WeChat – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Mon, 17 Oct 2022 04:09:43 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 จะทำได้ไหม? ‘มัสก์’ ต้องการจะเปลี่ยน ‘Twitter’ ให้เป็น ‘ซูเปอร์แอป’ https://positioningmag.com/1404376 Mon, 17 Oct 2022 03:31:50 +0000 https://positioningmag.com/?p=1404376 หลังจากที่ อีลอน มัสก์ (Elon Musk) ได้กลับลำยอมซื้อกิจการ ทวิตเตอร์ (Twitter) อีกครั้งเมื่อวันที่ 4 ต.ค.65 ในมูลค่า 44,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือ 54.20 ดอลลาร์ต่อหุ้น เท่ากับที่เคยเสนอไป พร้อมทั้งเรียกร้องให้ Twitter หยุดดำเนินคดีฐานพยายามถอนตัวออกจากข้อตกลง แนวโน้มดังกล่าวแทไปทางที่มัสก์จะได้เป็นเจ้าของ Twitter แน่ ๆ และเขาก็มีแผนจะเปลี่ยนจากแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียเป็น ซูเปอร์แอป

เป็นเวลาหลายเดือนแล้วที่ อีลอน มัสก์ ซีอีโอ Tesla และ SpaceX ได้แสดงความสนใจในการสร้าง WeChat ในเวอร์ชั่นของตนเองที่จะสามารถใช้ทั้ง วิดีโอแชท ส่งข้อความ สตรีมมิ่ง และชำระเงิน ซึ่งเขาตั้งใจที่จะเปลี่ยน Twitter เป็น ซูเปอร์แอป ที่เขาเรียกว่า X

มัสก์ เคยทวีตเมื่อวันที่ 4 ต.ค. ที่ผ่านมาว่า เขาต้องการซื้อ Twitter เพื่แเป็นการเร่งสร้าง X ซึ่งเป็นซูเปอร์แอป และเคยให้รายละเอียดเพิ่มเติมในระหว่างการประชุมผู้ถือหุ้นประจำปีของเทสลาในเดือนสิงหาคม และได้บอกใบ้เกี่ยวกับแนวคิดของฟีเจอร์การชำระเงิน และบริการจะเป็นส่วนสำคัญของแอป พร้อมชี้ว่าในที่สุดก็กลายเป็นส่วนหนึ่งของ PayPal ได้

แน่นอนว่าแค่คิดนั้นง่าย เพราะใคร ๆ ต่างก็อยากเป็นซูเปอร์แอปทั้งนั้น ดังนั้น เขาอาจจะต้องเจอกับการแข่งขันที่หนักหน่วง อย่าง Facebook เองก็พยายามเป็นมากกว่าแพลตฟอร์มโซเชียล ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มฟีเจอร์การชำระเงิน เกม ช้อปปิ้ง และแม้แต่ฟีเจอร์การออกเดทบนโซเชียลเน็ตเวิร์ก จนถึงตอนนี้ก็ประสบความสำเร็จเพียงเล็กน้อย รายได้เกือบทั้งหมดมาจากการโฆษณา

Google, Snap, TikTok, Uber และบริษัทอื่น ๆ ต่างก็พยายามที่จะก้าวเข้าสู่ซูเปอร์แอป โดยพยายามจะเป็น สิ่งที่ขาดไม่ได้สำหรับผู้ใช้ ในการดำเนินชีวิตในแต่ละวัน แต่ในปัจจุบันต้องยอมรับว่ายังไม่มีใครไปถึงจุดนั้นได้ นั่นเพราะผู้บริโภคมีแอปเฉพาะสำหรับจัดการช้อปปิ้ง การสื่อสาร และการชำระเงิน

อีกจุดที่น่าสนใจคือ ฐานผู้ใช้ ซึ่งผู้ใช้ Twitter นั้นมีจำนวนน้อยกว่าคู่แข่งบนแพลตฟอร์มโซเชียล อย่าง Facebook, Instagram และ TikTok มีผู้ใช้เกิน 1 พันล้านไปนานมาแล้ว แต่ Twitter มีผู้ใช้ประมาณ 240 ล้านคนต่อวัน

“นิสัยแบบเก่านั้นยากที่จะเปลี่ยน และคนในสหรัฐฯ ก็เคยชินกับการใช้แอปต่าง ๆ สำหรับกิจกรรมที่แตกต่างกัน นอกจากนี้ ซูเปอร์แอปมักจะดูดข้อมูลส่วนตัวมากขึ้นในแต่ละครั้ง ส่งผลให้ความไว้วางใจในแพลตฟอร์มโซเชียลเสื่อมลงอย่างมาก” จัสมิน เอนเบิร์ก นักวิเคราะห์หลักของ Insider Intelligence กล่าว

ยังไม่มีอะไรยืนยันว่าความสำเร็จของ WeChat ในประเทศจีน จะประสบความสำเร็จเหมือนกันกับตลาดสหรัฐอเมริกาหรือตลาดโลก แม้การใช้งาน WeChat เกือบจะเป็นเรื่องพื้นฐานในจีน แต่นั่นเป็นเพราะคนส่วนใหญ่ไม่เคยมีคอมพิวเตอร์ที่บ้านและข้ามไปที่การออนไลน์ด้วยโทรศัพท์มือถือโดยตรง

โดยประเทศจีนมีผู้ใช้อินเทอร์เน็ต 1 พันล้านคน และเกือบทั้งหมดออนไลน์ผ่านโทรศัพท์มือถือ ตามรายงานของศูนย์ข้อมูลเครือข่ายอินเทอร์เน็ตของจีน (China Internet Network Information Center) ที่รัฐบาลจีนอนุมัติ มีเพียง 33% เท่านั้นที่ใช้คอมพิวเตอร์เดสก์ท็อปเลย

ปัจจุบัน WeChat ได้เพิ่มแฮงเอาท์วิดีโอและฟีเจอร์เกี่ยวกับการส่งข้อความอื่น ๆ รวมถึงการช้อปปิ้ง ความบันเทิง และฟีเจอร์อื่น ๆ ที่ลิงก์กับหน่วยงานของรัฐ เช่น ด้านสาธรณสุข การจราจร และประกาศอื่น ๆ ส่วนฟังก์ชันการชำระเงินของ WeChat ถูกใช้อย่างแพร่หลายจนจีนกลายเป็นสังคมไร้เงินสด ซึ่งปัจจุบันยังไม่มีแอปไหนในสหรัฐอเมริกาเทียบได้

Source

]]>
1404376
ดีใจไม่สุด! ‘Tencent’ ฟันกำไร 9 พันล้านเหรียญ แต่ต้องเครียดเพราะรัฐบาลจีนเล็งเช็กบิลเรื่อง ‘ผูกขาด’ https://positioningmag.com/1325144 Fri, 26 Mar 2021 05:59:51 +0000 https://positioningmag.com/?p=1325144 ‘Tencent’ บริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ของจีนได้เปิดเผยผลประกอบการในไตรมาส 4 ของปี 2020 ซึ่งเติบโตในทุกด้าน โดยเฉพาะกำไรที่เติบโตถึง 175% แต่ถึงอย่างนั้นเหล่านักลงทุนก็ยังมีความกังวลว่า Tencent จะกลายเป็นเป้าหมายใหญ่ต่อไปของการจับกุมโดยหน่วยงานกำกับดูแลบริษัทเทคโนโลยีในจีนหรือไม่

Tencent รายงานผลประกอบการของไตรมาสที่ 4 ปี 2020 รายได้รวมเพิ่มขึ้น 26% จากช่วงเดียวกันในปีก่อนเป็น 20,486 ล้านดอลลาร์ และมีกำไรสุทธิ 9,000 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 175% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า Ma Huateng หรือที่รู้จักกันในนาม Pony Ma ซีอีโอของบริษัท กล่าวถึงผลการดำเนินงานตลอดปี 2020 ว่า แม้เป็นปีที่มีความผันผวนและท้าทายมาก แต่ผลลัพธ์ที่ออกมาสะท้อนว่าธุรกิจของบริษัทยังแข็งแกร่ง โดยบริษัทยังคงเป็นผู้นำในผลิตภัณฑ์บนอินเทอร์เน็ต และขยายสู่ตลาดต่างประเทศโดยเฉพาะในธุรกิจเกม

“ในขณะที่ปี 2020 เป็นปีแห่งความท้าทายที่ไม่เคยมีมาก่อน แต่ผลลัพธ์ที่มั่นคงในทุกธุรกิจของเราเป็นเครื่องยืนยันถึงการมุ่งเน้นที่คุณค่าของผู้ใช้นวัตกรรมเทคโนโลยีและความยั่งยืนของธุรกิจ” Ma Huateng ประธานและซีอีโอของTencent กล่าว

หม่า ฮั่วเถิง หรือ โพนี หม่า ซีอีโอและผู้ก่อตั้ง Tencent มหาเศรษฐีอันดับ 1 ของจีน

อย่างไรก็ตาม แม้ Tencent จะเติบโตอย่างมากแต่นักลงทุนก็ยังมีความกังวลว่าบริษัทนั้นมีความเสี่ยงเกี่ยวกับการปราบปรามบริษัทเทคโนโลยีของจีนในข้อหา ‘ผูกขาด’ โดยก่อนหน้าที่ Tencent จะประกาศผลกำไรนั้น หุ้นของบริษัทลดลงประมาณ 1.5% ในฮ่องกง หลังจากที่สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า Jack Ma เพิ่งพบกับเจ้าหน้าที่ต่อต้านการผูกขาด

ที่ผ่านมา มีการรายงานข่าวจากรอยเตอร์ว่า Tencent ได้เข้าพบกับหน่วยงานเฝ้าระวังการแข่งขันของจีนคือ State Administration for Market Regulation (SAMR) เมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา เพื่อหารือเกี่ยวกับแนวปฏิบัติของบริษัทต่อกฎระเบียบใหม่ว่าด้วยการป้องกันการผูกขาดตลาด

Tencent มีการประชุมกับหน่วยงานกำกับดูแลเป็นประจำและนี่เป็นการประชุมตามปกติ เราได้พูดคุยกันในหัวข้อต่างๆ มากมาย โดยมุ่งเน้นไปที่การส่งเสริมนวัตกรรมและการสร้างสภาพแวดล้อมที่ดีต่อการพัฒนาอุตสาหกรรม Tencent มีความมุ่งมั่นและจะดำเนินการต่อไปโดยสอดคล้องกับกฎหมายและข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง”

เทนเซ็นต์ โฮลดิ้ง (Tencent Holdings) บริษัทผู้ให้บริการเกมและโซเชียลเน็ตเวิร์กยักษ์ใหญ่ของจีน
ภาพจากรอยเตอร์

โดยแหล่งข่าว 2 แห่งได้เปิดเผยกับรอยเตอร์เจ้าหน้าที่จีนกำลังมองหาแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการผูกขาดของ WeChat ซึ่งเป็นแอปโซเชียลเน็ตเวิร์กยอดนิยมของ Tencent โดยหน่วยงานกำกับดูแลมีความกังวลเป็นพิเศษว่าแพลตฟอร์มดังกล่าวอาจ “มีการแข่งขันที่เป็นธรรมและบีบคู่แข่งที่มีขนาดเล็ก”

ที่ผ่านมา Ant Group ซึ่งเป็นบริษัทเทคโนโลยีทางการเงินในเครือของอาลีบาบาถูกบังคับให้ระงับการเสนอขายหุ้น IPO มูลค่า 3.7 หมื่นล้านดอลลาร์ ขณะที่ Simon Hu ต้องลาออกจากตำแหน่ง CEO ของ Ant Group หลังจากการปราบปรามด้านกฎระเบียบ

Source

]]>
1325144
จีนเริ่มใช้ ‘วัคซีน พาสปอร์ต’ ประเทศเเรกของโลก เเสดงข้อมูลสุขภาพบน WeChat  https://positioningmag.com/1322618 Tue, 09 Mar 2021 10:14:05 +0000 https://positioningmag.com/?p=1322618 จีนเริ่มใช้วัคซีน พาสปอร์ตเป็นประเทศเเรกของโลก สำหรับนักท่องเที่ยวชาวจีนที่วางเเผนจะเดินทางข้ามพรมแดน โดยจะเเสดงข้อมูลสุขภาพบนเเอปพลิเคชัน WeChat 

จากรายงานของ AFP ระบุว่า รัฐบาลจีนได้เปิดตัวโครงการใบรับรองสุขภาพเเบบดิจิทัล สำหรับพลเมืองจีนที่ต้องการเดินทางระหว่างประเทศ โดยจะมีการแสดงสถานะการฉีดวัคซีนป้องกัน COVID-19 เเละผลการตรวจหาเชื้อไวรัสโคโรนาของผู้ใช้ ผ่านเเพลตฟอร์ม WeChat โซเชียลมีเดียยอดนิยมของจีน

โฆษกกระทรวงต่างประเทศของจีน กล่าวว่า ใบรับรองดังกล่าวมีจุดประสงค์เพื่อส่งเสริมการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก และอำนวยความสะดวกในการเดินทางข้ามพรมแดน ซึ่งขณะนี้เพิ่งเริ่มใช้กับชาวจีนเท่านั้นและไม่บังคับให้ชาวจีนทุกคนต้องใช้

แม้ว่าใบรับรองสุขภาพเเบบดิจิทัลดังกล่าว จะมีไว้สำหรับการเดินทางเข้าและออกจากประเทศจีน เเต่ตอนนี้ยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่ามีประเทศไหนบ้างที่ยอมรับใบรับรองนี้ร่วมกันส่วนทางการจีนเอง ก็ยังไม่ได้ประกาศผ่านปรนมาตรการกักตัว เพื่อดูอาการสำหรับผู้ที่เดินทางมาจากต่างประเทศที่เข้ารับการฉีดวัคซีน

อย่างไรก็ตาม ใบรับรองนี้ถือเป็น Virus Passport หรือ Vaccine Passport ที่มีการเริ่มใช้เป็นรายเเรกของโลก และยังมีบริการในรูปแบบเอกสารกระดาษด้วย

(Photo by Anusak Laowilas/NurPhoto via Getty Images)

ด้านคณะกรรมาธิการยุโรป (EC) เพิ่งเสนอให้มีการออกใบอนุญาตเดินทางระบบดิจิทัล หรือ ‘Digital Green Pass’ เพื่อเปิดพรมเเดนให้ผู้คนเดินทางเเละร่วมกิจกรรมต่างๆ ได้อย่างปลอดภัย พร้อมส่งเสริมอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของประเทศในสหภาพยุโรป โดยคาดว่าจะสามารถเปิดตัวได้ภายใน ‘3 เดือน’ ข้างหน้านี้

ขณะที่เดนมาร์ก’ ประกาศเเผนการใช้ ‘วัคซีน พาสปอร์ต’ เเบบดิจิทัลในช่วงกลางปีนี้ เพื่อฟื้นฟูเศรษกิจ โดยจะเริ่มจากกลุ่มนักธุรกิจและนักลงทุน ที่มีความจำเป็นต้องเดินทางไปต่างประเทศก่อน จากนั้นจะขยายให้ครอบคลุมประชาชนทุกกลุ่ม

ส่วนสหรัฐฯ และอังกฤษ ก็อยู่ในกลุ่มประเทศที่มีการพิจารณาใช้ใบรับรองสุขภาพ ที่มีรูปแบบลักษณะเดียวกันนี้ด้วย

สำนักข่าวซินหัว รายงานว่า โครงการวัคซีน พาสปอร์ตของจีนจะมี QR Code เป็นรหัสที่ช่วยให้แต่ละประเทศได้รับข้อมูลสุขภาพของนักเดินทาง โดยก่อนหน้านี้รัฐบาลเริ่มใช้รหัส QR สุขภาพในเเอปฯ WeChat และแอปฯสมาร์ทโฟนอื่นๆ ของจีน สำหรับชาวจีนที่ต้องการเดินทางในประเทศและเข้าพื้นที่สาธารณะที่ต้องยืนยันสถานะ

อย่างไรก็ตาม ระบบดังกล่าวทำให้เกิดข้อกังวลเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัว และเกรงว่าอาจจะเป็นการขยายการเฝ้าระวังความเคลื่อนไหวของประชาชนของรัฐบาลจีน

 

ที่มา : AFP , Nikkei 

]]>
1322618
รอดตัวไป! ศาลอุทธรณ์สหรัฐฯ ปัดตกคำร้องรัฐบาลสั่งแบน WeChat https://positioningmag.com/1303359 Tue, 27 Oct 2020 16:51:46 +0000 https://positioningmag.com/?p=1303359 สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า วันจันทร์ที่ 26 ต.ค. ศาลอุทธรณ์ของสหรัฐฯ ปฏิเสธคำร้องของกระทรวงยุติธรรมที่ต้องการห้ามการใช้งาน WeChat แอปพลิเคชันส่งข้อความ ชำระเงินผ่านมือถือ และโซเชียลมีเดียของบริษัทเทนเซ็นต์ (Tencent) ของจีน ในสหรัฐฯ โดยทันที

คณะผู้พิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 9 แห่งสหรัฐฯ ระบุว่ารัฐบาลไม่ได้แสดงให้เห็นว่าตนจะ “ได้รับความเสียหายชนิดที่ไม่อาจแก้ไขได้ในระยะเวลาอันใกล้ ระหว่างการรออุทธรณ์ซึ่งถูกเร่งให้ดำเนินการอยู่ในขณะนี้”

เมื่อวันศุกร์ที่ 23 ต.ค. ลอเรล บีเลอร์ ผู้พิพากษาจากศาลแขวงเขตเหนือของรัฐแคลิฟอร์เนีย ยังปฏิเสธการคงคำสั่งห้ามใช้งานวีแชทของรัฐบาลเช่นกัน โดยเธอตัดสินว่า หลักฐานเพิ่มเติมของรัฐบาลนั้น ไม่สามารถเปลี่ยนคำตัดสินของศาลในก่อนหน้านี้ที่ระบุว่าผู้ใช้งานวีแชทในสหรัฐฯ มีสิทธิ์ได้รับคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวก่อนการพิพากษา (Preliminary injunction)

เมื่อวันที่ 20 ก.ย. บีเลอร์ได้ระงับคำสั่งฝ่ายบริหารของโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ที่สั่งห้ามการใช้งานวีแชทในสหรัฐฯ โดยออกคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวก่อนการพิพากษา ซึ่งระบุว่าข้อจำกัดสำหรับแอปวีแชทอาจเป็นการละเมิดสิทธิตามบทบัญญัติเพิ่มเติมในรัฐธรรมนูญ ของผู้ใช้ในสหรัฐฯ หลังจากเมื่อวันที่ 18 ก.ย. กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ ได้ออกคำสั่งห้ามทำธุรกรรมกับวีแชท

“ผลลัพธ์คือ ผู้บริโภคในสหรัฐฯ ไม่สามารถดาวน์โหลดหรืออัปเดตแอปวีแชทเพื่อใช้ส่งหรือรับเงินได้ และเนื่องจากจะมีการทำลายโฮสติ้งและหน่วยความจำ (Caching) สำหรับเก็บข้อมูลของวีแชทในสหรัฐฯ ซึ่งในทางเทคนิคแล้ว แม้จะยังใช้งานได้อยู่ แต่แอปนี้จะไม่มีประโยชน์ใดสำหรับผู้ใช้งานในสหรัฐฯ” บีเลอร์ระบุ

หลังจากนั้นในช่วงต้นเดือนนี้ รัฐบาลสหรัฐฯ ได้ยื่นเรื่องไปยังศาลอุทธรณ์ เพื่อขอให้แก้ไขคำตัดสินของบีเลอร์

ก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 6 ส.ค. ทรัมป์ได้ออกคำสั่งฝ่ายบริหารห้ามมิให้ทำธุรกรรมในสหรัฐฯ ผ่านวีแชท ซึ่งเดิมมีกำหนดบังคับใช้ช่วงดึกของวันที่ 20 ก.ย.

จากนั้น กลุ่มพันธมิตรผู้ใช้งานวีแชทแห่งสหรัฐฯ (U.S. WeChat Users Alliance – USWUA) ได้ออกมาต่อสู้เพื่อสิทธิตามกฎหมายของผู้ใช้งานวีแชททุกคนในสหรัฐฯ ด้วยการยื่นฟ้องเรื่องนี้ ซึ่งศาลได้เปิดคดีในวันที่ 17 ก.ย.

นอกจากกลุ่มพันธมิตรดังกล่าวแล้ว ยังมีโจทก์ซึ่งเป็นผู้ใช้งานรายอื่นที่ออกมาโต้แย้งว่า ในสหรัฐฯ วีแชทเป็นแอปที่ไม่มีแอปพลิเคชันใดสามารถแทนที่ได้

]]>
1303359
ส่องการแข่งขัน ‘อีคอมเมิร์ซจีน’ เมื่อเจ้าตลาดกำลังโดนท้าทายจาก ‘แพลตฟอร์มไลฟ์สด’ https://positioningmag.com/1298451 Wed, 23 Sep 2020 12:12:14 +0000 https://positioningmag.com/?p=1298451 แม้ความร้อนแรงของชาวจีนในการช้อปปิ้งออนไลน์ลดลงในเดือนสิงหาคม ซึ่งเป็นสัญญาณว่าเศรษฐกิจที่ใหญ่เป็นอันดับสองของโลก ยังคงเผชิญกับความท้าทายมากมายจากการพยายามกระตุ้นการบริโภคที่บ้าน ที่ผ่านมารัฐบาลจีนพยายามผลักดันการบริโภคภายในประเทศ เพื่อเป็นตัวขับเคลื่อนหลักในการเติบโตของประเทศแทนที่จะพึ่งพาการส่งออก แต่การเเข่งขันของอีคอมเมิร์ซจีนไม่ได้ทวีความรุนเเรงลงตามเศรษฐกิจเลยเเม้เเต่น้อย

เนื่องจากการระบาดของไวรัส COVID-19 ในปีนี้ได้เร่งการเติบโตการช้อปปิ้งออนไลน์ในจีน โดยส่วนแบ่งของอีคอมเมิร์ซเมื่อเทียบกับยอดค้าปลีกโดยรวมเพิ่มขึ้นจาก 1 ใน 5 เป็น 1 ใน 4 ในปีนี้ และจากการเติบโตดังกล่าว ส่งผลให้ผู้นำตลาดอย่าง ‘Alibaba’ และ ‘JD.com’ กลับต้องเผชิญกับความท้าทายจาก ‘Kuaishou’ แพลตฟอร์มวิดีโอสั้นและไลฟ์สตรีมมิ่งที่มียอดสั่งซื้อสินค้าผ่านแพลตฟอร์มแตะ 500 ล้านหยวนในเดือนสิงหาคม และอ้างว่าอยู่ในอันดับ 4 ตามหลังแพลตฟอร์ม Taobao และ Tmall ของ Alibaba, JD และ Pinduoduo

ส่วน Douyin หรือ TikTok เวอร์ชันภาษาจีนก็ถือเป็นแอปวิดีโอสั้นและไลฟ์สตรีมมิ่งที่ได้รับความนิยมอย่างมาก ได้เปิดเผยว่า ครีเอเตอร์กว่า 22 ล้านคนสร้างรายได้มากกว่า 41,700 ล้านหยวน บนแพลตฟอร์มในจีนในปีที่ผ่านมา และในเดือนสิงหาคม Douyin อ้างว่ามีผู้ใช้งาน 600 ล้านคนต่อวัน

นอกจากนี้ ผู้คนจำนวนมากยังใช้ WeChat สำหรับการช้อปปิ้งผ่านโปรแกรมมินิในแอปฯ ซึ่งมีผู้ใช้งานมากกว่า 400 ล้านคนต่อวัน บริษัทกล่าวว่าปริมาณสินค้าที่ซื้อผ่านโปรแกรมขนาดเล็กเพิ่มขึ้นกว่า 2 เท่าในช่วงเดือนมกราคมถึงสิงหาคมจากปีที่แล้ว ขณะที่ในปีที่ผ่านมา มีปริมาณธุรกรรมผ่าน WeChat สูงถึง 800,000 ล้านหยวน

“ผู้ขายที่พึ่งพาการขายทางออนไลน์อย่างเดียว มีความเสี่ยงสูงที่จะถูกบังคับให้ออกจากตลาด โดยเฉพาะผู้ขายสินค้าที่ไม่จำเป็น อย่างไรก็ตาม ใช้วิธีการแบบ Omni Channel โดยเน้นที่การสร้างความภักดีของผู้บริโภคจะมีความยั่งยืนมากขึ้นในระยะยาว” Imogen Page-Jarrett นักวิเคราะห์การวิจัยของ The Economist Intelligence Unit (EIU) กล่าว

อย่างไรก็ตาม เพราะความไม่แน่นอนเกี่ยวกับรายได้ในอนาคตและการเติบโตทางเศรษฐกิจกำลังพิสูจน์ให้เห็นว่าเป็นสิ่งที่จีนต้องเผชิญ โดย EIU คาดการณ์ว่าตลาดงานในปีนี้จะแย่ที่สุดนับตั้งแต่ทศวรรษ 1960 และยอดค้าปลีกโดยรวมจะหดตัว 4.7% โดยในเดือนมกราคมถึงสิงหาคมยอดค้าปลีกลดลง 8.6% จากปีที่แล้วเหลือ 23.8 ล้านล้านหยวน

แม้ในเดือนสิงหาคมที่ผ่านมายอดค้าปลีกในจีนสามารถเพิ่มขึ้น 0.5% ซึ่งการเติบโตเชิงบวกครั้งแรกในปี 2020 ตามรายงานของสำนักงานสถิติแห่งชาติของจีนเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว แต่กำไรส่วนใหญ่มาจากรถยนต์ซึ่งมียอดขายเพิ่มขึ้น 11.8% หากไม่รวมหมวดหมู่นี้ยอดค้าปลีกสินค้าอุปโภคบริโภคหดตัว 0.6%

“ด้วยความเครียดจากการว่างงาน ดังนั้นการฟื้นตัวของการบริโภคโดยรวมในไตรมาส 4 จะเติบโตมากนัก”

อย่างไรก็ตาม ฐานข้อมูล Wind Information พบว่ายอดขายสินค้าอุปโภคบริโภคและบริการทางออนไลน์เพิ่มขึ้น 13.3% ในเดือนสิงหาคม แต่เติบโตช้ากว่าเดือนกรกฎาคมที่เติบโต 18.8% และลดลงจาก 19% ในเดือนมิถุนายน

“การสูญเสียงานการลดรายได้และการใช้ประโยชน์ที่สูงขึ้นอาจทำให้เกิดจุดอ่อนใหม่ในอุปสงค์ภายในประเทศ”

Source

]]>
1298451
จับตา “สิงคโปร์” เป็นฮับใหม่ของยักษ์เทคฯ จีน…เบนเข็มหาโซนปลอดภัย หนีปมขัดแย้งสหรัฐฯ https://positioningmag.com/1297970 Sun, 20 Sep 2020 13:01:59 +0000 https://positioningmag.com/?p=1297970 บริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ของจีน กำลังเบนเข็มเพิ่มลงทุนธุรกิจไปหาโซนปลอดภัยอย่างสิงคโปร์หลังความขัดเเย้งระหว่างจีนเเละสหรัฐฯ ทีวีความตึงเครียดขึ้นต่อเนื่อง

จากรายงานของ BBC เผยว่า สองยักษ์ใหญ่อย่าง Tencent และ Alibaba กำลังวางเเผนที่จะขยายธุรกิจในสิงคโปร์ ขณะที่ ByteDance บริษัทเเม่ของ TikTok ที่กำลังมีปัญหากับรัฐบาลสหรัฐฯ อยู่ ณ ขณะนี้ ก็มีเเผนลงทุนหลายพันล้านดอลลาร์สหรัฐในสิงคโปร์เร็วๆ นี้ด้วย

ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลวอชิงตันกับรัฐบาลปักกิ่ง กำลังตึงเครียดมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะบรรดาบริษัทเทคโนโลยีใหญ่ที่กำลังตกเป็นเป้าหมาย เเละดูเหมือนสิงคโปร์จะกลายเป็นประเทศปลอดภัยในความขัดเเย้งนี้เพราะมีความสัมพันธ์ที่ดีกับทั้งสหรัฐฯ และจีนมาโดยตลอด

Tencent เทคฯ ยักษ์ใหญ่ของ หม่า ฮั่วเถิง” มหาเศรษฐีที่รวยที่สุดของจีน ซึ่งเป็นผู้ให้บริการแอปแชทยอดนิยมอย่าง Wechat ประกาศตั้งสำนักงานประจำเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แห่งใหม่ในสิงคโปร์ เมื่อ 15 ..ที่ผ่านมา โดยให้เหตุผลว่า การขยายธุรกิจในสิงคโปร์จะช่วยส่งเสริมกลยุทธ์ของธุรกิจที่กำลังเติบโตในอาเซียนและพื้นที่อื่น ๆ

ก่อนหน้านี้ รัฐบาลสหรัฐฯ สั่งห้ามการดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน WeChat และ TikTok โดยจะมีผลตั้งแต่วันอาทิตย์ที่ 20 .. ด้วยข้ออ้างที่ว่าแอปฯ สัญชาติจีนดังกล่าวเป็นภัยต่อความมั่นคงของชาติ 

ล่าสุด Tencent ได้เปลี่ยนชื่อ WeChat เป็น WeCom เพื่อเป็นทางเลือกให้ผู้ใช้ก่อนที่จะถูกแบนที่ผู้ใช้งานเฉลี่ย 19 ล้านคนต่อวันในอเมริกา ดังนั้น ผลกระทบจากการถูกแบนจึงมีมากกว่า TikTok เพราะอาจทำให้ผู้ใช้ได้รับผลกระทบจากระบบการโอนเงิน จ่ายเงิน ที่อาจล่าช้าหรือติดขัดตั้งแต่คืนวันอาทิตย์ที่ 20 ..เป็นต้นไป

ด้าน Alibaba บิ๊กเทคโนโลยีจีนอีกราย มีเเผนจะขยายลงทุนในสิงคโปร์ ซึ่งจะมีการทุ่มเงินเพื่อเพิ่มลงทุนใน Lazada เเละ Grab ซึ่งกำลังอยู่ระหว่างการเจรจา ขณะที่ ByteDance บริษัทเเม่ของ TikTok ก็มีเเผนจะลงทุนหลายพันล้านดอลลาร์สหรัฐในสิงคโปร์เร็ว ๆ นี้ อีกทั้งบริษัทยังได้ยื่นขออนุญาตจัดตั้ง “ธนาคารดิจิทัล” จากธนาคารกลางสิงคโปร์ โดยร่วมมือกับฟินเทคอย่าง Ant Financial ของ Alibaba เเละ Sea ของ Tencent ด้วย 

“ความตึงเครียดระหว่างจีนกับสหรัฐฯ มีความเสี่ยงที่จะเกิดการแยกระบบเทคโนโลยีของโลกออกจากกัน ดังนั้นเหล่าบริษัทเทคทั้งหลายจึงต้องหาทางดำเนินธุรกิจทั้งภายในและภายนอกประเทศจีน” Tommy Wu จาก Oxford Economics ให้ความเห็นกับ BBC 

ที่ผ่านมา สิงคโปร์เป็นประเทศเนื้อหอมที่บรรดาธุรกิจเทคโนโลยีต่างชาติให้ความเชื่อมั่น ทั้งในเเง่ในแง่ของระบบการเงินและกฎหมายที่ก้าวหน้า เเละตอนนี้ สิงคโปร์ยังเป็นพื้นที่มั่นคงในสายตาบริษัทจีนต่างๆ ทั้งในแง่ความเป็นกลางระหว่างจีนกับสหรัฐฯ การเป็นศูนย์กลางนวัตกรรมของภูมิภาค หลีกหนีจากความวุ่นวายทางการเมืองในฮ่องกงได้ 

อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจสิงคโปร์บอบช้ำจากพิษ COVID-19 มากกว่าที่ประเมินไว้ เช่นเดียวกับหลายประเทศทั่วโลก บ่งชี้สัญญาณการฟื้นตัวที่ต้องใช้เวลานาน โดยตัวเลขจีดีพีในไตรมาส 2 หดตัวถึง 42.9% เมื่อเทียบกับไตรมาสแรกของปี 2020 พร้อมหั่นคาดการณ์เศรษฐกิจทั้งปีนี้ เป็นติดลบ 5-7% จากเดิมที่เคยคาดไว้ที่ 4-7% 

Photo : Shutterstock

Nick Redfearn จากบริษัทปรึกษาธุรกิจ Rouse ให้ความเห็นว่า ปกติเเล้ว สำนักงานใหญ่ที่มาเปิดประจำภูมิภาคจะดำเนินธุรกิจแทนบริษัทแม่ ทำหน้าที่เป็นผู้ลงทุนต่อในประเทศอื่น ๆ ทั้งในฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย และเวียดนาม ซึ่งช่วยให้บรรดาบริษัทจีนหลีกเลี่ยงการเปิดเผยตัวว่าเป็นทุนจีนโดยตรงได้

อย่างไรก็ตาม ความเห็นอีกมุมจาก Rui Ma นักลงทุนและผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีจีน มองว่า ความเคลื่อนไหวของบริษัทเทคฯ จีนที่สนใจลงทุนสิงคโปร์มากขึ้น ก็ไม่ต่างจากการเข้ามาตั้งสำนักงานใหญ่ประจำภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกในสิงคโปร์ของบริษัทเทคโนโลยีตะวันตก อย่าง Google, Facebook, LinkedIn และอื่นๆ อีกมากมาย ซึ่งความขัดแย้งจีนกับสหรัฐฯ เป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น แต่ไม่ใช่สาเหตุหลักที่ต้องย้ายธุรกิจ เเต่เป็นการที่บริษัทจีนมองเห็นโอกาสระยะยาวในการขยายธุรกิจทั้งในระดับภูมิภาคและระดับโลก

ถ้าบริษัทตะวันตกสามารถก้าวสู่ระดับโลกได้ ทำไมบริษัทจีนจะทำไม่ได้” Rui Ma กล่าว

 

ที่มา : BBC 

 

]]>
1297970
‘Tencent’ เปลี่ยนชื่อ ‘WeChat’ เป็น ‘WeCom’ แก้ปัญหาโดนสหรัฐฯ แบน https://positioningmag.com/1297958 Sun, 20 Sep 2020 04:08:08 +0000 https://positioningmag.com/?p=1297958 รัฐบาลสหรัฐฯ สั่งห้ามการดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน WeChat และ TikTok โดยจะมีผลตั้งแต่วันอาทิตย์ที่ 20 ก.ย. ด้วยข้ออ้างที่ว่าแอปฯ สัญชาติจีนดังกล่าวเป็นภัยต่อความมั่นคงของชาติ ‘Tencent’ บริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ของจีนผู้เป็นเจ้าของ WeChat จึงได้เปลี่ยนชื่อ WeChat เป็น WeCom เพื่อเป็นทางเลือกให้ผู้ใช้ก่อนที่จะถูกแบน

เนื่องจาก WeChat ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มที่ให้บริการทั้งการส่งข้อความ, เครือข่ายสังคมออนไลน์ และการชำระเงินผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ โดยมีผู้ใช้งานเฉลี่ย 19 ล้านคนต่อวันในสหรัฐอเมริกา ดังนั้น ผลกระทบจากการถูกแบนจึงมีมากกว่า TikTok เพราะอาจทำให้ผู้ใช้ได้รับผลกระทบจากระบบการโอนเงิน จ่ายเงิน ที่อาจล่าช้าหรือติดขัดตั้งแต่คืนวันอาทิตย์ที่ 20 ก.ย. เป็นต้นไป

ดังนั้น Tencent จึงได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้า WeCom เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม ตามสำนักงานสิทธิบัตรและเครื่องหมายการค้าแห่งสหรัฐอเมริกา เพื่อให้เป็นทางเลือกในการส่งข้อความของผู้ใช้บริการ ซึ่ง WeCom ไม่อยู่ภายใต้ขอบเขตของการห้ามทำธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับ WeChat ในสหรัฐอเมริกา เนื่องจากไม่มีข้อบ่งชี้ว่า Tencent ได้ให้การสนับสนุน WeCom ในสหรัฐอเมริกาอย่างจริงจัง

ทั้งนี้ หลังจากดาวน์โหลด WeCom ผู้ใช้สามารถเชื่อมโยงบัญชี WeChat ของพวกเขาและเพิ่มผู้ติดต่อ WeChat ของพวกเขาได้แล้ว จากนั้นผู้ใช้ WeCom สามารถส่งข้อความสร้างกลุ่มแชทและรับเงินเสมือนจริงจากเพื่อน WeChat โดยที่ผู้ติดต่อ WeChat ไม่ต้องดาวน์โหลด WeCom

Source

]]>
1297958
เอาจริง! “ทรัมป์” สั่งห้ามดาวน์โหลด TikTok – WeChat ตั้งแต่วันอาทิตย์นี้ อ้างภัยความมั่นคง https://positioningmag.com/1297915 Sat, 19 Sep 2020 07:11:29 +0000 https://positioningmag.com/?p=1297915 รัฐบาลสหรัฐฯ สั่งห้ามการดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน WeChat และ TikTok โดยจะมีผลตั้งแต่วันอาทิตย์ที่ 20 ก.ย. ด้วยข้ออ้างที่ว่าแอปฯ สัญชาติจีนดังกล่าวเป็นภัยต่อความมั่นคงของชาติ

คำสั่งที่สหรัฐฯ ประกาศเมื่อวันศุกร์ที่ 18 ก.ย. ยังไม่ได้เป็นการแบนอย่างครอบคลุมเสียทีเดียว โดยเฉพาะกับ TikTok เนื่องจากจะทำให้ไม่สามารถดาวน์โหลดแอปฯ ใหม่ หรือทำการอัปเดตได้เท่านั้น ซึ่งถือว่าเป็นการผ่อนผันให้ไบต์แดนซ์ (ByteDance) บริษัทแม่สัญชาติจีนของ TikTok ได้มีเวลาหายใจหายคอเพื่อดันข้อตกลงสานต่อธุรกิจในอเมริกาต่อไป

WeChat ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มที่ให้บริการทั้งการส่งข้อความ, เครือข่ายสังคมออนไลน์ และการชำระเงินผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ จะเผชิญข้อจำกัดที่รุนแรงกว่าตั้งแต่วันที่ 20 ก.ย. ในขณะที่ผู้ใช้ TikTok ในอเมริกาจะยังไม่ได้รับผลกระทบมากนักจนกว่าจะถึงวันที่ 12 พ.ย. ซึ่งคำสั่งแบนธุรกรรมทางเทคนิคบางอย่างจะเริ่มมีผลบังคับอย่างจริงจัง

“เราไม่เห็นด้วยกับการตัดสินใจของกระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ และรู้สึกผิดหวังที่สหรัฐฯ จะห้ามการดาวน์โหลดแอปฯ ตั้งแต่วันอาทิตย์ และแบนการใช้ TikTok ในสหรัฐฯ หลังวันที่ 12 พ.ย. เราจะยังคงเดินหน้าคัดค้านคำสั่งบริหารที่ไม่เป็นธรรมนี้ต่อไป” ไบต์แดนซ์ ระบุในถ้อยแถลง

Photo : Shutterstock

ด้านกระทรวงพาณิชย์จีนก็ออกมาประกาศ “คัดค้านอย่างแน่วแน่” และเรียกร้องให้สหรัฐฯ หยุดพฤติกรรมข่มขู่และการกระทำที่ไม่ถูกต้องเสีย

“ถ้าฝ่ายสหรัฐฯ ยังดึงดันที่จะใช้วิธีนี้ จีนก็จะใช้มาตรการตอบโตที่จำเป็นเพื่อปกป้องสิทธิและผลประโยชน์อันชอบธรรมของบริษัทจีน” กระทรวงพาณิชย์จีนระบุ โดยไม่ได้ให้รายละเอียดเพิ่มเติม

ระหว่างให้สัมภาษณ์เมื่อวันที่ 18 ก.ย. ผู้นำสหรัฐฯ ไม่ได้เอ่ยชัดเจนว่าเขาสนับสนุนดีล TikTok หรือไม่ แต่บอกว่าเรื่องนี้อาจจะดำเนินการให้แล้วเสร็จได้ “อย่างรวดเร็ว”

“เรามีทางเลือกที่ยอดเยี่ยมอยู่บ้าง และบางทีเราอาจจะทำให้คนจำนวนมากแฮปปี้ได้ เราจำเป็นต้องปกป้องอเมริกาให้ปลอดภัยจากจีน” ทรัมป์ บอกกับสื่อมวลชน

วิลเบอร์ รอสส์ รัฐมนตรีกระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ ยืนยันกับฟ็อกซ์บิสสิเนสว่า “แอปฯ TikTok แบบเบสิกจะยังคงใช้งานได้ไปจนถึงวันที่ 12 พ.ย.”

Photo : Shutterstock

ทั้งนี้ คำสั่งห้ามดาวน์โหลดอาจถูก ทรัมป์ สั่งยกเลิกก่อนจะมีผลบังคับใช้ก็ได้ ถ้าระหว่างนี้ไบต์แดนซ์ และออราเคิล (Oracle) สามารถบรรลุข้อตกลงที่ตอบสนองข้อกังวลต่างๆ ของสหรัฐฯ เกี่ยวกับความปลอดภัยของข้อมูลผู้ใช้

รัฐบาล ทรัมป์ พยายามกำจัดสิ่งที่เขาเรียกว่าเป็น “แอปฯ จีนที่ไม่น่าไว้วางใจ” ให้หมดไปจากเครือข่ายดิจิทัลในสหรัฐฯ ท่ามกลางความตึงเครียดกับปักกิ่งทั้งในเรื่องสงครามการค้า, ปัญหาสิทธิมนุษยชน รวมไปถึงการช่วงชิงความเป็นหนึ่งในด้านเทคโนโลยีระหว่าง 2 มหาอำนาจ

สำหรับคำสั่งแบน WeChat นั้นจะทำให้ผู้ใช้ในสหรัฐฯ ได้รับผลกระทบจากระบบการโอนเงิน จ่ายเงิน ที่อาจล่าช้าหรือติดขัดตั้งแต่คืนวันอาทิตย์ที่ 20 ก.ย. เป็นต้นไป

เทนเซ็นต์ โฮลดิงส์ ซึ่งเป็นผู้พัฒนาแอปฯ WeChat วิจารณ์คำสั่งของสหรัฐฯ ว่าเป็นเรื่อง “น่าเสียดาย” แต่ก็ยืนยันว่าพร้อมจะเจรจากับวอชิงตันและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในสหรัฐฯ เพื่อแสวงหาทางออกในระยะยาว

Source

]]>
1297915
‘AirAsia’ เบรกเรื่องบิน หันมาปั้น ‘ซูเปอร์แอป’ ท้าชน ‘Grab’ ‘Gojek’ และ ‘Wechat’ https://positioningmag.com/1294932 Tue, 01 Sep 2020 07:27:10 +0000 https://positioningmag.com/?p=1294932 AirAsia ผู้ให้บริการสายการบินต้นทุนต่ำรายใหญ่ที่สุดของอาเซียน ที่โดนพิษของ COVID-19 จนต้องปลดพนักงานกว่า 30% แถมยังจะมีการปรับลดเงินเดือนพนักงานที่เหลืออยู่ลงระหว่าง 15-75% อีกด้วย ดังนั้น ดูเหมือนว่าธุรกิจสายการบินจะยังต้องรอเวลา ส่งผลให้ Tony Fernandes ผู้ก่อตั้ง AirAsia จึงมีแนวคิดที่จะทำ ‘ซูเปอร์แอป’

Tony Fernandes ผู้ก่อตั้ง AirAsia ระบุว่า ในฐานะหัวหน้าสายการบินเขาได้มองหาวิธีใหม่ ๆ ในการสร้างรายได้ โดยมีแนวคิดที่จะสร้าง ‘ซูเปอร์แอป’ ตัวต่อไปของภูมิภาค โดยต้องการที่จะแข่งขันกับ Grab, GoJek และ WeChat ด้วยแอปแบบครบวงจรสำหรับการจัดส่งอาหาร การช้อปปิ้ง การชำระเงิน ความบันเทิงและการเดินทาง

“ความตกต่ำเป็นพรที่แฝงอยู่ในบางแง่มุม เนื่องจากทำให้เรามุ่งเน้นไปที่เรื่องอื่นนอกจากสายการบินนี้มากขึ้น ซึ่งเราได้รับโอกาสและเวลาในการมุ่งเน้นไปที่ธุรกิจดิจิทัลของเรา ดังนั้น เราต้องใช้เวลาช่วงที่การเดินทางที่ลดลงเพราะ COVID-19 ในการปรับปรุงแอป AirAsia และแพลตฟอร์มการชำระเงิน BigPay ของบริษัท”

(Photo by Ezra Acayan/Getty Images)

ทั้งนี้ AirAsia มี ฐานข้อมูลที่สมบูรณ์ ซึ่งมีผู้ใช้มากกว่า 60 ล้านคนเป็นจุดเริ่มต้น

“แอร์เอเชียเป็นบริษัทดิจิทัลมาโดยตลอดเราเป็นหนึ่งในสายการบินแรก ๆ ที่ขายตั๋วออนไลน์ เรารู้ดีว่าซูเปอร์แอปดูเหมือนเป็นเป้าหมายที่ไกลเกินเอื้อม แต่ Grab และ GoJek ก็เริ่มต้นจากเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ ในฐานะแอปอาหารหรือการรับส่งคน”

อย่างไรก็ตาม แนวคิดที่แหวกแนวนี้ไม่ได้เกิดขึ้นครั้งแรก แต่เมื่อปีที่แล้ว AirAsia ได้เปิดตัวค่ายเพลงของตัวเองชื่อ RedRecords ร่วมกับ Universal Music จุดมุ่งหมายคือการค้นหาดาราจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่จะดึงดูดผู้ชมชาวตะวันตก รวมถึงช่วยให้ Air Asia มีส่วนร่วมกับผู้ชมที่อายุน้อยและให้เนื้อหามากมายสำหรับแอป

Source

]]>
1294932
กินหมดแลกแต้ม! จีนใช้โปรแกรม AI ใน WeChat ปลูกฝังเทรนด์ใหม่ “กินเกลี้ยงจาน” https://positioningmag.com/1294117 Tue, 25 Aug 2020 15:41:37 +0000 https://positioningmag.com/?p=1294117 (สำนักข่าวซินหัว) หลังจากกินอาหารเย็นเสร็จ หลินซวี่เปิดมินิโปรแกรมวีแชทที่ชื่อว่า “เกลี้ยงจาน” ในโทรศัพท์และถ่ายรูปจานเปล่าที่กินเสร็จแล้ว ก่อนที่เขาจะได้รับคะแนนเครดิต 157 คะแนนหลังจากภาพถูกอัปโหลดและอ่านค่าด้วยระบบ AI

หลินซวี่เล่าว่า “ผู้ใช้โปรแกรมสามารถนำเครดิตไปแลกเปลี่ยนเป็นของขวัญต่างๆ เช่น หนังสือ โทรศัพท์มือถือ ไวน์แดง หรือจะบริจาคเป็นค่าอาหารให้กับเด็กๆ ในพื้นที่ยากจนก็ได้”

หลินซวี่ผู้เป็นชาวเซี่ยงไฮ้ใช้โปรแกรมดังกล่าวมาแล้วหลายครั้งเพื่อบันทึกว่าตัวเอง “กินเกลี้ยงจาน” เขายังเข้าร่วมกับกลุ่มคนที่เห็นพ้องต้องกันในกิจกรรมนี้ เพื่อร่วมรณรงค์ลดการสร้างขยะอาหารตามนโยบายของประเทศ

แคมเปญ “กินเกลี้ยงจาน” กำลังได้รับความนิยมทางออนไลน์ทั่วประเทศจีน ทั้งสื่อมวลชน หน่วยงานรัฐบาล องค์กรทางสังคม และอินฟลูเอนเซอร์ในอินเทอร์เน็ตต่างร่วมกันส่งต่อข้อความรณรงค์ลดขยะอาหารทางออนไลน์

บริษัทรับจัดเลี้ยง และร้านอาหารยังให้ความร่วมมือในการหยุดสร้างขยะอาหาร และส่งเสริมการกินอย่างรู้คุณค่า โดยมีการสร้างสภาพแวดล้อมที่คอยย้ำเตือนให้ผู้บริโภคไม่กินทิ้งกินขว้าง พวกเขายังได้รับการสนับสนุนให้จัดปริมาณอาหารอย่างหลากหลายเพื่อให้ลูกค้ามีทางเลือกมากขึ้น

มินิโปรแกรม “เกลี้ยงจาน” ได้รับความนิยมในหมู่หนุ่มสาวชาวจีนเป็นอย่างมาก ปัจจุบันมีผู้ใช้โปรแกรมเกือบ 1 ล้านคน นอกจากนี้ยังมีแคมเปญที่คล้ายกันเช่น “จานเปล่าชาเลนจ์” ในมหาวิทยาลัยหลายแห่งของจีน

หลิ่วจี้เชิน ผู้ก่อตั้งสตาร์ตอัปที่พัฒนาโปรแกรมดังกล่าวให้ความเห็นว่า “นวัตกรรมทางเทคโนโลยีเป็นวิธีที่ดีในการลดขยะอาหาร”

กล่องใส่อาหารกลับบ้านที่เตือนลูกค้าไม่ให้กินอาหารเหลือทิ้งที่ร้านอาหารในเขตเฉียวซีของเมืองสือเจียจวง มณฑลเหอเป่ยทางเหนือของจีน

ความคิดนี้ผุดขึ้นมาตอนที่หลิ่วไปกินอาหารเย็นที่ร้านอาหารแห่งหนึ่งในปี 2017 หลิ่วพบว่าร้านอาหารมอบบัตรสะสมแต้มให้กับลูกค้าที่กินอาหารหมดจาน และมอบของขวัญเล็กๆ น้อยๆ ให้ เมื่อสะสมแต้มครบจำนวนที่กำหนด

“ทุกคนที่เห็นคุณค่าของอาหารจะมีความสุขที่ได้รับประโยชน์ โดยที่ไม่ต้องลงทุนอะไรมากมายเลย” หลิ่วกล่าวว่าแนวคิดดังกล่าวสามารถเป็นจริงได้ทางอินเทอร์เน็ต และเขาก่อตั้งทีมงานขึ้นมาเพื่อทำโครงการนี้

ถึงกระนั้น ก็ยังเป็นเรื่องท้าทายสำหรับระบบ AI ในการระบุว่าจานไม่มีอาหารเหลือแล้วจริง หรือไม่ผ่านทางรูปภาพที่อัปโหลด

เพื่อพัฒนาระบบเอไอให้ฉลาดขึ้น หลิ่วกับทีมงานใช้เวลาครึ่งปีในการรวบรวมตัวอย่างภาชนะกว่า 100,000 ตัวอย่างในโรงอาหาร และร้านอาหารทั่วประเทศ พร้อมเก็บข้อมูลจากคนหลายพันคน และนำข้อมูลเหล่านั้นมาประยุกต์ใช้กับโครงข่ายประสาทเทียม

องค์กร สถาบัน และร้านอาหารหลายสิบแห่งติดต่อกับบริษัทเพื่อร่วมโครงการ ผู้คนสามารถเห็นผลลัพธ์ที่ดีของการกินอาหารอย่างคุ้มค่าผ่านโปรแกรมดิจิทัลที่แสดงผลชัดเจน ซึ่งจะช่วยลดขยะได้อย่างมีประสิทธิภาพ

“เราหวังว่าความพยายามของเราจะช่วยสร้างค่านิยมในหมู่คนรุ่นใหม่ ส่งเสริมให้พวกเขารู้คุณค่าของอาหารและฝึกนิสัยไม่ฟุ่มเฟือย” หลิ่วกล่าว

]]>
1294117