สถานีชาร์จ EV – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Fri, 10 Jun 2022 11:21:02 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 แผนสนับสนุนมาตรฐาน “สถานีชาร์จ” รัฐบาลไบเดน ต้องติดราคาชัด-ไม่บังคับสมัครสมาชิก https://positioningmag.com/1388396 Fri, 10 Jun 2022 10:54:39 +0000 https://positioningmag.com/?p=1388396 รัฐบาลไบเดนต้องการสร้างระบบนิเวศ “รถยนต์ไฟฟ้า” ให้เกิดขึ้นจริงในสหรัฐฯ ทำให้การจัดการ “สถานีชาร์จ” เป็นเรื่องสำคัญยิ่ง ในงบสนับสนุนของรัฐเพื่อจัดตั้งสถานีชาร์จให้เพียงพอ ไบเดนต้องการสร้างมาตรฐานสถานีให้เหมือนกับปั๊มน้ำมันปัจจุบัน เช่น ติดป้ายราคาขนาดใหญ่ ไม่บังคับสมัครสมาชิก รับการชำระเงินด้วยบัตรเครดิต

รัฐบาลสหรัฐอเมริกา นำโดย “โจ ไบเดน” กำลังเดินตามแผนสนับสนุนรถยนต์ไฟฟ้า โดยในแง่ของการตั้ง “สถานีชาร์จ” รัฐบาลจะใช้งบสนับสนุนทั้งหมด 5 แสนหัวชาร์จ ส่วนใหญ่จะตั้งอยู่ริมถนนไฮเวย์ทั่วประเทศ

สถานีที่สนับสนุนโดยรัฐจะต้องมีมาตรฐานเดียวกัน คล้ายกับที่ปั๊มน้ำมันเป็นอยู่ขณะนี้ จุดสำคัญที่ไบเดนต้องการคือ สถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าจะต้อง “เปิดกว้าง” ให้กับทุกๆ คน ไม่มีการบังคับสมัครสมาชิกก่อนจึงเข้าใช้ได้ มีการใช้ระบบชำระเงินมาตรฐาน เช่น บัตรเครดิต

ตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2021 รัฐบาลไบเดนประกาศเป้าหมายด้านรถยนต์ไฟฟ้า โดยต้องการให้ยานพาหนะที่ออกจำหน่ายในปี 2030 ครึ่งหนึ่งเป็นรถยนต์ไฟฟ้า, รถไฟฟ้าฟิวเซลล์ หรือ รถปลั๊กอินไฮบริด

เมื่อจะสนับสนุนรถยนต์ไฟฟ้า สิ่งที่ชาวอเมริกันกังวลมากที่สุดจึงเป็น “สถานีชาร์จ” ผู้ใช้จะต้องไม่มีความกังวลว่าจะหาสถานีชาร์จข้างหน้าไม่ได้จนแบตเตอรีหมด ดังนั้น รัฐบาลจึงให้การสนับสนุนสถานีชาร์จด้วย รวมถึงมีการทุ่มทุนหลายพันล้านเหรียญสหรัฐเพื่อสนับสนุนการวิจัยและติดตั้งสถานีชาร์จประเภทชาร์จเร็ว (fast charge)

Man plugging in charger into an electric car at charge station

ถ้าหากกฎการสร้างสถานีชาร์จที่เป็นมาตรฐานนี้สามารถเคาะร่างกฎหมายขั้นสุดท้ายออกมาได้ จะถูกนำไปใช้กับการสนับสนุนด้านโครงสร้างพื้นฐานที่เซ็นผ่านกฎหมายไปเมื่อเดือนพฤศจิกายนปีก่อน โดยในกฎหมายฉบับนั้นมีการสนับสนุนเงินทุน 5,000 ล้านเหรียญแก่มลรัฐต่างๆ เพื่อสร้างโครงข่ายสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า

“เพื่อสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านไปสู่รถยนต์ไฟฟ้า เราต้องสร้างโครงข่ายสถานีชาร์จระดับชาติที่ทำให้การชาร์จรถง่ายเหมือนกับการเข้าปั๊ม” พีท บัททิกีเอก เลขานุการกระทรวงคมนาคม กล่าว

ความคืบหน้ากฎหมายเกี่ยวกับสถานีชาร์จเกิดขึ้นในช่วงเวลาเดียวกับที่ “ราคาน้ำมัน” พุ่งขึ้นสูงเป็นประวัติการณ์ ขณะนี้ราคาน้ำมันในสหรัฐฯ ขึ้นไปแตะ 4.96 เหรียญต่อแกลลอน ไบเดนเองได้ระบุแล้วว่ารัฐบาลของเขาไม่สามารถจะดึงราคาน้ำมันลงมาได้ในระยะสั้น

Source

]]>
1388396
ETRAN มอ’ไซค์ไฟฟ้าไทยระดมทุน Series A สร้าง “สถานีเปลี่ยนแบตฯ” แก้ปัญหาผู้ใช้งาน https://positioningmag.com/1331814 Wed, 12 May 2021 11:12:09 +0000 https://positioningmag.com/?p=1331814 ฝันให้ไกล ไปให้ถึง! ETRAN (อีทราน) สตาร์ทอัพมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าสัญชาติไทยก้าวไปอีกขั้น ระดมทุน Series A ได้รับเงินลงทุนกว่า 100 ล้านบาท พร้อมเปิดสถานีเปลี่ยนแบตเตอรี่ ไม่ต้องรอชาร์จ สนับสนุนระบบนิเวศการใช้งาน ออกรถโมเดลใหม่ “MYRA” (ไมร่า) ตีตลาด “ไรเดอร์” ส่งของเดลิเวอรี่โดยเฉพาะ

บางคนอาจเคยผ่านตารถมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าไทยยี่ห้อ ETRAN มาบ้าง เพราะสตาร์ทอัพรายนี้ก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 2559 และมีรถออกมาแล้ว 2 รุ่นคือ PROM (พร้อม) และ KRAF (คราฟ) จนในที่สุด บริษัท อีทราน (ไทยแลนด์) จำกัด เจ้าของแบรนด์ ระดมทุนรอบ Series A ได้สำเร็จ พร้อมจะเข้าสู่การผลิตเชิงพาณิชย์ และนำเงินลงทุนโครงสร้างพื้นฐานระบบนิเวศของยานยนต์ไฟฟ้า

โดยบริษัทแจ้ง การระดมทุนรอบ Series A คิดเป็นเงินรวม 3.5 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 100 ล้านบาท แบ่งแหล่งเงินทุนออกเป็น 2 แหล่งคือ

1.บมจ.เอ็น.ดี.รับเบอร์ หรือ NDR (อยู่ในตลาดหุ้น mai) เป็นผู้ผลิตและจำหน่ายยางล้อมอเตอร์ไซค์ เข้าลงทุนด้วยวิธีแลกหุ้น (shares swap) คิดเป็นมูลค่าการลงทุนราว 60.2 ล้านบาท และจะทำให้ NDR เข้ามาถือหุ้นในอีทรานเป็นสัดส่วน 35%

2.Angel Investor นักลงทุนอิสระ ใช้เงินสดในการเข้าซื้อหุ้นของอีทราน คิดเป็นมูลค่า 43 ล้านบาท

ETRAN KRAF มอเตอร์ไซค์ไฟฟ้ารุ่นพรีเมียม เหมาะกับคนรักการขับขี่ ราคา 150,000 บาท

 

ยกระดับเป็นมืออาชีพ ตั้งเป้าครองผู้นำตลาดไทย

อีทราน เป็นบริษัทจากการก่อตั้งของ “สรณัญช์ ชูฉัตร” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อีทราน (ไทยแลนด์) จำกัด มีวิสัยทัศน์ที่ต้องการส่งเสริมให้รถมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าเป็นตัวเลือกของคนไทยในการใช้งาน เพื่อลดการปล่อยคาร์บอนของรถน้ำมัน ลดมลพิษ ทำให้สิ่งแวดล้อมดีขึ้น และยังวางเป้าที่จะหาโมเดลธุรกิจที่ทำให้คนไทยทุกคนเข้าถึงยานยนต์ไฟฟ้าได้

“เราไม่คิดว่ายานยนต์ไฟฟ้าเป็นสินค้าของคนมีเงินเท่านั้น แต่ทุกคนควรจะเข้าถึงได้” สรณัญช์กล่าว

หลังจากระดมทุน Series A ร่วมกับงบสนับสนุนการวิจัยจาก สำนักงานสภานโยบาย การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) กว่า 16 ล้านบาท เงินทุนดังกล่าวจะนำมาใช้ใน 3 ด้านคือ 1.เพิ่มไลน์ผลิตให้ได้ในระดับเพื่อการค้าพาณิชย์ 2.โครงสร้างพื้นฐาน สถานีชาร์จและเปลี่ยนแบตเตอรี่ และ 3.ทำการตลาด

ผู้บริหารและนักลงทุน บริษัท อีทราน (ไทยแลนด์) จำกัด

รวมถึงบริษัทจะยกระดับไปสู่การเป็น “มืออาชีพ” โดยมีคณะกรรมการบริหาร (Board of Directors) เพิ่มเติมจำนวน 3 ท่าน ได้แก่

  1. ศิโรตม์ เสตะพันธุ ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง Managing Partner บริษัท เอ็กซ์ฟอร์แม็ท จำกัด มีประสบการณ์ด้านการเงินและการลงทุนมากกว่า 25 ปี เคยดำรงตำแหน่งในกระทรวงการคลัง และ บริษัท เจพีมอร์แกน
  2. ฐิติ ตวงสิทธิตานนท์ ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง กรรมการผู้จัดการ บริษัท Dole Packaged Foods มีประสบการณ์ด้านการพัฒนาธุรกิจและการตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ มากกว่า 20 ปี เคยดำรงตำแหน่งใน Coca-Cola, Mars, และ Royal Canin
  3. ธันวา มหิทธิวาณิชชา ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง Partner บริษัท แกรนท์ ธอนตัน จำกัด มีประสบการณ์เกี่ยวกับกฎหมายและมาตรการภาษีมากกว่า 15 ปี เคยดำรงตำแหน่งในบริษัท PricewaterhouseCoopers

ด้วยโครงสร้างบริษัทที่แกร่งขึ้น สรณัญช์กล่าวว่า เป้าหมายของบริษัทจากนี้ ต้องการจะมีส่วนแบ่งตลาดรถมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าไทย 50% ภายใน 3 ปี โดยมีกลุ่มเป้าหมายลูกค้า 4 กลุ่มคือ ไรเดอร์ขนส่ง, ‘พี่วิน’ มอเตอร์ไซค์, หน่วยงานราชการ และกลุ่มคนรักรถมอเตอร์ไซค์

ETRAN MYRA รุ่นใหม่สำหรับไรเดอร์จัดส่งเดลิเวอรี่ เน้นความเพรียวบาง ซอกแซกง่าย มีที่วางกระเป๋าไว้ด้านหลัง

ชัยสิทธิ์ สัมฤทธิวณิชชา กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอ็น.ดี.รับเบอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ NDR นักลงทุนรายใหญ่ที่ร่วมกับอีทราน มองว่า บริษัทอีทรานจะเติบโตได้ 15-20% ในปีนี้ วางเป้ารายได้ไว้ที่ 300-500 ล้านบาท ส่วนปี 2565 น่าจะทำรายได้แตะ 1,000 ล้านบาทและน่าจะเป็นปีที่เริ่มทำกำไร

โดยบริษัทเลือกเข้าลงทุนในอีทรานเพื่อหา New S-curve ให้บริษัท NDR เชื่อว่าอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าจะเป็นอนาคต และเพิ่งจะเริ่มเข้าสู่วัฏจักรการเติบโต เหมาะแก่การเริ่มลงทุน

 

แก้ปัญหาผู้ใช้ สร้าง “สถานีเปลี่ยนแบตฯ” ในเมือง

หนึ่งในปัญหาหลักที่ทำให้คนกลัวการเปลี่ยนมาใช้ยานยนต์ไฟฟ้าคือ ขณะนี้แบตเตอรี่ยังชาร์จได้ช้า ต้องใช้เวลา 2-4 ชั่วโมงในการชาร์จ ไม่สอดคล้องกับการใช้งานจริง ดังนั้น อีทรานจะเข้ามาแก้ปัญหา และทำให้โมเดลธุรกิจยานยนต์ไฟฟ้าเป็นจริงได้

สรณัญช์กล่าวว่า อีทรานจะตั้ง “สถานีเปลี่ยนแบตเตอรี่” รถมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า ตั้งเป้า 100 จุดทั่วกรุงเทพฯ (50 เขต เขตละ 2 จุด) ตั้งในห้างสรรพสินค้า อาคารพาณิชย์ หรือพื้นที่ของบริษัท เฟสแรกเริ่ม 3 จุดก่อน แต่ยังไม่ระบุว่าเป็นที่ไหน

ภาพต้นแบบ “สถานีเปลี่ยนแบตเตอรี่” ของ ETRAN

วิธีใช้งานคือ ผู้ใช้รถของอีทรานจะต้องจองเวลาผ่านแอปฯ ว่าจะเข้ามาเปลี่ยนแบตฯ เวลาใด จากนั้นเข้ามาเปลี่ยนแบตเตอรี่ลูกใหม่ได้เลย ไม่ต้องรอชาร์จ เชื่อว่าจะช่วยจูงใจให้การใช้มอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าน่าสนใจขึ้น

 

รุ่นใหม่ “MYRA” รถเช่าเพื่อไรเดอร์ส่งเดลิเวอรี่

ความเคลื่อนไหวอีกอย่างหนึ่งในปีนี้ของอีทรานคือ จะเปิดตัวรถรุ่นใหม่ MYRA ในเดือนมิถุนายนนี้ เป็นโมเดลรถที่ออกแบบมาเพื่อกลุ่ม “ไรเดอร์” ส่งพัสดุ อาหาร เดลิเวอรี่โดยเฉพาะ ด้านหลังใช้วางกล่องใส่ของ วิ่งได้สูงสุด 190 กม.ต่อการชาร์จหนึ่งครั้ง ทำความเร็วสูงสุด 120 กม./ชม.

โดยช่วงแรกจะบริการแบบให้เช่าเริ่มต้นวันละ 1xx บาท เปิดเช่าทั้งแบบ B2B กับบริษัทที่ต้องการฟลีตรถมอเตอร์ไซค์ของตนเอง และราย่อยแบบ B2C ก่อนจะเปิดขายในระยะถัดไป

รถรุ่น MYRA นี่เองที่จะเป็นเรือธงสำคัญ เป็นซัพพลายที่ต้องเติบโตคู่ไปกับสถานีเปลี่ยนแบตเตอรี่่ โดยสรณัญช์ระบุว่า บริษัทตั้งเป้าให้เช่าหรือขายเฉพาะรถรุ่นนี้ 100 คันต่อเดือน เชื่อว่าจะมีรถวิ่งในตลาดสะสม 5,000 คันภายใน 3-4 ปี

 

โอกาสธุรกิจ…ที่ต้องการรัฐส่งเสริม

ธุรกิจยานยนต์ไฟฟ้าในระดับโลกเริ่มเห็นความเป็นไปได้มากขึ้นเรื่อยๆ ไม่ว่าจะในยุโรป สหรัฐฯ หรือจีน ต่างส่งเสริมรถอีวีทั้งนั้น

โดย “อาร์ชวัส เจริญศิลป์” ประธานกรรมการบริหาร บริษัท อีทราน (ไทยแลนด์) จำกัด มองว่าตลาดนี้เริ่มเติบโตในระดับหนึ่งจนทำให้ต้นทุนและเทคโนโลยีการผลิตเริ่มเข้าถึงได้จริงแล้ว และเห็นว่าประเทศไทยเริ่มให้ความสำคัญ จากการที่รัฐบาลตั้งคณะกรรมการนโยบายยานยนต์ไฟฟ้า

ในประเด็นนี้ มองว่าการสนับสนุนจากรัฐที่จะช่วยให้ธุรกิจนี้เติบโตได้ดีที่สุดคือ 1.สนับสนุนสร้างโครงสร้างพื้นฐานประเภทสถานีชาร์จและเปลี่ยนแบตเตอรี่ 2.ลดภาษีสรรพสามิตให้กับกลุ่มยานยนต์ไฟฟ้า 3.สนับสนุน BOI ให้กับผู้ผลิตยานยนต์ไฟฟ้า และ 4.สนับสนุนให้หน่วยงานราชการจัดซื้อจัดจ้างใช้งาน เพราะจะเป็นสัญญาณสำคัญว่าภาครัฐ ‘เอาจริง’ ในการส่งเสริม

สำหรับบริษัทเองก็จะเน้นการพัฒนาเทคโนโลยีให้มีประสิทธิภาพขึ้นเรื่อยๆ ให้แบตเตอรี่หนึ่งลูกวิ่งได้ไกลขึ้น ชาร์จเร็วขึ้น ปลอดภัย และลดต้นทุนการผลิตให้คนทุกคนเข้าถึงได้แบบ ‘ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง’ โดยปีนี้ยังมีพัฒนามอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าอยู่อีก 2 รุ่น เชื่อว่าจากนี้จะกดราคาลงให้ต่ำได้ถึง 50,000 บาทต่อคัน เป็นราคาที่เข้ามาตีตลาดรถน้ำมันได้แล้ว

]]>
1331814
Hyundai เปิดตัว ‘E-pit’ สถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าสุดล้ำ ชาร์จเร็ว 5 นาที วิ่งได้ถึง 100 กิโลเมตร https://positioningmag.com/1326781 Tue, 06 Apr 2021 08:50:02 +0000 https://positioningmag.com/?p=1326781 Hyundai ค่ายรถยนต์เจ้าใหญ่ ออกนวัตกรรมใหม่มาขับเคลื่อนวงการอีกครั้ง เปิดตัว ‘สถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าชาร์จเร็วเพียง 5 นาที วิ่งได้ถึง 100 กิโลเมตร เตรียมกระจาย 20 จุดทั่วเกาหลีใต้ให้ได้ในปีนี้

สำหรับต้นเเบบสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าเเห่งอนาคตของ Hyundai นี้ มีชื่อว่า ‘E-pit’ ได้รับเเรงบันดาลใจจากจุด ‘Pit stop’ ในการแข่งขันรถ Formula 1 ที่เหล่าทีมงานของเเต่ละทีม สามารถซ่อมเเซม เปลี่ยนยางหรือปรับปรุงรถ ได้ภายในไม่กี่นาที สะท้อนให้เห็นความรวดเร็วเเละมีประสิทธิภาพ

Hyundai จึงนำเเนวคิดนี้มาใช้กับจุดชาร์จ ‘E-pit’ เพื่อให้เจ้าของรถยนต์ยี่ห้อ Hyundai และ Kia สามารถทำการชาร์จรถไฟฟ้าได้อย่างทันใจ เเละชำระเงินค่าบริการเเบบดิจิทัลผ่านสมาร์ทโฟนได้

การชาร์จเเบบเร็วพิเศษ 800V’ นั้นจะสามารถชาร์จแบตได้ 80% ในเวลา 18 นาที และหากใช้เวลาชาร์จเพียง 5 นาที ก็สามารถวิ่งรถได้ไกลราว 100 กิโลเมตร ส่วนการชาร์จเเบบปกตินั้นจะสามารถชาร์จแบตได้ 80% ในเวลาประมาณ 40 นาที

สถานีชาร์จแห่งใหม่นี้ สร้างขึ้นเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานตามความต้องการใช้รถยนต์ไฟฟ้า (EV) ของผู้บริโภคที่มีมากขึ้นเรื่อยๆ โดย Hyundai และ Kia มีเเผนจะเปิดตัว EV รุ่นใหม่ที่รองรับการชาร์จแบบ 800V อย่างรุ่น Ioniq 5 และ EV6 ในเร็วๆ นี้ 

Hyundai ตั้งเป้าที่จะติดตั้งสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า ‘E-pit’ ในเกาหลีใต้ให้ได้ 20 เเห่ง (ที่ชาร์จในสถานีรวม 120 เครื่อง) ภายในปีนี้ เเบ่งเป็นตามจุดพักรถบนทางหลวง จำนวน 12 แห่ง และอีก 8 แห่งในเขตเมืองต่างๆ พร้อมการดีไซน์ที่สวยงามเเละทันสมัย เพื่อให้เป็นจุดพักรถเเละพักผ่อนไปในตัว

 

 

ที่มา : CNET , Electrive

 

]]>
1326781
เปิดเเผน ‘ซีพี ออลล์’ มุ่ง 7 Go Green ผุดสถานีชาร์จ EV 100 แห่งในปีนี้ เตรียมใช้ ‘รถยนต์ไฟฟ้า’ ส่งสินค้า https://positioningmag.com/1325736 Tue, 30 Mar 2021 13:44:22 +0000 https://positioningmag.com/?p=1325736 ซีพี ออลล์ประกาศเเผน ‘7 Go Green’ เเห่งปี 2021 วางเป้าลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 1.28 แสนตัน ปักหมุดขยายเซเว่น-อีเลฟเว่นปีนี้เเตะ 13,000 สาขา พร้อมวางถังคัดแยกขยะลุยติดตั้งสถานีชาร์จ EV หน้าร้านอีก 100 แห่ง เตรียมใช้รถยนต์ไฟฟ้า’ กระจายส่งสินค้าทั่วประเทศ

สำหรับโครงการ ‘7 GO Green’ นั่นเริ่มมาตั้งแต่ปี 2550 เพื่อหวังลดและเลิกใช้ถุงพลาสติกที่ร้านเซเว่น-อีเลฟเว่น โดยปล่อยเเคมแปญลดวันละถุงคุณทำได้” ออกมาในปีช่วงปลายปี 2561

โดยในปีนี้บริษัทจะสานต่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมให้เป็นรูปธรรมมากขึ้น ผ่าน 4 ด้านหลักๆ ประกอบด้วย Green Building , Green Store , Green Logistic และ Green Living เพื่อลดและชดเชยการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในปีนี้รวม 128,426 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (tC02e) หรือเปรียบเทียบการปลูกต้นไม้ยืนต้นจำนวน 347,648 ต้น 

ทั้งนี้ เซเว่น-อีเลฟเว่น เปิดให้บริการกว่า 12,400 สาขา โดยในปี 2564 นี้ จะมีการทุ่มงบลงทุนในร้านสะดวกซื้ออีก 1.2 หมื่นล้านบาท เพื่อขยายให้ได้เป็น 13,000 สาขา เเละก้าวสู่เป้าหมาย 20,000 สาขาให้ได้ต่อไป

Green Building : ลดใช้พลังงานในสาขา

ซีพี ออลล์ จะเน้นออกแบบและบริหารจัดการผ่านคอนเซ็ปต์ ‘ร้านเพื่อสิ่งแวดล้อม’ ลดใช้พลังงานต่างๆ เช่น ปรับปรุงคอยล์เย็น สำหรับตู้แช่เย็นขนาดใหญ่ , เปลี่ยนเครื่องปรับอากาศเป็นประเภท Inverter , ใช้หลอดไฟ LED, ผลิตพลังงานไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์, โครงการปรับปรุงระบบทำความเย็นของตู้แสดงสินค้า ชนิดไร้บานประตูเป็นแบบรวมศูนย์, โครงการ Knockdown Store นำวัสดุเปลือกอาคารกลับมาใช้ใหม่ และ โครงการสถานีอัดประจุไฟฟ้า สำหรับยานยนต์ไฟฟ้า

Green Store : บรรจุภัณฑ์รักษ์โลก กระตุ้นใช้ e-Receipt

จะเน้นไปที่การออกแบบ ‘บรรจุภัณฑ์’ เพื่อสิ่งแวดล้อมที่มีในร้านเซเว่น-อีเลฟเว่น ลดปริมาณขยะพลาสติก ผ่านแนวคิด “ลด และ ทดแทน” เช่น พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง, โครงการเสื้อพนักงานที่ผลิตจากขวดพลาสติกรีไซเคิล

นอกจากนี้ จะประชาสัมพันธ์ให้กลุ่มลูกค้า ALL member ที่มีอยู่ราว 10 ล้านคน หันมาใช้ใบเสร็จรับเงิน/ใบกำกับภาษีเต็มรูปแบบอีเล็กทรอนิกส์ เพื่อลดประมาณการใช้กระดาษ

“ปัจจุบันมียอดใช้จ่ายมากถึง 150 ล้านใบเสร็จต่อเดือน เมื่อนำมาต่อกันคิดเป็นความยาวรอบโลกได้ราว 3 รอบ เป็นขยะกระดาษจำนวนมาก” 

Green Living : รณรงค์คัดแยกขยะ

จะเน้นไปที่การรณรงค์สร้างจิตสำนึกเพื่อสิ่งแวดล้อม เชิญชวนลดการใช้พลาสติกแบบครั้งเดียวทิ้ง โดยล่าสุดจะจัดให้มี “ถังคัดแยกขยะ” ในทุกสาขาของเซเว่น-อีเลฟเว่น ค่อยๆ สร้างการรับรู้ให้ให้คนไทยช่วยกันคัดแยกขยะพลาสติก เพื่อนำขยะพลาสติกเข้าสู่กระบวนการเศรษฐกิจหมุนเวียน หรือ Circular Economy

Green Logistic : กระจายจุดชาร์จ EV ในไทย 

จะเน้นไปที่การขนส่งและการกระจายสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม พัฒนาศูนย์กระจายสินค้าทั่วประเทศที่มีอยู่ทั้งหมด 20 แห่งใน 12 จังหวัดทั่วประเทศ และได้ติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ผลิตพลังงานไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์

ล่าสุด ซีพี ออลล์กำลัง ‘ศึกษาพัฒนารถขนส่งด้วยรถยนต์ไฟฟ้า’ โดยเจรจากับผู้ผลิตรถยนต์ เพื่อผลิตรถยนต์ไฟฟ้าสำหรับใช้ในการขนส่งของบริษัท จากปัจจุบันที่มีรถขนส่งอยู่กว่า 7,000 คัน ใช้วิ่งรับส่งสินค้าอย่างน้อย 2 ครั้งต่อวัน

นอกจากนี้ บริษัทตั้งเป้าจะติดตั้งสถานีอัดประจุไฟฟ้าสำหรับยานยนต์ไฟฟ้า(EV) หน้าร้านเซเว่น-อีเลฟเว่นที่มีพื้นที่จอดรถให้ลูกค้า จำนวน 100 สาขาภายในปีนี้ โดยจะมีให้บริการทั้งเเบบ ‘ชาร์จเร็ว’ (Quick Charge) ใน 30 นาที หรือเเบบชาร์จช้าที่ต้องใช้เวลาหลายชั่วโมง เพื่อรองรับเทรนด์พลังงานสะอาดที่ผู้บริโภคหันมาใช้ยานยนต์ไฟฟ้าเพิ่มมากขึ้น 

เป็นที่น่าจับตาว่า การกระจายสถานีชาร์จรถไฟฟ้าให้แพร่หลายผ่านร้านสะดวกซื้อ จะเป็นอีกปัจจัยสำคัญที่จะช่วยสร้างโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับตลาดรถยนต์ไฟฟ้าในเมืองไทยได้ดีทีเดียว โดยก่อนหน้านี้ บริษัทพลังงานอย่าง ‘เชลล์’ ก็จับมือกับ BMW เปิดตัว Shell Recharge จุดชาร์จ EV แห่งแรกในไทย

ขณะที่เจ้าใหญ่อย่าง ปตท.น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ OR เผยว่า บริษัทมีแผนจะเปิดประมูลจัดหาอุปกรณ์ติดตั้งสถานีอัดประจุไฟฟ้าในสถานีบริการน้ำมัน PTT Station ในปีนี้เพิ่มเป็น 100 แห่งทั่วประเทศเน้นหัวเมืองหลักในแต่ละจังหวัด ในรูปแบบ Quick Charge ซึ่งจะใช้เวลาชาร์จประมาณ 20-25 นาทีต่อคัน คาดว่าจะใช้เงินลงทุนอยู่ที่ประมาณ 1.5-2 ล้านบาทต่อสาขา และจะขยายปั๊มชาร์จไฟฟ้าเพิ่มขึ้นเป็น 300 แห่งภายในปี 2565 จากปัจจุบันมีการติดตั้งแล้ว 30 สาขา

 

]]>
1325736