Delivery – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Fri, 17 Jun 2022 09:16:02 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 JD.com สนใจบุกตลาดส่งอาหารในประเทศจีน หลังธุรกิจ E-commerce ชะลอตัวลง https://positioningmag.com/1389144 Fri, 17 Jun 2022 08:24:14 +0000 https://positioningmag.com/?p=1389144 สำนักข่าว Bloomberg รายงานว่า JD.com ยักษ์ใหญ่ E-commerce อีกรายในประเทศจีน กำลังพิจารณาที่จะเข้าสู่ธุรกิจส่งอาหารในประเทศจีน ซึ่งความเคลื่อนไหวดังกล่าวอาจทำให้ธุรกิจส่งอาหารในจีนกลับมาร้อนระอุอีกครั้ง เนื่องจากปัจจุบันมีผู้เล่นรายใหญ่เหลือเพียงแค่ 2 รายเท่านั้น

Xin Lijun ประธานเจ้าหน้าที่บริหารธุรกิจค้าปลีกของ JD.com ได้กล่าวกับสำนักข่าว Bloomberg ว่าบริษัทกำลังพิจารณาและหาความเป็นไปได้ โดยเขาได้กล่าวเสริมว่าบริษัทจะสามารถทำธุรกิจนี้ได้ก็ต่อเมื่อบริษัทมีความสามารถที่จะทำธุรกิจนี้ได้ รวมถึงสร้างทีมงานในธุรกิจดังกล่าวเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

เมื่อไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมาสื่อท้องถิ่นในประเทศจีนเคยรายงานข่าวสอดคล้องว่า JD.com สนใจที่จะร่วมทุนกับบริษัทรับส่งสินค้าเพื่อทำธุรกิจส่งอาหาร

สาเหตุที่ทำให้บริษัทอาจต้องหารายได้จากธุรกิจใหม่ๆ เนื่องจากผลประกอบการในไตรมาสล่าสุด JD.com เองมีรายได้เติบโตลดลงเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 2015 เป็นต้นมา ส่งผลทำให้บริษัทนั้นมีผลประกอบการขาดทุนมากถึง 3,000 ล้านหยวน

ธุรกิจส่งอาหารในประเทศจีนนั้นถือว่ามีการแข่งขันที่สูง ขณะเดียวกันก็ได้ใช้เงินของนักลงทุนเพื่อที่จะมอบโปรโมชันจูงใจให้กับลูกค้าเข้ามาในแพลตฟอร์มเยอะมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้

ปัจจุบันธุรกิจส่งอาหารในประเทศจีนถูกครอบครองโดย Meituan ด้วยสัดส่วนมากถึง 70% ขณะที่ Ele.me และผู้เล่นรายอื่นๆ ครองสัดส่วนรวมกันไม่ถึง 30% ด้วยซ้ำ สำหรับ Meituan นั้นมีผู้ถือหุ้นรายใหญ่คือ Tencent ขณะที่ Ele.me นั้นเป็นธุรกิจส่วนหนึ่งของ Alibaba

การเข้ามาบุกธุรกิจส่งอาหารของ JD.com นั้นอาจสร้างความสั่นสะเทือนให้กับวงการส่งอาหารไม่น้อย เนื่องจากในอดีต JD.com ถือเป็นธุรกิจพันธมิตรกับทาง Tencent (และ Tencent เองได้ลงทุนใน JD.com ด้วย) ก่อนที่ทางการจีนจะเข้ามาปราบปรามและวางกฎระเบียบใหม่ในช่วงปี 2020 เป็นต้นมา ส่งผลทำให้ Tencent ได้ประกาศขายหุ้นของ JD.com ออกมา จนท้ายที่สุด JD.com เองก็เตรียมเป็นคู่แข่งสำคัญในธุรกิจส่งอาหารนี้ด้วย

]]>
1389144
ห้าดาว ร่วมสร้างงานให้คนไทยในยุคนิวนอมอล แบบ SUCCESS MADE EASY https://positioningmag.com/1351196 Sat, 11 Sep 2021 01:00:45 +0000 https://positioningmag.com/?p=1351196 ห้าดาว พร้อมเดินหน้าลุย ช่วยสร้างงาน สร้างอาชีพให้คนไทยในยุค New Normal แบบ SUCCESS MADE EASY เพื่อให้การทำธุรกิจเป็นเรื่องง่าย และมั่นใจได้มากยิ่งขึ้น ด้วยประสบการณ์ที่มีมาอย่างยาวนานกว่า 3 ทศวรรษ จากธุรกิจเพื่อผู้บริโภคโดยตรง ต่อยอดสู่ธุรกิจในรูปแบบแฟรนไชส์อย่างเต็มตัว พร้อมการันตีความสำเร็จด้วยแฟรนไชส์กว่า 5,000 สาขาในประเทศไทย รวมถึงการให้ความรู้ในการทำธุรกิจแบบครบวงจร ทั้งการบริหารจุดขาย การบำรุงรักษาอุปกรณ์ ระบบ Logistic การพัฒนาผลิตภัณฑ์ และการตลาด เพื่อขยายโอกาสให้ธุรกิจเติบโตได้อย่างสมบูรณ์แบบ

แน่นอนว่าการเริ่มต้นทำธุรกิจในช่วงนี้ไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ ห้าดาว สามารถช่วยให้การทำธุรกิจเป็นเรื่องง่ายได้ ด้วยการคิดมาให้ครบตั้งแต่เริ่มต้นหาทำเลเด็ด ในงบลงทุนที่จำกัด การฝึกอบรมต่าง ๆ ตลอดจนการบริหารจัดการร้าน ระบบบัญชี การสต็อกของ ไปจนถึงการขายหน้าร้าน ทำให้เจ้าของกิจการมั่นใจได้ แม้เริ่มต้นลงทุนจากศูนย์ก็ตาม แค่เริ่มต้นง่าย ความสำเร็จก็เกิดขึ้นได้ไม่ยาก

และสิ่งที่ขาดไม่ได้ ซึ่งถือเป็นหัวใจหลักในการทำธุรกิจอาหารเลยก็คือ คุณภาพของสินค้าที่ถูกสุขอนามัย ได้มาตรฐานระดับสากล พร้อมรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์ จำง่าย ซึ่งเป็นรสชาติที่ใครหลายคนต้องติดใจ ไปจนถึงการหาซื้อได้สะดวก ซึ่งรวมถึงช่องทางการสั่งซื้อและส่งสินค้าไปยังผู้บริโภคได้โดยตรงถึงหน้าบ้าน เพื่อเป็นการลดความเสี่ยง เว้นระยะห่างทางสังคม ผ่านบริการจัดส่งแบบ delivery ในราคาเบา ๆ ทำให้เข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้หลากหลายและง่ายยิ่งขึ้น จนเป็นที่นิยม และสามารถติดตลาดได้เป็นอย่างดี

ทั้งหมดที่กล่าวมานี้ จึงทำให้สูตรสำเร็จง่าย ๆ จาก ห้าดาว ช่วยสร้างงานให้คนไทยได้ในหลากหลายอาชีพ ทั้งเจ้าของธุรกิจ พนักงานขาย รวมถึงพนักงานจัดส่งสินค้าแบบ delivery เกิดการกระจายรายได้อย่างมั่นคง เพื่อให้คนไทยผ่านพ้นสถานการณ์ในช่วงนี้ไปได้ด้วยดี

สำหรับผู้ที่สนใจเริ่มต้นลงทุนธุรกิจกับ ห้าดาว สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://fivestar.in.th , ไลน์ @fivestarclass หรือ โทร. 02-800-8000

#SUCCESSmadeEASY #ห้าดาวอะไรอะไรก็ง่าย #ห้าดาวสร้างงานสร้างอาชีพให้คนไทย

]]>
1351196
7-Eleven ญี่ปุ่น ปรับทิศบุกตลาด ‘เดลิเวอรี่’ ส่งเร็วถึงบ้านให้ได้ 20,000 สาขาทั่วประเทศ https://positioningmag.com/1348295 Tue, 24 Aug 2021 09:33:28 +0000 https://positioningmag.com/?p=1348295 เมื่อยอดขายโดยรวมของตลาดร้านสะดวกซื้อ โตไม่เร็วเท่าอีคอมเมิร์ซ ต้องยกเครื่องครั้งใหญ่ รับการใช้ชีวิตที่เปลี่ยนไปของผู้บริโภค ล่าสุด 7-Eleven ญี่ปุ่น ปรับทิศจับทางเดลิเวอรี่ ตั้งเป้าส่งเร็วใน 30 นาที กระจาย 20,000 สาขาทั่วประเทศ สู้ยักษ์ใหญ่อย่าง Amazon

กลยุทธ์ใหม่นี้ เกิดขึ้นท่ามกลางความตกต่ำของตลาดร้านสะดวกซื้อในญี่ปุ่น จากการสำรวจของ Nikkei Asia พบว่าในช่วงวิกฤตโควิด ยอดขายของทั้งอุตสาหกรรมลดลงราว 6.1% มาอยู่ที่ประมาณ 11.8 ล้านล้านเยน ในปี 2020 นับเป็นการลดลงครั้งแรกตั้งแต่ปี 1981

สวนทางกับการเติบโตของตลาดอีคอมเมิร์ซ’ ในญี่ปุ่น ที่เติบโตขึ้นถึง 22% มาอยู่ที่ประมาณ 12.2 ล้านล้านเยน ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจาก ‘stay-at-home consumption’ การบริโภคที่อยู่บ้านที่เพิ่มขึ้น ช่วยกระตุ้นยอดขายโดยรวมของฝั่งอีคอมเมิร์ซ ให้แซงหน้าร้านสะดวกซื้อได้เป็นครั้งแรก ในช่วงปีที่ผ่านมา

Seven & i บริษัทเเม่ของ 7-Eleven ในญี่ปุ่น คาดว่า บริการเดลิเวอรี่จะช่วยกระตุ้นการเติบโตของบริษัทได้ โดยปัจจุบันได้เริ่มเปิดให้บริการจัดส่งจากร้านค้าไปเเล้ว ประมาณ 550 แห่งในพื้นที่เมืองโตเกียว ฮอกไกโด และฮิโรชิมะ ก่อนที่จะขยายไปสู่ 20,000 สาขาทั่วประเทศ ภายในปีงบประมาณ 2026

ร้านค้าไม่ได้เป็นเพียงสถานที่สำหรับซื้อสินค้าเท่านั้น แต่ยังเป็นสถานที่สำหรับจัดเก็บสินค้าคงคลังด้วย” Ryuichi Isaka ประธานของ Seven & i กล่าวกับ Nikkei Asia 

พร้อมระบุข้อได้เปรียบอีกว่า “บริการ (เดลิเวอรี่) นี้ สามารถขยายได้ในเวลาอันสั้น โดยไม่ต้องลงทุนมากนัก”

ผู้บริโภคสามารถสั่งซื้อผ่านเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชันของ 7-Eleven ญี่ปุ่น ที่มีอาหารและสินค้าประจำวันต่างๆ กว่า 3,000 รายการ ซึ่งการซื้อทุกครั้งเเนะนำว่าควรมีมูลค่ามากกว่า 1,000 เยน (ราว 300บาท) โดยมีค่าธรรมเนียมจัดส่งเพิ่มเติม 330 เยน (ราว 99 บาท) ซึ่งบริการนี้จะเปิดทำการจนถึงเวลา 23.00 . ในทุกวัน

คาดว่าแต่ละร้านจะมีรัศมีการจัดส่งประมาณ 500 เมตร แต่อาจขยายได้ ขึ้นอยู่กับความต้องการของเเต่ละพื้นที่

สำหรับการจัดส่งนั้น Seven & i ได้ร่วมมือกับบริษัทโลจิสติกส์ในท้องถิ่นประมาณ 10 แห่ง พร้อมพัฒนาแพลตฟอร์มด้วยการใช้เทคโนโลยี AI มาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพด้านเส้นทางและการประสานงานระหว่างคนขับ

ปัจจุบัน เเม้บริการนี้ยังไม่ฮอตฮิตมากนัก แต่ละสาขามีการจัดส่งไม่กี่ครั้งต่อวัน เเต่ทางบริษัทหวังว่า จะเพิ่มการใช้งานเป็น 15 ครั้งต่อวันหรือมากกว่านั้น ผ่านการขยายบริการให้ครอบคลุมทั่วประเทศ และใช้กลยุทธ์ตลาดต่างๆ เพื่อสร้างการรับรู้ให้กว้างขวางมากขึ้น

ด้านคู่เเข่งธุรกิจร้านสะดวกซื้ออีกเจ้าอย่าง Lawson ก็ได้เริ่มให้บริการผ่านเดลิเวอรี่เช่นกัน เเละขยายได้เร็วกว่า 7-Eleven โดยขณะนี้ มีร้านที่พร้อมส่งเดลิเวอรี่กว่า 2,000 แห่ง ใน 32 จังหวัด ผ่านการจับมือกับ ‘Uber Eats’ โดย Lawson วางแผนจะเพิ่มจำนวนร้านค้าเป็น 3,000 แห่งภายในปีงบประมาณ 2022

ทั้งนี้ ยอดการใช้จ่ายเเบบเดลิเวอรี่ของลูกค้า 7-Eleven ในสหรัฐฯ โดยเฉลี่ยอยู่ที่ 14.50 ดอลลาร์ (ราว 478 บาท) ต่อบิล เพิ่มขึ้นถึง 1.7 เท่า จากของยอดขายหน้าร้าน เนื่องจากคนอยู่บ้านกันมากขึ้นในช่วงโรคระบาด

 

 

ที่มา : Nikkei Asia 

]]>
1348295
“ซานตา เฟ่” รุกโมเดลใหม่ เปิด “ซานตาเฟ่ อีซี่” บริการด่วนทันใจ ปักหมุดนอกศูนย์การค้า https://positioningmag.com/1326275 Fri, 02 Apr 2021 11:00:02 +0000 https://positioningmag.com/?p=1326275

หลังจากที่ “ซานตา เฟ่” ร้านสเต๊กชื่อดังได้เข้ามาอยู่ภายใต้ชายคาของบริษัท ฟู้ด แฟคเตอร์ จำกัด ในเครือสิงห์ คอร์เปอเรชั่น ดูเหมือนว่าจะมีการเคลื่อนไหว และนวัตกรรมใหม่ๆ อยู่เสมอ ล่าสุดได้เปิดตัวโมเดลใหม่ “ซานตา เฟ่ อีซี่” เน้นบริการด่วนทันใจ ปักหมุดโลเคชั่นนอกศูนย์การค้า

ชูจุดเด่นด้วยบริการ Self Service ตอบรับไลฟ์สไตล์คนเมือง

ต้องบอกว่าธุรกิจร้านอาหารในยุคนี้ มีเพียงแค่หน้าร้านอย่างเดียว โมเดลเดียวคงไม่เพียงพอต่อการเข้าถึงผู้บริโภค จึงได้เห็นการพัฒนาสู่บริการเดลิเวอรี่ รวมถึงการแตกไลน์โมเดลใหม่ๆ ทำเลใหม่ๆ เพื่อให้เข้าถึงฐานลูกค้าใหม่ๆ มากขึ้นเช่นกัน เทรนด์ของร้านอาหารจึงมีขนาดเล็กลง แต่คล่องตัวขึ้นนั่นเอง

หลายคนคงคุ้นเคยกับแบรนด์ “ซานตา เฟ่” ซึ่งเป็นร้านอาหารประเภทสเต๊ก และอาหารสไตล์ตะวันตกสัญชาติไทย ซึ่งได้เข้ามาอยู่ในเครือของ บริษัท ฟู้ด แฟคเตอร์ จำกัด ตั้งแต่ปี 2562 แล้ว แม้แบรนด์จะมีอายุ 17 ปีแล้ว แต่ยังมีการพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ เมนูใหม่ๆ อยู่เสมอ

ล่าสุดได้เปิดตัวโมเดลร้านรูปแบบใหม่ “SANTA FE’ EASY” (ซานตาเฟ่ อีซี่) ยึดทำเลศูนย์การค้าขนาดเล็กอาคารสำนักงาน ปั๊มน้ำมัน เพื่อให้เข้าถึงผู้บริโภคไลฟ์สไตล์ยุคใหม่ที่เน้นความรวดเร็ว รองรับการเติบโตของร้านอาหารในเซ็กเมนต์ QSR (Quick Service Restaurant) หรือร้านอาหารบริการด่วน

โมเดลนี้จะเน้นบริการแบบ Self Service นั่นคือเป็นการสั่งอาหาร พร้อมกับจ่ายเงินที่เคาท์เตอร์ มื่อถึงเวลารับอาหารก็มารับที่เคาท์เตอร์เอง เป็นรูปแบบเดียวกับร้านอาหารฟาสต์ฟู้ดทั่วไป เป็นการพลิกการบริการจากเดิมที่เป็นแบบ Table Service หรือเป็นการที่พนักงานบริการที่โต๊ะนั่นเอง

เป้าหมายของการสร้างแบรนด์ “ซานตาเฟ่ อีซี่” ขึ้นมาตอบสนองความต้องการในตลาด เพื่อให้ลูกค้าจับต้องได้จริงครบทั้งรสชาติความอร่อย การบริการสะดวกรวดเร็วทันใจ สามารถบริการตนเองได้ ที่สำคัญราคามีความคุ้มค่า

ปิติ ภิรมย์ภักดี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ฟู้ด แฟคเตอร์ จำกัด (Food Factors) เปิดเผยว่า

ในการเข้าร่วมลงทุนกับบริษัท เคที เรสทัวรองท์ฯ (KTR) ร้านซานตา เฟ่ สเต๊ก (Santa Fe’Steak) ซึ่งถือเป็นการลงทุนเชิงกลยุทธ์ที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์หลักของกลุ่มบุญรอดบริวเวอรี่  จากแนวโน้มธุรกิจอาหารในประเทศไทยยังคงมีการเติบโต และด้วยพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปในกลุ่มผู้บริโภคยุคใหม่ที่ต้องการความสะดวกรวดเร็วมากขึ้น ทำให้ธุรกิจหมวดหมู่ร้านอาหารบริการด่วน(QSR), ส่งสินค้าถึงบ้าน(Delivery) และสั่งกลับบ้าน(Take Away)เติบโตขึ้นตามไปด้วยด้วยเหตุนี้ซานตา เฟ่มองเห็นโอกาส และช่องว่างทางการตลาด จึงปรับตัวและต่อยอดจากธุรกิจเดิม จนแตกไลน์โมเดลร้านรูปแบบใหม่ภายใต้ชื่อ “SANTA FE’ EASY” (ซานตาเฟ่ อีซี่) ที่เน้นความรวดเร็วในราคาคุ้มค่า”

ปักหมุดโลเคชั่นปั๊มน้ำมัน คอมมูนิตี้มอลล์

นบเกล้า ตระกูลปาน กรรมการผู้จัดการกลุ่มธุรกิจอาหาร บริษัท ฟู้ด แฟคเตอร์ จำกัด (Food Factors)  กล่าวเสริมว่า

สำหรับกลยุทธ์การตลาดที่จะมาช่วยสร้างการเติบโตให้กับแบรนด์ซานตา เฟ่ ในปีนี้มี 2 กลยุทธ์ด้วยกัน คือ ขยายฐานลูกค้ากลุ่มเป้าหมายเจนเนอเรชั่นใหม่ๆ ด้วยการกระจายการเปิดสาขาไปตามโลเคชั่นใหม่ๆ อีกทั้งยังพัฒนานวัตกรรมและเมนูอาหารเพื่อตอบโจทย์กลุ่มเป้าหมาย และ Diversify ธุรกิจหาช่องทางใหม่ คือ การแตกไลน์ธุรกิจ การออกแบรนด์ซานตา เฟ่ อีซี่ จึงถือเป็นการ Diversify แบรนด์ครั้งใหญ่ที่ช่วยในการเข้าถึงลูกค้ากลุ่มใหม่และทำให้แบรนด์มีความสนุกเป็นกันเองมากขึ้น

ทางด้าน คุณสุรชัย ชาญอนุเดช CEO บริษัท เคที เรสทัวรองท์ จำกัด กล่าวว่า

จากนโยบายและแนวทางจาก บริษัท ฟู้ด แฟคเตอร์ นั้น “SANTA FE’ EASY”  (ซานตาเฟ่ อีซี่)  ให้เป็นร้านขนาดเล็ก เน้นเปิดให้บริการผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมายภายในศูนย์การค้าขนาดเล็ก หรือคอมมูนิตี้มอลล์, สถานีบริการปั๊มน้ำมัน และอาคารสำนักงาน(ออฟฟิศ) รวมถึงทำเลที่มีผู้บริโภคชื่นชอบ และต้องการร้านอาหารบริการด่วน

เมื่อเทียบกับร้านซานตา เฟ่ ซึ่งเน้นเปิดให้บริการภายในศูนย์การค้าขนาดกลาง และขนาดใหญ่ และตั้งอยู่ในบริเวณกลุ่มเป้าหมายที่ชอบการบริการ แบบสั่งอาหารที่โต๊ะแล้วจ่ายเงินภายหลังที่แคชเชียร์

“ซานตาเฟ่ อีซี่” สาขาแรกตั้งอยู่ที่ไลฟ์เซ็นเตอร์ อาคารคิวเฮ้าส์ ลุมพินี ชั้น G เริ่มเปิดให้บริการตั้งแต่ช่วงเดือนมีนาคมปีที่แล้ว หลังจากเปิดได้ไม่นานก็โดน COVID-19 เล่นงาน และล่าสุดได้ขยายสาขาไปในสถานีบริการน้ำมัน เดอะเรส แอเรียท์ ปตท.ประชาชื่น ตั้งเป้าขยาย 200 สาขาทั่วประเทศภายใน 10 ปีให้ได้

เปิดตัว “นายสถานี” BRAND PRESENTER เชื่อมโยงความสุขทุกสถานี

นอกจากนี้ ซานตาเฟ่ ยังได้เปิดตัว Mascot นายสถานี ตัวแทนแบรนด์ ซานตาเฟ่ เพื่อเชื่อมโยงสัมพันธภาพอันดีระหว่างซานตาเฟ่ และลูกค้า ให้ใกล้ชิดยิ่งขึ้น พร้อมเสิร์ฟความสุข และต่อยอดการรับรู้ด้วยกิจกรรมสื่อสารการตลาดอย่างต่อเนื่อง ลูกค้าเตรียมพบกับ Mascot นายสถานี ที่ร้านซานตา เฟ่ ทั่วประเทศ เร็ว ๆ นี้ หรือติดตามข่าวสารได้ที่เพจ Facebook Santa Fe’ Steak 

ปูพรมสู่ขยายแฟรนไชส์

นอกจากการขยายสู่โมเดลใหม่ๆ ตอบรับกับผู้บริโภคกลุ่มใหม่ๆ แล้ว ซานตาเฟ่ อีซี่ยังถือว่าเป็นการปูพรมสู่การขยายแฟรนไชส์อย่างเต็มตัว เนื่องจากรูปแบบร้านที่มีขนาดเล็ก เงินลงทุนต่ำ บริหารจัดการง่าย ทำให้เพิ่มโอกาสในการเปิดร้าน เสิร์ฟความอร่อยของสเต๊กสไตล์เฉพาะตัวของซานตาเฟ่ อีซี่ ให้แก่ผู้บริโภคได้อย่างทั่วถึงยิ่งขึ้น

คาดการณ์ว่าจะมีการเปิดแผนแฟรนไชส์ในช่วงปลายปี 2564 และเริ่มขายแฟรนไชส์ในปีหน้า

ปัจจุบันซานตา เฟ่ ดำเนินธุรกิจอาหารมานานกว่า 17 ปี มีสาขาให้บริการกว่า 114 แห่งทั่วประเทศ ซึ่งแบรนด์ซานตา เฟ่ถือว่าเป็นแบรนด์ดาวรุ่งของฟู้ด แฟคเตอร์ ที่จะช่วยสร้างการเติบโตได้อีกมหาศาล

 

]]>
1326275
เเคลิฟอร์เนีย อนุญาตให้ Nuro เปิดบริการ ‘เดลิเวอรี่ไร้คนขับ’ วิ่งส่งสินค้า-อาหาร บนถนนจริง https://positioningmag.com/1312566 Wed, 30 Dec 2020 09:22:16 +0000 https://positioningmag.com/?p=1312566 ขยับไปอีกขั้นสำหรับเทคโนโลยีเดลิเวอรี่ไร้คนขับหลังรัฐเเคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา อนุญาตให้ ‘Nuro’ ผู้พัฒนายานพาหนะแบบไร้คนขับ เปิดบริการเชิงพาณิชย์ อย่างการวิ่งส่งสินค้าหรืออาหาร บนถนนจริงๆ ได้เเล้ว

Nuro มีเเผนเริ่มเปิดให้บริการกับลูกค้าทั่วไปครั้งเเรกในช่วงต้นปีหน้านี้ โดยจะใช้ยานพาหนะไร้คนขับรุ่น ‘R2’ ที่มีลักษณะคล้ายๆ รถยนต์ แต่มีขนาดเล็กกว่ามีช่องเก็บสินค้าเเบบควบคุมอุณหภูมิ 2 ช่อง ขับเคลื่อนด้วยตัวเองโดยเทคโนโลยีเรดาร์ พร้อมกล้องตรวจจับความร้อน และกล้อง 360 องศา

เพื่อความปลอดภัยบนท้องถนน เจ้า ‘R2’ จะถูกจำกัดความเร็วสูงสุดไว้ที่ 35 ไมล์ต่อชั่วโมง (56 กม./ชม.) ในวันที่สภาพอากาศที่ปกติ

Nuro กำลังเป็นสตาร์ทอัพดาวรุ่งในวงการยานยนต์ไร้คนขับ ก่อตั้งขึ้นโดย 2 อดีตวิศวกรของ Google เมื่อปี 2016 ได้รับเงินทุนสนับสนุนจาก SoftBank โทรคมนาคมรายใหญ่จากญี่ปุ่น

ก่อนหน้านี้ Nuro ได้ร่วมงานกับพาร์ตเนอร์ในหลากหลายเเวดวงธุรกิจ โดยมีการนำยานยนต์ไร้คนขับไปทดสอบให้บริการรูปแบบต่างๆ เช่น เริ่มทดสอบส่งพิซซ่ากับ Domino ในช่วงกลางปีที่แล้ว จากนั้นได้ทดสอบส่งสินค้าอุปโภคบริโภค ร่วมกับห้างค้าปลีกรายใหญ่อย่าง Walmart และ Kroger และเคยทดสอบส่งสินค้ากลุ่มยาร่วมกับ CVS ด้วย

Nuro ระบุในเเถลงการณ์ว่า การพัฒนา Driverless Delivery หรือการส่งเดลิเวอรี่แบบไร้คนขับนั้น จะเป็นประโยชน์กับชีวิตประจำวันของผู้คนและชุมชน ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในวิถีชีวิตในแคลิฟอร์เนีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปี 2021 ที่ยังคงมีการเเพร่ระบาดของ COVID-19 ซึ่งการให้บริการของ Nuro จะช่วยลดการสัมผัสของคนในชุมชนได้เป็นอย่างดี ผู้สูงอายุเเละคนในครอบครัว สามารถเลือกซื้อสินค้าได้โดยไม่ต้องออกจากบ้าน

ด้านหน่วยงานด้านขนส่งของรัฐแคลิฟอร์เนีย กล่าวว่า การให้อนุญาตครั้งนี้ ถือเป็นก้าวสำคัญของการพัฒนาเทคโนโลยียานพาหนะไร้คนขับในรัฐแคลิฟอร์เนีย ซึ่งทางการจะเฝ้าระวังเรื่องความปลอดภัยอย่างใกล้ชิดต่อไป

 

ที่มา : BBC , Marketwatch

 

]]>
1312566
โควิด-ฟู้ดเดลิเวอรี่ ดัน “แพ็กเกจจิ้ง” บูม SCGP โกยรายได้ครึ่งปีแรก 4.6 หมื่นล้าน กำไรโต 40% https://positioningmag.com/1291060 Tue, 04 Aug 2020 10:02:25 +0000 https://positioningmag.com/?p=1291060 รับอานิสงส์เดลิเวอรี่บูมช่วง COVID-19 ไปเต็มๆ “เอสซีจี แพคเกจจิ้ง” โกยรายได้ครึ่งปีแรก 45,903 ล้านบาท โต 11% กำไรสุทธิครึ่งปีแรก 3,636 ล้านบาท เติบโต 40% ดีมานด์บรรจุภัณฑ์กลุ่มอีคอมเมิร์ซ อาหาร สินค้าเพื่อสุขภาพพุ่ง เดินหน้าเเผนเข้าระดมทุนตลาดหลักทรัพย์ฯ

เเรงหนุน COVID-19 ทำดีมานด์บรรจุภัณฑ์พุ่ง

จากสถานการณ์การระบาดของ COVID-19 ทำให้ประชาชนบางส่วนปรับเปลี่ยนการทำงานเป็นแบบ Work from Home และปรับไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตสู่ New Normal ผู้คนเลือกซื้อสินค้าทางออนไลน์เพิ่มขึ้น ใส่ใจในสุขภาพและใช้ผลิตภัณฑ์เพื่อสุขอนามัย รวมถึงสั่งซื้ออาหารมารับประทานที่บ้านมากขึ้น ส่งผลให้มีความต้องการใช้บรรจุภัณฑ์ในส่วนนี้เพิ่มมากขึ้น ชดเชยกับความต้องการใช้บรรจุภัณฑ์บางกลุ่มสินค้าที่ชะลอตัวลง เช่น กลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า และกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์

วิชาญ จิตร์ภักดี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทเอสซีจี แพคเกจจิ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ SCGP กล่าวถึง ภาพรวมผลการดำเนินงานครึ่งปีแรกของบริษัทฯ ว่ามีอัตราการเติบโตจากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา จากแผนกลยุทธ์ที่มุ่งเน้นแพ็กเกจจิ้งสำหรับ B2C และการขยายธุรกิจด้วยการควบรวมกิจการ (Merger & Partnership) แม้ภาพรวมเศรษฐกิจโลกจะได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การระบาดของ COVID-19 และมาตรการล็อกดาวน์ในหลายประเทศ

นอกจากนี้ มีการปรับปรุงประสิทธิภาพของการผลิต การทำ Synergy ระหว่างโรงงานและการบริหารสัดส่วนการขายสินค้า จึงสามารถรักษาอัตรา EBITDA Margin (กำไรก่อนภาษี ดอกเบี้ย ค่าเสื่อมและค่าตัดจำหน่าย) ไม่ให้ผันผวนตามภาวะเศรษฐกิจ

โดยบริษัทมีรายได้จากการขายทั้งสิ้น 45,903 ล้านบาท เติบโตร้อยละ 11 จากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา และมีกำไรสุทธิอยู่ที่ 3,636 ล้านบาท เติบโตร้อยละ 40 จากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา

สำหรับปัจจัยที่ SCGP เติบโตได้ดีในครึ่งปีแรก ส่วนใหญ่มาจากยอดขายบรรจุภัณฑ์สำหรับอีคอมเมิร์ซ ฟู้ดเดลิเวอรี่ ผลิตภัณฑ์อาหารส่งออก สินค้าอุปโภคบริโภคและกลุ่มสินค้าเพื่อสุขภาพ (Healthcare) ที่เติบโตอย่างมาก

ในช่วงที่ผ่านมา ผลประกอบการของบริษัท ได้ผลดีจากการควบรวมกิจการ หรือ Merger and Partnership (M&P) กับ PT Fajar Surya Wisesa Tbk ผู้นำธุรกิจบรรจุภัณฑ์รายใหญ่ในประเทศอินโดนีเซีย และบริษัทวีซี่ แพ็คเกจจิ้ง (ประเทศไทย) จำกัด เมื่อช่วงครึ่งปีหลังของปี 2562

มองธุรกิจ “แพ็กเกจจิ้ง” สดใสยาว ลุยต่ออาเซียน

ผู้บริหาร SCGP มองตลาดบรรจุภัณฑ์ในประเทศไทยช่วงครึ่งปีหลังว่า จะยังคงมีการเติบโตท่ามกลางความท้าทายของภาวะเศรษฐกิจ โดยภาคธุรกิจต่างๆ เริ่มทยอยกลับมาดำเนินธุรกิจได้อีกครั้ง

“คาดว่าจะส่งผลดีต่อการอุปโภคและบริโภค โดยเฉพาะสินค้าอาหารกระป๋อง อาหารแช่แข็ง สินค้าอุปโภคบริโภค สินค้าเพื่อการดูแลสุขภาพ เเต่กลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอุตสาหกรรมยานยนต์ จะยังคงมีแนวโน้มชะลอตัวเนื่องจากเป็นสินค้าคงทนและมีมูลค่าสูง” 

ทั้งนี้ ภาพรวมธุรกิจบรรจุภัณฑ์ทุกประเภทในภูมิภาคอาเซียน มีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยมีมูลค่ารวมกว่า 51,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2561 ซึ่งคาดว่าในช่วง 6 ปี (ปี 2561-2567) จะมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปีอยู่ที่ 6.1% หรือมีมูลค่าตลาดบรรจุภัณฑ์รวมอยู่ที่ 72,700 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2567

ส่วนแนวโน้มความต้องการใช้บรรจุภัณฑ์ใน “ภูมิภาคอาเซียน” อย่าง เวียดนาม คาดว่าจะได้รับผลบวกจากการเคลื่อนย้ายฐานการผลิตสินค้าประเภทเครื่องใช้ไฟฟ้า อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และรองเท้า จึงคาดว่าตลาดในประเทศเวียดนามจะยังคงมีอัตราการเติบโตที่ดี

สำหรับอินโดนีเซียและฟิลิปปินส์ คาดว่า ความต้องการใช้บรรจุภัณฑ์ในครึ่งปีหลังยังชะลอตัว เนื่องจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 และภาคอุตสาหกรรมยังไม่ฟื้นสู่ภาวะปกติ

โดย SCGP ยืนยันว่าจะเดินหน้าก่อสร้างเพื่อขยายกำลังการผลิต 4 โรงงานใน 4 ประเทศ ได้แก่ ไทย เวียดนาม ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย ด้วยเงินลงทุนประมาณ 8,200 ล้านบาท ซึ่งจะทยอยแล้วเสร็จในช่วงกลางปี 2563-2564 และอยู่ระหว่างการเข้าซื้อกิจการโรงผลิตกล่องกระดาษลูกฟูกในประเทศเวียดนาม ซึ่งหวังว่าจะช่วยเสริมธุรกิจเติบโตให้ในภูมิภาคอาเซียน และตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคได้

สำหรับความคืบหน้าของการเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ นั้น บริษัทได้รับอนุมัติแบบคำขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์จากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) แล้ว ตอนนี้จึงอยู่ระหว่างการเตรียมความพร้อมและประเมินสถานการณ์ต่างๆ เช่น แนวโน้มเศรษฐกิจ ภาวะตลาดเงินตลาดทุน รวมถึงความเชื่อมั่นของนักลงทุนทั้งในและต่างประเทศ

 

 

]]>
1291060
Starbucks คว้าโอกาสเจาะตลาดจีน ช่วงเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัว ขยาย “เดลิเวอรี่” ผ่าน 4 แอปฯ Alibaba https://positioningmag.com/1288738 Tue, 21 Jul 2020 08:42:19 +0000 https://positioningmag.com/?p=1288738 แบรนด์กาแฟยอดนิยม Starbucks รุกจับตลาดออนไลน์หลังเศรษฐกิจจีนเริ่มฟื้นตัว ร่วมกับ Alibaba อีคอมเมิร์ซยักษ์ใหญ่ ขยายให้บริการเดลิเวอรี่ไปอีก 4 เเพลตฟอร์มผ่าน Taobao , แอปพลิเคชันแผนที่ Amap , เเอปฯ บริการในท้องถิ่น Koubei รวมถึงแอปฯ ชำระเงินออนไลน์อย่าง Alipay เพิ่มความสะดวกสบายให้กับคอกาแฟชาวจีน

บริการเสริมเหล่านี้ จะช่วยให้ Starbucks เข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคชาวจีนมากขึ้น ผ่านหลายช่องทางของอาลีบาบาที่มีฐานผู้ใช้เกือบ 1 พันล้านราย” Alibaba ระบุในแถลงการณ์ ทั้งนี้ ลูกค้าที่ซื้อเครื่องดื่มผ่าน Alipay และ Koubei สามารถเลือกวิธีการจัดส่งได้อีกด้วย

Starbucks เริ่มปรับกลยุทธ์การตลาดใหม่ จัดบริการส่งกาแฟและขนมถึงมือลูกค้าแบบรวดเร็วทันใจ พลิกวิกฤตยอดขายหน้าร้านที่เริ่มลดลง โดยเปิดให้บริการสั่งเครื่องดื่มแบบเดลิเวอรี่ในจีนครั้งแรก ตั้งแต่ปี 2018 ผ่านแอปพลิเคชัน Ele.me บริษัทลูกของ Alibaba ซึ่งเป็นผู้ให้บริการรับส่งอาหารในประเทศ เพื่อเเข่งขันกับคาเฟ่เจ้าอื่นที่หันมาเน้นการจัดส่งเดลิเวอรี่กันมากขึ้น

ความเคลื่อนไหวของ Starbucks ในการขยายบริการเดลิเวอรี่ผ่านแอปพลิเคชันต่าง ๆ ของ Alibaba ในครั้งนี้ มีเป้าหมายจะเจาะตลาดผู้บริโภคจีนที่กำลังเติบโตกว่าประเทศอื่น โดยคาดว่ากำลังซื้อของชาวจีนจะฟื้นตัวอีกครั้ง ในช่วงเดือนก..นี้ หลังสถานการณ์ COVID-19 คลี่คลาย

ขณะเดียวกันก็เป็นการคว้าโอกาสครั้งสำคัญ ในยามที่คู่เเข่งท้องถิ่นอย่าง Luckin Coffee ที่มีร้านสาขาในจีนมากกว่า แต่ตอนนี้กำลังเจอมรสุม เพราะธุรกิจกำลังสั่นคลอน จากกรณีอื้อฉาวที่มีการฉ้อโกงภายในองค์กร เเละมีคดีทุจริตเรื่องการตกเเต่งบัญชีหลายคดี

ในช่วงเดือนพ..ที่ผ่านมา Starbucks เปิดตัวมินิโปรแกรมกับ Tencent อีกหนึ่งยักษ์ธูรกิจในจีน คู่เเข่งสำคัญของ Alibaba เพื่อขยายหาลูกค้าใน WeChat ซึ่งอนุญาตการเข้าถึงสิทธิ์การเป็นสมาชิกและบริการเดลิเวอรี่ของ Starbucks

เห็นได้ชัดว่าช่วงนี้ เเบรนด์ชั้นนต่างๆ พยายามกระตุ้นยอดขายในช่วงที่เศรษฐกิจจีนกำลังฟื้นตัวจากผลกระทบของ COVID-19 ที่ต้องปิดกิจการชั่วคราวตามมาตรการล็อกดาวน์ โดยบริษัทใหญ่ในสหรัฐฯ มองว่าจีนเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุดในการเติบโตหลังวิกฤต เเม้จะต้องมองข้ามความตึงเครียดทางการเมืองเเละสงครามการค้าระหว่างรัฐบาลจีนกับสหรัฐฯ ก็ตาม

ที่มา : Reuters

]]>
1288738
GET เตรียมรีแบรนด์สู่จักรวาล Gojek ภายในเดือนส.ค. ใช้ความเป็นโกลบอลสู้ศึกเดลิเวอรี่ https://positioningmag.com/1286416 Fri, 03 Jul 2020 06:00:24 +0000 https://positioningmag.com/?p=1286416 GET แพลตฟอร์มเดลิเวอรี่ ได้ประกาศว่าจะทำการรวมแอปพลิเคชัน และแบรนด์ GET เข้าภายใต้ Gojek และจะดำเนินงานในนาม Gojek เป็นก้าวสำคัญของกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจระยะยาวของบริษัท

การเปลี่ยนแปลงนี้จะเกิดขึ้นในอีกไม่กี่สัปดาห์จากนี้ GET จะเปิดตัวแอปพลิเคชัน Gojek ในประเทศไทย โดยที่แอปพลิเคชัน Gojek ได้รับการพัฒนาขึ้นบนแพลตฟอร์มเทคโนโลยีระดับโลก และเปิดให้สามารถใช้บริการได้ทั้งในสิงคโปร์ อินโดนีเซีย และเวียดนาม ทั้งนี้แบรนด์ GoViet ในประเทศเวียดนามจะได้รับการอัพเกรดเป็นแบรนด์ Gojek เช่นกัน

ในประเทศไทย GET ได้รับการตอบรับอย่างดี ได้เปิดตัวเมื่อปีที่ผ่านมา จนถึงเดือนมิถุนายน 2563 GET ได้ให้บริการไปแล้วกว่า 20 ล้านออเดอร์

ภิญญา นิตยาเกษตรวัฒน์ ผู้จัดการใหญ่ Gojek ประเทศไทย กล่าวว่า

“เราตื่นเต้นกับการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ ที่แสดงให้เห็นว่าไทยยังคงเป็นประเทศยุทธศาสตร์ในการดำเนินธุรกิจของ Gojek นับตั้งแต่การเปิดตัว GET ในปี 2562 เราประสบความสำเร็จในการก่อตั้ง และพัฒนาหนึ่งในแพลตฟอร์มออนดีมานด์ชั้นนำของประเทศ ผ่าน 4 บริการ ทีมบริหารชุดเดิมของไทยที่ได้พัฒนาและก่อตั้ง GET จะยังคงนำทีมบริหาร และดำเนินธุรกิจของ Gojek ในประเทศไทยต่อไป โดยขณะนี้ถือเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมในการนำจุดแข็งและศักยภาพของ Gojek มาขับเคลื่อนให้เราสามารถขยายธุรกิจและคงจุดยืนในฐานะบริษัทชั้นนำต่อไป”

Gojek เป็นกลุ่มธุรกิจด้านเทคโนโลยีชั้นนำของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเป็นผู้บุกเบิกคอนเซ็ปต์ “ซูเปอร์แอป” รวมถึงโมเดลอีโค่ซิสเต็มที่ช่วยเชื่อมโยงผู้ใช้งานแอปพลิเคชันเข้ากับพาร์ตเนอร์คนขับที่อยู่ในระบบกว่า 2 ล้านคน และพาร์ตเนอร์ร้านอาหาร GoFood อีกกว่า 500,000 ราย ในกว่า 200 เมืองทั่วทั้งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

GET ก่อตั้งขึ้นด้วยพันธกิจเดียวกับ Gojek ในการใช้เทคโนโลยีเพื่อยกระดับชีวิตของผู้ใช้บริการ โดย GET ได้เชื่อมผู้ใช้บริการในกรุงเทพฯ เข้ากับพาร์ตเนอร์คนขับมากกว่า 50,000 คน และร้านอาหารอีกกว่า 30,000 แห่ง ที่กว่า 80% เป็นกลุ่มวิสาหกิจรายย่อยขนาดย่อม

แอนดรูว์ ลี ผู้อำนวยการกลุ่มธุรกิจต่างประเทศ (Group Head of International) ของ Gojek กล่าวว่า

“GET ประสบความสำเร็จอย่างท่วมท้นในระยะเวลาอันสั้น และเราเชื่อว่าการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้จะเป็นบันไดนำเราไปสู่ความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ขึ้น การรวมแพลตฟอร์มเทคโนโลยีของเราเข้าด้วยกันเป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์ในระยะยาว เพื่อให้เราสามารถส่งมอบประสบการณ์อันยอดเยี่ยมให้แก่ผู้ใช้งานทั้งในปัจจุบันและในอนาคตต่อไป การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้สะท้อนถึงความมุ่งมั่นและทุ่มเทของ Gojek ต่อธุรกิจเราในตลาดต่างประเทศ ผ่านการเปิดตัวแบรนด์ของเราสู่ฐานผู้ใช้งานที่กว้างขึ้น เพื่อสร้างผลกระทบเชิงบวกให้กับคนทั่วทั้งภูมิภาค”

ผู้ใช้บริการยังสามารถใช้บริการเดิม ทั้งบริการส่งอาหาร บริการเรียกรถจักรยานยนต์ บริการรับ-ส่งพัสดุ และบริการอีวอลเล็ต ผู้ใช้งาน GET ในปัจจุบัน รวมทั้งคนขับและร้านพาร์ตเนอร์ต่างๆ ยังคงสามารถใช้งานแอปพลิเคชัน GET ได้ตามปกติ

]]>
1286416
‘Location Platform’ และ ‘หุ่นส่งของ’ อนาคตใหม่ของ ‘Delivery’ ที่ปลอดภัยทั้งคนรับ-ส่ง https://positioningmag.com/1271314 Thu, 02 Apr 2020 05:42:08 +0000 https://positioningmag.com/?p=1271314 เพราะโรคอุบัติใหม่ โควิด-19 ทำให้เกิดกระบวนการเร่งหรือก้าวกระโดดของการใช้ชีวิตดิจิทัล รวมถึง On-Demand-Delivery โดยในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมาของธุรกิจ delivery มีการเติบโตอย่างมาก ทั้ง GrabFood, LINE Man, Get หรือ FoodPanda ฯลฯ ได้เพิ่มจำนวนคนขับอย่างต่อเนื่อง โดยกระทรวงแรงงานเผยว่าตลาดต้องการแรงงานจัดส่งสินค้ามากถึง 20,500 อัตรา อย่าง LINE Man ปัจจุบันมีพนักงานส่งของ 50,000 คน รองรับออเดอร์จากกว่า 100,000 ร้านในเครือ

ศูนย์วิจัยกสิกรไทยวิเคราะห์ว่า ยอดขายสินค้าออนไลน์ (E-Commerce) และบริการสั่งอาหารไปยังที่พัก (Food Delivery) ในช่วงระหว่างวันที่ 22 มี.ค. – 30 เม.ย. 2563 จะเพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาปกติราว 8,000 ล้านบาท และในช่วงวันที่ 5 – 15 มี.ค. ETDA เผยถึงเหตุผลของการสั่งอาหารออนไลน์ เหตุผลแรกคือ ไม่อยากไปนั่งที่ร้านอาหาร ตามด้วยไม่อยากต่อคิว, มี promo code แจกในแอป, และสั่งอาหารออนไลน์เพราะหวั่น Covid-19 โดย 87.85% เป็นการสั่งทานที่บ้าน 46.11% ผู้สั่งทานที่ทำงาน

เพื่อความสบายใจของทั้งสองฝ่าย ที่ต่างกังวลเรื่องไวรัส พนักงานส่งของจึงเริ่มใช้วิธีดรอปสินค้าที่หน้าบ้านก่อนถึงเวลานัดจริง มากกว่าจะยื่นส่งสินค้ากันตามปกติ รวมถึงแบรนด์เดลิเวอรีก็ออกกฎต่าง ๆ เพื่อปกป้องความปลอดภัยต่อทั้งลูกค้าและพนักงาน ทั้งยืนห่างจากลูกค้า 2 เมตรในการรับส่งสินค้า และผลักดันการชำระเงินผ่านอีวอลเล็ต ทำให้มูลค่าการจัดส่งสินค้าแบบไม่สัมผัสกับลูกค้าปลายทางเติบโตขึ้นถึง 20%

สถานการณ์จะยิ่งผลักดันให้ผู้คนเข้าหาเทคโนโลยีมากยิ่งขึ้น เมื่อมี 5G ที่จะช่วยภาคการขนส่งและคมนาคมอัจฉริยะ ตั้งแต่การโอนถ่ายดาต้า สร้างการสื่อสารระหว่างคันรถ จนถึงเชื่อมต่อรถทุกคันเข้ากับผังเมืองดิจิทัล เพื่อให้ผู้ขับขี่สามารถเข้าถึงข้อมูลการจราจรที่ถูกต้องแม่นยำบนรถยนต์ได้ ส่งผลให้การขนส่งสินค้าด้วยหุ่นยนต์ยิ่งมีโอกาสเติบโตหรือรถอัตโนมัติที่นำทางด้วยแผนที่ภายใต้ระบบอัลกอริทึมของ Location platform โดยคาดว่าจะทำรายได้ 4.84 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ภายในปี 2030

และด้วยระบบ Open Location Platform จะยิ่งตอบโจทย์ on-demand economy ที่แข่งขันกันที่ความเร็ว ความสะดวก และความถูกต้องของสินค้า เนื่องจากช่วยตั้งแต่ขั้นตอนการเลือกโลเคชั่นต้นทางถึงปลายทาง และถูก localize ให้เข้ากับพื้นที่นั้น ๆ โดยเฉพาะประเทศที่มีตรอก ซอก ซอย อย่าง Amazon ตั้งเป้าส่งสินค้าถึงปลายทางได้อย่างเรียบร้อยภายใน 30 นาที หรือ Walmart ที่เริ่มให้บริการ same-day delivery ขนส่งด่วนภายในวัน ซึ่งอีคอมเมิร์ซเจ้ายักษ์ในประเทศไทย Lazada หรือ Shopee ก็เริ่มขยายธุรกิจและบริการในลักษณะนี้เช่นกัน

Open Location Platform จะทำหน้าที่ส่งตำแหน่งอัจฉริยะให้แก่บริษัทผ่านแผนที่ดิจิทัลแบบเรียลไทม์ (Application Programming Interface – API) ขณะที่ชุดพัฒนาโมบายล์ซอฟต์แวร์ (Mobile software developments kits – mSDK) ทำให้ผู้ใช้งานสามารถปักหมุดบริเวณที่ต้องการให้รถโดยสารเข้าไปรับระบบเอไอกับแมชชีนเลิร์นนิ่งที่ทำงานร่วมกันบนแผนที่จะช่วยจดจำเส้นทางใหม่และบันทึกเพิ่มในฐานข้อมูล นอกเหนือจากระบบติดตาม GPS แล้ว แพลตฟอร์มแผนที่ยังสามารถนำเสนอเส้นทางที่ดีที่สุดในช่วงเวลานั้น ๆ แก่คนขับ

#Grab #Get #Foodpanda #Lineman #Fooddelivery #HereTechnologies #Covid19 #Positioningmag

]]>
1271314
รู้จัก Ghost Kitchen เทรนด์แรง! เชนฟาสต์ฟู้ดแห่เปิดครัวกลาง ปรับทัพรับยุคทองเดลิเวอรี่ https://positioningmag.com/1250160 Fri, 18 Oct 2019 10:00:49 +0000 https://positioningmag.com/?p=1250160 Photo : Irene Jiang / Business Insider

จากที่เชนไก่ทอด Chick-fil-A ประกาศตัวยึดมั่นในแนวทาง Ghost Kitchen วันนี้ถึงคิวแบรนด์ Wendy’s ซึ่งกลายเป็นเชนอาหารฟาสต์ฟู้ดรายล่าสุดที่จะเดินตามรอย ghost kitchen เช่นกัน 

โดย Wendy’s ย้ำกับนักลงทุนว่า Ghost Kitchen จะเป็นส่วนสำคัญของกลยุทธ์การขยายธุรกิจของบริษัท และมีแผนที่จะเปิด Ghost Kitchen เพิ่ม 2 แห่งในสหรัฐฯ ภายในสิ้นปีนี้

การเปิด Ghost Kitchen นั้นมีค่าเทียบเท่ากับการเปิดร้านที่มีแต่ครัวซึ่งเน้นการผลิตอาหารเพื่อจัดส่งเดลิเวอรี่เท่านั้น ตัวร้านจะไม่มีที่นั่งสำหรับรับประทานอาหาร รวมถึงไม่มีบริการซื้ออาหารกลับบ้าน การเน้นเฉพาะการเป็นครัวเพื่อผลิตอาหารป้อนบริการเดลิเวอรี่เท่านั้นทำให้ Ghost Kitchen มีชื่อเรียกอื่นอีกว่า Dark Kitchen หรือครัวเงามืดที่สามารถแบ่งปันกันใช้ระหว่างหลายแบรนด์ร้านอาหารได้ในเชิงพาณิชย์

นอกจาก Wendy’s ยังมีเชนฟาสต์ฟู้ดอื่นในสหรัฐฯ ที่ขานรับเทรนด์ Ghost Kitchen แล้ว แบรนด์เหล่านี้ได้ร่วมมือกับ Kitchen United ซึ่งถือเป็นบริษัทชั้นนำในตลาด Ghost Kitchen เพื่อปูทางสู่การใช้ห้องครัวร่วมกันในเชิงพาณิชย์ 

ความน่าสนใจคือนาทีนี้ Ghost Kitchen เป็นกระแสร้อนแรงจน Kitchen United สามารถปิดการระดมทุนรอบ B Series ในเดือนกันยายนที่ผ่านมาด้วยมูลค่า 40 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งผู้นำทีมนักลงทุนใน Kitchen United นั้นไม่ใช่ใคร แต่เป็นบริษัทอสังหาริมทรัพย์ชื่อ RXR Realty และบริษัท GV หรือ Google Ventures ของอากู๋ Google

ครัวมืดรับเดลิเวอรี่อย่างเดียว

Abigail Pringle ประธานเจ้าหน้าที่พัฒนาธุรกิจของ Wendy’s กล่าวต่อหน้านักลงทุนของบริษัทว่า Wendy’s จะใช้ Ghost Kitchen เป็นส่วนสำคัญในการขยายธุรกิจของ Wendy’s โดยอธิบายว่า Wendy’s ตั้งเป้าเปิดห้องครัวเงา 2 แห่งที่สหรัฐอเมริกาภายในปีนี้ ทั้ง 2 แห่งจะเปิดบริการในพื้นที่ที่มีธุรกิจเดลิเวอรี่ได้รับความนิยมสูง รวมถึงเป็นภูมิภาคที่ Wendy’s ยังไม่เคยเปิดร้านมาก่อนเนื่องจากเป็นพื้นที่ที่มีอัตราค่าเช่าแพงหรือมีข้อจำกัดอื่น

การประกาศของ Wendy’s กลายเป็นสัญญาณบอกว่า Ghost Kitchen เริ่มแพร่หลายและถูกนำไปแก้ปัญหาของธุรกิจร้านอาหารได้ เพราะการเปิดร้านที่มีแต่ห้องครัวอย่าง Ghost Kitchen ทำให้เชนอาหารฟาสต์ฟู้ดสามารถประหยัดต้นทุน และหลายรายตัดสินใจเดินในเส้นทาง Ghost Kitchen เพื่อเพิ่มยอดขายโดยไม่ต้องลงทุนมากเท่าการเปิดร้านปกติ

เชนอาหารฟาสต์ฟู้ดอื่นที่พุ่งเป้า Ghost Kitchen แล้ว ได้แก่ The Halal Guys, Sweetgreen และ Chick-fil-A ซึ่งเสริมให้เจ้าพ่อวงการ Ghost Kitchen อย่าง Kitchen United มีโอกาสเข้าสู่ตลาดหุ้นนิวยอร์กซิตี้ได้สวยงามในอนาคต โดย Ghost Kitchen ในนามของ Kitchen United จะเปิดทำการที่สถานที่อื่นเพิ่มอีก 13 แห่ง หลังจากที่เปิดครัว Ghost Kitchen ได้ครบ 8 แห่งภายในสิ้นปีนี้

ปูพรมเปิดครัวเงา

ในช่วง 4 ปีข้างหน้า Kitchen United มีเป้าหมายเปิด Ghost Kitchen เพิ่มขึ้นเป็น 400 แห่ง การขยายตัวนี้สะท้อนว่าตลาดนี้มีแนวโน้มถูกขับเคลื่อนโดยความนิยมของบริการจัดส่งอาหารในกลุ่มเชนจานด่วน ซึ่ง UberEats, Postmates, GrubHub และ บริษัทเดลิเวอรี่รายอื่นต่างกำลังร่วมมือกับพันธมิตร เพื่อให้บริการจัดส่งอาหารจาก Ghost Kitchen อย่างจริงจังยิ่งขึ้นในอนาคต

การวัดอัตราการเติบโตของ Ghost Kitchen สามารถวัดจากแนวโน้มการเติบโตของตลาดเดลิเวอรี่ การสำรวจพบว่าตลาดเดลิเวอรี่จะมีมูลค่า 75,900 ล้านเหรียญภายในปี 2022 โดยรายงานปี 2018 ของบริษัท Cowen & Co. ประเมินว่ายอดขายที่เพิ่มขึ้นคิดเป็นสัดส่วนมากกว่า 3 เท่าเมื่อเทียบกับยอดเดลิเวอรี่ 23,200 ล้านเหรียญสหรัฐที่ทำได้ในปี 2011

บริการเดลิเวอรี่ที่ทำยอดขายได้มากขึ้น กลายเป็นโอกาสให้ร้านค้าที่เน้นเป็นศูนย์กลางอาหารเดลิเวอรี่หันมาสร้าง Ghost Kitchen เพื่อผลิตฟาสต์ฟู้ดจำนวนมาก ปรากฏการณ์นี้สะท้อนว่าแนวคิดการตั้งร้านอาหารฟาสต์ฟู้ดในอนาคตจะเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง และ Ghost Kitchen จะเป็นเทรนด์แรงที่มีบทบาทมากเป็นพิเศษในวงการค้าปลีกอาหารนับจากนี้

เทรนด์นี้มาถึงไทยแล้ว

ในประเทศไทยเองก็เริ่มเห็นเทรนด์เช่นนี้แล้วเหมือนกัน อย่าง Grab ที่ลงทุนสร้าง Grab Kitchen รวม 12 ร้านอาหารชื่อดังที่คนสั่งเยอะๆ มาทำเป็นครัวกลางที่รับออเดอร์เดลิเวอรี่โดยเฉพาะ

หรือแม้แต่แบรนด์สตรีทฟู้ดเขียงของ ZEN Group ที่มีรายได้จากเดลิเวอรี่ราวๆ 40 – 50% ก็เริ่มเน้นการขยายสาขาด้วยโมเดลเล็กที่มีแต่ครัวกลาง ไม่มีพื้นที่ทานอาหารในร้าน เพื่อความสะดวกในการส่งออเดอร์เดลิเวอรี่ ในตอนนี้มีแค่สาขาเดียวคือที่ศาลาแดง แต่ในปีหน้ามีแผนที่จะขยายเพิ่มอีก 40 สาขา จากทั้งหมด 100 สาขา

แสดงให้เห็นว่าเทรนด์นี้ก็เริม่มาถึงเมืองไทยแล้วเช่นกัน ต้องจับตาดูต่อไปว่าจะมีแบรนด์ไหนที่ลงมาจับตลาด Ghost Kitchen อีกบ้าง.

Source

]]>
1250160