สินเชื่อบุคคล – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Sun, 15 Nov 2020 12:13:40 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 จับอินไซต์พฤติกรรมรูดบัตรเครดิต “กรุงศรี” หลัง COVID-19 กำลังซื้อลด ระวังหนี้เสีย “เรื้อรัง”  https://positioningmag.com/1305637 Sun, 15 Nov 2020 07:31:15 +0000 https://positioningmag.com/?p=1305637 ธุรกิจบัตรเครดิตสินเชื่อเจองานหินจากผลกระทบของ COVID-19 ฉุดยอดใช้จ่ายผ่านบัตรร่วง ตลาดรวมฟื้นบ้างเเต่ยังติดลบผู้คนระมัดระวังการใช้จ่าย มนุษย์เงินเดือนรู้สึกไม่มั่นคงต้องจับตาหนี้เสียที่อาจเกิดขึ้น

เรามาดูกันว่า พฤติกรรมของผู้ใช้บัตรเครดิต หลังวิกฤต COVID-19 ได้เปลี่ยนเเปลงไปอย่างไร

กรุงศรี คอนซูมเมอร์’ ผู้ให้บริการบัตรเครดิตเเละสินเชื่อส่วนบุคคลรายใหญ่ ที่มีฐานลูกค้าทั่วไทยกว่า 8-9 ล้านคน ยอมรับว่า ปี 2563 ลูกค้าสมัครบัตรใหม่จะลดลงถึง 44% 

ณญาณี เผือกขำ ประธานกรรมการ กรุงศรี คอนซูมเมอร์ บอกว่า จากผลกระทบโรคระบาดเเละมาตรการล็อกดาวน์ ส่งผลกระทบ ‘โดยตรง’ กับยอดใช้จ่ายผ่านบัตรเเละธุรกิจสินเชื่อ อย่างต่อเนื่องเเละในปี 2564 ก็ยังหนักหนาอยู่

ภาพรวมการใช้จ่ายผ่านบัตรจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ระบุว่า 8 เดือนแรกของปีนี้ ตลาดรวมหดตัวที่ -12%

สำหรับไตรมาส 3/63 ยอดการใช้จ่ายผ่านบัตรของกรุงศรี คอนซูมเมอร์ อยู่ที่ 196,000 ล้านบาท ขณะที่ยอดสินเชื่อปล่อยใหม่อยู่ที่ 58,000 ล้านบาท สินเชื่อคงค้างอยู่ที่ 133,000 ล้านบาทติดลบเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และไตรมาสก่อนหน้า

โดยไตรมาส 4/63 คาดว่า ภาพรวมของธุรกิจบัตรเครดิตและสินเชื่อบัตรจะปรับตัวดีขึ้นราว 25% จากไตรมาส 3/63 ถ้าเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จะติดลบราว 7-8% เพราะผลกระทบทางเศรษฐกิจยังเรื้อรัง

ส่วนคาดการณ์ยอดใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตของกรุงศรี คอนซูมเมอร์ ในไตรมาสที่ 4 มองว่าจะเติบโต 20% เทียบกับในไตรมาสที่ 3 และคาดว่าตลอดทั้งปี 2563 จะมียอดใช้จ่ายผ่านบัตร 280,000 ล้านบาท ยอดสินเชื่อใหม่ 83,000 ล้านบาท และยอดสินเชื่อคงค้าง 144,000 ล้านบาท…เเม้จะปรับตัวดีขึ้น เเต่ยังต้องระวังในปัจจัยหลายประการ 

คนไทยใช้บัตรเครดิตอย่างไร หลังวิกฤต COVID-19 ?

การใช้จ่ายของผู้บริโภค จะยังไม่กลับมาในระดับเทียบเท่ากับปีที่แล้ว แต่ก็เริ่มเห็นสัญญาณที่ดีขึ้น

จากข้อมูลการวิเคราะห์พฤติกรรมใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตและบัตรสินเชื่อในเครือกรุงศรี คอนซูมเมอร์ ตั้งแต่เดือนมีนาคมถึงกันยายน 2563 ชี้ให้เห็นว่า วิกฤต COVID-19 ที่เกิดขึ้นส่งผลให้พฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนไป ทุกวัยเริ่มคุ้นชินกับความสะดวกสบายที่ได้จากบริการออนไลน์ แม้คลายล็อกดาวน์แล้ว บริการเหล่านี้ก็ยังเป็นที่นิยม เช่น หมวดช้อปออนไลน์, สินค้าตกแต่งบ้าน, บริการสั่งอาหาร, สตรีมมิ่งและบันเทิงออนไลน์

ขณะที่บางหมวดหลังคลายล็อกดาวน์ ก็เริ่มมีการใช้จ่ายเพิ่มขึ้น เช่น หมวดโรงแรมในประเทศ, หมวดร้านอาหาร, ห้างสรรพสินค้า, แฟชั่น, ความงามและเครื่องสำอาง

“หมวดที่ไม่ได้รับผลกระทบมากนัก ยังมียอดใช้จ่ายผ่านบัตรใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมา คือ หมวดประกันภัย และซูเปอร์มาร์เก็ต ที่ยังคงเป็นหมวดใช้จ่ายผ่านบัตรที่สูงที่สุดเป็นอันดับ 1 และ 2 ตามลำดับ”

โดยมีพฤติกรรมการใช้จ่ายของผู้ถือบัตรเครดิต ที่น่าสนใจ ดังนี้

ยอดใช้จ่ายในหมวดช้อปปิ้งออนไลน์ยังคงเติบโตต่อเนื่อง แต่เริ่มมีแนวโน้มช้าลง

ตั้งแต่เดือนเมษายนถึงพฤษภาคม ยอดใช้จ่ายออนไลน์เติบโตกว่าปีที่แล้วกว่า 150% แต่หลังเดือนพฤษภาคม เติบโตเพียง 75% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยลูกค้าทุกวัย ยังคงมีแนวโน้มใช้จ่ายในหมวดช้อปปิ้งออนไลน์เพิ่มขึ้น

  • หมวดสินค้าตกแต่งบ้าน ช่วงล็อกดาวน์ ลูกค้าซื้อสินค้าหมวดสินค้าตกแต่งบ้าน ผ่านช่องทางออนไลน์เพิ่มขึ้นถึง 6 เท่าตัว และหลังปลดล็อก ยอดขายหน้าร้านก็เพิ่มสูงขึ้นมาก แสดงถึงความสนใจในการตกแต่งบ้านที่เพิ่มขึ้น
  • ยอดใช้จ่ายในหมวดบริการสั่งอาหาร (Food Delivery) ยังคงเติบโตต่อเนื่อง เติบโตขึ้นกว่าในช่วงเดียวกันของปีที่แล้วถึง 3 เท่าตัว
  • หมวดบริการสตรีมมิ่งและความบันเทิงออนไลน์ เติบโตสูง แม้หลังช่วงคลายล็อกดาวน์ โดยเฉพาะกลุ่ม Gen Y 
  • หมวดความบันเทิง เช่น ธุรกิจโรงหนัง ยังคงซบเซา แสดงให้เห็นว่าผู้บริโภคเริ่มหันมาใช้บริการสตรีมมิ่งและความบันเทิงออนไลน์มากขึ้น

shopping online

หมวดโรงแรมในประเทศ  ร้านอาหาร ห้างสรรพสินค้า แฟชั่น ความงามและเครื่องสำอาง มีสัญญาณที่ดีขึ้นหลังคลายล็อกดาวน์

  • ท่องเที่ยวในประเทศ “เริ่มฟื้น”

ยอดจองโรงแรมในเดือนสิงหาคมถึงกันยายน มีแนวโน้มสูงขึ้น คาดว่าเป็นผลจากความเชื่อมั่นที่เพิ่มขึ้นของผู้บริโภค รวมถึงมาตรการส่งเสริมการท่องเที่ยวจากภาครัฐ

“ยอดจองตั๋วเครื่องบิน ยอดใช้จ่ายในหมวดตัวแทนท่องเที่ยว โดยรวมส่วนใหญ่ยังซบเซา ยกเว้นตัวแทนท่องเที่ยวที่เป็นพันธมิตรหลักในโครงการเราเที่ยวด้วยกันของรัฐ และยอดจองตรงกับโรงแรม ซึ่งมียอดสูงขึ้น” 

นอกจากนี้ ยอดใช้จ่ายในหมวด “บริการเช่ารถ” ยังเติบโตขึ้น แสดงถึงความนิยมในการเดินทางท่องเที่ยวแบบส่วนตัวมากขึ้น

  • คนเริ่มกลับมารับประทานอาหาร “ที่ร้าน” มากขึ้น

แม้ว่ายอดใช้จ่ายในหมวดร้านอาหาร จะยังไม่กลับมาในระดับที่เทียบเท่ากับปีที่แล้ว แต่ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม ยอดใช้จ่ายในแต่ละครั้ง สูงขึ้นกว่าช่วงล็อกดาวน์ ถึง 64% ยอดใช้จ่ายในหมวดนี้ในช่วงหลัง 2 ทุ่ม ก็กลับมาคึกคักอีกครั้ง โดยเฉพาะในคืนวันศุกร์ แสดงให้เห็นว่า คนเริ่มกลับมารับประทานอาหารที่ร้านมากขึ้น

  • หลังคลายล็อคดาวน์ คนเริ่มกลับเข้าห้าง ในเดือนสิงหาคม 2563 ยอดใช้จ่ายในหมวดห้างสรรพสินค้าสูงกว่ายอดในเดือนเดียวกันของปีที่ผ่านมา 3% ก่อนจะลดลงในช่วงเดือนกันยายน
  • ยอดใช้จ่ายสินค้าแฟชั่น เริ่มกลับมากระเตื้องขึ้น ที่น่าสนใจคือ ยอดใช้จ่ายในการซื้อสินค้าแบรนด์หรูเติบโตสูงกว่าแบรนด์ระดับกลาง แสดงว่าผู้บริโภคส่วนหนึ่งยังคงมีกำลังซื้อ และใช้จ่ายต่อเนื่อง
  • หมวดความงามและเครื่องสำอาง กลับมากระเตื้องขึ้นหลังคลายล็อกดาวน์ โดยยอดใช้จ่ายในหมวดสินค้าประเภทสกินแคร์ เติบโตสูงกว่าสินค้าประเภทเครื่องสำอาง
ท่องเที่ยว ประเทศไทย
Photo : Shutterstock

ลูกค้าบัตรใหม่จะหายไปถึง 44% 

อีกประเด็นที่น่าสนใจคือ ยอดการใช้จ่ายผ่านบัตร “เฉลี่ยต่อคน” ยังไม่แตกต่างจากเดิมมากนัก แต่จำนวนคนที่ใช้จ่ายกลับลดลง ความเสี่ยงหนี้เสียยังไม่เเน่นอน ทำให้บริษัทต้องระมัดระวังการปล่อยสินเชื่อใหม่ โดยคาดว่าปีนี้จำนวนลูกค้าสมัครใหม่จะอยู่ที่ 500,000 ใบ ลดลงถึง 44% จากปีก่อน

“โดยรวมทุกบัตรเครดิตของกรุงศรีฯ ลูกค้ายังเป็นกลุ่มที่มีกำลังซื้ออยู่ เเต่บัตรกรุงศรีเฟิร์สช้อยส์ (Krungsri First Choice) จะได้รับผลกระทบหนักที่สุด เพราะลูกค้าส่วนใหญ่เป็นกลุ่มฐานราก กลุ่มพนักงานที่อาจะโดนลดเงินเดือน หรือลูกค้าผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19”

เมื่อมีความเสี่ยงหนี้เสียเพิ่มขึ้นจากภาวะเศรษฐกิจ เเละลูกค้าบัตรใหม่ “ลดลง” กลยุทธ์จึงเน้นไปที่กลุ่มลูกค้าที่มีความสามารถในการใช้จ่ายและชำระหนี้ มีการคัดกรองที่เข้มงวดมากขึ้น เเละพัฒนาการเข้าถึงผ่านช่องทางออนไลน์ เเละหากลุ่มลูกค้าใหม่ อย่างล่าสุดกรุงศรี คอนซูมเมอร์ ได้จับมือกับ Grab เพื่อปล่อยสินเชื่อให้กับไรเดอร์ (คนขับ) บนเเพลตฟอร์ม ฯลฯ

ด้านแอปพลิเคชัน UChoose ของกรุงศรี คอนซูมเมอร์ ปัจจุบันมีผู้ใช้งาน 5.3 ล้านบัญชี จากฐานลูกค้าทั้งหมดที่มีอยู่ 8-9 ล้านบัญชี พร้อมมีการพัฒนา “AI มะนาว” เพื่อให้บริการตอบคำถามเบื้องต้นกับลูกค้า

ต้นปี 64 จับตาหนี้เสีย “เรื้อรัง” 

สำหรับสถานการณ์หนี้เสีย หรือ NPL ของกรุงศรี คอนซูมเมอร์ ในช่วงไตรมาส 3/63 อยู่ที่ 2.25% เพิ่มขึ้นจากช่วงต้นปีที่เพิ่งมีการเเพร่ระบาดของ COVID-19 ที่ 2.14% ซึ่งคาดว่าทั้งปี 2563 คงจะไม่เกิน 2.25% โดยอัตราหนี้เสียของบัตรต่างๆ จะเผยยอดให้เห็นชัดในไตรมาส 1/64

ที่ผ่านมา มีลูกค้ากรุงศรี คอนซูมเมอร์ ใช้มาตรการพักชำระหนี้จากวิกฤต COVID-19 อยู่ราว 1 ล้านคน ซึ่งบริษัทได้มีมาตรการช่วยเหลืออย่าง การลดอัตราดอกเบี้ย โดยโครงการรีไฟแนนซ์เพื่อยืดการผ่อนชำระ มีลูกค้าเข้าร่วม ราว 93,000 บัญชี มูลค่ารวม 4 พันล้านบาท

ลูกค้ากลุ่มดังกล่าว ยังมีความไม่เเน่นอนที่ต้องจับตา เพราะหากช่วงปลายปียังไม่สามารถชำระหนี้ได้ ก็สามารถเข้าสู่กระบวนการขอปรับโครงสร้างหนี้ (TDR) ได้ โดยจะให้ระยะเวลาในการผ่อนชำระหนี้สูงสุด 96 เดือน (8 ปี) ปรับเพิ่มขึ้นจากเดิมที่อยู่ราว 48 เดือน ทั้งนี้ ปัจจุบันกรุงศรี คอนซูมเมอร์มีมีลูกค้าเข้าโครงการ TDR จำนวน 32,400 ราย คิดเป็นยอดสินเชื่อคงค้าง 2,500 ล้านบาท

เเม่ทัพคนใหม่ ในบ้านหลังเดิม

ณญาณี ให้สัมภาษณ์ถึงความรู้สึกเเละก้าวต่อไป หลังขึ้นมารับตำเเหน่งคุมบังเหียนใหญ่ในกรุงศรี คอนซูมเมอร์ เเทน “ฐากร ปิยะพันธ์” ที่กระโดดไปนั่งเก้าอี้ CEO บมจ.เครือไทย โฮลดิ้งส์ เมื่อช่วงที่ผ่านมาว่า “เป็นความท้าทายที่อบอุ่น” ด้วยความที่เติบโตในบ้านกรุงศรีฯ มานาน เเม้จะมารับตำเเหน่งในช่วงวิกฤต COVID-19 ที่สะเทือนธุรกิจ เเต่การมีทีมงานที่เข้าใจกันเเละเชื่อใจกัน รู้จักกันมานานทำให้มีกำลังใจฝ่าฟันอุปสรรคต่างๆ

“มั่นใจว่าเราจะเติบโตไปได้อีก อยู่ในครอบครัวเดิม เป็นคนเดิม เเต่ต้องทำหน้าที่เพิ่มขึ้น”

ณญาณี เผือกขำ ประธานกรรมการ กรุงศรี คอนซูมเมอร์

ส่วนการเข้ามาในช่วงวิกฤต COVID-19 ก็มีส่วนช่วยให้ต้องมีการปรับองค์กรเร็วขึ้น ปรับกลยุทธ์การทำงานให้เป็นดิจิทัลมากขึ้น ซึ่งตอนนี้กำลังวางเเผนอยู่ ปีหน้าคงจะมีการปรับการทำงานของพนักงานเเบบเต็มสูบ เรียกว่าเป็นการ “ปรับรูปแบบการทำงานใหม่” ให้เข้ากับสถานการณ์โลกต่อไป…

 

 

]]>
1305637
เร่งเครื่อง “สินเชื่อบุคคล” โตหลังวิกฤต KTC ลุยบัตรกดเงินสด เสริมรายได้เเทนดอกเบี้ยลด https://positioningmag.com/1293308 Wed, 19 Aug 2020 10:25:35 +0000 https://positioningmag.com/?p=1293308 ในปี 2563 แม้เศรษฐกิจจะชะลอตัวจาก COVID-19 ส่งผลกระทบต่อประชาชนให้ระมัดระวังการใช้จ่าย ต้องประหยัด เเละเน้นเก็บเงินไว้เป็นสภาพคล่องมากขึ้น 

หลังมาตรการคลายล็อกดาวน์ ผู้คนเริ่มกลับมาใช้ชีวิตตามปกติ ห้างร้านเเละภาคธุรกิจ ทยอยกลับมาให้บริการอีกครั้ง มีเเววจะเห็นสัญญาณการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยในช่วงครึ่งปีหลัง จากความหวังว่าได้ผ่านจุดต่ำสุดในไตรมาส 2 มาเเล้ว เป็นอีกหนึ่งโอกาสของกลุ่มธุรกิจ Non-Bank ที่จะเร่งเครื่องธุรกิจ “สินเชื่อบุคคล” มากขึ้น

ช่วงเดือนเม.. ถึงพ..ที่ผ่านมา เราได้เห็นสัญญาณการผิดนัดชำระหนี้สินเชื่อส่วนบุคคลเพิ่มสูงขึ้น จนในเดือนมิ..ถึงเดือนก.. ตัวเลขการผิดนัดชำระกลับมาสู่ระดับปกติแล้วพิชามน จิตรเป็นธรรม ผู้ช่วยประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธุรกิจสินเชื่อบุคคล บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด หรือ KTC กล่าว

ในช่วงที่วิกฤต COVID-19 ทวีความรุนเเรงขึ้น KTC ได้ออกมาตรการช่วยเหลือลูกค้า เช่น การลดขั้นต่ำการผ่อนชำระ ลดอัตราดอกเบี้ย เป็นต้น ขณะที่การปรับลดเพดานดอกเบี้ยของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ที่กำหนดให้สินเชื่อบัตรเครดิตที่ลดจาก 18% เหลือ 16% สินเชื่อบุคคลลดจาก 28% เหลือ 25% ส่งผลกระทบต่อรายได้ธุรกิจ Non-Bank โดยตรง

โดย KTC ประเมินว่า การปรับเพดานดอกเบี้ยดังกล่าว จะทำให้รายได้ดอกเบี้ยหายไปราว 100 ล้านบาทต่อเดือน ซึ่งจะต้องเข้มงวดในการอนุมัติสินเชื่อมากขึ้น อย่างการควบคุมความเสี่ยงเเละปรับเกณฑ์ด้านสายงานลูกค้าในการพิจารณาสินเชื่อ เช่น สายงานลูกค้าที่ได้รับผลกระทบโดยตรง อย่างสายการบิน โรงแรม ทัวร์เเละการท่องเที่ยว

ปัจจุบันยอดปฏิเสธบัตรใหม่เพิ่มขึ้นเป็น 75% จากช่วงก่อน COVID-19 จะอยู่ที่ราว 70%”

ผู้บริหาร KTC มองว่า เเม้ช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา เเม้สถานการณ์เริ่มปรับตัวดีขึ้น แต่ก็ยังมีความเสี่ยง เพราะถ้าเศรษฐกิจยังฟื้นตัวช้า อย่างไรผู้คนก็จะระมัดระวังการใช้จ่ายและรักษาสภาพคล่องเงินสดมากขึ้น อีกทั้งต้องรอดูว่าภาครัฐทุ่มงบประมาณเพื่ออัดฉีดเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นหรือไม่ ดังนั้นภาพรวมในช่วงต่อไปจึงต้องมีการประเมินอีกที

ทั้งนี้ ณ วันที่ 30 มิ.. 2563 ทาง KTC มีโครงสร้างลูกหนี้ เเบ่งเป็นบัตรเครดิต 63.8% เเละสินเชื่อส่วนบุคคล 36.2% เงินให้สินเชื่อแก่ลูกหนี้สินเชื่อบุคคลและดอกเบี้ยค้างรับรวม (ยอดลูกหนี้สินเชื่อส่วนบุคคล) อยู่ที่ 30,244 ล้านบาท ส่วนหนี้เสีย (NPL) ในหมวดของสินเชื่อบุคคลที่ถูกคำนวณตามมาตรฐานใหม่ TFRS9 อยู่ที่ 8.5% ต่างจากในมาตรฐานเดิม ณ ปี 2562 NPL อยู่ที่ 0.8% เท่านั้น 

ด้วยสภาพเศรษฐกิจในยามนี้ เราจึงจะได้เห็นบรรดาบัตรเครดิต มีการออกแคมเปญ “ผ่อน 0%” กันมากขึ้น เพื่อกระตุ้นการใช้จ่าย โดยเฉพาะในสินค้าที่มีวงเงินค่อนข้างสูง เช่น โรงพยาบาล ความงาม และรถยนต์ นับเป็นกลยุทธ์ในการแข่งขันของธุรกิจบัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคลในช่วงนี้

ตั้งแต่ช่วงมาตรการล็อกดาวน์จนถึงปัจจุบัน พบว่ายอดการกดเงินลดลงประมาณ 1-2% จากการระมัดระวังการใช้จ่ายของลูกค้า เเละปกติมียอดใช้จ่ายเฉลี่ยทั้งหมดคนละ 1 หมื่นบาทต่อเดือน

ด้านการกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจช่วงครึ่งปีหลังของ KTC จะมุ่งไปที่การทำให้รายได้ดอกเบี้ยที่ลดลงสามารถทยอยกลับคืนมาได้ ซึ่งมีกลยุทธ์หลักๆ อย่างการขายบริการสู่ธุรกิจสินเชื่อมีหลักประกัน เช่น สินเชื่อจำนำทะเบียนรถพี่เบิ้ม” เเละล่าสุดกับการเปิดตัวบัตรกดเงินสด KTC PROUD-UNIONPAY โดยตั้งเป้าผู้ใช้ถึงแสนใบ ภายในสิ้นปีนี้

โดย KTC PROUD-UNIONPAY จะมี 4 ฟังก์ชันหลัก กดโอนรูดผ่อน ซึ่งในเดือนก..นี้ จะสามารถโอนเงินเข้าบัญชีทุกธนาคารแบบเรียลไทม์ผ่านแอปฯ KTC Mobile ได้ทันที ขณะที่กลุ่มลูกค้าหลักที่ต้องการจะเจาะยังเป็นกลุ่มมนุษย์เงินเดือนที่มีรับฐานเงินเดือนตั้งเเต่ 12,000 บาทในส่วนของผู้ที่มีรายได้ประจำ แต่หากเป็นเจ้าของธุรกิจเริ่ม 20,000 บาทต่อเดือน

เราหันมาขยายฐานบัตรสินเชื่อกดเงินสด เพราะสามารถเข้าถึงกลุ่มลูกค้าในสถานการณ์เศรษฐกิจเช่นนี้ได้มากกว่า

โดยในปีนี้ KTC ตั้งเป้าสินเชื่อใหม่ว่าจะเติบโตราว 10% และคาดว่าจะมีสมาชิกมีบัตรใหม่เพิ่มขึ้น 1.6-1.8 แสนคน จากปัจจุบันที่มีอยู่ราว 891,875 บัญชี และมีส่วนแบ่งทางการตลาด 5.4% ของสินเชื่อส่วนบุคคลทั้งตลาด

 

]]>
1293308
ธนาคารไทย ตามหา “ขุมทรัพย์ใหม่” เเย่งลงทุนอาเซียน ส่ง “ดิจิทัลเเบงกิ้ง” เข้าถึงท้องถิ่น https://positioningmag.com/1279921 Mon, 25 May 2020 13:10:07 +0000 https://positioningmag.com/?p=1279921 เห็นได้ชัดว่าช่วงนี้ ธนาคารใหญ่ในไทยกำลังหา “บ่อเงิน” เเห่งใหม่ ด้วยการเข้าไปเจาะประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน
ที่เป็นตลาดเติบโตใหม่ เป็นโอกาสทองที่จะเข้าไปปูทางสร้าง “ดิจิทัลเเบงกิ้ง” ให้เข้าถึงประชากรจำนวนมาก
ในยามที่คู่เเข่งยังไม่เยอะ

ธนาคารกรุงเทพ เพิ่งปิดดีลซื้อ “Permata” เเบงก์ใหญ่อันดับ 12 ของอินโดนีเซียเเบบ “เสร็จสมบูรณ์” ไปหมาดๆ
ขณะที่ “เมียนมา” ดึงดูดสุดๆ ทั้ง SCB เเละ KBANK รุมเเย่งเข้าลงทุน ส่วนกรุงศรี ขอขยับไปลุยฟิลิปปินส์เเละเวียดนาม

อินโดฯ เนื้อหอม ตลาดใหญ่…โตได้อีก

เมื่อ 21 พ.ค.ที่ผ่านมา ธนาคารกรุงเทพ (BBL) เพิ่งปิดดีลซื้อ “พอร์มาตา” (Permata) ธนาคารใหญ่อินโดนีเซีย เเบบเสร็จสมบูรณ์ไปเป็นที่เรียบร้อย หลังประกาศทำสัญญาซื้อขายกันมาตั้งเเต่ช่วงปลายปี 2019 โดยมีการโอนเงินกว่า 73,722 ล้านบาทจ่ายค่าหุ้น 89.12% พร้อมเดินหน้าทำคำเสนอซื้อหุ้นที่เหลือทั้งหมดอีก 10.88% จากผู้ถือหุ้นรายย่อยต่อไป ซึ่งจะทำให้ BBL เป็นเจ้าของพอร์มาตา 100% ในอนาคต

BBL ปิดดีลซื้อ “เพอร์มาตา” เเบงก์อินโดฯ โอนเงิน 7.37 หมื่นล้าน จ่ายค่าหุ้น 89.12% เสร็จสมบูรณ์

ถือเป็นดีลประวัติศาสตร์ของเเบงก์ในอาเซียน โดยพอร์มาตา เป็นธนาคารขนาดใหญ่อันดับ 12 ของอินโดนีเซีย มีสินทรัพย์ 366,595 ล้านบาท (หรือประมาณ 167,394,076 ล้านรูเปียห์ หรือ 11,349 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) มีฐานลูกค้าจำนวน 3.75 ล้านราย และสาขา 312 แห่งทั่วอินโดนีเซีย มีจุดเด่นเรื่องฐานเงินฝากและเทคโนโลยีดิจิทัลขั้นสูง นับเป็นสมาชิกใหม่ในกลุ่มธุรกิจการเงินของธนาคารกรุงเทพที่มีขนาดใหญ่ที่สุด

ชาติศิริ โสภณพนิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ระบุว่า การดำเนินการในครั้งนี้
จะส่งผลให้สัดส่วนของสินเชื่อในตลาดต่างประเทศต่อสินเชื่อรวมของ BBL เพิ่มขึ้นจาก 17% เป็น 25%
เป็นไปตามกลยุทธ์เพื่อการเติบโตของธนาคาร โดยวางเป้าหมายจะเจาะลูกค้าลูกค้าธุรกิจขนาดใหญ่และ SMEs
ทั้งนี้ BBL ได้เข้าไปเปิดสาขาในกรุงจาการ์ตาเเห่งเเรก มาตั้งเเต่ปี 1968

ตลาดการเงินอินโดนีเซียนั้นหอมหวานในสายตายักษ์ใหญ่การเงินไทยและญี่ปุ่น เพราะธนาคารกรุงเทพไม่ใช่รายเดียวที่สนใจซื้อหุ้นธนาคารอินโดนีเซีย โดย SMFG หรือ Sumitomo Mitsui Financial Group Inc. ก็ยื่นข้อเสนอประมูลครั้งนี้เช่นกัน เเต่พ่ายไป

การเเข่งขันของธุรกิจการเงินในอินโดนีเซียคงดุเดือดต่อไป ด้วยความน่าดึงดูดของศักยภาพการเติบโตด้านเศรษฐกิจ ที่โตกว่า 5% เเละเเม้จะเจอพิษ COVID-19 ในไตรมาส 1/2020 ทำให้ขยายตัวเพียง 2.97% ต่ำสุดในรอบ 19 ปี เเต่ไทยก็จีดีพีหดตัวถึง -1.8%

อีกทั้ง อินโดนีเซียยังมีประชากรกว่า 260 ล้านคน มากเป็นอันดับ 4 ของโลกเเละการเมืองมีเสถียรภาพ ผู้คนในท้องถิ่นอีกจำนวนมหาศาลที่ยังไม่เข้าถึงดิจิทัลเเบงกิ้ง เเละอัตราการเข้าถึงสินเชื่อยังอยู่ในระดับต่ำที่ 36% ในขณะที่ประเทศไทยอัตรานี้เกิน 100% แล้ว เเสดงว่ามี “ช่องว่าง” ของตลาดอีกมาก เป็นโอกาสทองที่ต้องรีบคว้าไว้ให้ได้

ด้านคู่เเข่งอย่าง ธนาคารกสิกรไทย (KBank) ไม่น้อยหน้า บุกตลาดอินโดฯ เช่นเดียวกัน ด้วยการเข้าถือหุ้นในธนาคาร “แมสเปี้ยน” เต็มเพดาน 40% วางเป้าปั้นธุรกรรมดิจิทัล เจาะลูกค้าท้องถิ่น

โดยเมื่อต้นเดือน เม.ย.ที่ผ่านมา บริษัท กสิกร วิชั่น ได้ลงนามในสัญญาซื้อขายหุ้น ธนาคารแมสเปี้ยน (PT Bank Maspion Indonesia Tbk) ของอินโดนีเซีย ในสัดส่วนถือหุ้นรวมเป็น 40% โดยเป็นการเพิ่มสัดส่วนจากที่ธนาคารกสิกรไทยมีอยู่เดิม 9.99% ตั้งแต่ปี 2017

KBank สยายปีกอาเซียน บุก “อินโดฯ-เมียนมา” ลุยซื้อหุ้นเเบงก์เเมสเปี้ยน 40%

“การเพิ่มสัดส่วนถือหุ้นในธนาคารแมสเปี้ยน ถือเป็นทางเลือกของการเข้าไปลงทุนที่คุ้มค่าต่างจากการที่ต้องเข้าไปลงทุนเองใหม่ทั้งหมด แม้ธนาคารแมสเปี้ยนยังเป็นธนาคารขนาดเล็ก แต่มีเครือข่ายสาขาครอบคลุมครบทุกเมืองสำคัญ” ภัทรพงศ์ กัณหสุวรรณ รองกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย และประธานกรรมการ บริษัท กสิกร วิชั่น จำกัด (KVision) กล่าว

ธนาคารแมสเปี้ยน (PT Bank Maspion Indonesia Tbk) ในอินโดนีเซีย

ผู้บริหารกสิกรไทย มองว่าอินโดนีเซีย เป็นตลาดขนาดใหญ่ที่ยังเติบโตและมีอนาคตสดใสในอาเซียน
ที่สามารถใช้ความเชี่ยวชาญทางผลิตภัณฑ์และบริการของธนาคาร รวมถึงจะใช้รูปแบบการทำธุรกิจที่เป็น Asset-Light และการลงทุนพัฒนาดิจิทัลแบงกิ้ง ตามแนวโน้มพฤติกรรมของลูกค้าในอินโดนีเซียที่จะทำธุรกรรมผ่านช่องทางดิจิทัลมากขึ้นเรื่อย ๆ

“KBank จะมุ่งเน้นการให้สินเชื่อให้กับกลุ่มลูกค้าขนาดกลางและย่อมในอินโดฯ โดยใช้ Data Lending และ Formula Lending Model ผลิตภัณฑ์ Payroll เเละขยายธุรกิจร้านค้ารับบัตร รองรับการชำระเงินเเบบไร้เงินสด ผลักดันสินเชื่อมีหลักประกัน เช่น สินเชื่อบ้าน สินเชื่อบุคคล ฯลฯ”

เปิดโลกดิจิทัล ขุมทรัพย์ “เมียนมา”

นอกจากเข้าลงทุนในอินโดนีเซียเเล้ว KBank ยังขยับไปหาขุมทรัพย์ใหม่ เพื่อนบ้านที่คุ้นเคยกันดีอย่าง “เมียนมา”
โดยธนาคารกสิกรไทย ได้รับการอนุมัติอย่างเป็นทางการโดยธนาคารกลางของสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา
ในการเข้าร่วมลงทุนในสัดส่วน 35% ของ ธนาคารเอยาวดี ฟาร์มเมอร์ ดีเวลลอปเม้นท์แบงก์ หรือ เอแบงก์
(Ayeyarwaddy Farmers Development Bank – A bank) ซึ่งธนาคารกสิกรไทย เป็นธนาคารต่างชาติรายแรกที่ได้รับการอนุญาตให้เข้าไปลงทุนในธนาคารพาณิชย์ของเมียนมา

“การร่วมลงทุนในธนาคารกับเอแบงก์ในครั้งนี้ เป็นรูปแบบการเข้าไปดำเนินธุรกิจในประเทศเมียนมา
ที่ใช้เงินลงทุนที่น้อยและมีประสิทธิผลกว่าการเข้าไปดำเนินธุรกิจในรูปแบบสาขาต่างประเทศและธนาคารท้องถิ่น
โดยการเข้าไปร่วมลงทุนในเอแบงก์สามารถดำเนินธุรกิจได้ทันที”

สำหรับ “เอแบงก์” ปัจจุบันมีสินทรัพย์ 314 พันล้านจ๊าด หรือราว 6.4 พันล้านบาท มีทุนจดทะเบียน 40 พันล้านจ๊าด หรือ 820 ล้านบาท ก่อตั้งเมื่อปี 2014

ธนาคารเอยาวดี ฟาร์มเมอร์ ดีเวลลอปเม้นท์แบงก์ หรือ เอแบงก์ (Ayeyarwaddy Farmers Development Bank – A bank) ในเมียนมา

กลยุทธ์ที่สำคัญของ KBank ในการรุกเมียนมา คือการขยายธุรกิจธนาคารดิจิทัล ที่มุ่งเน้นการพัฒนาระบบการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ พัฒนาโมบายล์แอปพลิเคชัน เพื่อครอบคลุมลูกค้าส่วนบุคคลทั่วประเทศ ซึ่งยังมีสัดส่วนในการเข้าถึงธนาคารค่อนข้างต่ำ รวมถึงธุรกิจรับชำระเงิน เพื่อตอบโจทย์การชำระสินค้าและบริการ ซึ่งจะช่วยลดภาระในการใช้และบริหารเงินสดในประเทศรวมถึงจะขยายช่องทางธนาคารตัวแทน (Agent Banking) และการเพิ่มจำนวนเครื่อง ATM ในเมียนมาด้วย

ฝั่ง “ธนาคารไทยพาณิชย์” (SCB) ก็ประกาศบุกเมียนมาเต็มสูบเช่นกัน หลังรับอนุมัติจัดตั้ง “ธนาคารลูก” อย่างเป็นทางการ โดยตั้งเป้า 5 ปี ยอดสินเชื่อแตะ 7 พันล้านบาท เจาะลูกค้าทุกกลุ่มทั้งรายใหญ่ SMEs เเละรายย่อย

อาทิตย์ นันทวิทยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และประธานกรรมการบริหาร ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) กล่าวว่า
เมียนมาเป็นประเทศที่มีศักยภาพทางเศรษฐกิจและธุรกิจอันดับต้นๆ ของภูมิภาคที่นักลงทุนจากทั่วทุกมุมโลกให้ความสนใจ

โดยใน 5 ปีที่ผ่านมา มีอัตราการขยายตัวของจีดีพีเฉลี่ยประมาณ 6-7% และมีมูลค่าการลงทุนตรงจากประเทศไทย (FDI) ที่ได้รับการอนุมัติแล้วจนถึงปัจจุบันที่ 1.1 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งประเทศไทยเป็นผู้ลงทุนรายใหญ่เป็นอันดับที่ 3 รองจากสิงคโปร์และจีน นอกจากนั้นประเทศไทยยังเป็นคู่ค้าในลำดับที่ 2 รองจากจีน มีมูลค่าการค้า 7.6 พันล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 2019 โดยไทยพาณิชย์เริ่มต้นให้บริการผ่านสำนักงานผู้แทนธนาคารในเมียนมาตั้งแต่ปี 2012

ทั้งนี้ ภายใต้ Subsidiary License ทำให้สามารถเปิดธนาคารในรูปแบบบริษัทลูกที่มีธนาคารไทยพาณิชย์เป็นผู้ถือหุ้น 100% และสามารถประกอบธุรกิจธนาคารพาณิชย์ได้เต็มรูปแบบเหมือนธนาคารท้องถิ่น เเละสามารถเปิดสาขาใน
แหล่งธุรกิจที่สำคัญได้ 10 สาขา

โดย SCB วางแผนจะทำตลาดเจาะลูกค้ารายย่อยชาวเมียนมา ด้วยผลิตภัณฑ์ทางด้านเงินฝาก สินเชื่อบุคคล ดิจิทัลแบงกิ้ง และกลุ่มลูกค้ามั่งคั่ง รวมถึงกลุ่มนักลงทุนไทยที่เข้าไปลงทุนในเมียนมา ซึ่งปัจจุบันมีลูกค้านักธุรกิจไทยที่เข้าไปลงทุนที่เมียนมาและมีความสนใจใช้บริการกับธนาคารแล้วกว่า 100 ราย จากกลุ่มอุปโภคบริโภค พลังงาน นิคมอุตสาหกรรม ภาคการผลิต และอุตสาหกรรมการเกษตร โดยธนาคารตั้งเป้าประมาณการวงเงินสินเชื่อ 7,000 ล้านบาท ภายในปี 2024

“ตลาดลูกค้ารายย่อยของเมียนมา ถือว่าเป็นโอกาสที่น่าสนใจอย่างมากสำหรับธุรกิจธนาคาร ด้วยประชากรกว่า 54
ล้านคน ถือเป็นตลาดใหม่ที่มีศักยภาพที่ธนาคารจะพัฒนาการเข้าถึงผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงินขั้นพื้นฐานให้แก่ชาวเมียนมา”

ลุยปล่อยสินเชื่อรายย่อย ฟิลิปปินส์-เวียดนาม 

ขณะที่ธนาคารกรุงศรีอยุธยา (BAY) กำลังเดินหน้าร่วมมือกับธนาคารพันธมิตรที่อยู่ในเครือข่าย MUFG ที่เป็นบริษัทเเม่ โดยมีการเข้าไปร่วมทุน (Joint Venture) โดยถือหุ้น 50% ในบริษัท เอสบี ไฟแนนซ์ คอมปานี อิงค์ (SBF)
บริษัทไฟแนนซ์ในฟิลิปปินส์ ซึ่ง SBF เป็นบริษัทลูกของ Security Bank Corporation ที่ทาง MUFG ถือหุ้นอยู่ 20%

“ฐากร ปิยะพันธ์” ประธานกรรมการ กรุงศรี คอนซูมเมอร์เเละผู้บริหารสายงานดิจิทัลแบงกิ้งและนวัตกรรม กล่าวว่า มีการศึกษาตลาดเเละเตรียมเเผนงานร่วมกันเรียบร้อย ซึ่งจะเริ่มรุกตลาดด้วยสินเชื่อส่วนบุคคลก่อน จะนำกรุงศรี เฟิร์สช้อยส์ ไปทดลองเเละดูว่าเเบบไหนได้ผลดี จากนั้นปีต่อไปจึงจะขยายไปสินเชื่อรถจักรยานยนต์และรถยนต์

ทั้งนี้ ที่ผ่านมากรุงศรี คอนซูเมอร์ ได้เริ่มธุรกิจสินเชื่อรถยนต์ในลาว (asset รวมอยู่ที่ 6 พันล้านบาท) และธุรกิจไมโครไฟแนนซ์ในกัมพูชา (asset รวมอยู่ที่ 3.3 พันล้านบาท)

นอกจากฟิลิปปินส์เเล้ว ในเเผนประจำปี 2020 ของกรุงศรียังกำลังมองหาโอกาสลงทุนในเวียดนามเเละอินโดนีเซีย ซึ่งเป็นตลาดใหญ่เเละมีการเติบโตสูงในกลุ่ม CLMV คาดว่าจะมีการนำ “สินเชื่อรายย่อย” ไปตีตลาดก่อน จากนั้นจึงขยายไปสู่ธุรกิจใหญ่เเละบริการอื่นๆ

ธุรกิจการเงินในไทยต้องเเข่งขันสูง มีกฎเข้มงวดเเถมตลาดยังอิ่มตัวเเล้ว ส่วนตลาดในประเทศเพื่อนบ้านยังเติบโตได้อีก เเน่นอนว่าหลังผ่านพ้นวิกฤต COVID-19 เราคงจะได้เห็น “เเบงก์ไทย” หาลู่ทางสู่โอกาสใหม่กันอีกหลายเจ้า

]]>
1279921