โจ ไบเดน – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Tue, 07 Jun 2022 05:51:49 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ‘ไบเดน’ เว้นภาษีนำเข้าแผงโซลาร์เซลล์จาก ‘ไทย’ 2 ปีหนุนผลิตพลังงานสะอาด https://positioningmag.com/1388001 Tue, 07 Jun 2022 05:14:03 +0000 https://positioningmag.com/?p=1388001 ประธานาธิบดีโจ ไบเดน แห่งสหรัฐฯ ประกาศ ระงับการเก็บภาษีนำเข้าแผงโซลาร์เซลล์จาก 4 ประเทศ เป็นเวลา 2 ปี เพื่อมุ่งเน้นเทคโนโลยีพลังงานสะอาดในประเทศ

การเคลื่อนไหวนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อเพิ่มกำลังการผลิตทดแทนและต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งมีความสำคัญสำหรับนโยบายของประธานาธิบดีโจ ไบเดน ที่มีความทะเยอทะยานที่จะประสบความสำเร็จในการใช้งานพลังงานสะอาด

เมื่อเทียบกับตอนที่ไบเดนเข้ารับตำแหน่ง สหรัฐอเมริกามีกำลังการผลิตพลังงานแสงอาทิตย์ในประเทศเพิ่มขึ้น 3 เท่า จาก 7.5 กิกะวัตต์เป็น 22.5 กิกะวัตต์ ซึ่งเพียงพอสำหรับบ้านเรือน 3.3 ล้านหลังที่จะเปลี่ยนมาใช้พลังงานแสงอาทิตย์ในแต่ละปี

“เทคโนโลยีพลังงานสะอาดในปัจจุบันเป็นส่วนสำคัญ เราต้องควบคุมเพื่อลดต้นทุนด้านพลังงานสำหรับครอบครัว ลดความเสี่ยงต่อโครงข่ายไฟฟ้าของเรา และจัดการกับวิกฤตเร่งด่วนของสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง”

ทั้งนี้ ภาษีที่ละเว้นใน 4 ประเทศประกอบด้วย กัมพูชา มาเลเซีย ไทย และเวียดนาม ในฐานะสะพานเชื่อมต่อเพื่อให้แน่ใจว่าสหรัฐฯ สามารถเข้าถึงชิ้นส่วนที่เพียงพอต่อความต้องการไฟฟ้าในขณะที่กำลังการผลิตภายในประเทศเพิ่มขึ้น ส่วนประเทศ จีน นั้นถูกกีดกัน เนื่องจากกระทรวงพาณิชย์ตรวจสอบว่าบริษัทจีนบางแห่งกำลังหลีกเลี่ยงภาษีศุลกากรของสหรัฐฯ โดยการประกอบชิ้นส่วนใน 4 ประเทศหรือไม่

นอกจากนี้ ปธน.ไบเดนยังได้ประกาศใช้ กฎหมายการผลิตเพื่อปกป้องประเทศ (PDA) ในการสนับสนุนให้ภาคเอกชนของสหรัฐทำการผลิตแผงโซลาร์เซลล์และพัฒนาพลังงานสะอาด โดยได้รับเงินกู้และเงินให้เปล่าจากทางรัฐบาล โดยที่ผ่านมา ประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ ก็ใช้อำนาจเดียวกันในช่วงการระบาดใหญ่ของโควิด เพื่อเพิ่มการผลิตยาและอุปกรณ์ เช่นกัน

แม้ไบเดนประสบความสำเร็จในการให้สภาคองเกรสผ่านกฎหมายโครงสร้างพื้นฐานของพรรคซึ่งเป็นเสาหลักในนโยบายสภาพภูมิอากาศของเขา แต่ปัจจุบันเขาได้รับการวิพากษ์วิจารณ์จากกลุ่มสิ่งแวดล้อมสำหรับแผนการที่จะกลับมาดำเนินการขุดเจาะน้ำมันและก๊าซในที่สาธารณะ โดยฝ่าฝืนคำมั่นสัญญาในการหาเสียง

Source

]]>
1388001
‘โจ ไบเดน’ อัดฉีด 3 พันล้านดอลลาร์ เป็นเงินทุนหนุน ‘ผลิตแบตเตอรี่’ รถยนต์ไฟฟ้า https://positioningmag.com/1383823 Wed, 04 May 2022 04:06:47 +0000 https://positioningmag.com/?p=1383823 ย้อนไปช่วงเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา โจ ไบเดน ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ได้ปักเป้าที่จะเป็น ผู้นำ ในเทคโนโลยีรถยนต์ไฟฟ้า พร้อมประกาศเป้าหมายภายในปี 2030 ผลักดันให้รถยนต์ใหม่ในสหรัฐฯ 50% เป็นยานยนต์ไฟฟ้า ล่าสุด ไบเดนก็ได้อัดฉีดงบกว่า 3 พันล้านดอลลาร์ หรือกว่า 1 แสนล้านบาท เพื่อเป็นเงินทุนในการผลิตแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้า

สำหรับกองทุนดังกล่าวจะได้รับการจัดสรรโดย กระทรวงพลังงาน จากร่างกฎหมายโครงสร้างพื้นฐานมูลค่า 1 ล้านล้านดอลลาร์ที่ประธานาธิบดีโจ ไบเดนลงนามเมื่อปีที่แล้ว โดยงบดังกล่าวจะใช้เพื่อแปรรูปแร่ธาตุเพื่อใช้ในแบตเตอรี่ความจุสูง และการรีไซเคิลแบตเตอรี่ เป็นต้น

กองทุนดังกล่าวถือเป็นหนึ่งในแผนของไบเดน ที่ต้องการให้ภายในปี 2030 ยอดขายรถยนต์ 50% ในสหรัฐฯ เป็นรถยนต์ไฟฟ้า และมีเป้าหมายที่จะส่งเสริมความแข็งแกร่งให้กับสหภาพแรงงานในสหรัฐฯ รวมถึงขัดขวางการแข่งขันของจีนในตลาดที่เติบโตอย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ ยังช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เพื่อช่วยลดสภาวะโลกร้อน

“ไบเดน” ตั้งเป้าปี 2030 รถใหม่ในสหรัฐฯ 50% ต้องเป็น “รถยนต์ไฟฟ้า”

“ในขณะที่เราเผชิญกับการปรับขึ้นราคาน้ำมันและก๊าซของรัสเซีย สิ่งสำคัญที่ต้องทราบด้วยว่ารถยนต์ไฟฟ้าจะมีราคาถูกกว่าการเดินทางระยะไกลสำหรับครอบครัวชาวอเมริกัน” Mitch Landrieu ผู้ประสานงานโครงสร้างพื้นฐานของทำเนียบขาว กล่าว

ด้าน Ford ได้ออกมายินดีกับประกาศ โดยระบุว่า “การลงทุนนี้จะช่วยเสริมความแข็งแกร่งให้กับซัพพลายเชนด้านแบตเตอรี่ในประเทศของเรา สร้างงาน และช่วยให้ผู้ผลิตในสหรัฐฯ แข่งขันกันในเวทีโลก เรามีโอกาสเป็นเจ้าของเทคโนโลยีนี้ในสหรัฐฯ และการลงทุนอย่างที่ประกาศในวันนี้จะช่วยให้เราไปถึงที่นั่น” สตีเวน โครลีย์ ที่ปรึกษาทั่วไปของฟอร์ด กล่าว

อย่างไรก็ตาม เงินทุนดังกล่าวจะไม่ไปนำสู่การพัฒนาเหมืองในประเทศแห่งใหม่เพื่อผลิตลิเธียม นิกเกิล โคบอลต์ และแร่ธาตุที่มีความต้องการสูงอื่น ๆ ที่จำเป็นในการผลิตแบตเตอรี่เหล่านั้น เนื่องจากโครงการบางโครงการเผชิญกับการคัดค้านในท้องถิ่นและเชื่อมโยงกับการทบทวนด้านสิ่งแวดล้อมและกฎหมายของไบเดน

Source

]]>
1383823
รัฐบาลไบเดน มั่นใจ ‘ผู้ผลิตน้ำมัน’ ในสหรัฐฯ จะเพิ่มกำลังผลิตขึ้นอย่างมาก ภายในสิ้นปีนี้ https://positioningmag.com/1378910 Wed, 23 Mar 2022 13:54:55 +0000 https://positioningmag.com/?p=1378910 ทีมรัฐบาลของประธานาธิบดีโจ ไบเดนเชื่อมั่นว่า บรรดาผู้ผลิตน้ำมันในสหรัฐฯ จะมีการเพิ่มปริมาณน้ำมันขึ้นอย่างมากภายในสิ้นปีนี้ หลังโดนเรียกร้องให้เพิ่มกำลังผลิตอย่างรวดเร็ว รับผลกระทบความขัดเเย้งรัสเซียยูเครน

Jennifer Granholm รัฐมนตรีกระทรวงพลังงานสหรัฐฯ กล่าวงาน CERAWeek ว่า บริษัทน้ำมันและพลังงานใดๆ ที่มีศักยภาพในการเพิ่มอุปทานน้ำมัน ณ ตอนนี้ ก็ควรดำเนินการโดยเร็ว หลังประธานาธิบดีไบเดนออกคำสั่งห้ามสหรัฐฯ นำเข้าน้ำมันจากรัสเซีย

รัสเซีย เป็นหนึ่งในผู้ผลิตปิโตรเลียมชั้นนำของโลก โดยสหรัฐฯ นำเข้าเชื้อเพลิงเหลวจากรัสเซีย คิดเป็นสัดส่วนกว่า 8% ของการนำเข้าเชื้อเพลิงเหลวทั้งหมด โดยในปีที่ผ่านมา สหรัฐฯ นำเข้าน้ำมันดิบและเชื้อเพลิงกลั่นจากรัสเซียประมาณ 672,000 บาร์เรลต่อวัน

ฝ่ายบริหารมีความมั่นใจว่า จะมีอุปทานน้ำมันเพิ่มขึ้นอย่างมากภายในสิ้นปีนี้ และเราคาดว่าพวกเขาจะดำเนินการได้ตามความคาดหวัง

อย่างไรก็ตาม เธอย้ำว่าคุณไม่สามารถแค่กดสวิตช์แล้วเปิดเครื่องได้ในชั่วข้ามคืนเพราะการผลิตน้ำมันในปริมาณที่สูงขึ้นอาจต้องใช้เวลา

แม้ว่าจำนวนแท่นขุดเจาะน้ำมันของสหรัฐฯ จะมีมากขึ้น แต่การผลิตน้ำมันก็ยังห่างไกลจากระดับก่อนเกิดโรคระบาดการผลิตน้ำมันดิบของสหรัฐฯ ลดลงต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 ที่ 11.2 ล้านบาร์เรลต่อวันในปี 2021 จากระดับสูงเป็นประวัติการณ์ที่ 12.3 ล้านบาร์เรลต่อวันในปี 2019

โดยคาดว่า การผลิตน้ำมันดิบจะเริ่มฟื้นตัวเป็น 12 ล้านบาร์เรลต่อวันได้ในปีนี้ และขยับขึ้นเป็น 13 ล้านบาร์เรลต่อวันได้ในปี 2023 ตามรายงานของสำนักงานข้อมูลพลังงาน

อย่างไรก็ตาม ยังคงต้องจับตามองปัจจัยต่างๆ โดยบริษัท น้ำมันรายใหญ่อย่าง Chesapeake Energy และ Occidental Petroleum ระบุว่าตอนนี้กำลังเผชิญปัญหาการขาดแคลนอุปกรณ์และแรงงานซึ่งอาจจะเป็นข้อจำกัดในการเติบโตระยะสั้นได้

]]>
1378910
‘OPEC+’ ยังมีแนวโน้ม “ไม่เพิ่มกำลังผลิตน้ำมัน” แม้ได้รับแรงกดดันจากนานาประเทศก็ตาม https://positioningmag.com/1360440 Thu, 04 Nov 2021 09:47:57 +0000 https://positioningmag.com/?p=1360440 OPEC+ ยังคงตัดสินใจคงกำลังการผลิตเอาไว้ดังเดิม ทั้งที่ราคาน้ำมันปรับตัวขึ้นแทบทุกวันราคาจนแตะระดับสูงสุดนับตั้งแต่ปี 2014 รวมถึงแม้จะมีแรงกดดันทางการทูตก็ตาม และนั่นอาจหมายถึงราคาพลังงานที่สูงอย่างต่อเนื่องจนถึงสิ้นปีนี้และอาจลากยาวถึงปี 2022

ประธานาธิบดี โจ ไบเดน กล่าวโทษ OPEC+ ที่ไม่เต็มใจที่จะผลิตน้ำมันมากขึ้น เนื่องจากราคาพลังงานที่พุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็วในสหรัฐอเมริกาและทั่วโลก ขณะที่ญี่ปุ่นและอินเดียก็ได้เข้าร่วมกับสหรัฐฯ ในการพยายามกดดันให้กลุ่มโอเปกเพิ่มขีดจำกัดการผลิตและช่วยลดราคาพลังงาน

“ความคิดที่ว่ารัสเซียและซาอุดีอาระเบียและผู้ผลิตรายใหญ่อื่น ๆ จะไม่สูบน้ำมันมากขึ้น เป็นเรื่องไม่ถูกต้อง” ไบเดน กล่าวเมื่อวันอาทิตย์ที่การประชุม G-20 ที่กรุงโรม อิตาลี

ด้าน Edward Bell ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายเศรษฐศาสตร์การตลาดของ Emirates NBD ในดูไบ กล่าวว่า “สำหรับตอนนี้ เรายังคงคาดหวังว่าสมาชิก OPEC+ จะยังคงสนับสนุนให้ตลาดน้ำมันตึงตัว โดยใช้ประโยชน์จากราคาที่สูงขึ้นเพื่อปรับปรุงบัญชีทางการคลัง”

อย่างไรก็ตาม จนถึงปัจจุบัน นโยบายของกลุ่ม OPEC+ ตั้งแต่เดือนสิงหาคมคือจะคงการผลิตน้ำมันที่ 400,000 บาร์เรลต่อวันในแต่ละเดือน โดยประเทศคูเวต รวมถึงสมาชิกโอเปกอย่าง อิรัก ไนจีเรีย และแอลจีเรีย ได้ออกมาพูดในทำนองเดียวกันว่า องค์กรควรยึดมั่นในแผนปัจจุบัน เนื่องจากตลาดน้ำมันมี ‘ความสมดุล’

อย่างไรก็ตาม ในฝั่งของผู้บริโภคไม่ได้รู้สึกว่ามัน สมดุลพราะราคาน้ำมันดิบเบรนท์แตะระดับมากกว่า 86 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลในช่วงปลายเดือนตุลาคม ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 3 ปี และเพิ่มขึ้นมากกว่า 60% ในปีนี้ แม้ว่าราคาร่วงลงในวันก่อนการประชุม OPEC มาอยู่ที่ 81.86 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลก็ตาม

West Texas Intermediate เพิ่มขึ้นมากกว่า 70% ในปีนี้ และแตะระดับสูงสุดในรอบ 7 ปี โดยล่าสุดแตะระดับ 85 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล แม้ว่าจะซื้อขายที่ 80.44 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ส่วนน้ำมันเบนซินของอเมริกาก็อยู่ที่ระดับสูงสุดในรอบ 7 ปีเช่นกัน

ด้าน เฮอร์มาน หวาง นักเขียนอาวุโสด้านน้ำมันของ S&P Platts มองว่า แม้จะมีแรงกดดันทั้งหมดจากสหรัฐฯ อินเดีย และญี่ปุ่นให้ปล่อยน้ำมันดิบเพิ่ม แต่ก็มีรัฐมนตรีหลายคนกล่าวถึงอัตรา COVID-19 และความต้องการใช้น้ำมันที่ลดลงตามฤดูกาล รวมถึงแนวทางการลดใช้พลังงาน

ดังนั้น ราคาที่พุ่งสูงขึ้นอาจเป็นเพียงชั่วคราว แต่จนกว่าตลาดจะเย็นลง OPEC+ ก็จะเจอการร้องเรียนจากลูกค้ารายสำคัญอีกมาก เนื่องจากผู้นำเข้าน้ำมันผิดหวังที่ไม่สามารถบังคับโอเปกได้มากนัก นอกจากนี้ยังมองว่า การที่สหรัฐฯ เรียกร้องให้ประเทศในกลุ่มโอเปกสูบน้ำมันมากขึ้น ก็ขัดแย้งกับเป้าหมายที่ตั้งใจจะเป็นผู้นำในนโยบายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทั่วโลก

Source

]]>
1360440
‘ไบเดน’ ผลักดันให้ผู้ป่วย ‘long COVID’ ได้รับการช่วยเหลือ-มีสิทธิ คุ้มครองตามกฎหมายผู้พิการ https://positioningmag.com/1344344 Wed, 28 Jul 2021 07:19:46 +0000 https://positioningmag.com/?p=1344344 ประธานาธิบดีโจ ไบเดน เเห่งสหรัฐฯ ผลักดันให้ผู้ป่วย ‘long COVID’ ที่หายจากการติดเชื้อเเล้ว เเต่ยังคงมีอาการข้างเคียงเรื้อรัง ที่อาจเข้าข่ายทุพพลภาพจะต้องได้รับสิทธิ สวัสดิการ การช่วยเหลือคุ้มครองตามกฎหมาย

ในขณะที่ผู้ติดเชื้อโควิด-19 ส่วนใหญ่ที่มีอาการไม่รุนเเรงมากนัก จะฟื้นตัวได้ภายในไม่กี่สัปดาห์ แต่บางคนกลับมีอาการเรื้อรังในระยะยาว เเตกต่างกันไป ตั้งแต่ปวดข้อ เป็นไข้ เหนื่อยล้า มองเห็นภาพซ้อน ไปจนถึงผมร่วง

ชาวอเมริกันจำนวนมาก ดูเหมือนจะหายจากไวรัสโควิดเเล้ว เเต่ก็ยังคงต้องเผชิญกับความท้าทายที่รออยู่ข้างหน้า เช่น ปัญหาการหายใจ ภาวะสมองล้า (Brain Fog) อาการปวดเรื้อรัง หรือความเหนื่อยล้าต่างๆ บางครั้งอาจเพิ่มระดับความรุนแรงจนเข้าข่ายความพิการได้ไบเดนระบุ

ทำเนียบขาว กำลังประสานหน่วยงานต่างๆ เพื่อดูเเลชาวอเมริกันที่มีอาการ ‘Long COVID’ ที่เข้าข่ายทุพพลภาพ ให้ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย สามารถเข้าถึงสิทธิและทรัพยากรภายใต้กฎหมายคนพิการ เช่น การอำนวยความสะดวกและบริการในที่ทำงานและโรงเรียน ระบบบริการสุขภาพให้พวกเขาสามารถใช้ชีวิตได้อย่างมีศักดิ์ศรี

ทางกระทรวงสาธารณสุขและบริการมนุษย์ กระทรวงยุติธรรม กระทรวงศึกษาธิการและกระทรวงแรงงาน ได้ออกแนวทางปฏิบัติเพื่อให้ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโควิดในระยะยาวได้รับความช่วยเหลือต่างๆ จากรัฐบาลกลาง

เเต่แนวทางปฏิบัติดังกล่าว ระบุชัดเจนว่า  ‘Long COVID ไม่ถือเป็นความพิการโดยอัตโนมัติโดยจะต้องมีการประเมินเป็นรายบุคคลอย่างละเอียดว่า ผลกระทบหรืออาการใดๆ ก็ตามจากการป่วยโควิดในระยะยาวนั้น ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันหรือไม่ อย่างไร

โดยผู้ป่วย ‘Long COVID’ อาจได้รับสิทธิในการปรับสภาพแวดล้อมเพิ่มเติม ‘ตามสมควร’ ในที่ทำงานหรือที่โรงเรียน เเละสามารถเข้าถึงทรัพยากรของชุมชนในด้านการรักษาพยาบาลและที่อยู่อาศัยได้

อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันการรักษาผู้ป่วย ‘long COVID’ ยังเป็นไปอย่างจำกัด ซึ่งทางองค์การอนามัยโลก (WHO) และศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคของสหรัฐฯ (CDC) กำลังอยู่ระหว่างการศึกษา ทำความเข้าใจระยะการฟื้นตัวโรคโควิด-19 ให้ดีขึ้น

 

ที่มา : NBC , Reuters 

]]>
1344344
กลุ่ม G7 ตั้งเป้าบริจาค ‘วัคซีนโควิด’ ช่วยประเทศยากจน ผ่าน COVAX อย่างน้อย 1,000 ล้านโดส https://positioningmag.com/1336478 Fri, 11 Jun 2021 04:50:46 +0000 https://positioningmag.com/?p=1336478 กลุ่มประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำของโลก หรือ G7 ตกลงบริจาควัคซีนป้องกันโควิด-19 ให้กับประเทศรายได้ต่ำปานกลาง เบื้องต้นอย่างน้อย 1 พันล้านโดส ผ่านโครงการ COVAX ขององค์การอนามัยโลก เร่งกระจายวัคซีนให้เสร็จสิ้นภายในปีหน้า

บอริส จอห์นสัน นายกรัฐมนตรีอังกฤษ เปิดเผยว่า สหราชอาณาจักรจะบริจาควัคซีนโควิด-19 อีก 100 ล้านโดส เพื่อสมทบกับเเผนการของสหรัฐฯ ที่เพิ่งประกาศว่าจะเเจกจ่ายวัคซีน Pfizer-BioNTech จำนวน 500 ล้านโดส ไปเมื่อเร็วๆ นี้

เอ็มมานูเอล มาครงประธานาธิบดีฝรั่งเศส ก็เตรียมจัดส่งวัคซีนช่วยเหลืออีก 30 ล้านโดส ภายในสิ้นปี 2021 นี้เช่นกัน

โดยประธานาธิบดีโจ ไบเดน เเห่งสหรัฐฯ พร้อมกับอัลเบิร์ต บูร์ลาซีอีโอของบริษัท Pfizer เเถลงร่วมกันเพื่อยืนยันว่า รัฐบาลจะเป็นผู้ซื้อวัคซีนของ Pfizer-BioNTech จำนวน 500 ล้านโดส ให้เเก่โครงการ COVAX โดยไม่มีข้อผูกมัดใดๆ เพื่อช่วยเหลือประเทศยากจนอย่างน้อย 92 ประเทศ

สำหรับเเผนการจัดส่งจะทยอยส่ง 200 ล้านโดสแรกภายในปีนี้ ขณะที่เหลืออีก 300 ล้านโดส คาดว่าจะจัดส่งให้แล้วเสร็จภายในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2022 โดยวัคซีนของ Pfizer ที่จะขายให้สหรัฐฯ ล็อตใหญ่นี้ เป็นส่วนหนึ่งใน
เเผนการจัดสรรวัคซีน 2 พันล้านโดสให้กับกลุ่มประเทศรายได้ต่ำ-ปานกลาง ที่บริษัทเพิ่งประกาศเมื่อไม่นานมานี้

ก่อนหน้านี้ ทำเนียบขาว เปิดเผยเอกสาร เเผนการเเบ่งปันวัคซีนโควิด-19 ทั้งหมด 80 ล้านโดส ที่ทางรัฐบาลสหรัฐฯ เคยให้คำมั่นไว้ โดยตั้งเป้าจะแจกจ่ายให้แล้วเสร็จเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้เเบ่งเป็นเฟสเเเรก 25 ล้านโดส ในจำนวนนี้ วัคซีนกว่า 75% จะถูกจัดสรรให้กับ COVAX (มีลิสต์รายชื่อประเทศไทยด้วย เเม้ไม่ได้เข้าร่วมโครงการ) ขณะที่อีก 25% จะเตรียมสำรองไว้ให้ประเทศที่เกิดวิกฤตการแพร่ระบาดหนัก จำเป็นต้องรับความช่วยเหลือในทันที และประเทศที่ต้องการความช่วยเหลือจากสหรัฐฯ โดยตรง (คลิกอ่านต่อ : ที่นี่)

อย่างไรก็ตาม มีการวิพากษ์วิจารณ์ถึงแผนบริจาควัคซีนดังกล่าวว่ามีจำนวนน้อยเกินไป โดยองค์กรออกซ์แฟม ใช้คำเปรียบเปรยเหมือนน้ำหยดหนึ่งในมหาสมุทรเพราะยังมีประชากรทั่วโลกเกือบ 4 พันล้านคนที่ต้องพึ่งพาโครงการ COVAX และปัจจุบันวัคซีนป้องกันโควิด-19 ทุกยี่ห้อต้องฉีดให้ครบ 2 โดส

ทั้งนี้ ทวีปแอฟริกายังเป็นโซนที่มีความคืบหน้าด้านการฉีดวัคซีนน้อยที่สุด ประมาณ 1.7% ของวัคซีนที่มีการฉีดทั่วโลกไปว่า  2.2 พันล้านโดส

 

ที่มา : Reuters , AFP , AP 

 

]]>
1336478
‘Facebook’ ประกาศแบน ‘บัญชีทรัมป์’ ยาวถึงมกราคม 2023 https://positioningmag.com/1335644 Mon, 07 Jun 2021 07:19:34 +0000 https://positioningmag.com/?p=1335644 Facebook ประกาศว่าจะแบนบัญชีของอดีตประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ ยาวจนถึง 7 มกราคม 2023 เป็นอย่างน้อย หรือเป็นเวลาถึง 2 ปีนับจากที่บัญชีได้ถูกระงับในช่วงเดือนมกราคมที่ผ่านมา ก่อนจะประเมินสถานการณ์อีกครั้งเพื่อดูว่าควรได้รับอนุญาตให้กลับมาหรือไม่

ย้อนไปเมื่อเดือนวันที่ 7 มกราคมได้เกิดเหตุจลาจลที่อาคารรัฐสภาในกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ทำให้ Facebook ต้องออกมาระงับการใช้งานบัญชีของ ‘โดนัลด์ ทรัมป์’ ที่มีผู้ติดตามกว่า 10 ล้านคนเป็นการชั่วคราว เนื่องจากทรัมป์ได้ส่งข้อความให้ผู้ประท้วงออกมาต่อต้านการลงมติรับรองชัยชนะของ ‘โจ ไบเดน’ ในสภาคองเกรส

‘Facebook’ ประกาศ ‘แบน’ บัญชีทรัมป์ จนกว่าไบเดนจะรับตำแหน่ง ป้องกันการปลุกปั่น

แต่ดูเหมือนคำว่าชั่วคราวจะนานกว่าที่คิด เพราะเพื่อป้องกันช่วงการเลือกตั้งกลางเทอมปี 2022 โดยจะแบนบัญชีของทรัมป์ยาว ๆ จนถึงมกราคมปี 2023 อย่างไรก็ตาม จากระยะเวลาดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงความเป็นไปได้ที่การแบนอาจถูกยกเลิกก่อนการเลือกตั้งประธานาธิบดีปี 2024

Nick Clegg รองประธานฝ่ายกิจการระดับโลกของบริษัท กล่าวว่า เมื่อครบสองปี Facebook จะมองหาผู้เชี่ยวชาญเพื่อประเมินว่าความเสี่ยงต่อความปลอดภัยสาธารณะของทรัมป์ว่าลดลงหรือไม่ เราจะประเมินปัจจัยภายนอกรวมถึงกรณีต่าง ๆ ทั้งความรุนแรง ข้อจำกัดในการชุมนุมโดยสงบ และสัญญาณบ่งชี้ความไม่สงบอื่น ๆ หากเราพิจารณาว่ายังคงมีความเสี่ยงร้ายแรงต่อความปลอดภัยสาธารณะ เราจะขยายข้อจำกัดดังกล่าวเป็นระยะเวลาหนึ่งและประเมินใหม่ต่อไปจนกว่าความเสี่ยงนั้นจะลดลง

Computer screen showing the website for social networking site, Facebook (Photo by In Pictures Ltd./Corbis via Getty Images)

Clegg ยังประกาศกฎใหม่สำหรับ “โปรโตคอลการบังคับใช้ที่จะใช้ในกรณีพิเศษเช่นนี้” เนื่องจากที่ผ่านมา นักการเมืองมักได้รับการผ่อนปรนจาก Facebook เนื่องจากบริษัทดำเนินการบนสมมติฐานว่าโพสต์ของพวกเขามีคุณค่าในการบอกใบ้เรื่องข่าวและเป็นส่วนหนึ่งของการอภิปรายสาธารณะ ด้วยเหตุนี้ บริษัทจึงไม่ได้ใช้กฎเกณฑ์ปกติในการขัดกรองโพสต์ แต่ตอนนี้ Facebook จะไม่ถือว่าข่าวสำหรับโพสต์ของผู้นำโลกอีกต่อไป

“เมื่อเราประเมินเนื้อหาสำหรับความเหมาะสมในการเป็นข่าว เราจะไม่ปฏิบัติต่อเนื้อหาที่โพสต์โดยนักการเมืองต่างไปจากเนื้อหาที่โพสต์โดยบุคคลอื่น และจากนี้นักการเมืองหรือบุคคลสาธารณะที่ละเมิดกฎด้วยการปลุกปั่นให้เกิดความไม่สงบหรือความรุนแรงนั้นจะถูกระงับการใช้งานบัญชีเป็นเวลา 1 เดือน หรือมากกว่านั้นในกรณีร้ายแรง สูงสุดถึง 2 ปี” Clegg เขียนไว้ในโพสต์

บริษัทยังกล่าวอีกว่ามีแผนจะพัฒนาคู่มือสำหรับวิกฤตการณ์พิเศษที่จะเปิดใช้งานในยามฉุกเฉินหรือในสถานการณ์ใหม่ๆ ซึ่งนโยบายที่มีอยู่ไม่เพียงพอที่จะป้องกันอันตรายที่จะเกิดขึ้น หรือที่เรียกว่า Crisis Policy Protocol จะช่วยให้บริษัทตัดสินใจได้ว่าเมื่อใดควรใช้นโยบายเฉพาะบริบทที่มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น

Source

]]>
1335644
‘ไบเดน’ สานต่อ ‘ทรัมป์’ สั่งแบนบริษัทจีน 59 แห่ง เหตุปัญหาความมั่นคง https://positioningmag.com/1335243 Fri, 04 Jun 2021 04:21:36 +0000 https://positioningmag.com/?p=1335243 ประธานาธิบดีโจ ไบเดน ลงนามในคำสั่งบริหารเมื่อวันที่ 4 มิ.ย. ห้ามชาวอเมริกันลงทุนในบริษัทจีน 59 ราย ซึ่งเชื่อว่าเชื่อมโยงกับกองทัพจีน ซึ่งเป็นการขยายคำสั่งบริหาร โดนัลด์ ทรัมป์ในวันที่ 31 พ.ย. 2020

คำสั่งของไบเดนขยายขอบเขตการแบนครอบคลุมบริษัท 59 ราย ซึ่งห้ามไม่ให้ซื้อหรือขายหลักทรัพย์ที่ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ในบริษัทเป้าหมาย โดยอ้างถึงภัยคุกคามจากเทคโนโลยีการเฝ้าระวังของจีน และเพื่อป้องกันไม่ให้การลงทุนของสหรัฐฯ สนับสนุนกลุ่มอุตสาหกรรมการทหารของจีน ตลอดจนโครงการวิจัยและพัฒนาด้านการทหาร ข่าวกรอง และความปลอดภัย โดยคำสั่งดังกล่าวจะมีผลในวันที่ 2 สิงหาคมนี้

โดยบริษัทที่โดนแบนในครั้งนี้มีบริษัทโทรคมนาคมรายใหญ่ที่สุดของประเทศหลายราย เช่น Aviation Industry Corp of China (AVIC), China Mobile Communications Group, China National Offshore Oil Corp (CNOOC), Hangzhou Hikvision Digital Technology Co Ltd และ Semiconductor Manufacturing International Corp (SMIC) ขณะที่ผู้ผลิตสมาร์ทโฟนอย่าง Huawei ยังคงอยู่ในรายการ

“เราพบว่าการใช้เทคโนโลยีการสอดแนมของจีนนอก PRC และการพัฒนาหรือการใช้เทคโนโลยีการสอดแนมของจีนเพื่ออำนวยความสะดวกในการปราบปรามหรือการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรง ซึ่งถือเป็นภัยคุกคามที่ผิดปกติและไม่ธรรมดา” ไบเดนกล่าว

ปัจจุบัน ไบเดนกำลังทบทวนนโยบายของสหรัฐฯ ในหลายแง่มุมต่อจีน และฝ่ายบริหารของเขาได้ขยายเส้นตายสำหรับการดำเนินการตามคำสั่งของอดีตประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ในขณะกำหนดกรอบนโยบายใหม่ ขณะที่เจ้าหน้าที่อาวุโสของสหรัฐฯ ได้ออกมาเปิดเผยว่า ในเดือนต่อ ๆ ไป สหรัฐฯ จะเพิ่มบริษัทอื่น ๆ ในข้อจำกัดของคำสั่งผู้บริหารชุดใหม่

ทั้งนี้ การเคลื่อนไหวนี้เป็นส่วนหนึ่งของขั้นตอนที่กว้างขึ้นของไบเดนในการต่อต้านจีน รวมถึงการเสริมกำลังพันธมิตรของสหรัฐฯ และการแสวงหาการลงทุนภายในประเทศจำนวนมากเพื่อสนับสนุนการแข่งขันทางเศรษฐกิจของอเมริกา ท่ามกลางความสัมพันธ์ที่แย่ลงระหว่างสองประเทศเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในโลก

CNN, Nikkei Asia

]]>
1335243
สหรัฐฯ หนุนแผน “ละเว้นสิทธิบัตรวัคซีน” เปิดทางบริษัทยาอื่นๆ ผลิตได้ ช่วยชาติยากจน https://positioningmag.com/1330803 Fri, 07 May 2021 07:18:10 +0000 https://positioningmag.com/?p=1330803 รัฐบาลของประธานาธิบดี โจ ไบเดน ประกาศสนับสนุนละเว้นสิทธิบัตรคุ้มครองวัคซีน COVID-19 มอบความหวังแก่เหล่าชาติยากจนที่กำลังดิ้นรนเข้าถึงวัคซีน หลังจากก่อนหน้านี้บรรดาประเทศร่ำรวยถูกวิพากษ์วิจารณ์หนักต่อกรณีกักตุนวัคซีน

อินเดีย ชาติที่พบผู้เสียชีวิตรายวันจาก COVID-19 ทุบสถิติสูงสุดรอบใหม่ ท่ามกลางความกังวลว่าจุดพีคสุดยังมาไม่ถึง เป็นแกนนำการต่อสู้ภายในองค์การการค้าโลก (WTO) เปิดทางให้มีบริษัทยามากขึ้นที่สามารถผลิตวัคซีน ความเคลื่อนไหวที่ถูกบริษัทยายักษ์ใหญ่คัดค้าน

แคทเธอรีน ไท่ ผู้แทนการค้าสหรัฐฯ บอกว่า แม้สิทธิทรัพย์สินทางปัญญาของภาคธุรกิจเป็นสิ่งสำคัญ แต่วอชิงตัน “สนับสนุนการละเว้นสิทธิบัตรคุ้มครองวัคซีน วัคซีน COVID-19” เพื่อจบโรคระบาดใหญ่ “นี่คือวิกฤตสาธารณสุขโลก และกรณีแวดล้อมพิเศษของโรคระบาดใหญ่ COVID-19 จำเป็นต้องใช้มาตรการพิเศษเช่นกัน”

ไบเดนตกอยู่ภายใต้แรงกดดันอย่างหนักหน่วงให้ละเว้นสิทธิบัตรคุ้มครองบรรดาผู้ผลิตวัคซีน โดยเฉพาะท่ามกลางเสียงวิพากษ์วิจารณ์ว่าบรรดาประเทศร่ำรวยกำลังกักตุนวัคซีน

Photo : Shutterstock

เทดรอส แอดฮานอม เกเบรเยซุส ผู้อำนวยการองค์การอนามัยโลก เรียกความเคลื่อนไหวของสหรัฐฯ ว่าเป็นการตัดสินใจครั้งประวัติศาสตร์ และเป็นช่วงเวลาสำคัญในการต่อสู้กับไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่

อย่างไรก็ตาม ไท่แสดงความคิดเห็นด้วยความระมัดระวัง โดยบอกว่าการเจรจาคงจะต้องใช้เวลาพอสมควร ตามลักษณะพื้นฐานความเห็นที่ต้องเป็นเอกฉันท์ขององค์การการค้าโลก “เป้าหมายคือเพื่อให้ประชาชนมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เข้าถึงวัคซีนที่มีความปลอดภัยและมีประสิทธิภาพให้ได้มากที่สุด” เธอกล่าว

เป็นเวลานานหลายเดือนแล้วที่องค์การการค้าโลกเผชิญเสียงเรียกร้องให้ละเว้นคุ้มครองสิทธิทางปัญญาวัคซีน COVID-19 ในข้อตกลงทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวข้องกับการค้า หรือที่เรีกว่าข้อตกลง TRIPS

อย่างไรก็ตาม แนวคิดดังกล่าวถูกคัดค้านอย่างดุเดือดจากบรรดาผู้ผลิตยายักษ์ใหญ่ และเหล่าประเทศที่ตั้งของพวกเขา ซึ่งยืนกรานว่าสิทธิบัตรไม่ใช่ตัวกีดขวางหลักในการยกระดับกำลังผลิต และเตือนว่าความเคลื่อนไหวครั้งนี้อาจกระทบต่อนวัตกรรมใหม่ๆ

Photo : Shutterstock

“การละเว้นมันง่าย แต่มันเป็นคำตอบที่ผิดในปัญหาที่ซับซ้อน” สมาพันธ์ผู้ผลิตเภสัชภัณฑ์นานาชาติ และสมาคมกลุ่มล็อบบี้ระบุ พร้อมให้คำจำกัดความการเคลื่อนไหวของสหรัฐฯ ว่า “น่าผิดหวัง”

วิกฤตการแพร่ระบาดของอินเดียถูกซ้ำเติมบางส่วนจากภาวะขาดแคลนวัคซีน และวิกฤตการณ์ดังกล่าวยังซ้ำเติมปัญหาขาดแคลนวัคซีน COVID-19 ทั่วโลก เนื่องจากอีกด้านหนึ่ง อินเดียคือชาติผู้ผลิตวัคซีนรายใหญ่ที่สุดของโลก

ประเด็นขาดแคลนวัคซีนไม่ใช่ปัญหาในสหรัฐฯ ซึ่งคาดหมายว่าจะมีวัคซีนเหลือใช้อย่างน้อย 300 ล้านโดส หรือเกือบเท่ากับจำนวนประชากร

Source

]]>
1330803
สหรัฐฯ เพิ่มโควต้ารับ ‘ผู้ลี้ภัย’ ขึ้น 4 เท่าเป็น 62,500 คนในปีนี้ ตั้งเป้า 1.25 เเสนคนในปีหน้า https://positioningmag.com/1330629 Thu, 06 May 2021 05:41:04 +0000 https://positioningmag.com/?p=1330629 ‘ไบเดน’ ล้างข้อจำกัดรับผู้ลี้ภัยในยุคทรัมป์ ประกาศเพิ่มโควต้าขึ้น 4 เท่าเป็น 62,500 คน ในปีนี้ ตั้งเป้า 1.25 เเสนคนในปีหน้า

หลังจากที่นโยบายรับผู้ลี้ภัยถูกกีดกันอย่างหนักในสมัยของโดนัลด์ ทรัมป์ เเต่ในสมัยของโจ ไบเดนประธานาธิบดีสหรัฐคนล่าสุด ก็เริ่มเห็นสัญญาณดีขึ้นอีกครั้ง

โดยไบเดน ได้ประกาศเพิ่มจำนวนการรับผู้ลี้ภัยเข้าสหรัฐฯ สูงสุดเป็น 62,500 คนต่อปี หลังจากที่ก่อนหน้านี้อดีตประธานาธิบดีทรัมป์ ตั้งเพดานการรับผู้ลี้ภัยไว้ที่สูงสุดเเค่ 15,000 คนต่อปี น้อยกว่าสมัยของบารัก โอบามาที่เปิดโควต้ารับผู้ลี้ภัยสูงถึง 1.1 แสนคนต่อปี

นี่จะเป็นการลบล้างการรับผู้ลี้ภัยที่ต่ำสุดในประวัติศาสตร์ 15,000 คน ที่กำหนดโดยคณะบริหารชุดก่อน ซึ่งไม่ได้สะท้อนถึงค่านิยมของอเมริกา ในฐานะชาติที่ยินดีต้อนรับและสนับสนุนผู้ลี้ภัย ไบเดนระบุ

เป้าหมายนี้ยังมีอุปสรรคหลายประการ ต้องใช้เวลาเเละอาจจะไม่สามารถบรรลุได้ในปีแรก เเต่ไบเดนยืนยันว่า คณะทำงานจะดำเนินการเรื่องนี้อย่างรวดเร็ว เพื่อแก้ไขความเสียหายที่เกิดขึ้นในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา

โดยจะพยายามใช้เครื่องมือทุกอย่างที่มีอยู่ เพื่อช่วยให้ผู้ลี้ภัยที่ได้รับการตรวจสอบ ให้หนีพ้นจากสภาพเเวดล้อมที่น่ากลัวในบ้านเกิดได้

(Photo by Chip Somodevilla/Getty Images)

ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ตั้งเป้าว่าจะสามารถขยายโควต้าการรับผู้ลี้ภัยเพิ่มเป็นได้เป็น 1.25 แสนคนต่อปี ในปีงบประมาณ 2022

ทั้งนี้ ปีงบประมาณปัจจุบัน ซึ่งเริ่มมื่อวันที่ 1 ตุลาคมที่ผ่านมา มีผู้ลี้ภัยเพียง 2,000 กว่าคนเท่านั้นที่ได้รับอนุญาตให้ย้ายถิ่นฐานในอเมริกา

โครงการนี้จะเปิดรับผู้ลี้ภัยที่ได้รับการคัดเลือกเเละตรวจสอบอย่างละเอียดจากสำนักงานความมั่นคงของสหรัฐฯ และหน่วยข่าวกรองจากค่ายขององค์การสหประชาชาติ ซึ่งมีกระจายอยู่ทั่วโลก

สำหรับแผนงานปัจจุบันภายใต้การนำของโจ ไบเดนนั้น สหรัฐฯ จะรับผู้ลี้ภัยจากแอฟริการาว  22,000 คน จากเอเชียตะวันออก 6,000 คน จากยุโรปและเอเชียกลาง 4,000 คน จากละตินอเมริกาและเเถบแคริบเบียน 5,000 คน และจากเอเชียใต้อีก 13,000 คน นอกจากนี้ ยังมีโซนที่ยังรอการจัดสรรอีกราว 12,500 คน

อย่างไรก็ตาม หลังรับตำเเหน่งมาเกิน 100 วัน ไบเดนมีคะแนนนิยมต่ำสุดจากการสำรวจความคิดเห็นเรื่องการจัดการปัญหาการอพยพโดยเฉพาะปัญหาในชายแดนสหรัฐฯเม็กซิโก เเละชาวอเมริกันบางส่วนเห็นว่า การลดจำนวนคนการรับผู้ลี้ภัยในสหรัฐฯ การจัดการเข้าเมืองอย่างผิดกฎหมาย เป็นเรื่องสำคัญ นอกจากนี้ รัฐยังต้องจัดการปัญหาการเกลียดกลัวคนต่างชาติเเละเหยียดเชื้อชาติ (xenophobic and racist) ต่างๆ ด้วย

 

 

ที่มา : BBC , Reuters , theguardian

]]>
1330629