เงินกู้ออนไลน์ – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Mon, 08 Nov 2021 01:34:50 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ออมสิน เร่งปล่อยสินเชื่อผ่านเเอปฯ ช่วย ‘รายย่อย’ ยื่นกู้สินเชื่อสู้ภัยโควิด-อิ่มใจ ก่อนสิ้นปี 64 https://positioningmag.com/1360711 Sun, 07 Nov 2021 12:12:15 +0000 https://positioningmag.com/?p=1360711 ออมสิน เร่งปล่อยสินเชื่อช่วยรายย่อย ผ่านเเอป MyMo ในเวลา 10 เดือน อนุมัติแล้ว 1.5 ล้านราย กว่า 2.4 หมื่นล้านบาท เปิดยื่นกู้สินเชื่อสู้ภัยโควิด-สินเชื่ออิ่มใจ หมดเขตสิ้นปีนี้ 

วิทัย รัตนากร ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน เปิดเผยว่า นับตั้งแต่ที่สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด–19 ในประเทศไทยทวีความรุนแรงขึ้น ที่ผ่านมากระทรวงการคลังได้รับนโยบายจากรัฐบาลให้เร่งจัดทำมาตรการช่วยเหลือประชาชนที่เดือดร้อนจากผลกระทบที่เกิดขึ้น โดยมอบหมายธนาคารออมสินจัดทำมาตรการสินเชื่อต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง

โดยธนาคารออมสินตระหนักถึงความจำเป็นเร่งด่วนในการเติมเม็ดเงินเสริมสภาพคล่อง ช่วยเหลือผู้ที่เดือดร้อนให้สามารถเข้าถึงแหล่งเงินโดยเร็ว จึงได้เร่งรัดพัฒนาแอปพลิเคชันมายโม่ (MyMo) ให้สามารถพิจารณาอนุมัติสินเชื่อบนสมาร์ทโฟน หรือ Digital Lending เพื่ออำนวยความสะดวกให้ลูกค้า สามารถยื่นกู้และรับโอนเงินกู้เข้าบัญชีได้อย่างรวดเร็ว โดยไม่จำเป็นต้องไปติดต่อสาขา เพื่อลดความเสี่ยงติดเชื้อ

“หลังจากธนาคารเริ่มปล่อยสินเชื่อผ่าน MyMo เป็นครั้งแรกเมื่อเดือนมกราคม 2564 ด้วยระยะเวลาเพียง 10 เดือน ธนาคารได้อนุมัติสินเชื่อช่วยเหลือลูกค้ารายย่อยแล้ว จำนวนประมาณ 1.5 ล้านราย ผ่านมาตรการต่าง ๆ เช่น สินเชื่อเสริมพลังฐานราก สินเชื่อสู้ภัย COVID-19 สินเชื่อฉุกเฉินสำหรับผู้มีรายได้อิสระ และสินเชื่ออิ่มใจ วงเงินสินเชื่อรวมกว่า 24,000 ล้านบาท” 

สำหรับ มาตรการสินเชื่อสู้ภัย COVID-19 วงเงินให้กู้สูงสุด 10,000 บาท เพื่อช่วยเหลือรายย่อย และสินเชื่ออิ่มใจ วงเงินให้กู้สูงสุด 100,000 บาท สำหรับผู้ประกอบการร้านอาหารและเครื่องดื่ม ยังคงเปิดให้ยื่นขอกู้ผ่านแอป MyMo ได้จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2564

โดยมาตรการสินเชื่อทั้ง 2 โครงการ มีวัตถุประสงค์เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนทางการเงินของผู้ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 จึงเป็นสินเชื่อที่มีเงื่อนไขผ่อนปรน เช่น ไม่ต้องใช้หลักประกัน ไม่ต้องมีบุคคลค้ำ หรือปลอดชำระเงินงวด (ตามหลักเกณฑ์ของแต่ละโครงการ) เป็นต้น ผู้สนใจสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ GSB Contact Center โทร. 1115

]]>
1360711
โลมาผงาด! ‘ดอลฟิน’ ผนึก KBank ปล่อยกู้ 3 พันล้าน ชิงความได้เปรียบสงคราม e-Wallet https://positioningmag.com/1307624 Wed, 25 Nov 2020 12:01:01 +0000 https://positioningmag.com/?p=1307624 ให้บริการมาได้แค่ปีนิด ๆ สำหรับ ‘ดอลฟิน (Dolfin)’ อี-วอลเลตน้องใหม่แต่มีพ่อ-แม่ใหญ่อย่าง ‘กลุ่มเซ็นทรัล’ และ ‘กลุ่มเจดี ดอทคอม (JD.com)’ บริษัทอีคอมเมิร์ซรายใหญ่ของจีนร่วมลงทุนถึง 8,000 ล้านบาท โดยปัจจุบันดอลฟินมีผู้ใช้กว่า 2 ล้านรายเลยทีเดียว

ท้าชนทุกแพลตฟอร์มด้วยการ ‘ปล่อยกู้’

ประกาศชัดไปตั้งแต่ช่วง 5 เดือนก่อนว่าจะมีบริการใหม่ในช่วงสิ้นปีนอกเหนือจาก ‘เพย์เมนต์’ ที่เปรียบเสมือนเป็นเครื่องมือทำให้รู้จักลูกค้า และล่าสุดก็ไม่ทำผิดสัญญา โดยได้ก้าวขาเข้ามาสู่บริการ ‘ปล่อยเงินกู้ (loan)’ เต็มตัวโดยได้ร่วมกับ ‘เคแบงก์’ ในการให้บริการ ‘ดอลฟิน มันนี่ จากธนาคารกสิกรไทย (Dolfin Money | KBank)’ สินเชื่อส่วนบุคคลบนดิจิทัลแพลตฟอร์ม ผ่านแอป Dolfin โดย ‘รุ่งเรือง สุขเกิดกิจพิบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มบริษัท เซ็นทรัล เจดี ฟินเทค โฮลดิ้ง’ ระบุว่า เจ้าของเงินที่ปล่อยกู้คือ ‘เคแบงก์’ แต่ใช้เทคโนโลยีและดาต้าผู้ใช้งานดอลฟินที่มีกว่า 2 ล้านราย และจากอีโคซิสเต็มส์ของเครือเซ็นทรัล โดยเฉพาะ ‘The 1Card’ ที่ปัจจุบันมีผู้ใช้กว่า 18 ล้านรายมาช่วยในการวิเคราะห์เพื่อปล่อยสินเชื่อ

“เคแบงก์เป็นเจ้าของเงิน แต่เรามีเทคโนโลยีมีข้อมูลที่ช่วยให้เลือกลูกค้าที่มีความเสี่ยงต่ำได้ โดยเรามั่นใจว่ายอดหนี้เสีย (NPL) ของเราจะต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของตลาด 3.95%”

ทั้งนี้ ลูกค้าสามารถลูกค้าเข้าถึงวงเงินสินเชื่อได้ผ่านแอปพลิเคชัน Dolfin โดยไม่ต้องใช้หลักประกัน ไม่ต้องส่งเอกสารแสดงรายได้ สามารถสมัครง่ายได้ทุกที่ ทุกเวลา รู้ผลอนุมัติเร็วสุดใน 5 นาที และพร้อมใช้วงเงินได้ทันที โดยสามารถโอนเข้าบัญชี เบิกถอนเงินสดผ่านตู้เคแบงก์ หรือจะใช้จ่ายช้อปปิ้งกับร้านค้าชั้นนำในเครือเซ็นทรัลและร้านค้าพันธมิตรได้ทันที

ดิจิทัลเลนดิ้งมีสัดส่วนเพียง 0.2%

นายพัชร สมะลาภา กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย ระบุว่า ธุรกิจสินเชื่อบุคคลผ่านช่องทางดิจิทัลมีโอกาสเติบโตอีกมาก โดย ณ ไตรมาส 2 ปี 2563 ภาพรวมตลาดสินเชื่อบุคคลในประเทศไทยที่อนุมัติผ่านสถาบันการเงิน และผู้ให้บริการทางการเงินที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน (non-bank) มีจำนวน 428,000 ล้านบาท เป็นสินเชื่อในช่องทางดิจิทัลเพียง 12,000 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 0.2 ของสินเชื่อบุคคลทั้งหมดในตลาด

ขณะที่ปัจจุบัน ฐานข้อมูลของลูกค้ามีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และเทคโนโลยีในการวิเคราะห์ข้อมูลลูกค้ามีการพัฒนาขึ้นเรื่อย ๆ ส่งผลให้การพิจารณาสินเชื่อสามารถประเมินผู้ขอสินเชื่อได้จากข้อมูลอื่น ๆ นอกเหนือจากข้อมูลรายได้ เช่น ข้อมูลด้านการใช้จ่ายต่าง ๆ ผ่านช่องทางดิจิทัล เพื่อประเมินความสามารถหรือความเต็มใจในการชำระหนี้

“แบงก์ปล่อยกู้ให้กับลูกค้าที่ไม่รู้จักน้อยมาก โดยเฉลี่ยมีเพียง 30% ที่ได้รับอนุมัติ ดังนั้น เมื่อเรากำลังเข้าไปในตลาดที่ไม่รู้ว่าพฤติกรรมการใช้เงินเป็นอย่างไร การร่วมกับดอลฟินที่มีข้อมูลลูกค้า เพื่อให้ K-Bank สามารถเข้าถึงกลุ่มลูกค้าใหม่ ๆ ได้ ดังนั้น ใครเลือกเก่งก็ไม่เจ๊ง ใครเลือกไม่เก่งก็ลำบากไป

นายพัชร สมะลาภา กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย (ซ้าย), รุ่งเรือง สุขเกิดกิจพิบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มบริษัท เซ็นทรัล เจดี ฟินเทค โฮลดิ้ง (ขวา), นายญนน์ โภคทรัพย์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท กลุ่มเซ็นทรัล จำกัด (กลาง)

วางเป้าปล่อย 3,000 ล้าน ผู้กู้ 1 แสนราย

รุ่งเรือง กล่าวว่า เป้าหมายใน 1 ปีของดอลฟิน มันนี่ คือ ปล่อยกู้ได้ 1 แสนราย ยอดเงินรวม 3,000 ล้านบาท ส่วนผู้ใช้งานดอลฟินคาดว่าจะเติบโตเป็น 4 ล้านราย โดยนอกจากจะมีดอลฟิน มันนี่ที่ช่วยดึงดูดให้มีผู้ใช้เพิ่มขึ้นแล้ว ดอลฟินเตรียมเปิดบริการใหม่ ๆ เพิ่มเติมอีกตามแผนที่จะมีบริการอย่าง การขายประกัน (insurance) และ การจัดการสินทรัพย์ (Asset Management)

“เราหวังว่าจะปล่อยกู้ได้ประมาณ 3,000 ล้านบาท โดยเชื่อว่า 80% จะใช้เป็นเงินสด ส่วนอีกประมาณ 20% มีโอกาสที่จะกู้เพื่อใช้ซื้อสินค้าในเครือเซ็นทรัล แต่เรามองว่าเป็นผลพลอยได้มากกว่า ไม่ได้คาดหวังขนาดนั้น”

ยืนยัน เงินสด คือคู่แข่งเบอร์ 1

สำหรับแบงก์เราไม่ได้มองเป็นคู่แข่งแต่มองเป็นพาร์ตเนอร์ อย่างการปล่อยเงินกู้ เราทำเองได้แต่ไม่คิดจะทำเอง และเราไม่ได้ปิดกั้นว่าจะต้องจับกับเคแบงก์รายเดียว หรือเคแบงก์ไม่จำเป็นต้องเป็นพันธมิตรเพียงรายเดียว โดยดอลฟินยินดีเปิดรับพาร์ตเนอร์ใหม่ ๆ หรือแบงก์อื่น ๆ ที่จะมาปล่อยเงินกู้ผ่านดอลฟิน เพราะแต่ละธนาคารมีเป้าหมายไม่เหมือนกัน

ขณะที่ส่วนของผู้ให้บริการอีวอลเลตรายอื่น ๆ เราก็ไม่ได้มองใครเป็นศัตรู เพราะศัตรูที่เราแข่งอยู่คือ ‘เงินสด’ ตอนนี้ไทยมีการใช้ e-payment ไม่ถึง 3% ดังนั้น ผู้เล่นในตลาดทุกรายยังต้องวิ่งตามหาความฝัน ดังนั้น ตอนนี้มองว่ายังเป็นช่วงเริ่มต้นสร้างอีโคซิสเต็มส์ของตัวเอง จนกว่าจะถึงวันที่ไทยกลายเป็นสังคมไร้เงินสดถึงจะเป็นช่วงต้องแข่งขัน

“ปัจจุบันภาครัฐก็ผลักดันเต็มที่ทั้งมีพร้อมเพย์ หรือแอปเป๋าตัง ซึ่งมันผลักดันให้ประชาชนชิน แต่เมื่อผู้บริโภคใช้จนเป็นเรื่องปกติแล้ว เขาจะเลือกใช้ใครก็ต้องดูว่าใครให้อะไรเขา จุดรับชำระมีเยอะไหม สิทธิประโยชน์อะไรที่เขาจะได้”

สำหรับ ‘ดอลฟิน มันนี่ จากธนาคารกสิกรไทย (Dolfin Money | KBank)’ เริ่มให้บริการตั้งแต่วันที่ 1 ธ.ค. 2563 เป็นต้นไป ทั้งนี้ สินเชื่อที่ได้จะเป็นวงเงินพร้อมใช้ หากไม่ใช้วงเงินไม่เสียดอกเบี้ย ฟรีค่าธรรมเนียม ไม่ต้องพกบัตร ใช้วงเงินได้ทันทีผ่านแอป Dolfin และ K PLUS ลูกค้าที่ได้รับอนุมัติสินเชื่อฯ และใช้สินเชื่อดังกล่าว ตั้งแต่วันที่ 1 ธ.ค. 2563 จนถึง 31 ม.ค. 2564 จะได้รับอัตราดอกเบี้ยพิเศษ 0% นาน 30 วัน นับจากวันที่ได้รับอนุมัติสินเชื่อฯ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ K-Contact Center โทร. 02-888-8888 ต่อ 814 หรือ ศูนย์บริการลูกค้า Dolfin โทร. 02-255-5959 ต่อ 2 หรือ https://bit.ly/3601BPA

]]>
1307624
เปิดศึกหาลูกค้าเงินกู้ ! บิ๊กธนาคาร เเข่งปล่อยสินเชื่อเอาใจ “ผู้ขายออนไลน์” บนอีคอมเมิร์ซ https://positioningmag.com/1256601 Wed, 11 Dec 2019 09:44:08 +0000 https://positioningmag.com/?p=1256601 ธนาคารยักษ์ใหญ่ในไทยกำลังลงสนาม “สินเชื่อออนไลน์” เอาใจเหล่า “ผู้ขายอีคอมเมิร์ซ” กันโครมๆ ทั้งปล่อยหมัดเด็ดกู้เร็วใน  1 นาทีไม่ต้องใช้เอกสาร หรือให้วงเงินกู้ 1 ล้านในวันเดียว ถ้ามีเงินหมุนเวียนธุรกิจดี

การขยับมา “หาลูกค้าเงินกู้” บนเเพลตฟอร์มใหม่ของธนาคาร ถือเป็น “Big Move” สำคัญทั้งด้านความท้าทายเเละโอกาส เพราะในไทยมีพ่อค้าเเม้ค้าที่เป็น SMEs รายย่อยเยอะมาก ครองตลาดขายของออนไลน์ เเตกต่างจากประเทศอื่นที่มักเป็นบริษัทห้างร้านใหญ่

เเละเหมือนเป็นการอุดช่องโหว่ “กู้นอกระบบ” ที่ไม่ปลอดภัยของไทยด้วย ซึ่งมักจะเป็นปัญหาของคนค้าขายไทยมาช้านาน นั่นคือการ “หมุนเงินไม่ทัน หาที่กู้ไม่ได้” คราวนี้ถ้าคุณค้าขายด้วยความสุจริต มีประวัติดีก็สามารถกู้ได้จากแอปพลิเคชั่นมือถือ ไม่ต้องเสียเวลามาธนาคาร ได้ทุนมาสต็อกของทันเทศกาลช้อปปิ้งใหญ่อย่าง 11.11 , 12.12

เรียกได้ว่า “วิน-วิน” กันทั้ง 3 ฝ่าย คือผู้ขายได้เงินทุนมาหมุนทัน ขายของดี – ธนาคารได้ดอกเบี้ย – เเพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซยอดขายมากขึ้น สร้าง Branding เเละช่วยผู้ขายชั้นดีขยายกิจการในระยะยาว

ศึกชิงตลาดเงินกู้ผู้ขายออนไลน์  

ธนาคารกสิกรไทย เพิ่งออกสโลเเกน “ปฏิวัติเงินกู้ผู้ขายออนไลน์ รู้ผลไว 1 นาที” มาหมาดๆ หลังจับมือกับอีคอมเมิร์ซเจ้าใหญ่เเห่งอาเซียนอย่าง Lazada (ลาซาด้า) เเละ Shopee (ช้อปปี้) เเละวันนี้ (11 ธ.ค. ) ธนาคารยูโอบี ก็เปิดตัว สินเชื่อ UOB BizMerchant เพื่อใช้หมุนเวียนในธุรกิจวงเงินสูงสุด 1 ล้านบาท อนุมัติใน 1 วันพร้อมระบบบริหารจัดการร้านค้าออนไลน์ ตอบโจทย์ลูกค้าธุรกิจรายย่อยเหมือนกัน

สยุมรัตน์ มาระเนตร ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธุรกิจเอสเอ็มอี ธนาคารยูโอบี (ไทย) กล่าวว่า “เราเล็งเห็นถึงความต้องการในกลุ่มผู้ค้าอีคอมเมิร์ซ ด้านความต้องการเข้าถึงแหล่งเงินทุนเพื่อใช้หมุนเวียนในธุรกิจที่เติบโตอย่างรวดเร็ว ธุรกิจเอสเอ็มอีปัจจุบันต้องใช้ช่องทางอีคอมเมิร์ซ รวมถึงสื่อโซเชี่ยลมีเดียต่างๆ เพื่อทำการตลาดและเพิ่มยอดขายโดยรวม เราเข้าใจความท้าทายในเรื่องการบริหารจัดการออร์เดอร์และสต็อกสินค้าผ่านช่องทางการขายหลายช่องทาง จึงเป็นที่มาของความร่วมมือกับ Lazada และเบ็นโตะเว็บในครั้งนี้ ที่จะทำให้เราสามารถช่วยผู้ค้า ทั้งในเรื่องการเข้าถึงแหล่งเงินทุนที่รวดเร็ว พร้อมเครื่องมือในการช่วยจัดการระบบร้านค้า”

ด้าน วีรวัฒน์ ปัณฑวังกูร รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ธนาคารกสิกรไทย เปิดเผยว่า  “เราเชื่อว่าผู้ประกอบการต้องการเงินทุนหมุนเวียน ต้องมีการสต็อกของไม่ว่ารายเล็กหรือรายใหญ่ ดังนั้นเราจึงให้กู้ตั้งเเต่ 2,000 บาทขึ้นไป โดยไม่ต้องเสียเวลาไปธนาคาร ไม่ต้องยื่นเอกสาร ให้เอาเวลาไปทำมาหากินขายของดีกว่า ง่ายกว่าการแชทไปขอยืมเงินเพื่อนเสียอีก”

“เราตั้งเป้าไว้ว่าสิ้นปี 2563 จะปล่อยกู้ได้ราว 1 หมื่นคน คิดเป็นวงเงินรวม 1,000 ล้านบาท เเละคิดว่ายอดจะโตได้กว่านี้อีก เพราะเเพลตฟอร์ม Lazada ใหญ่มาก”

ผู้บริหารกสิกรไทย ยังให้สัมภาษณ์อีกว่า “จะมีรายได้จากในส่วนของดอกเบี้ยอย่างเดียว ซึ่งก็เป็นความท้าทายของกสิกรไทยเช่นกันในแพลตฟอร์มนี้ แต่ด้วยปัจจุบันเรามีลูกค้าเงินกู้ในระบบที่เป็น SMEs ถึง 40% จึงต้องการสนับสนุนอย่างแท้จริง”

เทียบชัดๆ เงินกู้ออนไลน์ UOB vs KBank

UOB BizMerchant  

สินเชื่อแบบไม่มีหลักประกันสำหรับธุรกิจอีคอมเมิร์ซบนแพลตฟอร์ม Lazada สินเชื่อดังกล่าวมอบ วงเงินสูงสุด 1 ล้านบาท โดยมีกำหนดระยะเวลาสัญญา 12 เดือน อนุมัติวงเงินภายภายใน 1 วัน เมื่อได้รับเอกสารครบ ลดระยะเวลาจากเดิม 7 วัน ในการขอสินเชื่อธุรกิจแบบเดิม เนื่องจากธนาคารจะใช้ข้อมูลเชิงลึกจากลาซาด้า ในการพิจารณาการให้สินเชื่อ

โดยผู้ประกอบการอีคอมเมิร์ซในนามบุคคลทั่วไปหรือจดทะเบียนนิติบุคคล ดำเนินธุรกิจบน Lazada  มาอย่างน้อย 6 เดือน และมีรายได้รวมเฉลี่ยในรอบ 6 เดือนล่าสุดมากกว่า 500,000 บาทขึ้นไป สามารถยื่นขอสินเชื่อ UOB BizMerchant ได้ และรับสิทธิพิเศษใช้บริการจากเบนโตะเว็บ ฟรี 3 เดือนแรก เพื่อบริหารจัดการร้านค้าออนไลน์อย่างมีประสิทธิภาพและประหยัดต้นทุน ทั้งในเรื่องการจัดการคลังสินค้า การคำนวณค่าจัดส่ง บริหารคำสั่งซื้อจากหลายช่องทาง การตลาดออนไลน์เพื่อเพิ่มยอดขาย เป็นต้น

Kbank Lazada (Xpress Loan)

จุดเด่นอยู่ที่การอนุมัติเร็ว ดอกเบี้ยต่ำ ไม่ต้องใช้หลักประกัน ไม่ต้องมีเอกสาร และฟรีค่าธรรมเนียม ด้วยวงเงินกู้จาก 20,000 – 600,000 บาท เพื่อช่วยให้ผู้ขายออนไลน์บนลาซาด้า มีเงินทุนเพื่อหมุนเวียนและต่อยอดได้ทันความต้องการของธุรกิจ

โดยผู้กู้ต้องเปิดร้านกับ Lazada มาไม่ต่ำกว่า 6 เดือน มีประวัติการค้าขายที่ดี มียอดขายสม่ำเสมอ มีความน่าเชื่อถือเเละมีการเปิดบัญชีกับธนาคารกสิกรไทย โดยจะได้รับการอนุมัติผ่านเเอปพลิเคชั่นอย่างเร็วที่สุดคือ 1 นาที เงินโอนเข้าบัญชีทันที เเละต้องดูเป็นรายบุคคล ซึ่งลาซาด้าจะเป็นผู้รับรองให้ว่าผู้ประกอบการว่าโปรไฟล์ดีพอจะกู้ผ่านหรือไม่

ส่วนอัตราดอกเบี้ยนั้น จะมีการคิดเเบบ Personalised Interest Rate ที่คิดดอกเบี้ยในอัตราตามรายบุคคล เช่นหากคุณทำการค้าขายบน Lazada มายาวนาน ยอดขายสม่ำเสมอ รายได้ดี ก็จะได้รับดอกเบี้ยต่ำมากเป็นพิเศษ

ทั้งนี้ ช่วงเดือน ต.ค. ที่ผ่านมา กสิกรไทยได้ประกาศความร่วมมือกับ ช้อปปี้ (Shopee) โดยมีการให้ “เงินกู้ธุรกิจออนไลน์” (MADFUND) ของร้านค้าบนแพลตฟอร์มของช้อปปี้ ไม่ต้องยื่นเอกสาร ไม่ต้องมีหลักประกัน สมัครง่ายผ่านแอปพลิเคชัน K PLUS คัดกรองผู้รับสินเชื่อจากข้อมูลรายได้ และพฤติกรรมการค้าขายอื่น ๆ ประกอบกัน ด้วยวงเงินอนุมัติสูงสุด 600,000 บาทเช่นเดียวกัน

มองอนาคต ตลาดขายของออนไลน์ไทย 

สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) (สพธอ.) หรือ ETDA ได้เริ่มจัดเก็บสถิติตั้งแต่ปี 2557 ตลาดอีคอมเมิร์ซไทยมีมูลค่าอยู่ที่ 2 ล้านล้านบาท เติบโต 10.4%  และปี 2561 มูลค่าพุ่งไปที่ 3.2 ล้านล้านบาท เติบโต 14.0%

ด้านเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศไทย มีขนาดใหญ่เป็นอันดับสองในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งมีอัตราการเติบโตสะสมต่อปีอยู่ที่ 33% ระหว่างช่วงปี 2558-2562 ซึ่งปัจจัยหลักมาจากภาคธุรกิจอีคอมเมิร์ซ ที่คาดว่าจะเติบโตอย่างก้าวกระโดด โดยมีมูลค่าตลาดเพิ่มขึ้นจาก 5,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปีนี้ เป็น 18,000 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ ภายในปี 2568 (อ้างอิงข้อมูลจาก Google, Temasek, Bain & Company e-Conomy SEA 2019 Report)

แจ๊ค จาง รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ลาซาด้า จำกัด (ประเทศไทย) กล่าวถึงความเติบโตของตลาดอีคอมเมิร์ซในอาเซียนเเละไทยว่า มีการเติบโตเป็นเท่าตัวเเละมีจำนวนผู้ซื้อโตกว่า 100% อย่างไรก็ตาม เเม้ตัวเลขจะดูเยอะเเต่คิดเป็นเพียง 3% ของภาพรวมทั้งหมด ด้วยจีนมีอยู่ถึง 20% เเละสหรัฐฯ อยู่ที่ 15% เเละนี่คือข้อบ่งชี้ว่าตลาดไทยเเละอาเซียนยังมีโอกาสที่จะเติบโตได้อีก จึงเป็นเป้าหมายของลาซาด้าที่ต้องการจะยกระดับความสามารถด้านการแข่งขันให้กับผู้ประกอบการ SMEs รายย่อยเพราะเชื่อว่าไม่มีแบรนด์ใดใหญ่เกินไปหรือเล็กเกินไปสำหรับการประสบความสำเร็จในธุรกิจอีคอมเมิร์ซ

ในขณะที่ จอห์น แวกเนอร์ กรรมการผู้จัดการ Facebook ประเทศไทย กล่าวว่า “การที่มีผู้ซื้อขายผ่านเเชทออนไลน์ในไทยมากขึ้นนั้นเป็นการผสมผสานข้อดีของการซื้อขายสินค้าในโลกออนไลน์เเละออฟไลน์ เป็นการสร้างความสัมพันธ์อันดีกับลูกค้าที่มีลักษณะพิเศษไม่เหมือนประเทศอื่น โดยในไทยจะเป็นการพูดคุยเเบบ treat me like a friend ให้ความรู้สึกสนิทสนม ผู้ซื้อรู้สึกสบายใจ เข้าถึงง่าย ไม่ซับซ้อน เป็นเอกลักษณ์ของคนไทยที่เน้นความเป็นสังคมและชุมชน เเละนั่นคือจุดเด่นของการขายสินค้าผ่านการเเชทออนไลน์ที่กำลังเติบโตนี้”

ผู้บริหาร Facebook มองว่า ในปี 2020 องค์กรหรือบริษัทห้างร้านใหญ่ จะกระโดดเข้ามาในตลาด Conversational Commerce มากขึ้น หลังจากผู้ประกอบการรายเล็ก หรือ SMEs คลองตลาดค้าปลีกออนไลน์ในไทยมานาน ซึ่งธุรกิจก็ต้องรีบปรับตัวให้ทันรับเทรนด์นี้

อ่านเพิ่มเติม : รู้จัก Conversational Commerce คนไทยซื้อของออนไลน์ผ่าน “แชท” มากสุดในโลก

 

]]>
1256601
ส่องดีล KBank & Lazada ปล่อยเงินกู้ให้ผู้ขายออนไลน์ รู้ผล 1 นาที ตั้งเป้าปี 63 ทะลุพันล้าน https://positioningmag.com/1255742 Tue, 03 Dec 2019 12:16:30 +0000 https://positioningmag.com/?p=1255742 ช่วงนี้สินเชื่อออนไลน์มาบ่อยมาก ล่าสุดกสิกรไทย (KBank) ร่วมกับลาซาด้า (Lazada) หนุนผู้ประกอบการรายย่อยชั้นดี ให้เข้าถึงเงินกู้ ไม่ต้องเตรียมเอกสาร ไม่ต้องเสียเวลาไปธนาคาร แค่ต้องมีประวัติค้าขายดี รู้ผลเร็วภายใน 1 นาที ช่วยธุรกิจออนไลน์หมุนเงินรับเทศกาลช้อปปิ้งใหญ่ มองอีคอมเมิร์ซไทยยังโตได้อีก

วงเงินอนุมัติ 2 หมื่นถึง 6 เเสน ใครที่กู้ได้บ้าง อัตราดอกเบี้ยคิดยังไง เงื่อนไขมีอะไร ระยะเวลากู้เท่าไหร่ Positioning รวบรวมมาให้แล้ว

อีคอมเมิร์ซไทยยังโตได้อีกไกล

แจ๊ค จาง รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ลาซาด้า จำกัด (ประเทศไทย) กล่าวถึงความเติบโตของตลาดอีคอมเมิร์ซในอาเซียนเเละไทยว่า มีการเติบโตเป็นเท่าตัวเเละมีจำนวนผู้ซื้อโตกว่า 100% อย่างไรก็ตาม เเม้ตัวเลขจะดูเยอะเเต่คิดเป็นเพียง 3% ของภาพรวมทั้งหมด ด้วยจีนมีอยู่ถึง 20% เเละสหรัฐฯ อยู่ที่ 15% เเละนี่คือข้อบ่งชี้ว่าตลาดไทยเเละอาเซียนยังมีโอกาสที่จะเติบโตได้อีก จึงเป็นเป้าหมายของลาซาด้าที่ต้องการจะยกระดับความสามารถด้านการแข่งขันให้กับผู้ประกอบการ SMEs รายย่อยเพราะเชื่อว่าไม่มีแบรนด์ใดใหญ่เกินไปหรือเล็กเกินไปสำหรับการประสบความสำเร็จในธุรกิจอีคอมเมิร์ซ

โดยในมุมมองของลาซาด้า เรามุ่งเน้นหลัก Customer First ที่ไม่ใช่เเค่กลุ่มผู้ซื้อเท่านั้น เเต่กลุ่มผู้ขายก็เป็นลูกค้าที่เราต้องให้ความสำคัญด้วย จึงต้องมีการพัฒนาเเพลตฟอร์ม การขนส่งเเละใช้เทคโนโลยีจาก Alibaba เข้ามาช่วยเเก้ไขปัญหาต่างๆ

“เราตั้งใจจะเข้ามาช่วยผู้ประกอบการบนเเพลตฟอร์มลาซาด้าเเละมีความต้องการจะขยายกิจการ ให้สามารถเข้าถึงเงินทุนเพื่อรองรับเทศกาลช้อปปิ้งใหญ่ โดยที่ผ่านมาถือว่ามหกรรมลดราคาสินค้าอย่าง 11.11 ประสบสำเร็จเเละมีตัวเลขยอดขายที่ถล่มทลายมาก ผู้คนตื่นเต้นเเละตั้งตารอ เป็นโอกาสทองของผู้ขายเช่นกัน”

แจ๊ค จาง รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ลาซาด้า จำกัด (ประเทศไทย)-กลาง / วีรวัฒน์ ปัณฑวังกูร รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ธนาคารกสิกรไทย -ขวา

ช่วยร้านเล็ก เสริมแกร่งตลาดใหญ่

ผู้บริหารลาซาด้า เชื่อว่าบริการสินเชื่อเงินด่วนที่เกิดขึ้นนี้จะทำให้ผู้ประกอบการ SMEs สามารถยื่นขอสินเชื่อได้ง่ายขึ้น เข้าถึงเงินทุนที่ต้องการ เพื่อต่อยอดธุรกิจให้เติบโต ขณะเดียวกันในด้านแพลตฟอร์มเองก็จะเป็นปัจจัยหนึ่งที่จะช่วยขยายฐานผู้ประกอบการได้เพิ่มขึ้น

“เป้าหมายคือการช่วยให้ SMEs เติบโตได้จริง เเละไม่ต้องไปกู้เงินนอกระบบซึ่งมีความเสี่ยงสูง เพราะเเค่เพียงคุณมีประวัติการขายที่ดี เราจะช่วยรับรองให้คุณเข้าถึงเงินทุนได้ เมื่อไหร่ก็ตามที่คนตัวเล็กที่สุดสามารถโตได้ ภาพรวมก็จะเเข็งเเกร่งขึ้นเอง”

แก้ปมพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ …ขอกู้ยาก

วีรวัฒน์ ปัณฑวังกูร รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ธนาคารกสิกรไทย เปิดเผยว่า ธุรกิจอีคอมเมิร์ซของไทยคึกคักมากในช่วงที่ผ่านมา มีพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์หน้าใหม่เข้าสู่ธุรกิจนี้จำนวนมาก ดังนั้นต้องมีการปรับตัวรับการเเข่งขันที่สูงขึ้นเช่นกัน ด้วยความท้าทายของผู้ขายของออนไลน์ที่ไม่มีที่สิ้นสุด ทั้งการหาลูกค้าประจำ การสต็อกของให้เพียงพอ เเละที่ว่ามาทั้งหมดจำเป็นต้องใช้ “เงินทุน”

แต่ปัญหาที่สำคัญของพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์เลยก็คือ ปัญหาการเข้าถึงเงินทุน ด้วยสาเหตุหลายประการ เช่น เอกสารไม่เพียงพอ ไม่เดินบัญชี ไม่มีหลักประกัน ซึ่งเป็นอุปสรรคสำคัญในการขอสินเชื่อกับสถาบันการเงิน

ดังนั้นธนาคารกสิกรไทยจึงร่วมมือกับลาซาด้า แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซชั้นนำของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สนับสนุนผู้ขายที่มีการทำธุรกิจจริงบนลาซาด้า ในรูปแบบ “Better Together” ให้สามารถเข้าถึงเงินกู้ในอัตราดอกเบี้ยต่ำได้ง่ายขึ้น

“เราเชื่อว่าผู้ประกอบการต้องการเงินทุนหมุนเวียน ต้องมีการสต็อกของไม่ว่ารายเล็กหรือรายใหญ่ ดังนั้นเราจึงให้กู้ตั้งเเต่ 2,000 บาทขึ้นไป โดยไม่ต้องเสียเวลาไปธนาคาร ไม่ต้องยื่นเอกสาร ให้เอาเวลาไปทำมาหากินขายของดีกว่า ง่ายกว่าการแชทไปขอยืมเงินเพื่อนเสียอีก”

วงเงิน 2 หมื่นถึง 6 เเสน ใครบ้างที่กู้ได้?

สำหรับสินเชื่อเงินด่วนเพื่อร้านค้า Lazada (Xpress Loan) นั้นมีจุดเด่นอยู่ที่การอนุมัติเร็ว ดอกเบี้ยต่ำ ไม่ต้องใช้หลักประกัน ไม่ต้องมีเอกสารให้ยุ่งยาก และฟรีค่าธรรมเนียม ด้วยวงเงินกู้จาก 20,000 – 600,000 บาท เพื่อช่วยให้ผู้ขายออนไลน์บนลาซาด้า มีเงินทุนเพื่อหมุนเวียนและต่อยอดได้ทันความต้องการของธุรกิจ

“เราตั้งเป้าไว้ว่าสิ้นปี 2563 จะปล่อยกู้ได้ราว 1 หมื่นคน คิดเป็นวงเงินรวม 1,000 ล้านบาท เเละคิดว่ายอดจะโตได้กว่านี้อีก เพราะเเพลตฟอร์มลาซาด้าใหญ่มาก ”

โดยผู้กู้ต้องเปิดร้านกับลาซาด้ามาไม่ต่ำกว่า 6 เดือน มีประวัติการค้าขายที่ดี มียอดขายสม่ำเสมอ มีความน่าเชื่อถือเเละมีการเปิดบัญชีกับธนาคารกสิกรไทย โดยจะได้รับการอนุมัติผ่านเเอปพลิเคชั่นอย่างเร็วที่สุดคือ 1 นาที เงินโอนเข้าบัญชีทันที เเละต้องดูเป็นรายบุคคล ซึ่งลาซาด้าจะเป็นผู้รับรองให้ว่าผู้ประกอบการว่าโปรไฟล์ดีพอจะกู้ผ่านหรือไม่

“เเม้จะมีการเชื่อมต่อข้อมูลระหว่างกสิกรไทยเเละลาซาด้า เเต่ขอรับรองว่าข้อมูลส่วนตัวของลูกค้าจะต้องได้รับการอนุญาตเข้าถึงจากลูกค้าเองเท่านั้น” ผู้บริหารกสิกรย้ำ

อัตราดอกเบี้ยเท่าไหร่?

ส่วนอัตราดอกเบี้ยนั้น จะมีการคิดเเบบ Personalised Interest Rate ที่คิดดอกเบี้ยในอัตราตามรายบุคคล เช่นหากคุณทำการค้าขายบนลาซาด้ามายาวนาน ยอดขายสม่ำเสมอ รายได้ดี ก็จะได้รับดอกเบี้ยต่ำมากเป็นพิเศษ เช่นเพียงเเค่ 1% โดยกู้มา 10,000 บาทก็เสียดอก 100 บาทเป็นต้น

ขณะที่หากคุณเป็นร้านค้าที่มียอดขายไม่มาก ก็สามารถกู้ได้เช่นกันหากมีประวัติที่ดี เเต่อัตราดอกเบี้ยจะขยับขึ้นมาในอัตราปกติ เท่ากับเรทของการไปกู้ที่ธนาคาร เเละถ้าต่อไปลูกค้ารายดังกล่าวส่งดีส่งตรงเวลา ก็อาจจะมีการปรับลดดอกเบี้ยให้ในอนาคตได้

“ระยะเวลาเงินกู้จะอยู่ที่ 6 เดือน ถ้าอยากกู้ใหม่ก็ต้องปิดสัญญาเดิมก่อน โดยจะมีการตัดผ่านบัญชีของลาซาด้าเป็นการผ่อนจ่ายรายเดือน และหากมีการผิดนัดชำระก็จะมีการทวงหนี้ตามขั้นตอนปกติของธนาคาร” วีรวัฒน์ระบุ

โดยเมื่อถามถึงโมเดลรายได้ ผู้บริหารกสิกรไทยตอบว่า “จะมีรายได้จากในส่วนของดอกเบี้ย ซึ่งก็เป็นความท้าทายของกสิกรไทยเช่นกันในแพลตฟอร์มนี้ แต่ด้วยปัจจุบันเรามีลูกค้าเงินกู้ในระบบที่เป็น SMEs ถึง 40% จึงต้องการสนับสนุนด้วยนี้อย่างแท้จริง”

ขณะที่มุมมองการเติบโตของ SMEs ไทยในปีนี้ เขามองว่า รายย่อยยังโตยาก ด้วยปัจจัยทั้งภายในประเทศอย่างเรื่องการเมือง และปัจจัยนอกประเทศอย่างสงครามการค้า ค่าเงินบาทแข็งค่า เป็นต้น

ทั้งนี้ ความร่วมมือดังกล่าวเป็นการปฏิวัติการให้เงินกู้ออนไลน์ด้วยการเชื่อมต่อ API ของแอปฯ Lazada Seller Center และแอปฯ K PLUS เป็นการนำเสนอเงินกู้ผ่านแอป Lazada Seller Center และเชื่อมต่อมายังแอป K PLUS ทำให้การกู้เงินจบในแอปฯ สร้างประสบการณ์ใหม่ในการขอกู้ที่สะดวกรวดเร็ว โดยทางธนาคารได้ทดลองปล่อยเงินกู้ให้กับผู้ขายออนไลน์บนลาซาด้าไปแล้ว และได้ผลตอบรับที่ดี

ผู้ขายออนไลน์ ต้องการเงินหมุน-สต็อกของไม่ทันขาย

ฟากฝั่งผู้ประกอบการ Lazada Seller อย่าง “ศุภสัญศ์ จันทรสิริเกษม” ผู้บริหาร SKG Electric เล่าประสบการณ์ค้าขายออนไลน์ว่า เขาเริ่มเปิดขายในลาซาด้ามาแล้ว 5 ปี พบว่ามียอดขายเพิ่มขึ้นกว่า 40 % ด้วยพฤติกรรมผู้คนที่เริ่มไม่นิยมออกมาซื้อของนอกบ้าน และคนรู้จักแบรนด์มากขึ้นจากการทำการตลาดบนแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ

“เมื่อขายของดีขึ้น ก็ต้องมีทุนเพิ่มขึ้นเพื่อขยายร้าน จ้างแรงงานและระบบการจัดส่ง แต่การไปยื่นขอกู้กับธนาคารยุ่งยากมาก ไม่ว่าเราจะมียอดขายดีแค่ไหน เขาก็ไม่เชื่อ อีกทั้งยังต้องรอลุ้นผลอีก 1 เดือน แต่ถ้ากู้ผ่านลาซาด้า เขามีสถิติของร้านเราอยู่แล้ว จึงทำให้กู้ง่ายมาก ได้เงินไปหมุนเวียนในธุรกิจทันเวลา”

ด้าน ณัฐพิสุทธ์ น้อยคำสิงห์ ผู้บริหาร Mr.Barber Pomade ผลิตภัณฑ์จัดแต่งทรงผมที่ดำเนินธุรกิจขายของบนลาซาด้ามา 2 ปีบอกว่า กระแสช้อปปิ้งออนไลน์ทำให้ร้านมียอดขายในช่วงเทศกาลช้อปปิ้ง 11.11 ที่ผ่านมาถึง 10 เท่าต้องแพ็กของเตรียมข้ามเดือน จากแต่ก่อนต้องพึ่งพายอดขายจากตัวแทนเท่านั้น การปล่อยกู้แบบ Real-Time บนแอปลาซาด้าของกสิกรไทย รวดเร็วมากและไม่ต้องเตรียมเอกสาร ทำให้เรามีเงินสต็อกของและสะดวกสบาย

ก่อนหน้านี้ เมื่อช่วงเดือน ต.ค. ที่ผ่านมา กสิกรไทยได้ประกาศความร่วมมือกับ ช้อปปี้ (Shopee) อีคอมเมิร์ซรายใหญ่ของอาเซียน โดยมีการให้ “เงินกู้ธุรกิจออนไลน์” (MADFUND) ของร้านค้าบนแพลตฟอร์มของช้อปปี้ ไม่ต้องยื่นเอกสาร ไม่ต้องมีหลักประกัน สมัครง่ายผ่านแอปพลิเคชัน K PLUS คัดกรองผู้รับสินเชื่อจากข้อมูลรายได้ และพฤติกรรมการค้าขายอื่น ๆ ประกอบกัน ด้วยวงเงินอนุมัติสูงสุด 600,000 บาทเช่นเดียวกัน

 

]]>
1255742