Sizzler – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Sat, 07 Sep 2024 14:03:05 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 เปิดเบื้องหลัง ‘น้องชีสโทสต์’ มาสคอตมาร์เก็ตติ้งของ ‘ซิซซ์เล่อร์’ ที่มองไกลกว่าแค่ใช้ตกลูกค้า Young Gen แต่อาจเป็นใบเบิกทางฟื้นแบรนด์ในต่างประเทศ https://positioningmag.com/1488971 Sat, 07 Sep 2024 14:01:34 +0000 https://positioningmag.com/?p=1488971 แม้มาสคอตมาร์เก็ตติ้ง (Mascot Marketing) ไม่ใช่เรื่องใหม่ และหลายแบรนด์ก็ใช้อย่างเช่น บาร์บีคิวพลาซ่า แต่หลังจากที่ น้องหมีเนย ได้มาสร้างสีสันให้มาสคอตมาร์เก็ตติ้ง ซิซซ์เล่อร์ ที่พยายามปลุกปั้น น้องชีสโทสต์ ตั้งแต่เมื่อปีที่ผ่านมา และในเดือนกันยายนนี้ก็ได้จัดแคมเปญ Cheese Toast Funderland พร้อมกับอวดโฉมดีไซน์ใหม่น้องชีสโทสต์ และมองไกลกว่าแค่ ตกลูกค้า Young Gen แต่จะใช้เป็นใบเบิกทางสู่การ ฟื้นแบรนด์ ในต่างประเทศ

ยกเครื่องน้องชีสโทสต์ให้ตะมุตะมิกว่าเดิม

ในอดีตที่ผ่านมา แบรนด์ ซิซซ์เล่อร์ (Sizzler) มักจะสื่อสารถึงเรื่องของความเฮลท์ตี้ โดยเฉพาะตัวของ สลัดบาร์ แต่ภายใต้แนวคิดของ อนิรุทร์ เดวิด คอลลินส์ ผู้จัดการทั่วไป ผู้จัดการทั่วไป บริษัท เอ็มเอฟ คาเฟ่ แอนด์ เรสเตอรองต์ จำกัด (sizzler) ในเครือไมเนอร์ ฟู้ด มองว่า คนไทยมีอแวร์เนสในเรื่องดังกล่าวสูงเพียงพอที่ซิซซ์เล่อร์จะหันมาชูโรงเรื่อง สเต๊ก ให้กลับมาเป็น พระเอก ของแบรนด์อีกครั้ง

และอีกภารกิจของแบรนด์ก็คือ การเข้าถึงกลุ่ม Young Gen เพราะด้วยอายุแบรนด์ในไทยที่ยาวนานถึง 32 ปี ทำให้กลุ่มลูกค้าหลักของแบรนด์เป็น กลุ่มครอบครัว อายุ 35 ปีขึ้นไป และหนึ่งในกลยุทธ์ที่ อนิรุทร์ เลือกจะใช้มัดใจคนรุ่นใหม่ก็คือ มาสคอต ซึ่งนั่นทำให้ซิซซ์เล่อร์ให้กำเนิด น้องชีสโทสต์ ขึ้นมาตั้งแต่ช่วงต้นปี 2023 และด้วยกระแส น้องหมีเนย ได้แสดงให้เห็นถึงความทรงพลังของมาสคอตมาร์เก็ตติ้ง ทำให้ อนิรุทร์ เดินหน้าเต็มกำลัง พร้อมกับ กเครื่องใหม่ ให้มีความน่ารักมากขึ้น

“ช่วงนี้ทำให้มาสคอตมาเก็ตติ้งยิ่งดัง ทำให้หลายแบรนด์เริ่มทำมาสคอตมาร์เก็ตติ้ง เราเห็นเทรนด์มา และเรามีมาสคอต เราเลยทำโฉมใหม่ให้สมส่วน ช่วยเพิ่มความน่ารัก และสะดวกต่อคนที่อยู่ข้างในด้วย” อนิรุทร์ อธิบาย

อนิรุทร์ เดวิด คอลลินส์ ผู้จัดการทั่วไป ผู้จัดการทั่วไป บริษัท เอ็มเอฟ คาเฟ่ แอนด์ เรสเตอรองต์ จำกัด (sizzler) ในเครือไมเนอร์ ฟู้ด และ จีรณา เจริญวัฒนะโพธิ์แก้ว Marketing Director (Acting)

ต้องเป็นชีสโทสเพราะคือ DNA ที่ลอกเลียนไม่ได้

นอกจากเรื่องของสเต๊ก และสลัด ขนมปังชีสโทสที่เสิร์ฟในทุกจานเฉลี่ยปีละกว่า 9 ล้านชิ้น ก็ถือเป็นอีก DNA ของซิซซ์เล่อร์ที่ลูกค้าจดจำได้เป็นอย่างดี ดังนั้น อนิรุทร์ จึงเลือกที่จะใช้ชีสโทสมาทำเป็นมาสคอต เพราะมองว่าชีสโทสมีศักยภาพที่จะเป็น ไอคอนนิก ที่คนนึกถึง และเป็นคาแรกเตอร์ที่แบรนด์อื่นไม่สามารถมาแทนที่ได้

อีกสิ่งที่ยืนยันว่าชีสโทสเป็นที่รักของลูกค้าก็คือ มีคอมเมนต์ให้ซิซซ์เล่อร์ทำแคมเปญ บุฟเฟต์ชีสโทสต์ ซึ่งซิซซ์เล่อร์ได้ทดลองทำ โดยให้ลูกค้า +เงิน 20 บาท รับชีสโทสไม่อั้น ซึ่งช่วยเพิ่มยอดถึง 30% ดังนั้น การหยิบชีสโทสมาทำเป็นมาสคอต เป็นวัตถุดิบที่ซิซซ์เล่อร์มั่นใจแล้วว่าจะ Build ขึ้น

เมอร์ชานไดร์ซยิ่งช่วยสร้างแบรนด์เลิฟ

อีกกลยุทธ์ที่ ซิซซ์เล่อร์ทำควบคู่ไปกับการมีมาสคอตก็คือ เมอชานไดซ์ ไม่ว่าจะเป็นหมอนผ้าห่ม ร่ม รองเท้าสลิปเปอร์ โดยในปีที่ผ่านมา ซิซซ์เล่อร์สามารถขายสินค้าได้ถึง 1 ล้านชิ้น ทั้งที่เป็นการ แลกซื้อเมื่อทานครบตามเงื่อนไข แสดงให้เห็นว่า ลูกค้ายอมจ่าย ดังนั้น ในปีนี้ ซิซซ์เล่อร์จึง ทำขาย โดยไม่มีเงื่อนไข ดังนั้น จึงมั่นใจว่ายอดขายจะสามารถเพิ่มขึ้นไปถึง 3 เท่า จากปีก่อน และได้เพิ่มโปรดักส์ใหม่อย่าง กล่องสุ่ม ตามกระแส

“เราเห็นดีมานด์จากลูกค้าครั้งก่อน ซึ่งสินค้าหมดเร็วกว่ากำหนดประมาณ​ 1 สัปดาห์ เช่น หมอนมีเท่าไหร่ก็ขายหมด ดังนั้น เรามองว่าสินค้ามันล้อไปกับเทรนด์ รอบนี้มีพิเศษคือ กล่องสุ่ม ที่เข้ากับเทรนด์ในปัจจุบันนี้”

อย่างไรก็ตาม อนิรุทร์ มองว่า ยอดขายเป็นเพียงผลพลอยได้ แต่เป้าหมายจริง ๆ ของการขายเมอร์ชานไดซ์คือการสร้าง แบรนด์เลิฟ เพราะสิ่งของมันติดตัวเราไปกับชีวิตประจำวัน ทำให้เขารีไมด์ถึงแบรนด์ได้ตลอดเวลา สินค้าเมอชานไดซ์จึงช่วยเพิ่มบทบาทของแบรนด์ นอกจากนี้ เชื่อว่าจะช่วยเพิ่มจำนวน สมาชิก (Member) เพราะสมาชิกจะสามารถ ซื้อสินค้าในราคาพิเศษ

ปัจจุบัน จำนวนสมาชิกของซิซซ์เล่อร์มี 7.5 แสนราย เพิ่มขึ้นจากจำนวน 2 แสนรายในช่วงต้นปี 2023 ซึ่งถือว่าเพิ่มขึ้น 2 เท่าทุกปี โดยลูกค้าสมาชิกจะมีความถี่ในการเข้าร้านกว่าลูกค้าทั่วไป 3 เท่า และใช้จ่ายมากกว่า 10-15% ต่อครั้ง สำหรับระดับของสมาชิกจะแบ่งได้ 3 ระดับ ได้แก่

  • Green คิดเป็นสัดส่วน 80%
  • Gold คิดเป็นสัดส่วน 15%
  • Diamond คิดเป็นสัดส่วน 5%

“คนเราเข้าร้านอาหารทานได้เต็มที่ 5 มื้อ/วัน ดังนั้น สินค้าจะช่วยรีไมด์ลูกค้าให้นึกถึงเรา ถ้าเราทำให้เขารักเรา และยังช่วยสร้างสื่อฟรี เพราะถ้าคนชื่นชอบสินค้า ชอบตัวมาสคอต คนก็จะแชร์” จีรณา เจริญวัฒนะโพธิ์แก้ว
Marketing Director (Acting) – Sizzler กล่าวเสริม

เป้าสูงสุด คือคืนชีฟซิซซ์เล่อร์ในประเทศอื่น

ซิซซ์เล่อร์เป็นแบรนด์ที่มีอายุกว่า 60 ปี และเคยมีสาขาในหลายประเทศ ดังนั้น ถ้าน้องชีสโทสต์กลายเป็น ไวรัล อาจเป็นโอกาสให้สามารถ คืนชีพ แบรนด์ในประเทศอื่น ๆ ที่ซิซซ์เล่อร์เคยทำตลาด ซึ่งปัจจุบัน ไมเนอร์ได้ขยายแบรนด์ซิซซ์เล่อร์ไปยังเวียดนาม และได้สิทธิ์ดูแลแบรนด์ในญี่ปุ่น ดังนั้น ถ้าน้องชีสโทสต์กลายเป็นสินทรัพย์ที่แข็งแกร่ง ก็มีโอกาสที่จะขยายไปประเทศอื่น ๆ ได้

“น้องชีสโทสต์เคยเป็นไวรัลในออสเตรเลีย ลูกค้าเก่า ๆ เขาคิดถึงรสชาติของชีสโทสต์มาก ดังนั้น ถ้าทำเราไทยแข็งแรง ทำชีสโทสให้เป็น Brand Assets ให้แข็งแกร่ง ก็อาจจะทำให้เราส่งต่อไปประเทศอื่น ๆ ได้”

]]>
1488971
Back to Basic! ‘ซิซซ์เล่อร์’ ขอกลับมาเน้น ‘สเต๊ก’ พระเอกที่ถูกลืม! https://positioningmag.com/1426566 Wed, 05 Apr 2023 13:50:17 +0000 https://positioningmag.com/?p=1426566 “หลายแบรนด์รู้สึกว่าหลังโควิดต้องทรานส์ฟอร์มแบรนด์ตัวเอง แต่ไม่ใช่กับซิซซ์เล่อร์” ประโยคที่ชวนสงสัยของ อนิรุทร์ เดวิด คอลลินส์ ผู้จัดการทั่วไป บริษัท เอสแอลอาร์ที จำกัด (ซิซซ์เล่อร์) ในเครือไมเนอร์ ฟู้ด ที่มองว่า กลยุทธ์ของซิซซ์เล่อร์จากนี้คือ การนำ จุดเริ่มต้นของแบรนด์ ให้กลับมาเป็นจุดแข็งอีกครั้ง

ขุดประวัติแบรนด์มาสื่อสาร

แม้จะเป็นแบรนด์ที่อยู่ในไทยมานานถึง 30 ปี ผ่านอะไรมามากมายแต่จุดเปลี่ยนสำคัญที่สุดของ ซิซซ์เล่อร์ (Sizzler) ก็คือโควิด ซึ่ง อนิรุทร์ ได้เปรียบว่าหากแบรนด์เป็นเรือ ก็คือเรือที่อยู่บนน้ำ แต่โควิดทำให้แบรนด์ต้องเปลี่ยนตัวเองเป็นเรือดำน้ำหรือก็คือการทำเดลิเวอรี่ที่ไม่เคยทำมาก่อน

แต่เมื่อในยุคหลังโควิด ซิซซ์เล่อร์ก็ต้องมาอยู่บนน้ำอีกรอบ ดังนั้น แบรนด์จึงต้อง Relearn ว่าจุดกำเนิดของซิซซ์เล่อร์คืออะไรซึ่งก็คือ สเต๊ก โดย อนิรุทร์ ยอมรับว่า ที่ผ่านมาการสื่อสารกับตลาดของซิซซ์เล่อร์เน้นที่สลัดอย่างเดียว

“ที่ขอย้อนกลับไปที่ Heritage เพราะเรามองว่ามันมีเบื้องหลัง มีของดีของมันที่เราต้องดึงมาเพื่อสื่อสารกับลูกค้ามากขึ้นโดยเฉพาะกลุ่มคนรุ่นใหม่ไปจนถึงกลุ่มครอบครัว เราต้องการใส่จุดเริ่มต้นของแบรนด์ลงไป เราต้องรีเลิร์นเพื่อกลับไปเป็นคนเดิมที่ลูกค้ารักเรามาโดยตลอด เรามาตอกย้ำความเป็นสเต๊กมาสเตอร์ตัวจริงให้กลับมา

ชูสเต๊กพรีเมียม พระเอกที่ถูกลืม

หนึ่งในเมนูใหม่ที่เกิดจากการกลับไปหาจุดเริ่มต้นของแบรนด์ก็คือ สเต๊กริบอายจานร้อน พร้อมหินร้อนสไตล์ญี่ปุ่น (Sizzling Ribeye Steak) ที่ให้ลูกค้าสามารถนำเนื้อไปย่างบนหินร้อนสไตล์ญี่ปุ่น จนเกิด เสียงฉ่า ของเนื้อที่โดนความร้อน โดย อนิรุทร์ อธิบายว่า ไอเดียนี้เกิดมาจากจุดเริ่มต้นของแบรนด์ที่ตั้งชื่อตาม เสียงการย่างเนื้อ (Sizzling sound) เพื่อเพิ่มประสบการณ์และความพรีเมียม

“การที่เรากลับไปค้นถึงจุดเริ่มต้นมันช่วยสร้างแรงบันดาลใจ เราคิดว่าจะทำอย่างไรให้เสียงนี้กลับมาอีกครั้ง โดยเมนูใหม่นี้ขายได้มากกว่าเดิมถึง 4 เท่า ดังนั้น เรายังไม่จบตอนนี้ แต่จะมีตามมาอีก 2-3 ซีรีส์ในอนาคต”

การกลับมาโฟกัสที่สเต๊กอีกครั้งถือเป็นสิ่งที่ อนิรุทร์ เชื่อว่ามาถูกทาง เพราะสอดคล้องกับความต้องการของลูกค้า 90% ที่อยากให้ซิซซ์เล่อร์ให้ความสำคัญกับสเต๊กมากขึ้น นอกจากนี้ เทรนด์ของ ตลาดพรีเมียมสเต๊ก ในเอเชียแปซิฟิกก็สามารถเติบโต 5-7% ซึ่งเติบโตมากกว่าฝั่งยุโรปและอเมริกา แสดงให้เห็นว่าคนเอเชียมองหาสเต๊กที่มีคุณภาพดีขึ้น

นอกจากนี้ การที่ซิซซ์เล่อร์กลับมาเน้นที่พรีเมียมสเต๊กจะยิ่งทำให้สามารถแข่งขันได้ดีขึ้น เนื่องจากคู่แข่งมีไม่เยอะมาก นอกจากนี้ อีกจุดแข็งของซิซซ์เล่อร์ก็คือ อยู่ระหว่างกลาง เพราะมีทั้งสเต๊กและสลัด อีกทั้งซิซซ์เล่อร์ยังเป็นแบรนด์เดียวที่มีสลัดบาร์ไม่อั้น โดยสลัดยังคงเป็นเรื่องที่ซิซซ์เล่อร์ให้ความสำคัญเช่นเดิม และมีการทำเเคมเปญอย่างต่อเนื่อง เช่น Farmers’ Festival Watermelon

“หลังจากโควิดมาเจอคู่แข่งมากขึ้น โดยแบรนด์สเต๊กและแบรนด์สลัดต่างโหมขยายสาขา ดังนั้น ซิซซ์เล่อร์ต้องหาความแตกต่างให้กับลูกค้า ซึ่งซิซซ์เล่อร์มั่นใจในชื่อแบรนด์ที่อยู่มากว่า 30 ปี และคาแรกเตอร์ที่มีความยูนีคกว่า”

ลูกค้ายินดีจ่ายแลกกับความพรีเมียม

ทางแบรนด์ได้มีการสำรวจทางลูกค้า และได้พบว่า ลูกค้ามีความต้องการให้มีทางเลือกเมนูอาหารทั้งในราคาปกติ และเมนูอาหารพรีเมียมที่มีคุณภาพมากขึ้น โดย ลูกค้าไม่ได้ต้องการให้ลดราคา แต่อยากได้คุณภาพ อย่างไรก็ตาม ลูกค้าก็มีการใช้จ่ายอย่างระมัดระวังมากขึ้น ทำให้ซิซซ์เล่อร์ตรึงราคาเท่าเดิม แต่เสริมคุณภาพที่เพิ่มขึ้น ปรับรสชาติ เมนู เพิ่มประสบการณ์ให้ลูกค้ามากขึ้น

“ชาเลนจ์ของเราตอนนี้คือ ต้นทุนที่เพิ่มขึ้นไม่ว่าจะเป็นตัววัตถุดิบหรือค่าเช่าที่ ขณะที่แบรนด์อื่น ๆ อาจกังวลเรื่องเศรษฐกิจ ทำให้พยายามลดราคาลง แต่จากที่เราทำโฟกัสกรุ๊ปกลับพบว่าเขาไม่ได้ต้องการให้เราลดราคา แต่อยากให้เพิ่มคุณภาพ ดังนั้น เราจึงเน้นที่คุณภาพในราคาเท่าเดิม ซึ่งเราโชคดีที่เราเป็นแบรนด์ใหญ่ ทำให้มี economy of scale”

ปัจจุบัน รายจ่ายเฉลี่ยต่อบิลของซิซซ์เล่อร์เพิ่มขึ้นจากประมาณ 700 บาทปลาย ๆ มาเป็น 800 กว่าบาท โดยค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อหัวเพิ่มจาก 320 เป็น 350 บาท

จัดเซตสุดคุ้ม พร้อมรื้อลอยัลตี้โปรแกรม

การจัดเซตเมนู ก็เป็นอีกส่วนที่ทำให้ยอดใช้จ่ายของลูกค้าเพิ่มมากขึ้น เช่น แวลูมีล 329 บาท และเมนู 259 บาท ที่สามารถทำยอดขายเพิ่มขึ้นจาก 30 จาน เป็น 100 จาน โดยกลยุทธ์จากนี้ซิซซ์เล่อร์จะเน้นหยิบเมนูในเล่มมาจัดเซตมากขึ้น เพื่อให้ลูกค้าสามารถกลับมาทานเมนูที่ชื่นชอบได้ นอกจากนี้ เมนู Appetizers จะทำให้มีทั้งไซส์สำหรับทานคนเดียว และทานเป็นกลุ่ม

ในส่วนของการเพิ่มจำนวน Member ซิซซ์เล่อร์จะแสดงราคาสำหรับ Member ในเมนูเพื่อกระตุ้นให้ลูกค้าสมัคร และในเดือนมิถุนายน ซิซซ์เล่อร์มีแผนจะเปรียนโครงสร้างลอยัลตี้โปรแกรมเพื่อสร้างแวลูให้ดึงดูดยิ่งขึ้น โดยภายในสิ้นปี ซิซซ์เล่อร์วางเป้าที่จะเพิ่มจำนวนเมมเมอร์เป็น 30% จากปัจจุบันมีประมาณ 3 แสนราย คิดเป็น 20% ของลูกค้า

“เรามีการจับตาดูทุกวันหลังออกเมนูหรือโปรโมชันใหม่ ๆ ออกมา เพื่อดูฟีดแบ็กลูกค้าว่าเป็นอย่างไร อะไรที่ต้องปรับเราจะได้รีบปรับ”

ออกโปร 2 แถม 2 สำหรับเดลิเวอรี่

แม้ว่าการมาทำบริการเดลิเวอรี่จะเป็นการปรับตัวเพื่อให้อยู่รอดในช่วงโควิด แต่ปัจจุบันการใช้บริการก็ยังมีอยู่ประมาณ 10% แม้จะมีสัดส่วนไม่มากเพราะลูกค้ากว่า 90% มาทานที่ร้าน แต่อนิรุทร์ก็มองว่า ทิ้งไม่ได้ ดังนั้น ซิซซ์เล่อร์จึงออกโปรโมชัน 2 แถม 2 เพื่อล้อไปกับแคมเปญ 1 แถม 1 ของ The Pizza Company ที่อยู่ในเครือไมเนอร์เหมือนกัน โดยอนิรุทร์เผยว่าในอีก 2 เดือนจากนี้ ซิซซ์เล่อร์จะเดินหน้ากลยุทธ์ด้านเดลิเวอรี่ให้มากขึ้น

“เป้าหมายตอนนี้คือ เราต้องการดึงคนให้คนเข้ามาที่ร้าน แต่จะมีลูกค้าบางกลุ่มที่ยังชินกับพฤติกรรมในช่วงโควิด ดังนั้น เราจะลืมลูกค้ากลุ่มนี้ไม่ได้”

เริ่มมองเมืองรองสำหรับขยายสาขา

ปัจจุบัน ซิซซ์เล่อร์มี 60 สาขา 70% อยู่ในกรุงเทพฯ โดยปีนี้จะเปิดเพิ่มเป็น 63 สาขา มีทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด โดยพื้นที่ที่ซิซซ์เล่อร์กำลังศึกษาก็คือ เมืองรอง เนื่องจากปัจจุบันสาขาของซิซซ์เล่อร์ครอบคลุมหัวเมืองใหญ่หมดแล้ว นอกจากนี้ ซิซซ์เล่อร์ก็จะรีโนเวตหน้าร้านอีกประมาณ 3 สาขา ให้ทันสมัยถูกใจวัยรุ่นมากขึ้น

นอกจากนี้ ซิซซ์เล่อร์ก็จะเพิ่มความหลากหลายของแพลตฟอร์มในการสื่อสาร อาทิ Instagram, TikTok และ YouTube จากเดิมที่สื่อสารผ่าน Facebook เป็นหลัก

อนิรุทร์ ทิ้งท้ายว่า รายได้ของซิซซ์เล่อร์จะกลับไปเติบโตมากกว่าปี 2019 โดยเห็นสัญญาณที่ดีในช่วงไตรมาสแรกที่ผู้บริโภคกลับมาใช้บริการมากขึ้น รวมถึงการมาของนักท่องเที่ยวทำให้สาขาตามแหล่งท่องเที่ยวสามารถเติบโตได้ถึง 2 หลัก

]]>
1426566
Sizzler แก้โจทย์ “สลัดบาร์” เพิ่มของตามเสียงเรียกร้อง กลยุทธ์ปีหน้าเน้นสเต๊ก “พรีเมียม” มากขึ้น https://positioningmag.com/1411288 Tue, 06 Dec 2022 11:53:11 +0000 https://positioningmag.com/?p=1411288
  • หลังผ่านโควิด-19 มาได้ “Sizzler” ยังต้องเผชิญอีกหนึ่งปัญหาคือ เสียงตำหนิ’ จากลูกค้ากับความหลากหลายบน “สลัดบาร์” ที่ลดลง แต่บริษัทไม่นิ่งนอนใจ นำ feedback มาปรับแก้ไขสลัดบาร์ให้หลากหลายขึ้นแล้ว
  • ขณะที่กลยุทธ์ปีหน้าจะได้เห็นเมนูสเต๊ก “พรีเมียม” มากขึ้น จากเทรนด์ผู้บริโภคนิยมอาหารชั้นเลิศ สอดคล้องกับทิศทางบริษัทต้องการดึงลูกค้ากลุ่มทานเพื่อการเฉลิมฉลองเข้ามาให้บ่อยขึ้น
  • “กรีฑากร ศิริอัฐ” ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายกลยุทธ์และการเงิน บมจ.ไมเนอร์ ฟู้ด กรุ๊ป และ “อนิรุทร์ เดวิด คอลลินส์” ผู้จัดการทั่วไป บริษัท เอสแอลอาร์ที จำกัด (ซิซซ์เล่อร์) ในเครือไมเนอร์ ฟู้ด ร่วมกันแถลงผลการดำเนินงาน Sizzler ในช่วงที่ผ่านมาและแผนปีหน้า

    กรีฑากรสรุปภาพรวมก่อนว่า ปีนี้ถือเป็นปีแห่งการฟื้นตัวหลังผ่านพ้นโควิด-19 จากไตรมาส 1 สถานการณ์ยังไม่ดีนักเพราะมีการระบาดต่อเนื่อง แต่เข้าไตรมาส 2 เริ่มกลับมาทรงตัว และไตรมาส 3 ดีขึ้นอย่างชัดเจน เชื่อว่าไตรมาส 4 จะยิ่งเติบโตขึ้นอีกเพราะเป็นหน้าเทศกาลเฉลิมฉลอง

    จนถึงสิ้นปีนี้ Sizzler จะมีสาขาครบ 61 สาขา ล่าสุดที่เพิ่งเปิดตัวไปคือสาขาโรบินสัน ไลฟ์สไตล์ ราชพฤกษ์ ขณะที่ปี 2566 จะเปิดสาขาใหม่เพิ่ม 4-5 สาขา ที่คาดว่าจะเปิดแน่นอนแล้วคือ สาขาเซ็นทรัล รามอินทรา (หลังรีโนเวต) และจังซีลอน ภูเก็ต

    “กรีฑากร ศิริอัฐ” ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายกลยุทธ์และการเงิน บมจ.ไมเนอร์ ฟู้ด กรุ๊ป และ “อนิรุทร์ เดวิด คอลลินส์” ผู้จัดการทั่วไป บริษัท เอสแอลอาร์ที จำกัด (ซิซซ์เล่อร์) ในเครือไมเนอร์ ฟู้ด

    ด้านการเปิดสมัครสมาชิก e-Member ผ่านทาง LINE ซึ่งเพิ่งเริ่มปีนี้ ปัจจุบันมีสมาชิกแล้ว 200,000 ราย และตั้งเป้าปีหน้าจะเติบโตเป็นเท่าตัว

    โดยสรุปแล้วกรีฑากรคาดว่า รายได้ของ Sizzler ปี 2566 น่าจะโตได้แบบ ‘ดับเบิลดิจิต’ จากไตรมาส 1-2 ที่จะกลับมาทำยอดขายได้เต็มที่ ต่างจากปีนี้ที่ยังมีผลกระทบของโควิด-19 อยู่

     

    แก้ดราม่า “สลัดบาร์” ลงของแบบจัดเต็ม!

    ก่อนหน้านี้ Sizzler เคยเผชิญกับเสียงวิจารณ์จากลูกค้าว่า “สลัดบาร์” มีชนิดอาหาร/วัตถุดิบให้เลือกน้อยลง จนทำให้แฟนคลับร้านผิดหวัง เพราะสลัดบาร์ถือเป็นจุดขายสำคัญของร้าน ซึ่งอนิรุทร์กล่าวว่า ร้านไม่ได้นิ่งนอนใจและมีการแก้ไขแล้ว

    Sizzler สลัดบาร์
    สลัดแบบมิกซ์สำเร็จของ Sizzler

    เมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมา ร้านมีการปรับแก้สลัดบาร์ให้กลับมามีอาหารหลากหลายคุ้มค่ามากกว่าเดิม โดยมีการเพิ่มตัวเลือกบาร์ซุปจาก 5 อย่างเป็น 6 อย่าง เพื่อให้ร้านสามารถลงเมนูซุปใหม่หมุนเวียนทุก 2 เดือนได้ รวมถึงเพิ่มสลัดมิกซ์สำเร็จจาก 3 อย่างเป็น 7 อย่าง จากคำติชมของลูกค้าที่ชอบสลัดสำเร็จของร้านมากกว่าตักผสมเอง

    “เรารับฟังลูกค้าว่าต้องการอะไร และเรามีการปรับตัวเร็วตาม feedback” กรีฑากรกล่าวเสริม “ตัวอย่างเช่น ลูกค้าตำหนิเราเยอะมากเรื่องซุปต้มยำหายไป ลูกค้าไม่พอใจมากเพราะทานเมนูนี้มานาน ปัจจุบันเรานำซุปต้มยำกลับมาให้เหมือนเดิม”

    อีกส่วนที่ Sizzler ขอชี้แจงคือเรื่อง “ราคา” สลัดบาร์ (กรณีไม่สั่งสเต๊กจานหลัก) ปัจจุบันยืนราคา 199 บาททุกวัน เป็นการ ‘ยกเลิกโปรโมชัน’ ที่เคยมีมานานนั่นคือโปรฯ สลัดบาร์ 139 บาทวันจันทร์-ศุกร์ แต่ร้านได้นำระบบ e-Member เข้ามาช่วยในส่วนนี้ หากลูกค้าสมัครสมาชิกระดับ Green Member (สมัครฟรี) จะได้สิทธิซื้อสลัดบาร์ในราคาลดเหลือ 159 บาท จนถึง 31 มีนาคม 2566

    “จากการเพิ่มชนิดอาหารในสลัดบาร์และการมี e-Member ช่วยลดราคา ล่าสุดทำให้ลูกค้าสมัคร e-Member มากกว่า 50,000 รายภายในเดือนเดียว และ feedback บนโลกออนไลน์ปรับดีขึ้น มีการบอกต่อว่าซุปและสลัดที่ลูกค้าชื่นชอบกลับมาแล้ว” อนิรุทร์กล่าว “รวมถึงลูกค้ามองว่ารับได้ที่ราคาสลัดบาร์จะเพิ่มขึ้นบ้างจากช่วงที่เคยจัดโปรฯ ถ้าอาหารจะมีหลากหลาย สดใหม่ และคุณภาพดี”

     

    เน้นเมนูสเต๊ก “พรีเมียม” ตามเทรนด์ผู้บริโภค

    อนิรุทร์กล่าวต่อถึงทิศทางปี 2566 ว่า จากการศึกษาเทรนด์ผู้บริโภคช่วงนี้พบว่า ผู้บริโภคทั่วโลกนิยมอาหารที่มีความ “พรีเมียม” หรือ “สเปเชียลตี้” มากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะในเอเชียแปซิฟิกมีเทรนด์นี้สูงยิ่งกว่าภูมิภาคอื่นๆ จะเห็นได้ว่ายุคนี้เนื้อระดับพรีเมียมอย่าง “เนื้อวากิว” ทำยอดขายได้ดี

    ทำให้ Sizzler จะมีการผลักดันเมนูสเต๊กระดับ “พรีเมียม” ให้มากขึ้น โดยจะเป็นเมนูระดับราคาประมาณ 800 บาทต่อจานขึ้นไป

    “สเต็กเนื้อไพร์มริบ” (Grilled Sous Vide Beef Prime Ribs) ในราคา 2,899 บาท สำหรับ 2 ท่าน เป็นเนื้อนำเข้าจากออสเตรเลียขนาด 800 กรัมต่อจาน

    กลยุทธ์นี้จริงๆ แล้วเริ่มชิมลางตั้งแต่ปีนี้ เพราะช่วงเทศกาลปลายปีร้านได้ออกเมนูสุดพิเศษ ตัวอย่างเช่น “สเต๊กเนื้อไพร์มริบ” (Grilled Sous Vide Beef Prime Ribs) ในราคา 2,899 บาท สำหรับ 2 ท่าน เป็นเนื้อนำเข้าจากออสเตรเลียขนาด 800 กรัมต่อจาน ที่ลูกค้าจะต้องสั่งจองล่วงหน้าเท่านั้น

    การผลักดันเมนูพิเศษแบบนี้ยังตรงกับทิศทางปีหน้าของ Sizzler ที่จะเน้นเจาะลูกค้ากลุ่มทานเพื่อสังสรรค์เฉลิมฉลองให้มากขึ้นด้วย

    อนิรุทร์กล่าวว่า ปัจจุบันลูกค้า Sizzler จะแบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ 1.ลูกค้าทานตามวาระเฉลิมฉลอง (Occasions) ซึ่งมักจะมาทานไม่บ่อย แต่ใช้จ่ายสูง และ 2.ลูกค้าทานประจำ (Regular) มักจะเป็นพนักงานออฟฟิศซึ่งแวะมาทานเรื่อยๆ ส่วนใหญ่เลือกทานมื้อกลางวัน และจะใช้จ่ายไม่สูงมาก ซึ่งร้านดึงลูกค้ากลุ่มนี้ด้วยเมนู Value Meal ราคาประหยัด

    หากจะดึงลูกค้ากลุ่ม Occasions เข้ามาให้มากขึ้นก็ต้องโปรโมตให้ลูกค้าเลือก Sizzler ได้หลากหลายวาระมากขึ้น และมีเมนูพิเศษเป็นจุดดึงดูดซึ่งร้านจะมีการนำเสนอทุกๆ 2 เดือน “เราต้องทำการตลาดให้ลูกค้ารู้มากขึ้นว่า Sizzler มีเมนูสเต๊กใหม่ๆ รอให้มาชิมอยู่” อนิรุทร์กล่าวปิดท้าย

    ]]>
    1411288
    เปิดใจ ‘เดวิด อนิรุทร์’ ผู้บริหารใหม่ ‘ซิซซ์เล่อร์’ กับภารกิจแรก ‘ลดอายุแบรนด์’ จับลูกค้า ‘Young Gen’ https://positioningmag.com/1393530 Fri, 22 Jul 2022 11:41:39 +0000 https://positioningmag.com/?p=1393530 สำหรับปี 2022 ของ ซิซซ์เล่อร์ (Sizzler) นอกจากจะเป็นปีที่ครบรอบ 30 ปีเต็มแล้ว ยังถือเป็นการเปิดปีที่สถานการณ์ COVID-19 เริ่มคลี่คลาย ซิซซ์เล่อร์จึงไม่รอช้าที่จะเริ่มทดลองรูปแบบใหม่ ๆ อย่างการเปิดหน้าร้าน ไซส์เล็ก ณ เทอร์มินอล 21 อโศก รวมถึงเปิดตัว ผู้บริหารใหม่ป้ายแดง ที่เพิ่งรับตำแหน่งได้ 2 เดือน ดังนั้นไปดูกันว่าภายใต้วิชั่นใหม่ของผู้บริหารใหม่ตั้งใจจะเปลี่ยนแปลงซิซซ์เล่อร์ไปในทิศทางไหนบ้าง

    สานต่อวิสัยทัศน์เดิม

    ใครเป็นแฟนซิซซ์เล่อร์จะเห็นว่าวิสัยทัศน์ของแบรนด์เปลี่ยนไปตั้งแต่ปี 2019 หรือก่อนการระบาดใหญ่ที่ต้องการเป็นมากกว่าร้านสเต๊ก กับสลัดบาร์ แต่ต้องการเป็น ร้านอาหารเพื่อสุขภาพ ดังนั้น จะมีการเคลื่อนไหวใหม่ ๆ ออกมา อย่างเช่นการมี เมนู Plant-based แต่หลังจากที่เกิดการระบาดใหญ่ ธุรกิจร้านอาหารได้รับผลกระทบหนักและซิซซ์เล่อร์ก็เป็นหนึ่งในนั้น ทำให้การเคลื่อนไหวช่วงหลังจะเป็นออกกลยุทธ์ดึงลูกค้าให้ลูกค้าเข้าและใช้เวลากับร้านให้นานกว่าขึ้น

    ล่าสุด ซิซซ์เล่อร์ก็ดึง อนิรุทร์ เดวิด คอลลินส์ ผู้จัดการทั่วไป บริษัท เอสแอลอาร์ที จำกัด (ซิซซ์เล่อร์) ในเครือเดอะไมเนอร์ฟู้ด ขึ้นแท่นผู้บริหารใหม่สายโอเปอเรชั่นที่มีประสบการณ์จากธุรกิจรีเทล 25 ปี จากห้างเทสโก้ในอังกฤษและเทสโก้ โลตัสของไทย และอีก 7 ปีกับการบริหาร KFC ในประเทศไทย

    โดย เดวิด เล่าว่าเขาเพิ่งเริ่มงานได้ 2 เดือน ซึ่งภารกิจแรกของเขาคือ สานต่อวิชั่นเดิมที่วางไว้ ไม่ว่าจะเป็นการเริ่มฟอร์แมตใหม่ของร้าน และการปั้นแบรนด์ดิ้งเรื่องเฮลท์ตี้ฟู้ด พร้อมกันนี้ จะนำเอาประสบการณ์สายโอเปอเรชั่นที่มีมากว่า 30 ปีมาปรับใช้กับซิซซ์เล่อร์ก็คือ การดูแลพนักงาน เพราะเชื่อว่า ถ้าดูแลพนักงานดี เขาก็จะดูแลลูกค้าดี

    “เราต้องปรับไซส์เพื่อให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงของตลาดและเข้าถึงลูกค้าได้มากขึ้น นี่เป็นภาพเดียวกันที่เราเห็น เพราะพื้นที่เดี๋ยวนี้ก็หายากจะไปมองหาไซส์ 500 ตรม. ไม่ได้แล้ว แต่ต้องมองหา 2-300 ตรม.เพื่อขยายสาขาให้ลูกค้าเข้าถึงได้มากขึ้น”

    แม้ปัจจุบันสาขาของซิซซ์เล่อร์จะอยู่ในห้างฯ ทั้งหมด แต่จากนี้ก็เริ่มมองหาโลเคชั่นอื่น ๆ ที่น่าสนและสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของซิซซ์เล่อร์ อย่างซิซซ์เล่อร์ ทู โก มีเปิดใน BTS, ในโรงพยาบาล

     

    สำหรับ ซิซซ์เล่อร์ สาขา เทอร์มินอล 21 อโศก ถือเป็นสาขาแรกที่ทดลองฟอร์แมตใหม่ ใช้พื้นที่ 180 ตร.ม. ใช้โทน สีเขียว ขาวและน้ำตาล มีโซนสลัดบาร์ที่สามารถมองเห็นเชฟกำลังปรุงวัตถุดิบได้ มีที่นั่งเดี่ยวแบบบาร์ และมีการใส่ ซิซซ์เล่อร์ ทู โก ไว้ที่หน้าร้าน มีเมนูใหม่ ๆ รวมถึงปรับยูนิฟอร์มพนักงานใหม่ทั้งหมด

    โดยหลังจากเริ่มเปิดสาขาเทอร์มินอล 21 อโศก เริ่มเห็นอินไซต์ที่น่าสนใจคือ ผู้บริโภคนิยมที่นั่งเดี่ยวตรงสลัดบาร์, การใช้แคชเลสถึง 80% ขณะที่ลูกค้าส่วนใหญ่เป็นพนักงานออฟฟิศ และร้านจะมีลูกค้าเยอะในวันจันทร์-ศุกร์มากกว่าวันเสาร์-อาทิตย์

    “ตอนนี้ทุกอย่างของเราอยู่ในช่วงทดลอง ตอนนี้กำลังเก็บข้อมูลลูกค้าว่าชอบหรือไม่ชอบอะไร เพราะเราเปลี่ยนเยอะทั้ง Look and Feel ยูนิฟอร์ม เมนูอาหาร ดังนั้นเราต้องการฟังเสียงลูกค้าเยอะ ๆ และสร้างแบรนด์จากเสียงลูกค้า”

    ลดความทางการจับลูกค้า Young Gen

    สำหรับรูปแบบและบรรยากาศร้านที่เปลี่ยนไปไม่ใช่แค่แสดงถึงความเป็นเฮลท์ตี้ แต่เพราะต้องการจับลูกค้ากลุ่ม Younger Gen เนื่องจากที่ผ่านมาภาพลักษณ์ของแบรนด์ดูเป็นทางการ เลยต้องปรับภาพให้ดูใหม่ขึ้นเพื่อให้เข้ากับไลฟ์สไตล์กลุ่มเป้าหมายที่แบรนด์จะไป นอกจากนี้ ซิซซ์เล่อร์ได้เปิดตัว มาสคอตตัวแรก ชื่อ น้องชีสโทสต์ เพื่อให้แบรนด์ดู Younger และ More Human ซึ่งซิซซ์เล่อร์เตรียมวางน้องชีสโทสต์ให้เป็น แบรนด์แอมบาสเดอร์ ในอนาคตอีกด้วย

    “ที่เราสังเกตคือ ลูกค้าแบบครอบครัวที่มากัน 4-5 มีน้อยลง แต่กลุ่มที่มากันเป็นคู่มีมากขึ้น เราเลยอยากจะได้ลูกค้ากลุ่ม Young Gen เพิ่มเข้ามา”

    นอกจากนี้ มองถึงการตลาดวัยรุ่นที่จะใช้เครื่องมืออย่าง TikTok เช่นการทำ DIY สลัด หรือการให้โอกาสพนักงานได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์สร้างเมนูใหม่ ๆ แล้วถ่ายลง TikTok ถ้าเมนูไหนได้รับเอ็นเกจเมนต์ดีก็จะทดลองนำมาขายจริงโดยให้ตั้งชื่อตามที่พนักงานต้องการ

    “ผมเห็นลูกชายชอบเข้า TikTok ไปดูการ DIY อาหาร แล้วเขาก็เอามาทำที่ซิซซ์เล่อร์ ผมเลยปิ๊งไอเดียอยากให้พนักงานมาลงคิดเมนูใหม่ ๆ แล้วเอาลง TikTok บ้าง เป็นการสนับสนุนเขาด้วย”

    ปัดฝุ่นเมมเบอร์โปรแกรม

    ตั้งแต่เจอ COVID-19 ทำให้แผนงานเรื่องการพัฒนา Membership ต้องชะลอไปเนื่องจากลูกค้าเข้าหน้าร้านได้น้อย แต่ตอนนี้เริ่มกลับมาวางไปป์ไลน์ผลักดันให้มากขึ้น โดยที่ผ่านมามีการพัฒนาเป็นระบบ “Loyalty Program E-Member” ระบบสะสมแต้มออนไลน์ ผ่าน Line Official Account @SizzlerThai และจากนี้จะเริ่มวางแผนสิทธิประโยชน์ที่จะจูงใจลูกค้ามากขึ้น โดยปัจจุบันจำนวน Membership อยู่ที่ราว 2 แสนราย คิดเป็นประมาณ 10-15% ของลูกค้าทั้งหมด นอกจากนี้ จะหาพาร์ตเนอร์ด้านโปรโมชันให้มาร่วมกับซิซซ์เล่อร์ เพราะที่ผ่านมาเห็นว่าลูกค้าใช้โปรโมชันจากพาร์ตเนอร์เยอะ

    ในส่วนของเดลิเวอรี่ ปัจจุบันมีสัดส่วนประมาณ 10% และหลังจากสถานการณ์ดีขึ้นก็ต้องยอมรับว่าการเติบโตลดลง แต่ซิซซ์เล่อร์ก็ไม่ได้มองว่าต้องทิ้ง โดยมีแผนจะเพิ่มเมนูใหม่ ๆ สำหรับสั่งออนไลน์และปรับปรุงคุณภาพการส่งเพื่อตอบสนองลูกค้า

    “เรามีสลัดบาร์ที่ลูกค้าตักได้ตามใจชอบ ดังนั้น โจทย์คือ เราก็ต้องทำให้เขารู้สึกว่าแค่ให้คนไปตักแทน สลัดจึงเป็นสิ่งแรกของเดลิเวอรี่ที่เราต้องพัฒนาให้ดีกว่านี้”

    ต้องปรับตัวให้เร็วเท่าไมเนอร์ฟู้ด

    แม้ว่าจะมาจากสายอาหารเหมือนกัน แต่ด้วยความที่ KFC เป็นอาหารฟาสต์ฟู้ดซึ่งแตกต่างจากซิซซ์เล่อร์ที่เป็นสายสุขภาพ แต่เดวิดเล่าว่า จริง ๆ แล้วกลับ มีความเหมือนมากกว่าต่าง โดยเฉพาะเรื่องครัวหลังบ้าน หรือระบบปฏิบัติการต่าง ๆ เพียงแต่สิ่งที่ต้องเรียนรู้ คือ ความละเอียด เพราะอย่างฟาสต์ฟู้ดไม่ได้ต้องมีการจัดจานเพื่อเสิร์ฟ

    ขณะที่ความท้าทายจริง ๆ คือ การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของเครือไมเนอร์ฟู้ด และ การใช้ทรัพยากรของเครือมาใช้ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

    สำหรับเป้าหมายของซิซซ์เล่อร์ในปีนี้คือต้องมีรายได้เท่ากับก่อนเกิด COVID-19 คือ 3,000 ล้านบาท และปีหน้าจะต้องกลับมาเติบโตให้ได้มากกว่า โดยในครึ่งปีหลังนี้ สำหรับซิซซ์เล่อร์เตรียมเปิดสาขาใหม่เพิ่มอีก 3 แห่ง ได้แก่ โรบินสัน ภูเก็ต, เทอร์มินอล พระราม 3 และโรบินสันราชพฤกษ์ พร้อมเตรียมขยายสาขาซิซซ์เล่อร์ ทูโก เพิ่มอีก 10 จุด รวมปัจจุบันมีทั้งหมด 58 สาขา

    ]]>
    1393530
    ครั้งแรกของ ‘Sizzler’ เพิ่มเมนู “ของหวาน” เร่งยอดใช้จ่ายต่อบิลช่วงเทศกาล https://positioningmag.com/1364348 Mon, 29 Nov 2021 08:45:17 +0000 https://positioningmag.com/?p=1364348 โค้งท้ายปลายปี 2564 ‘Sizzler’ เพิ่ม 5 เมนูหลักรับเทศกาล พร้อมเพิ่มเมนู “ของหวาน” ครั้งแรก “ไอศกรีม” 2 รสชาติและ “ทาร์ตไข่” ช่วยปั๊มยอดใช้จ่ายต่อบิลทั้งในร้านและเดลิเวอรี่ คาดรายได้ปีนี้ต่ำกว่าช่วงก่อน COVID-19 ราว 30% แต่ปี 2565 วางเป้ารายได้กลับเป็นปกติ หลังเปิดสาขาใหม่ 3 สาขาปลายปีนี้

    บรรยากาศก่อนสิ้นปี 2564 ยังสุขไม่สุดหลังมีข่าวไวรัสกลายพันธุ์ “โอไมครอน” เป็นตัวแปรทำให้ผู้บริโภคกังวล การใช้ชีวิตนอกบ้านฟื้นตัวแต่ยังไม่เต็มที่ ทำให้ธุรกิจร้านอาหารต้องงัดทุกกลเม็ดมาดึงลูกค้า

    “กรีฑากร ศิริอัฐ” ผู้จัดการทั่วไป บริษัท เอสแอลอาร์ที จำกัด ในเครือเดอะ ไมเนอร์ ฟู้ด กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ผู้ให้บริการร้านอาหารแบรนด์ Sizzler เปิดเผยกลยุทธ์ช่วงปลายปีนี้ของร้านจะมีการเปิดเมนูพิเศษรับเทศกาลวันพ่อ คริสต์มาส และปีใหม่ รวมทั้งหมด 5 เมนูอาหารจานหลัก และจะมีเมนู “ของหวาน” แยกจากบนสลัดบาร์เป็นครั้งแรกของร้านทั้งหมด 3 เมนู

    เมนูหลักรับเทศกาลจะเน้นอาหารทานง่ายเหมาะกับกลุ่มครอบครัว ตกแต่งสวยงามเหมาะกับช่วงเทศกาล ได้แก่ ล็อบสเตอร์ซอสไข่เค็มพร้อมสปาเก็ตตี้โอรีโอ้, สเต๊กปลาเทราต์, สเต๊กเนื้อพันเบคอน เสิร์ฟพร้อมกุ้งย่าง ซอสไวน์แดง, สเต๊กปลาเทราต์ลุยสวน และสเต๊กไก่ซูวีพร้อมเบรดพุดดิ้งและซอสไวน์แดง

    ส่วนหนึ่งของเมนูพิเศษรับเทศกาลเฉลิมฉลองส่งท้ายปี 2564 ของ Sizzler

    ส่วนเมนู “ของหวาน” ประกอบด้วย ไอศกรีมช็อกโกแลตมูส, ไอศกรีมชีสโทสต์ และทาร์ตไข่ สไตล์มาเก๊า จำหน่ายในราคาโปรโมชัน 39-49 บาท

    “นงชนก สถานานนท์” ผู้ช่วยรองประธานบริหาร กลุ่มการตลาด บริษัท เอสแอลอาร์ที จำกัด กล่าวต่อว่า ปกติแล้วเมนูในช่วงเทศกาลจะช่วยดันยอดการใช้จ่ายต่อบิลขึ้นประมาณ 30% และปีนี้มีเมนูซิกเนเจอร์พิเศษคือของหวาน ซึ่งจะช่วยเพิ่มการใช้จ่ายได้อีก 40-50 บาทต่อคน

    ของหวานครั้งแรกของ Sizzler แรงบันดาลใจจากซิกเนเจอร์ร้าน

    เป็นกลยุทธ์ที่น่าสนใจของ Sizzler ที่เพิ่มเมนูของหวานในเล่ม เพราะปกติสลัดบาร์จะมีของหวานที่เสิร์ฟมาอย่างยาวนานอย่างช็อกโกแลตมูสและเยลลี่อยู่แล้ว ทำให้การเพิ่มเมนูความหวานอาจเป็นความท้าทายในการดึงการใช้จ่ายของลูกค้า หรืออาจเป็นหมัดเด็ดในการสร้างความหลากหลายไม่จำเจ และทำให้ลูกค้า ‘นั่งต่อ’ ที่ร้านเพื่อทานของหวานก็ได้ ซึ่งนงชนกมองแนวโน้มว่าน่าจะเป็นอย่างหลัง เนื่องจากการคิดค้นไอศกรีมรสพิเศษก็มาจากแฟนคลับของร้านที่เรียกร้องเข้ามานานว่าร้านควรจะมีไอศกรีมเสิร์ฟปิดท้าย

    ไม่เฉพาะที่ร้านเท่านั้น เมนูของหวานของ Sizzler จะบริการผ่านเดลิเวอรี่ด้วย ซึ่งจะทำให้ร้านมีสินค้าครบทั้งคาวหวาน และเพิ่มยอดขายมื้อเบรกระหว่างวันได้จากของหวานอีกด้วย

     

    2564 คาดปิดรายได้ต่ำกว่าช่วงก่อน COVID-19 ราว 30%

    ด้านภาพรวมรายได้ของปีนี้ กรีฑากรกล่าวว่าบริษัทน่าจะทำรายได้ต่ำกว่าช่วงก่อนเกิด COVID-19 อยู่ประมาณ 30% เนื่องจากมีช่วงที่ต้องปิดร้านนานหลายเดือน และปัจจุบันแม้กำลังซื้อจะฟื้นตัว แต่ยังไม่เต็มร้อย มองว่ายังมีผู้บริโภคที่กังวลกับการทานอาหารนอกบ้านอยู่พอสมควร

    “ช่วงนี้ห้างฯ ยังเงียบเร็วมาก 2 ทุ่มเริ่มเงียบแล้ว จากสมัยก่อน 2 ทุ่มบางคนยังวนหาที่จอดรถอยู่เลย” กรีฑากรกล่าว

    ปัจจุบันรายได้ 80% ของร้านมาจากการนั่งทานในร้าน (dine-in) และอีก 20% เป็นรายได้เดลิเวอรี่และซื้อกลับบ้าน

    (ซ้าย) “นงชนก สถานานนท์” ผู้ช่วยรองประธานบริหาร กลุ่มการตลาด บริษัท เอสแอลอาร์ที จำกัด และ (ขวา) “กรีฑากร ศิริอัฐ” ผู้จัดการทั่วไป บริษัท เอสแอลอาร์ที จำกัด

    กรีฑากรเปิดเผยว่า กลุ่มเดลิเวอรี่ถือว่ายังเป็นแรงขับเคลื่อนการเติบโตได้ดี แม้ว่าหลังปลดล็อกดาวน์ยอดขายเดลิเวอรี่จะลดลงเล็กน้อยราว 10% แต่เป็นการลดที่ต่ำมากเมื่อเทียบกับการเติบโตตั้งแต่ต้นปีถึงปัจจุบัน ยอดขายเดลิเวอรี่เพิ่มขึ้นถึง 3 เท่า และเชื่อว่าผู้บริโภคจะยังนิยมการสั่งเดลิเวอรี่อย่างต่อเนื่อง

     

    สิ้นปีมี 57 สาขา เปิดใหม่ 3 สาขาต่างจังหวัด

    อัปเดตจำนวนสาขาปัจจุบันของ Sizzler ที่เปิดดำนการทั้งหมด 52 สาขา และสิ้นปีจะดำเนินการรวม 57 สาขา

    โดยปีนี้ บริษัทมีการรีโนเวต 3 สาขา คือ ฟิวเจอร์พาร์ค รังสิต, เซ็นทรัล เวสต์เกต และเดอะมอลล์ ท่าพระ (สองสาขาแรกเปิดดำเนินการแล้ว ส่วนเดอะมอลล์ ท่าพระจะเปิดพร้อมห้างฯ ในวันที่ 2 ธ.ค. นี้)

    ภายในเดือนธันวาคมจะมีอีก 3 สาขาเปิดใหม่ คือ โรบินสัน สระบุรี, โรบินสัน ฉะเชิงเทรา และโรบินสัน ศรีสมาน เห็นได้ว่าการเปิดใหม่ปีนี้เน้นในต่างจังหวัด

    Sizzler สาขาฟิวเจอร์พาร์ค รังสิต หลังการรีโนเวต โดยเป็นสาขาพิเศษที่มีสเตชั่นทำแพนเค้กสดให้ลูกค้าชม

    นอกจากนี้ อีก 1 สาขาที่ยังปิดบริการชั่วคราวอยู่ คือ สาขามาบุญครอง เนื่องจากมีทราฟฟิกไม่เพียงพอ คาดจะกลับมาเปิดภายในสิ้นปีนี้ (ยังวางตำแหน่งบนชั้น 7 จุดเดิม)

    รวมทั้งหมดสาขาของ Sizzler แบ่งสัดส่วน 55% อยู่ในกรุงเทพฯ-ปริมณฑล และ 45% อยู่ในต่างจังหวัด

     

    ปี 2565 กลับเข้าเส้นทางปกติ เปิดใหม่ 3-5 สาขา

    กรีฑากรกล่าวต่อถึงแผนปีหน้าของ Sizzler เชื่อว่าตลาดจะฟื้นตัวและบริษัทน่าจะกลับมาทำรายได้เทียบเท่าช่วงก่อน COVID-19

    รวมถึงจะกลับมาเดินตามแผนการเปิดสาขา dine-in อย่างน้อยปีละ 3-5 สาขาต่อไป ขณะนี้มีที่เจรจาไว้แล้วบางส่วน จะเปิดทั้งในกรุงเทพฯ และในต่างจังหวัดจำนวนเท่าๆ กัน

    ส่วนโมเดลธุรกิจใหม่อย่างเดลิเวอรี่ยังเติบโตได้ดี ปีหน้าจะได้เห็นการออกสินค้าใหม่เพิ่มในเมนู ขณะที่โมเดลร้านแบบ To-Go ที่เงียบเหงาไปบ้างเนื่องจากปกติตั้งอยู่ในโลเคชั่นคนทำงาน เช่น ตึกสำนักงาน สถานีรถไฟฟ้า เชื่อว่าจะกลับมาฟื้นตัว และบริษัทจะกลับมาโฟกัสการพัฒนากันใหม่

    ด้านข่าวการระบาดของโอไมครอน และความเสี่ยงที่อาจจะมีการล็อกดาวน์เกิดขึ้นอีก กรีฑากรมองว่าบริษัทมีแผนรับมือแล้วหลังผ่านการล็อกดาวน์สองรอบ ทำให้ไม่กังวลมากนัก โดยบริษัทมีการสต๊อกวัตถุดิบลดลงเผื่อเกิดเหตุไม่คาดฝัน จะทำให้บริษัทปิดร้านได้เร็วโดยไม่เจ็บตัวจากสต๊อกเหลือมากนัก

    ]]>
    1364348
    Sizzler ลดราคาเมนู Plant-based ดึงลูกค้ามาลองชิม ปรับรสชาติให้เป็น ‘สไตล์ไทย’ มากขึ้น https://positioningmag.com/1356091 Mon, 11 Oct 2021 09:38:26 +0000 https://positioningmag.com/?p=1356091 เผชิญกับความท้าทายไม่มีหยุดกับ ‘Sizzler’ ร้านอาหารที่มีจุดเด่นเรื่องบรรยากาศไดน์อิน ที่ต้องเจอมรสุมการล็อกดาวน์ซ้ำเเล้วซ้ำเล่า

    การผ่อนคลายมาตรการครั้งนี้ เป็นโอกาสทองที่ต้องรีบคว้า ทั้งอัดเเคมเปญโปรโมชั่น พร้อมทั้งหา เเนวทางใหม่ๆ เมนูใหม่ๆ ดึงดูดให้ลูกค้ากลับมาเข้าร้านในช่วงโค้งสุดท้ายของปี ชดเชยรายได้ที่หายไป

    หนึ่งในนั้นก็คือ การลุยตลาด ‘Plant-based’ เนื้อสัตว์ที่ทำจากพืช อย่างเต็มที่ ตามเทรนด์กระเเสนิยมมาเเรงทั่วโลก ซึ่งหลังจากที่ Sizzler ชิมลางวางขายมาตั้งเเต่ปลายปี 2562 ก็มีเสียงตอบรับที่ดีจากผู้บริโภคคนไทย เเละก็ถึงเวลาต่อยอด ขยายไปให้มากขึ้นกว่าเดิม

    Sizzler ปล่อยเมนู Plant-based ออกมาใหม่ทุกๆ 6 เดือน เฉลี่ยซีซั่นละ 3 เมนู (รวมๆ ที่ผ่านมามีประมาณ 12 เมนู) เเละล่าสุดตอนนี้ก็มีการเปิดตัว 2 เมนู Plant-Based มาลงเมนูประจำรับไดน์อินและเดลิเวอรี่

    เเต่จุดเด่นครั้งนี้เเตกต่างไปจากเดิม นั่นคือการได้เรียนรู้ถึงวิธีปรุงรสชาติ Plant-based ให้ถูกปากคนไทย จึงมีการปรับเมนูเป็นสไตล์ไทยมากขึ้น พร้อมปรับลดราคาลงมา ซึ่งยังไม่ค่อยมีเชนร้านเฮลท์ตี้เฮาส์ในไทยทำ
    เเนวนี้กันมากนัก

    เทรนด์อาหารเเห่งอนาคต ที่โตไม่หยุด

    เทรนด์อาหารเพื่อสุขภาพเป็นที่นิยมในหมู่ผู้บริโภคทั่วไปมากขึ้น ยิ่งเกิดโควิด-19 ก็เป็นอีกหนึ่งตัวเร่งทำให้พฤติกรรมการเลือกรับประทานอาหารของผู้บริโภคเปลี่ยนไป ซึ่ง Plant-based Food ก็ได้รับอานิสงส์นี้ไปเต็มๆ

    การเติบโตของตลาดอาหาร Plant-based ทั่วโลกเมื่อปี 2563 มีมูลค่าราว 4.3 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ และคาดว่าในปี 2568 จะมีมูลค่าราว 8.3 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ 

    ส่วนตลาดในประเทศไทย ช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา มีอัตราการเติบโตของผู้บริโภคอาหาร Plant-based เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเช่นกัน

    จากข้อมูลของ Krungthai COMPASS พบว่า ในปี 2562 มีมูลค่า 2.8 หมื่นล้านบาท และยังคาดการณ์ว่าในปี 2567 จะมีมูลค่าตลาดเพิ่มขึ้นถึง 4.5 หมื่นล้านบาท หรือเติบโตเฉลี่ยปีละ 10% เลยทีเดียว

    กรีฑากร ศิริอัฐ ผู้จัดการทั่วไป บริษัท เอสแอลอาร์ที จำกัด ในเครือ บมจ. เดอะ ไมเนอร์ ฟู้ด กรุ๊ป ผู้บริหาร ซิซซ์เล่อร์ เล่าว่า ตลาด Plant-based เติบโตขึ้นมาก ทั้งในส่วนฐานผู้บริโภคเเละบรรดาเหล่าผู้ผลิต โดยที่ผ่านมา มักมีผู้ผลิตมาเสนอเป็นพาร์ทเนอร์กับ Sizzler เพียง 2-3 ราย เเต่ตอนนี้มีมากกว่า 10 ราย

    ปัจจุบันเเบรนด์ Sizzler เลือกจับมือกับ บียอนด์ มีทและกรีนมันเดย์ ซึ่งเป็นเจ้าใหญ่ในตลาดโลก เเต่ก็คอยมองหาซัพพลายเออร์รายอื่นๆ อยู่เสมอ โดยเฉพาะในไทย

    สำหรับกลุ่มลูกค้าที่เเบรนด์ Sizzler ต้องการจะขยายเจาะตลาดเมนู Plant-based ได้เเก่

    • กลุ่มคนที่ทานวีแกน เเละ Plant-Based อยู่เเล้ว ถ้ามาทานที่ร้านก็สามารถสั่งเมนูสเต๊กได้ ไม่จำกัดว่าจะต้องไปทานเเต่สลัดบาร์อีกต่อไป
    • กลุ่มคนที่ทานเมนูปกติทั่วไป ที่อยากลองทานเมนู Plant-based หรือคนที่อยากดูเเลสุขภาพ ไปพร้อมๆ กับการรักษ์โลก ต้องการทานวีเเกนประมาณสัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง

    Sizzler ตั้งเป้าว่าในปี 2565 เมนู Sizzler จะสามารถสร้างรายได้เติบโตราว 30%” 

    เมนูไทยๆ เเถมปรับราคาลง 

    ตามที่เกริ่นไปข้างต้นว่า Sizzler ได้ปรับเมนู Plant-based ให้เป็นถูกปากคนไทยมากขึ้น เห็นได้ชัดผ่านเมนูใหม่ที่เปิดตัวใน 30 สาขา ได้เเก่

    ออมนิมีท ลาบทอด เสิร์ฟพร้อมข้าวเหนียว เมนูลาบทอดจากโปรตีนพืชในสไตล์ไทย ๆ กับรสชาติเเซ่บๆ แบบฉบับอีสานแท้ ในราคา 299 บาท เเละยังเสิร์ฟเป็นเมนูทานเล่นที่ลูกค้าสามารถสั่งแยกมารับประทานระหว่างรออาหารจานหลักได้ในราคา 99 บาท รวมถึงสั่งเดลิเวอรี่ไปลิ้มลองได้ถึงที่อีกด้วย

    สเต๊ก บียอร์น กัวคาโมเล่ และซัลซา เป็นสเต๊กเนื้อที่ไร้เนื้อสัตว์เป็นส่วนผสม สไตล์เม็กซิกัน ราดด้วยกัวคาโมเล่ที่ทำจากอะโวคาโดบด และซัลซา รวมถึงเผือกทอดด้านบนสุด ในราคา 399 บาท ซึ่งรสชาติที่เผ็ด เปรี้ยว หวาน ลงตัวน่าจะถูกใจคนไทยเช่นเดียวกัน

    เเละเพื่อดึงดูดให้ลูกค้าหันมาลองเมนู Plant-based กันมากขึ้น Sizzler ใช้กลยุทธ์ “ปรับลดราคาของเมนู Plant-based” ลงมาเรื่อยๆ เช่น ในช่วงเริ่มต้นประเดิมราคาที่ 439-479 บาท ในปีที่เเล้วปรับลงมาเป็น 329-399 บาท เเละล่าสุดตอนนี้คือมีราคาเฉลี่ยเริ่มต้นตั้งแต่ 99 – 399 บาท นับเป็นการปูทางสร้างความคุ้นเคยในระยะยาว มีเมนูหลากหลายสไตล์ตลอดทั้งปี ขยายฐานลูกค้าเป็นร้อยเป็นพันคนให้ได้

    นอกจาก ลดราคาเเล้ว ในบางโอกาสก็จะมีการนำเนื้อ Plant-based ไปลองใส่ในเมนูสลัดบาร์ เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้คนได้ลองชิมอย่างกว้างขวางขึ้นด้วย

    -สเต๊ก บียอร์น กัวคาโมเล่ และซัลซา

    Sizzler สาขาใหม่…สายเล็ก

    วิกฤตโควิด-19 ทำให้ร้านอาหารได้เรียนรู้ถึงการปรับตัวเร็วเเละการขายโดยเน้นหน้าร้านเพียงอย่างเดียวคือความเสี่ยง

    ปัจจุบัน Sizzler มีฐานลูกค้าทั้งหมดอยู่ราว 8-9 ล้านคน มีร้านทั้งหมด 54 สาขาทั่วประเทศไทย กลับมาเปิดให้บริการเเล้วเกือบทั้งหมด (ยังปิดชั่วคราวอยู่ 1 สาขา) โดยภายในสิ้นปีนี้ หลังเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัวมากขึ้น ทางเเบรนด์ยังมีเเผนจะขยายสาขาใหม่ตามเดิม อีก 5 สาขา เเบ่งเป็น 3 สาขาใหม่ เเละอีก 2 สาขาเป็นการย้ายสถานที่เเต่อยู่ในพื้นที่จังหวัดเดิม 

    ประเด็นที่น่าจับตามอง คือ ต่อจากนี้ร้านใหม่ของ Sizzler จะมีขนาด ‘เล็กลง’ จากเดิมที่สาขาใหญ่ๆ เคยกว้างขวางถึง 600 ตร.ม. ลดลงเหลือราว 300-280 ตร.ม. ปัจจัยส่วนหนึ่งมาจากเทรนด์ผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป สั่งเดลิเวอรี่กันมากขึ้น เเละอีกด้านหนึ่งก็คือการที่ห้างสรรพสินค้าต้องการจัดสรรพื้นที่ให้หลากหลาย เพื่อดึงดูดลูกค้า ที่ตั้งของร้านต่างๆ จึงมีขนาดเล็กลง เเต่ภายในห้างฯ จะมีเเบรนด์ให้เลือกมากขึ้น

    สานต่อโมเดล to go พร้อมขยายเดลิเวอรี่ 

    ด้านโมเดล Sizzler to go เจาะกลุ่มคนเดินทาง ที่ต้องสะดุดเพราะวิกฤตโควิดหลายรอบ หลังคลายล็อกดาวน์รอบนี้ก็ดูเหมือนจะมีความหวังอีกครั้ง เเต่ยังไม่มีเเผนจะขยายสาขาเพิ่มในปีนี้ ปีหน้าเมื่อการเดินทางกลับมา ก็มองว่าเป็นโอกาสที่ดี (ตอนนี้มีอยู่ 5 สาขาในกรุงเทพฯ) เพราะเป็นการขยายตลาดเข้าหาผู้บริโภคที่ต้องการความง่าย รวดเร็วเเละต้องการอาหารเพื่อสุขภาพ เเถมยังมีขนาดเล็กลง ตามเเนวทางของเเบรนด์

    ร้าน Sizzler To Go สาขาล่าสุดที่เปิดในโรงพยาบาลกรุงเทพ ก็เป็นอีกหนึ่งทำเลที่แบรนด์ตั้งใจจะขยายไปในพื้นที่ใหม่ ซึ่งจะมีการมองหาโอกาสใหม่ๆ ในลักษณะนี้อีกต่อไป

    ส่วนฝั่งของ ‘เดลิเวอรี่’ นั้น ผู้บริหาร Sizzler บอกว่า มีการเติบโตถึง 3 เท่าจากช่วงก่อนโควิด ซึ่งตอนนี้สัดส่วนการขายออนไลน์สูงถึง 15-20% เเล้ว ถือว่ามากเเละเร็วกว่าที่คิดไว้ถึง 2-3 ปี โดยมียอดสั่งซื้อเฉลี่ยราว 500 บาทต่อบิล

    “ยอมรับว่าปีนี้หนักกว่าปีที่เเล้วมาก เพราะโดนล็อกดาวน์นานกว่า เเต่พอเปิดให้นั่งทานที่ร้านได้ ลูกค้ากลับมาเร็วกว่าเพราะหลายคนอัดอั้น อยากออกมาใช้ชีวิตปกติ ซึ่งเป็นสัญญาณที่ดี โดยทิศทางธุรกิจปีหน้าคงจะดีขึ้นตามลำดับ หลังมีการกระจายวัคซีนเเละเริ่มเปิดเมืองอีกครั้ง”

    โดย Sizzler จะมี ‘บิ๊กโปรเจ็กต์’ ที่สร้างเซอร์ไพรส์ครั้งใหญ่ ที่จะเข้าถึงกลุ่มลูกหน้าหน้าใหม่ในมุมที่เเตกต่าง โดยกำลังอยู่ในระหว่างการดำเนินการ ซึ่งคาดว่าจะเปิตตัวได้เร็วที่สุดในช่วงกลางปีหน้า เเต่จะเป็นอะไรนั้น ทางผู้บริหารบอกว่าขออุ๊บไว้ก่อน…ต้องติดตามกันต่อไป 

     

    ]]>
    1356091
    เดอะมอลล์ ช้อปปิ้งเซ็นเตอร์ ผนึกกำลังพันธมิตรร้านค้า – ร้านอาหาร สร้างแคมเปญโปรโมชั่นกระตุ้นการใช้จ่าย ตอกย้ำการเป็น Shopping Destination ตลอดทั้งปี https://positioningmag.com/1322910 Fri, 12 Mar 2021 10:00:01 +0000 https://positioningmag.com/?p=1322910

    เดอะมอลล์ ช้อปปิ้งเซ็นเตอร์ ผนึกกำลังพันธมิตรทางธุรกิจร้านค้า – ร้านอาหาร ร่วมกันจัดแคมเปญส่งต่อโปรโมชั่นและสิทธิพิเศษ มอบความคุ้มค่าทุกการใช้จ่าย ตอกย้ำการเป็น Shopping Destination กระตุ้นเศรษฐกิจไทยอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี เพื่อฝ่าวิกฤตโควิด-19 ในศูนย์การค้าเดอะมอลล์ ทุกสาขา ไปด้วยกัน

    เริ่มด้วยแคมเปญ “THE MALL SHOPPING CENTER FIGHT TOGETHER” กับการจับมือกับ 5 ร้านอาหารค่ายใหญ่อย่าง Sizzler คุณนงชนก สถานานนท์ ผู้ช่วยรองประธานบริหาร บริษัท เอส แอล อาร์ ที จำกัด, ฮั่ว เซ่ง ฮง คุณพิสุทธิ พิริยะเลิศศักดิ์ ผู้บริหาร, MoMo Paradise คุณสุรเวช เตลาน Managing Director, แหลมเจริญซีฟู้ด คุณไชยทัศน์ นรากุลสุขพิภัทร์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ และ Mister Donut พร้อมด้วย บัตรเครดิต SCB M VISA และ ธนาคารซิตี้แบงก์ ประเทศไทย จัดใหญ่มอบโปรโมชั่นเอาใจสายกิน สายช้อป พร้อมแจกหนัก!! บัตรกำนัลศูนย์ฯ รวมมูลค่ากว่า 2 ล้านบาท ตลอดเดือนมีนาคม 2564

    มีนามาช้อป รวมได้ทุกบิล ฟินได้ทุกร้าน เพียงรวมใบเสร็จใช้จ่ายในศูนย์ฯ ครบ 2,000 บาท

    คุ้มที่ 1 ลูกค้า M Card รับส่วนลดสูงสุด 100 บาท สำหรับทานอาหารตามเงื่อนไขที่ 5 ร้านอาหารยอดนิยมของทุกครอบครัว (Sizzler, ฮั่ว เซ่ง ฮง, Momo Paradise, แหลมเจริญซีฟู้ด และ Mister Donut)

    คุ้มที่ 2 ลูกค้าที่ใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิต SCB M Visa หรือ บัตรเครดิต Citi รับเพิ่มบัตรกำนัลศูนย์ฯ อีก 200 บาท

    คุ้มที่ 3 ลูกค้าบัตรเครดิต SCB M VISA และ สมาชิกบัตรเครดิต Citi ลุ้นเป็น 20 Top Spenders รับเพิ่มบัตรกำนัลศูนย์ฯ มูลค่า 2,000 บาท เมื่อสะสมยอดใช้จ่ายภายในศูนย์การค้าตลอดเดือนมีนาคม

    พิเศษ! อีกต่อ สำหรับลูกค้าบัตรเครดิต SCB M VISA กับแคมเปญ SCB M DINING เพียงอิ่มอร่อยที่ร้านอาหารในศูนย์ฯ, Gourmet Eats และ FoodHall ที่ร่วมรายการ ผ่านบัตรเครดิตครบ 1,000 บาท รับเพิ่ม บัตรกำนัลศูนย์ฯ 200 บาท นอกจากนี้ ยังมีส่วนลดจากร้านค้าชั้นนำภายในศูนย์การค้าอีกมากมายเพื่อนักช้อปทุกๆ ไลฟ์สไตล์

    พบความคุ้มค่าทั้งสายกิน สายช้อป ในแคมเปญ “THE MALL SHOPPING CENTER FIGHT TOGETHER” และ “SCB M DINING”  โดยงานจัดขึ้นระหว่างวันนี้ – 31 มีนาคม 2564 พร้อมโปรโมชั่นแบบเต็มอิ่มตลอด 365 วัน ที่ เดอะมอลล์ ช้อปปิ้งเซ็นเตอร์ทุกสาขา และเดอะมอลล์ไลฟ์สโตร์ งามวงศ์วาน

    ]]>
    1322910
    ลดการสัมผัสแบบล้ำๆ Sizzler จัด “หุ่นยนต์” เสิร์ฟอาหาร นำร่องที่สยามเซ็นเตอร์ https://positioningmag.com/1311827 Wed, 23 Dec 2020 15:15:00 +0000 https://positioningmag.com/?p=1311827 Sizzler (ซิซซ์เล่อร์) จับมือกับวันทูวัน คอนแทคส์ เปิดตัวหุ่นยนต์เสิร์ฟอาหารอัจฉริยะ “น้องสไปซี่ น้องซีซาร์ น้องชีส” เสิร์ฟหลายออเดอร์ได้ มีเซ็นเซอร์กันชนกัน ประเดิมที่แรกที่สยามเซ็นเตอร์ 

    ใช้หุ่นยนต์ ลดการสัมผัสของพนักงาน

    จากการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ทำให้ร้านอาหารต้องปรับตัวอย่างยกใหญ่ หนึ่งในนั้นคือเรื่องของการบริการ และมาตรการการเรื่องสุขอนามัย ที่จะเน้นลดการสัมผัสให้มากที่สุด เพื่อลดการแพร่กระจายเชื้อ

    น้องสไปซี่

    ล่าสุดซิซซ์เล่อร์ได้เปิดตัวนวัตกรรม 3 หุ่นยนต์เสิร์ฟอาหารอัจฉริยะ มีชื่อตามเมนูอาหารหลักๆ ได้แก่ “น้องสไปซี่ น้องซีซาร์ น้องชีส” ให้บริการเสิร์ฟควบคู่กับพนักงาน มีฟังก์ชันที่หลากหลาย สามารถให้บริการเสิร์ฟครั้งละหลายออเดอร์ มีระบบเซ็นเซอร์ตรวจจับ หมดปัญหาเดินชน และหลบสิ่งของหรือคนเองได้

    โดยหุ่นยนต์เสิร์ฟอาหารอัจฉริยะทั้ง 3 น้องสไปซี่ น้องซีซาร์ น้องชีส พร้อมนำร่องให้บริการที่ร้านอาหารซิซซ์เล่อร์ สาขาสยามเซ็นเตอร์ เป็นแห่งแรกตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป

    กรีฑากร ศิริอัฐ ผู้จัดการทั่วไป บริษัท เอสแอลอาร์ที จำกัด ใน เครือ เดอะ ไมเนอร์ ฟู้ด กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า

    “ตลอดปี 2563 ที่ธุรกิจร้านอาหารต้องเผชิญกับความท้าทายของการให้บริการ ท่ามกลางสถานการณ์ COVID-19 ซิซซ์เล่อร์เป็นหนึ่งในธุรกิจร้านอาหารที่ต้องปรับตัว โดยไม่หยุดพัฒนาการให้บริการ เพื่อสร้างความเชื่อมั่น และมั่นใจให้แก่ลูกค้า ทั้งการรับประทานอาหารที่หน้าร้าน และแบบสั่งกลับบ้าน (take away) โดยมุ่งเน้นการรักษาสุขลักษณะ ความสะอาดเป็นหัวใจสำคัญ ไม่ว่าจะเป็น มาตรการการตักสลัดบาร์สุดปลอดภัย การสแกนเลือกดูเมนูแบบไร้สัมผัส การรักษาระยะห่างระหว่างโต๊ะ ด้วยประสบการณ์การปรับตัวทั้งหน้าร้าน และบริการหลังบ้าน ทำให้ซิซซ์เล่อร์มั่นใจว่าสามารถให้บริการลูกค้าได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ โดยในปี 2564 ซิซซ์เล่อร์เดินหน้าปักธงการให้บริการที่มุ่งเน้นการรักษาสุขลักษณะที่ดี สะอาด ปลอดภัย ตลอดจนดึงเทคโนโลยีที่เป็นประโยชน์มาให้บริการ เพื่อส่งมอบความประทับใจสูงสุดให้แก่ลูกค้าในทุกสถานการณ์”

    ทางด้าน นงชนก สถานานนท์ ผู้ช่วยรองประธานบริหาร กลุ่มการตลาด บริษัท เอสแอลอาร์ที จำกัด กล่าวเสริมว่า

    แนวคิดของการนำนวัตกรรมดังกล่าวมาใช้ เพื่อตอบสนองสถานการณ์ในปัจจุบันที่ยังต้องเว้นระยะห่างทางสังคม และลดการปนเปื้อนระหว่างสัมผัส สานต่อมาตรฐานความปลอดภัยด้านสุขอนามัย เหล่าน้องๆ หุ่นยนต์จะมาทำหน้าที่สำคัญในการดูแลลูกค้าเสมือนเป็นพนักงานอีกคนหนึ่ง ที่พร้อมจะให้บริการเหล่าลูกค้าตั้งแต่การพาลูกค้าไปส่งที่โต๊ะ เสิร์ฟอาหาร รวมถึงเก็บจาน และยังสามารถร้องเพลงสุขสันต์วันเกิดให้กับลูกค้าในวันพิเศษได้อีกด้วย

    โดยจะพร้อมนำร่องให้บริการที่ร้านอาหารซิซซ์เล่อร์ สาขาสยามเซ็นเตอร์ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป นอกจากนี้ ซิซซ์เล่อร์ยังเตรียมดึงเทคโนโลยีอัจฉริยะมาเป็นส่วนหนึ่งในการให้บริการ คือ “ระบบแจ้งเตือนการสั่งอาหารอัจฉริยะ” (Smart alarm order) โดยลูกค้าสามารถกดปุ่มเรียกพนักงานจากโต๊ะอาหาร และระบบจะแจ้งเตือนไปยังนาฬิกาอัจฉริยะ (Smart watch) ของพนักงานที่อยู่ในระยะใกล้ที่สุด เพื่อการให้บริการที่รวดเร็ว และไม่ซ้ำซ้อน

    น้องสไปซี่ น้องซีซาร์ น้องชีส

    ซึ่งนวัตกรรมเหล่านี้ เป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาการให้บริการของซิซซ์เล่อร์ในปี 2564 ที่มุ่งเน้นการสร้างความเชื่อมั่นและมั่นใจให้แก่ลูกค้า ตลอดจนการส่งมอบบริการที่ให้ความสะดวกสบาย และความประทับใจสูงสุดให้แก่ลูกค้า

    ]]>
    1311827
    เมื่อ Sizzler หาเหตุให้คนเข้าร้าน ปั้นเทศกาลเจ ยอม “ลดราคา” ดึงคนทาน Plant-based มากขึ้น https://positioningmag.com/1299499 Sat, 03 Oct 2020 06:30:29 +0000 https://positioningmag.com/?p=1299499 ร้านอาหารยุคนี้ต้องปรับตัวเร็ว เเม้จะเป็นเเบรนด์มีชื่อติดลมบนเเล้วก็ตาม ยิ่งเมื่อผ่านพ้นช่วงวิกฤต COVID-19 มาเเล้ว โจทย์ใหญ่จึงไม่ใช่เเค่การพยุงธุรกิจให้อยู่รอด เเต่ต้องงัดสารพัดวิธี “หาเหตุให้คนมาเข้าร้านให้ได้

    ช่วงปีที่ผ่านมา นับเป็นปีทองแห่งการปรับตัวครั้งใหญ่ของ Sizzler ร้านสเต๊กในเครือไมเนอร์ที่ทำภารกิจขอสลัดภาพจากสเต๊กเฮาส์เป็นเฮลท์ตี้เฮาส์เพื่อจับกลุ่มลูกค้าได้มากขึ้น รวมไปถึงการขยับเข้าหาลูกค้าทุกทำเล อย่างการผุดโมเดลใหม่ Sizzler to go ที่จำหน่ายอาหารเพื่อสุขภาพบนสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส เป็นขนาดเล็กที่สุดที่เคยทำมา ตอบโจทย์พฤติกรรม Grab & Go ของคนเมือง 

    เเต่เมื่อเปิด Sizzler to go ได้เพียง 1 เดือนกว่าๆ ก็ต้องเจอมาตรการล็อกดาวน์ ทำให้เเบรนด์ต้องกลับมาคิดกลยุทธ์กันใหม่ โดยช่วงกลางปีจะเน้นไปที่การปรับตาม feedback ของลูกค้าเป็นหลัก ทั้งเรื่องการจัดการสลัดบาร์ตักเอง การดูเเลความสะอาดเเละปลอดภัย

    พอมาช่วงปลายปี เราจึงจะเห็นการงัดโปรโมชันต่างๆ การปั้นเเคมเปญดึงให้ลูกค้าเข้าร้าน จับกระเเสเทศกาลเจ เทรนด์เมนู Plant-based เพื่อ “ปั้มรายได้” ส่วนที่ขาดหายไปในปีนี้ 

    ปั้นเทศกาลเจ ลุย “อาหารทางเลือก” 

    ล่าสุดเเคมเปญ ดึงลูกค้าเข้าร้านของ Sizzler คือการดัน “เทศกาลเจที่ Sizzler : Vegetarian Festival” ซึ่งถือเป็นบิ๊กมูฟใหญ่ในเดือนตุลาคม

    ปกติเเล้วทุกๆ ปี ลูกค้าที่มาทานเจที่ร้าน จะงดทานเนื้อสัตว์และหันไปทานผักที่สลัดบาร์กัน มาปีนี้ Sizzler เพิ่มทางเลือกให้ลูกค้าด้วยการเปิดตัว 2 เมนู สเต๊ก Plant-based หรือเนื้อสัตว์ที่ทำจากพืช 100% ได้แก่ สเต๊ก ออมนิมีต กับสปาเกตตีซอสทรัฟเฟิล ราคา 329 บาท และบียอร์น เบอร์เกอร์ ซอสบาร์บีคิว ราคา 399 บาท เริ่มขายใน 30 สาขาที่ร่วมรายการ ตั้งเเต่ 5 ต.ค. เป็นต้นไป

    โดยจากข้อมูลพบว่าคนไทย ทานเนื้อสัตว์น้อยลงกว่า 8% ในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา (2556-2560) เเละความนิยมเมนู Plant-based ก็กำลังเป็นเทรนด์ทั่วโลก นี่จึงเป็นโอกาสของ Sizzler ที่จะขยายไปสู่ตลาดอาหารเจทางเลือกใหม่ เจาะกลุ่มลูกค้าที่เริ่มทดลองทานเจ ผู้ที่ทานเจ รวมถึงคนทั่วไปที่อยากหันมาดูเเลสุขภาพมากขึ้น

    ขณะเดียวกัน การปั้น “เทศกาลเจที่ Sizzler” ครั้งนี้ ก็เป็นอีกหนึ่งกลยุทธ์เพื่อเติมรายได้ให้กับ Sizzler ด้วยเพราะปกติแล้วในช่วงเทศกาลกินเจ ยอดขายในร้านจะลดลง 10-15% ซึ่งส่วนใหญ่รายได้กว่า 80% มาจากการขายสเต๊ก ดังนั้น Sizzler ตั้งเป้าว่าการมีเมนูเจ Plant-based จะช่วยให้ร้านมียอดขายเพิ่มขึ้น 20-30%

    ยอม “ลดราคา” ดึงคนทาน Plant-based ปูทางระยะยาว 

    ในปีที่ผ่านมา Sizzler ปรับกลยุทธ์ใหม่ เดินเกมเรื่อง Health Direction หรือการเพิ่มเมนูเพื่อสุขภาพมากขึ้น เห็นได้จากมีการเปิดตัวนวัตกรรมใหม่ เมนูใหม่ๆ เพื่อสุขภาพมากขึ้น ทั้ง Plant-based และน้ำผลไม้สกัดเย็น ส่วนปีนี้ก็ยังคงสานต่อ เพราะมองว่าเป็นเมนูเเห่งอนาคตจริงๆ

    “ต้องยอมรับว่ากระเเส Plant-based มาเเรงมาก หากดูจากผลสำรวจ ดูจากเทรนด์ต่างๆ ทั่วโลก คาดว่าจะกลายเป็นเมนูฮิตในอนาคตข้างหน้า การที่ประเทศไทยยังไม่มีเชนร้านอาหารใหญ่ๆ บุกตลาดนี้อย่างจริงจังเลย ยังจำกัดอยู่ในร้านสเเตนด์อโลนเเละธุรกิจสตาร์ทอัพ นี่จึงถือเป็นโอกาสทองของ Sizzler” กรีฑากร ศิริอัฐ ผู้จัดการทั่วไป บริษัท เอสแอลอาร์ที จำกัด ผู้ให้บริการร้านอาหารเเบรนด์ Sizzler กล่าวกับ Positioning

    Sizzler เริ่มขายเมนู Plant-based มาได้ราว 1 ปีแล้ว โดยปัจจุบันมีจำหน่ายใน 30 สาขา เฉพาะในกรุงเทพฯ และหัวเมืองใหญ่ จากทั้งหมด 54 สาขา

    โดยฐานลูกค้านั้น หลังจากที่ทดลองตลาดมาได้สักพัก เพิ่มชื่อเมนู Plant-based จำนวน 2 รายการลงไปในป้ายเมนูให้ลูกค้าได้สั่งซื้อ พบว่า ตลาดไทยมีลูกค้ากลุ่มนี้อยู่จริงๆ แม้ตอนนี้จะไม่ได้มีจำนวนที่เยอะมาก เเต่มีลูกค้ามาเพิ่มเรื่อยๆ ไม่หายไป มีเเต่เพิ่มขึ้น Sizzler จึงมองว่าเป็นทิศทางที่ควรให้การสนับสนุนต่อไป

    ทั้งนี้ จากข้อมูลของ NRF ระบุว่า ตลาดเนื้อทำจากพืช ปัจจุบันมีมูลค่ารวมทั่วโลก 5,000 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยมีแนวโน้มเติบโตขึ้นไปเป็น 80,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ภายใน 5 ปี เนื่องจากผู้บริโภคเห็นข้อดีของวัตถุดิบอาหารรูปแบบนี้มากขึ้น

    สำหรับกลุ่มลูกค้าที่เเบรนด์ Sizzler ต้องการจะขยายเจาะตลาดเมนู Plant-based ได้เเก่

    • กลุ่มคนที่ทานวีแกนเเละ Plant-Based อยู่เเล้ว ถ้ามาทานที่ร้านก็สามารถสั่งเมนูสเต๊กได้ ไม่จำกัดว่าจะต้องไปทานเเต่สลัดบาร์อีกต่อไป
    • กลุ่มคนที่ทานเมนูปกติ-ทั่วไป ที่อยากลองทานเมนู Plant-based หรือคนที่อยากดูเเลสุขภาพ ไปพร้อมๆ กับการรักษ์โลก ต้องการทานวีเเกนประมาณสัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง

    เเม้เมนู Plant-based จะเป็นโอกาสตลาดใหม่ เเต่ก็ยังมีความท้าทายอยู่มาก เพราะมี “ราคาสูง” เมื่อเทียบกับเนื้อนำเข้าประมาณ 2.5 เท่า ทำให้ราคาของเมนูที่วางขายไม่สามารถตั้งไว้ในระดับเดียวกันกับเนื้อสัตว์ปกติได้

    ดังนั้น เพื่อดึงดูดให้ลูกค้าหันมาลองเมนู Plant-based กันมากขึ้น Sizzler จึงตัดสินใจ “ปรับลดราคาของเมนู Plant-based” ลง เช่นจาก 439-479 บาท มาเป็นราว 329-399 บาท เพื่อปูทางสร้างความคุ้นเคยในระยะยาว ค่อยๆ เพิ่มลูกค้าจากหลักสิบ ขยายเป็นร้อยเป็นพันคนให้ได้

    นอกจากลดราคาเเล้ว ในบางโอกาสจะมีการนำเนื้อ Plant-based ไปลองใส่ในเมนูสลัดบาร์ เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้คนได้ลองชิมอย่างกว้างขวางขึ้นด้วย

    อัปเดต Sizzler to go 

    ในช่วงต้นปีที่ผ่านมา เมื่อลุยโมเดล Sizzler to go ไปได้ประมาณเดือนกว่า ก็ต้องเจอวิกฤต COVID-19 ซึ่งทำให้ธุรกิจต้องสะดุด หลังคลายล็อกดาวน์เเละผู้คนเริ่มกลับมาใช้ชีวิตปกติ เเผนของ Sizzler to go มีการอัปเดตอย่างไรบ้าง

    กรีฑากร กล่าวว่า เเม้จะได้รับผลกระทบบ้าง เเต่ Sizzler to go ก็ยังสามารถขยายสาขาได้ 5 เเห่ง ซึ่งเป็นไปตามเป้าที่วางไว้ปีนี้ เเต่ในปีหน้ายังไม่สามารถบอกได้ว่าจะเปิดอีกกี่สาขา เพราะต้องดูสถานการณ์เป็นหลัก โดยที่ผ่านมาก็ได้รับผลตอบรับดีมาก เข้าถึงเป้าหมายคือ “คนเดินทาง” เเละตอบโจทย์ผู้บริโภคที่ต้องการความง่าย รวดเร็วเเละต้องการอาหารเพื่อสุขภาพ ตามที่คาดไว้

    ทั้งนี้ ปัจจุบัน Sizzler to go มีอยู่ 5 สาขาในกรุงเทพฯ เช่น BTS อโศก , MRT สถานีพระราม 9 , BTS ช่องนนทรี , Office At Central World เเละแฟชั่นไอส์แลนด์ (ทดลองวางหน้าห้างฯ เเทนจุดขนส่ง) มีกิมมิกการจัดร้านให้เห็นเมนูชัดๆ เเละใช้สีสันดึงดูดให้คนเดินไปมาเร็วๆ เห็นเเล้วจำได้

    Sizzler to Go ร้านแบบ kiosk ขายอาหาร take away

    “ช่วงล็อกดาวน์ถือว่าเป็นโอกาสในวิกฤตก็ว่าได้ เพราะมีร้านค้าต่างๆ ต้องยกเลิกสัญญาเช่าที่ ทำให้เราได้ทำเลใหม่ที่ไม่คิดว่าจะได้เร็วขนาดนี้ เช่นที่ BTS ช่องนนทรี เเต่ก่อนเคยคุยไว้ว่าต้องจองคิวถึง 3 ปี เเต่พอช่วง COVID-19 ก็ว่างให้เข้าไปเช่าได้” 

    ผู้บริหาร Sizzler มองว่า โมเดลขยายสาขา “ไซส์เล็ก” เป็นการเดินเกมรุกเข้าหาผู้บริโภคที่ได้ผลดี ใช้งบประมาณน้อยกว่าการขยายสาขาใหญ่ที่มีความเสี่ยงมากกว่า อีกทั้งยังตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ Grab-and-Go ของผู้คนในปัจจุบันด้วย

    ร้านอาหารต้อง “ปรับให้ไว-หาเหตุให้คนเข้าร้าน” 

    ปัจจุบันลูกค้าของ Sizzler กลับมากว่า 90% เเล้ว เมื่อเทียบกับช่วงก่อน COVID-19 ถึงเเม้จะเป็นเเบรนด์ที่ฮิตในหมู่คนไทย แต่การที่ “นักท่องเที่ยวต่างชาติ” หายไป ก็ส่งผลกระทบอยู่บ้าง ใน 5 สาขา ได้แก่ 3 สาขาในพัทยา เชียงใหม่ และภูเก็ต โดยตอนนี้ Sizzler กลับมาให้บริการทั้งหมด 54 สาขาเเล้ว เริ่มเห็นกำลังซื้อในประเทศที่เริ่มฟื้นตัวกลับมาเเล้ว

    “บทเรียนที่เราได้คือ ธุรกิจร้านอาหารต้องปรับตัวให้ไว มองความต้องการของลูกค้าเป็นหลัก หาทางหาเหตุให้คนมาร้านเราให้ได้ จะอยู่นิ่งเฉยไม่ได้ คิดเมนูเเละโปรโมชันใหม่ จับกระเเสเทรนด์ผู้บริโภคให้ได้ เเละต้องเตรียมความพร้อมรับสิ่งที่ไม่คาดคิด เพราะช่วงนี้เเค่ข่าวสถานการณ์อ่อนไหว ก็ทำให้คนลดการออกมากินข้าวนอกบ้านเเล้ว เช่นมีข่าวที่ระยอง เเต่ก็กระทบร้านในกรุงเทพฯ”

    นงชนก สถานานนท์ ผู้ช่วยรองประธานบริหารกลุ่มการตลาด บริษัท เอสแอลอาร์ที จำกัด เล่าอีกว่า การปรับให้เร็วของ Sizzler นั้นรวมไปถึงการออก “เมนูโปรโมชัน” ด้วย ซึ่งเป็นสิ่งหนึ่งในกลยุทธ์ดึงลูกค้าเข้าร้าน โดยหลังจากวิกฤต COVID-19 ทางร้านได้มีการปรับความถี่จากเดิมที่จะออกเมนูลดราคา รอบละ 12 สัปดาห์ เหลือเพียง 6-8 สัปดาห์

    ด้านการเพิ่มช่องทางเดลิเวอรี่ ซึ่งดูจะเป็นงานหินของ Sizzler เพราะฐานลูกค้าส่วนใหญ่ ชื่นชอบบรรยากาศนั่งกินในร้าน เเต่หลังจากที่จำเป็นต้องขยับมารุกออนไลน์มากขึ้น ตอนนี้ยอดขายทางเดลิเวอรี่ก็กระเตื้องขึ้นมาบ้างเเล้ว ในสัดส่วน 10% มียอดสั่งซื้อเฉลี่ยราว 400-500 บาทต่อบิล ส่วนการกินในร้านอยู่ที่เฉลี่ย 800 บาทต่อบิล โดยในปีที่ผ่านมา Sizzler มีฐานลูกค้าอยู่ราว 8-9 ล้านคน

    “คาดว่าปีหน้าอาจจะมีการเปิดอีก 4-5 สาขา เเต่จะทำได้ตามเเผนหรือไม่นั้น ก็ต้องรอดูสถานการณ์ทั้งหมดก่อน เเละดูการเจรจาพื้นที่ด้วย ซึ่งตอนนี้ยังบอกไม่ได้ว่าจะเปิดช่วงใด โดยมองทิศทางธุรกิจปีหน้าจะดีขึ้นตามลำดับ ช่วงครึ่งปีหลังก็ถือว่าโอเคมากเเล้ว ปีหน้าคงดีกว่านี้”

    ]]>
    1299499
    ถอดบทเรียน “ไมเนอร์ ฟู้ด” สู้ตลาดหลังวิกฤต เปิดสาขาไซส์เล็ก ทุ่มเดลิเวอรี่ เพิ่ม Cloud Kitchen https://positioningmag.com/1290392 Mon, 03 Aug 2020 12:00:57 +0000 https://positioningmag.com/?p=1290392 ธุรกิจร้านอาหาร ต้องเผชิญมรสุม COVID-19 โจมตีเเบบไม่ทันตั้งตัว สะเทือนทั้งรายเล็กรายใหญ่ ผู้ประกอบการเเละเเบรนด์ต่างๆ ต้องหาวิธีเอาตัวรอดให้พ้นผ่านสถานการณ์ความไม่เเน่นอนนี้ไปให้ได้

    เเม้ว่าปีนี้ตลาดรวมธุรกิจร้านอาหารในไทย ที่มีมูลค่ากว่า 4 แสนล้านบาท จะไม่กลับมาสดใสได้ดังเช่นช่วงก่อนวิกฤต เเต่การปรับตัวในทุกมิติครั้งนี้ จะเป็นการปูทางไปสู่การเป็นร้านอาหารยุคใหม่ในระยะยาว

    หลังคลายล็อกดาวน์ การที่ผู้คนเริ่มกลับมาใช้ชีวิตเเละออกทานอาหารที่ร้านได้ตามปกติ จึงเป็นสัญญาณของการค่อยๆฟื้นตัวอีกครั้งเเละก็ยังมีเรื่องที่ต้องระวังในหลายๆ ด้าน

    จึงเป็นที่น่าจับตามองว่า ความเคลื่อนไหวของยักษ์ใหญ่วงการเชนร้านอาหารและฟาสต์ฟู้ดอย่างไมเนอร์ ฟู้ด” เจ้าของเเบรนด์ดัง The Pizza Company, Swensen’s, Sizzler, The Coffee Club, Dairy Queen, thai express , Burger King และ Bonchon ที่มีสาขามากกว่า 2,200 สาขาใน 26 ประเทศนั้น จะงัดกลยุทธ์หมัดเด็ดอะไรมาพลิกเกมวงการร้านอาหาร เเละกระตุ้นยอดขายให้กลับมาอีกครั้งในช่วงครึ่งปีหลังนี้

     

    3 เเบรนด์ฮีโร่ บูมเดลิเวอรี่ช่วยอุ้มธุรกิจ 

    ไมเนอร์ ฟู้ดเป็นยักษ์ใหญ่ที่มี ฐานลูกค้าในไทยกว่า 9 ล้านคน ทำรายได้ในปีที่ผ่านมา เป็นกอบเป็นกำถึง 24,000 ล้านบาท เเต่ด้วยอุปสรรคมากมายในปีนี้ ทำให้ต้องปรับการเติบโตลง เเละหากมองในเเง่ดีสุดๆ เเบบ Best Case Scenario ก็อาจทำได้เท่ากับปีที่แล้ว

    ประพัฒน์ เสียงจันทร์ รองประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ บริษัท ไมเนอร์ ฟู้ด กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) มั่นใจว่า บางแบรนด์ของไมเนอร์ ฟู้ด จะทำรายได้ได้มากกว่าเดิม จากอานิสงส์การซื้อกลับบ้านและเดลิเวอรี่ เเต่บางแบรนด์ที่มีรายได้หลักจากการบริการ Dine-in นั่งทานในร้าน ก็คาดว่าคงทำไม่ได้เท่าปีที่แล้ว

    ปัจจุบันยอดขายรวมของเครือไมเนอร์ ฟู้ดกลับมาอยู่ที่ 80% ของช่วงก่อน COVID-19 โดยเเบรนด์ยอดนิยมอย่าง The Pizza Company, Swensen’s, Dairy Queen ตอนนี้รายได้กลับมามากว่าช่วงก่อนวิกฤต ขณะที่ด้านสาขา ตอนนี้ราว 95% จาก 1,490 สาขาในไทย ก็กลับมาเปิดให้บริการตามปกติแล้ว

    โดยช่วงล็อกดาวน์ที่ผ่านมา ยอดขายผ่านช่องทางเดลิเวอรี่เติบโตมากถึง 3 เท่า เเละมีเเบรนด์ฮีโร่ที่มาช่วยกอบกู้สถานการณ์ของไมเนอร์ ฟู้ดไม่ให้บาดเจ็บสาหัสมากนัก ได้เเก่ The Pizza Company ตามมาด้วย Burger King และ Bonchon

    ส่วนแบรนด์ถือว่าหืดขึ้นคอในการที่จะปรับตัวมาสู่เดลิเวอรี่ตามเทรนด์ของยุคนี้ ผู้บริหารไมเนอร์ยอมรับว่าคือ Sizzler ด้วยพฤติกรรมของลูกค้าส่วนใหญ่ชื่นชอบการนั่งทานในร้าน ชอบบรรยากาศการพูดคุยเเละสลัดบาร์ ที่เเม้การมีเดลิเวอรี่ให้สั่งเเล้ว ก็ยังไม่ตอบโจทย์มากนัก ซึ่งต่อไปจะมีการพัฒนาให้มากขึ้น

    ขณะที่ The Coffee Club ที่พึ่งพาลูกค้าชาวต่างชาติเเละมีสาขาในเมืองท่องเที่ยวนับเป็นเเบรนด์ที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดในเครือไมเนอร์ ฟู้ด

    เรียนรู้การฟื้นตัวในจีน มาปรับใช้ในไทย 

    COVID-19 เป็นเหมือนตัวเร่งให้กลุ่มไมเนอร์ปรับปรุงองค์กรอย่างฉับพลัน โดยบริษัทได้เรียนรู้จากการบริหารสาขาในประเทศจีนที่มีการเเพร่ระบาดของไวรัสก่อนใคร เเละก็เริ่มฟื้นตัวก่อนใคร สิ่งเหล่านี้นำมาสู่การปรับโครงสร้างองค์กร การสร้างกลยุทธ์ การพัฒนาเทคโนโลยีให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

    ดิลลิป ราชากาเรีย ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่ม บริษัท ไมเนอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด เล่าว่า ร้านอาหารของไมเนอร์ ฟู้ดในจีนต้องปิดชั่วคราวตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ และกลับมาเปิดได้อีกครั้งในเดือนมีนาคม จุดนี้ทำให้บริษัทมีประสบการณ์ที่สามารถนำมาใช้กับสถานการณ์ COVID-19 ในไทย เพื่อให้ “ฟื้นตัว” ได้เร็วที่สุด ซึ่งตอนนี้ถือว่าได้ผ่านจุดต่ำสุดไปเเล้วตั้งแต่เดือนเมษายน เเละคาดว่ารายได้จะกลับสู่ระดับปกติเหมือนก่อนช่วง COVID-19 ภายในช่วงปลายปีนี้ โดยยังเหลือร้านอาหารในพื้นที่ท่องเที่ยว ที่ยังคงปิดอยู่อีกประมาณ 15 แห่ง

    ไมเนอร์ ฟู้ด ต้องใช้ความระมัดระวัง และพิจารณาให้ดีก่อนที่จะตัดสินใจเปิดร้านอาหารแต่ละแห่ง รวมถึงต้องระมัดระวังการลงทุนด้วย โดยจะเน้นไปที่การลงทุนที่ได้ผลในระยะยาว เช่น ระบบดิจิทัล เเละการพัฒนาเเพลตฟอร์มฟู้ดเดลิเวอรี่ของตัวเอง

    ก่อนหน้านี้ กลุ่มไมเนอร์ได้ดำเนินการผ่านแผน “ลดต้นทุน” ผ่าน 3 วิธีการ 1) การปรับลดพนักงาน ซึ่งบริษัทจ้างพนักงานพาร์ตไทม์ค่อนข้างเยอะ โดยเฉพาะไมเนอร์ ฟู้ดกว่า 60% เป็นพนักงานพาร์ตไทม์ ดังนั้นจึงลดในส่วนนี้ได้ค่อนข้างมากเเละมีความยืดหยุ่น 2) เจรจาขอลดหรือเลื่อนจ่ายค่าเช่าพื้นที่ร้านอาหารและโรงแรม และ 3) การเจรจากับคู่ค้า เพื่อขอปรับเงื่อนไขการชำระเงินรวมถึงส่วนลด

    โดยเเผนครึ่งปีหลังของไมเนอร์ ฟู้ด มีอยู่ 4 กลยุทธ์หลักดังนี้

    • ยกระดับเดลิเวอรี่

    ต้องยอมรับว่าบริการเดลิเวอรี่ เป็นตัวช่วยสำคัญที่ทำให้ไมเนอร์ ฟู้ด ผ่านพ้นวิกฤตในช่วงจุดต่ำสุดมาได้ ดังนั้นการต่อยอดพัฒนาแพลตฟอร์มการสั่งอาหารออนไลน์ เพื่ออำนวยความสะดวกผู้บริโภคให้สามารถสั่งอาหารได้หลากหลายภายในออเดอร์เดียวจึงเป็นเป้าหมายหลักที่จะเสริมความสามารถในการเเข่งขันของบริษัทได้ในตอนนี้

    ทั้งนี้ เครือไมเนอร์ มีบริการเดลิเวอรี่มาตั้งเเต่ปี 1989 มีผู้จัดส่งมากกว่า 3,000 คน โดยในช่วง COVID-19 มีสัดส่วนการสั่งซื้ออาหารส่วนใหญ่ของเครือไมเนอร์จะผ่านแพลตฟอร์มเดลิเวอรี่ของบริษัทโดยตรงมากกว่าช่องทางฟู้ดเดลิเวอรี่รายอื่น แบ่งเป็นผ่านช่องทางของตัวเอง 60-70% และแอปพลิเคชันเดลิเวอรี่ต่างๆ อีก 30-40% ขึ้นอยู่กับแบรนด์ของร้านอาหาร

    “ในอนาคตอาจจะพัฒนาให้แบรนด์อื่นๆ เข้ามาอยู่ในบริการเดลิเวอรี่ของไมเนอร์ด้วย” 

    โดยการสั่งจากคอลเซ็นเตอร์ก็ยังคงได้รับความนิยมอยู่ เป็นลูกค้าคุ้นชินมานาน ขณะเดียวกันก็มียอดผู้ใช้แอปฯ การสั่งอาหารของ The Pizza Company และ 1112 Delivery ก็เพิ่มมากขึ้นหลายเท่าตัว

    อย่างไรก็ตาม ไมเนอร์ ฟู้ด ก็ยังคงต้องการเป็นพาร์ตเนอร์กับเเอปพลิเคชันฟู้ดเดลิเวอรี่เจ้าอื่นอยู่ ด้วยจำนวนฐานลูกค้า บริการรับส่งอาหารต่างๆ ซึ่งเป็นการเพิ่มทางเลือกให้ลูกค้าได้เข้าถึงในทุกช่องทาง ดังนั้นจึงต้องเดินหน้าพัฒนา 2 กลยุทธ์ ทั้งแพลตฟอร์มของตัวเอง และการไปอยู่บนแพลตฟอร์มของผู้ให้บริการเดลิเวอรี่ไปควบคู่กัน

    • ออกเมนูใหม่ ๆ 

    ตอนนี้ธุรกิจร้านอาหารต้องเผชิญกับการแข่งขันที่ดุเดือดยิ่งขึ้น เมื่อแบรนด์ต่างๆ พร้อมงัดโปรโมชันและส่วนลดมาดึงดูดลูกค้า เชนร้านอาหารรายใหญ่จึงต้องเร่งอัดปรับโมเดลการขายเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคในยุค New Normal ไปพร้อมๆ กับการสร้างแบรนด์ให้น่าสนใจ มีความน่าเชื่อถือและมีสุขอนามัยที่ดี

    “ไมเนอร์ ฟู้ดจะไม่เน้นการทำโปรโมชัน 1 แถม 1 ไปตลอด เเต่จะมีการพัฒนาให้เกิดเมนูใหม่” 

    ยกตัวอย่างเช่น Swensen’s ที่ได้นำเอาเมนูไอศกรีมมะม่วงน้ำปลาหวานมาตอบโจทย์คนไทย แทนที่จะขายแค่ไอศกรีมรสชาติเดิมๆ เเละการนำเมนูที่มีอยู่แล้วมาพัฒนาทางให้เกิดเมนูใหม่ เช่น การพัฒนาเมนู มะม่วง แบล็ก ดูโอ้ ไอศกรีมมะม่วงอกร่องทองกับเครื่องเคียงอย่างข้าวเหนียวดำที่เป็นเมนูที่ Swensen’s มีอยู่แล้ว นอกจากนี้ การพัฒนาเมนูอาหารยังต้องตอบโจทย์การส่งเดลิเวอรี่เเละสั่งกลับบ้านให้มากขึ้นด้วย

    อ่านเพิ่มเติม : สเวนเซ่นส์” พลิกเกม! ปรับภาพมากกว่าไอศกรีม ขอครอบจักรวาล “ของหวาน”

    swensens

    • ลุยโมเดล “คีออส” 

    จากนี้ไป ไมเนอร์ ฟู้ดจะเน้นพัฒนาแบรนด์ร้านอาหารในเครือผ่านโมเดลใหม่ เเละมีรูปเเบบการขยายสาขาที่เเตกต่างจากเปลี่ยนไป จากเดิมที่เคยเน้นเปิดร้านในพื้นที่ขนาดใหญ่ แต่หลังจากนี้จะเปลี่ยนรูปแบบเป็นการเปิดสาขาในร้านขนาดเล็ก คีออส และแกร็บแอนด์โก เจาะพื้นที่ห้างสรรพสินค้า อาคารสำนักงานและย่านมหาวิทยาลัย รวมถึงการใช้ประโยชน์จากพื้นที่และรูปแบบร้านอาหารที่มีอยู่ให้มากที่สุด

    อ่านเพิ่มเติม : เปิดแนวคิด Sizzler to go คอนเซ็ปต์ร้านเล็กบน BTS ยุทธการพาร้านเข้าหาผู้บริโภค

    ยกตัวอย่างที่ไมเนอร์ ฟู้ดได้ทำมาแล้ว เช่น Sizzler To Go ที่เปิดร้านในรูปแบบคีออสกลางใจเมือง เนื่องจากเมนูอาหารของ Sizzler ยากต่อการส่งเดลิเวอรี่ ซึ่งได้รับผลตอบรับที่ดี โดยต่อไปจะผลักดันร้านอื่นๆ ในเครือเช่น Swensen’s เเละ The Coffee Club ให้มีบริการแกร็บแอนด์โกด้วย

    นอกจากนี้ยังมีการ “ปรับโฉมแบรนด์” ให้เข้ากับผู้บริโภคในท้องถิ่นมากขึ้น เช่น การเปิดสาขาแฟลกชิพสโตร์ของ Swensen’s ที่จังหวัดน่าน ที่มีการตกแต่งร้านสไตล์บ้านไทลื้อ

    • พัฒนา “Cloud Kitchen” 

    เรียกได้ว่าเป็นโมเดล “ครัวกลาง” รูปเเบบใหม่ที่กำลังได้รับความนิยมอย่างมากในช่วงนี้ จากการนำเอาคอนเซ็ปต์ Cloud มาประยุกต์ใช้กับร้านอาหาร เกิดเป็น Cloud Kitchen ช่วยให้ลูกค้าที่สั่งอาหารแบบเดลิเวอรี่ที่สดใหม่เเละใกล้บ้าน ด้วยที่ตั้งสาขาใกล้บ้านในระยะ 3 กิโลเมตร เเละสามารถสั่งอาหารได้หลายแบรนด์ภายในออเดอร์เดียว

    ไมเนอร์ ฟู้ดคาดว่า Cloud Kitchen จะช่วยทำให้บริการเดลิเวอรี่ของไมเนอร์ ฟู้ดครอบคลุมมากขึ้น โดยเฉพาะในย่านชุมชน โดยก่อนหน้านี้บริษัทเคยทดลองใช้โมเดลนี้ในสาขาที่ออสเตรเลียมาเเล้ว

    จากการที่ร้าน The Pizza Company สาขานอกห้างมักจะเช่าตึกแถวทั้งตึก มีพื้นที่เหลือหลายชั้น จึงแบ่งพื้นที่ให้เเบรนด์ในเครือได้ไม่ยาก เพราะบุคลากรและเครื่องครัวใช้แยกกันของแต่ละแบรนด์ ปัจจุบันมีการทดลองรวม Cloud Kitchen ของไมเนอร์ไปแล้ว 10 สาขา ส่วนใหญ่ยังอยู่ในกรุงเทพฯ เเละมีการขยายไปยังเมืองท่องเที่ยวอย่างภูเก็ตเเละเชียงใหม่ เริ่มจากการนำ Bonchon กับ Sizzler เข้าไปใช้พื้นที่ร่วมกับ The Pizza Company 

    ตัวอย่างร้าน The Pizza Company นอกห้างที่เป็นตึกแถว บางสาขาอาจมีพื้นที่เหลือให้แบรนด์อื่นเข้ามาใช้ได้ (Photo : Google Maps)

    ส่วนการขยายในอนาคต ผู้บริหารไมเนอร์ ตอบว่ายังไม่แน่ว่าจะเปิดกี่สาขา ขอดูตามสถานการณ์ และอาจจะมีการขยายไปควบคู่กับกลยุทธ์การรุกต่างจังหวัดของ Bonchon ที่ยังคงมุ่งผลักดันให้ขยายสาขาแบบมีหน้าร้านปกติอยู่

    สำหรับการเปิดสาขาในช่วงที่เหลือของปีนี้ บริษัทจะเปิด Burger King เพิ่มอีก 4 สาขา และ Bonchon เพิ่มอีกเป็น 90 สาขา จากที่ตอนนี้มีแล้ว 65 สาขา ในจำนวนนี้จะรวมถึงโมเดล Cloud Kitchen ด้วย

    โมเดลธุรกิจ Cloud Kitchen ไม่ใช่เรื่องใหม่ในยุคหลัง COVID-19 เพราะเริ่มมีในต่างประเทศมาก่อนหน้านี้แล้ว อธิบายอย่างง่ายๆ คือการลงทุนทำครัวขนาดใหญ่ มีอุปกรณ์พื้นฐาน เช่น เตาแก๊ส เตาอบ เตรียมไว้ให้ร้านอาหารมาเช่า และมีสเตชั่นครัวแบบนี้หลายๆ สเตชั่น หลายร้านสามารถมาเช่าทำงานพร้อมกันได้

    โดย Cloud Kitchen จะไม่มีหน้าร้านสำหรับนั่งทาน มีแต่ช่องทางให้พนักงานเดลิเวอรี่หรือผู้บริโภคมารับอาหารแบบ take away ดังนั้นจึงตอบโจทย์ตรงที่ทำให้ลูกค้าขยายได้ง่ายกว่า ลงทุนต่ำกว่าและเปิดได้เร็วกว่า เพราะทุกอย่างเตรียมไว้พร้อมหมดแล้ว 

    อ่านเพิ่มเติม : จับกระแส 5 บริษัทบุกธุรกิจ “คลาวด์ คิทเช่น” รับเทรนด์ฟู้ดเดลิเวอรี่บูมสุดขีด

    ระวังการลงทุน…ปีนี้ต้องเบรกทุ่มก้อนใหญ่ 

    ก่อนหน้านี้ กลุ่มไมเนอร์ได้ประกาศแผนระดมทุนแบบเบ็ดเสร็จ 25,000 ล้านบาท เพื่อเตรียมตัวรับมือกับความไม่เเน่นอน หากการระบาดของ COVID-19 ยืดเยื้อกว่าที่คาด

    สำหรับ แผนธุรกิจและการลงทุน ของไมเนอร์ ฟู้ดในปีนี้นั้น ชัยพัฒน์ ไพฑูรย์ ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายพัฒนาเชิงกลยุทธ์ MINT เปิดเผยว่า เเผนเดิมที่เคยวางไว้ในระยะ 5 ปีตอนนี้ทำได้ยากขึ้น เพราะความไม่เเน่นอนของสถานการณ์โดยเฉพาะธุรกิจโรงเเรม เเต่ในธุรกิจอาหารนั้นถือว่าฟื้นตัวได้เร็วมาก เเม้รายได้จะยังไม่กลับมาเท่าเดิม เเต่มองว่าอยู่ในช่วงกำลังปรับแผนเเละปรับองค์กร ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อไประยะยาว

    “งบลงทุนใหญ่ๆ ปีนี้ต้องชะลอไว้ก่อน เพราะต้องรักษาสภาพคล่องของบริษัท แต่หากมีโปรเจกต์ในแบรนด์ที่สามารถทำรายได้ให้รีเทิร์นกลับมาได้ ก็จะพิจารณาไปเเต่ละกรณี”

    ดังนั้นในปีนี้ งบลงทุนใหญ่ของไมเนอร์ ฟู้ดจึงจะมีการใช้ไปกับการลงทุนเพิ่มในแบรนด์ Bonchon ราว 2.4 พันล้านบาท เพื่อถือสิทธิมาสเตอร์แฟรนไชส์ 20 ปี ขยายสาขาใหม่ในไทย หลังจากเมื่อปลายปีที่ผ่านมาได้ทุ่มเงิน 2 พันล้านบาท เพื่อซื้อธุรกิจจากเจ้าของเดิม นอกจากนี้ยังมีการลงทุนอีก  1.1 พันล้านบาทเพื่อซื้อหุ้น BreadTalk ในสิงคโปร์ด้วย

     

    ]]>
    1290392