เงินบาท – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Mon, 26 Jul 2021 06:18:32 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ‘เงินบาท’ กลายเป็นสกุลเงินที่ ‘แย่ที่สุด’ ในเอเชียหลังอ่อนค่าลงกว่า 10% https://positioningmag.com/1344076 Mon, 26 Jul 2021 03:20:57 +0000 https://positioningmag.com/?p=1344076 ธนาคารมิซูโฮระบุว่า เงินบาทซึ่งเคยเป็นสกุลเงินที่แข็งค่าที่สุดในเอเชียก่อนเกิดโรคระบาด ได้ร่วงลงอย่างต่อเนื่องในปี 2564 และเป็นสกุลเงินที่ได้รับผลกระทบรุนแรงที่สุดในปีนี้ในภูมิภาค

ธนาคารญี่ปุ่นชี้ไปที่ “ผลงานที่ด้อยประสิทธิภาพอย่างไม่เคยมีมาก่อนในสกุลเงินบาท ทำให้เป็นสกุลเงินที่ดำเนินการได้แย่ที่สุดในปี 2564” โดยค่าเงินบาทอ่อนค่าลงมากกว่า 10% เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ เมื่อเช้าวันจันทร์ ตามข้อมูลของ Refinitiv Eikon

สกุลเงินของไทยมีประสิทธิภาพต่ำที่สุดในปีนี้ เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักอื่น ๆ ในเอเชียแปซิฟิก ตามรายงานของ Refinitiv เมื่อเทียบกับดอลลาร์ โดยเงินเยนของญี่ปุ่นลดลงเกือบ 7% ริงกิตมาเลเซียลดลง 5% ในขณะที่เงินดอลลาร์ออสเตรเลียลดลง 4.43% เมื่อเทียบเป็นรายปี

วิษณุ วราธาน หัวหน้าฝ่ายเศรษฐศาสตร์และกลยุทธ์ของธนาคาร กล่าวว่า ในปี 2562 ก่อนเกิดการระบาดใหญ่ของโควิด มีความกังวลเกี่ยวกับค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น ซึ่งได้รับแรงหนุนจากดุลการค้าจำนวนมาก ค่าเงินที่แข็งค่าขึ้นทำให้การส่งออกของประเทศมีราคาแพงขึ้น ทำให้น่าดึงดูดน้อยลงในตลาดต่างประเทศ

อย่างไรก็ตาม ค่าเงินเอเชียที่อ่อนค่าลงในปีนี้ไม่ใช่แค่ปัญหาจากการระบาดใหญ่ของโควิด โดยพิจารณาว่าผลกระทบของตัวแปรเดลตาในภูมิภาคที่เหลือนั้น “น่าหดหู่กว่ามาก” โดยวราธานชี้ให้เห็นว่าตัวเลขการท่องเที่ยวที่ลดลงอย่างรวดเร็วได้ทวีคูณความหายนะของโควิดต่อเศรษฐกิจของประเทศไทย

ทั้งนี้ ประเทศไทยมีนักท่องเที่ยวมาเยือนเพียง 34,000 คน ณ เดือนพฤษภาคมปีนี้เทียบกับปี 2562 ที่มีนักท่อเที่ยว 39 ล้านคน ตามข้อมูลจากกระทรวงการท่องเที่ยวและธนาคารโลก ขณะที่ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ต้องพึ่งพาการท่องเที่ยวเป็นอย่างมากเพื่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ การใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวคิดเป็นประมาณ 11% ของ GDP ของไทยในปี 2562 ก่อนเกิดโรคระบาด ดังนั้น นักท่องเที่ยวที่น้อยลงยังหมายถึงความต้องการเงินบาทที่ลดลง

Photo : Shutterstock

อย่างไรก็ตาม การที่ไทยจะเปิดรับนักท่องเที่ยวอีกครั้งเป็นสิ่งที่ ‘ท้าทายมาก’ ยูเบน พาราคิวเอลส์ หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์อาเซียนของโนมูระ กล่าวเมื่อวันพฤหัสบดีว่า การพึ่งพาการท่องเที่ยวของไทยมากเกินไปจะเป็น “ความท้าทายอย่างมาก” สำหรับประเทศ เนื่องจากพยายามเปิดกว้างสำหรับนักท่องเที่ยวในขณะที่ยังคงต่อสู้กับโรคระบาด

แม้ในเดือนกรกฎาคมประเทศไทยได้เริ่มโครงการนำร่องที่เรียกว่า ”แซนด์บ็อกซ์” ในจังหวัดภูเก็ตซึ่งนักท่องเที่ยวสามารถเยี่ยมชมจุดหมายปลายทางในวันหยุดได้โดยไม่ต้องกักกัน แต่หลังจากเปิดได้เพียงสัปดาห์เดียว ก็มีนักท่องเที่ยวจากสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ติดเชื้อ 1 ราย และในตอนท้ายของสัปดาห์แรกก็มีผู้ติดเชื้อ 27 รายใหม่

“พวกเขามีเป้าหมายที่ทะเยอทะยานมาก ที่ต้องการเปิดประเทศอย่างสมบูรณ์ภายในเดือนตุลาคม ฉันคิดว่านั่นอาจจะทะเยอทะยานเกินไป อาจจะไม่เกิดขึ้น และเนื่องจากการที่ประเทศไทยพึ่งพาการท่องเที่ยวมากเกินไป ฉันคิดว่าการขับเคลื่อนและการฟื้นตัวจะมาจากจุดนั้นมากที่สุด”

Source

]]>
1344076
เศรษฐกิจไทย รอฟ้าหลังฝน ‘ครึ่งปีหลัง’ CIMBT คาด Q2/64 จีดีพีโต 7.8% ‘รถยนต์มือสอง’ รุ่ง https://positioningmag.com/1325007 Thu, 25 Mar 2021 10:55:42 +0000 https://positioningmag.com/?p=1325007 ‘ซีไอเอ็มบี ไทย’ มองภาพเศรษฐกิจไทยต้นปี ‘ไม่สดใส’ คาดไตรมาสเเรกยังหดตัว -4.1% ไตรมาส 2 กลับมาบวก 7.8% จากอานิสงส์การส่งออก เเต่ต้องระวังหลายปัจจัยทั้งวัคซีน การท่องเที่ยว ปัญหาสต๊อกสินค้า การลงทุนภาคเอกชนที่ชะลอตัว ชูธุรกิจ ‘รถยนต์มือสอง-มอเตอร์ไซค์-ค้าปลีก-โรงพยาบาล’ ทยอยฟื้นตัวหลังวิกฤต 

อมรเทพ จาวะล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สำนักวิจัย ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย (CIMBT) มองว่าการฟื้นตัวของศรษฐกิจไทย ในช่วงไตรมาส 1 ยังไม่คต่อยสดใสนัก ด้วยผลกระทบจากการเเพร่ระบาดของไวรัสโรโรนาระลอกใหม่ในช่วงปลายปี 2563 ทำให้ผู้คนยังระมัดระวังการใช้จ่าย กระเเสทำงานที่บ้านหรือ WorK from Home กลับมาอีกครั้งทำให้การเดินทางลดลงไปด้วย

อย่างไรก็ตาม ในช่วงปลายไตรมาส 1 เริ่มเห็นสัญญาณดีขึ้นจากการฟื้นตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจต่างๆ

CIMBT คาดว่า ตัวเลข GDP ของเศรษฐกิจไทยในไตรมาสเเรก จะหดตัวที่ -4.1% ก่อนที่ในไตรมาส 2 จะกลับมาเป็นบวกได้ที่ 7.8% โดยมีปัจจัยหนุนต่างๆ ดังนี้

  • การส่งออกจะเร่งตัวมากขึ้น 

จากการที่ประเทศเศรษฐกิจขนาดใหญ่อย่างสหรัฐฯ กำลังอัดฉีดเศรษฐกิจด้วยงบประมาณถึง 1.9 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ คาดว่าจะทำให้ GDP สหรัฐฯ กลับมาโตเกิน 6% เมื่อเศราบกิจดีขึ้น ก็จะมีการนำเข้าสินค้ามากขึ้นตามไปด้วย โดยเฉพาะสินค้าจากไทย อาเซียน จีน และตลาดอื่นๆ

  • คนใช้จ่ายมากขึ้น

จะเริ่มเห็นสัญญาณการใช้จ่ายที่ดีขึ้น ไตรมาส 2 โดยกลุ่มที่ฟื้นตัวเร็วกว่าเพื่อนคือกลุ่มอาหารเครื่องดื่มเเละสินค้าเล็กๆ น้อยๆ

  • การส่งเสริมจากรัฐ

คาดว่ารัฐจะออกมาตรการเพิ่มเติมเพื่อเร่งการจับจ่าย เร่งการลงทุน ซึ่งจะเป็นปัจจัยสนับสนุนเศรษฐกิจไทยช่วงไตรมาส 2  

Photo : Shutterstock

วัคซีนช้ากระทบท่องเที่ยว ระวังปัญหาสต๊อกสินค้า

อย่างไรก็ตาม ต้องไม่มองข้ามปัจจัยเชิงลบที่รั้งเศรษฐกิจไตรมาส 2 ให้ยังไม่สดใสถึงขั้นสุดอาทิเช่น ธุรกิจท่องเที่ยวยังไม่ฟื้น จากการกระจายวัคซีนในประเทศที่เพิ่งเริ่มฉีด ทำให้นักท่องเที่ยวยังไม่กลับเข้ามามากนัก สิ่งที่ต้องติดตามต่อไปคือ มาตรการผ่อนผันเกี่ยวกับการท่องเที่ยวที่น่าจะเข้าช่วยได้ในช่วงครึ่งหลังของปี 

“ภาพรวมวัคซีนจะเริ่มฉีดมากขึ้นไตรมาส 2 สร้างความเชื่อมั่นได้ดีขึ้น คาดการณ์เศรษฐกิจไทยที่ 2.6% ในปี 2564 ยังไม่เด่นมากนัก เพราะยังขาดการท่องเที่ยวที่เป็นรายได้หลักขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย แต่เมื่อเราฉีดวัคซีนได้เต็มที่ ต่างชาติกลับมามากขึ้น ก็น่าจะเป็นปัจจัยเชิงบวกให้เศรษฐกิจไทยสดใสมากขึ้นในช่วงไตรมาสที่ 3” 

Photo : Shutterstock

ส่วนการลงทุนภาคเอกชนยังชะลอตัวอยู่ แม้การส่งออกสินค้าดีขึ้น การใช้จ่ายของคนในประเทศดีขึ้น แต่ยังไม่กระจายตัวออกไปในวงกว้าง

ขณะเดียวกัน ‘สต๊อกสินค้า’ ที่ค่อนข้างสูงปลายปีที่แล้วต่อเนื่องถึงปีนี้ ยังคงเป็นปัจจัยให้เอกชนชะลอการลงทุน ชะลอซื้อเครื่องจักรใหม่ ชะลอนำเข้าผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ โดยเฉพาะการขาดการลงทุนจากต่างประเทศ (FDI) ที่เราหวังเรื่องการย้ายฐานเข้ามาลงทุนมากขึ้น หากการฉีดวัคซีนเริ่มแพร่หลายและเปิดรับต่างชาติเข้ามาแล้ว จะเป็นปัจจัยเชิงบวกสำหรับการลงทุนมากขึ้น    

ด้านการบริโภคสินค้าคงทน โดยเฉพาะสินค้าที่คนต้องคิดไตร่ตรองก่อนตัดสินใจซื้อ คนยังระมัดระวังอยู่ ดังนั้น การบริโภคที่กำลังฟื้นตัวแต่ยังไม่ถึงขั้นกระจายตัว โดยเฉพาะกลุ่มโรงแรม ร้านอาหารที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยว ส่วนสินค้าคงทน สินค้าขนาดใหญ่ สินค้าเกี่ยวกับการลงทุน เช่น บ้าน รถใหม่ จะยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่มากในไตรมาส 2  

ธุรกิจ ‘รถมือสอง’ ฟื้นตัวเร็ว 

อุตสาหกรรมเด่น ที่น่าจะฟื้นตัวไตรมาส 2 ได้แก่ ‘รถมือสอง’ ที่ฟื้นเร็วกว่ารถป้ายแดง เนื่องจากคนต้องประหยัด จึงมองหารถมือสองคุณภาพดีเเทน

ส่วน ‘มอเตอร์ไซค์’ จะเกี่ยวข้องกับราคาสินค้าภาคเกษตร รายได้ภาคเกษตร ปีนี้แม้ยังเผชิญปัญหาภัยแล้งอยู่ แต่ปัญหาภัยแรงไม่รุนเรงเท่าปีที่แล้ว กำลังซื้อภาคเกษตรที่ดีขึ้น คนจะหันไปซื้อมอเตอร์ไซค์มากขึ้นนั่นเอง

ขณะเดียวกัน อุตสาหกรรมเกี่ยวข้องกับค้าปลีกค้าส่ง น่าจะฟื้นตัวได้ดีขึ้นตามกำลังซื้อที่ดีขึ้น รวมไปถึงอุตสาหกรรมยางรถยนต์ ชิ้นส่วนยานยนต์ คอมพิวเตอร์ส่วนประกอบ บรรจุภัณฑ์-พลาสติก รวมไปถึงธุรกิจโรงพยาบาล ที่มีฐานลูกค้าเป็นคนไข้ในประเทศ ส่วนคนไข้ต่างประเทศคาดว่ามีจำนวนเพิ่มขึ้นได้ในไตรมาส 3

Photo : Shutterstock

ค่าเงินบาท ‘ดีกว่าที่คาด’ 

ส่วนทิศทาง ‘ค่าเงินบาท’ นั้นประเมินว่าจะอ่อนค่าลง หลังจากสหรัฐฯ กังวลเรื่องเงินเฟ้อหลังทุ่มอัดฉีดงบประมาณ จึงจะนำไปสู่อัตราผลตอบแทนพันธบัตร (บอนด์ยิลด์) ที่สูงขึ้น มีผลให้การคาดการณ์เงินเฟ้อที่จะตามมา คนเลยกังวลเงินจึงไหลกลับไปสหรัฐฯ มากขึ้น ทำให้ดอลลาร์แข็งค่า เเละเงินบาทอ่อนค่า

“ในไตรมาสที่ 2 การอ่อนค่าน่าจะชะลอลง และน่าจะเป็นปัจจัยที่ดีสำหรับการสร้างความสามารถในการแข่งขันให้ผู้ส่งออก” 

ด้านนโยบายการเงิน ประเมินว่าธนาคารเเห่งประเทศไทย (ธปท.) จะคงดอกเบี้ยที่ 0.50% ตลอดทั้งปี โดยเลือกใช้นโยบายการเงินอื่น นอกเหนือจากดอกเบี้ย การอัดฉีดเเละเงินช่วยเหลือ SMEs การเร่งเร่งปรับโครงสร้างหนี้ต่างๆ ของครัวเรือน

“เราอาจเห็นมาตรการจ้างงานหรือสนับสนุนการสร้างสาธารณูปโภคในพื้นที่ต่างๆ มากขึ้น เพื่อสร้างรายได้ให้คนในท้องถิ่น”

 

]]>
1325007
กนง. คงดอกเบี้ยนโยบายที่ 0.50% ปรับเป้าจีดีพีปีนี้ ติดลบ 6.6% เฝ้าระวัง COVID-19 รอบใหม่ https://positioningmag.com/1311715 Wed, 23 Dec 2020 08:27:49 +0000 https://positioningmag.com/?p=1311715 กนง. มีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 0.50% ต่อปี หนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจที่ไม่แน่นอนสูง ปรับเป้าจีดีพีปีนี้เหลือ -6.6% ภาคครัวเรือนและธุรกิจ SMEs ยังเปราะบาง เข้าไม่ถึงสินเชื่อ ห่วงสถานการณ์เงินบาท “แข็งค่าขึ้นเร็ว” เฝ้าระวัง COVID-19 รอบใหม่

คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ประเมินว่าเศรษฐกิจไทยฟื้นตัวต่อเนื่อง แต่ยังมีความเสี่ยงด้านต่ำและความไม่แน่นอนสูงในระยะข้างหน้า จึงยังต้องการแรงสนับสนุนจากอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่อยู่ในระดับต่ำอย่างต่อเนื่อง และรักษาขีดความสามารถในการดำเนินนโยบายการเงินที่มีจำกัด เพื่อใช้ในจังหวะที่เหมาะสมและเกิดประสิทธิผลสูงสุด

โดยคาดว่าเศรษฐกิจไทยจะหดตัวร้อยละ 6.6 ในปี 2563 ดีกว่าที่ประเมินไว้เดิมจากการบริโภคภาคเอกชนและการส่งออกสินค้าที่ฟื้นตัวดีขึ้น และกลับมาขยายตัวร้อยละ 3.2 และ 4.8 ในปี 2564 และ 2565 ตามลำดับ

อย่างไรก็ตาม การฟื้นตัวของเศรษฐกิจยังมีความไม่แน่นอนสูง โดยในระยะสั้นขึ้นอยู่กับสถานการณ์และมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของ COVID-19 ระลอกใหม่

“ในระยะถัดไปขึ้นอยู่กับการกลับมาของนักท่องเที่ยวต่างชาติ ประสิทธิผลและการกระจายวัคซีนป้องกัน COVID-19 และพัฒนาการของตลาดแรงงาน ซึ่งยังมีจำนวนผู้ว่างงานและเสมือนว่างงานอยู่ในระดับสูง” 

นอกจากนี้ การฟื้นตัวที่แตกต่างกันของแต่ละภาคเศรษฐกิจ จะส่งผลต่อความยั่งยืนของการเติบโตทางเศรษฐกิจในระยะต่อไป

ด้านระบบการเงินมีเสถียรภาพ แต่ยังคงมีความ “เปราะบาง” ในภาคครัวเรือนและธุรกิจ SMEs สำหรับอัตราเงินเฟ้อทั่วไปจะกลับเข้าสู่กรอบเป้าหมายในช่วงกลางปี 2564 และจะอยู่ใกล้เคียงกับขอบล่างของกรอบเป้าหมายตลอดช่วงประมาณการ โดยการคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อในระยะปานกลางยังยึดเหนี่ยวอยู่ในกรอบเป้าหมาย

ด้านสภาพคล่องในระบบอยู่ในระดับสูงและต้นทุนทางการเงินอยู่ในระดับต่ำ “ธุรกิจและครัวเรือนบางส่วนที่ต้องการสภาพคล่องยังไม่สามารถเข้าถึงสินเชื่อได้ โดยเฉพาะธุรกิจ SMEs” 

ด้านอัตราแลกเปลี่ยน เงินบาทเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ เคลื่อนไหวผันผวนสอดคล้องกับเงินสกุลภูมิภาค ซึ่งทาง กนง. มีความกังวงกังวลต่อสถานการณ์เงินบาทที่มีแนวโน้ม “แข็งค่าขึ้นเร็ว” จากสภาวะเปิดรับความเสี่ยงของนักลงทุน (risk-on sentiment) และแนวโน้มการอ่อนค่าของเงินดอลลาร์สหรัฐ จึงเห็นควรให้ติดตามอย่างใกล้ชิดและพิจารณาความจำเป็นของการดำเนินมาตรการที่เหมาะสมเพิ่มเติม รวมถึงผลักดันการสร้างระบบนิเวศใหม่ของอัตราแลกเปลี่ยน (FX ecosystem) อย่างต่อเนื่อง

คณะกรรมการฯ เห็นว่า ความต่อเนื่องของมาตรการภาครัฐ และการประสานนโยบายระหว่างหน่วยงานมีความสำคัญต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในระยะถัดไป

โดยนโยบายการเงินต้องผ่อนคลายต่อเนื่อง มาตรการทางการเงินและสินเชื่อควรเร่งกระจายสภาพคล่องไปสู่ผู้ที่ได้รับผลกระทบให้ตรงจุดและทันการณ์ อาทิเช่น มาตรการค้ำประกันสินเชื่อเพื่อลดความเสี่ยงด้านเครดิต รวมทั้งผลักดันให้สถาบันการเงินเร่งปรับปรุงโครงสร้างหนี้ให้เกิดผลในวงกว้าง

ขณะที่มาตรการทางการคลังต้องพยุงเศรษฐกิจโดยไม่ขาดช่วง โดยเฉพาะการเร่งเบิกจ่ายภายใต้แผนฟื้นฟูเศรษฐกิจ ควบคู่กับดำเนินการนโยบายด้านอุปทาน เพื่อปรับรูปแบบธุรกิจและยกระดับทักษะแรงงาน ซึ่งจะช่วยให้เศรษฐกิจฟื้นตัวอย่างยั่งยืน

“ต้องติดตามความเพียงพอของมาตรการภาครัฐ และปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ โดยเฉพาะการแพร่ระบาดระลอกใหม่ในประเทศ ในการดำเนินนโยบายการเงินในระยะข้างหน้า โดยพร้อมใช้เครื่องมือนโยบายการเงินที่เหมาะสมเพิ่มเติมหากจำเป็น”

 

ที่มา : ธนาคารเเห่งประเทศไทย 

 

]]>
1311715
SCB มองเศรษฐกิจไทย 2021 พลิกบวก 3.8% จับตาว่างงานสูง SME ระส่ำ เงินบาทเเข็งยาว https://positioningmag.com/1309703 Wed, 09 Dec 2020 06:39:10 +0000 https://positioningmag.com/?p=1309703 SCB EIC ปรับ GDP ไทยปีนี้ “ดีขึ้น” เป็น -6.5% จากเดิมคาด -7.8% ฉายภาพเศรษฐกิจไทยปี 2021 พลิกกลับมาเป็นบวก 3.8% ตามเศรษฐกิจโลกฟื้นตัว เเละการกระจายวัคซีน เเนะจับตา “แผลเป็นเศรษฐกิจ” ตลาดเเรงงานยังเสี่ยง SME ขาดเงินทุนเสี่ยงปิดกิจการ หนี้ครัวเรือนพุ่งฉุดการฟื้นตัว เงินบาทเเข็งกระทบส่งออก คาด กนง. ‘คงดอกเบี้ย’ ยาวถึงสิ้นปีหน้า

ยรรยง ไทยเจริญ รองผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสูงสุด ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) หรือ SCB EIC คาดว่า เศรษฐกิจไทยปี 2020 จะหดตัวที่ -6.5% ดีขึ้นจากคาดการณ์ครั้งก่อนที่ -7.8% ขณะที่ปี 2021 คาดเศรษฐกิจจะขยายตัวที่ 3.8% ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก

โดยในช่วงไตรมาส 3 การฟื้นตัวของการบริโภคภาคเอกชนที่ดีกว่า ตามปัจจัยชั่วคราวของการมีวันหยุดเพิ่มเติมและมาตรการกระตุ้นของภาครัฐ

ส่วนในไตรมาส 4 ทาง EIC ประเมินว่า เศรษฐกิจไทยจะมีแนวโน้มฟื้นตัวในอัตราที่ชะลอลง จากการกลับมาระบาดของ COVID-19 ในหลายประเทศทั่วโลก ซึ่งอาจกระทบต่อการส่งออกในช่วงปลายปี 

“การเเพร่ระบาดที่เริ่มมีขึ้นในไทยอีกครั้ง อาจกระทบต่อการใช้จ่ายและการท่องเที่ยวในประเทศในระยะสั้นได้” 

ทั้งนี้ การค้นพบวัคซีนที่มีประสิทธิภาพสูงจากหลายค่าย รวมทั้งการที่ไทยเป็นผู้ผลิตวัคซีน AstraZeneca จะมีส่วนช่วยสนับสนุนการฟื้นตัวของนักท่องเที่ยวต่างประเทศ ในช่วงครึ่งหลังของปี 2021

กรณีประเทศไทย คาดว่าจะเริ่มต้นได้รับวัคซีนที่สั่งซื้อไว้ในช่วงกลางปีหน้า และจะมีการฉีดอย่างแพร่หลายในช่วงครึ่งหลังของปี จึงทำให้คาดว่านักท่องเที่ยวต่างประเทศจะเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยในช่วงครึ่งหลังของปี 2021 

“จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติในปีหน้าจะอยู่ประมาณ 8 ล้านคน ซึ่งยังต่ำกว่าตัวเลขปี 2019 ช่วงก่อนโรคระบาดที่มีเกือบ 40 ล้านคนอยู่มาก” 

เงินบาทเเข็ง กดดันส่งออกปีหน้า 

สำหรับภาพรวมเศรษฐกิจไทยในปี 2021 คาดว่า จะขยายตัวที่ 3.8% จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก เเละเม็ดเงินของภาครัฐทั้งจากในงบประมาณและมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติม รวมถึงการกระจายวัคซีนในช่วงครึ่งหลังของปี แต่ผลของแผลเป็นทางเศรษฐกิจ (scarring effects) จะยังคงกดดันการฟื้นตัวของอุปสงค์ภาคเอกชน 

ในส่วนของเม็ดเงินจากภาครัฐ คาดว่าจะมีจำนวนมากกว่าที่เคยคาดการณ์ไว้ โดยเฉพาะการลงทุนภาครัฐที่มีแนวโน้มขยายตัวได้ดีราว 9.8% 

นอกจากนี้ ยังมีวงเงินเหลือจาก พรก. กู้เงิน 1 ล้านล้านบาท อีกประมาณ 5 แสนล้านที่รัฐสามารถใช้ได้ในปี 2021 ซึ่งล่าสุดรัฐบาลได้ออกมาตรการคนละครึ่งระยะที่ 2 และให้เงินสนับสนุนเพิ่มเติมกับผู้ถือบัตรสวัสดิการ รวมถึงขยายเวลามาตรการเราเที่ยวด้วยกัน ซึ่งเป็นสัญญาณว่ารัฐยังพร้อมใช้มาตรการเพื่อพยุงการฟื้นตัวของเศรษฐกิจต่อเนื่อง ซึ่งจะเป็นผลดีต่อการใช้จ่ายของภาคประชาชน 

ด้านภาคส่งออกของไทย มีแนวโน้มฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยคาดว่าจะขยายตัวที่ 4.7% ตามทิศทางเศรษฐกิจและการค้าโลก 

อย่างไรก็ดี ปัญหาการขาดแคลนและต้นทุนที่สูงขึ้นของ “ตู้คอนเทนเนอร์” โดยเฉพาะในช่วงปลายปีต่อเนื่องถึงช่วงต้นปีหน้า และแนวโน้มค่าเงินบาทที่แข็งขึ้นตามทิศทางการอ่อนค่าของเงินดอลลาร์สหรัฐ จะเป็นปัจจัยกดดันต่อการส่งออกในปีหน้า 

เศรษฐกิจไทยยังคงได้รับปัจจัยกดดันจาก “แผลเป็นเศรษฐกิจ” ใหญ่ๆ ได้เเก่ 

1) ความเปราะบางของตลาดแรงงาน ที่มีอัตราว่างงานในระดับสูง การทำงานต่ำระดับที่เพิ่มขึ้นมาก และการที่แรงงานจำนวนมากต้องเปลี่ยนไปทำงานที่มีรายได้น้อยลง

2) การเปิด-ปิดกิจการที่ยังซบเซาต่อเนื่อง 

3) ปัญหาหนี้ครัวเรือนต่อรายได้ที่เพิ่มสูงขึ้นมาก 

โดยแผลเป็นทั้ง 3 ล้วนเป็นปัจจัยสำคัญที่เป็นข้อจำกัดต่อการฟื้นตัวของการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนในระยะข้างหน้า ทำให้แม้เศรษฐกิจจะขยายตัวได้ในปีหน้า แต่ยังต้องพึ่งพาการใช้จ่ายของภาครัฐค่อนข้างมาก และระดับ GDP ทั้งปีในปีหน้าก็จะยังต่ำกว่าระดับในปี 2021 

Photo : Shutterstock

EIC คาดว่า ธปท. จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ 0.5% ตลอดปี 2021 ควบคู่กับการเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลเมื่อจำเป็น เพื่อดูแลดอกเบี้ยในตลาดการเงินให้อยู่ในระดับต่ำซึ่งจะมีส่วนช่วยสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจภายใต้แนวโน้มเงินเฟ้อที่จะยังอยู่ในระดับต่ำ ซึ่งคาดว่าเงินเฟ้อทั่วไปของปี 2021 จะอยู่ที่ 0.9%

สำหรับค่าเงินบาท EIC คาดว่า มีแนวโน้มแข็งค่าขึ้น โดย ณ สิ้นปี 2021 ค่าเงินบาทจะอยู่ในช่วง 29.5-30.5 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ส่วนใหญ่เป็นผลจากเงินดอลลาร์สหรัฐที่มีแนวโน้มอ่อนค่าลงตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก ความขัดแย้งทางการค้าที่แม้จะดำเนินต่อไป แต่น่าจะลดความผันผวนลง 

“การขาดดุลทางการคลังที่มากขึ้นของสหรัฐฯ ส่งผลให้เงินทุนเคลื่อนย้ายมีแนวโน้มไหลเข้าตลาด EM (ตลาดเกิดใหม่) รวมถึงตลาดการเงินไทยมากขึ้นในระยะต่อไป” 

ขณะที่ปัจจัยภายในประเทศที่อาจทำให้ค่าเงินบาทแข็งค่ามากกว่าคู่ค้าคู่แข่งโดยเฉลี่ย คือ การเกินดุลบัญชีเดินสะพัดต่อเนื่องในปี 2021 (คาด 3.0% ของ GDP) เสถียรภาพด้านต่างประเทศของไทยที่ยังแข็งแกร่งจนทำให้เงินบาทถูกมองเป็นสกุลเงินในภูมิภาคที่ปลอดภัย 

รวมถึงพฤติกรรม home bias ของนักลงทุนไทยที่ลงทุนในต่างประเทศค่อนข้างน้อย โดยมาตรการของ ธปท. ในการเปิดเสรีเงินทุนเคลื่อนย้ายขาออก อาจไม่ส่งผลให้ค่าเงินบาทอ่อนลงในระยะสั้นนัก เพราะการลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศต้องอาศัยการปฏิรูปเพื่อลดข้อจำกัดในส่วนอื่น ๆ ด้วย เช่น ภาษี กฎเกณฑ์ของหน่วยงานอื่น ๆ การให้ความรู้แก่นักลงทุนรายย่อย และการยกระดับความสามารถของสถาบันตัวกลาง

สรุป : ความเสี่ยงของเศรษฐกิจไทย ปี 2021 ได้เเก่ 

  1. การระบาดระลอกใหม่ของ COVID-19
  2. ความล่าช้าในการกระจายวัคซีนในไทยอย่างแพร่หลาย
  3. แผลเป็นทางเศรษฐกิจ ส่งผลต่อเสถียรภาพสถาบันการเงินผ่านระดับหนี้เสียที่เพิ่มขึ้น กระทบต่อความสามารถในการเข้าถึงเงินทุนของภาคเอกชน
  4. ปัญหาเสถียรภาพการเมืองในประเทศ ซึ่งอาจกระทบต่อความเชื่อมั่นในการลงทุน
  5. ภัยแล้ง จากระดับน้ำในเขื่อนที่ยังอยู่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยในอดีต
  6. เงินบาทที่แข็งค่าเร็วกว่าคู่ค้าคู่แข่งซึ่งอาจกระทบต่อการฟื้นตัวของอุปสงค์ต่างประเทศ
  7. จับตาจำนวน Zombie Firm (ธุรกิจที่ขาดความสามารถในการทำกำไรเพื่อชำระดอกเบี้ยติดต่อกันเป็นเวลานาน) ที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากวิกฤตในรอบนี้

เศรษฐกิจโลก จะ “ฟื้น” เเบบค่อยเป็นค่อยไป 

ด้าน GDP เศรษฐกิจโลกส่วนใหญ่ (ยกเว้นจีนซึ่ง GDP เป็นบวกในปี 2563) จะยังไม่กลับไปที่ระดับของปี 2562 เเละมีแนวโน้มชะลอลงในระยะสั้นจากการระบาดรอบใหม่ 

“เศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มกลับมาขยายตัวในปี 2564 อย่างค่อยเป็นค่อยไป แตกต่างกันในรายประเทศและอุตสาหกรรม โดยกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว ซึ่งน่าจะได้รับวัคซีนอย่างแพร่หลายในช่วงครึ่งแรกของปี 2564 จะฟื้นตัวได้เร็วกว่ากลุ่มประเทศกำลังพัฒนา” 

โดยผลจากรอยแผลเป็นทางเศรษฐกิจของเศรษฐกิจหลัก แม้จะยังมีอยู่แต่มีแนวโน้มปรับดีขึ้น สะท้อนได้จากอัตราการว่างงานและการปิดกิจการที่มีแนวโน้มลดลง จากแรงสนับสนุนจากมาตรการกระตุ้นทางการคลังและนโยบายการเงินในระดับที่ผ่อนคลายต่อเนื่อง 

เเม้ประเทศในกลุ่มกำลังพัฒนาส่วนใหญ่จะได้รับวัคซีนภายหลังและมีข้อจำกัดมากกว่าในด้านพื้นที่การดำเนินนโยบาย เเต่ด้วยความที่เป็นฐานการผลิตของสินค้าส่งออกในกลุ่ม IT และกลุ่มสุขภาพอนามัย เช่น จีน และกลุ่มเอเชียตะวันออก จะได้รับประโยชน์จากพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปทำให้เศรษฐกิจฟื้นตัวได้เร็วกว่า เเต่ประเทศที่พึ่งพาการท่องเที่ยว เช่น ไทย จะฟื้นตัวได้ช้ากว่า 

เศรษฐกิจโลกยังเผชิญกับความเสี่ยงด้านต่ำสำคัญในหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นการระบาดรอบใหม่ การกระจายวัคซีนที่อาจล่าช้าและไม่ทั่วถึง ความขัดแย้งทางการค้าและเทคโนโลยีระหว่างสหรัฐฯ-จีน ที่กระทบต่อการค้า การลงทุน และห่วงโซ่การผลิตอุปทาน และความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์ในจุดต่าง ๆ ของโลกจากความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและสังคมที่มีมากขึ้น

]]>
1309703