ลาซาด้า – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Tue, 28 May 2024 08:12:02 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 อินโดนีเซียอยู่ระหว่างสอบสวน Shopee และ Lazada อาจมีพฤติกรรมผูกขาด เน้นใช้บริการขนส่งของตัวเองเป็นหลัก https://positioningmag.com/1475286 Tue, 28 May 2024 02:11:01 +0000 https://positioningmag.com/?p=1475286 หน่วยงานกำกับดูแลด้านการแข่งขันของอินโดนีเซียอยู่ระหว่างสอบสวน Shopee และ Lazada อาจมีพฤติกรรมว่าอาจมีพฤติกรรมละเมิดกฎต่อต้านการแข่งขัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรณีในการใช้บริษัทขนส่งของตัวเองนั้นอาจทำให้ผู้บริโภคนั้นไม่สามารถเลือกบริษัทขนส่งได้อย่างอิสระ

หน่วยงานกำกับดูแลด้านการแข่งขันของอินโดนีเซีย (KKPU) กำลังอยู่ในขั้นตอนการสอบสวน 2 ผู้เล่น E-commerce รายใหญ่ ไม่ว่าจะเป็น Shopee รวมถึง Lazada ว่าอาจมีพฤติกรรมละเมิดกฎต่อต้านการแข่งขัน ซึ่งถ้าหากมีผู้เล่นรายใดรายหนึ่งทำผิดจริง อาจต้องจ่ายค่าปรับจำนวนมาก

ความเคลื่อนไหวล่าสุดนั้นมีการสอบสวนในฝั่งของ Shopee ในวันนี้ (อังคารที่ 28 พฤษภาคม) ว่าอาจมีการละเมิดกฎต่อต้านการแข่งขัน ขณะที่ฝั่งของ Lazada นั้นหน่วยงานพบว่ามีเหตุต้องสงสัยว่าอาจมีพฤติกรรมละเมิดกฎต่อต้านการแข่งขัน

รายงานของ DealStreetAsia ได้ชี้ว่า Shopee มีพฤติกรรมที่เอื้อประโยชน์แก่ธุรกิจขนส่งสินค้าของตัวเองอย่าง SPX ซึ่งถือเป็นการกีดกันไม่ให้บริษัทขนส่งรายอื่นเข้ามาทำธุรกิจ เพิ่มปริมาณการจัดส่งสินค้าให้กับบริษัทตัวเอง และยังเป็นการจำกัดทางเลือกของผู้บริโภค

M. Fanshurullah Asa ประธานของหน่วยงานกำกับดูแลด้านการแข่งขันของอินโดนีเซีย ได้กล่าวว่า Shopee และ Lazada มีพฤติกรรมคล้ายคลึงกันในเรื่องดังกล่าว แต่เขาไม่ได้กล่าวในรายละเอียดใดๆ เพิ่มเติม

ประเทศอินโดนีเซียนั้นตลาดในการขนส่งสินค้าถือว่าเป็นอีกหนึ่งตลาดที่มีการแข่งขันสูง และมีผู้เล่นหลายรายทั้งผู้เล่นภายในประเทศอย่าง เช่น GoTo หรือแม้แต่ผู้เล่นรายใหญ่อย่าง Grab หรือแม้แต่ J&T Express

นอกจากนี้อินโดนีเซียเองยังเป็นประเทศที่หน่วยงานกำกับดูแลคุ้มครองผู้ประกอบการภายในประเทศ ในช่วงที่ผ่านมามีบริษัทเทคโนโลยีไม่ว่าจะเป็น TikTok หรือแม้แต่ Meta นั้นถูกการกำกับดูแลในเรื่องดังกล่าวมาแล้ว

ถ้าหาก 2 ผู้เล่นรายใหญ่ของ E-commerce รายดังกล่าวถูกตัดสินคดีว่ามีความผิดจริง โทษปรับที่บริษัทจะโดนคือปรับกำไร 50% หรือรายได้จากยอดขาย 10% ในช่วงเวลาที่เกิดการกระทำผิด

ที่มา – Reuters, Inquirer

]]>
1475286
Lazada ปลดพนักงานในสิงคโปร์ มาเลเซีย ให้เหตุผลปรับโครงสร้างในบริษัทเพื่อรองรับอนาคต https://positioningmag.com/1457663 Thu, 04 Jan 2024 07:53:53 +0000 https://positioningmag.com/?p=1457663 ลาซาด้า (Lazada) ยักษ์ใหญ่ E-commerce ในอาเซียน ได้ประกาศปลดพนักงานในสิงคโปร์ และมาเลเซีย โดยให้เหตุผลเรื่องการปรับโครงสร้างของบริษัทเพื่อรองรับอนาคต ซึ่งปัจจุบันบริษัทกำลังเผชิญแรงกดดันจากคู่แข่งทั้ง Temu และ Shein รวมถึง TikTok Shop ที่กำลังรุกคืบเข้ามา

The Edge และ The Strait Times ของสิงคโปร์ ได้รายงานข่าวว่า Lazada ผู้ให้บริการ E-commerce รายใหญ่ในอาเซียน ได้ประกาศปลดพนักงานในสิงคโปร์ออก โดยตัวแทนบริษัทได้ให้เหตุผลการปรับโครงสร้างในบริษัท เพื่อรองรับธุรกิจในอนาคต

สื่ออย่าง The Edge รายงานว่าพนักงานที่ถูกปลดได้รับการนัดให้พูดคุยกับฝ่ายบุคคลในวันที่ 3 มกราคมที่ผ่านมา พนักงานรายหนึ่งที่ถูกปลดและขอให้ไม่ระบุตัวตน ได้กล่าวกับ The Edge ว่า ห้องประชุมในสำนักงานของ บริษัทนั้นฝ่ายบุคคลของบริษัทได้จองไว้ทั้งสัปดาห์ ซึ่งมีความเป็นไปได้ว่าการปลดพนักงานนั้นอาจยังไม่สิ้นสุด

นอกจากนี้สื่อรายดังกล่าวยังรายงานว่าแผนกที่เกี่ยวข้องกับการตลาดที่สำนักงานสิงคโปร์ได้รับผลกระทบมากที่สุด

ทางด้าน Strait Times ได้ถามความเห็นไปยังตัวแทนของบริษัท โดยตัวแทน Lazada ได้กล่าวว่า การปรับโครงสร้างองค์กรครั้งนี้ทำไปเพื่อสร้างความมั่นใจว่าบริษัทอยู่ตำแหน่งที่ดีกว่า

ขณะที่ Tech in Asia รายงานข่าวโดยอ้างอิงแหล่งข่าวที่เกี่ยวข้องว่า Lazada อาจปลดพนักงานมากถึง 30% ขององค์กร โดยหลังจากการปลดพนักงานในสิงคโปร์แล้ว ประเทศต่อไปที่จะมีการปลดพนักงานคือประเทศมาเลเซีย

สาเหตุสำคัญที่ทำให้มีการปลดพนักงานของบริษัทเนื่องจากการแข่งขันระหว่างธุรกิจ E-commerce ในอาเซียนดุเดือดมากขึ้น Lazada เองถือว่าเป็นผู้เล่นรายใหญ่อันดับ 2 เมื่อเทียบในแง่ของยอดขายรวม อย่างไรก็ดีคู้แข่งรายสำคัญอย่าง Temu ของ Pinduoduo และ Shein เองได้รุกตลาดอาเซียนมากขึ้น

นอกจากนี้ยังมีคู่แข่งรายใหญ่อย่าง TikTok Shop เองก็รุกตลาดอาเซียนเช่นกัน และยังรวมถึงคู่แข่งรายสำคัญอย่าง Shopee ที่ในอดีตทั้ง 2 ฝ่ายเคยแข่งขันอย่างดุเดือดเพื่อแย่งชิงลูกค้ามาแล้ว

เมื่อกลางเดือนธันวาคมปี 2023 ที่ผ่านมา ได้มีรายงานข่าวว่า Alibaba ซึ่งเป็นบริษัทแม่ได้ตัดสินใจอัดฉีดเม็ดเงินมากถึง 634 ล้านเหรียญสหรัฐมาแล้ว 

Lazada เองมีการปรับโครงสร้างภายในองค์กรมาแล้วหลายครั้ง โดยเฉพาะผู้บริหารระดับสูง และ The Strait Times รายงานว่าบริษัทมีการปลดพนักงานรอบล่าสุดคือเดือนตุลาคมปีที่ผ่านมาในสิงคโปร์ ซึ่งการปรับโครงสร้างครั้งนี้แสดงให้เห็นถึงแรงกดดันจากคู่แข่งที่บริษัทกำลังเผชิญอยู่

]]>
1457663
Alibaba อัดฉีดเงินเข้า Lazada อีกราว ๆ 22,100 ล้านบาท สู้ศึก E-commerce ในอาเซียนต่อ https://positioningmag.com/1455938 Fri, 15 Dec 2023 14:07:44 +0000 https://positioningmag.com/?p=1455938 อาลีบาบา ยังอัดฉีดเม็ดเงินเข้าสู่ ลาซาด้า อย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุดได้มีการอัดฉีดเม็ดเงินมากถึง 634 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็นเงินไทยราว ๆ 22,1000 ล้านบาท ทำให้ทั้งปีนั้นมีการอัดฉีดเงินไปแล้วมากกว่า 1,800 ล้านเหรียญสหรัฐเข้าไปแล้ว แสดงให้เห็นถึงศึก E-commerce ในอาเซียนยังคงดุเดือด

Alibaba ได้อัดฉีดเม็ดเงินเข้าสู่ Lazada อีก 634 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นเงินไทยราว ๆ 22,100 ล้านบาท หลังจากที่บริษัทได้ยื่นเอกสารให้กับหน่วยงานในประเทศสิงคโปร์ เป็นการส่งสัญญาณว่าตลาด E-commerce ในอาเซียนยังคงร้อนแรง และผู้เล่นรายต่าง ๆ ต้องการชิงส่วนแบ่งให้ได้มากที่สุด

การอัดฉีดเม็ดเงินครั้งสุดท้ายนั้นเกิดขึ้นในช่วงเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา โดย Alibaba ได้อัดฉีดเม็ดเงินเข้าไปใน Lazada มากถึง 845 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็นเงินไทยราว ๆ 29,000 ล้านบาท

ในช่วงที่ผ่านมาตลาด E-commerce ในอาเซียนนั้นมีผู้เล่นเข้ามาแข่งขันเพิ่มเติม ไม่ว่าจะเป็น Temu ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มลูกของ Pinduoduo ที่เริ่มรุกตลาดฟิลิปปินส์เป็นแห่งแรก และมาเลเซียเป็นประเทศต่อมา

ไม่เว้นแม้แต่ TikTok เองที่เร่งขยายแพลตฟอร์มอย่างหนัก โดยล่าสุดได้ลงทุนมากถึง 1,500 ล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อเข้าลงทุนในธุรกิจ E-commerce ของ GoTo หลังจากที่ TikTok Shop โดนรัฐบาลอินโดนีเซียออกมาตรการป้องกันไม่ให้เจ้าของแพลตฟอร์มเครือข่ายสังคมให้บริการด้าน E-commerce โดยให้เหตุผลว่าเพื่อปกป้องบรรดาผู้ประกอบการในประเทศ

การอัดฉีดเม็ดเงินดังกล่าวเข้าสู่ Lazada นั้นจะทำให้ทั้งปี 2023 นั้น Alibaba อัดฉีดเม็ดเงินเข้าไปแล้วมากกว่า 1,800 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็นเงินไทยคือมากกว่า 63,000 ล้านบาทไปแล้ว โดยยักษ์ใหญ่จากจีนได้อัดฉีดเงินบ่อยมากขึ้นนับตั้งแต่ปี 2022 เป็นต้นมา

นอกจากนี้การอัดฉีดเงินเข้าสู่ Lazada เอง ยังส่งสัญญาณว่า Alibaba เองยังต้องการที่จะสู้ศึก E-commerce ในอาเซียนต่อไป แม้ว่าการแข่งขันจะรุนแรงมากขึ้นก็ตาม เพราะไม่งั้นแล้วการสูญเสียส่วนแบ่งทางการตลาดไปนั้นอาจทำให้แม้จะประหยัดเงินไปในระยะสั้น แต่ระยะยาวอาจสร้างผลเสียมากกว่า และคู่แข่งเองก็พร้อมที่จะสู้เพื่อแย่งชิงส่วนแบ่งทางการตลาดเสมอ

ที่มา – Nikkei Asia, Kr-Asia, Panda Daily

]]>
1455938
ไม่ได้ด้วยกลก็เอาด้วยเกม! ‘ลาซาด้า’ ดันฟีเจอร์ ‘เกม’ แจกคอยน์ตรึงผู้ใช้ พร้อมขยายเวลา 11.11 เป็น 3 วัน https://positioningmag.com/1450517 Fri, 03 Nov 2023 03:58:10 +0000 https://positioningmag.com/?p=1450517 หลังจากที่ทั่วโลกเกิดการระบาดของ COVID-19 แพลตฟอร์ม ‘อีคอมเมิร์ซ’ ก็เติบโตอย่างมากหลัก 100% และแม้ว่าสถานการณ์จะกลับมาปกติแล้วก็ตาม แต่ตลาดอีคอมเมิร์ซไทยยังเติบโตได้ถึง 16% ขึ้นแท่น Top 5 ประเทศที่มีการเติบโตสูงสุด ซึ่งแสดงให้เห็นว่าการช้อป ออนไลน์กลายเป็นเรื่องปกติไปแล้ว

ใช้ Laz Game ตรึงผู้ใช้

มาริสา ยูนิพันธุ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายธุรกิจ ลาซาด้า ประเทศไทย ยอมรับว่า เพราะผู้บริโภคมีความหลากหลายและมีการเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างรวดเร็ว ทำให้ความท้าทายของ ลาซาด้า คือ จะทำอย่างไรให้ลูกค้าเอนเกจและ อยู่กับแพลตฟอร์มนานขึ้น ไม่ใช่แค่เข้ามาซื้อของที่ต้องการแล้วไป

ดังนั้น ลาซาด้าจึงดันฟีเจอร์ ลาซเกม (Lazgame) ผ่านกลยุทธ์เกมมิฟิเคชัน (Gamification) มาสร้างประสบ การณ์การช้อปปิงออนไลน์ เพื่อตรึงผู้ใช้ให้อยู่กับแพลตฟอร์มนานขึ้น และมีส่วนร่วมมากขึ้น โดย มาริสา ยอมรับว่า เกมไม่ใช่เรื่องใหม่ เพราะมีมานานแล้ว และคู่แข่งก็มี แต่มั่นใจว่าจุดแตกต่างของลาซาด้าคือ สิทธิประโยชน์ที่ มากกว่า โดยการเล่นเกมจะทำให้ผู้ใช้ได้ ลาซคอยน์ (LazCoin) ซึ่งสามารถไปแลกเป็น คูปองส่วนลด ได้

มาริสา ยูนิพันธุ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายธุรกิจ ลาซาด้า ประเทศไทย

“เมื่อก่อนเรามีคูปองให้เขามาเก็บ เขาก็มาเก็บตามเวลาแล้วก็ไม่มีเอนเกจอะไร แต่หลังจากที่เรามีเกมให้เขาเล่น เราพบว่า 80% ของคนเล่นเกมกลับมาใช้งานทุกสัปดาห์ และอยู่นานขึ้น 3 เท่าเมื่อเทียบกับนักช้อปทั่วไป ดังนั้น เกมช่วยให้อยู่นานขึ้น มีเอนเกจ และมีแนวโน้มที่จะมีลอยัลตี้มากกว่า”

นอกจากนี้ ฟีเจอร์ลาซเกมยังเพิ่มโอกาสให้ลาซาด้าทำกิจกรรมร่วมกับ แบรนด์ โดยแบรนด์สามารถเข้ามา เป็นสปอนเซอร์หรือทำการตลาดกับลาซเกมได้ อย่างเช่น เกม LazLand ที่ให้รางวัลเป็น ข้าวหอมมะลิทองฟรี 1 ถุง ซึ่งก็ได้การสนับสนุนจากแบรนด์ข้าว เป็นต้น

ปัจจุบัน ลาซเกมมีทั้งหมด 3 เกม ได้แก่ GoGoMatch และ Merge Boss ซึ่งเป็นเกมที่มีเหมือนกันทั้ง 6 ประเทศได้ ส่วนเกม LazLand เป็นเกมที่พัฒนาโดยลาซาด้า ประเทศไทย

ขยายเวลา 11.11 เป็น 3 วัน

สำหรับแคมเปญ 11.11 ที่เป็นเมกะแคมเปญของลาซาด้า ปีนี้ได้ขยายเวลาเพิ่มเป็น 3 วัน เพื่อเพิ่มโอกาสให้กับนักช้อป เพราะจากผลสำรวจพบว่า นักช้อปมีความตั้งใจซื้ออยู่แล้ว โดยเฉพาะ สินค้าที่มีราคาสูง เช่น หมวดบิวตี้และสินค้าไอที นอกจากนี้ ลาซาด้ายังสร้างอแวร์เนสด้วยกิจกรรม Online To Offline โดยจะมีอีเวนท์ออฟไลน์ที่สยามพารากอน โดยจัดขึ้นระหว่างวันที่ 10 – 12 พฤศจิกายน ควบคู่ไปกับกิจกรรมออนไลน์

“เรามีแคมเปญดับเบิ้ลเดย์ใหญ่ เช่น 3.3, 6.6, 9.9 แต่ 11.11 และ 12.12 ถือเป็นแคมเปญใหญ่ส่งท้ายปี และเป็นแคมเปญที่มีเม็ดเงินใหญ่สุด เพราะเป็นช่วงที่คนหาซื้อของขวัญ ทำให้สินค้าที่ขายดีในช่วงนี้เป็นสินค้าที่มีราคาสูง ส่วนสินค้าขายดีช่วงอื่น ๆ ก็จะเป็นตามเทรนด์ เช่น หม่าล่า หรือ Arts Toy”

ชยพร ลัทธิโสภณกุล ประธานเจ้าหน้าบริหารฝ่ายการตลาด

เพิ่มฟีเจอร์ใหม่ ค้นด้วยรูป

ชยพร ลัทธิโสภณกุล ประธานเจ้าหน้าบริหารฝ่ายการตลาด กล่าวว่า ปีนี้ลาซาด้ามีฟีเจอร์ใหม่ที่จะช่วยอำนวยความสะดวกในการค้นหาสินค้าและช่วยให้นักช้อปตัดสินใจซื้อได้อย่างมั่นใจยิ่งขึ้น อาทิ

  • Image Search: ฟีเจอร์ Image Search ใช้เทคโนโลยี AI ช่วยค้นหา โดยนำรูปภาพไอเท็มที่ต้องการมา สแกน หรือถ่ายรูปผ่านแอปลาซาด้า ผลการค้นหาก็จะแนะนำไอเท็มที่ใกล้เคียงกันมาให้ ซึ่งผลการสำรวจ พบว่า นักช้อปไทยถึง 92% ตัดสินใจซื้อสินค้าที่พวกเขาพบจากฟังก์ชันค้นหาบนแอปลาซาด้า1
  • Put in My Home: ฟีเจอร์ใหม่บน LazHome ใช้นวัตกรรม Augmented Reality เข้ามาช่วยให้นักช้อปสามารถทดลองวางเฟอร์นิเจอร์และไอเท็มตกแต่งบ้านอื่น ๆ ในห้องบนภาพพื้นที่จริง โดยฟีเจอร์นี้จะวางภาพสินค้าซ้อนทับลงบนภาพสถานที่จริงจากกล้องบนสมาร์ทโฟน
]]>
1450517
Alibaba อัดฉีดเงินเข้า Lazada อีกเกือบ 29,000 ล้านบาท หลังคู่แข่งประกาศรุกตลาดอาเซียนหนัก https://positioningmag.com/1438462 Fri, 21 Jul 2023 06:33:28 +0000 https://positioningmag.com/?p=1438462 Alibaba ได้อัดฉีดเงินเข้า Lazada เกือบ 29,000 ล้านบาท สาเหตุสำคัญมาจากการแข่งขันของธุรกิจ E-Commerce ในอาเซียนเริ่มทวีความรุนแรงมากขึ้นอีกครั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเข้ามาของ TikTok Shop 

เว็บไซต์ Tech in Asia รายงานว่า Alibaba ได้อัดฉีดเงินเข้า Lazada แพลตฟอร์ม E-Commerce รายใหญ่ของบริษัท โดยเม็ดเงินดังกล่าสูงถึง 845 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็นเงินไทยเกือบ 29,000 ล้านบาท

สาเหตุสำคัญที่มีการอัดฉีดเม็ดเงินเข้า Lazada เป็นจำนวนมากคือการแข่งขันที่สูงในแพลตฟอร์ม E-Commerce ซึ่งบริษัทมีคู่แข่งสำคัญคือ Shopee รวมถึง TikTok Shop ที่บริษัทแม่อย่าง ByteDance ได้ผลักดันอย่างหนักในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา

ข้อมูลจาก Momentum Works ซึ่งเป็นบริษัทวิจัยในสิงคโปร์ ชี้ว่า Lazada เป็นผู้เล่นอันดับ 2 ของแพลตฟอร์ม E-Commerce ในอาเซียนโดยมียอดขายสินค้าออนไลน์รวมในแพลตฟอร์ม (GMV) 20,100 ล้านเหรียญสหรัฐ เป็นรองคู่แข่งอันดับ 1 อย่าง Shopee ของ Sea ซึ่งมี GMV สูงถึง 47,900 ล้านเหรียญสหรัฐ

ตลาด E-Commerce ในอาเซียนถือว่าเป็นตลาดที่เติบโตมากที่สุดแห่งหนึ่งในโลก ข้อมูลจากรายงานของ Bain และ Google รวมถึง Temasek ที่จัดทำขึ้นในช่วงเดือนตุลาคมปี 2022 ที่ผ่านมาชี้ว่าอัตราการเติบโตสูงถึง 20% ต่อปีจนถึงปี 2025 ทำให้บริษัทเทคโนโลยีทั้งในประเทศและต่างประเทศนั้นสนใจเข้ามาทำธุรกิจดังกล่าวจำนวนมาก

สำหรับเม็ดเงินที่อัดฉีดเข้า Lazada โดย Alibaba มากที่สุดคือในช่วงปี 2018 ที่ยักษ์ใหญ่เทคโนโลยีจากจีนอัดฉีดเงินมากถึง 2,000 ล้านเหรียญสหรัฐเข้าแพลตฟอร์ม E-Commerce ในอาเซียน รองลงมาคือในปี 2022 อีกราวๆ 913 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งในช่วงเวลาปกติจะมีการอัดฉีดเงินไม่เกิน 400 ล้านเหรียญสหรัฐ

Lazada ปัจจุบันบริษัทอยู่ภายใต้ธุรกิจ E-Commerce นอกประเทศจีน หลังจากที่ทาง Alibaba ได้ประกาศแยกธุรกิจออกเป็น 6 หน่วยธุรกิจ ซึ่งแต่ละยูนิตนั้นจะมีการแต่งตั้งผู้บริหารเป็นของตัวเอง นอกจากนี้ยังสามารถที่จะระดมทุนเพิ่มเติมหรือเข้าตลาดหลักทรัพย์หลังจากนี้ตามแต่การตัดสินใจได้

เมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมามีข่าวว่า Aliababa เตรียมที่จะนำธุรกิจ E-commerce ในต่างประเทศ ซึ่งมีธุรกิจลูกในเครือเช่น Aliexpress และ Lazada ฯลฯ เข้า IPO ในตลาดหุ้นสหรัฐอเมริกา โดยคาดว่าจะเข้าระดมทุนในช่วงปีหน้า ซึ่งมีความเป็นไปได้ว่าอาจเป็นการอัดฉีดเงินในรอบท้ายๆ ก่อนที่ยูนิตดังกล่าวจะเข้า IPO หลังจากนี้

]]>
1438462
ย้อนรอย ‘JD Central’ ยักษ์ใหญ่ที่กำลังโบกมือลาอีคอมเมิร์ซไทยตามรอย ‘11Street’ https://positioningmag.com/1417229 Mon, 30 Jan 2023 09:27:51 +0000 https://positioningmag.com/?p=1417229 หากพูดว่าตลาด อีคอมเมิร์ซ ไม่หมูก็คงไม่เกินจริงนัก เพราะมองจากข้างนอกก็คงจะเห็นว่าแต่ละแพลตฟอร์มนั้นเผาเงินทำการตลาดรวมถึงโปรโมชันต่าง ๆ กันหนักมาก นับเฉพาะแค่ ดับเบิลเดย์ ที่มีให้เห็นแทบทุกเดือนนักช้อปเคยชินกันไปแล้ว ดังนั้น สายป่าน ไม่ยาวจริงก็คงต้องยกธงขาวยอมแพ้ไป เหมือนที่ 11Street เคย และ JD Central ที่กำลังจะไป

ก่อนมี JD Central เคยมี 11Street มาก่อน

ย้อนไปเมื่อปี 2012 ผู้เล่นอีคอมเมิร์ซรายแรกสุดที่เข้ามาทำตลาดในไทยก็คือ ลาซาด้า (Lazada) แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซที่ทำตลาดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จนกระทั่งในปี 2014 ลาซาด้าก็ได้ถูก อาลีบาบา (Alibaba) บริษัทอีคอมเมิร์ซยักษ์ใหญ่ของจีนมาซื้อไป ซึ่งนั่นก็ยิ่งเสริมความแข็งแกร่งให้กับแพลตฟอร์มในการที่จะ เผาเงิน ทำโปรโมชันในตลาดอีคอมเมิร์ซไทย

หลังจากที่ลาซาด้าทำตลาดได้ 2 ปี ช้อปปี้ (Shopee) แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซของ ซี กรุ๊ป (Sea Group) สตาร์ทอัพระดับยูนิคอร์นของภูมิภาคที่เป็นเจ้าของแพลตฟอร์ม Garena ที่คอเกมบ้านเราน่าจะคุ้นเคยกันดี อย่างไรก็ตาม ผู้ที่ถือหุ้นใหญ่ใน Sea Group ก็คือ เทนเซ็นต์ (Tencent) บริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ของจีน พูดง่าย ๆ ว่า 2 แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซยักษ์ใหญ่ต่างมีแบ็กจากจีนทั้งหมด

ถัดมาในปี 2016 ก็มีอีคอมเมิร์ซสัญชาติเกาหลีใต้ลองของเข้ามาทำตลาดในไทยโดยใช้ชื่อว่า อีเลฟเว่น สตรีท (11Street) ที่มี เอสเคเพลนเน็ท ถือหุ้นใหญ่ภายใต้กลุ่ม เอสเค เทลเลคอม ช่วงแรกใช้เงินกว่า 1,000 ล้านบาทในการลงทุน ในจำนวนนี้เป็นงบการตลาดมากถึง 300 ล้านบาท ถึงขนาดดึงซุปตาร์จากเกาหลี ซงจุงกิ ประกบนักแสดงสาว มิว–นิษฐา จิรยั่งยืน มาเป็นพรีเซ็นเตอร์ แต่ที่สุดก็ต้อง ม้วนสื่อกลับบ้าน หลังเข้ามาเปิดธุรกิจเพียงสองปีเศษเท่านั้น

5 ปีในตลาดของ JD Central ยังห่างชั้นผู้นำ

หลังจากที่อีเลฟเว่น สตรีท ต้องยอมแพ้ มาปี 2018 ก็มีผู้เล่นคนใหม่เข้ามาในตลาดอีคอมเมิร์ซไทยซึ่งก็คือ JD Central (เจดี เซ็นทรัล) โดยที่หลายคนเชื่อว่าจะมาสามารถแข่งกับ 2 แพลตฟอร์มเจ้าตลาดได้ เพราะเป็นการร่วมทุนของ JD.Com อีคอมเมิร์ซเบอร์ 2 ของจีนที่อยู่ในตลาดนานกว่า 20 ปี และ เซ็นทรัล กรุ๊ป โดยการร่วมทุนครั้งนี้มีวงเงินกว่า 500 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 17,500 ล้านบาท ทำให้ตลาดอีคอมเมิร์ซไทยกลายเป็นพื้นที่ขับเคี่ยวของทุนยักษ์ใหญ่จากจีน

แน่นอนว่าการแข่งขันของตลาดอีคอมเมิร์ซไทยนั้นดุเดือดมาก อย่างลาซาด้าเองก็ขาดทุนมาโดยตลอด หากนับเฉพาะปี 2017-2019 ลาซาด้า ขาดทุนสะสมถึง 6,920 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม ปัจจุบัน ลาซาด้านับเป็นอีคอมเมิร์ซรายเดียวที่สามารถทำกำไร โดยในปี 2020 มีกำไรที่ 226.9 ล้านบาท และในปี 2022 มีกำไรประมาณ 3,200 ล้านบาท จากรายได้รวม 38,000 กว่าล้านบาท ส่วนตัว ช้อปปี้ เองเฉพาะปี 2021 ขาดทุนประมาณ 4,900 กว่าล้านบาท จากรายได้ทั้งกลุ่มอยู่ที่เกือบ 43,000 ล้านบาท

ตัดมาที่ JD Central ที่เรียกได้ว่ายังห่างชั้นกับ 2 เจ้าใหญ่อย่างมาก แม้ว่าในปี 2021 แพลตฟอร์มพยายามจะรีแบรนด์ แถมยังได้ ก่อลาภ สุวัชรังกูร ผู้บุกเบิกตลาดฟู้ดเดลิเวอรี่ประเทศไทยทั้ง LINE MAN และ Gojek มานั่งตำแหน่งประธานบริหารฝ่ายการตลาดคนใหม่แทนที่ รวิศรา จิราธิวัฒน์ ที่ไปดำรงตำแหน่งประธานบริหารฝ่ายการตลาด บจก.สรรพสินค้าเซ็นทรัลแทน

แต่จากข้อมูลจากเว็บไซต์ ipricethailand.com ระบุว่า ในช่วง Q1/2022 JD Central มีผู้เข้าชมเว็บไซต์เพียง 2 ล้านกว่าราย ขณะที่ช้อปปี้มีอยู่ที่ 56 ล้านราย และลาซาด้าอยู่ในระดับ 36 ล้านราย ขณะที่ปี 2021 มีรายได้รวม 7,443 ล้านบาท ขาดทุน 1,930 ล้านบาท โดยปัจจุบัน ก่อลาภได้ย้ายไปเป็นประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารที่บริษัท โอ ช้อปปิ้ง จำกัด หลังจากที่ร่วมงานกับ JD CENTRAL ได้ประมาณ 1 ปี

เปิดใจ ‘ก่อลาภ’ กับภารกิจดัน ‘JD CENTRAL’ เทียบชั้น 2 เจ้าตลาด

2022 เริ่มเห็นสัญญาณไม่ดี

มาปี 2022 หลายคนน่าจะสังเกตว่าตลาดอีคอมเมิร์ซไทยไม่ค่อยคึกคัก หลังจากที่ตลาดอีคอมเมิร์ซเติบโตอย่างมากในช่วงที่ COVID-19 ระบาด แต่ในปี 2022 ที่ผ่านมา เศรษฐกิจทั่วโลกก็เจอกับปัญหาเงินเฟ้อ ดังนั้น จะเห็นว่าบริษัทเทคโนโลยีหลายรายได้รับผลกระทบ อย่าง Sea Group ก็ต้องปลดคนงาน พร้อมกับยุติการขยายธุรกิจอีคอมเมิร์ซใน 4 ประเทศ ได้แก่ ชิลี โคลอมเบีย เม็กซิโก และอาร์เจนตินา

ขณะที่ JD.com เองก็มีข่าวว่าบริษัทได้เลิกจ้างพนักงานกว่า 200 คน เพื่อลดค่าใช้จ่าย และได้เรียกผู้บริหารระดับสูงในไทยกลับประเทศจีนหลายราย หลังจากธุรกิจในไทยนั้นโตไม่ได้ตามเป้า โดยรวมแล้ว JD.Com ขาดทุนสูงถึง 5 หมื่นล้านบาท จากการทำตลาดในประเทศไทยและอินโดนีเซีย

ส่งผลให้ในช่วงช่วงปลายปี 2022 มีข่าวว่า JD.com เตรียม ถอนตัวจากไทยและอินโดนีเซีย เพื่อขอกลับไปเน้นธุรกิจในจีนเป็นหลักจากเดิมที่เคยต้องการบุกตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จนกระทั่งล่าสุด JD Central ได้ประกาศยุติกิจการในไทยโดยมีผล 3 มี.ค. 2023 เป็นต้นไป ปิดฉาก 5 ปีในตลาดอีคอมเมิร์ซไทย

JD.com เตรียมถอนตัวจากไทยและอินโดนีเซีย หลังจากนี้เน้นธุรกิจในจีนเป็นหลัก

ทิศทางออนไลน์ของเซ็นทรัลจากนี้

ที่ผ่านมา กลุ่มเซ็นทรัลได้วางโรดแมปในการเข้าสู่อีคอมเมิร์ซเต็มตัว โดยก่อนที่จะร่วมทุนกับ JD.Com บริษัทได้เข้าซื้อ ออฟฟิศเมท ในปี 2012 แล้วเปลี่ยนโฉมออฟฟิศเมทเป็นบริษัท ซีโอแอล จำกัด (มหาชน) ในปี 2015 จากนั้นก็ล้างภาพจำออฟฟิศเมทที่จำหน่ายของใช้ในสำนักงานจนกลายเป็นแพลตฟอร์ม เซ็นทรัล ออนไลน์ (Central Online) อย่างเต็มตัว ซึ่งจำนวนผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์ใน Q1/2022 นั้นอยู่ที่ 2.5 ล้านราย นับเป็น อันดับ 3 ซึ่งสูงกว่า JD CENTRAL แพลตฟอร์มที่ร่วมทุนกับ JD.Com เสียอีก

และในส่วนของ Central App ก็มีอัตราการเติบโตของยอดดาวน์โหลดเพิ่มมากกว่า 60% จากปี 2021 และคาดว่าในปี 2022 จะมีสมาชิกมากกว่า 5 ล้านคน โดยในฝั่งของแพลตฟอร์มเซ็นทรัล ออนไลน์นี้ ทางเซ็นทรัลก็ได้วางตัวว่าจะเน้นจับ กลุ่มสินค้าพรีเมียม ซึ่งจะแตกต่างจากแพลตฟอร์มใหญ่ ๆ ที่เน้นขายสินค้าแมสมากกว่า

สรุป คงไม่ใช่แค่เรื่องการแข่งขันที่ทำให้ JD.Com ตัดสินใจถอนตัวออกจากไทย แต่ภาพรวมเศรษฐกิจทั่วโลกที่ส่งผลกระทบต่อตัวบริษัทแม่เอง รวมถึงตลาดอีคอมเมิร์ซไทยก็ชะลอการเติบโตลงหลังจากที่เติบโตอย่างก้าวกระโดดในช่วงที่ COVID-19 ระบาด โดยศูนย์วิจัยกสิกรฯ คาดว่า ในปี 2023 ภาพรวมของตลาดอีคอมเมิร์ซแบบ B2C คาดว่าตลาดอาจขยายตัวราว 4-6% ซึ่งต่ำสุดเมื่อเทียบกับ 3 ปีที่ผ่านมาที่ขยายตัวเฉลี่ย 26% ต่อปี ดังนั้น หากยื้อต่อไปก็จะยิ่งเจ็บตัวเปล่า ๆ

]]>
1417229
คุยกับ “ธนิดา ซุยวัฒนา” กับเส้นทาง 10 ปี “ลาซาด้า” แลนด์สเคปของอีคอมเมิร์ซที่เปลี่ยนไป https://positioningmag.com/1403771 Sun, 09 Oct 2022 13:36:51 +0000 https://positioningmag.com/?p=1403771 เส้นทางของลาซาด้า หนึ่งในผู้เล่นตลาดอีคอมเมิร์ซยักษ์ใหญ่ในไทย ธุรกิจที่ขึ้นชื่อว่าเป็นการเผาเงินมากที่สุด ลาซาด้าเข้ามาในยุคที่ผู้บริโภคยังไม่คุ้นเคยกับการช้อปปิ้งออนไลน์ จนกระทั่งโลกดิจิทัลได้ดันพฤติกรรมช้อปออนไลน์เป็นกิจกรรมหลักของชาวเน็ตจนได้

ปีแรกท้าทายสุด

ธุรกิจอีคอมเมิร์ซเป็นหนึ่งในธุรกิจดาวรุ่งในช่วงหลายปีที่ผ่านมาก็จริง แต่ก็ยังเป็นธุรกิจที่ไม่ทำกำไร ผู้ประกอบการหลายรายยังประสบปัญหาขาดทุนหลายพันล้าน เนื่องจากต้องในงบลงทุนในการอัดโปรโมชัน ทำการตลาด เพื่อดึงดูดลูกค้าอย่างต่อเนื่อง

ลาซาด้าเป็นผู้เล่นรายใหญ่ที่เข้ามาทำตลาดในไทยได้ 10 ปีแล้ว เรียกว่าเข้ามาตั้งแต่ช่วงที่ตลาดอีคอมเมิร์ซยังไม่เป็นที่รู้จัก ผ่านช่วงการเผาเงิน การแข่งขันอันดุเดือด จากมีผู้เล่นในตลาดหลายราย จนตอนนี้มียักษ์ใหญ่ที่ยืนหยัดอยู่ได้ 2 ราย

ธนิดา ซุยวัฒนา หรือ มอลลี่ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายธุรกิจ (CBO) บริษัท ลาซาด้า จำกัด (ประเทศไทย) ผู้ทำงานร่วมกับลาซาด้ามาแล้ว 6 ปี ได้เริ่มเล่าว่า

“ช่วงแรกที่เข้ามาทำตลาด ตั้งแต่ลูกค้ายังไม่รู้จักอีคอมเมิร์ซ เป็นปีแห่งการให้ความรู้ทั้งผู้ซื้อ และผู้ขาย เป็นความยากของแพลตฟอร์ม ต้องให้ความรู้ ทำให้เป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวัน ทำให้เศรษฐกิจดิจิทัลให้เติบโต สมัยนั้นการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตและสมาร์ทโฟนมีจำกัด แต่ปัจจุบันไม่ต้อง Educate แล้ว ตอนนี้อัตราคนใช้มือถือ 90% ระบบการชำระเงินมีประสิทธิภาพมากขึ้น น่าเชื่อถือ เป็นปัจจัยเสริมทำให้อีคอมเมิร์ซเติบโต ตอนนี้ยังมีสิ่งใหม่ๆ ในตลาดตลอด ต้องตามเทรนด์ คาดเดาเทรนด์”

ธนิดาเสริมข้อมูลอีกว่า ในปี 2564 ประเทศไทยมีผู้บริโภครายใหม่ 1 ล้านรายที่เข้ามาใช้ออนไลน์ และมีผู้บริโภค 36.6 ล้านราย ซื้อของออนไลน์ และคาดว่าจะเติบโตเป็น 43.5 ล้านรายในปี 2568

สำหรับธนิดา เป็นผู้หญิงคนแรกที่ดำรงตำแหน่งผู้บริหารที่ลาซาด้า ประเทศไทย มีประสบการณ์ 10 ปีในด้านอีคอมเมิร์ซ ได้ร่วมงานกับลาซาด้าตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2559 ในตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายการเงิน ต่อมาได้ดำรงตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายการตลาดในเดือนมกราคม 2561 และล่าสุดเพิ่งได้รับแต่งตั้งให้เป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายธุรกิจ

ก่อนหน้าที่จะมาร่วมงานกับลาซาด้า ธนิดาเคยเป็นผู้อำนวยการระดับภูมิภาคด้านการเงิน และธุรกิจอัจฉริยะของบริษัทสตาร์ทอัพ aCommerce และ Ensogo LivingSocial ได้นำความเชี่ยวชาญด้าน Big Data การวางแผนเชิงกลยุทธ์ และการระดมทุนมาใช้สำหรับ 5 ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

นอกจากนี้ยังเคยร่วมงานกับ Ernst & Young ในสหรัฐอเมริกาเป็นเวลา 4 ปี ในตำแหน่งที่ปรึกษาทางการเงินระดับอาวุโส ธนิดาสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทด้านบริหารธุรกิจทางการเงินจากมหาวิทยาลัยจอร์จทาวน์ และถือใบอนุญาตเป็นผู้สอบบัญชี (CPA) ของไทย

COVID-19 จุดเปลี่ยนที่สุด

ถ้าถามว่าในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ช่วงปีแรกเป็นช่วงที่ยากลำบากที่สุด ช่วงที่เป็นจุดเปลี่ยนที่สุดคงจะหนีไม่พ้นช่วงวิกฤต COVID-19 ที่ส่งผลกระทบไปทั่วโลก วิกฤตนี้ส่งกระทบในเชิงกว้างทั้งทางธุรกิจ และพฤติกรรมผู้บริโภค รวมถึงเป็นจุดเปลี่ยนให้ตลาดอีคอมเมิร์ซบูมขึ้น คนเข้ามาใช้งานมากขึ้น จนกลายเป็นพฤติกรรมปกติ

มีข้อมูลว่า ในปี 2563 ช่วงที่ COVID-19 ระบาดอย่างหนักไปทั่วโลก ในโซนอาเซียนมีคนใช้งานอินเทอร์เน็ตรายใหม่เพิ่มขึ้นถึง 40 ล้านราย การใช้งานออนไลน์มากขึ้น ส่งผลต่อพฤติกรรมการช้อปปิ้งออนไลน์มากขึ้นเช่นกัน

ธนิดาบอกว่า ช่วง COVID-19 สร้างจุดเปลี่ยนสำคัญในวงการอีคอมเมิร์ซจริงๆ ทั้งในแง่ของผู้ซื้อ และผู้ขาย กลายเป็นว่าอีคอมเมิร์ซไม่ใช่ทางเลือก แต่เป็นเครื่องมือสำคัญที่ต้องใช้ มีผู้ขายที่ต้องการเข้าหาแพลตฟอร์มมากขึ้น ทางแพลตฟอร์มเองก็มีแพ็กเกจมาช่วยร้านค้า งดค่าคอมมิชชั่น และพัฒนาเรื่องการชำระเงินให้ดีขึ้น

สินค้าที่ขายดีตลอดช่วง COVID-19 ส่วนใหญ่เป็นสินค้าตกแต่งบ้าน เพราะมีการอยู่บ้านเยอะ ได้แก่ โคมไฟ, อุปกรณ์ทำสวน, ก้านไม้น้ำหอม และเมล็ดพันธุ์พืชต่างๆ

แลนด์สเคปอีคอมเมิร์ซเปลี่ยนไป

อีกหนึ่งพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เห็นได้ชัด ตอนนี้การซื้อของออนไลน์ได้กระจายเข้าไปในระดับชุมชนแล้ว แต่ก่อนจะเห็นการซื้อของออนไลน์ส่วนใหญ่จะอยู่เฉพาะคนในเมือง หรือหัวเมืองใหญ่ แต่ตอนนี้ทุกตำบล หมู่บ้านเล็กๆ ก็มีสั่งของออนไลน์แล้ว

รวมไปถึงสินค้าที่ขายในแพลตฟอร์มก็หลากหลาย ของชิ้นใหญ่ ของพรีเมียม ของชำ อาหาร หรือของเล็กๆ น้อยๆ ก็มีขาย จากแต่เดิมที่ผู้บริโภคไม่เปิดใจ ไม่กล้าซื้อของออนไลน์ เพราะกลัวโดนโกง ก็ซื้อของมากขึ้น จนบางครั้งอาจมีการเทียบราคาในช่องทางออนไลน์ก่อนซื้อด้วยซ้ำไป

ถึงแม้ว่าปีนี้จะเจอกับปัจจัยความผันผวนรอบด้าน แต่ผู้ใช้งานของลาซาด้าก็ยังเติบโต 2 เท่าจากปีที่แล้ว อาจจะมีกระทบในเรื่องของกำลังซื้อบ้าง เพราะการจับจ่ายใช้สอยขึ้นอยู่กับเศรษฐกิจโดยรวม เพียงแค่ปริมาณการซื้อถี่ขึ้น แต่จำนวนราคาเล็กลง เพราะราคายังคงเป็นปัจจัยสำคัญต่อการซื้อสินค้า 52% ของนักช้อปยังคงรอส่วนลด หรือดีลปังๆ อาจจะเอาสินค้าใส่ตะกร้าไว้ก่อน แต่รอส่วนลดทีหลัง

ยังเป็นเด็ก ต้องพัฒนาอีกเยอะ

ถ้าถามว่าตอนนี้ลาซาด้าอยู่ในช่วงของยุคไหน ธนิดาบอกว่า ยังเป็นเด็กอยู่ ยังไม่วัยรุ่นมาก ยังต้องมีพัฒนาการอีกเยอะ ทั้งในเรื่องการวางรากฐานของระบบโลจิสติกส์ หลังจากอยู่กับอาลีบาบาก็ได้ในเรื่องเทคโนโลยีเข้ามาช่วย

สำหรับเป้าหมายของลาซาด้านั้น ในระยะสั้นเป็นการรีเฟรชแบรนด์ให้ทันสมัยขึ้น และสร้างความแข็งแกร่ง มีอีเวนต์เสมือนจริง มีการลงทุนด้านโลจิสติกส์ และดิจิทัลต่อเนื่อง ส่วนเป้าหมายระยะยาว ภายในปี 2573 อยากให้บริการลูกค้า 300 ล้านรายทั่วโลก และมียอดขายออนไลน์ 3.5 ล้านล้านบาท

]]>
1403771
เมื่อนักช้อปอาเซียน เลือกค้นหาสินค้าโดยตรงในแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ แทนเสิร์ชเอนจิน https://positioningmag.com/1399904 Tue, 13 Sep 2022 04:17:28 +0000 https://positioningmag.com/?p=1399904
  • ผลสำรวจโดยลาซาด้า พบว่า 57% ของนักช้อปในภูมิภาคค้นหาสินค้าจากแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซโดยตรง ทำให้ช่องทางอีคอมเมิร์ซกลายเป็นหนึ่งในเครื่องมือค้นหาหลักที่ผู้บริโภคนิยมใช้
  • ลาซาด้าเดินหน้าลงทุนด้านเทคโนโลยีและข้อมูลเชิงลึกของผู้บริโภค เพื่อสร้างคุณค่าให้กับแบรนด์ ผู้ขาย และผู้บริโภค สอดคล้องกับเป้าหมายของบริษัทฯ ที่มุ่งเน้นการเติบโตทางธุรกิจในระยะยาว
  • LazMall เป็นแพลตฟอร์มสำคัญที่ลาซาด้าจะลงทุน เพื่อมุ่งเน้นการมีส่วนร่วมของลูกค้าและการรักษาฐานลูกค้า
  • ลาซาด้าเผยแพร่รายงานผลสำรวจผู้นำทางความคิดด้านการโปรโมตสินค้าผ่านโซลูชันของลาซาด้า (Lazada Sponsored Solutions หรือ LSS) ในหัวข้อ “พลิกโฉมการช้อปปิงในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จากการค้นหาสู่การจัดส่ง” (Transforming Southeast Asia: From Discovery to Delivery) ในงาน LazMall Brands Future Forum (BFF) 2022 ที่จัดขึ้น ณ รีสอร์ทเวิลด์ เซนโตซ่า

    งาน LazMall Brands Future Forum (BFF) จัดขึ้นเป็นปีที่ 3 โดยเป็นงานเพื่อกลุ่มธุรกิจที่รวบรวมผู้นำในอุตสาหกรรมและพันธมิตรของลาซาด้าจากทั่วทั้งภูมิภาคมาแลกเปลี่ยนมุมมองและนวัตกรรมที่มีเป้าหมายเพื่อช่วยให้แบรนด์และผู้ขายสร้างการเติบโตทางธุรกิจ และมอบประสบการณ์ค้าปลีกที่แตกต่างในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ภายในงานมีการนำเสนอข้อมูลโดยผู้บริหารลาซาด้า รวมถึงบูธรูปแบบอินเทอร์แอคทีฟที่แสดงเทคโนโลยีเพื่อสร้างประสบการณ์การช้อปปิงของลาซาด้า

    มีการคาดการณ์ว่าจำนวนผู้ใช้อีคอมเมิร์ซจะเพิ่มขึ้นเป็น 413 ล้านคนในปี 2568 ทำให้รูปแบบการช้อปปิงมีความหลากหลายมากขึ้น โดยผลสำรวจนี้พบว่า กว่า 57% ของนักช้อปในภูมิภาคค้นหาสินค้าบนแพลตฟอร์ม อีคอมเมิร์ซโดยตรง ต่างจากเดิมที่ผู้ใช้งานมักค้นหาผ่านเสิร์ชเอนจิน นับเป็นการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญต่อโซลูชันการตลาดของอีคอมเมิร์ซและการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาต่อยอดในธุรกิจต่าง ๆ ที่ต้องปรับตัวได้ตามสถานการณ์และมีความใกล้ชิดกับลูกค้า ท่ามกลางสภาวะอันท้าทายจากอัตราดอกเบี้ยและเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้นทั่วโลก

    เจมส์ ตง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ลาซาด้า กรุ๊ป กล่าวระหว่างการเปิดงานว่า

    “แพลตฟอร์ตอีคอมเมิร์ซอย่างลาซาด้าทำได้เหนือกว่าโซเชียลมีเดีย และเสิร์ชเอนจินไปสู่การเป็นช่องทางการค้นพบทางเลือก พฤติกรรมและกรอบความคิดที่เปลี่ยนแปลงไปในช่วงสองปีที่ผ่านมา ได้ผลักดันให้กลุ่มผู้บริโภคคุณภาพสูงที่มองหาผลิตภัณฑ์ของแท้คุณภาพดี และประสบการณ์ที่ยอดเยี่ยม หันมาใช้งานบนแพลตฟอร์ม LazMall มากขึ้น ทำให้แบรนด์ต่าง ๆ มีโอกาสนำเสนอแนวคิดและเชื่อมโยงกับผู้บริโภคโดยการใช้เครื่องมือต่าง ๆ ของลาซาด้า เพื่อเร่งการเติบโตในพื้นที่อีคอมเมิร์ซและสร้างการมีส่วนร่วมกับกลุ่มเป้าหมายได้อย่างตรงจุด”

    เจมส์ ชาง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายธุรกิจ กล่าวเพิ่มเติมว่า

    อุตสาหกรรมอีคอมเมิร์ซในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เติบโตขึ้นอย่างมหาศาลระหว่างปี 2561-2564 อันเป็นผลมาจากการที่ผู้ซื้อหันมาช้อปปิงออนไลน์มากขึ้นในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 แม้ว่าปัจจุบัน ผู้บริโภคเริ่มกลับไปใช้ชีวิตเช่นเดียวกับช่วงก่อนเกิดโรคระบาด ลาซาด้ายังคงเชื่อมั่นว่าผู้ซื้อจะยังคงซื้อสินค้าบนช่องทางออนไลน์อย่างต่อเนื่อง โดยผู้บริโภค 8 ใน 10 คนยังคงช้อปปิงออนไลน์ เนื่องจากความสะดวกสบาย แม้ว่ายอดซื้อสินค้าเฉลี่ยต่อรายจะลดลงเมื่อเทียบกับช่วงสองปีก่อน  LazMall ยังมีจำนวนผู้ซื้อเพิ่มขึ้นกว่าที่คาด และต่อจากนี้ลาซาด้าจะยังคงให้ความสำคัญกับการสร้างการมีส่วนร่วมและรักษาฐานลูกค้ามากกว่าการเน้นเรื่องราคาและโปรโมชันเป็นหลัก

    รายงานด้านการโปรโมตสินค้าผ่านโซลูชันของลาซาด้า (LSS) ยังแสดงให้เห็นว่า การค้นพบสินค้าจากการค้นหาและสินค้าแนะนำช่วยสนับสนุนผู้บริโภคในกระบวนการตัดสินใจซื้อ โดย 94% ของนักช้อปใช้ฟังก์ชันค้นหาเพื่อมองหาสินค้าบนลาซาด้า และ 94% ตัดสินใจซื้อสินค้าที่พวกเขาพบจากฟังก์ชันค้นหา นอกจากนี้ 71% ของนักช้อปยังซื้อสินค้าที่แสดงในฟีเจอร์ “สินค้าแนะนำ” ที่ลาซาด้าคัดสรรมาให้ตรงตามความสนใจของผู้ใช้แต่ละคน

    ลาซาด้าได้สำรวจผู้ใช้อีคอมเมิร์ซจำนวน 38,138 คน ครอบคลุมทุกเพศ ช่วงวัย และระดับรายได้ครัวเรือนใน 6 ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย และเวียดนาม เพื่อทำความเข้าใจผู้บริโภคในภูมิภาคนี้ได้อย่างลึกซึ้งมากขึ้น

    รายงานนี้ยังใช้ข้อมูลจากการสำรวจเชิงปริมาณอื่น ๆ และจากแหล่งข้อมูลในตลาดที่เชื่อถือได้ รวมถึงข้อมูลผู้บริโภค ลาซาด้ายังได้สัมภาษณ์เชิงลึกเพิ่มเติมกับผู้บริโภค เพื่อให้เข้าใจพฤติกรรมการใช้งานอีคอมเมิร์ซให้ดียิ่งขึ้น ตลอดจนเส้นทางการซื้อ แรงจูงใจ รวมถึงความคาดหวังของผู้บริโภค

    ผลการสำรวจที่สำคัญ

    • ผู้บริโภคในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มากกว่าครึ่ง (57%) ค้นหาสินค้าโดยตรงบนแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ คาดการณ์ว่าจำนวนผู้ใช้อีคอมเมิร์ซจะเพิ่มขึ้นเป็น 413 ล้านคนในปี 2568 ทำให้รูปแบบการช้อปปิงมีความหลากหลายมากขึ้น โดยผลสำรวจนี้พบว่า กว่า 57% ของนักช้อปในภูมิภาคนี้ ค้นหาสินค้าโดยตรงบนแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ ซึ่งมากกว่านักช้อปที่ค้นหาสินค้าผ่านโซเชียลมีเดียและกูเกิล ที่มีจำนวน 50% และ 40% ตามลำดับ
    • การค้นพบสินค้าเป็นขั้นตอนที่สำคัญที่สุด เพราะเกือบ 50% ของการซื้อสินค้าบนแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซเกิดขึ้นโดยไม่ได้วางแผนล่วงหน้า
    • การค้นพบสินค้าจากการค้นหาและสินค้าแนะนำช่วยสนับสนุนผู้บริโภคในกระบวนการตัดสินใจซื้อ โดย 94% ของนักช้อปใช้ฟังก์ชันค้นหาเพื่อมองหาสินค้าบนลาซาด้า และ 94% ตัดสินใจซื้อสินค้าที่พวกเขาพบจากฟังก์ชันค้นหา นอกจากนี้ 71% ของนักช้อปยังซื้อสินค้าที่แสดงในฟีเจอร์ “สินค้าแนะนำ” ที่ลาซาด้าคัดสรรมาให้ตรงตามความสนใจของผู้ใช้แต่ละคน
    • แรงจูงใจเบื้องหลังเส้นทางการตัดสินใจซื้อของนักช้อป
      • ปัจจัยสำคัญที่ทำให้นักช้อปคลิกดูสินค้า ได้แก่ การจัดวางสินค้า ภาพผลิตภัณฑ์ ข้อเสนอในการจัดส่งฟรี และราคาสินค้า รวมถึงคูปองและส่วนลด
      • ปัจจัยหลักที่ทำให้ผู้บริโภคเพิ่มสินค้าลงในรถเข็น ได้แก่ คะแนนสินค้าและรีวิวจากผู้ใช้ ค่าจัดส่ง ข้อเสนอในการจัดส่งฟรี และราคาสินค้า รวมถึงคูปองและส่วนลด
      • ปัจจัยสำคัญที่ทำให้นักช้อปกดเช็กเอาท์และชำระเงิน ได้แก่ โปรโมชันและส่วนลด ราคาสินค้าที่ไม่เกินงบที่ผู้บริโภคตั้งไว้ การจัดส่งฟรี และความเร่งด่วนในความจำเป็นต้องซื้อสินค้า
    ]]>
    1399904
    เทียบไม้เด็ด ‘9.9’ ของ ‘Lazada-Shopee’ ก่อนศึกใหญ่โค้งสุดท้ายปลายปี https://positioningmag.com/1399177 Wed, 07 Sep 2022 02:52:58 +0000 https://positioningmag.com/?p=1399177 จากรายงานของ Digital 2022 July Global Statshot Report พบว่าประเทศไทยติดอันดับ 1 ประเทศช้อปปิ้งออนไลน์/สัปดาห์มากที่สุดในโลกประจำไตรมาส 1/2022 ดังนั้น ไม่น่าแปลกใจหากเหล่า ‘อีมาร์เก็ตเพลส’ ต้องเจอการแข่งขันจาก ‘โซเชียลมีเดีย’ ล่าสุดก็มี ‘TikTok Shop’ ดังนั้น แคมเปญ ‘ดับเบิลเดย์’ จึงดูเหมือนจะเป็นจุดแข็งที่สุดที่จะใช้โกยลูกค้าในยุคที่สู้ศึกรอบด้านและเศรษฐกิจฝืดเคือง

    Try & Buy ฟีเจอร์ใหม่น่าจับตาจาก Lazada

    ก่อนจะไปส่องโปร 9.9 จาก ลาซาด้า (Lazada) ไปส่องฟีเจอร์ใหม่อย่าง Try & Buy ที่แพลตฟอร์มเพิ่งจะทดลองใช้ไปหมาด ๆ ซึ่งฟีเจอร์ดังกล่าวถือว่าแก้ไข Pain Point ของอีคอมเมิร์ซที่ไม่ได้เห็นสินค้าจริงได้เป็นอย่างดี เพราะจากเดิมที่ผู้บริโภคอาจต้องไปหารีวิว หรือทดลองไปดูสินค้าจากหน้าร้านค่อยสั่งซื้อ แต่ฟีเจอร์ใหม่นี้จะส่ง สินค้าทดลอง ไปให้ใช้ฟรีถึงบ้าน ซึ่งปัจจุบันมีสินค้ากว่า 300 รายการที่มีสินค้าทดลองให้ใช้ฟรี

    นอกจากนี้ ลาซาด้ายังเพิ่มฟีเจอร์ Brands Membership Program สำหรับสร้างแบรนด์ลอยัลตี้ของตัวเองบนแพลตฟอร์ม โดยแบรนด์สามารถมอบสิทธิพิเศษให้เมมเบอร์ที่มาสมัครได้ ไม่ว่าจะเป็นการสะสมแต้ม ส่วนลดหรือสิทธิประโยชน์อื่น ๆ โดยตอนนี้มีแบรนด์เข้าร่วมใน Brands Membership Program แล้วประมาณ 200 ราย

    9.9 Lazada คาดเพิ่มยอด 3 เท่า

    ธนิดา ซุยวัฒนา ประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายธุรกิจ บริษัท ลาซาด้า จำกัด (ประเทศไทย) ยอมรับว่าในช่วงเศรษฐกิจไม่ดีแบบนี้ แคมเปญใหญ่เป็นตัวกระตุ้นกำลังซื้อได้ เพราะ 52% ของผู้บริโภครอแคมเปญใหญ่ ๆ เพื่อซื้อของ และแคมเปญ 9.9 ที่จะถึงนี้ถือเป็นแคมเปญใหญ่สุดของช่วงไตรมาส 3 ก่อนจะไปสู่แคมเปญโค้งสุดท้ายอย่าง 11.11 และ 12.12

    “เราคาดว่ายอดใช้จ่ายในแคมเปญ 9.9 นี้จะดีกว่าวันปกติ 2-3 เท่า และคาดว่าจะทำยอดขายได้ดีกว่าช่วง 6.6 ที่ผ่านมาด้วย โดยแคมเปญครั้งนี้เราจะเน้นไปที่ Lazmall ที่มีกว่า 9,000 แบรนด์เป็นหลัก”

    สำหรับแคมเเปญ 9.9 จะเริ่มระหว่างวันที่ 9 – 11 กันยายน 2565 โดยมีโปรโมชัน

    • ส่วนลด 40 บาท ในทุก ๆ การใช้จ่ายมูลค่า 500 บาท จากลาซาด้าโบนัส โดยสามารถเก็บลาซาด้าโบนัสได้ตั้งแต่วันที่ 5 – 11 กันยายน และสามารถใช้โบนัสได้ในวันที่ 9 – 11 กันยายนนี้
    • คูปองส่วนลดสูงสุด 90%
    • คูปองส่วนลดจากลาซาด้า ลดสูงสุด 1,999 บาท
    • คูปองส่วนลดจากร้านค้า มูลค่าสูงสุด 999 บาท
    • ส่วนลดจากพาร์ตเนอร์ที่ร่วมรายการ มูลค่าสูงสุด 999 บาท
    • Crazy Brand Mega Offers ส่วนลดสูงสุด 90% จากแบรนด์ใน LazMall ตั้งแต่เที่ยงคืนถึงตีสองเฉพาะวันที่ 9 กันยายน
    • คูปองส่งฟรี

    Shopee 9.9 คอนเซ็ปต์อัพไซส์

    สุชญา ปาลีวงศ์ ผู้จัดการอาวุโสฝ่ายการตลาดช้อปปี้ ประเทศไทย ยอมรับว่า การมาของโซเชียลคอมเมิร์ซนั้น หลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะโซเชียลมีเดียถือเป็นสิ่งพื้นฐานของผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตไปแล้ว โดยทาง Shopee ก็มีการพัฒนาแพลตฟอร์มเพื่อให้มีความใกล้เคียงกับโซเชียลมีเดีย ไม่ว่าจะเป็นการ ไลฟ์สด หรือการใช้ แชท เพื่อพูดคุยกับร้านค้า

    Penetration rate ของผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตในไทยสูงถึง 78% และมีการซื้อสินค้าและบริการทาง online อย่างต่ำสัปดาห์ละ 1 ครั้ง ซึ่งเรามองว่าช้อปปี้ยังมีโอกาสเติบโตได้ โดยเฉพาะกลุ่มผู้ชาย, ผู้สูงอายุ และกลุ่มคนต่างจังหวัด

    อย่างไรก็ตาม สิ่งที่เป็นจุดแข็งคือ แคมเปญเมกะเซลล์ ที่ทำให้แตกต่างจากโซเชียลคอมเมิร์ซ และสำหรับ 9.9 ที่จะถึงนี้ Shopee มีคอนเซ็ปต์คือ อัพไซส์ โดยมี

    • โค้ดลด 999 บาท
    • สินค้าราคาเริ่มต้น 9 บาท
    • ส่งฟรี
    • โค้ดรับเงินคืน 15% Coin
    • แฟลซเซลล์ลด 99%
    • ShopeeFood เริ่มต้น 9 บาท
    • Shopee E-service รับเงินคืนถึง 10% คอยน์, เติมเงิน เติมเน็ต Flash sale ลดสูงสุด 90% ราคาเริ่มต้น 1 บาท

    นอกจากส่วนลดแล้ว ยังสามารถเล่นเกม Daily Prizes ลุ้นรับรางวัลกว่า 900 รางวัล  อาทิ ทองคำแท่ง, แพ็กเกจท่องเที่ยว รถฟอร์ด เรนเจอร์ รวมรางวัลมูลค่ากว่า 2 ล้านบาท และมีไลฟ์มาราธอน 9 ชั่วโมงใน Shopee Live Marathon

    ]]>
    1399177
    ‘ลาซาด้า’ เผยนักช้อป 52% รอโปรค่อยช้อป ศก.แย่ ยิ่งต้องอัดแคมเปญถี่ พร้อมผุด Lazlive+ ตรึงผู้ใช้ให้อยู่นาน ๆ https://positioningmag.com/1392242 Tue, 12 Jul 2022 05:01:04 +0000 https://positioningmag.com/?p=1392242 สำหรับตลาดอีคอมเมิร์ซเมืองไทย ดูเหมือนจะเงียบ ๆ ไปหลังจากที่ผู้บริโภคเริ่มกลับมาใช้ชีวิตตามปกติ อย่างไรก็ตาม ‘ลาซาด้า’ (Lazada) เชื่อว่าตลาดยังคงสามารถเติบโตได้ และการแข่งขันระหว่างแต่ละแพลตฟอร์มก็ยังคงดำเนินต่อไป โดยครึ่งปีหลังนี้แพลตฟอร์มจะยังอัดแคมเปญต่อเนื่องและเน้นที่กลยุทธ์ Shoppertainment เช่นเดิม

    52% ของผู้ใช้รอโปรค่อยซื้อ

    ธนิดา ซุยวัฒนา ประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายธุรกิจ บริษัท ลาซาด้า จำกัด (ประเทศไทย) กล่าวว่า เทรนด์ผู้บริโภคทั้ง 6 ประเทศที่ลาซาด้าดำเนินกิจการอยู่ค่อนข้างคล้ายกัน โดยพวกเขามองว่าแม้จะมีการคลายล็อกดาวน์แล้วแต่การ ช้อปปิ้งออนไลน์ยังเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตโดย 46% ซื้อของออนไลน์ทุกสัปดาห์ นอกจากนี้ ผู้บริโภคยังมองหา วามคุ้ม โดย 52% ของผู้บริโภครอแคมเปญใหญ่ ๆ เพื่อซื้อของ

    โดยในช่วงครึ่งปีหลังนี้มองว่าภาพรวมตลาดจะครึกครื้นมากขึ้น เพราะมีแคมเปญใหญ่เยอะ เช่น 11.11-12.12 มีแคมเปญดับเบิลเดย์ทุกเดือน ขณะที่ลาซาด้าก็จะมีแคมเปญย่อยถี่ขึ้นเพื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ เพราะช่วงที่ผ่านมาเห็นว่ากำลังซื้อผู้บริโภคลดลง ยอดใช้จ่ายต่อครั้งลดลง แต่เข้ามาใช้งานถี่ขึ้น และใช้เวลานานขึ้นเฉลี่ยที่ 12 นาทีต่อครั้ง ทำให้ยอดขายรวมต่อเดือนยังเติบโต

    “หลายคนมองว่าเป็นการสปอยคอนซูมเมอร์ เพราะเขารอแต่โปร แต่เรามองว่ามันเป็นเรื่องจำเป็น เพราะผู้บริโภคได้ดีลที่ดี ร้านค้าก็ขายได้มากขึ้น”

    ทั้งนี้ เชื่อว่าภาพรวมตลาดอีคอมเมิร์ซครึ่งหลังยังเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยคาดการณ์จาก Statista ในส่วนของตลาด B2C จะยังเติบโตราว 13.5% มีมูลค่า 5.6 แสนล้านบาท เนื่องจากตลาดมีคู่แข่งเข้ามาอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ผู้บริโภคก็มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตและเพย์เมนต์ที่มากขึ้น

    สำหรับสินค้าขายดีในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมายังคงเป็น ของตกแต่งบ้าน ที่น่าสนใจคือ ของที่ขายไม่ดีในช่วงการระบาดกลับมาขายดีมากขึ้น เช่น ลิปสติก, ครีมกันแดด, ชุดว่ายน้ำ และเสื้อลายดอก สะท้อนให้เห็นว่าผู้บริโภคออกจากบ้านและเดินทางท่องเที่ยวมากขึ้น

    “ความท้าทายของอีคอมครึ่งปีหลัง จะยังเป็นเรื่องการแข่งขันที่สูง เพราะเป็นตลาดที่ยังเติบโต ซึ่งเราเองก็ต้องติดตามสถานการณ์เศรษฐกิจอย่างใกล้ชิด และต้องยืดหยุ่นเพื่อตอบสนองผู้บริโภคให้ได้”

    สานต่อ Shoppertainment ด้วย Lazlive+

    ที่ผ่านมา การชมไลฟ์สตรีมมิ่งค่อนข้างได้รับการตอบรับที่ดี โดยในงาน 11.11 ปีที่ผ่านมามียอดผู้ชมรวมทั้งภูมิภาคที่ 18 ล้านวิว ยอดขายเติบโต 187% ขณะที่การไลฟ์ของร้านค้าต่าง ๆ ทางแพลตฟอร์มก็ยังให้ไลฟ์ได้ตามปกติ โดยทั้งเพื่อสร้างความสนุก, นำเสนอสินค้าใหม่ ๆ , ให้ส่วนลดโปรโมชัน รวมถึงขายของ

    ล่าสุด แพลตฟอร์มก็ได้เพิ่ม Lazlive+ ที่ทางแพลตฟอร์มไลฟ์เอง โดยจะดึงดารา เซเลบ มาไลฟ์ในรูปแบบของรายการทีวี เพื่อให้ความรู้ และสามารถสั่งซื้อของในไลฟ์ได้ทันที เบื้องต้นจะมี 3 รายการโดยออนแอร์ 7 Episodes ทั้งหมด 21 ตอน บนแอปพลิเคชันลาซาด้าทุกวันอังคาร วันพฤหัสบดี และวันเสาร์ ตั้งแต่เวลา 20.00-21.00 น. เริ่มตอนแรกวันอังคารที่ 19 กรกฎาคม 2565 นี้ และตอนสุดท้ายในวันเสาร์ที่ 3 กันยายน 2565

    สำหรับรายการแรกจะเป็น The Look+ บิวตี้ทริค ชิคสั่งได้: รายการเกี่ยวกับแฟชั่น โดยที่ลาซาด้ามองว่าสินค้ากลุ่มแฟชั่นสามารถซื้อได้ตลอดเวลาแม้ไม่มีความต้องการ อีกทั้งลูกค้าลาซาด้ากลุ่มผู้ผญิงอายุต่ำว่า 24 ปียังเป็นกลุ่มใหญ่อีกด้วย

    ต่อมาเป็นรายการ The Adventure+ คู่ซ่าท้าลุย: รายการที่จะนำเสนอกิจกรรมสุดตื่นเต้นสำหรับผู้ที่ชื่นชอบการเล่นเกม ชอบทำกิจกรรมแอดเวนเจอร์ โดยกลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่กำลังเติบโต มีกำลังซื้อสูง

    สุดท้าย The Chef+ สูตรดังพลังเชฟ: รายการสอนทำอาหาร ซึ่งแม้ว่าคนจะออกนอกบ้านได้มากขึ้น แต่ไลฟ์สไตล์การทำอาหารยังคงอยู่ ลาซาด้าจึงเห็นความต้องการตรงนี้

    “ตอนนี้อีคอมเมิร์ซแข่งกันเยอะ ทำยังไงให้ใช้เวลากับเราเยอะที่สุด อย่างไลฟ์สตรีมหรือเกมเป็นอีกกลยุทธ์ ดังนั้น เราจึงมุ่งไปทางช้อปเปอเทนเมนต์ เราไม่ได้มองการเข้าแพลตฟอร์มเป็นการช้อปปิ้งอย่างเดียว”

    ]]>
    1392242