วันนี้ (13 ก.ค.2564) ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติมาตรการเยียวยา กลุ่มแรงงานและผู้ประกอบการ ประชาชนที่ได้รับผลกระทบในพื้นที่สถานการณ์ควบคุมสูงสุด 10 จังหวัด ได้เเก่ กรุงเทพมหานคร นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ สมุทรสาคร นราธิวาส ปัตตานี ยะลา สงขลา วงเงินงบประมาณรวม 30,000 ล้านบาท
โดยจะช่วยเหลือแรงงานที่ได้รับผลกระทบจากการปิดกิจการและมาตรการควบคุมการระบาด ซึ่งเพิ่มจาก 4 กลุ่มสาขาอาชีพ เป็น 9 กลุ่มสาขาอาชีพ คือ
(เดิม)
1. กิจการก่อสร้าง
2. กิจการที่พักแรมและบริการด้านอาหาร
3. กิจการศิลปะ ความบันเทิงและนันทนาการ
4. กิจการกิจกรรมการบริการด้านอื่นๆ ที่ได้รับผลกระทบ
(เพิ่ม)
5.การขนส่งและสถานที่เก็บสินค้า
6.การขายส่งและการขายปลีก
7.การซ่อมยานยนต์
8.กิจกรรมการบริหารและสนับสนุนวิชาชีพ วิทยาศาสตร์และกิจกรรมวิชาการ
9.ข้อมูลข่าวสารและการศึกษา
กลุ่มแรงงานที่อยู่ในระบบและนอกระบบ ‘สัญชาติไทย’ มีดังนี้
ผู้ประกันตน มาตรา 33 จะได้รับเงินความช่วยเหลือ 2,500 บาท จำนวน 1 เดือน
ผู้ประกันตน มาตรา 39 และมาตรา 40 จะได้รับเงินช่วยเหลือคนละ 5,000 บาท จำนวน 1 เดือน
ผู้ที่ประกอบอาชีพที่ ‘ไม่ได้อยู่’ ในมาตรา 33 มาตรา 39 และมาตรา 40 ที่ยังประกอบอาชีพอยู่ในปัจจุบัน ให้เตรียมหลักฐานเพื่อลงทะเบียนเป็นผู้ประกันตนมาตรา 40 กับสำนักงานประกันสังคม ภายในเดือนกรกฎาคม 2564 เพื่อที่จะได้รับเงินเยียวยา 5,000 บาท จำนวน 1 เดือน
ทั้งนี้ เป็นการเยียวยาเพิ่มเติม จากก่อนหน้านี้ (28 มิ.ย. 64) ที่ประกาศว่า
ลูกจ้างที่ได้รับผลกระทบ จะได้เงินชดเชย 50% ของฐานเงินเดือน รวมไม่เกินคนละ 10,000 บาท เเละจะได้รับเงินเพิ่มเติม จำนวน 2,000 บาทต่อราย
นายจ้างหรือผู้ประกอบการ จะได้รับเงินช่วยเหลือ 3,000 บาทต่อหัวของลูกจ้างในบริษัท สูงสุดไม่เกิน 200 คน เช่น ถ้ามีลูกจ้าง 10 คน เจ้าของร้านจะได้รับ 30,000 บาท
อ่านรายละเอียด : สรุปมาตรการเยียวยา ลูกจ้างเเละเจ้าของกิจการ “ร้านอาหาร-ก่อสร้าง” ช่วยจ่ายค่าแรง 50% นาน 1 เดือน รับเพิ่มหัวละ 2,000 บาท
นอกจากนี้ รัฐบาลยังเคาะเยียวยา ‘ลดค่าน้ำ-ค่าไฟ’ ทั่วประเทศ เป็นระยะเวลา 2 เดือน (ก.ค.-ส.ค. 64) โดยใช้ฐานเดือนกุมภาพันธ์ ช่วยประชาชนช่วงโควิด วงเงินรวม 1.2 หมื่นล้าน
บ้านอยู่อาศัยที่ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 150หน่วย/เดือน : ใช้ไฟฟ้าฟรี 90 หน่วยแรก
บ้านอยู่อาศัยที่ใช้ไฟฟ้าเกิน 150หน่วย/เดือน หากน้อยกว่าหรือเท่ากับเดือน ก.พ. 64 คิดค่าไฟฟ้าตามหน่วยการใช้ไฟฟ้าจริง
-กรณีมากกว่าเดือนก.พ. แต่ไม่เกิน 500 หน่วย/เดือน ให้จ่ายเท่ากับเดือน ก.พ. 64
-ระหว่าง 501-1,000 หน่วย/เดือน ให้จ่ายค่าไฟฟ้าเท่ากับเดือน ก.พ. 64+ 50% ของหน่วยไฟฟ้าที่เพิ่มจากเดือน ก.พ. 64
-เกิน 1,000 หน่วย/เดือน ให้จ่ายค่าไฟฟ้าเท่ากับเดือน ก.พ. 64+ 70% ของหน่วยไฟฟ้าที่เพิ่มจากเดือน ก.พ. 64 โดยให้เป็นส่วนลดค่าไฟฟ้าก่อนการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม
กิจการขนาดเล็ก(ไม่รวมส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ) ใช้ไฟฟ้าฟรี 100 หน่วยแรก
กิจการขนาดกลาง ขนาดใหญ่ กิจการเฉพาะ องค์กรไม่แสวงหากำไรและการสูบน้ำเพื่อการเกษตร ยกเว้นการเรียกเก็บอัตราค่าไฟฟ้าต่ำสุด (Minimum Charge) จนถึงสิ้นเดือนธ.ค. 64 โดยให้จ่ายค่าความต้องการพลังไฟฟ้า (demand Charge) ตามกำลังไฟฟ้าที่ใช้จ่ายจริง
มีมาตรการลดภาระค่าน้ำประปาลง 10% เฉพาะบ้านที่อยู่อาศัยและกิจการขนาดเล็ก (ไม่รวมส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ) ระยะเวลา 2 เดือน (ส.ค.-ก.ย. 64)
พร้อมจะมีมาตรการ ‘ลดค่าเทอม’ ในเทอมที่ 1 เป็นกรณีพิเศษ ซึ่งทางกระทรวงการศึกษา กระทรวงการอุดมศึกษาฯ จะประกาศรายละเอียดต่อไป คาดว่าจะใช้เวลาพิจารณาใน 1 สัปดาห์
]]>
วันนี้ (1 มิ.ย.64) ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี มีมติเห็นชอบมาตรการกระตุ้นและฟื้นฟูเศรษฐกิจจากสถานการณ์โควิด-19 ผ่าน 4 โครงการ ได้แก่
1.โครงการคนละครึ่งเฟส 3 แจก 3,000 บาทต่อคน รัฐช่วยจ่ายวันละไม่เกิน 150 บาท ตลอดระยะเวลาโครงการ (เดือน ก.ค.- ธ.ค. 64) แบ่งเป็นช่วงไตรมาส 3 ของปีนี้ จะทยอยจ่าย 1,500 บาท และไตรมาส 4 อีก 1,500 บาท
ครอบคลุม 31 ล้านคน ใช้งบประมาณ 93,000 ล้านบาท เพื่อกระตุ้นกำลังซื้อผู้มีรายได้น้อยและปานกลาง ช่วยเหลือผู้ประกอบการรายย่อย
2. โครงการยิ่งใช้ยิ่งได้ ผู้เข้าร่วมโครงการและใช้เงินตามเงื่อนไข จะได้รับ ‘E-Voucher’ ผ่านแอปพลิเคชันเป๋าตัง ในอัตรา 10-15% สูงสุดไม่เกิน 7,000 บาทต่อคน ตลอดโครงการ (เดือนก.ค.-ก.ย. 64)
เจาะกลุ่มเป้าหมาย 4 ล้านคน ใช้งบประมาณ 2.8 หมื่นล้านบาท เพื่อกระตุ้นการบริโภคผ่านผู้ที่มีกำลังซื้อ และสนับสนุนผู้ประกอบการที่อยู่ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) โดยจะมีการเปิดลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์ www.ยิ่งใช้ยิ่งได้.com หลังจากที่ ครม.อนุมัติโครงการ
3.โครงการ ‘เติมเงิน’ ให้ผู้มีรายได้น้อยที่ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ เดือนละ 200 บาท รวมแต่ละคนจะได้รับ 1,200 บาท ตลอดระยะเวลา 6 เดือน (ก.ค.-ธ.ค. 64) ครอบคลุม 13.65 ล้านคน ใช้งบประมาณ 1.64 หมื่นล้านบาท
4.โครงการ ‘เติมเงิน’ ให้ผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษ เช่น ผู้ไม่มีมือถือสมาร์ทโฟน ผู้สูงอายุ และผู้พิการ ที่เคยเข้าร่วมโครงการเราชนะ เดือนละ 200 บาท รวมแต่ละคนจะได้รับ 1,200 บาท ตลอดระยะเวลา 6 เดือน (ก.ค.-ธ.ค. 64) ครอบคลุม 2.5 ล้านคน ใช้งบประมาณ 3,000 ล้านบาท
โดยมีการสั่งปิดร้านค้าปลีก สถานบันเทิง สถานที่ท่องเที่ยวและสถานที่อื่น ๆ ที่ไม่จำเป็นสำหรับการใช้ชีวิต (non-essential business) ทั่วประเทศ
Rishi Sunak รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังสหราชอาณาจักร เเถลงว่า รัฐบาลจะทุ่มเงินเพิ่ม 4.6 พันล้านปอนด์ (ราว 1.87 แสนล้านบาท) เพื่อช่วยเหลือธุรกิจค้าปลีก ท่องเที่ยวและสถานบันเทิงที่ต้องปิดให้บริการชั่วคราว ภายใต้คำสั่งมาตรการล็อกดาวน์ โดยแต่ละธุรกิจจะได้รับเงินชดเชยมากที่สุดถึง 9,000 ปอนด์ (ราว 3.6 เเสนบาท)
นอกจากนี้ รัฐบาลอังกฤษ ยังเตรียมจัดสรรงบประมาณอีกจำนวน 594 ล้านปอนด์ (ราว 2.4 หมื่นล้านบาท) เพื่อเข้าช่วยเหลือธุรกิจในอุตสาหกรรมอื่นๆ ที่ได้รับผลกระทบจากการล็อกดาวน์ครั้งนี้ด้วย
โดยเงินเยียวยาดังกล่าวจะเน้นไปที่การพยุงธุรกิจรายย่อยให้อยู่รอดในช่วงที่ต้องขาดรายได้ ส่วนเเรงงานที่โดนพักงาน (furlough scheme) ก็จะได้รับเงินชดเชยที่เเยกจ่ายต่างหาก ซึ่งถูกขยายโครงการไปจนถึงปลายเดือนเมษายน
“เงินชดเชยก้อนนี้จะช่วยธุรกิจสามารถอยู่รอด ทันช่วงรอยต่อที่กลับมาเปิดทำการได้ตามปกติ” Sunak ระบุ
สำหรับการล็อกดาวน์ ครั้งที่ 3 มีผลบังคับใช้จนถึงช่วงกลางเดือนกุมภาพันธ์ โดยจะมีความเข้มงวดระดับสูงสุดในอังกฤษ เพราะเป็นพื้นที่พบผู้ติดเชื้อและผู้เสียชีวิตมากที่สุด ส่วนสกอตแลนด์ เวลส์ และไอร์แลนด์เหนือ ให้นำข้อบังคับไปประยุกต์ใช้ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของตัวเอง
ปัจจุบันสหราชอาณาจักรมียอดผู้ป่วย COVID-19 สะสมอย่างน้อย 2.7 ล้านคน เสียชีวิตสะสมกว่า 7.5 หมื่นคนโดยสถานการณ์ตึงเครียดขึ้นอีกครั้ง หลังมีความกังวลเกี่ยวกับการพบเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ “ชนิดกลายพันธุ์” ครั้งแรกที่ประเทศอังกฤษ เมื่อช่วงเดือนก.ย.ที่ผ่านมา ซึ่งสามารถแพร่กระจายได้เร็วขึ้นอีก 70% ซึ่งสายพันธุ์ใหม่ ที่พบในสหราชอาณาจักรและแอฟริกาใต้ยังเป็นคนละชนิดกันด้วย ทำให้ตอนนี้นานาชาติได้สั่งระงับเที่ยวบินจากอังกฤษเพื่อสกัดไวรัสกลายพันธุ์ดังกล่าว
ด้านความคืบหน้าด้านการฉีดวัคซีน รัฐบาลอังกฤษประกาศเป้าหมายระยะเเรก จะเเจกจ่ายให้กลุ่มเสี่ยงจากโรค COVID-19 ได้แก่ บุคลากรการแพทย์และเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ผู้สูงอายุ และเจ้าหน้าที่ดูแลผู้สูงอายุ รวมประมาณ 13 ล้านคน ต้องได้รับวัคซีนอย่างน้อย 1 โดส ภายในกลางเดือน ก.พ.นี้
โดยนับตั้งแต่เริ่มแจกจ่ายวัคซีนครั้งเเรก เมื่อวันที่ 8 ธันวาคมที่ผ่านมา ตอนนี้มีประชาชนเข้ารับวัคซีนมากกว่า 1.3 ล้านคน ในจำนวนดังกล่าวราว 6.5 เเสนคน เป็นผู้สูงวัยที่มีอายุมากกว่า 80 ปี
]]>
ชัยณรงค์ กัจฉปานันท์ ผู้จัดการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) เปิดเผยว่า เมื่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ส่งผลกระทบต่อสภาพเศรษฐกิจในวงกว้าง ดังนั้น เพื่อเป็นการช่วยเหลือและบรรเทาความเดือดร้อนในการดำรงชีพของผู้กู้ยืม กองทุนฯ ได้มีมาตรการช่วยเหลือผู้กู้ยืมที่อยู่ระหว่างชำระหนี้
โดยมีรายละเอียดดังนี้
– กรณีผู้กู้ยืมที่ไม่มีรายได้หรือมีรายได้ไม่เกิน 8,008 บาทต่อเดือน สามารถขอผ่อนผันได้ไม่เกิน 2 คราว คราวละไม่เกิน 1 ปี นับจากวันที่ได้รับอนุมัติ ซึ่งในช่วงเวลาที่ได้รับการผ่อนผัน ผู้กู้ยืมไม่ต้องชำระหนี้ทั้งเงินต้นและดอกเบี้ย รวมถึงยกเว้นเบี้ยปรับกรณีผิดนัดชำระหนี้ที่เกิดขึ้นในช่วงที่ได้รับการผ่อนผัน
– กรณีผู้กู้ยืมที่มีรายได้ถดถอย สามารถขอผ่อนผันให้ขยายระยะเวลาการชำระหนี้ได้ตั้งแต่ 1.5-2.5 เท่าของระยะเวลาที่เหลืออยู่ตามสัญญากู้ยืมเดิม โดยขึ้นอยู่กับมูลหนี้คงเหลือ ในการชำระเงินงวดสุดท้าย ผู้กู้ยืมต้องมีอายุไม่เกิน 60 ปี และผู้กู้ยืมจะต้องทำบันทึกข้อตกลงกับกองทุนฯ เพื่อนำยอดหนี้คงเหลือมาคำนวณใหม่ และเฉลี่ยให้ชำระในแต่ละเดือนเท่าๆ กันภายในระยะเวลาที่ได้รับการผ่อนผัน
ทั้งนี้ ผู้กู้ยืมสามารถดูรายละเอียดมาตรการช่วยเหลือผู้กู้ยืม จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ได้ทาง www.studentloan.or.th และเพื่อเป็นการร่วมเว้นระยะห่างทางสังคม สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ Line@กยศ. หรือ Line@กยศ.หักเงินเดือน หรือ Line@กยศ.คดีและบังคับคดี หรือ e-mail : [email protected]
]]>