณะนี้ต้องเปลี่ยนมาลงขายในห้างสรรพสินค้าทั่วไปให้ได้ เพราะกลุ่มคนเอเชียรุ่น 2-3 มีวิถีชีวิตที่เหมือนกับคนท้องถิ่นมากขึ้น ซื้อสินค้าตามห้างฯ ปกติมากกว่าร้านค้าเอเชีย

     

    ลงทุนโรงงาน “มาม่า” แห่งใหม่ 2 พันล้าน

    ด้านกำลังการผลิต พันธ์กล่าวว่าปัจจุบันโรงงานของไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์ทั้งหมด เฉพาะกลุ่มบะหมี่เหลือง สามารถผลิตแบบซองได้ 180 ล้านซองต่อเดือน และแบบถ้วย 36 ล้านถ้วยต่อเดือน

    โรงงานผลิตของบริษัท ในไทยมีทั้งหมด 5 แห่ง และต่างประเทศ 4 แห่ง ได้แก่

    • จ.ชลบุรี 1 แห่ง ผลิตบะหมี่เหลือง 16 ไลน์การผลิต
    • จ.ลำพูน 1 แห่ง ผลิตบะหมี่เหลือง 10 ไลน์การผลิต
    • จ.ระยอง 1 แห่ง ผลิตบะหมี่เหลือง 7 ไลน์การผลิต
    • จ.ราชบุรี 2 แห่ง ผลิตเส้นหมี่ขาว เส้นก๋วยเตี๋ยว โจ๊ก ข้าวต้ม
    • ประเทศฮังการี 1 แห่ง ผลิตบะหมี่เหลือง 2 ไลน์การผลิต
    • ประเทศบังคลาเทศ 1 แห่ง ผลิตบะหมี่เหลือง 1 ไลน์การผลิต
    • ประเทศกัมพูชา 1 แห่ง ผลิตบะหมี่เหลือง 2 ไลน์การผลิต
    • ประเทศเมียนมา 1 แห่ง ผลิตบะหมี่เหลือง 3 ไลน์การผลิต
    มาม่า
    โรงงานไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์ (มาม่า) จ.ชลบุรี

    พันธ์กล่าวว่า ปี 2566 นี้บริษัทมีการเพิ่มกำลังผลิตแล้วในเมียนมา โดยย้ายฐานผลิตจากเมืองย่างกุ้งไปยังเมืองมัณฑะเลย์ เพื่อขยายโรงงานให้ใหญ่ขึ้น เพิ่มไลน์ผลิตจากเดิม 2 เป็น 3 ไลน์การผลิต ตอบรับดีมานด์ในเมียนมาที่เติบโต

    ส่วนการผลิตในไทย คาดว่าจะเพิ่มเครื่องจักรอีก 1 ไลน์การผลิตที่โรงงาน จ.ระยอง ภายใน 2 ปีนี้ ซึ่งจะทำให้โรงงานทุกแห่งที่บริษัทมีในไทยพื้นที่เต็ม ไม่สามารถขยายกำลังผลิตเพิ่มได้อีก

    ดังนั้น ไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์จึงมีแผนเปิดโรงงานผลิตแห่งใหม่เพิ่มอีก 1 แห่ง ใช้พื้นที่ราว 50-60 ไร่ เพื่อลงเครื่องจักรได้ 8 ไลน์การผลิต เพียงพอสำหรับรองรับดีมานด์ตลาดได้อีก 10 ปี คาดว่าจะใช้งบลงทุนประมาณ 2,000 ล้านบาท โดยเป็นการทยอยลงทุนในช่วง 10 ปีข้างหน้า

    โรงงานไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์ (มาม่า) จ.ชลบุรี

    ขณะนี้ยังไม่แน่ชัดว่าจะเปิดโรงงานใหม่ในพื้นที่ใด แต่กำลังคัดเลือกหาที่ดินระหว่างพื้นที่อีอีซีซึ่งบริษัทมีโรงงานเดิมอยู่แล้ว หรือเลือกพื้นที่อื่นๆ ที่รัฐบาลจะส่งเสริมการลงทุน เช่น ริมแม่น้ำโขง

    สำหรับการเติบโตช่วงปี 2566-67 พันธ์กล่าวว่า ยอดขายมาม่าปีนี้น่าจะเติบโตประมาณ 4% ปิดยอดขายราว 15,000 ล้านบาท (แบ่งเป็นยอดขายในประเทศ 11,000 ล้านบาท กับต่างประเทศ 4,000 ล้านบาท) ขณะที่ปีหน้าน่าจะเติบโตได้ 5-7%

    ปี 2566 นี้ถือว่าการเติบโตของ “มาม่า” ไม่สูง เพราะช่วงปี 2564-65 มาม่าเติบโตสูงไปแล้วจากพฤติกรรมกักตุนสินค้าอาหารช่วงโควิด-19 ของผู้บริโภค ทำให้ฐานรายได้เดิมค่อนข้างสูง ส่วนปี 2567 พันธ์หวังว่ามาตรการเงินอัดฉีดจากรัฐบาลและการกระตุ้นเศรษฐกิจ เพิ่มรายได้ให้ประชาชน น่าจะทำให้มาม่าได้อานิสงส์เพราะถือเป็นสินค้ากลุ่มอาหารที่เป็นปัจจัยสี่ของผู้บริโภค

    ]]>
    1447913
    เลย์ x มาม่า OK การ Collab ครั้งแรกของมาม่า ภารกิจดัน “มาม่า OK” ให้แมส https://positioningmag.com/1395149 Thu, 04 Aug 2022 09:12:50 +0000 https://positioningmag.com/?p=1395149 โดยปกติแล้วเราจะได้เห็น “เลย์” และ “มาม่า” ต่างออกรสชาติใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง มีทั้งรสชาติตามกระแส หรือรสชาติที่มีความพิเศษบางอย่าง เป็น Limited Edition

    แต่การร่วมมือกันครั้งนี้ของเลย์ และมาม่า มีความพิเศษตรงที่เป็นการพัฒนารสชาติร่วมกัน แล้วออกรสชาตินั้นด้วยกัน ทำหนังโฆษณาด้วยกัน แต่ไม่มีโลโก้ของอีกฝ่ายอยู่บนสินค้าของตัวเอง

    ก่อนหน้านี้เราอาจจะเคยเห็นเลย์ออกรสชาติใหม่ๆ ด้วยการนะเมนูอาหารที่ขึ้นชื่อ หรือที่คนไทยชื่นชอบมาทำรสชาติใหม่ และ Collab กับแบรนด์ต่างๆ เช่น รสวิงค์แซ่บ ทำร่วมกับ KFC, รสชีสพิซซ่า ทำร่วมกับพิซซ่าฮัท รวมไปถึงการให้เชฟชื่อดังมาเนรมิตเมนู รสชาติใหม่ๆ ด้วย

    ความน่าสนใจอยู่ที่ว่า “มาม่า” ไม่เคย Collab กับแบรนด์ใดๆ เลย ไม่ว่าจะกับแบรนด์ของกิน หรือของใช้ การร่วมมือกันครั้งนี้เรียกว่าเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของมาม่าตั้งแต่ทำตลาดมา 50 ปี

    เพชร พะเนียงเวทย์ ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด บริษัท สหพัฒนพิบูล จำกัด (มหาชน) ทายาทเจนเนอเรชั่นที่ 2 ของมาม่า ได้เริ่มเล่าให้ฟังว่า

    ก่อนหน้านี้มีหลายแบรนด์ติดต่อมาขอ Collab กับมาม่า เขาอยากได้ชื่อมาม่าไปอยู่ในแบรนด์ด้วย แต่ไม่เคยรับเลย ความร่วมมือนี้เป็นการ Collab ครั้งแรก เขามองว่าไม่อยากเอา Asset ของมาม่าไปไว้กับสินค้าอะไรทั้งสิ้น

    แล้วความร่วมมือนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร?

    เพชรเล่าย้อนไปว่า

    ย้อนกลับไปตอนเดือนพ.ค. 64 ตอนนั้นเลย์มีอีเวนต์ภายในบริษัท เป็นการเชิญบุคคลภายนอกไปพูดคุยด้วย และได้เชิญทางมาม่าไปแชร์ประสบการณ์ต่างๆ ว่าทำอะไรมาบ้าง จากการแชร์ประสบการณ์ในตอนนั้นทำให้เกิดการพูดคุยกันว่าทั้งคู่ก็มีอะไรหลายอย่างที่เหมือนกัน ถ้ามีโอกาสก็อยากทำอะไรร่วมกัน

    เกิดเป็นความร่วมมือในเฟสแรก ได้ร่วมทำโปรโมชันสำหรับรสชาติที่มีอยู่ในตลาด ส่วนเฟสสองได้ทำรสชาติร่วมกัน จึงออกมาเป็น 2 รสชาติใหม่ “ชิลลี่แครบ – มิโซะบัตเตอร์” ภายใต้แบรนด์มาม่า OK

    เนื่องจากทั้งคู่มีกลุ่มเป้าหมายเป็นกลุ่มวัยรุ่นเหมือนกัน ชอบออกรสชาติใหม่เหมือนกัน อยากสร้างประสบการณ์ใหม่ๆ ให้กับกลุ่มเป้าหมาย และได้แลกเปลี่ยนฐานลูกค้ากันด้วย แต่การออกรสชาติใหม่ในครั้งนี้ ไม่ได้หยิบยกรสชาติที่มีอยู่ในตลาดมาใส่ซองของแต่ละคน แต่เป็นการพัฒนาร่วมกัน

    เพชรเล่าว่า มาคุยกันว่า R&D ของทั้งคู่ ตอนนี้มีรสชาติไหนที่ยังไม่ได้ออกสู่ตลาด พอมาดูก็พบว่ามีรสชาติที่ซ้ำกันอยู่ เลยหยิบเอามาทำด้วยกัน อย่างรสชิลลี่แครบ ได้แรงบันดาลใจจากร้านจัมโบ้ เป็นร้านอาหารซีฟู้ดชื่อดังของสิงคโปร์ ส่วนมิโซะบัตเตอร์ก็ได้แรงบันดาลใจจากเมนูอาหารญี่ปุ่นยอดนิยม เห็นว่าช่วงนี้หลายคนยังเดินทางไปต่างประเทศไม่ได้ การทำรสชาติอาหารต่างประเทศก็เป็นความคิดที่ดี

    เพชรบอกอีกว่า ปกติมาม่าออกสินค้าใหม่อยู่แล้ว แต่ก็แค่รสชาติใหม่ธรรมดา แต่ครั้งนี้เป็นการทำร่วมกัน การมีแพ็กเกจจิ้งเดียวกัน หนังโฆษณาเดียวกัน มันได้พลังมากกว่า มีคุณค่ามากกว่า ไม่ใช่แค่การโคแบรนด์แบบเอาโลโก้ของทั้งคู่มาอยู่ด้วยกัน

    ดันมาม่า OK ให้แมส

    มาม่าได้ทำตลาดสินค้ากลุ่มพรีเมียมมา 16 ปีแล้ว แต่เดิมใช้ชื่อแบรนด์ Oriental Kitchen สินค้าจะเป็นบะหมี่เส้นเหนียวนุ่มกว่ามาม่าปกติ ห่อใหญ่กว่า ราคาสูงกว่า แต่ได้ทำการรีแบรนด์ใหม่เมื่อ 4 ปีที่แล้วให้เป็น มาม่า OK ปรับลุคให้เป็นบะหมี่สไตล์เกาหลี จับกลุ่มเป้าหมายเป็นกลุ่มวัยรุ่น อายุ 15-25 ปี

    ด้วยตัวมาม่ารสชาติหลักมีความแมสในตัวเองอยู่แล้ว กลุ่มเป้าหมายทุกเพศ ทุกวัย แต่ด้วยมาม่า OK ที่มีรสชาติแตกต่างออกไป อีกทั้งราคายังสูงกว่าปกติ จำเป็นต้องทำการตลาดมากขึ้น ทำให้คนรู้จักมากขึ้น การร่วมมือกับเลย์ครั้งนี้จึงเป็นภารกิจในการดันให้มาม่า OK แมสมากขึ้นนั่นเอง

    ในปี 2564 ตลาดบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปมีมูลค่า 18,000 ล้านบาท เติบโต 5-6% กลุ่มพรีเมียมมีสัดส่วน 20% มีการเติบโต 30% ทำให้เห็นเทรนด์ของตลาดบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปในเซ็กเมนต์พรีเมียมก็มีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง

    เพชรมองว่าถ้าทำให้สินค้าตัวนี้แมสได้ มีโอกาสดันรายได้สินค้ากลุ่มพรีเมียมให้มีสัดส่วนเป็น 30% ได้

    “อยากให้มาม่า OK ไปแมสมากขึ้น ตอนนี้ผู้บริโภคกินเร็ว ลองเร็ว เบื่อเร็ว การออกสินค้า Limited ช่วยสร้างกระแสได้ จะมีช่วงพีคอยู่ ก็สามารถสร้างรายได้ในช่วงนั้น”

    ปัจจุบันมาม่า OK มีทั้งหมด 7 รสชาติ ซึ่งรสชาติที่ขายดีที่สุด ได้แก่ ฮอตโคเรียน, ผัดไข่เค็ม และฮอตแอนด์สไปซี่

    ]]>
    1395149
    ‘มาม่า’ ร้องต้นทุนพุ่ง 150% ทำ ‘ขาดทุน’ แล้ว 2 เดือน ย้ำตรึงไม่ไหวยังไงก็ต้อง ‘ขึ้นราคา’ https://positioningmag.com/1390974 Fri, 01 Jul 2022 15:55:48 +0000 https://positioningmag.com/?p=1390974 ปี 2022 ถือเป็นการครบรอบ 80 ปีของ เครือสหพัฒน์ ยักษ์ใหญ่สินค้าอุโภคบริโภคของเมืองไทยที่มี มาม่า แบรนด์พระเอกของเครือที่ครบรอบ 50 ปี ในปีนี้ อย่างไรก็ตาม ปีนี้อาจไม่ได้ใจดีกับเครือสหพัฒน์นัก เพราะด้วยสงครามรัสเซีย-ยูเครน ส่งผลให้ต้นทุนสินค้าต่าง ๆ พุ่งอย่างก้าวกระโดด และถือเป็นวิกฤตที่หนักสุดเท่าที่เคยเจอมาเลยทีเดียว

    ต้นทุนพุ่งกว่า 150% ยังไงต้องขึ้นราคา

    เวทิต โชควัฒนา กรรมการผู้อำนวยการ บริษัท สหพัฒนพิบูล จำกัด (มหาชน) ยอมรับว่า ราคาวัตถุดิบนั้นเริ่มปรับตัวขึ้นตั้งแต่ช่วงก่อนเกิดสงคราม แต่ลสงครามส่งผลให้ต้นทุนพุ่งอย่างก้าวกระโดด ซึ่งถือว่าเป็น วิกฤตหนักสุด และถือว่า ท้าทายที่สุด เท่าที่เคยเจอมา

    โดย 2 วัตถุดิบหลักที่คิดเป็นครึ่งหนึ่งของต้นทุนการผลิตอย่าง น้ำมันปาล์ม ราคาขึ้น 110% ส่วน ข้าวสาลี ขึ้น 53% ขณะที่ น้ำมัน ก็ทำให้ต้นทุนโดยรวมขึ้นหมด โดยเฉพาะในการผลิต แพ็กเกจจิ้ง และ การขนส่ง

    “ตอนนี้ต้นทุนของเรามันทะลุเพดานไปนานแล้ว แต่ที่ผ่านมาเรายังตรึงราคาได้เพราะยังมีสต็อกวัตถุดิบ แต่ตอนนี้ไม่ไหวแล้ว เราขาดทุนมาแล้ว 2 เดือน ทำให้ต้องยื่นเรื่องขอขึ้นราคา 1 บาทกับกระทรวงพาณิชย์ ซึ่งเราเชื่อว่ากระทรวงพาณิชย์เข้าใจ แต่อาจต้องใช้เวลาพิจารณาเพราะเป็นเรื่องเกี่ยวกับปากท้องประชาชน”

    ขึ้นราคากำไรก็ยังไม่เท่าเดิม

    เวทิต กล่าวต่อว่า แม้ว่ามาม่าขึ้นราคาจาก 6 เป็น 8 บาท แต่ กำไรก็ยังไม่เท่ากับก่อนหน้า และมองว่าหากมาม่าขึ้นราคาก็ยังถูกกว่าสินค้าอื่น ๆ ที่ปรับขึ้น ดังนั้น เชื่อว่าจะ ไม่ส่งผลกระทบกับผู้บริโภค แต่ในระยะแรกอาจจะมีช็อกบ้าง เนื่องจากต้องยอมรับว่ากำลังซื้อของผู้บริโภคปีนี้แย่หนักกว่าช่วงโควิด

    ทั้งนี้ ภาพรวมตลาดบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปมีมูลค่า 20,000 ล้านบาท ในครึ่งปีแรกเติบโต 7% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันกับปีที่ผ่านมา ส่วนทั้งปีคาดว่าจะเติบโตได้ 3-5% โดยมาม่ายังครองส่วนแบ่งตลาดอันดับ 1 โดยช่วงครึ่งปีแรกมีอัตราการเติบโตกว่า 7%

    “ต้องยอมรับก่อนว่า มาม่าถือเป็นของที่ถูกที่สุดที่คนจะหาได้ ดังนั้น แม้ครึ่งปีหลังตลาดจะปรับราคาสินค้าก็ยังขายได้ แต่ที่ประเมินว่าตลาดจะเติบโตน้อยเป็นเพราะปีที่ผ่านมาตลาดโตเยอะ โดยเฉพาะช่วงครึ่งปีหลังที่เริ่มเดินทางได้”

    ไปสู่ความพรีเมียมและส่งออกมากขึ้น

    สำหรับแผนช่วงครึ่งปีหลังนี้ สินค้าส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่ม พรีเมียม โดยที่ออกมาแล้ว อาทิ ชุดครบรอบ 50 ปี ราคาซองละ 10 บาท และ ชุดลดโซเดียม ราคา 8 บาท โดยที่ผ่านมา ตลาดพรีเมียม (ราคา 10 บาทขึ้นไป) เป็นกลุ่มที่เติบโตอย่างมาก โดยมาม่าเองเติบโตได้ถึง 28% ขณะที่ภาพรวมตลาดเติบโต 15% ปัจจุบัน สินค้ากลุ่มพรีเมียมของมาม่าคิดเป็น 20% ของพอร์ต

    นอกจากนี้ มาม่าจะเพิ่มการส่งออกมากขึ้น เนื่องจากเห็นความต้องการที่เติบโต โดยปัจจุบันสินค้าส่งออกคิดเป็นสัดส่วน 30% และสินค้าใหม่ที่ออกในช่วงครึ่งปีหลังจะเป็นการผลิตโดยคำนวณบนฐานต้นทุนใหม่ทั้งหมด

    “เราไม่ได้ตั้งเป้าว่าพอร์ตสินค้าพรีเมียมจะต้องโตเป็นเท่าไหร่ เราไม่ได้จะเน้นเฉพาะตลาดพรีเมียม เมื่อมีความต้องการที่ไหนเราผลิต เมื่อมีการแข่งขันเราก็ปรับตัว ดังนั้น สัดส่วนสินค้าไม่ใช่ประเด็น เพราะมาม่าเป็นแบรนด์ของทุกคน”

    มาม่าไม่ใช่ตัวชี้วัดเศรษฐกิจ

    สุดท้าย เวทิต ย้ำว่า ต้นทุนจะยังสูงขึ้นต่อเนื่องและอาจลากยาวกว่าที่คิด อย่างไรก็ตาม บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปไม่เคยเป็นตัวชี้วัดเศรษฐกิจแบบผกผัน แต่เป็นตัวชี้วัดเศรษฐกิจในทางตามกัน หากเศรษฐกิจดีบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปขายดีมาก เศรษฐกิจไม่ดีบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปก็ยังขายได้

    “ผู้บริโภคช็อกไปแล้ว แต่ต้องยอมรับความจริงว่าของแพงขึ้นทั้งโลก หลายคนชอบถามว่า ขึ้นราคาแล้วก็ไม่ลงแล้วสิ นั่นไม่จริง เพราะเราไม่ใช่แบรนด์เดียวในตลาด ใคร ๆ ก็อยากได้มาร์เก็ตแชร์ มันจะต้องต่อสู้กันอยู่แล้ว เพราะตลาดเสรีไม่ใช่ตลาดผูกขาด อย่าไปคุมมันมากเดี๋ยวมันจะหาทางไปเอง”

    ]]>
    1390974
    มาม่า เนสกาแฟ ดัชมิลล์ คอลเกต ติดโผ “แบรนด์แห่งทศวรรษ” จัดโดย Kantar https://positioningmag.com/1388496 Mon, 13 Jun 2022 03:19:08 +0000 https://positioningmag.com/?p=1388496 รางวัล Brand Footprint Awards 2022 ประเทศไทย ทำการคำนวณจากมาตรวัด Consumer Reach Points (อัตราการเข้าถึงผู้บริโภค) ซึ่งเป็นวิธีคำนวณเฉพาะของ Kantar ครอบคลุม 570 แบรนด์ FMCG สำหรับประเทศไทย สะท้อนเสียงจากผู้บริโภค 26.2 ล้านครัวเรือน โดยปีนี้มีการมอบรางวัล 4 แบรนด์ในดวงใจผู้บริโภค “มาม่า เนสกาแฟ ดัชมิลล์ คอลเกต” เป็นแบรนด์แห่งทศวรรษ

    Brand Footprint Awards 2022 ประเทศไทย โดย Kantar ปีนี้รางวัลจะแบ่งออกเป็น 5 กลุ่ม ได้แก่

    • Brands of The Decade รางวัลแบรนด์แห่งทศวรรษ ที่ผู้บริโภคเลือกซื้อมากที่สุด ต่อเนื่อง 10 ปีซ้อน
    • Most Chosen Brands รางวัลแบรนด์ยืนหนึ่ง ที่ผู้บริโภคเลือกซื้อมากที่สุด
    • Top Growing Brands รางวัลแบรนด์ดาวรุ่ง ที่ผู้บริโภคเลือกซื้อเติบโตสูงสุด
    • Top Outstanding Brands รางวัลแบรนด์ม้ามืด ที่มีความโดดเด่น
    • Top Outstanding Retailer รางวัลค้าปลีก ที่มีความโดดเด่น

    การวัดจะแบ่งออกเป็น 6 กลุ่มผลิตภัณฑ์ FMCG ได้แก่ กลุ่มอาหาร, กลุ่มเครื่องดื่ม, กลุ่มผลิตภัณฑ์นม, กลุ่มทำความสะอาดบ้าน, กลุ่มของใช้ส่วนบุคคล และ กลุ่มบิวตี้ รวมไปถึง กลุ่มร้านค้าปลีก ด้วย

    Brands of The Decade รางวัลแบรนด์แห่งทศวรรษ

    มอบให้กับแบรนด์ที่มีผู้บริโภคเลือกซื้อมากที่สุดในปี 2021 และต่อเนื่อง 10 ปีซ้อน ในแต่ละกลุ่มผลิตภัณฑ์ FMCG

    • กลุ่มอาหาร – มาม่า อัตราการเข้าถึงผู้บริโภค 172 ล้านครั้ง
    • กลุ่มผลิตภัณฑ์นม – ดัชมิลล์ อัตราการเข้าถึงผู้บริโภค 168 ล้านครั้ง
    • กลุ่มเครื่องดื่ม – เนสกาแฟ อัตราการเข้าถึงผู้บริโภค 126 ล้านครั้ง
    • กลุ่มของใช้ส่วนบุคคล – คอลเกต อัตราการเข้าถึงผู้บริโภค 106 ล้านครั้ง

     

    Most Chosen Brands รางวัลแบรนด์ยืนหนึ่ง ที่ผู้บริโภคเลือกซื้อมากที่สุด

    แบรนด์ที่มีผู้บริโภคเลือกซื้อมากที่สุดในปี 2021 ในแต่ละกลุ่มผลิตภัณฑ์ FMCG

    • กลุ่มทำความสะอาดบ้าน – ไฮยีน อัตราการเข้าถึงผู้บริโภค 106 ล้านครั้ง
    • กลุ่มบิวตี้ – การ์นิเย่ อัตราการเข้าถึงผู้บริโภค 29 ล้านครั้ง

    (ทั้งสองแบรนด์เป็นแชมป์เก่าตั้งแต่ปีก่อนในหมวดสินค้าของตนเอง)

     

    Top Growing Brands รางวัลแบรนด์ดาวรุ่ง ที่ผู้บริโภคเลือกซื้อเติบโตสูงสุด

    แบรนด์ที่มีผู้บริโภคเลือกซื้อเติบโตมากที่สุดในปี 2021 ในแต่ละกลุ่มและหมวดหมู่ผลิตภัณฑ์ FMCG

    • กลุ่มเครื่องดื่ม – วิตอะเดย์ อัตราการเข้าถึงผู้บริโภค 35 ล้านครั้ง เพิ่มขึ้น 12.6 ล้านครั้ง
    • กลุ่มอาหาร – เลย์ อัตราการเข้าถึงผู้บริโภค 159 ล้านครั้ง เพิ่มขึ้น 10.4 ล้านครั้ง
    • กลุ่มผลิตภัณฑ์นม – นมตราหมี อัตราการเข้าถึงผู้บริโภค 25 ล้านครั้ง เพิ่มขึ้น 6.2 ล้านครั้ง
    • กลุ่มของใช้ส่วนบุคคล – เทพไทย อัตราการเข้าถึงผู้บริโภค 17 ล้านครั้ง เพิ่มขึ้น 4.4 ล้านครั้ง
    • กลุ่มทำความสะอาดบ้าน – ไฟน์ไลน์ อัตราการเข้าถึงผู้บริโภค 53 ล้านครั้ง เพิ่มขึ้น 2.5 ล้านครั้ง
    • กลุ่มบิวตี้ หมวดหมู่สกินแคร์สำหรับใบหน้า – จุฬาเฮิร์บ อัตราการเข้าถึงผู้บริโภค 10 ล้านครั้ง เพิ่มขึ้น 2.3 ล้านครั้ง
    • กลุ่มบิวตี้ หมวดหมู่เครื่องสำอางเมกอัพ – Merrezca อัตราการเข้าถึงผู้บริโภค 4.5 แสนครั้ง เพิ่มขึ้น 2.3 แสนครั้ง

    (เทพไทย เคยได้รางวัลทั้งกลุ่มแบรนด์ดาวรุ่งและแบรนด์ม้ามืดเมื่อปี 2020 มาแล้ว)

     

    Top Outstanding Brands รางวัลแบรนด์ม้ามืด ที่มีความโดดเด่น

    รางวัลนี้จะอิงโดยพฤติกรรมที่เกิดขึ้นจากผู้บริโภคในปี 2021 ซึ่ง Kantar มองเห็น 5 เทรนด์ที่เกิดขึ้นในปีที่ผ่านมาไม่ว่าจะเป็น การใช้ชีวิตอยู่ในบ้าน, การทำอาหารทานเองที่บ้าน, สุขอนามัย, การปรับเปลี่ยนให้เกิดความเรียบง่ายและเลอค่า และการช้อปปิ้งออนไลน์ โดยแบรนด์ที่โดดเด่นที่สุดในแต่ละหมวด มีดังนี้

    • หมวดหมู่บิสกิตและเค้กรสชาติหวาน – ยูโร่ อัตราการเข้าถึงผู้บริโภค 29 ล้านครั้ง เพิ่มขึ้น 5 ล้านครั้ง
    • หมวดหมู่อาหารแช่เย็นและแช่แข็ง – อีซี่โก อัตราการเข้าถึงผู้บริโภค 12 ล้านครั้ง เพิ่มขึ้น 8 ล้านครั้ง
    • หมวดหมู่ทำความสะอาดพื้น – มาจิคลีน อัตราการเข้าถึงผู้บริโภค 14 ล้านครั้ง เพิ่มขึ้น 1 ล้านครั้ง
    • หมวดหมู่บิวตี้ระดับพรีเมียม – Estee Lauder อัตราการเข้าถึงผู้บริโภค 2.1 แสนครั้ง
    • หมวดหมู่บิวตี้ประเภทเวชสำอาง – Eucerin อัตราการเข้าถึงผู้บริโภค 1 ล้านครั้ง
    • ประเภท E-retailer ค้าปลีกออนไลน์ – 7-eleven Online อัตราการเข้าถึงผู้บริโภค 3 ล้านครั้ง เพิ่มขึ้น 2.5 ล้านครั้ง

    แบรนด์แห่งทศวรรษ

    สำหรับเทรนด์ FMCG ในประเทศไทยนั้น “โฮวาร์ด ชาง” กรรมการผู้จัดการประเทศไทยและมาเลเซีย Kantar, Worldpanel Division กล่าวว่า กำลังใช้จ่ายต่อครัวเรือนนั้นเริ่มเล็กลงเพราะขนาดครัวเรือนที่เล็กลง อีกทั้งนักช้อปยังลดจำนวนแบรนด์ FMCG ที่เลือกซื้อจาก 25 แบรนด์ เหลือ 22 แบรนด์ต่อครัวเรือน ซึ่งทำให้โอกาสเติบโตของแต่ละแบรนด์ยากขึ้น ยกตัวอย่างในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา มีเพียง 2 ใน 50 แบรนด์ระดับโลกที่ยังสามารถเติบโตได้

    กลยุทธ์การตลาดที่สำคัญของ FMCG จึงเป็นการหา “นักช้อปหน้าใหม่” ให้เข้ามาเลือกซื้อแบรนด์ตนเองมากขึ้น ซึ่งเกิดจากความเข้าใจอินไซต์ของผู้บริโภคและนำมาดึงดูดให้เกิดการซื้อจริง

    งานประกาศรางวัล Brand Footprint Awards 2022 ประเทศไทย มีเวทีเสวนา โดยมีตัวแทนจากแบรนด์ต่างๆ ที่น่าสนใจเข้าร่วมให้ความรู้ เช่น คอลเกต ที่ระบุถึงการเติบโตได้แม้เป็นช่วง COVID-19 เนื่องจากการมุ่งเน้นการขายออนไลน์ และเข้าใจการใช้กลยุทธ์ Personalized ในช่องทางนี้

    ขณะที่ทาง Kao เจ้าของแบรนด์ “มาจิคลีน” ระบุถึงการรับมือกับปัญหาอัตราเงินเฟ้อว่า แบรนด์จะเน้นเรื่องความแตกต่างและเป็นเอกลักษณ์ เน้นทำโปรโมชันที่ดึงดูดลูกค้าที่มีความภักดีต่อแบรนด์เพื่อรักษาฐานตลาดเดิมไว้ มากกว่าจะลงไปเล่นสงครามราคา เป็นจุดสำคัญที่บริษัทจะยังรักษาไว้

     

    อ่านข่าวเกี่ยวกับสินค้า FMCG ที่น่าสนใจ

    ]]>
    1388496
    ‘เจ้าสัวสหพัฒน์’ มองปัญหาต้นทุนหนักกว่า ‘วิกฤตต้มยำกุ้ง’ แนะรัฐคุมนานสินค้าอาจ ‘ขาดแคลน’ https://positioningmag.com/1388352 Thu, 09 Jun 2022 12:34:15 +0000 https://positioningmag.com/?p=1388352 หากพูดถึงเครือ ‘สหพัฒน์’ เชื่อว่านี่คือชื่อที่อยู่คู่สินค้าอุปโภคบริโภคของคนไทยมาอย่างยาวนาน โดยเฉพาะ ‘มาม่า’ บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปที่เปรียบเสมือนเพื่อนยามยากเวลาหิว โดยภายในงานแถลงข่าว งานสหกรุ๊ปแฟร์ ครั้งที่ 26 เจ้าสัวบุณยสิทธิ์ โชควัฒนา ประธานบริหาร บริษัท สหพัฒนพิบูล จำกัด (มหาชน) ได้ออกมาเปิดใจถึงวิกฤตต้นทุนสินค้า ที่ส่งผลกระทบต่อสินค้าอุปโภคบริโภคในไทยว่า ครั้งนี้หนักกว่า วิกฤตต้มยำกุ้ง เมื่อ 26 ปีที่แล้วเสียอีก

    ปัญหาต้นทุนหนักกว่าวิกฤตต้มยำกุ้ง

    บุณยสิทธิ์ ยอมรับว่า ปัญหาเรื่องต้นทุนวัตถุดิบในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา หรือนับตั้งแต่เกิดสงครามรัสเซีย-ยูเครน ส่งผลกระทบต่อราคาวัตถุดิบมากกว่าช่วง 2 ปีที่เกิดวิกฤตโควิด และส่งผลกระทบรุนแรงกว่าช่วงวิกฤตต้มยำกุ้งในปี 2540 หรือ 26 ปีที่แล้ว ซึ่งช่วงนั้นเงินบาทอ่อนตัวส่งผลให้สินค้าขึ้นราคา แต่เมื่อก่อนเป็นการ ค่อย ๆ ปรับขึ้น แต่ครั้งนี้ ขึ้นพรวดเดียว

    “เราจัดงานสหกรุ๊ปแฟร์ครั้งแรกเมื่อช่วงที่เกิดวิกฤตต้มยำกุ้ง และเวลานี้เหตุการณ์เหมือนกับ 26 ปีที่แล้ว โดยมีสงครามเป็นตัวทำให้ของขึ้นราคาและไม่รู้ว่าจะไปจบตรงไหน ซึ่งตอนนี้ สินค้าที่กระทบสุดมากที่สุด คือ ข้าวสาลี น้ำมันปาล์ม และนำมัน เลยทำให้บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปกระทบก่อน”

    บุณยสิทธิ์ โชควัฒนา ประธานบริหาร บริษัท สหพัฒนพิบูล จำกัด (มหาชน)

    ด้วยปัญหาต้นทุน ทำให้สินค้าในเครือต้องมีการปรับราคาไม่เช่นนั้นบริษัทก็อยู่ไม่ได้เช่นกัน โดยเฉพาะบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ผงซักฟอก โดยตอนนี้กำลังรอเจรจากับกระทรวงพาณิชย์เพื่ออนุมัติเรื่องการปรับราคาเนื่องจากปัญหาต้นทุน เพราะถ้ายิ่งควบคุมนาน มีโอกาสที่สินค้าจะขาดตลาด เพราะวัตถุดิบในการผลิตไม่เพียงพอ เหมือนกรณีของ วัคซีน อย่างไรก็ตาม จะขึ้นราคามากน้อยแค่ไหนต้องรอพิจารณาจากต้นทุนวัตถุดิบอีกที

    “ตอนนี้ทุกประเทศขึ้นราคาหมด เราเองตอนนี้ก็แบกต้นทุนอยู่ ดังนั้น ยังไงก็ต้องขึ้น แต่การขึ้นราคา ต้องค่อยเป็นค่อยไป เพื่อให้ผู้บริโภคยอมรับได้”

    แนะดันส่งออกบรรเทาวิกฤตต้นทุน

    สถานการณ์จะดีขึ้นเมื่อไหร่นั้นขึ้นอยู่กับสงคราม จากตอนแรกคาดว่าจะจบภายในไม่ถึงเดือน แต่ปัจจุบันลากยาวมากว่า 3 เดือน ดังนั้น ต้องเฝ้าดูอย่างใกล้ชิด เครือสหพัฒน์เองก็ไม่ได้วางแผนไว้ตายตัว เพราะต้องรอดูสถานการณ์สงครามวันต่อวัน

    อย่างไรก็ตาม มองว่าเศรษฐกิจไทยปีนี้จะดีกว่า 2 ปีที่ผ่านมา แต่ยังไม่สามารถกลับไปสู่ช่วงก่อนเกิดโควิด เพราะแม้มีวิกฤตเงินเฟ้อแต่ไม่ต้องล็อกดาวน์เหมือนที่ผ่านมา อีกทั้งประเทศไทยยังเป็นประเทศผู้ส่งออกอาหาร ดังนั้น มองว่าการส่งออกเป็นอีกแนวทางบรรเทาปัญหาต้นทุน

    “เชื่อว่าประเทศไทยฟื้นตัวเร็วกว่าประเทศอื่นในฝั่งเอเชียด้วยกัน เพราะเราเป็นประเทศส่งออกอาหาร แม้ไทยจะเจอผลกระทบก็จริง แต่คนไทยก็ปรับตัวได้เร็ว”

    จะอยู่รอดต้องเปิดทางคนรุ่นใหม่

    บุณยสิทธิ์ คาดว่า เครือสหพัฒน์ต้องใช้เวลาอีก 1-2 ปี รายได้ถึงจะกลับไปเท่ากับช่วงก่อนเกิดโควิด โดยจากนี้ก็จะเน้นสินค้าในกลุ่ม เฮลท์แคร์ และเวลเนส เนื่องจากคนหันมาดูแลสุขภาพตั้งแต่ช่วงโควิดที่ผ่านมา และมองว่า ธุรกิจจากนี้จะอยู่รอดได้ต้องปรับตัวและต้องเปลี่ยนมือให้ คนรุ่นใหม่ มารับช่วงต่อ

    แต่ละช่วงไม่เหมือนกัน เราต้องทำใจให้เปลี่ยนทันเหตุการณ์ ตอนนี้สหกรุ๊ปแฟร์เปลี่ยนให้คนใหม่มารับต่อ ไม่ได้เอาคนเก่ามาดู เพราะเราต้องยอมรับว่ารุ่นใหม่เขามีความสามารถแบบหนึ่ง คนเก่าก็มีความสามารถอีกแบบ คนรุ่นเก่าอาจเก่าเรื่องระวังตัว คนรุ่นใหม่เก่าเทคโนโลยี เราพยายามทำให้การเปลี่ยนเเปลง ทำให้เกิดผลบวก”

    สินค้าแฟชั่นปีนี้โตเพราะไม่มี Work From Home

    ธรรมรัตน์ โชควัฒนา กรรมการผู้อำนวยการ และประธานกรรมการบริหาร บริษัท ไอ.ซี.ซี. อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) ในเครือสหพัฒน์ กล่าวเสริมว่า ในส่วนต้นทุนผ้าของบริษัทก็พุ่งขึ้นตั้งแต่ 50-100% ตั้งแต่เกิดสงครามเป็นต้นมา เนื่องจากน้ำมันขึ้นราคา ดังนั้น ไอ.ซี.ซี ก็เพิ่มไลน์สินค้าใหม่ แม้มีราคาสูงแต่ผู้บริโภคบางคนยังยอมจ่าย เพราะอั้นมาจาก 2 ปีก่อนเนื่องจากตลาดปิด

    นอกจากนี้ สินค้าประเภทผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผ้าอย่าง เอสเซ้นซ์ ก็ต้องขึ้นราคาไม่ช้าก็เร็ว เพราะวัตถุดิบหลักได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมันเช่นกัน แต่สินค้ากลุ่มดังกล่าวยังมีกลไกตลาดควบคุมอยู่ ดังนั้น อาจจะยังต้องทนแบกต้นทุนอยู่ดี

    “จริง ๆ ราคามันควรจะขึ้นตอนนี้แล้วเพราะโรงงานก็ไม่ไหวแล้ว แต่ที่ราคายังไม่ขึ้นเพราะสินค้าในตลาดตอนนี้ยังเป็นล็อตเก่าอยู่ ซึ่งเราคงจะขึ้นราคาสินค้าที่ไม่ใช่สินค้าควบคุม แต่คงขึ้นไม่เกินเพดานที่ตั้งไว้ เพราะราคาปัจจุบันยังมีช่องให้ขึ้นได้อยู่”

    สำหรับผลประกอบการ ไอ.ซี.ซี ปีนี้คาดว่าจะเติบโตได้ประมาณ 20% เป็นอย่างน้อย จากปีที่ผ่านมาติดลบเกือบ -50% อย่างไรก็ตาม ช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมา ไอ.ซี.ซี.ได้ปรับวิธีการทำงาน เพื่อให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ช่วยให้ลดค่าใช้จ่ายได้พอสมควร ทำให้บริษัทมีกำไรเพิ่มมากขึ้น แม้ยอดขายในปัจจุบันจะไม่เท่ากับช่วงก่อนโควิดก็ตาม

    “แม้จะมีปัญหาเงินเฟ้อ แต่เชื่อว่าธุรกิจแฟชั่นและ FMCG ยังไงก็โตเพราะมีปัจจัยบวกจากการเลิก Work From Home คนเลยแต่งตัวออกจากบ้านมากขึ้น เราก็มีสินค้าใหม่ที่ยังเพิ่ม Need ลูกค้าได้อยู่”

    ]]>
    1388352
    10 ประเทศที่บริโภค “บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป” มากที่สุดในโลก https://positioningmag.com/1374597 Fri, 18 Feb 2022 09:55:21 +0000 https://positioningmag.com/?p=1374597 10 ประเทศที่บริโภค “บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป” มากที่สุดในโลก
    1. จีน 46,350 ล้านหน่วยต่อปี
    2. อินโดนีเซีย 12,640 ล้านหน่วยต่อปี
    3. เวียดนาม 7,030 ล้านหน่วยต่อปี
    4. อินเดีย 6,730 ล้านหน่วยต่อปี
    5. ญี่ปุ่น 5,970 ล้านหน่วยต่อปี
    6. สหรัฐอเมริกา 5,050 ล้านหน่วยต่อปี
    7. ฟิลิปปินส์ 4,470 ล้านหน่วยต่อปี
    8. เกาหลีใต้ 4,130 ล้านหน่วยต่อปี
    9. ไทย 3,710 ล้านหน่วยต่อปี
    10. บราซิล 2,720 ล้านหน่วยต่อปี
    แต่หากคิดเป็นการบริโภคต่อคนต่อปี “ไทย” อยู่ในอันดับ 3 ของโลก
    • เกาหลีใต้ 79.8 หน่วย
    • เวียดนาม 72.2 หน่วย
    • ไทย 53.2 หน่วย
    • เนปาล 52.9 หน่วย
    • มาเลเซีย 48.5 หน่วย

    ค่าเฉลี่ยประชากรโลกบริโภค “บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป” 15 หน่วยต่อคนต่อปี

    *หมายเหตุ: ข้อมูลปี 2563 จาก World Instant Noodles Association

     

    “ความท้าทายและโอกาส” ตลาด “บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป” ในไทย
    • จากปี 2536 คนไทยบริโภคบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปประมาณ 30 หน่วยต่อคนต่อปี การบริโภคต่อคนต่อปีของไทยในปัจจุบันเติบโตขึ้นมาก ทำให้ตลาดเชิงปริมาณค่อนข้างอิ่มตัว
    • โอกาสในไทยคือการผลักดันเชิงมูลค่า ให้คนไทยบริโภคบะหมี่กึ่งสำเร็จรูประดับพรีเมียมทดแทน
    • เทียบข้อมูลจากไทยเพรซิเดนท์ฟู้ดส์ ผู้ผลิต “มาม่า” พบว่าการขายบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปพรีเมียมในไทยมีสัดส่วน 25% เท่านั้น ยังมีโอกาสเติบโต

    อ่านข่าวเพิ่มเติม >> ครบรอบ 50 ปี “มาม่า” ครองตลาดไทย 50% อีก 5 ทศวรรษข้างหน้าลุยครอง “ตลาดโลก”

    ]]>
    1374597
    50 ปีที่ผ่านมา มีบทเรียน 2-3 เรื่องที่ทำให้เราผ่านวิกฤต… https://positioningmag.com/1374588 Fri, 18 Feb 2022 09:48:00 +0000 https://positioningmag.com/?p=1374588 “50 ปีที่ผ่านมา มีบทเรียน 2-3 เรื่องที่ทำให้เราผ่านวิกฤต เรื่องแรกคือ ‘ได้พาร์ทเนอร์ที่ดี’ การที่เราอยู่ในเครือสหพัฒน์ก็ถือว่ามีพี่เลี้ยงที่ดี เรื่องที่สองคือ ‘มีสินค้าที่ดี’ ของเราก็คือมาม่า เรื่องที่สามคือ ‘มีทีมงานที่ดี’ มีฝ่ายบริหารที่ไม่ลงทุนเกินตัว บุคลากรของเราก็มีความสามารถ เพราะธุรกิจต้องเดินด้วยคน”

    — พิพัฒ พะเนียงเวทย์ ซีอีโอและรองประธานกรรมการ บริษัท ไทยเพรซิเดนท์ฟู้ดส์ จำกัด (มหาชน) ผู้ผลิตบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป “มาม่า” กล่าวในโอกาสมาม่าครบรอบ 50 ปี

    ]]>
    1374588
    ครบรอบ 50 ปี “มาม่า” ครองตลาดไทย 50% อีก 5 ทศวรรษข้างหน้าลุยครอง “ตลาดโลก” https://positioningmag.com/1374105 Tue, 15 Feb 2022 10:04:12 +0000 https://positioningmag.com/?p=1374105 “มาม่า” ยึดครองตลาดเมืองไทยได้อย่างเหนียวแน่น เป็นหนึ่งในแบรนด์ที่ชื่อยี่ห้อกลายเป็นชื่อเรียกสินค้าที่ผูกพันกับคนไทยมายาวนาน 50 ปี แต่การ “ไปต่อ” ของมาม่าจะเติบโตได้ต้องอาศัย “ตลาดโลก” และการพัฒนาสินค้าระดับ “พรีเมียม” กำไรสูงให้ได้มากขึ้น

    ครอบครัว “พะเนียงเวทย์” ยกทัพจัดแถลงข่าวร่วมกันในวาระครบรอบ 50 ปีของ บริษัท ไทยเพรซิเดนท์ฟู้ดส์ จำกัด (มหาชน) ผู้ผลิต “มาม่า” ในเครือสหพัฒนพิบูล

    มาครบทั้ง “พิพัฒ พะเนียงเวทย์” ซีอีโอและรองประธานกรรมการ “ดร.พจน์ พะเนียงเวทย์” กรรมการผู้อำนวยการ “ดร.พจนี พะเนียงเวทย์” รองผู้อำนวยการ แม่ทัพด้านการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ “พจนา พะเนียงเวทย์” กรรมการธรรมาภิบาลและบริหารความเสี่ยง แม่ทัพด้านตลาดต่างประเทศ “เพชร พะเนียงเวทย์” ที่ปรึกษาบริษัท และผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด 2 บมจ.สหพัฒนพิบูล ดูแลงานขายและการตลาดให้มาม่า “พันธ์ พะเนียงเวทย์” ผู้จัดการสำนักกรรมการผู้อำนวยการ ร่วมด้วย “ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์” ที่ปรึกษาบริษัท

    มาม่า
    กลุ่มผู้บริหาร บมจ.ไทยเพรซิเดนท์ฟู้ดส์

    50 ปีของมาม่า เริ่มจากการร่วมทุนของสหพัฒน์กับบริษัท เพรซิเดนท์ เอ็นเตอร์ไพรส์ จากไต้หวันเมื่อปี 2515 ก่อนที่ฝั่งไทยจะซื้อหุ้นทั้งหมดในเวลาต่อมา ผ่านร้อนผ่านหนาวมาหลายวิกฤต จากการบริหารความเสี่ยง ไม่ลงทุนเกินตัว และพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ ทั้งรสชาติใหม่ สินค้าใหม่ แพ็กเกจจิ้งใหม่ จนถึงวิธีการผลิตที่ทำให้ประหยัดต้นทุนมากขึ้น ชีวิตคนโรงงานดีขึ้น

    ระหว่าง 5 ทศวรรษนี้ มาม่าขึ้นราคามาเพียง 3 เท่า จากซองละ 2 บาทเป็นซองละ 6 บาท โดยยึดหลักการผลิตสินค้า 5 เสาหลักคือ อร่อย สะดวก ปลอดภัย เก็บได้นาน และประหยัด ทำให้พยายามตรึงราคาไว้ ขึ้นราคาครั้งสุดท้ายก็เมื่อปี 2551 ที่บริษัทมองว่าไม่สามารถจัดการต้นทุนได้แล้ว

    อย่างไรก็ตาม 5 ทศวรรษถัดไปจากนี้ “มาม่า” จะมีการเพิ่มเข้าไปอีก 2 เสาในการพัฒนาสินค้า คือ มีคุณค่า และรักษ์สิ่งแวดล้อม เพื่อตามให้ทันผู้บริโภคยุคใหม่ และให้สอดคล้องกับการเข้าสู่ “ตลาดโลก”

     

    “ตลาดโลก” จะเป็นครึ่งหนึ่งของรายได้ “มาม่า”

    พื้นฐานไทยเพรซิเดนท์ฟู้ดส์ปัจจุบัน ปี 2564 ทำยอดขายไปประมาณ 14,000 ล้านบาท (ไม่รวมรายได้จากการถือหุ้นในบริษัทต่างๆ) แบ่งเป็นตลาดไทย 10,000 ล้านบาท และตลาดต่างประเทศ 4,000 ล้านบาท

    ในไทยนั้นไม่ต้องพูดถึง มาม่าเป็นเจ้าตลาดมีมาร์เก็ตแชร์ถึง 50% แต่เนื่องจากตลาดกำลังอิ่มตัว เพชรระบุว่า คนไทยมีอัตราการรับประทานบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป 53.2 หน่วยต่อคนต่อปี เป็นอันดับ 5 ของโลก และเทียบกับค่าเฉลี่ยโลกที่รับประทานกัน 15 หน่วยต่อคนต่อปี คนไทยนับว่าทานมากกว่าหลายเท่า

    มาม่า ชุดครบรอบ 50 ปี นำ 3 รสชาติที่คนคิดถึงกลับมาขายแบบ Limited Edition ได้แก่ ข้าวซอยไก่, เส้นโฮลวีตรสหมูพริกไทยดำ และบะหมี่หยกแห้งรสเป็ดย่าง

    โอกาสที่เห็นชัดจึงไปอยู่กับตลาดประเทศอื่นๆ ทั้งประเทศที่ผู้บริโภคทานบะหมี่กึ่งฯ สูงมากอยู่แล้ว เช่น เกาหลีใต้ ทานกัน 75-80 หน่วยต่อคนต่อปี และประเทศที่ทานน้อยจนมีช่องว่างให้ทำตลาดผลักดันการรับประทานเพิ่ม เช่น ประเทศแถบตะวันตก ประเทศในทวีปแอฟริกา

    พจนาแจกแจงว่า ปัจจุบันมาม่าส่งออกอยู่แล้ว 68 ประเทศทั่วโลก โดยมีทั้งส่งออกจากโรงงานในไทย 5 แห่ง และโรงงานต่างประเทศ 4 แห่งที่เมียนมา กัมพูชา บังกลาเทศ และฮังการี แบ่งสัดส่วนทวีปที่ส่งออก ดังนี้

    • 50% เอเชีย
    • 28% ยุโรป
    • 18% อเมริกา
    • 3% ออสเตรเลีย
    • 1% แอฟริกา
    มาม่า โอเรียนทอลคิทเช่น หนึ่งในสินค้ากลุ่มพรีเมียม

    สินค้าที่ส่งไปแบ่ง 80% เป็นตลาดแมส คือกลุ่มมาม่าปกติเหมือนที่มีขายในไทย และ 20% เป็นกลุ่มพรีเมียมและไฮแวลู เช่น มาม่าโอเรียนทอลคิทเช่น, เฝอ, เส้นพาสต้าปราศจากกลูเตน, เส้นพาสต้าผลิตจากข้าวเจ้าออร์แกนิกส์ เหมาะกับคนต่างชาติที่แพ้กลูเตนกันมาก

    จากการปูทางในตลาดโลกมานาน เป้าหมายต่อไปของมาม่าจะบุกหนักมากขึ้น โดยตั้งเป้าทำรายได้ต่างประเทศเพิ่มเป็น 15,000 ล้านบาท ภายในปี 2569 ซึ่งคาดว่าจะมีสัดส่วน 50% ของรายได้รวมบริษัท (นั่นเท่ากับว่า ปีนั้นมาม่าจะสร้างยอดขายรวมประมาณ 30,000 ล้านบาท) การเติบโตนี้จะต้องก้าวกระโดด 4 เท่าตัวภายใน 4 ปี!

    ตัวอย่างสินค้าที่ขายในต่างประเทศ: พาสต้าปราศจากกลูเตน

    กลยุทธ์ที่จะไปถึงยอดขายดังกล่าว พจนากล่าวว่า บริษัทมีการร่วมงานกับพาร์ทเนอร์ผู้จัดจำหน่ายในแต่ละประเทศ ผลักดันกลยุทธ์การตลาดผ่านดิจิทัล มาร์เก็ตติ้ง, ใช้อินฟลูเอนเซอร์, เพิ่มช่องทางจำหน่ายผ่านอีคอมเมิร์ซ โดยแนวทางหลักพยายามดึงลูกค้ากลุ่มคนรุ่นใหม่ซึ่งมีกำลังซื้อมาทดแทนกลุ่มผู้สูงวัย

    รวมถึงพยายามขยายโอกาสจากเดิมเน้นชาวเอเชียในต่างประเทศ ขยายเป็นชาวต่างชาติท้องถิ่นมากขึ้น มีการออกผลิตภัณฑ์ที่เหมาะกับคนต่างชาติสูงขึ้นดังที่กล่าวไป ซึ่งกลุ่มนี้จะเป็นสินค้าไฮแวลูที่ทำกำไรสูง

     

    ตั้ง “โรงงาน” ให้ครบทุกทวีป

    ในแง่การลงทุนเพิ่ม มาม่าจะขยายออฟฟิศและเพิ่มผู้จัดจำหน่าย แบ่งเป็น 2 เฟส คือ เฟสแรกในประเทศฮังการี อินเดีย มาเลเซีย และเวียดนาม ส่วนเฟสที่สองจะจัดตั้งในสหรัฐฯ ตะวันออกกลาง และทวีปแอฟริกา

    แผนการตั้งออฟฟิศและตัวแทนจัดจำหน่ายต่างประเทศเพิ่มเติม

    ไม่เฉพาะการขายและการตลาดเท่านั้น พจนากล่าวว่า มาม่ามีแผนระยะยาวจะตั้งโรงงานให้ครบทุกทวีปภายใน 5 ปี โดยทวีปที่ขาดอยู่ปัจจุบันคือแอฟริกาและอเมริกา

    พันธ์เสริมในส่วนนี้ว่า เหตุที่มาม่าต้องการจะตั้งโรงงานทุกทวีป เพราะหากจะบุกตลาดโลกแล้ว การขนส่งข้ามทวีปต้องส่งทางเรือซึ่งใช้เวลานานแรมเดือน ทำให้อาหารไม่สดใหม่ และหากเกิดวิกฤตเรือขาดอีกก็จะเป็นปัญหา

    แต่การตั้งโรงงานต้องหา “พาร์ตเนอร์” ที่เข้ากันได้ดีจึงจะประสบความสำเร็จ ไทยเพรซิเดนท์ฟู้ดส์ไม่สามารถเข้าไปลงทุนเองได้ ยังต้องการพันธมิตรที่เข้าใจตลาด เข้าใจกฎหมายท้องถิ่น ซึ่งเรื่องนี้เป็นเรื่องที่ค่อนข้างยาก ที่ผ่านมาบริษัทเคยไปตั้งโรงงานในจีนและเวียดนามแล้วต้องถอนทัพกลับมาแล้ว เนื่องจากความไม่ลงตัวกับการทำธุรกิจร่วมกัน ดังนั้น จึงยังกำหนดไม่ได้ว่าดีลการลงทุนจะสำเร็จเมื่อใดและใช้เงินลงทุนมากแค่ไหน

     

    พัฒนาสินค้า “พรีเมียม” หาน่านน้ำใหม่

    อีกกลยุทธ์หนึ่งของ 5 ทศวรรษหน้าของ “มาม่า” จะเป็นการวิจัยและพัฒนาสินค้าพรีเมียม/ไฮแวลูออกมาต่อเนื่อง โดยบริษัทมีการกันงบ 0.5% ของกำไรเพื่อ R&D ทุกปี

    มาม่า
    ตัวอย่างสินค้านวัตกรรม: เส้นบะหมี่จากโฮลวีต ในกลุ่มสินค้าเดียวกันยังมีเส้นที่ผลิตจากเห็ดชิตาเกะ และจากผักเคล

    การวิจัยสินค้าต่อจากนี้ พจนีกล่าวว่าจะมีความร่วมมือกับสถาบันการศึกษา เช่น ม.เกษตรศาสตร์ ม.มหิดล จุฬาฯ เทคโนโลยีสุรนารี ฯลฯ เนื่องจากผลิตภัณฑ์ที่บริษัทสนใจบางอย่างซึ่งเป็น ‘Future Foods’ เช่น เนื้อทำจากพืช (plant-based) บริษัทไม่มีพื้นฐานงานวิจัยด้านนี้ และหากมีโอกาสก็จะจับมือกับนักวิชาการด้านอาหารในต่างประเทศด้วย

    “เราจะมาก้าวสั้นๆ ช้าๆ ก็อาจจะไม่ทันแล้ว” พจนีกล่าวถึงการยื่นมือหาพันธมิตรงานวิจัย เพื่อตามให้ทันผู้บริโภคที่วันนี้เปลี่ยนรสนิยมอย่างรวดเร็ว

    ปัจจุบันยอดขายบริษัทแบ่งเป็นตลาดแมส 75% และตลาดพรีเมียม 25% แต่ในอนาคตอาจจะเปลี่ยนแปลงสัดส่วนได้ ซึ่งไม่ใช่ว่ามาม่าจะเลิกผลิตหรือพัฒนาสินค้าตลาดแมส แต่การเพิ่มสินค้าพรีเมียมจะยิ่งเข้มข้นขึ้น ทั้งในกลุ่มบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปเองที่ผู้บริโภคเปิดรับสินค้าราคาสูงขึ้นหากได้รสชาติหรือคุณภาพที่พรีเมียมกว่า และผลิตภัณฑ์อาหารอื่นๆ ที่บริษัทจะผลิตต่อไป

    ]]>
    1374105
    “มาม่าคัพ” ดัมพ์ราคาเหลือ 10 บาทครั้งแรกในประวัติศาสตร์ ไวรัสดันตลาดแตะ 2.2 หมื่นล้าน https://positioningmag.com/1277943 Mon, 11 May 2020 16:15:40 +0000 https://positioningmag.com/?p=1277943 “สหพัฒน์” เพิ่มกำลังการผลิตมาม่าอีก 30% พร้อมกับจัดโปรโมชั่นลดราคามาม่าคัพแบบถ้วยเหลือ 10 บาท เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ ลุ้นตลาดบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปแตะ 22,000 ล้านบาท หรือโตพรวด 16%

    ล็อกดาวน์ กักตัวดันมาม่าโต

    การแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ในไทย ส่งผลให้เกิดมาตรการล็อกดาวน์ และคนไทยเองก็ต้องกักตัวอยู่บ้าน เพื่อลดการแพร่ระบาดให้มากที่สุด ซึ่งการล็อกดาวน์ในครั้งนี้ ทำให้ได้เห็นภาพผู้คนกักตุนอาหาร ซึ่งบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปก็เป็นสินค้ายอดนิยมที่คนไทยกักตุนกันอย่างมาก

    ปัจจุบันตลาดบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปมีมูลค่า 19,000 ล้านบาท จากเหตุการณ์ล็อกดาวน์ทำให้ตลาดโตขึ้น 5.8% มีการคาดการณ์ว่าปีนี้อาจจะได้เห็นตลาดโตขึ้นไปถึง 16% หรือแตะ 22,000 ล้านบาทได้

    เวทิต โชควัฒนา กรรมการผู้อำนวยการ บริษัท สหพัฒนพิบูล จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า

    “จากสถานการณ์ COVID-19 ส่งผลให้ภาพรวมของสหพัฒน์ในเรื่องของแผนลงทุนใหญ่ๆ ในปีนี้ต้องชะลอออกไป เอางบเก็บไว้ก่อน แต่ในส่วนของคลังสินค้า อีคอมเมิร์ซ และโลจิสติกส์ยังคงเดินหน้าลงทุนต่อเนื่อง โดยเฉพาะคลังสินค้าใหญ่ที่มีแผนเปลี่ยนไปใช้คลังที่มีพื้นที่ใหญ่ขึ้นที่ศรีราชานั้นจะเป็นไปตามแผนเดิมที่จะเปลี่ยนในปี 2564”

    ขณะที่อีคอมเมิร์ซจะเห็นภาพชัดเจนในช่วง COVID-19 ว่ามียอดสั่งซื้อเข้ามาเติบโตเป็น 100% จึงต้องมีการปรับปรุงระบบ พัฒนาให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมถึงเปลี่ยนคลังสินค้าของอีคอมเมิร์ซจากพื้นที่ร่มเกล้ามาที่พื้นที่พระราม 3 ในไตรมาส 3 นี้

    ตั้งทีม New Normal รับการทำงานที่เปลี่ยนไป

    สหพัฒน์ยังตั้งทีม New Nomal เพื่อตั้งรับการเปลี่ยนแปลงใหม่ ที่มีแนวโน้มจะเกิดขึ้น เพื่อกำหนดเป็นกลยุทธ์ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นหลัง COVID-19 จบลง โดยระหว่างนี้เราจะยังอยู่ในช่วงระวังกันอีกเป็นปี แม้สถานการณ์จะเริ่มดีขึ้น แต่ก็ยังไม่คล่องตัวก่อนเข้าสู่ New Normal ในเฟสถัดไป

    รวมถึงได้เพิ่มกำลังผลิตของมาม่าอีก 30% เพื่อรับกับความต้องการของผู้บริโภค ได้เข้าร่วมโครงการพาณิชย์ลดราคาช่วยประชาชน เพื่อช่วยเหลือและลดค่าครองชีพของประชาชนที่กำลังได้รับผลกระทบจากวิกฤต COVID-19 โดยนำสินค้าหลายแบรนด์เข้าร่วมโครงการ เช่น ผงซักฟอก เปา, ไฮคลาส, โชกุบุสซึ นิสชิน และ มาม่า เป็นต้น

    ได้ปรับลดราคา “มาม่าคัพ” ทุกรสชาติ จากราคา 13 บาท เหลือ 10 บาท ตั้งแต่วันที่ 1-31 พฤษภาคม 2563 ซึ่งนับเป็นครั้งแรกของมาม่าคัพที่มีการลดราคา

    ลุ้นตลาดแตะ 22,000 ล้านครั้งแรก!

    สำหรับภาพรวมตลาดบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปมูลค่า 19,000 ล้านบาท ในไตรมาส 1 ที่ผ่านมามีการเติบโต 8% แบ่งเป็น แบบซองโต 20% และแบบคัพโต 10% โดยในส่วนของแบบซอง มาม่ามีแชร์ 48% ขณะที่แบบคัพ มาม่ามีแชร์ 55%

    โดย 2 เดือนที่ผ่านมานี้มาม่าได้เพิ่มกำลังผลิตอีกกว่า 30% จากปกติกำลังการผลิตอยู่ที่ 4 ล้านชิ้นต่อวัน รองรับความต้องการของผู้บริโภคที่มีมากขึ้น

    เวทิตเสริมว่า ในเดือนเมษายนยอดขายบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปยังเติบโตมากกว่าปกติ แต่น้อยกว่าเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ส่วนสถานการณ์หลังจากนี้ตอบยากว่าจะเติบโตได้มากแค่ไหน แต่เชื่อว่าตลอดทั้งปีนี้มีโอกาสที่จะได้เห็นตัวเลขรวมถึง 22,000 ล้านบาท ซึ่งไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนสำหรับตลาดบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปในประเทศไทย

    Source

    ]]>
    1277943