วิกฤตสายการบิน – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Tue, 24 Nov 2020 11:27:57 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 Travel Bubble ฮ่องกง-สิงคโปร์ฮิตจัด “คาเธ่ย์” ไฟลท์เกือบเต็ม ก่อนภาครัฐเบรกมาตรการ https://positioningmag.com/1307431 Tue, 24 Nov 2020 10:20:32 +0000 https://positioningmag.com/?p=1307431 บุญมีแต่กรรมบัง! ยอดจองตั๋ว คาเธ่ย์ แปซิฟิค ไฟลท์ระหว่างฮ่องกง-สิงคโปร์เกือบเต็มทุกที่นั่งไปอีก 2-3 สัปดาห์ หลังภาครัฐมีมาตรการ Travel Bubble ก่อนเผชิญข่าวร้ายเมื่อภาครัฐตัดสินใจเลื่อนใช้มาตรการ เนื่องจากผู้ติดเชื้อในฮ่องกงพุ่งขึ้นสูง

สายการบิน คาเธ่ย์ แปซิฟิค เพิ่งสื่อสารกับนักลงทุนเมื่อวันศุกร์ที่ 20 พฤศจิกายนที่ผ่านมาว่า มาตรการ Travel Bubble ฮ่องกง-สิงคโปร์ ได้ผลดี และจะเป็นประโยชน์กับงบการเงินบริษัท ก่อนที่รัฐจะประกาศเลื่อนการใช้มาตรการนี้ในวันที่ 22 พฤศจิกายน 2020

“ดีมานด์ไฟลท์ไปกลับสิงคโปร์ของเราล้นทะลัก” โรนัลด์ ลัม ผู้อำนวยการบริหาร คาเธ่ย์ แปซิฟิค กล่าว “ในสองสามสัปดาห์ข้างหน้า ไฟลท์เราเกือบจะเต็มทุกที่นั่ง”

แต่ก่อนที่คาเธ่ย์จะได้บินไฟลท์แรกในวันที่ 22 พฤศจิกายน 2020 รัฐบาลเกาะฮ่องกงได้ประกาศเลื่อนใช้มาตรการ Travel Bubble กับสิงคโปร์ออกไปก่อนสองสัปดาห์ เนื่องจากการระบาดรอบที่สี่เริ่มพุ่งสูงขึ้นในท้องถิ่นฮ่องกงและมีเคสที่ไม่สามารถติดตามแหล่งที่มาของโรคได้

ก่อนหน้านั้นรัฐบาลประกาศไว้แล้วว่า หากมีผู้ติดเชื้อโรค COVID-19 แบบไม่สามารถติดตามแหล่งที่มาของโรคได้เฉลี่ยเกิน 5 คนต่อวันภายใน 7 วันติดต่อกัน มาตรการ Travel Bubble จะถูกพักการใช้งานทันทีสองสัปดาห์ และในวันที่ 22 พฤศจิกายน 2020 ฮ่องกงมีค่าเฉลี่ยเคสติดเชื้อที่ติดตามโรคไม่ได้ที่ 5.29 คน

Cathay Pacific

เหตุการณ์สุดวิสัยครั้งนี้ทำให้คาเธ่ย์พลาดโอกาสที่จะรับรู้รายได้จากยอดจองตั๋ว เพราะลูกค้าสามารถขอคืนค่าตั๋วได้ตามนโยบาย โดย Bloomberg Intelligence เปิดเผยในรายงานวิจัยว่า เส้นทาง Travel Bubble สองประเทศจะสร้างรายได้ให้คาเธ่ย์ประมาณ 93 ล้านเหรียญฮ่องกง (ประมาณ 364 ล้านบาท) และจะช่วยลดการขาดทุนลงได้สูงสุดราว 6% เมื่อมาตรการต้องเลื่อนออกไปเช่นนี้ ทำให้สายการบินน่าจะยังขาดทุนอย่างรุนแรงต่อไป

อย่างไรก็ตาม ความหวังอยู่ที่ปี 2021 ซึ่งสถานการณ์การระบาดน่าจะดีขึ้นและฮ่องกงมีการเจรจา Travel Bubble กับอีก 10 ประเทศในขณะนี้ ที่อาจจะเริ่มใช้มาตรการได้ปีหน้า

คาเธ่ย์ แปซิฟิคเป็นหนึ่งในสายการบินที่วิกฤตหนักที่สุดจาก COVID-19 เนื่องจากไม่มีไฟลท์ในประเทศให้พึ่งพิงได้เลย ดังนั้นจำนวนผู้โดยสารจึงลดลง 99% เหลือเพียง 1,500 คนต่อวันในขณะนี้ ทำให้สายการบินต้องปรับตัวอย่างหนัก เช่น การปลดพนักงานออก 5,900 ตำแหน่ง การปิดกิจการสายการบินลูก คาเธ่ย์ ดราก้อน

นอกจากรอลุ้น Travel Bubble แล้ว คาเธ่ย์ต้องหันไปพึ่งธุรกิจคาร์โก้อย่างเต็มที่ โดยคาเธ่ย์เป็นสายการบินคาร์โก้ที่ใหญ่เป็นอันดับ 5 ของโลก และเป็นหนึ่งในสายการบินไม่กี่เจ้าของโลกที่ได้รับการรับรองให้ขนส่งเวชภัณฑ์ที่ต้องรักษาอุณหภูมิ ดังนั้น น่าจะเป็นโอกาสของคาเธ่ย์ในฐานะผู้ขนส่งวัคซีนป้องกัน COVID-19

Source

]]>
1307431
Singapore Airlines แปลงเครื่องบินเป็น “ร้านอาหาร” ที่นั่งจองเต็มภายใน 30 นาที! https://positioningmag.com/1301190 Mon, 12 Oct 2020 10:48:02 +0000 https://positioningmag.com/?p=1301190 ได้ฟีล (เกือบ) เหมือนจริง! Singapore Airlines แปลงเครื่องบิน A380 ที่จอดบนสนามบินชางงีเป็น “ร้านอาหาร” เบื้องต้นจัดแบบอีเวนต์พิเศษเพียง 2 วัน ทำให้ที่นั่งถูกจองเต็มภายใน 30 นาที

ด้วยรายได้ที่ลดลงฮวบฮาบของสายการบินจากวิกฤต COVID-19 ทำให้ทุกบริษัทต้องหาทางรอด รวมถึง Singapore Airlines สายการบินระดับโลก ออกไอเดียเปลี่ยนเครื่องบิน Airbus A380 ซึ่งจอดอยู่ที่สนามบินชางงี ประเทศสิงคโปร์ ให้กลายเป็นร้านอาหารชั่วคราว ระหว่างวันที่ 24-25 ตุลาคมนี้

อีเวนต์ดังกล่าวจุดกระแสความนิยมอย่างรวดเร็ว ที่นั่งถูกขายเกลี้ยงภายในเวลาเพียง 30 นาที โดยผู้ที่สนใจต่างคิดถึงการรับประทานอาหารบนเครื่องบินซึ่งเป็นประสบการณ์พิเศษที่ปกติต้องจองตั๋วเครื่องบินเท่านั้น

เครื่องบินลำนี้ปกติจุผู้โดยสารได้ 471 ที่นั่ง แต่เนื่องจากข้อปฏิบัติการเว้นระยะห่างทางสังคม ทำให้สายการบินเปิดที่นั่งได้แค่ครึ่งหนึ่งของลำสำหรับอีเวนต์ครั้งนี้ โดยมีการแบ่งราคาตั๋วทานอาหารตามระดับชั้น ดังนี้

  • ที่นั่งชั้นสวีท 642 ดอลลาร์สิงคโปร์ (ประมาณ 14,700 บาท)
  • ที่นั่งชั้นธุรกิจ 321 ดอลลาร์สิงคโปร์ (ประมาณ 7,370 บาท)
  • ที่นั่งชั้นประหยัดพรีเมียม 96.30 ดอลลาร์สิงคโปร์ (ประมาณ 2,210 บาท)
  • ที่นั่งชั้นประหยัด 53.50 ดอลลาร์สิงคโปร์ (ประมาณ 1,230 บาท)
(Photo : Singapore Airlines)

Lee Lik Hsin รองประธานฝ่ายปฏิบัติการพาณิชย์ของสายการบินกล่าวว่า บริษัทจะศึกษาจำนวน Waiting Lists และมองหาวิธีที่บริษัทจะสามารถ “หาโอกาสรองรับความต้องการของผู้ที่ยังมีความสนใจต่อประสบการณ์รับประทานอาหารอันพิเศษยิ่ง”

Singapore Airlines รายงานผลประกอบการไตรมาส 2/20 ขาดทุนมากกว่า 1,000 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ และประกาศเมื่อสิ้นเดือนกันยายนว่า บริษัทกำลังหาทางทำเงินใหม่ๆ ซึ่งรวมถึงการเปลี่ยนเครื่องบินเป็นร้านอาหารในครั้งนี้ด้วย นอกจากนี้ยังระบุถึงการส่งอาหารของสายการบินผ่านฟู้ดเดลิเวอรี่ โดยจะมีวิดีโอประกอบเพื่อสาธิตการอุ่นอาหารอย่างเหมาะสม และเพลย์ลิสต์ดนตรีเฉพาะสำหรับลูกค้าเพื่อสร้างบรรยากาศแบบเดียวกับบนเครื่องบินของ SIA

ไม่ใช่แค่ Singapore Airlines ที่ต้องทำทุกทางเพื่อหารายได้ การบินไทยก็มีการทำร้านอาหารโดยใช้ธีมที่นั่งบนเครื่องบินและขายปาท่องโก๋ทอด หรือสายการบิน Qantas กับ EVA Air ที่ขายตั๋วบินวนชมวิวแล้วลงจอดที่เดิม ทั้งหมดเพื่อหากระแสเงินสดมาพยุงธุรกิจในนาทีวิกฤตเช่นนี้

Source

]]>
1301190
ฮ่องกง ทุ่มเงินอัดฉีด 1.6 แสนล้านบาท อุ้มสายการบิน “คาเธ่ย์ แปซิฟิค” ฝ่าวิกฤต COVID-19 https://positioningmag.com/1282818 Tue, 09 Jun 2020 11:02:42 +0000 https://positioningmag.com/?p=1282818 รัฐบาลฮ่องกง อนุมัติเงินอัดฉีด 39,000 ล้านดอลลาร์ฮ่องกง (ราว 1.6 เเสนล้านบาท) ช่วยเหลือ “คาเธ่ย์ แปซิฟิค” เเลกกับการเข้าถือหุ้น 6% เพื่อรักษาสภาพคล่องของธุรกิจการบินให้ผ่านพ้นวิกฤต COVID-19

การช่วยเหลือสายการบินคาเธ่ย์ แปซิฟิค (Cathay Pacific) ครั้งนี้ ถือเป็นครั้งเเรกที่รัฐบาลฮ่องกงเข้าไปมีส่วนร่วมกับการดำเนินงานของบริษัทเอกชน โดยคาเธ่ย์ แปซิฟิคเป็นสายการบินหลักของฮ่องกงเเละเป็นหนึ่งในสายการบินขนาดใหญ่ของเอเชีย ซึ่งรัฐบาลต้องการรักษาความเป็นศูนย์กลางทางการบินในภูมิภาคของฮ่องกงเอาไว้

สำหรับกระบวนการช่วยเหลือ ทางฝ่ายบริหารของฮ่องกงจะเข้าซื้อหุ้นบุริมสิทธิมูลค่า 19,500 ล้านดอลลาร์ฮ่องกง คิดเป็นสัดส่วนราว 6% ของหุ้นสายการบินคาเธ่ย์ และถือใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นสามัญ (Warrant) อีก 1,950 ล้านดอลลาร์ฮ่องกง เเละจะมีการช่วยเหลือผ่านสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำระยะสั้นอีก 7,800 ล้านดอลลาร์ฮ่องกง

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าตามปกติการถือครองหุ้นบุริมสิทธิจะไม่มีสิทธิออกเสียงด้านนโยบายบริหาร เเต่ทางการฮ่องกงจะส่งผู้สังเกตการณ์ 2 คนเข้าร่วมในการประชุมคณะกรรมการบริหารของสายการบินด้วย

นอกจากนี้ ในข้อตกลงเเผนช่วยเหลือระหว่างรัฐบาลฮ่องกงเเละคาเธ่ย์ แปซิฟิค ยังครอบคลุมถึงการระดมทุนในรูปแบบการให้สิทธิซื้อหุ้นออกใหม่ (rights issue) มูลค่า 11,700 ล้านดอลลาร์ฮ่องกง ส่งผลให้สัดส่วนการถือหุ้นคาร์เธ่ย์ของผู้ถือหุ้นเดิมเปลี่ยนแปลง

โดยปัจจุบันผู้ถือหุ้นใหญ่อย่างสายการบิน Swire ที่ถือหุ้นอยู่ 45% จะลดลงเหลือ 42% สายการบิน Air China ถือหุ้นอยู่ 30% จะลดลงเหลือ 28% และ Qatar Airways ที่ถือหุ้นอยู่ 10% จะลดลงเหลือ 9.4%

คาเธ่ย์ แปซิฟิคเป็นสายการบินขนาดใหญ่ที่ให้บริการหลายเส้นทางสู่เมืองใหญ่ทั่วโลก อย่าง ปักกิ่ง ลอสแอนเจลิส ซิดนีย์ เเวนคูเวอร์ และโตเกียว หลังเกิดการเเพร่ระบาดของ COVID-19 ทำให้การเดินทางทั่วโลกต้องหยุดชะงัก ฝูงเครื่องบินส่วนใหญ่ต้องจอดไว้ สายการบินต้องแบกรับภาระค่าใช้จ่ายเเละขาดสภาพคล่องทางการเงิน

คาเธ่ย์ เปิดเผยล่าสุดว่า รายรับจากผู้โดยสารลดลงเหลือเพียง 1% จากปีก่อนหน้า หมายความว่าสายการบินกำลังสูญเสียเงินสดราว 2,500 – 3,000 ล้านดอลลาร์ฮ่องกงต่อเดือน นับตั้งเเต่ช่วงเดือน ก.พ. ที่การเเพร่ระบาดเริ่มรุนเเรงขึ้น

ก่อนหน้านี้ สายการบินคาเธ่ย์ ได้รับผลกระทบจากความไม่สงบในสถานการณ์การประท้วงต่อต้านรัฐบาลจีนในฮ่องกงที่ดำเนินต่อเนื่องตั้งแต่ปีที่ผ่านมา และโดนซ้ำเติมด้วยวิกฤต COVID-19 ซึ่งทำให้ต้องปลดกัปตันเเละลูกเรือไปบางส่วนในสหรัฐฯ และแคนาดา จากนี้จะดำเนินเเผนลดเงินเดือนผู้บริหารต่อไป พร้อมกับแผนการเสนอให้พนักงานลางานเเบบไม่รับเงินโดยสมัครใจครั้งที่ 2 ควบคู่ไปกับข้อเสนอการเพิ่มทุน

ผลกระทบจากวิกฤต COVID-19 ส่งผลกระทบต่อสายการบินครั้งใหญ่ที่สุดในรอบศตวรรษ สายการบินหลายเเห่งต้องยื่นล้มละลายเพื่อเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟู เเละสายการบินหลายเเห่ง ต้องขอความช่วยเหลือจากรัฐบาลเเบบมี “ข้อเเลกเปลี่ยน”

อย่างเช่น สายการบินลุฟท์ฮันซ่าที่ให้รัฐบาลเยอรมนีเข้าถือหุ้นสายการบิน โดยแลกเปลี่ยนกับมาตรการช่วยเหลือทางการเงิน ด้านรัฐบาลฝรั่งเศสได้อนุมัติเงินกู้ 7,000 ล้านยูโรช่วยเหลือสายการบินแอร์ฟรานซ์ เพื่อแลกกับการลดเที่ยวบินในประเทศและต้องปรับสายการบินให้มีความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น เป็นต้น

 

ที่มา : Reuters , CNN

]]>
1282818
การล้มละลาย Virgin Australia เป็นสัญญาณ “อันตรายขั้นวิกฤต” ของธุรกิจสายการบินทั่วโลก https://positioningmag.com/1275046 Thu, 23 Apr 2020 10:37:06 +0000 https://positioningmag.com/?p=1275046 ธุรกิจการบินทั่วโลกกำลังเสี่ยง “ล้มละลาย” เมื่อการท่องเที่ยวเเละการเดินทางต้องหยุดชะงักจากการเเพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 เเม้สายการบินหลายเจ้าจะประสบปัญหาการเงินมาก่อนหน้านี้เเล้ว เเต่เมื่อต้องเจอมรสุมอันหนักหน่วงนี้เข้าไป จุดที่ “ยื้อต่อไม่ไหว” ก็มาถึง

สายการบินใหญ่อันดับ 2 ของออสเตรเลียอย่าง Virgin Australia กลายเป็นสายการบินแห่งแรกในภูมิภาคเอเชีย-เเปซิฟิก ที่เข้าสู่กระบวนการ “ล้มละลาย” พนักงานกว่าหมื่นคนเสี่ยงตกงานกะทันหัน

ในขณะที่สายการบินอีกหลายเเห่งในเอเชียต้อง “ชะลอเเผนธุรกิจ” จากเดิมที่มีเเผนจะควบรวมกิจการ ซื้อกิจการหรือซื้อเครื่องบินใหม่ เปลี่ยนมาเปลี่ยนเเค่พยุงธุรกิจให้รอดวิกฤต COVID-19 นี้ไปก็พอ รวมถึงขอให้ผู้โดยสารรับเงินคืนเป็น “เครดิต” เเทนเงินสดในยามธุรกิจย่ำเเย่ไร้เงินหมุน

Paul Scurrah ซีอีโอของ Virgin Australia กล่าวว่า การตัดสินใจยื่นขอล้มละลายครั้งนี้เป็นไปเพื่อที่จะต่อชีวิตของสายการบิน และแสดงให้เห็นถึงภาวะวิกฤตที่เกิดขึ้นจาก COVID-19 ซึ่งหลังจากนี้จะมีการปรับโครงสร้างทางธุรกิจและการเงินของบริษัทต่อไป

ก่อนหน้านี้ สายการบินพยายามยื่นขอให้รัฐบาลจัดหาเงินกู้เพื่อฟื้นฟูกิจการ ในวงเงิน 888 ล้านเหรียญสหรัฐ เเต่รัฐบาลออสเตรเลีย “ปฏิเสธ” ด้วยเหตุผลว่า ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของ Virgin Australia เป็นสายการบินต่างชาติ (เเต่ Qantas สายการบินขนาดใหญ่ที่สุดของประเทศ ยังได้รับเงินช่วยเหลือจากรัฐบาลจำนวน 715 ล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย)

Virgin Australia มีผู้ถือหุ้นหลักๆ ประกอบด้วย สายการบิน Etihad Airways ของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ถือหุ้น 20.94% สายการบิน Singapore Airlines ของสิงคโปร์ ถือหุ้น 20.09% บริษัทหนานชาน กรุ๊ป ถือหุ้น 19.98% บริษัท HNA Group ถือหุ้น 19.82% และบริษัท Virgin Group ของนักลงทุนชื่อดัง Richard Branson ถือหุ้นอยู่ 10.42%

โดยสายการบินมีเครื่องบินถึง 130 ลำ พนักงานรวมกันกว่า 10,000 คน และมีผู้ที่เกี่ยวข้องอีกราว 6,000 คน ต้องเเบกรับหนี้สินระยะยาวอยู่ราว 3,170 ล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 1 แสนล้านบาท)

ที่ผ่านมา Virgin Australia มีส่วนแบ่งรายได้ 31% ของเที่ยวบินในประเทศออสเตรเลีย เป็นอันดับ 2 รองจากคู่เเข่งอย่าง Qantas ที่มีส่วนแบ่ง 58% เเละที่เหลือเป็นของสายการบินขนาดเล็กในประเทศ โดยธุรกิจการบินในออสเตรเลียประสบภาวะขาดทุนต่อเนื่องมาพักใหญ่ ก่อนที่จะเกิดวิฤกต COVID-19

ความเสียหายระยะยาวสายการบิน จะมีผลต่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของออสเตรเลีย ซึ่งเป็นภาคธุรกิจสำคัญของ GDP

ก่อนหน้านี้ สมาคมขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ หรือ IATA ประเมินว่าอุตสาหกรรมการบินทั่วโลกจะต้องการมาตรการช่วยเหลือและเงินสนับสนุนจากรัฐมูลค่าประมาณ 1.5-2 แสนล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อให้รอดพ้นวิกฤตครั้งนี้
มิฉะนั้นแล้วการระบาดของไวรัส COVID-19 จะส่งผลให้หลายสายการบินต้องล้มละลาย หรือเกิดการควบรวมกิจการ

ล่าสุด IATA ได้ปรับเพิ่มการคาดการณ์ความสูญเสียรายได้ของธุรกิจการบินโลกว่า ขณะนี้จะเพิ่มขึ้นเป็น 3.14 แสนล้านเหรียญสหรัฐ สูงขึ้นกว่าการประเมินครั้งก่อนเมื่อช่วงปลายเดือน มี.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งเคยประเมินไว้ที่ 2.52 แสนล้านเหรียญสหรัฐ เนื่องจากสถานการณ์การเเพร่ระบาดของ COVID-19 เกิดมาตรการ “ล็อกดาวน์” ในหลายประเทศส่งผลให้เศรษฐกิจทั่วโลกชะลอตัวลงมาก การที่จะฟื้นฟูเส้นทางบินระหว่างประเทศ “ล่าช้า” กว่าที่เคยคาดไว้ เเละจำนวนผู้โดยสารในปีนี้ลดลงถึง 55% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา

“การล้มละลายของ Virgin Australia เป็นเพียงแค่จุดเริ่มต้นของวิกฤต ต่อจากนี้ 2-3 เดือน จะมีสายการบินล้มละลายอีกจำนวนมาก” 

 

ที่มา : ฺBBC , straitstimes

 

 

]]>
1275046