เที่ยวไทย – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Mon, 28 Dec 2020 09:45:45 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ข่าวร้ายธุรกิจท่องเที่ยว คนกรุง 54.8% เก็บตัว “อยู่บ้าน” ช่วงปีใหม่ รายได้หายเฉียด 6 พันล้าน https://positioningmag.com/1312310 Mon, 28 Dec 2020 07:54:20 +0000 https://positioningmag.com/?p=1312310 ข่าวร้ายธุรกิจท่องเที่ยว COVID-19 ระบาดระลอกใหม่ ทำให้คนกรุงกว่าครึ่ง ตัดสินใจเก็บตัวอยู่บ้านในช่วงเทศกาลปีใหม่ คาดสูญเสียรายได้ไปกว่า 5,850 ล้านบาท

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เผยผลสำรวจพบว่า คนกรุงเทพฯ กว่า 54.8% ไม่มีแผนที่จะเดินทางท่องเที่ยวต่างจังหวัดในช่วงวันหยุดยาวส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ 2564 โดยกว่า 40.7% เป็นการยกเลิกหรือเลื่อนแผนการเดินทางไปต่างจังหวัดในช่วงเทศกาลปีใหม่ที่ได้วางแผนไว้ก่อนหน้า

ขณะที่กลุ่มตัวอย่างราว 30.9% บอกว่า ยังมีแผนที่จะเดินทางท่องเที่ยวในต่างจังหวัด ซึ่งมีทั้งการเดินทางเพื่อท่องเที่ยวแบบพักค้างคืนและการเดินทางไปเช้าเย็นกลับ

ปัจจัยหลักๆ ที่ต้องยกเลิกท่องเที่ยวปีใหม่ มาจากการระบาดของ COVID-19 รองลงมาเป็นเหตุผลอื่นๆ เช่น กลุ่มตัวอย่างได้เดินทางท่องเที่ยวในช่วงวันหยุดยาวไปก่อนหน้านี้แล้ว หรืออยากหลีกเลี่ยงการเดินทางในช่วงเทศกาลปีใหม่ แต่ก็มีแผนที่จะท่องเที่ยวหลังปีใหม่ เเละบางส่วนมีปัญหาการเงิน ปัจจัยเศรษฐกิจในครัวเรือน ฯลฯ

โดยการวางแผนการท่องเที่ยว ต้องขึ้นอยู่กับสถานการณ์การระบาดของ COVID-19 เพราะจำนวนผู้ติดเชื้อใหม่ยังมีจำนวนเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง มีผลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวของผู้ตอบแบบสอบถาม

การระบาดของ COVID-19 ระลอกใหม่ นับเป็นข่าวร้ายต่อภาคการท่องเที่ยวของไทยที่กำลังอยู่ในระยะของการเริ่มฟื้นตัว ขณะที่แม้ทางการจะออกมาตรการต่าง ๆ เพื่อควบคุมการระบาดระลอกใหม่ แต่ยังไม่ได้มีข้อจำกัดห้ามเดินทางข้ามจังหวัดก็ตาม

คาดว่าการที่ประชาชนอยู่บ้านในช่วงปีใหม่ จะทำให้เกิดการสูญเสียโอกาสในการสร้างรายได้จากคนไทยเดินทางท่องเที่ยวในช่วงวันหยุดยาว 4 วัน (ตั้งแต่วันที่ 31 .. 63 – 3 .. 64) คิดเป็นมูลค่าราว 5,850 ล้านบาท หรือคิดเป็นสัดส่วนรายได้ที่สูญเสียไปประมาณ 58.4% ของรายได้ไทยเที่ยวไทยในช่วงเวลาปกติ 4 วัน ที่ไม่ได้เกิดการระบาดระลอกใหม่

หาดป่าตอง ภูเก็ต ช่วงหลัง COVID-19 ยังมีนักท่องเที่ยวบางตา (Photo : Shutterstock)

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า ในช่วงเวลานี้ภาคการท่องเที่ยวคงจะได้รับผลกระทบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีข่าวการพบผู้ติดเชื้อจำนวนมาก ส่วนพื้นที่ที่ไม่พบผู้ติดเชื้อหรือมีจำนวนผู้ติดเชื้อในอัตราที่ต่ำ ก็ได้รับผลกระทบเช่นกัน

ดังนั้น สิ่งสำคัญในช่วงเวลานี้ของผู้ประกอบการ คือ การประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับสถานการณ์การระบาดในพื้นที่ที่ถูกต้องอย่างต่อเนื่อง ผ่านช่องทางต่างๆ ของผู้ประกอบการ อย่างเว็บไซต์ หรือช่องทางเครือข่ายสังคมออนไลน์ เพื่อประกอบการตัดสินใจของลูกค้าที่จะมาใช้บริการหรือมีแผนที่จะเดินทางในช่วงนี้ และป้องกันการเกิดข่าวลืออันจะส่งผลกระทบต่อธุรกิจ

นอกจากนี้ ผู้ประกอบการยังต้องรักษามาตรฐานความปลอดภัย และสร้างความมั่นใจให้แก่นักท่องเที่ยวที่จะมาใช้บริการ เเละจะต้องเตรียมแผนรองรับการปรับเปลี่ยนแผนการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยว รวมถึงมาตรการของภาครัฐที่อาจจะมีการปรับเปลี่ยนตามสถานการณ์การระบาดในระยะนี้

ในกรณีที่ทางการสามารถควบคุมดูแลการระบาดของ COVID-19 ให้อยู่ในวงจำกัด และสามารถควบคุมสถานการณ์ได้ภายในช่วงระยะเวลา 1 เดือนต่อจากนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า ภาพรวมของตลาดไทยเที่ยวไทยน่าจะทยอยกลับมาฟื้นตัวได้ดีขึ้นในช่วงปลายไตรมาส 1/64”

 

]]>
1312310
มอง ‘ท่องเที่ยวไทย’ ปี 2021 ยังเหนื่อย คนเที่ยวน้อย-ใช้จ่ายลด เเข่ง ‘เเย่งลูกค้า’ ดุเดือด https://positioningmag.com/1312134 Fri, 25 Dec 2020 09:47:36 +0000 https://positioningmag.com/?p=1312134 ธุรกิจท่องเที่ยวไทยต้องกัดฟันสู้กันอีกยาว ฟื้นตัวไม่ทั่วถึง เจอระบาดรอบใหม่ซ้ำเติม ต้องล็อกดาวน์ในหลายจังหวัด ผู้คนเดินทางท่องเที่ยวลดลง เเต่ผู้ประกอบการต้องเเข่งขัน “เเย่งลูกค้า” กันรุนเเรงขึ้น 

ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB EIC) วิเคราะห์ว่า ภาคการท่องเที่ยวของไทย ในช่วงที่ผ่านมา มีการทยอยฟื้นตัวจากการท่องเที่ยวของคนไทยด้วยกันเอง แต่ทั้งจำนวนและรายได้ ก็ยังคงอยู่ในระดับต่ำกว่าปีก่อนหน้า

อีกทั้งการฟื้นตัวในช่วงที่ผ่านมายังไม่ทั่วถึงโดยจังหวัดที่คนไทยนิยมท่องเที่ยวอยู่แล้ว ในอดีตก็ยังเป็นกลุ่มที่สามารถฟื้นตัวได้ดีกว่า

คนไทยเที่ยวน้อยลง จ่ายน้อยลง

โดยล่าสุด จำนวนนักท่องเที่ยวคนไทยในช่วงเดือนตุลาคม ยังต่ำกว่าในช่วงเดียวกันปีก่อนหน้าถึง -34.5% (หดตัวน้อยลงจาก -38.1% ในไตรมาส 3)

ขณะที่รายได้ที่มาจากนักท่องเที่ยวคนไทยก็ต่ำกว่าอยู่ถึง -49.2% (หดตัวน้อยลงจาก -57.2% ในไตรมาส 3) ซึ่งการที่รายได้ มีการหดตัวมากกว่าจำนวนนักท่องเที่ยวนั้น หมายความว่า นอกจากคนไทยจะเดินทางท่องเที่ยวน้อยลงแล้ว ยังใช้จ่ายต่อคนเฉลี่ยลดลงอีกด้วย

จากข้อมูลการสำรวจ ภาวะเศรษฐกิจและสังคมของภาคครัวเรือนไทยของสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่า ครัวเรือนไทยใช้จ่ายเพื่อการท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นเฉลี่ยปีละ 3.9% ต่อปี แม้การใช้จ่ายในภาพรวมจะชะลอลง -0.5% ต่อปี การเข้ามาของโรคระบาดจึงเป็นการสะดุดลงของแนวโน้มการขยายตัวของการท่องเที่ยวของคนไทยในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา

Photo : Shutterstock

แม้จะเริ่มมีนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้ามาในเดือนตุลาคม แต่ก็ยังเป็นจำนวนที่น้อยมากเพียง 1,201 คนเท่านั้น หรือคิดเป็นเพียง 0.04% ของจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติรวมในเดือนเดียวกันของปีก่อน

EIC คาดการณ์ว่าจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติในปี 2564 
จะอยู่ที่ราว 8.5 ล้านคน โดยส่วนใหญ่จะเริ่มทยอยเดินทางเข้ามาในช่วงครึ่งปีหลัง

เราเที่ยวด้วยกัน “ดี” เเต่ยังไม่ทั่วถึง 

ในภาวะที่ซบเซานี้ การมีปัจจัยสนับสนุนจากมาตรการ “เราเที่ยวด้วยกัน” ถือว่ามีส่วนช่วยภาคการท่องเที่ยวในประเทศ โดย ณ วันที่ 2 ธันวาคม 2563 มีจำนวนผู้ลงทะเบียนเข้าร่วมมาตรการแล้ว 6.4 ล้านคน และมีผู้ใช้สิทธิ์จองที่พัก
ที่ชำระเงินแล้วจำนวน 4 ล้านสิทธิ์ จาก 5 ล้านสิทธิ์ คิดเป็นมูลค่าห้องพักที่จอง 10,961 ล้านบาท

“การฟื้นตัวของการท่องเที่ยวในประเทศมีลักษณะที่ไม่ทั่วถึง ซึ่งจังหวัดที่มีการฟื้นตัวได้ดีกว่าค่าเฉลี่ยมักเป็นจังหวัดยอดนิยม
ของคนไทยอยู่แล้ว” 

ในช่วงเดือนกรกฎาคม-ตุลาคม (ข้อมูลล่าสุด) จำนวนผู้เยี่ยมเยือนชาวไทยเฉลี่ย
หดตัวที่ -37.0% จากช่วงเดียวกันปีก่อน

EIC มองว่า ภาคการท่องเที่ยวไทยผ่านพ้นจุดต่ำสุดมาแล้ว แต่การฟื้นตัวของการท่องเที่ยวในประเทศยังไม่ครอบคลุม โดยจังหวัดที่มีการฟื้นตัวได้ดีกว่าค่าเฉลี่ยมักเป็นจังหวัดยอดนิยม เช่น เชียงใหม่ เพชรบุรี ชลบุรี ฯลฯ

โดยในช่วงต้นไตรมาสที่ 4 ทิศทางการฟื้นตัวของจังหวัดท่องเที่ยวที่ “ไกลจากกรุงเทพฯ” เริ่มปรับดีขึ้น หลังนักท่องเที่ยว
เริ่มมีความเชื่อมั่นในการโดยสารด้วยเครื่องบินมากขึ้น โดยมองว่า ต้นไตรมาสที่ 4 เห็นทิศทางการฟื้นตัวของจังหวัดท่องเที่ยวที่ไกลจากกรุงเทพฯ เริ่มปรับดีขึ้น

ส่วนกรณี “สมุทรสาคร” ส่งผลโดยตรงต่อการท่องเที่ยวช่วงปลายปี และกระทบความเชื่อมั่นของประชาชนต่อการควบคุมโรคของภาครัฐเริ่มลดลง ซึ่งหลายส่วนประกาศงดกิจกรรมต่างๆ ในช่วงปลายปี เเละการพบผู้ติดเชื้อที่กระจายอยู่ในหลายจังหวัดอาจส่งผลให้ประชาชนบางส่วนตัดสินใจเลื่อนทริปท่องเที่ยวช่วงปลายปี จากความกังวลต่อการแพร่ระบาดในสถานที่ต่างๆ และการขาดความมั่นใจในการเดินทางด้วยเครื่องบินและการขนส่งสาธารณะภาคพื้นดิน

ที่มา : SCB EIC

จับตา “ท่องเที่ยวไทย” ปีหน้า 

EIC มองว่าธุรกิจการท่องเที่ยวของไทย ในปี 2564 ยังมีอีกหลายความท้าทาย ตามปัจจัยต่อไปนี้

  • ความเสี่ยงของการแพร่ระบาดของ COVID-19 

ประเมินว่ากลุ่มประเทศพัฒนาแล้วจะได้รับวัคซีนเป็นวงกว้างและเข้าสู่ภาวะภูมิคุ้มกันหมู่ (Herd immunity) ได้ในช่วงครึ่งแรกของปี 2564 “ไทยน่าจะมีการเริ่มฉีดในช่วงกลางปีหน้า และจะเข้าสู่ภาวะคุ้มกันหมู่
ได้ภายในครึ่งแรกของปี 2565”

EIC มองว่า ถึงแม้จะต้องใช้เวลา
อีกระยะหนึ่งกว่าที่ไทยจะได้รับวัคซีน แต่ภาครัฐและผู้ประกอบการธุรกิจการท่องเที่ยวก็ควรมีการเตรียมพร้อมสำหรับการรับนักท่องเที่ยวต่างชาติตั้งแต่เนิ่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นการวางแผนจัดสรรวัคซีนให้ทั่วถึงแก่บุคลากร
ภาคการท่องเที่ยว การประชาสัมพันธ์เพื่อเชิญชวนและสร้างความเชื่อมั่น รวมถึงการวางระบบตรวจสอบข้อมูล
ด้านสุขอนามัย และข้อมูลการฉีดวัคซีนที่อาจจำเป็นมากขึ้นในการท่องเที่ยวในช่วงหลังจากนี้

  • กำลังซื้อของนักท่องเที่ยวที่ซบเซา

เป็นปัจจัยที่เกิดจากผลกระทบของเศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมา ทำให้มาตรการกระตุ้นจากภาครัฐจะเป็นแรงขับเคลื่อนที่สำคัญในการประคับประคองการใช้จ่ายด้านการท่องเที่ยวไปอีกระยะหนึ่ง 
การขยายระยะเวลาของ “เราเที่ยวด้วยกัน” หรือการออกแคมเปญกระตุ้นการท่องเที่ยวใหม่ ๆ จึงมีส่วนสำคัญสำหรับการท่องเที่ยวในช่วงต้นปีหน้า ภายใต้สมมติฐานว่า ไทยจะสามารถควบคุมการระบาดระลอกใหม่นี้ได้

  • การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของนักท่องเที่ยว 

ต้องระมัดระวังเรื่องสุขอนามัยที่เพิ่มมากขึ้น การหลีกเลี่ยงสถานที่ที่แออัด การมองหาโปรโมชันที่จูงใจ คุ้มค่ากับราคาในภาวะที่กำลังซื้อมีจำกัด

  • การแข่งขันระหว่างธุรกิจท่องเที่ยวด้วยกันที่รุนแรงมากขึ้น

เกิดการเเข่งขันดุเดือด ทั้งในด้านการลดราคาและการนำเสนอโปรโมชัน
จูงใจต่าง ๆ ที่น่าจะยังมีอยู่ต่อไปในภาวะที่อุปสงค์การเข้าพักต่ำลงจากการหายไปของนักท่องเที่ยวต่างชาติ ในขณะที่อุปทานห้องพักมีเท่าเดิม จนกว่าจะเริ่มมีปัจจัยสนับสนุนด้านความต้องการเข้าพักจากกลุ่มนักท่องเที่ยวต่างชาติกลับมา

อ่านเพิ่มเติม : Travel Bubble ความหวังใหม่กระตุ้นท่องเที่ยว “ฮ่องกง-สิงคโปร์” สะดุด ต้องเลื่อนยาวไป “ปีหน้า”

 

 

]]>
1312134
จีนคงคำสั่งห้าม จัด “กรุ๊ปทัวร์” ไปเที่ยวต่างประเทศ ป้องกัน COVID-19 กลับมาอีกในช่วงฤดูหนาว https://positioningmag.com/1302802 Thu, 22 Oct 2020 06:32:23 +0000 https://positioningmag.com/?p=1302802 รัฐบาลจีน ยังคงมีคำสั่งห้ามกรุ๊ปทัวร์จีนเดินทางไปยังต่างประเทศ และยังห้ามบริษัทท่องเที่ยวจากต่างเเดนขายทัวร์มาเที่ยวจีนในระยะนี้ เพื่อป้องกันความเสี่ยงจาก COVID-19 ที่อาจกลับมาระบาดอีกครั้งในช่วงฤดูหนาว

สำนักข่าว Reuters รายงานว่า เว็บไซต์กระทรวงการท่องเที่ยวและวัฒนธรรมจีน ได้ประกาศ ณ วันที่ 21 .. ว่าทางการยังไม่อนุญาตให้จัดทัวร์ไปเที่ยวต่างประเทศ และยังห้ามไม่ให้ทัวร์ของชาวต่างชาติเข้ามาเที่ยวจีน เพื่อลดความเสี่ยงที่ไวรัสโคโรนาจะกลับมาในช่วงฤดูหนาว

จีนเป็นประเทศแรกที่ระงับการจัดกรุ๊ปท่องเที่ยวทั้งภายในและต่างประเทศ ตั้งเเต่เดือนมกราคมที่ผ่านมา หลังพบการเเพร่ระบาดของ COVID-19 ครั้งแรกในเมืองอู่ฮั่น เเต่ก็เริ่มอนุญาตให้มีการจัดทัวร์ท่องเที่ยวภายในประเทศเเล้ว ตั้งแต่เดือน ก.. เป็นต้นมา หลังจากที่ยอดผู้ติดเชื้อใหม่ในจีนลดลงอย่างมาก เเละภาคเศรษฐกิจการใช้จ่ายเริ่มฟื้นตัว

ทั้งนี้ การที่รัฐบาลจีนควบคุมพลเมืองไม่ให้เดินทางไปเที่ยวต่างประเทศ ส่งผลกระทบไปถึงภาคการท่องเที่ยวของหลายประเทศ โดยเฉพาะไทย ที่พึ่งพานักท่องเที่ยวจีนอย่างมาก ตลอดหลายปีที่ผ่านมา

ขณะที่ไทยเริ่มเปิดบ้านต้อนรับนักท่องเที่ยวผ่านวีซ่าประเภทพิเศษ หรือ Special Tourist Visa (STV) วีซ่าระยะยาว 90 วันที่ภาครัฐจะออกให้เป็นกรณีพิเศษแก่นักท่องเที่ยวต่างชาติ เพื่อกระตุ้นการท่องเที่ยวอีกครั้ง หลังการแพร่ระบาดของ COVID-19 โดยมีนักท่องเที่ยวกลุ่มแรกเดินทางมาจากเมืองกว่างโจว ประเทศจีน ถึงสนามบินสุวรรณภูมิในวันที่ 20 ตุลาคมที่ผ่านมา จำนวน 120 คน และกำลังจะมีกลุ่มที่ 2 ที่จะเดินทางมาถึงในวันที่ 26 ตุลาคม จากเมืองกว่างโจวเช่นกัน โดยเป็นชาวจีนที่มาท่องเที่ยวเอง ไม่ได้ผ่านการจัดกรุ๊ปทัวร์ ซึ่งจะต้องกักตัวตามมาตรการก่อนเป็นเวลา 14 วัน

 

ที่มา : Reuters

 

]]>
1302802
คนไทยจ่อรอเที่ยว! “ภูเก็ต” แชมป์ปลายทางเตรียมเช็กอินมากสุดในปีนี้ “ญี่ปุ่น” รอปีหน้า https://positioningmag.com/1280815 Wed, 27 May 2020 10:06:26 +0000 https://positioningmag.com/?p=1280815 คนไทยทนไม่ไหว เตรียมวางแผนเดินทางหลังคลายล็อกดาวน์ มีการค้นหาสถานที่ท่องเที่ยว จุดหมายปลายทางในการพักผ่อนหย่อนใจ โดยพบว่าในปีนี้เลือกเที่ยวในประเทศก่อน ส่วนปีหน้าวางแผนไปญี่ปุ่น เกาหลีใต้

วางแผนเที่ยวระยะสั้นก่อน

สถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัส COVID-19 ส่งผลให้การเดินทางทั่วโลกชะงักลงอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน แผนการเดินทางถูกยกเลิก สายการบินต่างๆ หยุดให้บริการ โรงแรมต่างๆ ปิดดำเนินการชั่วคราว และเมืองต่างๆ ถูกปิดไม่ให้มีการเข้าออก อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและการบริการเป็นธุรกิจแรกที่ได้รับผลกระทบอย่างมากตั้งแต่เกิดการระบาดใหญ่ในระยะเริ่มแรก

จากข้อมูลสถิติด้านการท่องเที่ยวของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาพบว่า จำนวนนักท่องเที่ยวขาเข้าในเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2563 ลดลงจากปี 2562 ถึง 42.78% และลดลงอย่างมีนัยสำคัญถึง 76.41% ในเดือนมีนาคม 2563

และจากการเปิดเผยผลการรวบรวมข้อมูลในช่วงไตรมาสแรกของปี 2563 ของสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทยซึ่งสอดคล้องกับกระทรวงการท่องเที่ยว และกีฬา ข้อมูลสถิติของนักท่องเที่ยวขาเข้าจาก 15 ประเทศชั้นนำมีจำนวนลดลง โดยนักเดินทางชาวจีนลดลงมากที่สุดถึง 59.4% ฮ่องกง 49.8% เกาหลีใต้  44% มาเลเซีย 38.3% สิงคโปร์ 37% อินเดีย 33.6% ไต้หวัน 32.5% อินโดนีเซีย 29.3% ญี่ปุ่น 28% เวียดนาม 26.5% พม่า 26.3% กัมพูชา 23% สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (UAE) 20.1% กาตาร์ 5% และ รัสเซีย 0.6%

ด้วยเหตุนี้จึงทำให้การเดินทางยังคงเป็นเรื่องที่ไม่แน่นอนสำหรับนักท่องเที่ยวชาวไทย อีกทั้งประกาศสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทยที่ขยายเวลาการห้ามอากาศยานทำการบินระหว่างประเทศไปจนถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2563 ซึ่งหมายความว่าแผนการการเดินทางระยะไกลต่างประเทศคงยังไม่เกิดขึ้นได้ ขณะที่การวางแผนเดินทางท่องเที่ยวระยะสั้นในประเทศมีแนวโน้มมากขึ้น ยืนยันได้จากข้อมูลการค้นหาทางเว็บไซต์ของเอ็กซ์พีเดีย (Expedia.co.th

จากการศึกษาข้อมูลการค้นหาผ่านทางเว็บไซต์ของเอ็กซ์พีเดีย (Expedia.co.th) ตลอดทั้งเดือนเมษายน 2563 พบว่ามีการค้นหาข้อมูลมากกว่า 5,000 ครั้ง โดยผู้เข้าชมที่ต้องการเดินทางตั้งแต่เดือนเมษายน 2563 เป็นต้นไป ผลการวิจัยยังพบอีกว่าความสนใจในการเดินทางกลับมาเพิ่มมากขึ้น และคนไทยไม่เพียงแค่เข้าไปคลิกดูเท่านั้น แต่ทำการค้นหา และวางแผนการเดินทางเป็นอย่างดีด้วย

วันที่ที่ถูกเลือกสำหรับการเช็กอินแสดงถึงความมั่นใจที่มีมากขึ้นก่อนทำการจอง ซึ่งนั่นชี้ให้เห็นความจริงที่ว่าผู้เข้าชมเว็บไซต์มีแนวโน้มที่ต้องการเดินทางอย่างแท้จริง และมีแผนการเดินทางอยู่ในใจเรียบร้อยแล้ว 

ข้อมูลการค้นหาพบว่า ประเทศไทยติด 7 ใน 10 อันดับแรกของจุดหมายปลายทางที่มีการค้นหามากที่สุด เพื่อทำการเช็กอินในช่วง ระหว่างเดือนตุลาคม – ธันวาคม 2563 มีดังนี้ 

  1. ภูเก็ต ประเทศไทย 12.82%
  2. กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย 11.54%
  3. เชียงใหม่ ประเทศไทย 4.88%
  4. พัทยา ประเทศไทย 4.84% 
  5. โตเกียว ญี่ปุ่น 4.42% 
  6. กระบี่ ประเทศไทย 3.98%
  7. เกาะสมุย ประเทศไทย 3.5%
  8. โอซาก้า ญี่ปุ่น 2.88%
  9. ตราด ประเทศไทย 2.8%
  10. โซล เกาหลีใต้ 2.58%

ปีหน้าค่อยว่ากัน

แต่เมื่อมองไปถึงปี 2564 จุดหมายปลายทางยอดนิยม 10 แห่งที่มีการค้นหาเพื่อทำการการเช็คอินในช่วงเดือนช่วงเดือนมกราคม และกุมภาพันธ์ 2564 ส่วนใหญ่แล้วเป็นการเดินทางภายในประเทศเช่นกัน มีดังนี้

Photo : Shutterstock
  1. โตเกียว ญี่ปุ่น 1.92%
  2. ภูเก็ต ประเทศไทย 1.86%
  3. กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย 1.32%
  4. ซัปโปโร ญี่ปุ่น 0.78%
  5. โซล เกาหลีใต้ 0.76%
  6. กระบี่ ประเทศไทย 0.68%
  7. พัทยา ประเทศไทย 0.62%
  8. เชียงใหม่ ประเทศไทย 0.60%
  9. เกาะสมุย ประเทศไทย 0.40%
  10. พังงา ประเทศไทย 0.38%
]]>
1280815