GDP – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Wed, 17 Apr 2024 04:12:30 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 IMF คาด GDP ไทยโต 2.7% ในปีนี้ มองเศรษฐกิจโลกเติบโตเพิ่มขึ้นเล็กน้อย เตือนยังมีปัจจัยเสี่ยงอีกมาก https://positioningmag.com/1470177 Tue, 16 Apr 2024 17:27:01 +0000 https://positioningmag.com/?p=1470177 กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจไทยในปีนี้จะเติบโต 2.7% ขณะเดียวกันก็มองว่าเศรษฐกิจโลกในปีนี้จะเติบโตเพิ่มขึ้นเล็กน้อยมาอยู่ที่ 3.2% จากปัจจัยของเศรษฐกิจประเทศพัฒนาแล้วอย่างสหรัฐอเมริกาเติบโตได้อย่างแข็งแกร่ง แต่ก็เตือนถึงสภาวะเศรษฐกิจโลกนั้นยังมีความเสี่ยงอีกมาก

IMF ได้ออกคาดการณ์เศรษฐกิจล่าสุดฉบับเดือนเมษายน โดยมองว่าเศรษฐกิจโลกนั้นจะเติบโตเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากคาดการณ์เดิม ซึ่งได้ปัจจัยบวกจากเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกา หรือแม้แต่ประเทศกำลังพัฒนาที่ยังเติบโตแข็งแกร่ง อย่างไรก็ดีก็ได้เตือนถึงเรื่องปัจจัยเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นด้วย

สำหรับเศรษฐกิจโลก IMF ได้คาดการณ์ว่าจะเติบโตอยู่ที่ 3.2% ในปีนี้ ซึ่งดีกว่าคาดการณ์เดิมเมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา โดยได้ปัจจัยบวกจากการเติบโตเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วซึ่งอยูที่ 1.8% ขณะเดียวกันก็ปรับคาดการณ์ของกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาเหลือเติบโตแค่ 4.2% ในปีนี้

นอกจากนี้ IMF ยังมองว่าเศรษฐกิจโลกถือว่ามีความยืดหยุ่น แม้ว่าโลกจะอยู่ในสภาวะดอกเบี้ยสูงจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางประเทศต่างๆ นอกจากนี้ชื่นชมว่าธนาคารกลางทั่วโลกได้ต่อสู้กับสภาวะเงินเฟ้อได้ถูกทางแล้ว

IMF ยังคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาจะเติบโตได้มากถึง 2.7% ในปีนี้ ขณะที่จีนคาดว่าจะเติบโตที่ 4.6% ขณะที่อินเดียคาดว่าจะเติบโตได้ 6.8% ยกเว้นในส่วนของยูโรโซนที่ปรับประมาณการลดลง เนื่องจากราคาพลังงานที่สูงในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาได้สร้างผลกระทบต่อเศรษฐกิจยุโรปอย่างมาก

ในส่วนเศรษฐกิจไทยนั้น IMF คาดว่า GDP ของไทยจะเติบโต 2.7% ในปีนี้ และคาดว่าจะเติบโต 2.9% ในปี 2025 ขณะที่เงินเฟ้อของไทยในปีนี้คาดว่าจะอยู่ที่ 0.7%

ทางด้านของความเสี่ยงเศรษฐกิจโลก IMF ยังมองถึงความเสี่ยงจากสภาวะเงินเฟ้อที่ยังสูง แต่ก็ทยอยลดลงจากราคาพลังงานและอาหารลดลง รวมถึง Supply Chain ทั่วโลกกลับมาสู่สภาวะปกติมากขึ้น คาดว่าทั่วโลกนั้นตัวเลขดังกล่าวจะอยู่ที่ 5.9% ในปีนี้ และ 4.5% ในปี 2025

ในเรื่องอื่นๆ นั้น IMF ยังกังวลถึงความเสี่ยงระยะสั้นคือ ต้นทุนการเงินที่สูง การถอนมาตรการสนับสนุนทางเศรษฐกิจทำให้ส่งผลต่อการเติบโตของเศรษฐกิจ ขณะที่ความเสี่ยงระยะกลางนั้น ด้านผลิตภาพ (Productivity) ถือว่าต่ำสุดในรอบหลายสิบปี และยังกังวลถึงเรื่องของความตึงเครียดทางการค้าที่เพิ่มมากขึ้นทั่วโลก

และยังรวมถึงปัญหาด้านอสังหาริมทรัพย์ในจีน การแข่งขันทางด้านเศรษฐกิจระหว่างสหรัฐอเมริกากับจีนที่ส่งผลทำให้เกิดการแบ่งแยกทางเศรษฐกิจระหว่างกัน ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อเศรษฐกิจโลก

]]>
1470177
GDP สหรัฐฯ​ ปี 2023 เติบโต 2.5% นักวิเคราะห์เริ่มมองว่าเศรษฐกิจปีนี้เริ่มลดความร้อนแรงลงแล้ว https://positioningmag.com/1460336 Thu, 25 Jan 2024 17:07:45 +0000 https://positioningmag.com/?p=1460336 GDP ของสหรัฐอเมริกาในปี 2023 ที่ผ่านมาเติบโต 2.5% หลังในไตรมาส 4 ที่ผ่านมาเติบโตได้ 3.3% ดีกว่านักวิเคราะห์คาดไว้ โดยเฉพาะการบริโภคที่ยังเติบโต แม้จะมีอัตราเงินเฟ้อที่สูงก็ตาม อย่างไรก็ดีคาดว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ ในปี 2024 นี้จะเริ่มลดความร้อนแรงลงแล้ว

สำนักวิเคราะห์เศรษฐกิจ (BEA) เป็นหน่วยงานหนึ่งของกระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ รายงานตัวเลขการเติบโตเศรษฐกิจในปี 2023 ที่ผ่านมาโดยคาดการณ์ครั้งแรกว่า GDP จะเติบโตถึง 2.5% ซึ่งเติบโตมากกว่าปี 2022 ที่ผ่านมาที่ GDP เติบโตแค่ 1.9% เท่านั้น ซึ่งเศรษฐกิจสหรัฐฯ ในปีที่ผ่านมานั้นเผชิญความท้าทายจากปัญหาเงินเฟ้อที่สูงมากขึ้น

การรายงานตัวเลขการเติบโตทางเศรษฐกิจดังกล่าวตามมาจากการรายงานตัวเลข GDP ในไตรมาส 4 ของปี 2023 ที่เศรษฐกิจสหรัฐฯ เติบโต 3.3% ชะลอตัวลงจากไตรมาส 3 ที่ผ่านมา แต่ดีกว่าผลสำรวจนักวิเคราะห์ที่ Bloomberg ทำไว้ ซึ่งคาดว่าจะเติบโต 2% สอดคล้องกับผลสำรวจนักวิเคราะห์ของสำนักข่าว Reuters ที่คาดว่า 2% เช่นกัน

ปัจจัยการเติบโตของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ในปี 2023 ยังอยู่ที่การบริโภคของสหรัฐที่ยังเติบโตได้ 2.2% แม้ว่าจะลดลงจากปี 2022 ที่ผ่านมาก็ตาม การลงทุนของภาคธุรกิจเติบโตที่ 4.4% ขณะที่การลงทุนในที่อยู่อาศัยนั้นถดถอยมากถึง 10.7% การใช้จ่ายของภาครัฐเติบโต 4% รวมถึงการส่งออกเติบโตเล็กน้อยที่ 2.7% แม้ว่าการนำเข้าสินค้าจะติดลบ 1.7% ก็ตาม

อย่างไรก็ดีความท้าทายของเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาคืออัตราเงินเฟ้อที่สูงจนทำให้ธนาคารกลางสหรัฐฯ ต้องปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ซึ่งส่งผลต่อภาคธุรกิจทำให้มีการปลดคนงานในช่วงปี 2023 ที่ผ่านมา

มุมมองจากสถาบันการเงินอย่าง ING มองว่า การเติบโตของ GDP สหรัฐฯ ในไตรมาสที่ 4 เกินความคาดหมาย เนื่องจากการใช้จ่ายของผู้บริโภคและภาครัฐที่แข็งแกร่ง โดยคาดว่าการเติบโตของ GDP ในไตรมาสแรกของปี 2024 คาดว่าจะอ่อนแอลง นอกจากนี้ธนาคารกลางสหรัฐฯ ใกล้จะประกาศชัยชนะจากอัตราเงินเฟ้อเนื่องจากตัวเลขดังกล่าวกำลังจะเข้าเป้าหมายที่ 2% แล้ว

ขณะที่บทวิเคราะห์จาก Bank Of America มองว่าแม้เศรษฐกิจในไตรมาส 4 ของสหรัฐอเมริกาจะแข็งแกร่ง แต่คาดว่าเศรษฐกิจจะเริ่มเติบโตชะลอลงในไตรมาส 1 ของปี 2024 จากปัจจัยการใช้จ่ายของผู้บริโภค รวมถึงการลงทุนของภาคเอกชนที่เริ่มชะลอตัวลง หลังจากเศรษฐกิจเติบโตอย่างร้อนแรงในช่วงที่ผ่านมา

สำหรับคาดการณ์ GDP ในปี 2024 จากสถาบันการเงินต่างๆ Barclays คาดว่า GDP จะเติบโต 2.1% Bank Of America คาดว่าจะเติบโต 1.7%

ที่มา – NBC News, CBS News, บทวิเคราะห์จาก ING, Barclays, Bank Of America

]]>
1460336
GDP จีนปี 2023 เติบโต 5.2% ตามเป้ารัฐบาลวางไว้ แม้หลายปัญหากำลังรุมเร้าเศรษฐกิจแดนมังกรก็ตาม https://positioningmag.com/1459135 Wed, 17 Jan 2024 05:03:32 +0000 https://positioningmag.com/?p=1459135 จีนได้รายงานอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจจีน โดยในปี 2023 ที่ผ่านมา GDP จีนเติบโต 5.2% ซึ่งตรงกับเป้าหมายของรัฐบาลจีนที่วางตัวเลขไว้ราวๆ 5% อย่างไรก็ดีในปี 2024 นี้เศรษฐกิจแดนมังกรเองยังต้องพบกับความท้าทายหลายประการ

สำนักงานสถิติแห่งชาติจีนได้รายงานตัวเลขการเติบโตทางเศรษฐกิจในรอบปี 2023 ที่ผ่านมา โดยเศรษฐกิจแดนมังกรถือว่ามีความท้าทายอย่างมากหลังจากจีนได้ประกาศมาตรการผ่อนคลายจากการแพร่ระบาดของโควิดในช่วงปลายปี 2022 และเครื่องจักรเศรษฐกิจใหญ่อันดับ 2 ของโลกได้ฟื้นตัวอีกครั้ง

ตัวเลข GDP จีนในปี 2023 ตามหลังมาจากการประกาศตัวเลข GDP ในไตรมาส 4 ซึ่งตัวเลขดังกล่าวอยู่ที่ 5.2% ต่ำกว่าผลสำรวจนักวิเคราะห์ที่สำนักข่าว Reuters ได้จัดทำไว้ คาดว่าจะอยู่ที่ 5.3% ขณะที่ผลสำรวจของสำนักข่าว AFP คาดว่าจะเติบโตที่ 5.2%

ตัวเลขทางเศรษฐกิจจีนที่สำคัญในปี 2023 ที่ผ่านมา

  • การผลิตภาคการของจีนเติบโต 4.6% เมื่อเทียบกับปี 2022
  • การค้าปลีกของจีนเติบโตอยู่ที่ 7.2% เมื่อเทียบกับปี 2022
  • อัตราการว่างงานรวมของจีนล่าสุดอยู่ที่ 5.1% เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤศจิกายนเล็กน้อย
  • อัตราการว่างงานของวัยรุ่นอยู่ที่ 14.9% ลดลงจากเดือนกรกฎาคมซึ่งทำสถิติสูงสุดที่ 21.3%
  • ราคาบ้านในประเทศจีนลดลงไวเป็นสถิติมากสุดนับตั้งแต่ปี 2015 ที่ผ่านมา

เศรษฐกิจจีนในปีที่ผ่านมาต้องประสบความมท้าทายในหลายเรื่อง ไม่ว่าจะเป็น ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่ลดลง ปัญหาภาคอสังหาริมทรัพย์ ไปจนถึงปัญหาอัตราการว่างงานของวัยรุ่น ขณะเดียวกันปัญหาหนี้ของรัฐบาลท้องถิ่นก็กดดันรัฐบาลจีนในช่วงเวลาดังกล่าวเช่นกัน

ขณะเดียวกันปัญหาเชิงโครงสร้างประชากรเองก็กำลังกดดันจีนเช่นกัน ซึ่งสำนักงานสถิติแห่งชาติจีนรายงานตัวเลขประชากรจีนมีทั้งหมด 1,409 ล้านคน ลดลงจากปี 2022 ที่ผ่านมา 2.75 ล้านคน ซึ่งเป็นตัวเลขลดลงติดต่อกัน 2 ปีติดแล้ว และยังเป็นอัตราประชากรที่ต่ำลงไวที่สุดด้วย

นอกจากนี้ตัวเลขเศรษฐกิจจีนล่าสุด ยังมีทั้งสิ่งที่ดีและไม่ดีปะปนกัน ไม่ว่าจะเป็นแรงกดดันจากภาวะเงินฝืดอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าจะปัจจัยเชิงบวกอย่างภาคการส่งออกที่เติบโตเล็กน้อยก็ตาม ทำให้นักวิเคราะห์จากหลายสถาบันการเงินนั้นค่อนข้างกังวลกับเศรษฐกิจใหญ่อันดับ 2 ของโลกในเวลานี้ไม่น้อย

ในบทวิเคราะห์ของ Goldman Sachs ได้มองว่าเศรษฐกิจจีนในปี 2024 นี้จะมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจออกมา อย่างไรก็ดีสถาบันการเงินรายนี้กลับมองว่ามาตรการหลายอย่างนั้นไม่เพียงพอเมื่อเทียบกับผลกระทบที่เกิดขึ้นจากภาคอสังหาริมทรัพย์ ทำให้ปีนี้คาดว่า GDP จะเติบโตได้ 4.8% เท่านั้น

ที่มา – Reuters, China Daily

]]>
1459135
GDP ไทยไตรมาส 3 โตแค่ 1.5% เท่านั้น ได้ภาคการบริโภค ท่องเที่ยว แบกเศรษฐกิจไทยไว้ https://positioningmag.com/1452402 Mon, 20 Nov 2023 02:53:21 +0000 https://positioningmag.com/?p=1452402 สภาพัฒน์รายงานตัวเลขเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 3 ของปี 2566 ที่ผ่านมานั้นเติบโตแค่ 1.5% เท่านั้น ซึ่งต่ำกว่านักวิเคราะห์คาดไว้ โดยปัจจัยหลักในไตรมาสนี้ที่ยังทำให้เศรษฐกิจไทยเติบโตได้คือ ภาคการบริโภค รวมถึงภาคการท่องเที่ยว อย่างไรก็ดีปัจจัยที่ฉุดรั้งเศรษฐกิจไทยไตรมาสนี้คือภาคการส่งออก

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒน์) ได้รายงานตัวเลขการเติบโตเศรษฐกิจไทยในไตรมาส 3 ของปี 2566 นั้น GDP เติบโตได้ 1.5% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา ซึ่งตัวเลขดังกล่าวสื่อต่างประเทศมองว่าอาจทำให้รัฐบาลตัดสินใจออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจออกมา

ตัวเลขเศรษฐกิจไทยในไตมาสนี้ต่ำกว่าผลสำรวจของนักวิเคราะห์ของทั้ง Bloomberg มองว่าเศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ผ่านมานั้นเติบโตอยู่ที่ 2.2% และมองว่าไทยอาจมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจออกมา ขณะที่สำนักข่าว Reuters มองว่าเศรษฐกิจไทยไตรมาสที่ผ่านมาเติบโตได้ 2.4%

ถ้าหากมองตัวเลขการเติบโตต่อเนื่องจากไตรมาส 2 ของปีนี้ ไตรมาส 3 นี้เศรษฐกิจไทยเติบโตแค่ 0.8% เท่านั้น ขณะที่ 9 เดือนแรกของไทย GDP เติบโตที่ 1.9%

ปัจจัยสำคัญที่ถ่วงเศรษฐกิจไทยในไตรมาสนี้คือภาคการส่งออกที่ได้รับผลกระทบจากความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจทั่วโลก โดยเฉพาะปัจจัยจากประเทศจีน อย่างไรก็ดีปัจจัยบวกในไตรมาสนี้ก็คือการบริโภคภายในประเทศที่ยังเติบโต รวมถึงการลงทุนของภาคเอกชน

สำหรับตัวเลขที่น่าสนใจในไตรมาส 3 นี้

  • การบริโภคในประเทศเติบโต 8.1%
  • การส่งออกของไทยเติบโต 0.2% (ในสกุลดอลลาร์ -2%) ขณะที่การนำเข้าสินค้าถดถอย -10.2%
  • การลงทุนภาคเอกชนเติบโต 3.1%
  • การอุปโภคภาครัฐกลับถดถอยที่ -4.9%
  • อัตราการว่างงานอยู่ที่ 0.99% ต่ำที่สุดในรอบ 15 ไตรมาส

สภาพัฒน์คาดว่า GDP ไทยในปีนี้จะเติบโตได้ 2.5% และคาดว่าตัวเลขเงินเฟ้อของไทยอยู่ที่ 1.4% ขณะที่ปี 2567 คาดว่าเศรษฐกิจไทยจะเติบโตในช่วง 2.7-3.7%

]]>
1452402
GDP สหรัฐฯ ไตรมาส 3 โตถึง 4.9% ขยายตัวมากสุดนับตั้งแต่ช่วงปลายปี 2021 เป็นต้นมา https://positioningmag.com/1449463 Thu, 26 Oct 2023 16:55:12 +0000 https://positioningmag.com/?p=1449463 เศรษฐกิจสหรัฐอเมริกานั้นในไตรมาส 3 ของปี 2023 เติบโตได้ถึง 4.9% ซึ่งได้ปัจจัยไม่ว่าจะเป็นการบริโภคที่ยังแข็งแกร่ง นอกจากนี้ยังรวมถึงการลงทุนของภาคธุรกิจที่สูง อย่างไรก็ดีนักวิเคราะห์มองว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ อาจยังไม่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในระยะอันใกล้นี้

สํานักวิเคราะห์เศรษฐกิจ (BEA) ซึ่งเป็นหน่วยงานของกระทรวงพาณิชย์ของสหรัฐอเมริกา ได้ประกาศตัวเลขการเติบโตทางเศรษฐกิจในไตรมาส 3 ที่ผ่านมาซึ่งเป็นประมาณการครั้งที่ 1 โดย GDP ของสหรัฐฯ เติบโตจากไตรมาส 2 ถึง 4.9% และดีกว่านักวิเคราะห์คาดไว้ที่ 4.3%

กระทรวงพาณิชย์กล่าวว่าเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ขยายตัวในไตรมาสที่แล้วในอัตราที่รวดเร็วที่สุดในรอบกว่า 2 ปี และเติบโตมากกว่า 2 เท่าของตัวเลขในไตรมาส 2 ที่ผ่านมา ซึ่ง BEA ได้ปรับตัวเลข GDP ของไตรมาส 2 ลงมาเหลือเติบโต 2.1%

นอกจากนี้การเติบโตทางเศรษฐกิจในไตรมาส 3 ที่ผ่านมายังถือเป็นการเพิ่มขึ้นของ GDP ที่มากที่สุดนับตั้งแต่ไตรมาสที่ 4 ของปี 2021 แต่ถ้าหากนับตัวเลข GDP ในไตรมาส 3 เทียบกับปี 2022 ที่ผ่านมาแล้วนั้นเศรษฐกิจสหรัฐฯ เติบโต 2.9%

ไตรมาส 3 ที่ผ่านมาเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาเติบโตโดยได้ปัจจัยหลักคือ การใช้จ่ายของผู้บริโภคที่เติบโตมากถึง 4% ต่อปี ตามมาด้วย สินค้าคงคลัง การส่งออก การลงทุนด้านที่อยู่อาศัย และการใช้จ่ายภาครัฐ

บทวิเคราะห์ของ ING มองว่าภาคบริการได้มีส่วนช่วยเศรษฐกิจของสหรัฐอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นการทัวร์คอนเสิร์ตของนักร้องชื่อดังทั้ง Beyonce หรือแม้แต่ Taylor Swift และยังรวมถึงการเข้าฉายของภาพยนตร์อย่าง Barbie เองก็มีส่วนช่วยในการเติบโตทางเศรษฐกิจ

อย่างไรก็ดีในบทวิเคราะห์ของ ING มองว่าตัวเลขการเติบโตในไตรมาส 3 ที่สวยงามนี้เราจะไม่ได้เห็นอีกต่อไปในไตรมาส 4 เนื่องจากผลของการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ได้ส่งผลต่อต้นทุนการกู้ยืมหรือแม้แต่อัตราดอกเบี้ยของสินเชื่อหรือบัตรเครดิตที่เพิ่มมากขึ้น ซึ่งผลดังกล่าวจะส่งต่อไปยังในปี 2024 นี้ด้วย

ในขณะที่บทวิเคราะห์จาก Bank Of America มองว่าตัวเลขประมาณการครั้งที่ 1 ของ GDP ไตรมาส 3 อาจไม่ได้ปิดโอกาสที่ Fed จะขึ้นดอกเบี้ย เนื่องจากการเติบโตของเศรษฐกิจที่ยังสูง และเงินเฟ้อยังไม่ลดลงมาเข้าสู่เป้าหมาย อย่างไรก็ดีตัวเลข GDP ดังกล่าวก็ไม่ได้เร่งให้ Fed ต้องรีบขึ้นดอกเบี้ยมากนัก แต่ Fed เองอาจจับตามองดูตัวเลขต่างๆ ไปก่อน

]]>
1449463
‘เยอรมนี’ จ่อแซง ‘ญี่ปุ่น’ ขึ้นแท่นประเทศที่มี GDP สูงอันดับ 3 ของโลก หลังครองตำแหน่งมานานนับสิบปี https://positioningmag.com/1449043 Tue, 24 Oct 2023 07:55:11 +0000 https://positioningmag.com/?p=1449043 IMF คาดการณ์ว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศหรือ GDP ของ ญี่ปุ่น ในปี 2566 นี้ จะร่วงลงไปอยู่อันดับ 4 ของโลก โดยจะถูกประเทศ เยอรมนี ขึ้นแซง เนื่องจากค่าเงินเยนที่อ่อนค่าลง

ในปี 2022 ที่ผ่านมา มูลค่า GDP ของ ประเทศญี่ปุ่น อยู่ที่ประมาณ 4.1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ เติบโตขึ้น 1.1% ส่วน GDP ของ เยอรมนี อยู่ที่ 4.07 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ แม้ว่าในช่วงไตรมาส 1 GDP ของญี่ปุ่นจะสามารถเติบโตได้ ถึง 1.6% และไตรมาส 2 สามารถเติบโตได้ 6% ซึ่งสูงสุดในรอบ 2 ปี

แต่เนื่องจากเงินเยนที่อ่อนค่าลง และผลกระทบจากอัตราเงินเฟ้อของญี่ปุ่น ส่งผลให้การบริโภคของญี่ปุ่นในช่วงไตรมาส 2 ถดถอย 2% ซึ่งปัจจุบันตัวเลขการบริโภคภาคเอกชนมีสัดส่วนมากกว่า 50% ของ GDP ญี่ปุ่น

ส่งผลให้ IMF คาดว่า GDP ของเยอรมนีในปี 2023 จะแซงญี่ปุ่นขึ้นเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 3 หลังจากที่ญี่ปุ่นครองตำแหน่งนี้มานานกว่าสิบปี และ IMF ยังคาดอีกว่า GDP อินเดียจะซึ่งแซงหน้าญี่ปุ่น ภายในปี 2026 และเป็นไปได้ว่าอินเดียจะขึ้นเป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 3 ภายในปี 2027

ย้อนไปปี 1968 ญี่ปุ่นได้แซงเยอรมนีตะวันตกในแง่ของผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติหรือที่เรียกว่า GNP ซึ่งเป็นตัวบ่งชี้หลักในขณะนั้น และกลายเป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากสหรัฐอเมริกา และตำแหน่งนั้นก็ถูก จีน แซงในปี 2013

Source

]]>
1449043
GDP จีน ไตรมาส 3 เติบโต 4.9% คาดปีนี้เศรษฐกิจอาจโตตามเป้าที่รัฐบาลวางไว้ https://positioningmag.com/1448409 Wed, 18 Oct 2023 05:24:15 +0000 https://positioningmag.com/?p=1448409 รัฐบาลจีนได้ประกาศตัวเลขการเติบโตทางเศรษฐกิจจีน ในไตรมาส 3 นี้เศรษฐกิจจีนเติบโตถึง 4.9% ดีกว่านักวิเคราะห์คาดไว้ และอาจทำให้ปีนี้การเติบโตของจีนอาจตรงเป้าที่รัฐบาลได้วางไว้ ผ่านมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่ทยอยออกมาทีละเล็กทีละน้อย

สำนักงานสถิติแห่งชาติของจีนได้เปิดเผยตัวเลขการเติบโตทางเศรษฐกิจในไตรมาส 3 ที่ผ่านมาเติบโตถึง 4.9% โดยปัจจัยสำคัญมาจากภาคการบริโภคที่ดีกว่าคาด อย่างไรก็ดีภาคการผลิตของจีนยังคงอ่อนแออยู่ แม้ว่าจะมีมาตรการช่วยเหลือของภาครัฐออกมา

ตัวเลขการเติบโตของเศรษฐกิจจีนในไตรมาส 3 นี้ดีกว่านักวิเคราะห์คาดไว้ โดย Bloomberg ทำสำรวจนักวิเคราะห์คาดว่าจะ GDP ของจีนจะโตเพียงแค่ 4.5% ขณะที่ Reuters คาดว่าจะเติบโตที่ 4.4%

แต่ถ้าหากเทียบการเติบโตจากไตรมาส 2 ที่ผ่านมา เศรษฐกิจจีนในไตรมาส 3 นี้จะเติบโตต่อจากไตรมาสที่ผ่านมาเพียงแค่ 1.3% เท่านั้น

ในช่วงไตรมาส 3 ที่ผ่านมา รัฐบาลจีนได้ออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ไม่ว่าจะเป็นภาคอสังหาริมทรัพย์ หรือแม้แต่มาตรการกระตุ้นให้ผู้บริโภคซื้อรถยนต์ไฟฟ้ากับสินค้าอิเล็กทรอนิกส์มากขึ้น ซึ่งมาตรการดังกล่าวเป็นการกระตุ้นการจับจ่าย และยังสร้างแรงจูงใจให้กับภาคการผลิตด้วย

ตัวเลขที่น่าสนใจของเศรษฐกิจจีนในไตรมาส 3 ที่ผ่านมา

  • ภาคการผลิตในเดือนกันยายน เติบโต 4.5%
  • ตัวเลขค้าปลีกในเดือนกันยายน เติบโต 5.5%
  • การลงทุนในสินทรัพย์ถาวร (เช่น โครงสร้างพื้นฐาน ฯลฯ) ในเดือนกันยายน เติบโต 3.1%
  • ภาคการบริการในเดือนกันยายน เติบโต 6.9%
  • อัตราการว่างงานของจีนในเดือนกันยายน อยู่ที่ 5% (ลดลงจากเดือนสิงหาคมอยู่ที่ 5.2%)
  • การลงทุนในภาคอสังหาริมทรัพย์ของจีนในช่วง 9 เดือนแรก ลดลง 9.1%

ในรายงานของสำนักงานสถิติแห่งชาติของจีนได้กล่าวถึงภาพรวมเศรษฐกิจในไตรมาส 3 ว่า “โดยรวมแล้วเศรษฐกิจของประเทศยังคงฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องในช่วงสามไตรมาสแรก และการพัฒนาก็มีความก้าวหน้าอย่างแข็งแกร่ง ซึ่งวางรากฐานที่มั่นคงเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาประจำปี”

ตัวเลขการเติบโตของจีนในไตรมาส 3 นี้อาจทำให้ตัวเลขการเติบโตทางเศรษฐกิจแตะเป้าของรัฐบาลจีนที่วางไว้ว่าในปี 2023 นี้เศรษฐกิจจีนจะเติบโตราวๆ 5%

ทางด้านบทวิเคราะห์ของ Goldman Sachs มองว่าโมเมนตัมการเติบโตของเศรษฐกิจจีนค่อยฟื้นตัวตามลำดับ คาดว่าในไตรมาส 4 นี้รัฐบาลจีนจะออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจออกมา แม้ว่ามาตรการดังกล่าวของรัฐบาลจีนจะออกมาทีละเล็กทีละน้อยในช่วงที่ผ่านมา แต่ยังมีจุดที่น่ากังวลคือเรื่องของภาคอสังหาริมทรัพย์และความเชื่อมั่นที่ยังเปราะบาง

ที่มา – CNN, CNBC, Reuters

]]>
1448409
World Bank คาด GDP ไทยปีนี้โตเหลือแค่ 3.4% เท่านั้น ชี้เศรษฐกิจเอเชียชะลอตัวลงจากหลายปัจจัย https://positioningmag.com/1446391 Mon, 02 Oct 2023 09:05:16 +0000 https://positioningmag.com/?p=1446391 ธนาคารโลก (World Bank) ได้ปรับตัวเลข GDP ของไทย โดยคาดว่าในปีนี้จะเติบโตเหลือแค่ 3.4% เท่านั้น ขณะที่ปี 2024 คาดว่าจะเติบโตได้แค่ 3.5% เท่านั้น โดยมองหลายปัจจัยที่ส่งผลต่อเศรษฐกิจเอเชีย ไม่ว่าจะเป็นการส่งออก ไปจนถึงเศรษฐกิจจีนชะลอตัวลง

World Bank ได้ปรับตัวเลขคาดการณ์เศรษฐกิจไทยในปีนี้เหลือแค่ GDP เติบโต 3.4% ในรายงานฉบับล่าสุดเดือนตุลาคม ลดลงจากคาดการณ์ในเดือนเมษายนที่ 3.6% ขณะเดียวกันก็คาดกว่าในปี 2024 ข้างหน้านี้ไทยจะมีเศรษฐกิจเติบโตที่ 3.5% และยังปรับตัวเลข GDP ในปีนี้หลายประเทศ

สำหรับตัวเลขเศรษฐกิจไทย ในรายงานของ World Bank ยังชี้ให้เห็นว่าเศรษฐกิจไทยเติบโตมากกว่าช่วงก่อนการแพร่ระบาดของโควิดเพียงเล็กน้อยเท่านั้น เมื่อเทียบกับประเทศอื่น ไม่ว่าจะเป็น มาเลเซีย อินโดนีเซีย เวียดนาม ฟิลิปปินส์ เป็นต้น

ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ World Bank ปรับลดตัวเลข GDP ของเศรษฐกิจแต่ละประเทศในเอเชียเป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากปริมาณการส่งออกสินค้าที่ลดลง นอกจากนี้ยังรวมถึงความไม่แน่นอนจากหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นความขัดแย้งระหว่างจีนกับสหรัฐอเมริกา ฯลฯ

และอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญคือการชะลอตัวลงของเศรษฐกิจจีน หรือแม้แต่ปัจจัยภายนอกที่ส่งผลต่อเศรษฐกิจในเอเชีย ไม่ว่าจะเป็นการขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ ในช่วงที่ผ่านมา นโยบายด้านการค้าที่เปลี่ยนไปของหลายประเทศ หรือแม้แต่หนี้ที่เกิดขึ้นจากรัฐบาลที่นำมาใช้แก้ปัญหาด้านเศรษฐกิจช่วงการแพร่ระบาดของโควิด

รายงานของ World Bank ยังมองว่าการบริโภคในประเทศจีนที่ชะลอตัวลงจากผลกระทบของการบริโภคในประเทศจีนในปี 2024 ซึ่งคาดการณ์ว่าจะกระทบต่อ GDP จีนถึงเกือบ 0.5 จุดเปอร์เซ็นต์ (Percentage Point) จะส่งผลกระทบต่อ GDP ไทยเกือบๆ 0.2 Percentage Point เช่นกัน

นอกจากนี้ในรายงานของ World Bank ยังกังวลถึงปัญหาหนี้ไม่ว่าจะเป็นหนี้สาธารณะ หนี้ในครัวเรือน หรือหนี้บริษัทต่างๆ (ที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน) ที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างน่ากังวล โดยหนี้ที่สูงขึ้นเหล่านี้จะส่งผลต่อต้นทุนการกู้ยืมที่เพิ่มมากขึ้น และยังทำให้การลงทุนลดลง หรือแม้แต่หนี้ครัวเรือนก็ส่งผลต่อการบริโภคของประชาชนเช่นกัน

คาดการณ์ตัวเลขการเติบโตทาง GDP ของแต่ละประเทศในทวีปเอเชียแปซิฟิกสามารถดูได้ในรูปด้านล่าง

]]>
1446391
GDP ไทยไตรมาส 2 โตแค่ 1.8% หลังตัวเลขส่งออกแย่กว่าคาด ปีนี้อาจเห็นเศรษฐกิจไทยโตไม่ถึง 3% https://positioningmag.com/1441714 Mon, 21 Aug 2023 04:40:45 +0000 https://positioningmag.com/?p=1441714 ในไตรมาส 2 นี้ เศรษฐกิจไทยเติบโตเหลือแค่ 1.8% หลังจากตัวเลขภาคการส่งออกของไทยแย่กว่าคาด ทำให้สภาพัฒน์คาดว่าเศรษฐกิจไทยปีนี้อาจโตได้สูงสุดแค่ 3%

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒน์) ได้รายงานตัวเลขการเติบโตเศรษฐกิจไทยในไตรมาส 2 ของปี 2566 นั้น GDP เติบโตได้ 1.8% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา ซึ่งต่ำกว่านักวิเคราะห์คาดไว้ โดยปัจจัยสำคัญที่ถ่วงเศรษฐกิจไทยในไตรมาสนี้คือภาคการส่งออกที่ได้รับผลกระทบจากความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจทั่วโลก โดยเฉพาะปัจจัยจากประเทศจีน

ขณะเดียวกันในไตรมาส 2 นี้ปัจจัยที่ช่วยเศรษฐกิจไทยนั้นได้แก่ การอุปโภคบริโภคในประเทศยังเติบโตได้ดี ซึ่งเป็นผลจากภาคการท่องเที่ยวที่กำลังฟื้นตัวดีขึ้นเรื่อยๆ

การเติบโตของเศรษฐกิจไทยไตรมาส 2 ถือว่าผิดคาดจากผลสำรวจนักวิเคราะห์ของสำนักข่าว Reuters ที่สำรวจนักวิเคราะห์กว่า 21 คนในช่วงวันที่ 14-17 สิงหาคมที่ผ่านมาคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจไทยในไตรมาส 2 จะโตได้ถึง 3.1% ด้วยซ้ำ ขณะที่ทาง Bloomberg ที่ได้ทำสำรวจนักวิเคราะห์เช่นกันนั้นคาดว่า GDP ไทยจะโตได้ 3%

ถ้าหากมองตัวเลขการเติบโตต่อเนื่องจากไตรมาส 1 ของปีนี้ ไตรมาส 2 นี้เศรษฐกิจไทยเติบโตแค่ 0.2% เท่านั้น

สำหรับตัวเลขที่น่าสนใจในไตรมาส 2 นี้

  • การบริโภคในประเทศเติบโต 7.8%
  • การส่งออกในรูปแบบสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐนั้น -5.6%
  • การลงทุนภาคเอกชนเติบโต 1.0%
  • การอุปโภคภาครัฐกลับถดถอยที่ -4.3%

สภาพัฒน์ได้มองปัจจัยบวกของเศรษฐกิจไทยในปีนี้คือการลงทุนจากต่างประเทศที่เข้ามาในประเทศไทย การฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยว อย่างไรก็ดีความเสี่ยงของเศรษฐกิจไทยปีนี้คือเรื่องการเมือง การชะลอตัวมากกว่าที่คาดของเศรษฐกิจโลก การปรับเพิ่มของอัตราดอกเบี้ยจากธนาคารกลาง หรือแม้แต่การฟื้นตัวของเศรษฐกิจจีนที่จำกัด

ทำให้ทั้งปี 2023 นี้ สภาพัฒน์คาดว่าเศรษฐกิจไทยจะเติบโตอยู่ในช่วง 2.5-3% เท่านั้น ปรับคาดการณ์ลงจากไตรมาส 1 ที่ผ่านมา

]]>
1441714
GDP ญี่ปุ่นไตรมาส 2 โตถึง 6% ภาคการส่งออกเติบโต ภาคการท่องเที่ยวแข็งแกร่ง แต่การบริโภคยังชะลอตัว https://positioningmag.com/1441021 Tue, 15 Aug 2023 09:46:36 +0000 https://positioningmag.com/?p=1441021 เศรษฐกิจญี่ปุ่นในไตรมาส 2 ของปี 2023 เติบโตอย่างแข็งแกร่งถึง 6% ถือว่าเป็นการเติบโตที่ดีที่สุดนับตั้งแต่ไตรมาส 4 ของปี 2020 เป็นต้นมา จากปัจจัยการส่งออก รวมถึงภาคการท่องเที่ยว อย่างไรก็ดียังมีความกังวลถึงการบริโภคในประเทศที่ยังชะลอตัวจากปัญหาเงินเฟ้อ

รัฐบาลญี่ปุ่นประกาศตัวเลขการเติบโตทางเศรษฐกิจในไตรมาส 2 ของปี 2023 โดยในไตรมาสนี้เศรษฐกิจแดนอาทิตย์อุทัยเติบโตมากถึง 6% เมื่อเทียบกับปี 2022 ที่ผ่านมา และเป็นการเติบโตของ GDP มากที่สุดนับในรอบมากกว่า 2 ปีที่ผ่านมา

การเติบโตของเศรษฐกิจญี่ปุ่น ถือเป็นการเติบโตติดต่อกัน 3 ไตรมาสแล้ว แต่ถ้าหากมองการเติบโตรายไตรมาสแล้ว GDP ญี่ปุ่นในไตรมาส 2 เติบโตจากไตรมาส 1 ที่ผ่านมาถึง 1.5% ดีกว่าผลสำรวจของนักวิเคราะห์ที่สำนักข่าว Reuters คาดไว้ว่าจะเติบโตแค่ 0.8% เท่านั้น

ในไตรมาส 2 นี้ปัจจัยที่ทำให้การเติบโตของ GDP คือภาคการส่งออกเติบโตอย่างแข็งแกร่ง นำโดยการส่งออกรถยนต์ และสินค้าอื่นๆ แม้ว่าสภาวะเศรษฐกิจทั่วโลกจะชะลอตัวลง ขณะเดียวกันในไตรมาสนี้จำนวนนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศเพิ่มสูงขึ้น ตัวเลขในเดือนมิถุนายนมีนักท่องเที่ยวเข้าญี่ปุ่นมากถึง 2 ล้านคน เทียบกับช่วงก่อนการแพร่ระบาดของโควิดแล้วนั้นคิดเป็น 72%

ไม่เพียงเท่านี้ค่าเงินเยนที่อ่อนค่ายังส่งผลดีต่อการส่งออก รวมถึงทำให้นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติแห่เข้าประเทศญี่ปุ่นในไตรมาสที่ผ่านมาด้วย ปัจจัยดังกล่าวยังรวมผลดีจากการลงทุนของภาคเอกชนและการลงทุนของภาครัฐ ซึ่งเป็นอีกปัจจัยในการเติบโตเช่นกัน

การเติบโตของเศรษฐกิจญี่ปุ่นในไตรมาส 2 ที่ผ่านมายังเป็นแรงผลักดันทำให้ GDP ของญี่ปุ่นกลับมาเติบโตได้อีกครั้ง หลังจากไตรมาส 1 ที่ผ่านมาเศรษฐกิจของญี่ปุ่นได้พ้นจากสภาวะถดถอยซึ่งเป็นผลจากการแพร่ระบาดของโควิดได้แล้ว

อย่างไรก็ดีในไตรมาสนี้ปัจจัยทางเศรษฐกิจที่น่าเป็นห่วงคือภาคการบริโภคของญี่ปุ่นที่ถดถอย โดยในไตรมาส 2 นี้ถดถอยที่ 2% เนื่องจากสภาวะเงินเฟ้อที่สูงในประเทศญี่ปุ่นในช่วงท่ีผ่านมา ราคาสินค้าปรับตัวเพิ่มขึ้น ส่งผลทำให้การจับจ่ายใช้สอยของประชาชนลดลง (ปัจจุบันตัวเลขการบริโภคภาคเอกชนมีสัดส่วนมากกว่า 50% ของ GDP ญี่ปุ่น)

มุมมองจากสถาบันการเงินอย่าง UOB ได้วิเคราะห์ว่า ด้วยตัวเลขทางเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งในครึ่งปีแรก ทำให้ปี 2023 คาดว่าเศรษฐกิจญี่ปุ่นจะเติบโตได้ถึง 1.5% ปรับเพิ่มขึ้นจากเดิมที่ 1% แต่ยังกังวลถึงภาคการบริโภคของญี่ปุ่นที่ยังไม่เติบโตกลับมาเท่าก่อนช่วงการแพร่ระบาดของโควิด และยังรวมถึงตัวเลขเงินเฟ้อที่ยังสูง

ในบทวิเคราะห์ของ Bank Of America มองว่าการบริโภคจะกลับมาเติบโตได้ในช่วงไตรมาส 3 ของปีนี้ และมองว่าการเติบโตของตัวเลขดังกล่าวยังถือว่าเป็นผลดีต่อเศรษฐกิจญี่ปุ่นในระยะกลาง และถ้าหากมีการปรับค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นหลังจากนี้แล้วนั้นจะส่งผลทำให้ตัวเลขการบริโภคกลับมาดีขึ้นได้

ที่มา – รัฐบาลญี่ปุ่น, บทวิเคราะห์จาก UOB และ Bank of America

]]>
1441021