แรงงานสหรัฐ – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Thu, 30 Nov 2023 14:04:31 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 พนักงานอเมริกัน 22% หวั่น “เทคโนโลยี” จะทำให้ตนเอง “ตกยุค” AI กระทบหนัก “มนุษย์ออฟฟิศ” https://positioningmag.com/1454066 Thu, 30 Nov 2023 13:45:41 +0000 https://positioningmag.com/?p=1454066 Gallup สำรวจพนักงานอเมริกันพบ 22% หวั่นกลัวว่าตนเองจะ “ตกยุค” เพราะตำแหน่งงานถูกทดแทนได้ด้วย “เทคโนโลยี” เห็นชัดความต่างจาก 2 ปีก่อน ความกังวล “มนุษย์ออฟฟิศ” พุ่งพรวดหลัง AI โชว์ทักษะที่อาจมาทดแทนงานนั่งโต๊ะได้

“FOBO” หรือ Fear of Becoแรงงแรming Obsolete “กลัวที่จะตกยุค” เป็นสิ่งที่เริ่มเพิ่มขึ้นในใจพนักงานอเมริกัน จากการสำรวจโดย Gallup ที่เริ่มการสำรวจมาตั้งแต่ปี 2017

จนถึงครั้งล่าสุดในปี 2023 การสำรวจพบว่า 22% ของคนอเมริกันกลัวว่า “เทคโนโลยี” จะมาทำให้ตำแหน่งงานของตัวเองล้าสมัยไม่จำเป็นต้องมีอีกต่อไป ตัวเลขนี้พุ่งขึ้นจากสัดส่วนเพียง 15% เมื่อปี 2021 และเป็นครั้งแรกที่เห็นการพุ่งขึ้นอย่างชัดเจนของความกังวลนี้

พนักงาน AI

ความกังวลที่สูงขึ้นชัดเจนนี้เป็นผลมาจากกลุ่มพนักงานที่จบการศึกษาระดับมหาวิทยาลัยขึ้นไป ซึ่งส่วนใหญ่จะทำงานนั่งโต๊ะเป็น “มนุษย์ออฟฟิศ” จากเดิมพนักงานกลุ่มนี้เคยกังวลเรื่องเทคโนโลยีเพียง 8% แต่ล่าสุดมีคนที่กังวลเพิ่มเป็น 20% แล้ว เทียบกับกลุ่มพนักงานที่จบต่ำกว่าระดับมหาวิทยาลัย มีกลุ่มที่กังวลเรื่อง ‘FOBO’ เป็นสัดส่วน 24% เท่าเดิม

สะท้อนให้เห็นว่าบัดนี้กลุ่มมนุษย์ออฟฟิศก็กังวลเรื่อง ‘การทดแทนตำแหน่งงานด้วยเทคโนโลยี’ ไม่ต่างจากกลุ่มพนักงานโรงงานเท่าใดนัก

 

ยิ่งอายุน้อยและยิ่งรายได้น้อย…จะยิ่งกังวลมากขึ้น

หากเปรียบเทียบในเชิงเจนเนอเรชัน จะเห็นว่ากลุ่มพนักงานยิ่งอายุน้อยก็จะยิ่งกังวลว่าตนอาจถูกแทนที่ด้วยเทคโนโลยี ในกลุ่มพนักงานวัย 18-34 ปี มีถึง 28% ที่กังวล รองลงมาในกลุ่ม 35-54 ปี มีความกังวล 23% ปิดท้ายที่วัย 55 ปีขึ้นไปมีคนที่กังวลแค่ 13% เท่านั้น ส่วนเพศชาย-เพศหญิงไม่มีผลที่แตกต่างกันอย่างชัดเจน

อีกหนึ่งปัจจัยที่ส่งผลชัดเจนคือระดับรายได้ ในกลุ่มคนที่มีรายได้ครัวเรือนไม่เกิน 100,000 เหรียญสหรัฐต่อปี (ประมาณ 3.5 ล้านบาท) มีความกังวลเรื่อง FOBO ถึง 27% ขณะที่กลุ่มรายได้ครัวเรือนตั้งแต่ 100,000 เหรียญสหรัฐต่อปีขึ้นไป กลับมีความกังวลเพียง 17% เท่านั้น

พนักงาน AI

 

กลัวถูกลดสวัสดิการ ลดเงินเดือน

ด้านผลของการถูกแทนที่ด้วยเทคโนโลยี พนักงานอเมริกันส่วนใหญ่ 31% กลัวว่าจะทำให้สวัสดิการของตนลดน้อยลง 24% เกรงว่าจะถูกลดเงินเดือน 20% กลัวถูกเลย์ออฟ 19% กลัวถูกลดชั่วโมงทำงาน และ 7% กลัวว่าบริษัทจะย้ายตำแหน่งงานไปในต่างประเทศแทน

อย่างไรก็ตาม Gallup ชี้ให้เห็นว่าความกลัวผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับตนทั้งหลายนี้ของพนักงานชาวอเมริกัน ยังต่ำกว่าช่วงที่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจสหรัฐฯ เมื่อปี 2009 และ 2013 มาก

 

AI มีผลมากต่อมนุษย์ออฟฟิศ

Gallup ให้ความเห็นว่า การพัฒนาทักษะของคอมพิวเตอร์จนสามารถลอกเลียนแบบทักษะภาษาของมนุษย์ได้นั้นปรากฏชัดจากการเปิดตัว ChatGPT ระบบที่พัฒนาบนฐานของ AI ทำให้คนทำงานเห็นความเปลี่ยนแปลงว่า สิ่งที่คอมพิวเตอร์ทำได้ในพื้นที่ของการทำงานนั้นไม่ใช่แค่ “หุ่นยนต์” ในโรงงานหรือคลังสินค้าอีกต่อไปแล้ว แต่ยังมีโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ยกระดับมากขึ้น ทำงานที่เกี่ยวกับทักษะภาษาได้ ซึ่งจะมากระทบกับงานนั่งโต๊ะออฟฟิศได้เช่นกัน

จากความเปลี่ยนแปลงนี้ทำให้พนักงานที่จบการศึกษาระดับมหาวิทยาลัยเริ่มมีความกังวลว่า เทคโนโลยีเหล่านี้จะทำให้อาชีพการงานตัวเองเป็นไปอย่างไร ถึงกระนั้นก็ตาม ปัจจุบันก็ยังมีไม่ถึง 1 ใน 4 ของพนักงานที่คิดว่าสิ่งนี้จะเป็นภัยต่ออาชีพ ส่วนใหญ่ยังรู้สึกในเชิงบวกต่ออนาคตด้านการงานของตนเองอยู่

Source

]]>
1454066
พนักงาน Apple Store ลงมติก่อตั้ง “สหภาพแรงงาน” สำเร็จเป็นสาขาแรกในสหรัฐฯ https://positioningmag.com/1389322 Mon, 20 Jun 2022 08:07:30 +0000 https://positioningmag.com/?p=1389322 พนักงาน Apple Store ในสหรัฐฯ ลงมติก่อตั้ง “สหภาพแรงงาน” สำเร็จเป็นสาขาแรก เป็นอีกหนึ่งบริษัทยักษ์ใหญ่ที่เกิดกระแสก่อตั้งสหภาพต่อจาก Alphabet, Amazon และ Starbucks

Apple Store สาขาเมืองโทว์สัน รัฐแมริแลนด์ มีการลงมติเพื่อก่อตั้ง “สหภาพแรงงาน” เมื่อวันเสาร์ที่ 18 มิถุนายนที่ผ่านมา โดยผลปรากฏว่า จากพนักงาน 110 คน มีผู้โหวตรับมติ 65 คน และไม่รับ 33 คน การนับคะแนนมีการถ่ายทอดสดโดยหน่วยงานจากรัฐบาลกลางเพื่อให้ทุกคนได้รับทราบความโปร่งใส

ก่อนหน้าที่จะถึงการโหวตนี้ พนักงานของ Apple Store มีการรวมกลุ่มกันในชื่อ AppleCORE (ย่อมาจาก Coalition of Organized Retail Employees) และเริ่มรณรงค์เพื่อจัดตั้งสหภาพแรงงานขึ้น

“เราทำได้แล้วโทว์สัน! เราชนะการโหวตตั้งสหภาพ! ขอบคุณทุกคนที่ทำงานอย่างหนักและทุกคนที่คอยสนับสนุน! ตอนนี้เราจะฉลองกัน…พรุ่งนี้เราจะบริหารจัดการกันต่อ” AppleCORE ระบุในทวีต

การตั้งสหภาพแรงงานของพนักงาน Apple Store เป็นไปเพื่อรวมกลุ่มกันเข้าไปมีส่วนร่วมในการกำหนดค่าแรง ชั่วโมงทำงาน และมาตรฐานความปลอดภัยร่วมกับบริษัท

Photo : รอยเตอร์

นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่พนักงาน Apple Store มีความพยายามที่จะสร้างสหภาพแรงงานขึ้นมา แต่เป็นครั้งแรกที่มาจนถึงขั้นตอนการโหวตได้สำเร็จ

ก่อนหน้าจะมีการโหวตเกิดขึ้น เดรเดรอ โอไบรอัน ผู้อำนวยการด้านทรัพยากรบุคคลของ Apple เคยไปเยี่ยมสาขาโทว์สันมาแล้วเมื่อเดือนพฤษภาคม และมีบันทึกเสียงการพูดคุยบางส่วนหลุดออกมาตีพิมพ์บนสื่อสำนักข่าว Vice คำพูดที่โอไบรอันกล่าวกับพนักงานคือ

“ฉันอยากจะเริ่มต้นด้วยการบอกว่า คุณมีสิทธิที่จะร่วมเป็นสมาชิกสหภาพ แต่คุณก็มีสิทธิอย่างเท่าเทียมกันที่จะไม่เป็นสมาชิกสหภาพ” โอไบรอันกล่าว “ถ้าคุณกำลังเผชิญกับการตัดสินใจเลือก ฉันอยากขอแนะนำให้คุณปรึกษากับคนให้หลากหลายที่สุด และศึกษาข้อมูลเพื่อให้เข้าใจว่าการทำงานที่ Apple โดยอยู่ภายใต้สัญญาการต่อรองผลประโยชน์ร่วมกันนั้นน่าจะเป็นอย่างไร”

เธอกล่าวด้วยว่า การมีคนกลางในเรื่องนี้จะทำให้ความสัมพันธ์ระหว่าง Apple กับพนักงานมีความซับซ้อนมากขึ้น

ทั้งนี้ บริษัท Apple ยัง “ขอไม่แสดงความเห็น” อย่างเป็นทางการต่อข่าวการตั้งสหภาพ จากการสอบถามโดย AFP

 

ข้อดีข้อเสียของการมี “สหภาพแรงงาน”

หน้าที่ของการมีสหภาพแรงงาน คือ การมีตัวแทนโดยชอบธรรมในการเข้าไปเจรจาต่อรองค่าจ้างและสภาวะการทำงานกับนายจ้าง หลายครั้งการประท้วงที่นำโดยสหภาพแรงงานจะมีการนัดหยุดงานเกิดขึ้นเพื่อเรียกร้องค่าจ้างที่เป็นธรรม รวมถึงสหภาพยังดูแลกรณีพนักงานต้องการฟ้องร้องนายจ้าง ไปจนถึงการเป็นตัวแทนเป็นปากเป็นเสียงต่อรองกับนักการเมืองในการออกนโยบายด้านแรงงาน

การประท้วงเรียกร้องสิทธิแรงงาน (Photo: Shutterstock)

อย่างไรก็ตาม การเป็นสมาชิกสหภาพแรงงานในสหรัฐฯ กลับอยู่ในช่วงขาลงมาหลายทศวรรษ โดยอัตราส่วนผู้เข้าเป็นสมาชิกเคยอยู่ที่ 20% เมื่อปี 1983 แต่ในปี 2020 ลดลงเหลือ 10.8% เท่านั้น ส่วนใหญ่จะเป็นแรงงานของภาครัฐ เช่น ครู ตำรวจ ที่ยังคงเป็นสมาชิกสหภาพอย่างเหนียวแน่น

สาเหตุที่สหภาพแรงงานเป็นเทรนด์ขาลงในช่วงก่อนหน้านี้ เกิดจากหลายเหตุผล ส่วนใหญ่จะถูกวิเคราะห์ว่าเมื่ออยู่ในสหภาพแรงงาน แรงงานจะต้องเคารพมติที่โหวตแล้วของสหภาพ ทำให้การแสดงออกความเห็นรายบุคคลที่อาจจะแตกต่างไปทำได้ยาก ในขณะที่สังคมอเมริกันนั้นมีความหลากหลายทางเชื้อชาติวัฒนธรรม ทำให้ความเห็นในสหภาพมักจะไม่ค่อยตรงกัน อีกประเด็นหนึ่งก็คือ การเป็นสมาชิกแปลว่าจะต้องจ่ายค่าธรรมเนียมซึ่งคิดเป็นอัตราส่วนประมาณ 1-2% ของรายได้

สหภาพแรงงาน มาได้รับความนิยมอีกครั้งในไม่กี่ปีมานี้ โดยมีพนักงานบริษัทใหญ่ๆ หลายแห่งที่รวมตัวกันลงมติ เช่น ปี 2021 Alphabet มีการรวมตัวพนักงานกว่า 200 คนทั้งในสหรัฐฯ และแคนาดา เพื่อตอบโต้เรื่องการรับมือคำร้องเรื่องการคุกคามทางเพศที่ไม่เป็นธรรมของบริษัท

(Photo : Shutterstock)

ต่อมาในเดือนธันวาคม 2021 สาขา Starbucks สองแห่งในเมืองบัฟฟาโล รัฐนิวยอร์กก็ทำสำเร็จเช่นกัน และเปิดทางให้พนักงานมากกว่า 160 คนในสาขาอื่นๆ เริ่มโหวตเพื่อตั้งสหภาพ โดยระหว่างเส้นทางการต่อสู้ มีพนักงาน Starbucks ที่ถูกให้ออกเพราะความพยายามจะตั้งสหภาพ

ถัดมาคือเดือนเมษายน 2022 พนักงาน Amazon ในคลังสินค้าเมืองนิวยอร์ก มีการโหวตที่ลงมติท่วมท้นให้จัดตั้งสหภาพแรงงานเป็นครั้งแรก แต่บริษัทได้ร้องขอให้มีการโหวตใหม่

การจัดตั้งสหภาพแรงงานนั้นเป็นสิ่งที่บริษัทอเมริกันกังวลใจและไม่ต้องการให้มีขึ้น แน่นอนว่าเพราะการมีตัวแทนมาต่อรอง จะทำให้บริษัทเสียสิทธิเด็ดขาดในการกำหนดค่าจ้างและสวัสดิการ และมีแนวโน้มว่าบริษัทจะต้องจ่ายค่าจ้างแพงขึ้น ต้นทุนสูงขึ้น จึงไม่มีบริษัทไหนต้องการให้มีสหภาพแรงงาน

Source: Economic Times, TRT World

]]>
1389322
ศึกชิงแรงงานภาคบริการ! Starbucks สหรัฐฯ เตรียมขึ้นค่าแรง 2 รอบปีหน้า ยื้อตัวบาริสต้า https://positioningmag.com/1358897 Thu, 28 Oct 2021 04:13:46 +0000 https://positioningmag.com/?p=1358897 Starbucks ประกาศขึ้นค่าแรง 2 รอบภายในปี 2022 เพื่อสู้ศึกชิงตัวพนักงาน หลังจากตลาดแรงงานภาคบริการโดยเฉพาะในกลุ่มร้านอาหารขาดแคลนพนักงานอย่างหนัก นอกจากนี้ บริษัทจะให้ค่าแนะนำ 200 เหรียญหากพนักงานสามารถดึงเพื่อนมาสมัครงานได้

ร้านกาแฟดัง Starbucks ในสหรัฐฯ ประกาศเมื่อวันที่ 27 ต.ค. 2021 ว่า บริษัทเตรียมขึ้นค่าแรงให้บาริสต้าอย่างน้อย 2 รอบภายในปี 2022

กลุ่มพนักงานที่จะได้รับการขึ้นค่าแรง ได้แก่กลุ่มบาริสต้าที่ทำงานมาแล้วอย่างน้อย 2 ปี จะได้ขึ้นค่าแรงสูงสุด 5% ภายในปลายเดือนมกราคมนี้ และบาริสต้าที่ทำงานมาอย่างน้อย 5 ปี จะได้ขึ้นค่าแรงสูงสุด 10%

ส่วนค่าแรงทั่วไป Starbucks จะปรับขึ้นครั้งแรกภายในช่วงฤดูร้อนปีหน้า ซึ่งจะทำให้ค่าแรงขั้นต่ำของพนักงานอยู่ที่ 15 เหรียญสหรัฐต่อชั่วโมง (ประมาณ 499 บาทต่อชั่วโมง) ในบางพื้นที่อาจจะได้ขั้นต่ำถึง 23 เหรียญต่อชั่วโมง และจะทำให้ค่าแรงโดยเฉลี่ยปรับเพิ่มจาก 14 เหรียญต่อชั่วโมง เป็น 17 เหรียญต่อชั่วโมง

บริษัทเพิ่งจะขึ้นค่าแรงไปรอบหนึ่งเมื่อเดือนธันวาคม 2020 ขณะนั้น เควิน จอห์นสัน ซีอีโอ Starbucks ระบุว่าบริษัทจะมีการขึ้นค่าแรงอีก ทำให้ขั้นต่ำไปอยู่ที่ 15 เหรียญต่อชั่วโมงภายใน 3 ปี ดังนั้น การประกาศขึ้นค่าแรงปี 2022 จึงเป็นการขึ้นค่าแรงที่เร็วกว่าแผนเดิม

นอกจากขึ้นค่าแรงแล้ว บริษัทยังมีโปรแกรมให้ “โบนัสพิเศษ” 200 เหรียญสหรัฐ สำหรับการแนะนำเพื่อนเข้ามาสมัครงาน รวมถึงจะเพิ่มเจ้าหน้าที่ชักชวนสมัครงานทั่วประเทศด้วย

การประกาศครั้งนี้เกิดขึ้นท่ามกลางวิกฤตของกลุ่มธุรกิจร้านอาหารและบาร์ทั่วประเทศที่ไม่สามารถหาพนักงานได้เพียงพอ ระหว่างที่กำลังซื้อจากผู้บริโภคฟื้นตัว เชนร้านอาหารหลายแห่งไม่ว่าจะเป็น Domino’s Pizza, McDonald’s, Chipotle Mexican Grill ฯลฯ ต่างระบุเมื่อไตรมาส 3 ที่ผ่านมาว่าบริษัทกำลังประสบปัญหาขาดแคลนแรงงาน ซึ่งทำให้เร่งยอดขายไม่ได้มากเท่าที่ต้องการ

นักเศรษฐศาสตร์และผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมนี้มองว่า ปัจจัยที่ทำให้พนักงานในกลุ่มธุรกิจนี้ขาดแคลน เกิดจากความกังวลต่อโรคระบาด COVID-19 ทำให้งานที่ต้องพบปะคนจำนวนมากมีพนักงานสนใจสมัครงานน้อยลง ไม่ใช่แค่ธุรกิจร้านอาหาร ธุรกิจอื่นๆ ที่เป็นลักษณะเดียวกัน เช่น ศูนย์ดูแลเด็กเล็ก ก็ขาดแคลนแรงงานเช่นกัน หนำซ้ำงานประเภทอื่นที่ให้ค่าแรงสูงกว่า เช่น คลังสินค้าของ Amazon ก็ดึงดูดแรงงานไปแทบหมด

นอกจากหาแรงงานยากแล้ว Starbucks กำลังเผชิญความท้าทายด้านแรงงานอีกส่วนหนึ่งคือ พนักงานกลุ่มหนึ่งในเมืองบัฟฟาโล รัฐนิวยอร์ก พยายามจัดตั้งสหภาพแรงงานอยู่ขณะนี้ เพราะพนักงานต้องการรวมเป็นหนึ่งเพื่อเรียกร้องให้บริษัทแก้ปัญหาพนักงานในร้านไม่เพียงพอที่มีมาอย่างต่อเนื่อง

Source

]]>
1358897
แรงงานสหรัฐฯ ฟื้นเพิ่ม 3.7 แสนตำแหน่ง มาจากภาค ‘บริการ’ มากที่สุด https://positioningmag.com/1322223 Sat, 06 Mar 2021 13:11:00 +0000 https://positioningmag.com/?p=1322223 การฟื้นตัวของงานในอเมริกากำลังเริ่มขึ้นอย่างช้า ๆ โดยในเดือนมกราคมที่ผ่านมามีการจ้างงานเพิ่ม 166,000 ตำแหน่ง และในเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมาก็เพิ่มขึ้นอีก 379,000 ตำแหน่ง ซึ่งมากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดไว้ว่าจะเพิ่มขึ้น 210,000 ตำแหน่ง โดยภาคงานบริการฟื้นตัวสูงสุด

ในตอนแรกมีการเปิดเผยว่าเดือนมกราคม แรงงานสหรัฐฯ ฟื้นตัว 49,000 ตำแหน่ง แต่ล่าสุดได้มีการปรับตัวเลขโดยแรงงานฟื้นถึง 166,000 ตำแหน่ง ส่วนในเดือนกุมภาพันธ์ก็เพิ่มขึ้นอีก 379,000 ตำแหน่ง โดยส่วนใหญ่มาจากอุตสาหกรรมการพักผ่อนและการบริการ ซึ่งมีถึง 355,000 ตำแหน่ง

ส่วนอัตราการว่างงานในเดือนกุมภาพันธ์ลดลงสู่ระดับ 6.2% ต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าจะทรงตัวที่ระดับ 6.3% ขณะเดียวกัน ตัวเลขค่าจ้างรายชั่วโมงโดยเฉลี่ยของแรงงาน เพิ่มขึ้น 0.2% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ทั้งนี้ ตัวเลขอัตราการเข้าสู่ตลาดแรงงานของสหรัฐฯ ซึ่งแสดงสัดส่วนของกำลังแรงงานต่อจำนวนประชากรทั้งหมด ทรงตัวที่ระดับ 61.4% อย่างไรก็ตาม อเมริกายังคงมีงานลดลง 9.5 ล้านตำแหน่งเมื่อเทียบกับเดือนกุมภาพันธ์ปีที่แล้ว

(Photo by Mario Tama/Getty Images)

ในส่วนของเอเชีย มีอัตราการว่างงานลดลงเหลือ 5.1% ในเดือนกุมภาพันธ์ จากในเดือนมกราคมที่มีอัตราการว่างงาน 6.6% โดยการจ้างงานทั้งในเอเชียมีมาจากการฟื้นตัวของภาคการบริการและการพักผ่อน เช่นเดียวกับในสหรัฐฯ

อย่างไรก็ตาม ปัญหาการเหยียดผิวยังน่าเป็นห่วง โดยอัตราการว่างงานของคนงานผิวดำเพิ่มขึ้นเป็น 9.9% จาก 9.2% ในเดือนมกราคม หากเทียบกับในเดือนกุมภาพันธ์ปีที่แล้ว อัตราว่างงานของคนผิวดำอยู่ที่ 6%

Source

]]>
1322223
แรงงานสหรัฐฯ ฟื้น 4.9 หมื่นตำแหน่ง แต่ยังมีว่างงานอีกเกือบ 10 ล้านตำแหน่ง https://positioningmag.com/1318299 Sun, 07 Feb 2021 05:28:23 +0000 https://positioningmag.com/?p=1318299 การฟื้นตัวของงานในอเมริกากำลังเริ่มขึ้นอย่างช้า ๆ โดยในเดือนมกราคมที่ผ่านมามีการจ้างงาน 49,000 ตำแหน่ง แต่ประเทศก็ยังคงมีงานลดลงเกือบ 10 ล้านตำแหน่ง ตั้งแต่ก่อนเกิดการระบาดของ COVID-19

รายงานการจ้างงานในเดือนมกราคมของวันศุกร์ยังแสดงให้เห็นว่าอัตราการว่างงานลดลงเหลือ 6.3% ซึ่งเกินความคาดหมายของนักเศรษฐศาสตร์ซึ่งเป็นการลดลงครั้งแรกในรอบสองเดือน โดยการกลับมาของงานบางส่วนและอัตราการว่างงานที่ลดลงถือเป็นข่าวดีอย่างแน่นอน แต่นักวิเคราะห์ก็มองว่ามันไม่ได้ดีขนาดนั้น

“มันอาจจะดูดี แต่ก็ไม่ได้เป็นเช่นนั้น เพราะที่จริงมีการจ้างงานจากภาคเอกชนเพียง 6,000 ตำแหน่ง ขณะที่การจ้างที่เหลือมาจากงานที่เพิ่มเข้ามาในการศึกษาของรัฐและรัฐบาล” Gregory Daco หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของ Oxford Economics กล่าว

รายงานเมื่อวันศุกร์แสดงให้เห็นว่าสำนักงานสถิติแรงงานได้แก้ไขข้อมูลสำหรับเดือนพฤศจิกายน – ธันวาคม โดยพบว่ามีการจ้างงานน้อยกว่าที่คิด โดยรวมแล้ว ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ปี 2020 มีอัตราการว่างงานในสหรัฐฯ ถึง 9.9 ล้านตำแหน่ง ขณะที่ต้นเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมาสำนักงานงบประมาณรัฐสภาคาดการณ์ว่าจำนวนแรงงานที่มีงานทำในสหรัฐอเมริกาจะไม่กลับสู่ระดับก่อนการระบาดจนถึงปี 2024

การจ้างงานที่เพิ่มขึ้นในเดือนมกราคมไม่ได้กระจายไปทั่วทุกภาคส่วน โดยอุตสาหกรรมภาคการพักผ่อนและการบริการยังคงเผชิญกับการตกงานอย่างหนักในวิกฤตนี้ เนื่องจากลักษณะธุรกิจแบบต้องสัมผัสกับบุคคลทำให้มีการเลิกจ้างงาน 61,000 ตำแหน่ง ขณะที่ในช่วงสองเดือนที่ผ่านมามีการเลิกจ้างในอุสาหกรรมเหล่านี้ไปเกือบ 600,000 ตำแหน่ง นอกจากนี้ การค้าปลีกการดูแลสุขภาพและการขนส่งและคลังสินค้าก็มีงานหายไปเช่นกัน

Source

]]>
1318299