E-WALLET – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Tue, 22 Mar 2022 05:01:26 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 เปิดลายแทงช้อปปิ้งระดับมือโปร ช้อปดีลสุดคุ้ม แถมได้โค้ดลับสุดฟิน! https://positioningmag.com/1378039 Tue, 22 Mar 2022 10:00:36 +0000 https://positioningmag.com/?p=1378039

ลืมการช้อปปิ้งแบบเดิมๆ ไปได้เลย หากใครที่คิดว่าการซื้อของแค่ได้ราคาถูกอย่างเดียวก็ฟินสุดๆ แล้ว ขอบอกว่ายังฟินไม่สุด ต้องเจอการช้อปปิ้งแบบมือโปร ช้อปอย่างไรให้ได้ดีลสุดคุ้ม แถมโค้ดส่วนลดพร้อมกับพ้อยท์สะสมแต้มไปอีก ช้อปแบบนี้เรียกว่าแจกฟรีได้หรือเปล่าเนี่ย! ต้องถาม LINE SHOPPING เขาได้เลย


ช้อปแบบ Social Commerce ก็คุ้มไม่แพ้ใคร

ต้องบอกว่าวิวัฒนาการของการช้อปปิ้งของคนไทยมีการปรับเปลี่ยนอย่างรวดเร็วในช่วง 2-3 ปีมานี้ จากแต่เดิมที่คุ้นเคยกับการต้องไปที่หน้าร้าน ไปลองจับ หรือทดลองสินค้า ก็เริ่มเปลี่ยนสู่วิถีชีวิตใหม่ๆ การช้อปปิ้งเข้าไปอยู่ในทุกแพลตฟอร์ม ไม่ว่าจะเป็นโฮมช้อปปิ้ง ดูทีวีอยู่ก็สามารถซื้อของได้อย่างง่ายๆ ขยับมาถึงช่องทางยอดนิยมอย่างการช้อปปิ้งออนไลน์ หรือ e-Commerce ที่มีด้วยกันหลายรูป แบบทั้งมาร์เก็ตเพลส ซึ่งมีหลายแพลตฟอร์มให้เลือกสรร ขึ้นอยู่ว่าหลายคนชอบสไตล์ไหน ก็ช้อปปิ้งกันอย่างถูกจริต

อย่างไรก็ตาม จากสัดส่วนการซื้อขายออนไลน์ในประเทศไทย 61% มาจากการค้าขายผ่านโซเชียลมีเดีย หรือเรียกว่า Social Commerce สัดส่วนที่สูงนี้ชี้ให้เห็นว่าการค้าขายแบบ Social Commerce ถูกจริตคนไทยยิ่งนัก เนื่องจากคนไทยโดยธรรมชาติชื่นชอบ การมีปฏิสัมพันธ์กับแม่ค้า และมีความสุขกับการ “ต่อราคา” ซึ่งเป็นอรรถรสที่ขาดไม่ได้ของการช้อปปิ้งสไตล์ไทย คนไทยจึงชอบการได้แชทคุยกันเพื่อซื้อของ สามารถถามรายละเอียดได้ครบถ้วนอีกด้วย Social Commerce จึงกลายเป็นเทรนด์สำคัญของนักช้อปทุกวันนี้

และหนึ่งในแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียยอดนิยม  ก็คงหนีไม่พ้นแพลตฟอร์ม LINE แพลตฟอร์มอันดับ 1 ที่เข้าถึงคนไทยกว่า 50 ล้านคน แถมยังมี Ecosystem ครบครัน ที่ยังคงพัฒนาเพื่อยกระดับประสบการณ์การซื้อของบน LINE ให้สะดวกกว่าเดิม โดย LINE SHOPPING ทำหน้าที่เป็นเหมือนแหล่งรวมร้านค้า LINE OA ทุกร้านไว้ในที่เดียว ที่นักช้อปสามารถ search หาร้านค้าหรือสินค้าที่สนใจ และพูดคุย สอบถามเกี่ยวกับสินค้าได้โดยตรงกับร้านค้า อีกทั้งยังรองรับวิธีการชำระเงินทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการโอนเงินแบบเดิม หรือ E-Wallet ผ่าน Rabbit LINE Pay และจ่ายผ่านบัตรเดบิตและบัตรเครดิต และยิ่งไปกว่านั้น ยังมีดีลส่วนลดสุดแสนจะคุ้ม ทำให้ทุกการจ่ายเงินของเราได้คืนกลับมา ทั้งในรูปแบบพ้อยท์ และเงินคืน ยุคนี้ แทบจะไม่มีที่ไหนที่ให้ความคุ้มค่าไปกว่า LINE SHOPPING อีกแล้ว!!


โค้ดลับสุดปัง แถมพ้อยท์สุดฟิน

นอกจากตัวแพลตฟอร์ม LINE SHOPPING จะออกแบบมาให้ใช้ง่าย สะดวกสบายทั้งผู้ซื้อ และผู้ขายแล้ว    โปรโมชั่นยังดีเสียอีก อย่างที่ทราบกันว่าคนไทยต้องคู่กับโปรโมชั่นส่วนลดอยู่แล้ว ขึ้นชื่อว่าโปรฯ ขอให้ได้ซื้อไว้ก่อน จะใช้หรือไม่ใช้ค่อยว่ากันที่หลัง บรรดาแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซต่างๆ จึงขยันแจกโค้ดส่วนลดต่างๆ หรือแฟลซเซลล์ เพื่อดึงดูดการจับจ่ายใช้สอย แต่บางทีโค้ดที่ว่าก็ใช้ได้บ้าง หรือมีจำนวนจำกัดมากๆ ทำเอาหลายคนเสียความรู้สึกเลยก็มี

แต่สำหรับ LINE SHOPPING ไม่ต้องเสียเวลาเทียบราคา หรือรีบเก็บโค้ดแต่อย่างใด จัดเต็มทั้งลด ทั้งแจก ทั้งแถม เมื่อไม่นานมานี้  LINE SHOPPING จับมือกับ LINE MANจัดแคมเปญ “ช้อป ชิม ใช้ ไปกับโค้ดโคตรฟิน” ออกมา ดูเผินๆ อาจจะเหมือนแคมเปญแจกส่วนลดแบบเดิมๆ

แต่ต้องบอกว่างานนี้ LINE SHOPPING และ LINE MAN ทำการบ้านมาอย่างดี เข้าใจไลฟ์สไตล์ และพฤติกรรมของลูกค้า ว่าชอบกินของดี และช้อปของถูกใจ จึงดีไซน์แคมเปญออกมาได้สุดปัง ตอบโจทย์ลูกค้าให้อะไรมากกว่าที่คิด ยังอุดช่องว่างปัญหาแก้จุดอ่อนต่างๆ เพื่อทำให้ลูกค้านักช้อปทั้งหลาย ซื้อของได้อย่างสบายใจ จนไม่อยากลุกออกไปไหน เพราะช้อปแล้วยังได้คืนสั่งอาหารได้ต่อให้ท้องอิ่มอีกด้วย มาดูกันเลยว่าแคมเปญ “ช้อป ชิม ใช้” คุ้มอย่างไร ทำไมถึงไม่ควรพลาด!

  • ต่อที่ 1 รับโค้ดส่วนลดสำหรับการสั่งอาหารบน LINE MAN แบบซื้อเท่าไร เอาไปเท่านั้นเลย… นอกจากจะทำให้เราเอ็นจอยกับการช้อปปิ้งได้ของถูกใจควบคู่ไปกับการได้กินของอร่อย เหมือนการเดินช้อปปิ้งในศูนย์การค้าแล้ว ตรงนี้ช่วยทำให้เราไม่ต้องกระวนกระวายหาโปรโมชั่นบัตร หรือสิทธิประโยชน์จากการเป็นสมาชิกที่ไหน และยังจะให้มากกว่าทุกเจ้าอีกด้วย แค่เพียงนักช้อปซื้อสินค้าจากร้านค้าบน LINE SHOPPING ให้ครบ 300 บาท ก็จะได้รับโค้ดส่วนลด LINE MAN สูงสุด 300 บาท และรับโค้ดพิเศษในวันพิเศษเพิ่มสูงสุด 3 เท่าเลยทีเดียว แค่ต่อแรกก็ว้าวแล้วใช่ม้า… ไปดูต่อที่ 2 กันเลย

  • ต่อที่ 2 รับพ้อยท์แลกเป็นเงินสด เพราะไม่มีอะไรจะดีไปกว่ามีเงินสดอยู่ในมือ ในเมื่อเราต้องซื้อของอีกอยู่แล้ว อย่ามัวเสียเวลาต่อรองราคาอยู่เลย เปลี่ยนจากการได้รับส่วนลดเล็กๆ น้อยๆ มาเป็นพ้อยท์เพื่อเอาเงินไปช้อปต่อดีกว่า โดยทุกการช้อป ที่จ่ายผ่าน Rabbit LINE Pay จะได้รับ LINE POINTS เพื่อสะสมนำไปแลกเป็นส่วนลดเงินสด ซึ่งนักช้อปสามารถใช้ได้ทั้งบน LINE SHOPPING และ LINE MANและยังมีโอกาสรับ LINE POINTS ทวีคูณพิเศษ 2 เท่า หรือ 3 เท่าในวันที่มีแคมเปญพิเศษจาก LINE SHOPPING อีกด้วย

ด้วยคุณสมบัติของ LINE POINTS เองก็ถือว่าดีงามอยู่แล้ว เพราะสามารถนำไปใช้แทนเงินสดได้เหมือนกัน ไม่ว่าจะเป็นการแลกซื้อสินค้าจากไลน์ เช่น LINE STICKERS THEME SHOP และ LINE MELODY หรือจะเอาไว้จ่ายค่ารถไฟฟ้า ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าโทรศัพท์ ค่าบัตรเครดิตก็ได้ทั้งนั้น นั่นก็แปลว่า แค่มีพ้อยท์ก็คุ้มมากอยู่แล้ว แต่คราวนี้มีแคมเปญ “ช้อป ชิม ใช้ ไปกับโค้ดโคตรฟิน”เข้ามาอีก ก็ยิ่งเพิ่มโอกาสให้เราใช้พ้อยท์ได้หลากหลายช่องทางมากขึ้น และยังเพิ่มมูลค่าพ้อยท์ที่มีอยู่ให้มากขึ้นไปอีกด้วย

ปัจจุบัน LINE SHOPPING คือผู้นำด้านโซเชียลคอมเมิร์ซแหล่งรวมร้านค้าโซเชียลกว่า 3 แสนร้านค้าที่เข้าถึงผู้ใช้ LINE กว่า 50 ล้านคน เพียงเปิด LINE ไปที่แท็บ Wallet และเลือก LINE SHOPPING ก็สามารถเพลิดเพลินกับการช้อปปิ้งแบบสุดคุ้มได้แล้ว

ถ้าใครอยากช้อปแบบมือโปร นอกจากจะได้สินค้าที่ถูกใจ แล้วยังได้ความภาคภูมิใจในตัวเองที่ได้ดีลที่สุดคุ้มค่าละก็ สามารถร่วม “ช้อป ชิม ใช้ ไปกับโค้ดโคตรฟิน” ได้แล้วบน LINE SHOPPING ตั้งแต่วันนี้ ถึง 31 มีนาคม แล้วจะรู้ว่าความโคตรฟินมันเป็นอย่างไร!

]]>
1378039
เปิดสูตร ‘ธุรกรรมการเงิน’ ของกรุงศรี กับภารกิจสร้าง ‘บริการดิจิทัล’ ที่ตอบโจทย์ลูกค้าได้ทุกกลุ่ม https://positioningmag.com/1351948 Thu, 16 Sep 2021 10:00:26 +0000 https://positioningmag.com/?p=1351948

หลายคนคงคุ้นเคยกับบริการหลักๆ ของธนาคาร อย่างเงินฝาก สินเชื่อ บัตรเครดิต/เดบิต การบริหารความเสี่ยงด้านอัตราเเลกเปลี่ยน การลงทุนเเละบริการ ‘ธุรกรรมการเงิน’

เมื่อเจาะลึกไปยังส่วนของ ‘ธุรกรรมการเงิน’ จะเห็นว่าเป็นสิ่งที่อยู่ ‘ใกล้ตัวเรามากที่สุด’ ทั้งการรับ-จ่ายเงินในประเทศ ระหว่างประเทศ หรือชำระสินค้าเเละบริการ ส่งเงินให้เพื่อนฝูง ญาติพี่น้อง การรับจ่ายเงินเหล่านี้ จึงครอบคลุม ‘ลูกค้าทุกกลุ่ม’ ไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดา ผู้ประกอบการรายย่อย SMEs ไปจนถึงธุรกิจรายใหญ่เเละหน่วยงานภาครัฐ


บริการที่เปลี่ยนไป ตามเทรนด์ดิจิทัล

ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ธุรกรรมการเงิน ได้เปลี่ยนเเปลงไปอย่างมาก จากเดิมในอดีตที่ส่วนใหญ่มักจะให้บริการกับองค์กรขนาดใหญ่ ปัจจุบันลูกค้าทั่วไปสามารถเข้าถึงช่องทางดิจิทัลได้ทุกคน โอนเงินผ่านมือถือได้ทุกที่

เเนวโน้มตลาดที่เติบโต ทำให้บรรดาลูกค้าธุรกิจขนาดเล็กเเละขนาดกลาง เริ่มเปิดช่องทางการชำระเงินที่หลากหลายมากขึ้น โดย ‘ลูกค้าทุกกลุ่ม’ ต่างหันมาใช้บริการทางการเงินดิจิทัล สะท้อนให้เห็นการมุ่งไปสู่ ‘สังคมไร้เงินสด’ (Cashless Society) อย่างเต็มรูปแบบในอนาคตอันใกล้

จากข้อมูลพบว่า จำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตของไทย เพิ่มขึ้น 14% จากปี 2559-2563 คิดเป็นกว่า 75% ของประชากรทั้งหมด

เทรนด์เทคโนโลยีเหล่านี้ มีส่วนช่วยกระตุ้นให้ลูกค้าของ ‘ธนาคารกรุงศรีอยุธยา’ จำนวนมาก หันมาใช้บริการผ่านทางดิจิทัลเพิ่มขึ้น โดยในกลุ่มลูกค้าบุคคล มีการใช้ช่องทางดิจิทัลเพิ่มขึ้นกว่า 131% จากปี 2561 เเละลูกค้าธุรกิจ เพิ่มขึ้น 56% จากปี 2562

 ขณะเดียวกัน ช่องทางการใช้บริการก็เปลี่ยนไปอย่างเห็นได้ชัด เช่น ผู้ใช้บริการทางดิจิทัลล้วนๆ จากเดิมมีเเค่ 8% เเต่ขณะนี้เพิ่มขึ้นเป็นกว่า 33% นับเป็นอัตราการเติบโตที่น่าสนใจทีเดียว

ดังนั้น การสร้างสรรค์ ‘นวัตกรรมทางการเงินใหม่ๆ’ จึงกลายเป็นสิ่งจำเป็นที่สถาบันการเงิน ต้องพัฒนาให้ก้าวทันพฤติกรรมผู้บริโภค เปิดทางการรับ-จ่ายเงินของทั้งผู้ซื้อเเละผู้ขาย ผู้ส่งเเละผู้รับ ให้ง่าย สะดวกเเละมีความปลอดภัยสูง

วันนี้ เรามีโอกาสพูดคุยกับ ‘ยิ่งลักษณ์ คงคาสัย’ ประธานคณะเจ้าหน้าที่ด้านธุรกรรมการเงิน ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) ถึงภารกิจการยกระดับธุรกรรมการเงินในยุคดิจิทัล ว่ามีกลยุทธ์เเละทิศทางต่อไปอย่างไรบ้าง


ทันสมัย ครบ เเละเเตกต่าง

 เธอเล่าว่า เมื่อโลกปรับ ธุรกิจต้องเปลี่ยน นำมาสู่เเผนการดำเนินธุรกิจระยะกลางของกรุงศรี ในช่วงปี 2564-2566 เพื่อเป้าหมายสำคัญสู่การเป็นสถาบันการเงินไทยที่เป็น ‘ที่หนึ่งในใจลูกค้า’ พร้อมเชื่อมโยงความต้องการของลูกค้าทั่วภูมิภาคอาเซียน

โดยปัจจัยสำคัญที่จะทำให้ธุรกรรมการเงิน เติบโตไปกับเทรนด์ของโลกได้ ก็คือการพัฒนาบริการตามพฤติกรรมผู้บริโภค การปรับกฎ กติกาของภาครัฐให้เอื้อต่อการใช้ดิจิทัล รวมไปถึง ต้องก้าวไปพร้อมกับการขยายตัวของธุรกิจในภูมิภาคที่มีการชำระเงินระหว่างประเทศมากขึ้น เเละเทคโนโลยีที่รองรับวิถีการจ่ายเงินในยุคใหม่ อย่าง e-Wallet , QR Payment ฯลฯ

“ธนาคารไม่ใช่เเค่ต้องก้าวให้ทัน เเต่ต้องคาดการณ์ถึงอนาคตได้ว่า ลูกค้ามีความต้องการอย่างไร”

สำหรับเเผนงานหลักของกรุงศรี เพื่อปูทางสร้างรากฐานการให้บริการที่เเข็งเเกร่ง ให้ลูกค้าได้รับประสบการณ์ที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง เเบ่งออกเป็น 3 ส่วนง่ายๆ คือ

1.ทันสมัย นำเทคโนโลยีมาใช้ในการสร้างนวัตกรรมทางการเงินใหม่ๆ เพื่อให้บริการรับ-จ่ายเงินทั้งในเเละต่างประเทศ

2.ครบ ต้องบริการให้ครบความต้องการของลูกค้าเเต่ละกลุ่ม ที่เเตกต่างกัน ทั้งบุคคลทั่วไป ธุรกิจขนาดเล็ก-กลาง-ใหญ่

3.เเตกต่าง ท่ามกลางสมรภูมิการเเข่งขันของเเบงก์ในยุคดิจิทัล กรุงศรี มีจุดเเข็งคือ การนำเครือข่ายธนาคาร MUFG บริษัทเเม่จากญี่ปุ่น และพันธมิตรทางธุรกิจทั่วโลก มาใช้ให้เป็นประโยชน์ในการให้บริการกับลูกค้า

“การที่ MUFG มีเครือข่ายอยู่กว่า 50 ประเทศทั่วโลก ทำให้กรุงศรีสามารถให้คำปรึกษาเรื่องการลงทุนต่างประเทศกับลูกค้าที่ต้องการได้เป็นอย่างดี ข้อมูลต่างๆ มีความเเม่นยำและมีธนาคารที่สนับสนุนด้านธุรกรรมการเงินเพราะ MUFG ทำธุรกิจอยู่ในประเทศนั้นๆ อยู่เเล้ว” 


บริการที่ดีต้องตอบโจทย์ ‘ลูกค้าทุกกลุ่ม’

 ความเคลื่อนไหวด้านธุรกรรมการเงินดิจิทัลของกรุงศรี ในช่วงปี 2563 ที่ผ่านมา มีกลยุทธ์ที่น่าศึกษาอย่าง การนำเทคโนโลยีใหม่ที่เรียกว่า API มาเป็นตัวช่วยเชื่อมต่อการเเลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างลูกค้าเเละธนาคาร ให้มีความสะดวก รวดเร็วเเละปลอดภัยยิ่งขึ้น

นิลวรรณ จีระบุญ ผู้บริหารสายงานพัฒนาผลิตภัณฑ์ธุรกรรมการเงิน ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด
(มหาชน) ให้ข้อมูลเพิ่มเติมถึงผลิตภัณฑ์และบริการในด้านธุรกรรมการเงินว่า ที่ผ่านมามีบริการที่ต่อยอดเทคโนโลยี API มาใช้ในชีวิตประจำวันของลูกค้าทุกคน อย่างเช่น การเติมเงิน จ่ายบิล ออนไลน์ช้อปปิ้งผ่านเเพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซต่าง ๆ

นอกจากนี้ ยังอัพเกรดการจ่ายเงินด้วย QR Code ให้ครอบคลุมทั้งในเเละต่างประเทศ นำร่องเปิดบริการ cross-border QR payment ระหว่างไทย-ญี่ปุ่นก่อนเมื่อปีที่เเล้ว เเละล่าสุดเพิ่งประกาศเปิดตัวในอินโดนีเซีย ไปในเดือนก.ย. 2564

โดยมุ่งตอบโจทย์การใช้งานในกลุ่มลูกค้าคนไทยที่เดินทางท่องเที่ยวไปที่อินโดนีเซีย และชาวอินโดนีเซียที่เข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทยเป็นหลัก ซึ่งกรุงศรีจะมีเเผนการขยายไปยังประเทศอาเซียนอื่นๆ ต่อไป

อีกบริการที่ขาดไม่ได้ คือการขยายช่องทางการโอนเงินระหว่างประเทศ โดยเน้นไปที่ลูกค้าบุคคลรายย่อยที่โอนเงิน 15 สกุลเงินผ่านเเอปพลิเคชัน KMA

ด้านลูกค้าธุรกิจนั้น กรุงศรีได้เชื่อมโยงกับภาครัฐในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางการเงินของประเทศ เช่น การให้บริการยื่นภาษีหัก ณ ที่จ่ายอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น

ในส่วนของปีนี้ ก็มีการพัฒนาต่อยอดบริการ โดยเน้นไปที่การทำให้ผู้ประกอบการรายย่อยรับ-จ่ายเงินได้สะดวกมากขึ้น สอดคล้องกับวิถีชีวิต New Normal ในช่วงโรคระบาด เช่น เเอปพลิเคชันสำหรับร้านค้า ที่มีชื่อว่า ‘กรุงศรี มั่งมีช้อป’ ขยายการชำระเงินด้วย QR Code เเละ e-Wallet เเละช่องทางรับเงินจากการขายผ่านเว็บไซต์

ทั้งนี้ ในช่วงวิกฤตโควิด-19 ฟังก์ชั่นธุรกรรมการเงินที่ได้รับความนิยมมากที่สุด คือ การจ่ายชำระค่าสินค้า “โดยมีปริมาณการใช้จ่ายเพิ่มขึ้น เเต่จำนวนเงินในแต่ละรายการต่ำลง” เนื่องจากผู้คนจ่ายเงินเพื่อซื้อของเล็กๆ น้อยๆ หลักสิบหลักร้อยกันมากขึ้น เพื่อลดการสัมผัสเงินสด

สำหรับลูกค้าธุรกิจขนาดกลางเเละรายใหญ่ มีการเชื่อมต่อโดยตรงกับระบบของลูกค้าได้เเบบ ‘เรียลไทม์’ รวมถึงการเชื่อมต่อกับการจัดซื้อของลูกค้าได้ เเละนำส่งรายงานต่างๆ ที่จำเป็นให้กับภาครัฐ อย่าง e-WHT , e-TAX Invoice เเละ e-Receipt

“เราต้องการลดขั้นตอนการทำธุรกรรมให้กับลูกค้า ให้ผู้ใช้สะดวกสบายมากขึ้น ลดการเซ็นเอกสาร ให้ลูกค้าสามารถใช้บริการได้ในเเพลตฟอร์มเดียว เเละเรียกดูรายงานได้ทุกที่ ทุกเวลา ได้รับประโยชน์ที่จับต้องได้”

 ด้านการขยายทีมงาน เพื่อพัฒนาด้านดิจิทัลของกรุงศรีนั้น นอกจากจะทุ่มงบเงินลงทุนในส่วนนี้มากขึ้นเเล้ว สิ่งที่จะต้องให้ความสำคัญก็คือการ ReSkill เเละ UpSkill ขยายทักษะของบุคลากรที่มีอยู่ จัดเทรนนิ่งภายในบริษัท ให้พนักงานก้าวทันเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไป


ความท้าทายของ ‘ดิจิทัลเเบงก์กิ้ง’

เมื่อพูดถึงเเนวโน้มตลาดดิจิทัลเเบงก์กิ้งในอาเซียน ยิ่งลักษณ์ มองว่า ตอนนี้ทุกประเทศมีความตื่นตัวในการใช้ดิจิทัลเพื่อการรับจ่ายเงินเพิ่มขึ้น เเต่การยอมรับเเละการนำไปใช้จริงในเเต่ละประเทศนั้น ‘จะไม่เท่ากัน’

ในส่วนของประเทศไทย ได้รับการสนับสนุนจากธนาคารเเห่งประเทศไทย (ธปท.) เเละมีเเผนเเม่บทอย่างชัดเจน เเละมีความร่วมมือกับธนาคารกลางในประเทศอื่นๆ ด้วย อย่างอินโดนีเซีย สิงคโปร์ จุดนี้ทำให้เห็นว่า การขับเคลื่อนจากฝั่งรัฐบาลที่มาช่วยเสริมเอกชนนั้น ทำให้ดิจิทัลเเบงก์กิ้งในอาเซียนจะเติบโตขึ้นเรื่อยๆ ได้เร็วขึ้น

“ความท้าทายในการยกระดับธุรกรรมการเงินในไทย ไม่ใช่เรื่องเทคโนโลยีหรือการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต เเต่เป็นเรื่องของการยอมรับการใช้ ผู้บริโภครายเล็กจะยอมรับได้ง่ายกว่า เพราะโอนจ่ายในชีวิตประจำวันอยู่เเล้ว เเต่ภาคธุรกิจที่มีปริมาณธุรกรรมเยอะ จะคำนึงถึงระบบความปลอดภัย ความเเม่นยำ ข้อมูลสำหรับตรวจสอบ จึงเป็นความท้าทายในเเง่ของการประยุกต์ใช้”

ต่อไปนี้ เราคงได้เห็นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการเงินและระบบการชำระเงินให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น สอดคล้องกับทิศทางการทำธุรกรรมการเงินผ่านดิจิทัลที่เติบโต ซึ่งส่งผลดีต่อผู้บริโภคอย่างเราๆ ที่จะได้รับบริการที่สะดวก รวดเร็ว ปลอดภัยยิ่งขึ้นตามไปด้วยนั่นเอง

อ่านรายละเอียดบริการดิจิทัลเเบงก์กิ้งของกรุงศรี ได้ที่ www.krungsri.com

 

]]>
1351948
‘ฟินเทค’ ในเวียดนาม กำลังรุ่ง…MoMo สตาร์ทอัพ e-Wallet ระดมทุนใหญ่มุ่งเป็น Super App https://positioningmag.com/1314310 Thu, 14 Jan 2021 09:41:50 +0000 https://positioningmag.com/?p=1314310 สตาร์ทอัพฟินเทคในเวียดนาม กำลังได้รับความสนใจจากนักลงทุนทั่วโลก ล่าสุด MoMo ผู้ให้บริการ
อีวอลเล็ต (e-Wallet) รายใหญ่ที่สุดในประเทศ ระดมทุนได้เกิน 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐ วางเเผนสู่การเป็น ‘Super App’ เตรียมเสนอขายหุ้น IPO ภายในปี 2025

เทคโนโลยีด้านการเงินในเวียดนาม ที่มีประชากรเกือบ 98 ล้านคน มีกลุ่มคนหนุ่มสาวจำนวนมาก เเละเป็นหนึ่งในประเทศที่เติบโตไวสุดในอาเซียน เริ่มได้รับความสนใจจากนักลงทุนมากขึ้นในช่วงการเเพร่ระบาดของ COVID-19 เมื่อธุรกิจอีคอมเมิร์ซเเละการค้าขายออนไลน์เป็นที่นิยมเพิ่มมากขึ้น ร้านค้าเเละผู้บริโภคมองหาตัวเลือกการชำระเงินเเบบไร้สัมผัส (Contactless Payment)

Pham Thanh Duc ซีอีโอของ MoMo เปิดเผยกับ Reuters ว่า ไม่สามารถระบุจำนวนเงินที่ได้จากการระดมทุนครั้งนี้ได้ เนื่องจากข้อตกลงที่ทำร่วมกับนักลงทุน แต่บอกได้ว่าครั้งนี้เพิ่มขึ้นกว่าการระดมทุนครั้งก่อนที่เคยทำไว้
100
ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 3 พันล้านบาท)

โดยมีบริษัทใหญ่ 6 ราย ร่วมลงทุน ได้แก่ Warburg Pincus, Goodwater Capital, Affirma Capital Singapore, Kora Management, Macquarie Capital และ Tybourne Capital Management

MoMo มีชื่อย่อมาจาก Mobile Money ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2007 เป็นแอปพลิเคชันการชำระเงินออนไลน์ รายใหญ่ที่สุดของเวียดนาม ปัจจุบันมียอดผู้ใช้บริการกว่า 23 ล้านคน โดยตั้งเป้าเพิ่มขึ้น 2 เท่าให้เป็นราว 50 ล้านคน ภายใน 2 ปีข้างหน้า พร้อมวางเเผนจะเสนอขายหุ้น IPO สู่สาธารณะภายในช่วงปี 2021-2025

การระดมทุนครั้งนี้ จะช่วยสนับสนุนการเติบโตของ MoMo ให้ก้าวสู่การเป็นแอปพลิเคชันที่ครอบคลุมทุกบริการแบบครบวงจร ที่เรียกว่าSuper Appซึ่งพิสูจน์ให้เห็นเเล้วว่าเป็นโมเดลที่ประสบความสำเร็จทั้งในจีน สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย

แม้ว่าตอนนี้ชาวเวียดนามจะยังนิยมชำระด้วยเงินสดเป็นหลัก แต่การชำระเงินผ่านสมาร์ทโฟนก็เพิ่มสูงขึ้นเกือบเเตะ 700 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ภายในสิ้นเดือนสิงหาคม 2020 ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นถึง 980% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันในปี 2019

Tech in Asia รายงานว่า ธุรกิจฟินเทคในเวียดนาม ปัจจุบันมีผู้เล่นอยู่ราว 39 ราย มีการเเข่งขันกันอย่างดุเดือดเพื่อชิงช่องว่างตลาด โดยในช่วงครึ่งแรกของปี 2020 เเอปอี-วอลเล็ตที่ได้รับการดาวน์โหลดมากที่สุด ได้แก่ MoMo, ViettelPay, AirPay และ ZaloPay

เจ้าใหญ่อย่าง MoMo ต้องรับศึกหนักเพื่อต่อสู้กับ VNPay เเอปฯ ชำระเงินออนไลน์ที่มียอดผู้ใช้งานอยู่ที่ราว 15 ล้านคน ซึ่งกำลังจะเป็นสตาร์ทอัพ ยูนิคอร์นตัวล่าสุดของเวียดนาม

โดยผู้ร่วมก่อตั้ง MoMo เคยกล่าวกับ Tech in Asia ว่า บริษัทยังมีข้อได้เปรียบในตลาดนี้ เนื่องจากมีผู้ค้าออฟไลน์จำนวนมาก” อยู่ในเครือข่าย ตั้งแต่ร้านสะดวกซื้อ ซูเปอร์มาร์เก็ตรายใหญ่ที่สุดในประเทศ ไปจนถึง
ร้านกาแฟเเละร้านขายของชำรายย่อย

 

ที่มา : Reuters , Tech in Asia

 

]]>
1314310
เจาะพฤติกรรม “จ่ายเงินเเบบไร้สัมผัส” ของคนไทย หลังโควิด ดัน Mobile Banking เเละ e-Wallet โต https://positioningmag.com/1295694 Sun, 06 Sep 2020 09:23:24 +0000 https://positioningmag.com/?p=1295694 เจาะพฤติกรรมจ่ายเงินแบบไร้สัมผัสของคนไทย หลังช่วงวิกฤต COVID-19 คลี่คลายลง พบว่ายังมีผู้บริโภคที่ใช้งาน Mobile Banking และ e-Wallet มากขึ้น ขณะที่มีผู้บริโภคกลุ่มใหม่เข้ามาใช้งานเพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน พร้อมดันการแข่งขันในตลาดดุเดือดขึ้น

จากการสำรวจของศูนย์วิจัยกสิกรไทย ระบุว่า ผู้บริโภคในช่วงวัย 35-44 ปี เป็นกลุ่มที่เข้ามาใช้ Mobile Banking และ e-Wallet เพิ่มขึ้น จากเดิมที่การใช้งานกระจุกตัวอยู่ที่ช่วงวัย 25-34 ปี สะท้อนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้บริโภค ซึ่งเป็นปัจจัยผลักดันต่อการใช้งาน Mobile Banking และ e-Wallet ให้เพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง

โดยคาดว่า ทั้งปี 2563 ธุรกรรมโอนเงินและชำระค่าสินค้าและบริการผ่าน Mobile Banking และ e-Money น่าจะยังมีการเติบโตต่อเนื่อง และแม้ว่าจะได้รับแรงผลักดันจากพฤติกรรม Contactless Payment ที่เป็น New Normal แต่อัตราการเติบโตก็ชะลอลง เนื่องจากมูลค่าธุรกรรมต่อครั้งลดต่ำลง ประกอบกับผู้บริโภคมีอำนาจซื้อลดลงจากผลของภาวะเศรษฐกิจหดตัว

Photo by Lauren DeCicca/Getty Images

คาดว่าปีนี้ จะมีปริมาณธุรกรรมโอนเงินและชำระค่าสินค้าและบริการผ่าน Mobile Banking ราว 7,758.0-7,927.5 ล้านรายการ ขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 57.5-61.0 ส่วนมูลค่าธุรกรรมจะอยู่ที่ประมาณ 28,910.4 – 29,707.2 พันล้านบาท ขยายตัวราวร้อยละ 18.4-21.7 จากปี 2562

ขณะที่ปริมาณธุรกรรมการโอนเงินและชำระค่าสินค้าและบริการด้วย e-Money น่าจะอยู่ที่ประมาณ 1,990.1-2,038.0 ล้านรายการ ขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 1.2-3.7 ส่วนในด้านมูลค่าจะอยู่ที่ประมาณ 286.3-291.1 พันล้านบาท ขยายตัวราวร้อยละ 1.5-3.2

จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า น่าจะเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญต่อพฤติกรรมการโอนเงินและชำระค่าสินค้าและบริการของผู้บริโภคไทยโดยรวม อันจะส่งผลต่อความต้องการใช้งาน Mobile Banking และ e-Wallet ในไทย รวมไปถึงสภาวะการแข่งขันในตลาดของผู้ให้บริการ Mobile Banking และ e-Wallet ซึ่งมีข้อสังเกตอยู่สองประการหลัก ดังนี้

1. สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID-19 เป็นปัจจัยเร่งสำคัญที่ทำให้พฤติกรรมการโอนเงินและชำระค่าสินค้าและบริการของผู้บริโภคไทยอีกส่วนหนึ่งเปลี่ยนไป

โดยทำให้เกิด New Normal ที่มุ่งสู่การโอนเงินและชำระค่าสินค้าและบริการแบบไร้การสัมผัส หรือ Contactless Payment ส่งผลให้การทำธุรกรรมโอนเงินและชำระค่าสินค้าและบริการผ่าน Mobile Banking และ e-Wallet เพิ่มขึ้น โดยผู้บริโภคกลุ่มเดิมที่มีความคุ้นชินในการใช้งานอยู่แล้วก็จะมีการใช้งานมากขึ้น อาทิ ผู้บริโภคในกลุ่มนักศึกษาและวัยทำงานตอนต้น ขณะเดียวกันผู้บริโภคกลุ่มใหม่โดยเฉพาะกลุ่มวัยทำงานตอนกลาง ก็จะเข้ามาใช้งาน Mobile Banking และ e-Wallet เพื่อการโอนเงินและชำระค่าสินค้าและบริการมากขึ้น

ดังจะเห็นได้ว่า ในช่วงเดือนพฤษภาคม 2563 ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นช่วงหลังจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ในไทยคลี่คลายลง ปริมาณธุรกรรมโอนเงินและชำระเงินผ่าน Mobile Banking และ e-Money ขยายตัวในอัตราสูงราวร้อยละ 19.4 (MoM) และร้อยละ 14.7 (MoM) ตามลำดับ สะท้อนให้เห็นถึงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้บริโภคไทยโดยรวม สอดคล้องกับผลสำรวจของศูนย์วิจัยกสิกรไทย พบว่า ภายหลังการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ในไทยคลี่คลายลง ยังมีผู้บริโภคที่ใช้งาน Mobile Banking และ e-Wallet มากขึ้น ขณะที่มีผู้บริโภคกลุ่มใหม่เข้ามาใช้งานเพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน

2. ในช่วงระหว่างที่มีการแพร่ระบาดของ COVID-19 ผู้บริโภคไทยราวร้อยละ 73.0 มีการโอนเงินและชำระค่าสินค้าและบริการผ่าน Mobile Banking และ e-Wallet เพิ่มขึ้น

จากเดิมที่มีการโอนเงินและชำระค่าสินค้าและบริการผ่าน Mobile Banking และ e-Wallet ประมาณ 9 ครั้งต่อสัปดาห์ และเมื่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ในไทยคลี่คลายลง ผู้บริโภคราวร้อยละ 39.8 ยังคงมีการใช้งาน Mobile Banking และ e-Wallet เพื่อโอนเงินและชำระค่าสินค้าและบริการเพิ่มขึ้น

3.ผู้บริโภคราวร้อยละ 49.7 ได้กลับมาใช้งาน Mobile Banking และ e-Wallet เพื่อโอนเงินและชำระค่าสินค้าและบริการในปริมาณที่เท่าเดิม 

เมื่อเทียบกับช่วงก่อนการแพร่ระบาด ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้บริโภคกลุ่มเดิมที่ใช้งานในปริมาณมากอยู่แล้ว ทั้งนี้ มีข้อสังเกตที่น่าสนใจคือ ในช่วงระหว่างการแพร่ระบาดไปจนถึงช่วงหลังการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ในไทย มีกลุ่มผู้บริโภคในช่วงวัย 3544 ปี เข้ามาใช้ Mobile Banking และ e-Wallet ในการโอนเงินและชำระค่าสินค้าและบริการเพิ่มขึ้น จากเดิมที่กระจุกตัวอยู่ที่ช่วงวัย 25-34 ปี สะท้อนให้เห็นถึงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้บริโภคที่ไม่ต้องการสัมผัสกับเงินสดเพื่อลดความเสี่ยงของการแพร่ระบาดของโรค นับว่าเป็นพฤติกรรม New Normal ที่เป็นปัจจัยผลักดันต่อการใช้งานแพลตฟอร์ม Mobile Banking และ e-Wallet ให้เพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง

นอกจากนี้ การแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ก็เป็นปัจจัยผลักดันให้ร้านค้าต่างๆ โดยเฉพาะร้านค้าขนาดเล็ก เริ่มมีการรับชำระค่าสินค้าและบริการด้วย QR Code มากขึ้น ซึ่งน่าจะส่งผลให้การใช้งาน Mobile Banking และ e-Wallet เพิ่มสูงขึ้นไปอีกในระยะข้างหน้า และเป็นเหตุสำคัญประการหนึ่งที่ทำให้มูลค่าการโอนเงินและชำระค่าสินค้าและบริการต่อครั้งมีแนวโน้มลดต่ำลงอย่างต่อเนื่อง

“ผู้ให้บริการ Mobile Banking และ e-Wallet ก็ยังจะต้องเผชิญกับความท้าทายในด้านสภาวะการแข่งขันที่เข้มข้นจากการเข้ามาของผู้ประกอบการรายใหม่ที่หลากหลาย โดยเฉพาะการเข้ามาของผู้ให้บริการแพลตฟอร์มโซเชียลเน็ตเวิร์ก e-Market Place Food Delivery รวมถึงผู้ประกอบการห้างสรรพสินค้าและซูเปอร์มาร์เก็ต ที่มีฐานลูกค้าหรือผู้ใช้งานในชีวิตประจำวันเป็นจำนวนมาก อีกทั้งยังต้องเผชิญกับความคาดหวังของผู้บริโภคที่เพิ่มสูงขึ้น ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เป็นไปอย่างรวดเร็ว” 

จากการสำรวจของศูนย์วิจัยกสิกรไทย พบว่า ลักษณะแอปพลิเคชัน Mobile Banking และ e-Wallet 3 อันดับแรก ที่จะสามารถตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคได้ในปัจจุบัน ได้แก่

  • แอปพลิเคชันที่สามารถอำนวยความสะดวกในการใช้งานด้วยการรวมทุกบัญชีออนไลน์ไว้ในแอปพลิเคชันเดียว
  • แอปพลิเคชันที่สามารถตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ในชีวิตประจำวัน เช่น การเป็นแพลตฟอร์ม Food Delivery หรือ e-Market place ในตัวเอง 
  • แอปพลิเคชันที่มี Feature การใช้บัตรเครดิต

ซึ่งลักษณะทั้ง 3 ประการดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงความท้าทายที่ผู้ให้บริการ Mobile Banking และ e-Wallet จะต้องเผชิญในการพัฒนา Feature การใช้งานให้สามารถอำนวยความสะดวกและสามารถตอบโจทย์การใช้ชีวิตประจำวันของผู้บริโภคให้ได้มากที่สุด เพื่อให้เป็นแอปพลิเคชันที่ผู้บริโภคส่วนใหญ่เลือกเป็นอันดับแรก

นอกเหนือจากการเผชิญกับความท้าทายด้านการแข่งขันที่เข้มข้นในตลาด และความคาดหวังของผู้บริโภค ตามที่กล่าวมาข้างต้น ผู้ให้บริการ Mobile Banking และ e-Wallet อาจจะต้องเผชิญกับความท้าท้ายด้านการพัฒนาระบบภายใน โดยเฉพาะระบบที่สร้างความมั่นคงและปลอดภัยทางไซเบอร์ (Cyber Securities) เพื่อป้องกันข้อมูลส่วนบุคคลและข้อมูลทางการเงินของลูกค้า รวมถึงเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ลูกค้าในการใช้งาน นอกจากนี้ ผู้ให้บริการจำเป็นจะต้องคำนึงถึงกฎระเบียบในการทำธุรกรรมของหน่วยงานที่กำกับดูแล โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล โดยการทำธุรกรรมหรือกระบวนการต่างๆ ที่จะทำการตลาดในระยะข้างหน้า จะต้องไม่ขัดกับ พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลด้วย

โดยสรุป ผู้ให้บริการโอนเงินและชำระค่าสินค้าและบริการผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์อย่าง Mobile Banking และ e-Wallet ในไทยยังมีโอกาสเติบโตในระยะข้างหน้า ภายหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID-19 คลี่คลาย แต่ก็ยังต้องเผชิญกับการแข่งขันในตลาดที่เข้มข้นจากการเข้ามาของกลุ่มผู้ประกอบการรายใหม่ในตลาด โดยเฉพาะกลุ่มผู้ให้บริการ e-Wallet

“ในระยะข้างหน้า จะยังเห็นบรรยากาศการแข่งขันในการทำกลยุทธ์ด้านราคาและโปรโมชันของกลุ่มผู้ประกอบการที่เข้มข้นยิ่งขึ้น โดยน่าจะเป็นการทำการตลาดเพื่อกระตุ้นการเปิดใช้บริการของทั้งทางฝั่งของกลุ่มผู้บริโภคและกลุ่มผู้ประกอบการร้านค้าและร้านอาหารต่างๆ ที่หลากหลายมากขึ้น อาทิ การให้ส่วนลดสำหรับการชำระค่าสินค้าและบริการในร้านค้าที่ร่วมรายการ การให้คูปองเงินสดสำหรับการเปิดใช้บัญชี การสะสมคะแนนเพื่อแลกของรางวัล เป็นต้น” 

 

 

]]>
1295694
รู้จัก ‘Dolfin’ น้องใหม่ตลาด ‘e-payment’ กับแนวคิดมาก่อนหรือหลังไม่สำคัญ เพราะศัตรูเดียวกันคือ ‘เงินสด’ https://positioningmag.com/1286997 Wed, 08 Jul 2020 13:26:33 +0000 https://positioningmag.com/?p=1286997 ถือว่าเป็นน้องใหม่ในตลาด ‘e-payment’ ไทย เพราะ ‘ดอลฟิน’ (Dolfin) เพิ่งให้บริการได้เพียง 8 เดือนเท่านั้น แต่ปัจจุบันมีผู้ใช้งานกว่า 1 ล้านราย และมีการทำธุรกรรมกว่า 100 ล้านทรานแซกชั่นต่อเดือน อะไรเป็นปัจจัยที่ทำให้เติบโตได้อย่างรวดเร็ว จุดยืนของ Dolfin ก้าวต่อไปในตลาด รวมถึงมุมมองของตลาด e-payment ไทยจากนี้ คุณรุ่งเรือง สุขเกิดกิจพิบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มบริษัท เซ็นทรัล เจดี ฟินเทค โฮลดิ้ง จะมาไขข้อสงสัยให้ฟัง

พ่อ-แม่ใหญ่ได้เปรียบ

Dolfin เกิดจากการร่วมทุนสองบริษัท คือ กลุ่มเซ็นทรัล และกลุ่มเจดี ดอทคอม (JD.com) บริษัทอีคอมเมิร์ซรายใหญ่ของจีน ซึ่งมีบริษัทเจดี ดิจิทส์ (JD Digits) ที่ทำด้านเทคโนโลยีฟินเทคมาช่วยหนุนด้านเทคโนโลยี โดยมีทุนจดทะเบียน 8,000 ล้านบาท และแน่นอนว่าที่ยอดใช้งานของ Dolfin เติบโตได้เร็วส่วนหนึ่งก็มาจากอีโคซิสเต็มส์ในเครือเซ็นทรัล ที่ทำให้มีจุดรับชำระที่มหาศาล ไม่ว่าจะเป็นห้างเซ็นทรัล, ท็อปส์ซูเปอร์มาร์เก็ต, ร้านอาหารในเครือซีอาร์จี และแฟมิลี่มาร์ท มีจุดเติมเงินผ่านเคาน์เตอร์เซ็นเพย์ (CenPay) กว่า 1,900 สาขาทั่วประเทศ นอกจากนี้ยังเป็นพันธมิตรกับ ‘พร้อมเพย์’ ที่มีจุดรับชำระกว่า 4.5 ล้านจุด

“จุดสำคัญที่ทำให้คนใช้คือ เน็ตเวิร์กของจุดรับชำระและเน็ตเวิร์กของคนใช้ ต้องเติบโตอยู่ในลักษณะที่สมดุลกัน อะไรมาเร็วเกินก็ไม่ได้ ต้องก้าวไปพร้อม ๆ กัน แต่ Covid-19 หรือบรรยากาศแบบนี้ก็เป็นจังหวะที่ทำให้คนเปิดใจทั้งร้านค้าทั้งลูกค้า แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะทำให้คนมาสมัครใช้งานอย่างง่ายดาย เราก็จะต้องมี marketing promotion”

มาช้ามาก่อนไม่สำคัญ เพราะ เงินสด คือศัตรูตัวจริง

เราไม่ได้มองใครเป็นศัตรู เพราะศัตรูที่เราแข่งอยู่คือ ‘เงินสด’ ตอนนี้ไทยมีการใช้ e-payment ไม่ถึง 3% ขณะที่จีนไปเกือบ 100% ดังนั้น ผู้เล่นในตลาดทุกรายยังต้องวิ่งตามหาความฝัน แต่ข้อดีของการเป็นแพลตฟอร์มคือ ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องมี 1 ราย อาจจะมี 2 wallet ในโทรศัพท์เดียวกันก็ได้ ซึ่งส่วนใหญ่ก็เป็นอย่างนั้น แต่วันที่ไทยกลายเป็นสังคมไร้เงินสด จากนี้ถึงจะเป็นช่วงต้องแข่งขัน เพราะถ้าลูกค้าชินกับแอปไหน ก็จะใช้แอปนั้น น้อยครั้งที่จะข้ามกัน แต่โจทย์แรกคือ ต้องชนะเงินสด ขณะที่เราธนาคารก็ไม่ได้ไปแข่ง แต่เป็นพันธมิตรกันในการช่วยเชื่อมต่อเน็ตเวิร์กต่าง ๆ แลกกับการส่งต่อเทคโนโลยี เช่น Biomatrices, Facial Recognition เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม คงไม่สามารถประเมินได้ว่าการจะไปจุดนั้นจะใช้เวลานานแค่ไหน อาจจะ 3 ปี หรือ 10 ปี เพราะมีหลายปัจจัยไม่ใช่แค่ผู้บริโภค เช่น หากธนาคารแห่งประเทศลดการผลิตธนบัตรหรือเลิกพิมพ์ธนบัตร แน่นอนว่าสังคมไร้เงินสดเกิดขึ้นทันที ซึ่งปัจจุบันภาครัฐก็ผลักดันเต็มที่ อย่างการมีพร้อมเพย์ หรือแอปเป๋าตัง ซึ่งมันผลักดันให้ประชาชนไม่ต้องกลัวดิจิทัล

“ตอนนี้คนยังมีความเขินในการใช้คิวอาร์โค้ดอยู่ ซึ่งมันยังห่างไกล ดังนั้น การมาก่อนไม่ได้แปลว่าผู้ชนะ เพราะศัตรูตัวฉกาจของเราคือ เงินสด เพราะตอนนี้มันยังไม่ใช่ New Normal ตอนนี้โจทย์ของผู้เล่นทุกรายคือ ต้องทำให้เขาใช้แบบไม่เขิน เพราะมันยังดูเป็นของที่พิเศษ ตอนนี้เขาเริ่มเปิดใจแล้ว และเขาก็มองว่ามาแน่นอน”

เพย์เมนต์แค่จุดเริ่ม ของจริงจะมาอีก 6 เดือน

เพย์เมนต์ เป็นเครื่องมือทำให้เรารู้จักลูกค้า และมีรายได้มาจากค่าธรรมเนียมของร้านค้า แต่ไม่ได้คิดจะทำเป็นรายได้หลัก เพราะ Dolfin วาง Position ตัวเองเป็น Digital Financial Platform โดยเตรียมจะเข้าเปิดบริการอีก 3 รูปแบบ ได้แก่ ปล่อยเงินกู้ (loan), ขายประกัน (insurance) และ การจัดการสินทรัพย์ (Asset Management) โดยใน 6 เดือนจากนี้จะเริ่มปล่อยสินเชื่อส่วนบุคคล โดยใช้ ‘Data’ สามารถทำได้ผ่านมือถือ ไม่ต้องใช้เอกสารหรือเดินทางไปธนาคาร แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ลูกค้าต้องยินยอมให้ใช้ข้อมูล อย่างไรก็ตาม การจะต่อยอดไปสู่การปล่อยกู้ให้กับร้านค้าพาร์ตเนอร์ยังต้องใช้เวลา แต่ระบบพร้อมแล้ว

“ในไทยมีผู้เล่นรายใหญ่ 5 ราย ไม่รวมรายเล็ก และทุกคนคงมีแนวคิดการเป็น Digital Financial Platform แต่มองว่าคงไม่ใช่ทุกคนที่ทำได้ครบ เพราะผู้เล่นอื่นอาจจะยังโฟกัสที่เพย์เมนต์ บางรายอาจจะทำเป็นระบบปิด ใช้ในเฉพาะแพลตฟอร์มตัวเอง แต่เราวางตัวตั้งแต่ต้นว่าจะเป็นระบบเปิด”

สิ้นปีโต 2 เท่า คืนทุนใน 5 ปี

ภายในสิ้นปีนี้ เราเพิ่มร้านค้านอกเครือเซ็นทรัลเป็น 15,000 ร้านค้า จากปัจจุบันมี 2,000 ร้านค้า และตั้งเป้าเพิ่มผู้ใช้เป็น 2 เท่า หรือ 2 ล้านราย ซึ่งจะโฟกัสไปที่คนรุ่นใหม่เป็นหลัก เพราะเข้าถึงได้ง่าย โดยปัจจุบันผู้ใช้งาน Dolfin เฉลี่ยอายุที่ 18-40 ปี แต่ภายใน 3-5 ปีจากนี้ Dolfin ตั้งเป้าทำรายได้ให้คืนทุน และมั่นใจว่าลูกค้าที่ใช้งานจะมาจากทุกช่วงอายุ

“สินค้าเทคโนโลยีราคาจะถูกลงเรื่อย ๆ เพื่อให้สเกลได้ เหมือนกับการสร้างแพลตฟอร์ม ดังนั้นถ้าเราจะคืนทุน ก็ต้องเมื่อมันสเกลได้ อย่างที่จีนคนใช้ e-wallet ทุกช่วงอายุ เหมือนกับเงินสดที่ใช้ได้ตั้งแต่เด็กจนผู้ใหญ่ และเราเองต้องการสู้กับเงินสด ดังนั้นเราต้องออกแบบให้กับทุกกลุ่มใช้ได้”

ความเชื่อมั่น หัวใจสำคัญที่ท้าทาย

ในสมัยหนึ่งเราไม่กล้าใช้บัตรเครดิต เพราะกลัวคนเอาไปใช้รูด หากบัตรหาย แต่ตอนนี้คนไม่กลัวแล้ว เพราะอยากสะดวกมากกว่า เช่นเดียวกับ e-payment คนยังกังวลว่าปลอดภัยไหม ดังนั้น การให้ความรู้เป็นสิ่งสำคัญ เพราะมันจะนำพาซึ่งความเชื่อมั่น อย่าไปกลัว เพราะมันหนีไม่ได้ มันมาแน่ แต่ต้องใช้ประโยชน์จากมันให้มากที่สุด เพราะทุกอย่างมันมีกฎหมายกำกับอย่างชัดเจน และไม่มีผู้ให้บริการคนไหนอยากให้เกิดข้อผิดพลาด

]]>
1286997
บิ๊กซีเปิด e-Wallet รองรับ 4 สกุลเงิน ปูพรมจ่ายด้วยแอปฯ ได้ทุกสาขาภายในปี 2563 https://positioningmag.com/1258691 Fri, 27 Dec 2019 05:19:13 +0000 https://positioningmag.com/?p=1258691 หากใครแวะไปบิ๊กซี ฟู้ดเพลสทั้ง 2 สาขาคือบางซื่อและสามย่านมิตรทาวน์ น่าจะได้พบกับเครื่อง Self-check-out ที่ระบุให้เราต้องเป็นสมาชิกแอปพลิเคชัน Big C TH ก่อนเพื่อเปิดกระเป๋าเงิน e-Wallet ในการใช้จ่าย

ทั้งสองสาขาดังกล่าวเป็นสาขานำร่องเพื่อพยายามกระตุ้นให้ลูกค้าโหลดแอปฯ และสมัคร e-Wallet กับบิ๊กซี ก่อนที่ปีหน้าบริษัทจะรุกหนักเปิดแอปฯ ครบทั้ง 3 ประเทศ รองรับ 4 สกุลเงิน ฝั่งแคชเชียร์รับจ่ายด้วย e-Wallet จะมีให้ครบทุกสาขาก่อนสิ้นปีหน้า

“แกรี่ ฮาร์ดี้” ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ สายงานต่างประเทศ บมจ.บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ เปิดเผยว่าบริษัทเพิ่งจัดทำแอปพลิเคชันใหม่ Big C TH เป็นแอปฯ รวมฟังก์ชันทั้ง Big Card Online รวมการสะสมแต้มและแจ้งสิทธิประโยชน์ของสมาชิกบิ๊กการ์ด, Big C Shopping Online กดช้อปของผ่านแอปฯ และล่าสุดมี Big Wallet เป็นกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ให้ลูกค้าใช้ชำระเงิน

ฟังก์ชัน Big Wallet นี้บิ๊กซีในไทยจะเริ่มเปิดใช้ช่วงไตรมาส 1/63 ขณะที่ประเทศเพื่อนบ้านที่บิ๊กซีไปเปิดสาขาแล้วคือ สปป.ลาว และกัมพูชา จะทยอยเปิดแอปพลิเคชันที่มีฟังก์ชันเดียวกันภายในครึ่งปีแรก 2563 จากนั้นช่วงครึ่งปีหลัง บริษัทจะเชื่อมโยงให้แอปฯ สามารถเชื่อมต่อกันข้ามประเทศได้ ดังนั้นผู้ใช้สามารถเก็บเงินและใช้เงินได้ทั้งสกุลบาท, ดอลลาร์, กีบ และเรียลได้ใน Big Wallet

“เป็นธุรกิจที่เรายังใหม่อยู่มาก ยังอยู่ในช่วงทดลองทำ” แกรี่กล่าว “ความยากคือการแปลงค่าเงินข้ามประเทศเมื่อลูกค้านำไปใช้”

(ซ้าย) “แกรี่ ฮาร์ดี้” ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ สายงานต่างประเทศ บมจ.บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ ในกลุ่มบีเจซี

ส่วนในเวียดนามนั้น แกรี่กล่าวว่าเพราะปัจจุบันลิขสิทธิ์ชื่อ Big C ยังให้กลุ่มเซ็นทรัลเช่าใช้อยู่ แต่บิ๊กซีมีวิสัยทัศน์ที่จะนำลิขสิทธิ์แบรนด์คืนมาปั้นห้างสรรพสินค้าเอง หากเกิดขึ้นตามแผนจึงจะมีการเปิดแอปฯ Big C ในเวียดนามและเพิ่มสกุลเงินดองต่อไป

ฝั่งแคชเชียร์ที่รับ Big Wallet ได้ แม้ขณะนี้มีเฉพาะสองสาขาของบิ๊กซี ฟู้ดเพลส แต่แกรี่กล่าวว่าบริษัทจะมีแคชเชียร์ที่รองรับฟังก์ชันนี้ทุกสาขาภายในครึ่งปีหลังปีหน้าให้ได้

เป้าหมายของการปั้นแอปฯ รวมทั้งฐานสมาชิก ช้อปปิ้งออนไลน์ และกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ เนื่องจากบริษัทต้องการให้มีระบบนิเวศที่บริษัทจะสามารถเก็บบิ๊กดาต้าพฤติกรรมการจับจ่ายของลูกค้าได้ และสามารถเป็นช่องทางการตลาดให้สินค้าต่างๆ ใช้โปรโมตสินค้าหรือจัดโปรโมชันของตัวเองผ่านแอปฯ บิ๊กซี

บิ๊กซี ฟู้ดเพลส สาขาสามย่าน มิตรทาวน์ (photo: Facebook@BigCBigService)

กลุ่มลูกค้าเป้าหมายที่บิ๊กซีเล็งไว้ว่าจะเป็นกลุ่มแรกๆ ที่เข้ามาใช้งานคือ สมาชิกบิ๊กการ์ด ในไทยมีอยู่ 13-14 ล้านคน (เป็นสมาชิกที่ยังเคลื่อนไหวอยู่ 65%) และกัมพูชาซึ่งเพิ่งเปิดสาขาแรกปีนี้มีสมาชิกแล้ว 15,000 คน

ปัจจุบันบิ๊กซีมีห้างสรรพสินค้าบิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ 150 สาขา มินิบิ๊กซีมากกว่า 1,000 สาขา บิ๊กซี เอ็กซ์ตร้า 15 สาขา บิ๊กซี มาร์เก็ต 60 สาขา บิ๊กซี ฟู้ดเพลส 2 สาขา และร้านขายยาเพรียวมากกว่า 140 สาขา การเปิดใช้ e-Wallet ของบริษัทนี้จึงน่าสนใจที่จุดการใช้งานมีมากและทั่วประเทศ

นอกจากนี้ แกรี่ยังให้ความเห็นด้วยว่า Big Wallet อาจจะเป็นฐานให้กับเครือทีซีซีทั้งหมดด้วยก็เป็นได้ เพราะในเครือทีซีซีภายใต้ร่มเงาของตระกูลสิริวัฒนภักดียังมีธุรกิจโรงแรม ศูนย์การค้า ออฟฟิศอีกจำนวนมาก รวมถึงธุรกิจร้านอาหารภายใต้ไทยเบฟฯ เช่น เคเอฟซี โออิชิราเมน โซอาเซียน ฯลฯ ที่จะรองรับการใช้งานกระเป๋าเงินได้

หากมองภาพใหญ่ว่านี่ไม่ใช่การขยับเฉพาะของบิ๊กซี แต่เป็นการทดลองที่อาจขยายไปทั้งเครือทีซีซี นี่จึงเป็นความเคลื่อนไหวที่ต้องจับตาในสมรภูมิ e-Wallet ที่ทุนใหญ่ต่างเข้ามาลุยตลาด

]]>
1258691
10 ปี E-Wallet ต้องเจอโจทย์ยาก ความท้าทายที่ “TrueMoney” ต้องฟันฝ่า https://positioningmag.com/1222706 Mon, 01 Apr 2019 08:59:15 +0000 https://positioningmag.com/?p=1222706 แม้กระแส Cashless Society หรือสังคมไร้เงินสดดูจะเป็นที่คุ้นเคยของคนไทยไปแล้ว เดี๋ยวนี้หลายคนเริ่มไม่พกเงินสดติดตัว อยากซื้ออะไรก็หยิบมือถือขึ้นมาจ่ายสะดวกสบายไม่ยุ่งยาก แต่มีบริการหนึ่งที่มาก่อนใครเพื่อน หากจนถึงวันนี้ยังไม่เรียกเต็มปากเต็มคำว่า “แจ้งเกิด” ได้ คือ “E-Wallet” หรือกระเป๋าเงินออนไลน์

กระแส E-Wallet ในบ้านเราเริ่มต้นด้วยกลุ่มโอเปอเรเตอร์เมื่อ 10 กว่าปีก่อนทั้ง Ais ที่มี mPay, Dtac มี Jaew Wallet ส่วน True ก็มี TrueMoney ก่อนจะตามมาด้วยเจ้าอื่นๆ ทั้ง AirPay, PaySocial และ Rabbit LINE Pay เป็นต้น

ส่วนที่บอกว่ายังไม่เรียกเต็มปากเต็มคำว่า “แจ้งเกิด” ได้เต็มตัว เพราะกลุ่มที่มาก่อนใครเพื่อน ที่ในช่วงเปิดตัวต่างทุ่มงบเป็น 100 ล้าน อัดโปรโมชั่น สารพัดวิธีดึงดูดลูกค้าแต่ก็เอาไม่อยู่ โดย Dtac ได้ตัดสินใจยุติให้บริการ Jaew Wallet ไปเมื่อปลายปี 2017 ฟาก Ais แม้ยังไม่ถอดใจแต่เปลี่ยนวิธีใหม่โดยใช้เงินรวม 787 ล้านบาท เข้าเป็นหนึ่งในผู้ถือหุ้นหลักของ “Rabbit Line Pay” เมื่อต้นปี 2018

ในการแถลงข่าวครั้งนั้น Ais ได้ระบุเหตุผลที่ตัดสินใจร่วมทุน ด้วยที่ผ่านมากลุ่มผู้ใช้งานหลักของ mPay มักจะอยู่ในกลุ่มของลูกค้า B2B เท่านั้น ส่วนลูกค้าทั่วไปยังไม่ค่อยเป็นที่นิยมเท่าไหร่นัก ดังนั้นหลังจากร่วมทุนเสร็จ mPay ยังอยู่ก็จริงแต่จะเปิดให้ใช้เฉพาะลูกค้า B2B ที่มีราว 2 หมื่นราย ลูกค้าทั่วไปที่มีอยู่ราว 2 ล้านราย Active 4-5 แสนราย จะถูกโอนเข้าไปเป็น Rabbit Line Pay ทั้งหมด

วันนี้จึงเหลือเพียง TrueMoney ที่ทำตลาดอย่างจริงจัง โดย TrueMoney ระบุว่าตัวเองเป็นเบอร์ 1 ในกลุ่ม E-Wallet มี Active User 7 ล้านบัญชี ซึ่งตัวเลขนี้นับจากการใช้งานอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง และตัวเลขเดียวกันนี้จะว่าเยอะในมุมของ TrueMoney ก็ไม่ผิด แต่จะว่าน้อยก็ได้เช่นเดียวกัน

เพราะเมื่อเทียบกับตัวเลขประชากร 66.2 ล้านคน ภาพรวมของคนไทยมีบัญชีธนาคาร 99 ล้านบัญชี คิดเป็นสัดส่วนเข้าถึงประชากร 78.1% บัตรเครดิต 22 ล้านใบ บัตรเดบิต 67 ล้านใบ ในขณะที่ Online Banking มีผู้ใช้ทะลุหลัก 10 ล้าน ทั้ง Internet Banking 23 ล้านบัญชี, Mobile Banking 38 ล้านบัญชี ส่วน พร้อมเพย์ ที่เพิ่งเกิดขึ้นมาได้ 2 ปี มีผู้ใช้งานถึง 39 ล้านบัญชีด้วยกัน

หนึ่งในความคิดเห็นที่น่าสนใจต่อวงการ E-Wallet คือ “ป้อม – ภาวุธ พงษ์วิทยภานุ” หนึ่งในกูรูด้าน e-Commerce ที่คร่ำหวอดอยู่ในวงการกว่า 20 ปี ผู้ก่อตั้ง TARAD.com ได้กล่าวว่า สาเหตุที่ E-Wallet ไม่ได้เติบโตหวือหวา เพราะคนไทยไม่ได้โยกเงินออกจากบัญชีธนาคาร ต่างจากจีนที่โตเพราะคนส่วนใหญ่ไม่มีบัญชีธนาคาร

ที่สำคัญ Mobile Banking ของจีนไม่สะดวกเท่าเมืองไทย ที่สามารถโอนจ่ายได้ครบ ที่สำคัญ “ฟรี” คนจึงมองว่ายังไม่มีความจำเป็นที่ต้องโยกเงินออกไปอยู่ข้างนอก แต่ถ้าถ้าถามว่า E-Wallet จะโตได้ไหม? คำตอบคือโตได้ แต่กำไรจะโตน้อยหน่อย ดังนั้นการจะทำให้ E-Wallet เติบโตจึงต้องทำให้ผู้บริโภค “คุ้นชิน” และสร้าง “ความต่าง” กับการใช้เงินสดเสียก่อน

วิธีที่ง่ายที่สุดที่จะดึงคนมาใช้งานในระยะแรก จึงต้องอัด “โปรโมชั่น” เข้าไป โดย TrueMoney ใช้วิธีให้เงินคืนตั้งแต่ 1 บาทไปจนถึง 100 บาท รวมไปถึงให้สะสมคะแนนของ True ทุก 25 บาทจะได้ 1 คะแนนซึ่ง “นิรันดร์ ฟูวัฒนานุกูล” ผู้อำนวยการฝ่ายทางพาณิชย์ บริษัท ทรู มันนี่ จำกัด (ประเทศไทย) บอกว่า นี่คือประโยชน์ที่ได้และความต่างกับเงินสด

“การเติบโตของ TrueMoney ต้องใช้เวลา เพราะต้องทำให้ผู้บริโภคคุ้นชินเสียก่อน แต่ที่ผ่านมาก็ถือว่าทำได้ดีพอสมควร ปัจจุบันลูกค้ามีการใช้งานเฉลี่ยเดือนละ 8 ครั้ง เพิ่มขึ้นจากช่วงปลายปีที่เฉลี่ยเพียง 5-7 ครั้ง และยอดรายจ่ายเมื่อ 2 ปีก่อนอยู่ราว 100 ต้นๆ วันนี้ 250-300 บาทต่อครั้ง ยิ่งเมื่อเทียบกับฐานลูกค้าที่เรามีกับจำนวนประชากรทั้งประเทศ โอกาสของ TrueMoney ยังมีอีกมาก”

นิรันดร์ ฟูวัฒนานุกูล ผู้อำนวยการฝ่ายทางพาณิชย์ บริษัท ทรูมันนี่ จำกัด (ประเทศไทย)

แต่สิ่งหนึ่งที่เป็นความท้าทายของ E-Wallet คือยังไม่มีตัวเลือกร้านค้ามากพอที่จะจ่าย ในปี 2019 นี้ TrueMoney จึงตั้งเป้าเพิ่มจำนวนร้านค้าจาก 2 แสนร้านค้าเป็น 3 แสนร้านค้า โดยตัวเลขหลักๆ ที่เพิ่มเข้ามานั้นจะเป็น “ร้านอาหาร” โดยเฉพาะร้านอาหารตามสั่งทั่วไป

เพราะเป้าหมายของ TrueMoney ต้องการขยับฐานลูกค้าอายุเฉลี่ย 18-22 ปี ที่มาจากการวางจุดเด่นในระยะแรกคือการเติมเน็ตและเล่นเกม ปัจจุบัน 4 อันดับบริการที่คนใช้มากที่สุดคือเติมเน็ตและเติมเงิน, โอนเงิน, เติมเกมและ 7-Eleven ไปสู่กลุ่มที่มีอายุไม่เกิน 35 ปี จึงต้องเติมสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวพวกเขาจะได้กระตุ้นการใช้งาน และร้านอาหารเป็นสิ่งที่วัยทำงานต้องกินทุกวันอยู่แล้ว

ที่มาของรูป : Facebook TrueMoney
ที่มาของรูป : Facebook TrueMoney

ก่อนหน้านี้ TrueMoney ได้ขยับเข้าไปหากลุ่มนี้ด้วยการขยายไปสู่กลุ่มการเดินทางบ้างแล้ว โดยได้เข้าไปเพิ่มจุดชำระที่เรือด่วนเข้าพระยา และมีแผนที่จะขยายไปยังรถไฟฟ้าใต้ดินในเร็วๆ นี้ด้วย

ในขณะเดียวกันก็เสริมจุดแข็งของตัวเองเรื่องเกมด้วย ล่าลุดได้จับมือกับ Google Play ให้สามารถชำระเงินด้วย TrueMoney โดยหนึ่งในข้อมูลที่น่าสนใจคือ 80-90% มาจากการใช้จ่ายเกี่ยวกับเกม คาดว่าความร่วมมือครั้งนี้จะมีผู้ใช้งานราว 1 ล้านรายทั้งลูกค้าใหม่และลูกค้าเก่า

TrueMoney หวังว่าการขยับตัวในครั้งนี้จะทำให้ยอด Active User ทะลุ 10 ล้านบัญชี และแจ้งเกิดได้อย่างเต็มภาคภูมิเสียทีหลังจากที่ปีก่อนก็พลาดตัวเลขนี้ไปอย่างน่าเสียดาย

]]>
1222706
CRM ยุคใหม่ ใช้ e-Wallet มัดลูกค้า เปิดกรณีศึกษา SCG-S&P รับเทรนด์สังคมไร้เงินสด https://positioningmag.com/1221523 Tue, 26 Mar 2019 00:06:28 +0000 https://positioningmag.com/?p=1221523 สังคมไร้เงินสดกำลังทำให้ CRM ยุคเก่าหมดสมัย เห็นได้ชัดเพราะวันนี้แบรนด์ใหญ่ในไทยกำลังปรับกลยุทธ์เสริมสัมพันธ์ลูกค้าผ่าน CRM ยุคใหม่แบบไร้คูปองหรือบัตรกำนัลกระดาษ โดยหันมาทำแอปพลิเคชั่นที่ผูกระบบกระเป๋าเงิน หรือวอลเล็ตของตัวเองเพื่อให้ลูกค้าซื้อสะดวกและรับแต้ม-ส่วนลดได้มากกว่าเดิม แบรนด์ที่เดินเกมนี้แล้วไม่ได้มีเพียงแค่ SCG หรือ S&P แต่ยังมีอีกหลายเชนร้านอาหารและแบรนด์ค้าปลีกที่มั่นใจในวิถีเดียวกับ Starbucks นั่นคือการทำ Wallet ของตัวเองที่จะทำให้แบรนด์ได้ข้อมูลเส้นทางการจับจ่ายของลูกค้าได้ลึกล้ำกว่าวอลเล็ตของคนอื่น นำไปสู่การต่อยอด CRM ยุคใหม่ได้มากกว่า 

ภาพของ CRM ยุคใหม่เห็นได้ชัดจากทั้ง SCG Wallet และ S&P e-Wallet รวมถึงอีกหลายแบรนด์ที่พยายามปลุกปั้นระบบกระเป๋าเงินของตัวเองโดยแยกจากระบบวอลเล็ตยอดนิยม เช่น TrueMoney หรือ LINE รวมถึงค่ายอื่นที่ให้บริการ e-Wallet แก่ผู้บริโภคทั่วไป ซึ่งกรณีของ SCG การตอบแทนลูกค้า Loyalty Program ผ่านแอป SCG Wallet นั้นทำให้ SCG สามารถตอบแทนช่างผู้รับเหมาที่ซื้อสินค้าไปให้ลูกค้ารายย่อยได้ง่ายและดีกว่าคู่แข่ง แลกกับข้อมูลที่ SCG จะต่อยอดเพื่อผูกใจช่างรับเหมารายนั้นได้โดยตรง

ยังมี S&P e-Wallet ที่เปิดให้สมาชิก Joy Card เติมเงินลงในบัตรเพื่อใช้ซื้อสินค้าได้ในราคาพิเศษ รวมถึงสามารถสะสมแต้มเพื่อแลกรางวัลในสไตล์เดียวกับ Starbucks จุดนี้ต้องยอมรับว่า Starbucks เป็นแบรนด์ที่นำร่องแนวคิดการมี Wallet ของตัวเอง เพื่อเป็นจิ๊กซอว์ตัวสำคัญที่องค์กรจะตอบโจทย์ลูกค้าของตัวเองได้เหนือชั้นกว่าเดิม

สำหรับจิ๊กซอว์ตัวนี้ ทั้ง SCG และ S&P ไม่ได้เททรัพยากรพัฒนาระบบ Wallet ขึ้นมาเอง แต่ใช้บริการของบริษัทชื่อ T2P ผู้อยู่เบื้องหลังระบบ Deep Pecket ซึ่งเป็นชื่อโปรดักต์แพลตฟอร์มตัวแรกๆ ของบริษัท วันนี้ T2P มีรายได้เพิ่มขึ้นเกิน 5 เท่าตัว เพราะการเปลี่ยนจากบริการ B2C มาเป็น B2B2C ด้วยการจับมือกับแบรนด์ที่ต้องการมีระบบ Wallet ของตัวเอง

segment แบบนี้ไม่ค่อยเห็นผู้ให้บริการ เพราะส่วนใหญ่เน้นแบบ B2C แต่ T2P จะเน้นตอบโจทย์แบรนด์ที่ต้องการ data ซึ่งเป็นมุมมองที่คล้ายกับแอปพลิเคชั่น Starbuck

ณัฐวุฒิ อมรวิวัฒน์ ผู้ร่วมก่อตั้ง บริษัท ทีทูพี จำกัด อธิบาย

ตลาดรับทำ Wallet โตแรง

ผู้บริหาร T2P ระบุว่าปี 61 ที่ผ่านมาคือปีที่บริษัททำรายได้จากค่าธรรมเนียมผ่านระบบ Wallet มากขึ้นกว่าปี 60 ถึง 5 เท่าตัว โดยเติบโตจาก 30 ล้านบาทมาเป็น 138 ล้านบาท เหตุผลที่รายได้โตก้าวกระโดดคือการหันไปจับมือกับแบรนด์ใหญ่ที่ต้องการเริ่มทำ CRM รูปแบบใหม่ รวมถึง Voucher ยุคดิจิทัล ส่งให้ตลาดรับทำ Wallet โตแรงมากในวงการค้าปลีกไทย

“สิ่งที่เกิดขึ้นคือวันนี้ทุกแบรนด์ต้องให้บริการด้านดิจิทัลกับลูกค้า เพราะลูกค้ามีความต้องการและคาดหวังสูง T2P จึงเข้าไปให้บริการ เพราะแบรนด์จะรันคลาวด์เองก็ไม่ไหว และต้องมีทุนจดทะเบียนชำระแล้วขั้นต่ำ 100-200 ล้านบาทตามกฎหมาย ความได้เปรียบของ T2P คือแบรนด์ที่เลือกใช้ระบบของบริษัทเป็นแบรนด์ที่มียอดใช้สูง และมี Loyalty ดีมากอยู่แล้ว ถือเป็นข้อได้เปรียบที่ทำให้รายได้ของบริษัทเติบโตชัดเจน”

ตลาดรับทำ Wallet ไม่ได้โตแรงเฉพาะไทย แต่ยังร้อนแรงไปถึงพม่า จากการเข้าสู่ตลาดเมียนมาราว 1 ปี ผู้บริหาร T2P พบว่าเมียนมาเป็นตลาดที่มีแนวโน้มเติบโตสูงมาก

“ปริมาณการใช้สมาร์ทโฟนของประชาชนเมียนมา ถือว่าสูงกว่า 80 ถึง 90 เปอร์เซ็นต์ แม้ธุรกรรมการเงินส่วนใหญ่จะยังเป็นเงินสด แต่ธนบัตรเมียนมาส่วนใหญ่ดูเก่า ทำให้ประชาชนไม่ต้องการใช้ ผมเชื่อว่าสังคมไร้เงินสดของเมียนมาจะเติบโตก้าวกระโดดเหมือนการใช้งานสมาร์ทโฟน ล่าสุดยอดการชำระเงินผ่าน Wallet ของชาวเมียนมาก็เติบโตเร็วมาก มีการประเมินว่าน่าจะสูงกว่าการใช้เงินผ่าน ATM ไปแล้ว”

ในส่วนของ T2P บริษัทได้ร่วมมือกับแบรนด์ค้าปลีกรายใหญ่ของเมียนมาชื่อว่า City Mart ซึ่งเป็นองค์กรที่มีขนาดเทียบเท่ากับ Central ของไทย ให้บริการห้างหรู ร้านค้าสะดวกซื้อ รวมถึงบริการหลายด้านในเมียนมา City Mart ลงทุนสร้างระบบกระเป๋าเงินของตัวเองร่วมกับ T2P เพื่อให้ลูกค้าของ City Mart สามารถเติมเงินและสะสมแต้ม เหมือนกับที่ Central ร่วมมือกับ T2P ในนาม CRG หรือ Central Restaurants Group

น่าเสียดายที่ T2P ไม่ประเมินว่าตลาดรับทำ Wallet จะร้อนแรงเพียงใดในปีนี้ โดยไม่ฟันธงว่าบริษัทจะทำรายได้เพิ่มขึ้นอีก 5 เท่าตัวแบบที่เกิดขึ้นในปี 61 แล้วหรือไม่ จุดนี้ผู้บริหารมองการแข่งขันในตลาด e-Wallet ว่าจะเป็นการเน้นแข่งขันไปตาม segment ซึ่งกรณีของ T2P จะยึดจุดเด่นเรื่องความครบวงจร เพราะ T2P มีครบทั้งระบบ KYC, ส่วนประกอบอื่น, ความเร็ว และความยืดหยุ่นของบริการ ทำให้แบรนด์เลือกใช้เพื่อให้บริการคอนซูเมอร์ไทยอีกทอดหนึ่ง

ไม่ได้แทนที่บัตรเครดิต

การเติบโตของ e-Wallet รายย่อยไม่ได้สร้างผลกระทบด้านลบกับธุรกิจบัตรเครดิต ซึ่งนักช้อปเคยมองเป็นช่องทางสะสมคะแนนแลกของรางวัลในยุคหนึ่ง สำหรับยุคทอง e-Wallet บัตรเครดิตก็จะยังได้รับยอดเงินที่เติมเข้าระบบอยู่ ทำให้ไม่มีการแทนที่บัตรเครดิต เพียงแต่ e-Wallet บนแอปพลิเคชั่นของแบรนด์จะทำให้ได้รับสิทธิประโยชน์เพิ่มขึ้นเท่านั้น

e-Wallet รายย่อยจึงถูกมองว่าเป็นหนทางสู่รูปแบบใหม่ของการทำโครงการ Loyalty ลูกค้าจะรู้สึกว่าได้รับประโยชน์เพิ่มมากกว่าการซื้อกับคู่แข่ง ซึ่งเป็นความรู้สึกเดียวกับลูกค้า Starbucks ที่นิยมซื้อกาแฟและสะสมแต้มผ่านแอปกันทั่วโลก กลายเป็นเส้นทางสู่ CRM ยุคใหม่ในสังคมไร้เงินสด.

รู้หรือไม่?

  • คนไทยเปลี่ยนวิธีเติมเงินเข้าระบบ e-Wallet จากการเติมด้วยเงินสดมาเป็นเติมทางดิจิทัลแบงกิ้ง จากเดิมที่เติมด้วยเงินสดมากกว่า 60% วันนี้การเติมทางดิจิทัลแบงกิ้งซึ่งรวมโมบายแบงกิ้งด้วยนั้นเพิ่มขึ้นมาเป็น 60% แทน ปัจจัยเสริมเป็นเพราะการประกาศค่าธรรมเนียมโอนเงินต่างธนาคาร 0 บาท
  • รายได้ของ T2P เกิดขึ้นจากส่วนแบ่งต่อทรานเซ็กชั่น ยิ่งมีการใช้จ่ายผ่าน e-Wallet ของแบรนด์ รายได้ของ T2P ก็จะเพิ่มขึ้นตามไปด้วย
  • T2P เตรียมลุยแพ็กเกจรับทำ e-Wallet แบบเจาะแบรนด์เล็กในปีนี้ คาดว่าจะได้รับความสนใจสูงในกลุ่ม SME ที่ต้องการเริ่มทำ CRM ยุคใหม่.
]]>
1221523
“ผู้หญิง” พลังขับเคลื่อนสำคัญสู่ “She-Cashless Society” https://positioningmag.com/1218350 Thu, 07 Mar 2019 03:34:15 +0000 https://positioningmag.com/?p=1218350 ปัจจุบันประชากรเพศหญิงมีอัตราส่วนสูงกว่าเพศชายที่ร้อยละ 51:49 หรือมีจำนวนประมาณ 33.4 ล้านคน ขณะที่เพศชายมีราว 32.1 ล้านคน (ข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติ) แม้จะเป็นจำนวนที่ดูเหลื่อมกันไม่มากนักในเชิงตัวเลข แต่ที่น่าสนใจคือพฤติกรรมการใช้จ่ายของสุภาพสตรีที่โดดเด่นในการเป็นผู้นำเทรนด์เรื่อง “การช็อปปิ้ง” จากผลการศึกษาของ She-conomy พบว่า 85% ของการซื้อสินค้าแบรนด์ต่างๆ มาจากลูกค้าสุภาพสตรี ไม่มีใครกล้าปฏิเสธว่าการ CF (Confirm) หรือการ CC (Cancel) ได้กลายเป็นศัพท์ออนไลน์ฮอตฮิตของผู้หญิงส่วนใหญ่เวลาสนใจสั่งซื้อสินค้าในโซเชียลมีเดียในวันนี้ไปแล้ว

เนื่องในวันสตรีสากลที่ตรงกับทุกวันที่ 8 มีนาคมของทุกปี ทรูมันนี่มีข้อมูลและสถิติที่น่าสนใจเกี่ยวกับผู้หญิง แสดงให้เห็นพลังบวกของพวกเธอที่จะกลายเป็นหนึ่งในตัวแปรสำคัญขับเคลื่อนสังคมไทยให้เดินหน้าไปสู่ยุค Cashless Society ในช่วงระยะเวลาเพียงสองเดือนแรกของปีนี้ (มกราคม – กุมภาพันธ์ 2562) ผู้หญิงสามารถสร้างมูลค่าธุรกรรมต่างๆ บน TrueMoney Wallet หลายสิบล้านบาท สะท้อนถึงศักยภาพด้านการใช้จ่ายของพวกเธอที่จะช่วยผลักดันอุตสาหกรรม e-Wallet ในประเทศไทย ให้เติบโตมากยิ่งขึ้น

ผู้หญิงกับ e-Wallet

ขณะที่ประเทศไทยกำลังเดินหน้าสู่ “สังคมไร้เงินสด” ด้วยการขับเคลื่อนทั้งจากภาครัฐและเอกชนอย่างหนัก แต่สิ่งสำคัญที่เป็นหัวใจหลักและเป็นตัวชี้วัดความสำเร็จการดำเนินงานเหนือกว่าเทคโนโลยีหรือมาตรการใดๆ ก็คือ “การรู้จักผู้ใช้งาน”

  • 46% คือ สัดส่วนจำนวนผู้ใช้งานทั้งหมดที่เป็นผู้หญิง
  • 60% อาศัยอยู่ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล สูงกว่าผู้ใช้ต่างจังหวัดที่มีสัดส่วน 40%
  • ผู้หญิงที่ใช้ e-Wallet ส่วนใหญ่เป็นกลุ่ม Gen Y อายุเฉลี่ย 24 ปี
  • บริการใน e-Wallet ที่ผู้หญิงใช้มากที่สุดในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา ได้แก่
    • ซื้อแพ็คเกจอินเทอร์เน็ต / เติมเน็ต
    • โอนเงินให้บุคคลอื่น
    • ใช้จ่ายในร้านสะดวกซื้อ 7-Eleven และร้านค้าทั่วไป

ผู้หญิงมีปริมาณการใช้จ่ายเงินผ่าน e-Wallet เฉลี่ยต่อครั้งจะอยู่ที่ 280 บาท โดยยอดการใช้จ่ายที่สูงนั้นมาจากการจ่ายบิลเป็นหลัก ในขณะที่มีจำนวนผู้ใช้เพศหญิงเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ 2 เรื่อง ได้แก่ การบริจาค (Donation) และการเลือกซื้อดิจิทัลคอนเทนต์ (Digital Content) สะท้อนให้เห็นว่าผู้หญิงมองว่า e-Wallet เป็นมากกว่าแค่แพลตฟอร์มเรื่องการจ่ายเงิน แต่ยังเป็นแหล่งรวมน้ำใจและประตูเชื่อมโลกดิจิทัลคอนเทนต์ของพวกเธออีกด้วย

เคล็ด (ไม่) ลับการใช้ e-Wallet แบบสตรียุค 4.0

ความสะดวกรวดเร็ว ความปลอดภัย และความคุ้มค่า คือ 3 นิยามสำหรับการใช้งาน e-Wallet ของผู้หญิงในวันนี้ เพื่อเพิ่มความสุขและคุ้มค่า ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์คนยุคใหม่ ทรูมันนี่ขอแนะนำ เคล็ด (ไม่) ลับใช้งาน e-Wallet ในแบบสุภาพสตรียุค 4.0 เพิ่มความคุ้มค่า ประหยัด และมีความปลอดภัยในทุกการจับจ่าย เพื่อให้ผู้หญิงยุคใหม่ได้นำไปพิจารณา ดังต่อไปนี้

  • ทุกการใช้จ่ายผ่าน e-Wallet ควรคำนึงถึงสิทธิประโยชน์ที่จะได้รับ สาวๆ ที่มองหาความคุ้มค่า เพื่อตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตประจำวัน การจะนำ e-Wallet ไปใช้จ่ายเพื่อซื้อสินค้าและบริการอะไรก็ตามแทนเงินสด ควรตรวจสอบโปรโมชั่นต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการรับเงินคืนหรือการสะสมแต้มที่ควรได้รับ รวมทั้งส่วนลด หรือสิทธิพิเศษสำหรับแลกของทานฟรี รวมไปถึงสิทธิ์ได้ลุ้นรางวัลใหญ่ในแคมเปญต่างๆ เพื่อทำให้ทุกการใช้จ่ายผ่าน e-Wallet ของคุณคุ้มค่ามากขึ้นและได้รับสิ่งอื่นกลับมาด้วย

  • ความปลอดภัยใน e-Wallet ต้องมาก่อนเสมอ แม้ว่าผู้หญิงมีความเสี่ยงต่อความปลอดภัยไซเบอร์ต่ำกว่าผู้ชาย (ข้อมูลจาก แคสเปอร์สกี) แต่ถึงอย่างไรเรื่องเงินๆ ทองๆ ความปลอดภัยต้องมาเป็นอันดับแรก ดังนั้นก่อนใช้ e-Wallet ควรตั้งค่าและหมั่นเปลี่ยนรหัสผ่าน รหัส PIN และ Touch ID ในแอปฯ e-Wallet ที่ใช้งานอยู่เสมอ พร้อมยืนยันตัวตนเพื่อเพิ่มความปลอดภัยในขั้นสูง กรณีที่มีการจับจ่ายเงินจำนวนมากผ่าน e-Wallet

  • ทำบัญชีรับ-จ่ายเงิน หรือพลิกดูประวัติการใช้ e-Wallet เป็นประจำ สำหรับสาวๆ ที่เป็นแม่ค้ายุคดิจิทัล การมีบัญชีรายรับ-รายจ่ายดิจิทัลไว้ใช้งาน เพื่อเช็คการทำธุรกรรมต่างๆ แบบเรียลไทม์ก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ดีที่ช่วยในการบริหารจัดการเงินได้ดียิ่งขึ้น

  • ทำภารกิจต่างๆ ในแอปฯ เพื่อเพิ่มความคุ้มค่าในการใช้งาน e-Wallet บางผู้ใช้อาจไม่เคยสังเกตว่าใน e-Wallet มีภารกิจต่างๆ ให้ทำและเล่นสนุกด้วย เมื่อทำสำเร็จระบบจะให้ผู้ใช้สามารถไปจับรางวัลพิเศษ หรือได้รับเป็นเงินคืนเข้ามาในแอปฯ ได้อีก หมั่นตรวจเช็คในแอปฯ และพิชิตภารกิจต่างๆ เพื่อเพิ่มโอกาสให้ผู้หญิงอย่างเรามีเงินมาใช้สอยมากยิ่งขึ้น

  • เติมเงินแค่จำนวนที่ต้องการจ่ายจริงในรายการเพื่อจำกัดวงเงิน สำหรับสาวๆ ที่ใช้ e-Wallet กับเรื่องจ่ายเงินเฉพาะเรื่อง เช่น ใช้จ่ายบิล ค่าน้ำ ค่าไฟ หรือโอนให้คุณพ่อคุณแม่ เป็นประจำทุกเดือน การโอนเงินเข้าตามจำนวนที่ต้องการใช้จริง จะช่วยให้เราเซฟวงเงิน และไม่ผลีผลามกดซื้ออย่างอื่น เป็นการช่วยจำกัดค่าใช้จ่ายอีกทางหนึ่ง

ทั้งหมดเป็นแนวทางการใช้งาน e-Wallet ง่ายๆ สำหรับบรรดาผู้หญิงยุคใหม่ ไม่ว่าจะใช้จ่ายมื้อเช้าในชั่วโมงเร่งด่วนที่ร้านสะดวกซื้อ สแกนจ่ายค่าโดยสารรถสาธารณะ หรือผ่อนคลายอารมณ์ในวันหยุดกับหนัง/แอปฯ เกมดังจากการซื้อดิจิทัลคอนเทนต์บน App Store และ Play Store ตลอดจนการจ่ายบิลตอนสิ้นเดือน หรือเติมเงิน เติมเน็ต ฯลฯ e-Wallet ล้วนตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์รอบด้าน

เพราะผู้หญิงคือผู้ทรงอิทธิพลอย่างมากต่อแบรนด์สินค้าและบริการในปัจจุบัน ข้อมูลจาก SOUR Bangkok เคยระบุไว้ว่า ผู้หญิงนิยมช้อปปิ้งออนไลน์มากขึ้น เนื่องจากสะดวกและรวดเร็ว ทำให้สามารถบริหารจัดการเวลาได้ โดยมี 3 กลุ่มสินค้าที่มีการใช้จ่ายผ่านช่องทางออนไลน์ ได้แก่ 1. ช้อปปิ้ง เสื้อผ้า, เครื่องประดับ, รองเท้า ฯลฯ 2. กลุ่มอาหาร เช่น Food Delivery, อาหารสด, อาหารแห้ง และ 3. เครื่องสำอาง เป็นกลุ่มสินค้าคู่กายของผู้หญิง สิ่งเหล่านี้คือพลังของ “She-economy” ที่นับวันจะทวีความสำคัญมากขึ้น ที่จะช่วยส่งเสริมการใช้งานอุตสาหกรรม e-Wallet ให้แพร่หลายมากยิ่งขึ้น ไม่แน่อาจเกิดเป็นสังคมไร้เงินสดแบบผู้หญิง (She-Cashless Society) ในอนาคตบ้างก็เป็นได้

เกี่ยวกับ ทรูมันนี่

ทรูมันนี่ คือ ผู้นำด้านบริการอิเล็กทรอนิกส์เพย์เมนท์ชั้นนำในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยมุ่งเน้นให้บริการทางการเงินแก่ผู้คนรวมไปถึงผู้ที่เข้าไม่ถึงบริการของสถาบันทางการเงิน โดยให้บริการใน 6 ประเทศในภูมิภาคได้แก่ ประเทศไทย กัมพูชา เมียนมาร์ เวียดนาม ฟิลิปปินส์และอินโดนีเซีย

ทรูมันนี่ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2546 และเข้าเป็นธุรกิจหนึ่งของบริษัทแอสเซนด์มันนี่ในปี พ.ศ. 2557 และเป็นพันธมิตรกับบริษัท Alipay ใน พ.ศ. 2559 โดยปัจจุบันมีบริการด้านการเงินที่หลากหลาย อาทิ ทรูมันนี่ วอลเล็ท แอปพลิเคชั่นอำนวยความสะดวกในการใช้จ่ายง่ายขึ้นและตอบโจทย์กับทุกไลฟ์สไตล์ได้รับความนิยมสูงสุด นอกจากนั้นยังมีเครือข่ายตัวแทน ทรูมันนี่ ที่ครอบคลุมในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และบริการรับชำระเงินแบบออฟไลน์ ทั้งหมดนี้เพื่อมอบความสะดวกสบายในการทำธุรกรรมทางการเงินให้กับหลายล้านคนเพื่อก้าวล้ำไปสู่ชีวิตที่ดียิ่งขึ้น

]]>
1218350
เยอรมนีเปิดตัวมือถือเพื่อ “เงินดิจิทัล” ชูจุดขายระบบปลอดภัยเข้ม บิลต์อิน e-wallet เก็บเงินคริปโตฯ เสร็จสรรพ https://positioningmag.com/1159249 Wed, 28 Feb 2018 01:15:39 +0000 https://positioningmag.com/?p=1159249 วันก่อนมีค่ายรถยนต์เปิดตัวสมาร์ทโฟนเพื่อสะท้อนภาพลักษณ์สมบุกสมบันของรถรุ่น SUV ของทางค่ายมาแล้ว วันนี้ลองมาดูสมาร์ทโฟนจากบริษัทด้านไซเบอร์ซิเคียวริตีกันดูบ้างดีกว่าว่าจะสะท้อนภาพด้านไซเบอร์ซีเคียวริตีกันอย่างไร

สมาร์ทโฟนรุ่นนี้เป็นผลงานการพัฒนาของบริษัท Sikur พร้อมจุดขายในเรื่องการเป็นสมาร์ทโฟนที่ปลอดภัยจากการเจาะระบบที่บริษัทอ้างว่ามีถึง 100 เปอร์เซ็นต์

ชื่อของสมาร์ทโฟนรุ่นดังกล่าว คือ SIKURPhone ผลงานการผลิตของบริษัท Sikur สัญชาติเยอมรนี มีจุดขายตรงที่ทางบริษัทอ้างว่าได้ทดสอบอุปกรณ์กับแฮกเกอร์แล้วว่าไม่สามารถเจาะเข้ามาได้ ซึ่งงานนี้บริษัทลงทุนจ้างแฮกเเกอร์เข้ามาทำงานกับองค์กรเป็นเวลานานถึงสองเดือนเลยทีเดียว

นอกจากนั้น ภายในยังมีกระเป๋าสตางค์อิเล็กทรอนิกส์ (e-Wallet) เพื่อเก็บเงินคริปโตฯ แบบบิลต์อินมาด้วย ซึ่งตามแผนแล้วน่าจะพัฒนาแล้วเสร็จภายในกลางปีนี้

ส่วนฟีเจอร์ที่น่าสนใจนอกเหนือจากการออกแบบมาเพื่อเงินคริปโตนั้น สมาร์ทโฟนรุ่นดังกล่าวยังมาพร้อมหน้าจอขนาด 5.5 นิ้ว และกล้องหน้า 13 ล้านพิกเซลด้วย

SIKURPhone มีแผนจะเริ่มพรีเซลตั้งแต่วันที่ 27 กุมภาพันธ์ ในราคา 799 เหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 25,000 บาท (มีจำนวนจำกัดแค่ 20,000 เครื่อง) ส่วนกำหนดการส่งมอบจะเริ่มในเดือนสิงหาคมปีนี้

จะเห็นได้ว่าตลาดสมาร์ทโฟนค่ายต่าง ๆ เริ่มหาทางออกเพื่อหนีการอิ่มตัวของการแข่งขันในตลาดปกติกันมากขึ้น ด้วยการฉีกไปหาลูกค้าเฉพาะกลุ่มของตัวเอง ซึ่งตลาดเงินดิจิทัลก็เป็นอีกตลาดหนึ่งที่เติบโตอย่างรวดเร็ว และมีผู้เข้ามาเก็งกำไรเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยปัจจุบัน ข้อมูลจาก CNBC ชี้ว่า ตลาดเงินคริปโตฯ นั้นมีมูลค่ามากกว่า 460 พันล้านเหรียญสหรัฐ จากที่เคยมีมูลค่าเพียง 21.4 พันล้านเหรียญสหรัฐ ในปีที่ผ่านมา (อ้างอิงจากเว็บไซต์ Coinmarketcap.com).

ที่มา : mgronline.com/cyberbiz/detail/9610000020211

]]>
1159249