AstraZeneca – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Tue, 26 Dec 2023 13:45:37 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 “AstraZeneca” จ่อเข้าซื้อ “Gracell” บริษัทยาสัญชาติ “จีน” รุกหนักในตลาดแดนมังกร https://positioningmag.com/1457270 Tue, 26 Dec 2023 13:07:19 +0000 https://positioningmag.com/?p=1457270 AstraZeneca ประกาศจ่อเข้าซื้อบริษัทยา Gracell Biotechnologies ในประเทศ “จีน” ด้วยมูลค่าดีล 1,200 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 41,000 ล้านบาท) เพื่อต่อยอดการทำตลาดในแดนมังกร ตลาดยาและเวชภัณฑ์ที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลก และช่วยเพิ่มพอร์ตยาให้บริษัทโดยเฉพาะลิขสิทธิ์งานวิจัยรักษา “มะเร็ง”

ข่าวนี้ทำให้ราคาหุ้นของ Gracell ซึ่งเป็นบริษัทจีนที่จดทะเบียนอยู่ในตลาดหุ้นสหรัฐฯ พุ่งขึ้นทันที 65% ในวันนี้ (26 ธันวาคม 2023)

โดยฝั่ง AstraZeneca บริษัทลูกครึ่งอังกฤษ-สวีเดนนั้นถือเป็นหนึ่งในบริษัทผลิตยาที่มีมาร์เก็ตแชร์มากที่สุดในทวีปเอเชีย และตลาดเอเชียนั้นเป็นคิดเป็นสัดส่วน 13% ของยอดขายบริษัทเมื่อปี 2022

“ดีลนี้จะช่วยให้ AstraZeneca มีศักยภาพมากขึ้นในการลงทุนด้านเซลล์บำบัด (Cell Therapy) โดยเราเริ่มมีการลงทุนวิจัยการรักษามะเร็งด้วย CAR-T Cell แล้ว” Susan Galbraith รองประธานด้านการวิจัยมะเร็งวิทยาของ AstraZeneca กล่าว

การรักษามะเร็งด้วย CAR-T Cell เป็นกระบวนการนำเลือดจากคนไข้หรือผู้บริจาคไปผ่านกระบวนการทางพันธุวิศวกรรม เพื่อสร้างเซลล์ที่มีความสามารถในการทำลายเซลล์มะเร็งกลับเข้าไปในร่างกายผู้ป่วย ซึ่งทาง Gracell เป็นเจ้าของนวัตกรรม FasTCAR ซึ่งช่วยทำให้เซลล์ที่จะกลับเข้าไปทำลายเซลล์มะเร็งแข็งแรงมากยิ่งขึ้น พัฒนาประสิทธิภาพในการรักษาผู้ป่วย

การเข้าซื้อกิจการครั้งนี้จะทำให้ AstraZeneca ได้กระแสเงินสดและการลงทุนระยะสั้นของ Gracell ที่คิดเป็นมูลค่า 234.1 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 8,000 ล้านบาท) เข้ามาด้วย โดยคาดว่าดีลเข้าซื้อจะเสร็จสิ้นสมบูรณ์ภายในไตรมาสแรกของปี 2024

เมื่อเดือนที่แล้ว AstraZeneca เพิ่งจะตกลงเข้าซื้อลิขสิทธิ์ยาลดความอ้วนที่ยังอยู่ในช่วงทดลองจาก Eccogene บริษัทยาในจีน รวมถึงย้อนไปเมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา บริษัทก็เพิ่งจะเซ็นสัญญาจ้างผลิตเทคโนโลยีวัคซีน mRNA กับ CanSino Biologics ด้วย

รวมแล้วปีนี้ AstraZeneca มีการเซ็นสัญญาดีลกับบริษัทยาสัญชาติจีนไปแล้ว 3 สัญญา 3 บริษัท และยังเตรียมจะเข้าซื้อบริษัทยาของจีนอีกด้วย สะท้อนการรุกเข้าสู่ตลาดแดนมังกรอย่างชัดเจน

Source

]]>
1457270
หุ้น​ COVID-19 ตัวไหนปัง! พร้อมชี้เป้า ETF ลงทุนรับดีมานด์ทั่วโลก https://positioningmag.com/1347296 Sat, 21 Aug 2021 14:18:56 +0000 https://positioningmag.com/?p=1347296
ตอนนี้…เวลานี้ ใครๆ ก็เรียกหาวัคซีนป้องกัน COVID-19 เพราะพวกเรารู้ว่า วัคซีนจะเป็นหนทางเดียวที่จะทำให้โลกของเราเอาชนะโรคระบาดครั้งสำคัญนี้ได้ แต่การผลิตวัคซีน รวมไปถึงจัดสรรและกระจายตามความต้องการของแต่ละประเทศทั่วโลก ยังทำได้ไม่ทั่วถึง จำเป็นต้องใช้เวลาอย่างมาก

อัปเดตถึงวันที่ 11 สิงหาคม 2564 ประชากรในสัดส่วน 30.02% ทั่วโลกได้รับวัคซีนอย่างน้อย 1 โดส และสัดส่วน 15.7% คือประชากรที่ได้รับวัคซีนครบ 2 โดสแล้ว ยังไม่ใช่สัดส่วนที่จะเกิดภูมิคุ้มกันหมู่ หรือทำให้แต่ละประเทศเปิดพรมแดนเพื่อออกเดินทางกันอีกครั้ง

กว่า 8 เดือน นับตั้งแต่เดือนธันวาคม 2563 จนถึงสิงหาคม 2564 ที่กระจายวัคซีนไปแล้วกว่า 4,480 ล้านโดสทั่วโลก ตราบใดที่เชื้อไวรัส COVID-19 ยังสามารถกลายพันธุ์ไปได้อีกหลายสายพันธุ์ ทำให้เกิดการระบาดได้อย่างรวดเร็วและอาการมีความรุนแรงมากขึ้น การพัฒนาวัคซีนให้ดียิ่งขึ้นไปอีก…มีความจำเป็นอย่างมาก

ถ้าเชื้อไวรัสนี้ยังอยู่ ความต้องการวัคซีนก็ยังมีอยู่อย่างต่อเนื่อง เป็น Recurring Demand เหมือนกับการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ ที่เราฉีดทุกปี

นั่นหมายว่า การวิจัยและพัฒนาวัคซีนป้องกัน COVID-19 จะไม่ได้จบเพียงเท่านี้ กำลังการผลิตจะเพิ่มขึ้น การลงทุนใหม่ๆ จะตามมา บริษัทไหนที่อยู่ในแวดวงวิทยาศาสตร์และการแพทย์ มีความเกี่ยวข้องกับการพัฒนาวัคซีน…กำลังเป็นโอกาสลงทุนครั้งสำคัญ

หุ้นวัคซีน COVID-19 ราคาขึ้นแรง

รู้หรือไม่ว่า… โดยทั่วไปแล้วการพัฒนาวัคซีนในแต่ละชนิด ใช้เวลาตั้งแต่ 5-10 ปี หรืออาจจะนานกว่านั้น จนกว่าจะผลิตวัคซีนมีคุณภาพที่ดี ซึ่งไม่ง่ายนัก… ที่จะเอาชนะโรคระบาดที่สามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา

แต่สำหรับ COVID-19 นับเป็นโรคอุบัติใหม่ ที่ยังไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ห้วงเวลาการคิดค้นและพัฒนาวัคซีนใช้เวลาไม่ถึง 9 เดือน ตัดขั้นตอนการทดสอบหลายระดับ ให้เหลือเพียง 3 ระยะ เพื่อให้ได้วัคซีนที่มีประสิทธิภาพมากพอในระดับที่สามารถใช้ได้ในร่างกายมนุษย์

Photo : Shutterstock

นอกจากนี้รัฐบาลแต่ละประเทศต่างเร่งรัดรับรองการใช้วัคซีน COVID-19 เป็นการฉุกเฉิน (Emergency Use) เพราะการแพร่ระบาดจนมีผู้เสียชีวิตทั่วโลกรวมๆ กว่า 4.328 ล้านคน (ณ วันที่ 11 สิงหาคม 2564) ไม่ใช่ตัวเลขน้อยๆ

เมื่อเวลาไม่คอยท่า แต่ละบริษัทในกลุ่มบริการสุขภาพทั่วโลกต่างเร่งสปีดพัฒนาวัคซีน บางบริษัทได้รับงบสนับสนุนจากรัฐบาล จึงเป็นที่มาของวัคซีนป้องกัน COVID-19 เพื่อกระตุ้นการตอบสนองต่อภูมิคุ้มกัน หรือกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกัน มีอยู่ 4 ประเภท ได้แก่

1.Genetic Vaccine

วัคซีนที่ถูกพัฒนาโดยใช้ยีนของไวรัส หรือที่เรารู้จักกันว่า วัคซีน mRNA (Messenger RNA) ปัจจุบันมี 2 ผู้ผลิต ได้แก่ Pfizer (ร่วมกับ BioNTech ของเยอรมนี) และ Moderna จากสหรัฐฯ

โรคระบาด COVID-19 กลายเป็นตัวเร่งครั้งสำคัญที่ทำให้เกิดวัคซีน mRNA แรกของโลก โดยมีรายงานว่า ให้ประสิทธิภาพป้องกัน และไม่ทำให้เจ็บป่วยรุนแรงได้สูงถึง 94-95% [4]

vaccine covid-19 pfizer
Photo : Shutterstock

นอกจากนี้วัคซีน mRNA ยังมีรายงานด้วยว่า ยังมีประสิทธิภาพสูงในการป้องกันเชื้อไวรัสกลายพันธุ์ได้ เช่น สายพันธุ์อินเดีย (เดลตา) เป็นต้น

ส่งผลให้ความต้องการวัคซีน mRNA พุ่งสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง หลายประเทศต่างเร่งรัดส่งคำสั่งซื้อหลายล้านโดส เพื่อยับยั้งการแพร่ระบาดโดยเร็วที่สุด จนมีข่าวว่าภูมิภาคอาเซียนมียอดคำสั่งซื้อเต็มโควตาปี 2564 แล้ว หากต้องการจะสั่ง ต้องรอปีต่อไป [6]

สำหรับ 3 บริษัทที่พัฒนาวัคซีน มีราคาหุ้นขึ้นอย่างเห็นได้ชัดในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา ได้แก่ Moderna (+534.3%) BioNTech (+463.22%) และ Pfizer (+32.43%) (ข้อมูล ณ วันที่  11 สิงหาคม 2564)

Photo : Shutterstock

ด้วยเหตุผลของประสิทธิภาพของวัคซีน mRNA สูงพอที่จะป้องกันหลากหลายสายพันธุ์ของ COVID-19 ทำให้มีหลายบริษัทเตรียมที่จะพัฒนาวัคซีนประเภทนี้ด้วย เช่น

  • Sanofi จะลงทุน 400 ล้านยูโรเพื่อพัฒนาและผลิตวัคซีน mRNA เพื่อเป็นอีกทางเลือกในการต่อสู้กับ COVID-19
  • Fosun Pharma เซ็นร่วมมือกับ BioNTech เพื่อผลิตวัคซีน mRNA ในจีน กำลังการผลิต 1,000 ล้านโดส ลงทุนร่วมกัน 200 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

แต่ก็มีรายงานว่า วัคซีน mRNA มีผลข้างเคียงเรื่องกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ (Heart Inflammation) โดยองค์การอาหารและยาสหรัฐ (FDA) ได้เพิ่มคำเตือนลงไปในฉลากวัคซีนด้วย

2. Viral Vector Vaccine

วัคซีนที่ถูกพัฒนาโดยใช้ไวรัสที่ทำให้อ่อนลง และไม่ก่อให้เกิดโรค มาตัดต่อใส่สารพันธุกรรมของ COVID-19 ปัจจุบันมี 4 แบรนด์ที่พัฒนาวัคซีนประเภทนี้ ได้แก่ AstraZeneca (ร่วมกับ University of Oxford) จากสหราชอาณาจักร, Johnson & Johnson จากสหรัฐฯ, CanSino Biologics จากจีน และ Sputnik V (Gamaleya Research Institute of Epidemiology and Microbiology) จากรัสเซีย

โดย AstraZeneca เป็นวัคซีนที่ได้รับการยอมรับและนำไปใช้ทั่วโลก เพราะสามารถสร้างภูมิคุ้มกันตั้งแต่โดสแรก และมีงานวิจัยฉีดผสมกับวัคซีน mRNA เพื่อป้องกันไวรัสกลายพันธุ์ด้วย

Astrazeneca Vaccine
Photo : Shutterstock

สำหรับวัคซีน Johnson & Johnson ที่ฉีดเพียงเข็มเดียว มีประสิทธิภาพสูงถึง 85% ส่วน AstraZeneca จำนวน 2 โดส มีประสิทธิภาพ 82% และ Sputnik V จำนวน 2 โดส มีประสิทธิภาพสูงถึง 92%

อย่างไรก็ตาม มีรายงานว่าวัคซีน Viral Vector มีรายงานเรื่องผลข้างเคียงคือ เกิดลิ่มเลือดในอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย มาจากทั้ง AstraZeneca และ Johnson & Johnson แต่ก็ยังมีเปอร์เซ็นต์การเกิดไม่สูงมาก

สำหรับราคาหุ้นที่ผลิตวัคซีน Viral Vector ช่วง 1 ปีที่ผ่านมา มี CanSino Biologics ราคาเพิ่มขึ้น 69.58% และ Johnson & Johnson ราคาเพิ่มขึ้น 17.39% ส่วน AstraZeneca เพิ่มขึ้นเล็กน้อย 1.86% (ข้อมูล ณ วันที่ 11 สิงหาคม 2564)

3. Protein-based Vaccine

วัคซีนที่ถูกพัฒนาโดยใส่ชิ้นส่วนโปรตีนของไวรัส เรียกอีกอย่างว่า Subunit Vaccine โดยบริษัทพัฒนาวัคซีนนี้ คือ Novavax จากสหรัฐฯ มีรายงานว่า ประสิทธิภาพการป้องกันสูงถึง 90%

ขณะนี้วัคซีนของ Novavax ยังไม่ได้มีสถานะการรับรองจาก องค์การอนามัยโลก (WHO) FDA และสำนักงานคณะกรรมอาหารและยา (อย.) ของไทย คาดว่า เร็วๆ นี้ อาจจะมีความคืบหน้า มีการรับรองและอนุมัติแบบ Emergency Use

Photo : Shutterstock

ความหลากหลายของวัคซีน จะช่วยให้ผู้คนทั่วโลกเข้าถึงวัคซีนได้ง่ายขึ้น เพราะภูมิคุ้มกันของมนุษย์มีความซับซ้อน บางคนอาจจะแพ้วัคซีนชนิดใดชนิดหนึ่งได้ ดังนั้น Subunit Vaccine ของ Novavax จะเป็นทางเลือกหนึ่งในการต่อสู้กับ COVID-19

ราคาหุ้นของ Novavax ในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา เพิ่มขึ้น สะท้อนมุมมองเชิงบวก และผลสำเร็จของวัคซีนเช่นเดียวกัน 28.96% (ข้อมูล ณ วันที่ 11 สิงหาคม 2564)

4. Whole-virus Vaccine

วัคซีนที่ถูกพัฒนาโดยใช้ไวรัสที่ทำให้อ่อนลง หรือไม่ทำงาน เรียกอีกอย่าง Inactivated Virus Vaccine หรือ วัคซีนเชื้อตาย ปัจจุบันจีนยังเป็นประเทศหลักที่ผลิตวัคซีนประเภทนี้ เช่น CoronaVac (Sinovac Biotech) และ Sinopharm จากจีน และยังมี Covaxin (Bharat Biotech พัฒนาร่วมกับ Indian Council of Medical Research) จากอินเดีย

เนื่องจากจีนเป็นประเทศที่ทำการทูตวัคซีน จึงส่งออกวัคซีนทั้ง 2 แบรนด์ไปยังประเทศด้อยพัฒนา และกำลังพัฒนาทั่วโลก ในรูปแบบทั้งขาย และบริจาค จึงทำให้วัคซีนเชื้อตาย ถูกฉีดให้กับประชาชนส่วนใหญ่ในเอเชีย แอฟริกาใต้ และอเมริกาใต้

Photo : Shutterstock

สำหรับ Covaxin ยังอยู่ในขั้นตอนการทดลองทางคลินิก และยื่นขอการรับรองจาก WHO แต่กำลังประสบปัญหากับข้อตกลงส่งมอบวัคซีนกับประเทศในอเมริกาใต้ เช่น บราซิล ปารากวัย

ส่วนราคาหุ้น Sinopharm ในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา เพิ่มขึ้น 9.67% (ข้อมูล ณ วันที่  11 สิงหาคม 2564)

ในกลุ่มวัคซีนทั้ง 4 ประเภทนี้ มีการพัฒนามาแล้ว 21 แบรนด์ทั่วโลก และได้รับรอง Emergency Use ในบางประเทศ ส่วนที่ WHO รับรองแล้วมี 6 บริษัท ได้แก่ Pfizer-BioNTech Moderna AstraZeneca Johnson & Johnson Sinopharm และ Sinovac 

นอกจากนี้โรคระบาด COVID-19 ยังเป็นแรงส่งให้กับนักวิจัย นักวิทยาศาสตร์ และบุคลากรทางการแพทย์ ในการพัฒนาวัคซีนให้มีความหลากหลายมากขึ้น ล่าสุดมีการพัฒนาวัคซีนชนิดพ่นจมูก (Intranasal) ของบริษัท Meissa ตอนนี้อยู่ในขั้นตอนทดลองกับสัตว์ มีรายงานว่า สามารถป้องกันสายพันธุ์อังกฤษ (อัลฟา) และแอฟริกาใต้ (เบตา) ได้ โดยจะเป็นวัคซีนที่สามารถสร้างแอนติบอดีในระบบทางเดินหายใจ และหากจามออกมา จะไม่แพร่เชื้อ

หุ้นชุดตรวจ COVID-19 ที่น่าสนใจ

ด้วยเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ถูกพัฒนามาโดยตลอด ทำให้การตรวจ COVID-19 เบื้องต้นสามารถทำได้ด้วยตัวเองจากที่บ้าน โดยคุณไม่จำเป็นต้องไปโรงพยาบาล ลดความเสี่ยงในการออกไปข้างนอก

คุณสามารถใช้ชุดตรวจแบบ Rapid Test เป็นชุดตรวจที่ทราบผลเร็วภายใน 30 นาที ปัจจุบันมีผู้ผลิตจากหลายๆ ชาติ ไม่ว่าจะเป็นสหรัฐฯ จีน ออสเตรเลีย ฟินแลนด์ และเกาหลีใต้ รวมทั้งมีการขึ้นทะเบียนรับรองการใช้งานนับสิบแบรนด์ในทุกประเทศ ปัจจุบันแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

1.Rapid Antigen Test

ใช้ตรวจหาเชื้อ COVID-19 เพื่อประเมินการติดเชื้อเบื้องต้น โดยใช้การเก็บตัวอย่างด้วยการแยงไม้เข้าไปในโพรงจมูก ช่องคอ และน้ำลาย คล้ายคลึงกับการตรวจ RT-PCR (Real-time Polymerase Chain Reaction) ของโรงพยาบาล หากประเมินว่า ได้รับเชื้อมาแล้ว 5-14 วัน จะได้ผลตรวจที่แม่นยำ

สำหรับไทย อย. เพิ่งประกาศให้ประชาชนสามารถซื้อชุดตรวจ ​​Rapid Antigen Test มาใช้เองได้แล้ว โดยก่อนหน้านี้ ไม่อนุญาตให้ซื้อขายตามร้านขายยา แต่ในหลายๆ ประเทศ ประชาชนสามารถหาซื้อได้เอง อย่างในสหรัฐฯ และสหภาพยุโรป

Photo : Shutterstock

2. Rapid Antibody Test

ใช้ตรวจหาภูมิคุ้มกันหรือภูมิต้านทาน COVID-19 โดยใช้วิธีเจาะเลือดที่ปลายนิ้วหรือท้องแขน สามารถตรวจหาภูมิคุ้มกันต่อเชื้อได้ในวันที่ 10 เป็นต้นไป นับจากที่คาดว่า ได้รับเชื้อ

การใช้ชุดตรวจ Rapid Antibody Test ผลที่ได้จะไม่ตรงกับวัตถุประสงค์คัดกรองการติดเชื้อเบื้องต้น เพราะการตรวจภูมิคุ้มกัน COVID-19 ไม่ได้มีสาเหตุมาจากการติดเชื้อเพียงอย่างเดียว การฉีดวัคซีนป้องกัน และผู้ที่เคยป่วยด้วยโรคนี้ สามารถตรวจพบภูมิต้านทานที่เพิ่มขึ้นได้

Photo : Shutterstock

ปัจจุบัน อย. ไทย ยังไม่รับรองให้ประชาชนทั่วไปเข้าถึงชุดตรวจ Rapid Antibody Test แต่จะอนุญาตให้ผู้ประกอบวิชาชีพทางการแพทย์ใช้ตรวจได้เท่านั้น ส่วนประเทศอื่นๆ อย่างสหรัฐฯ และสหภาพยุโรป ประชาชนสามารถเข้าถึงชุดตรวจนี้ได้

ตัวอย่างหุ้นบริษัทที่ผลิตชุดตรวจที่น่าสนใจ บางรายเป็นผู้ผลิตทั้ง Rapid Antigen Test และ Rapid Antibody Test ได้แก่ Abbott Laboratories จากสหรัฐฯ ราคาหุ้นได้รับอานิสงส์จาก COVID-19 เพิ่มขึ้นเป็น 22.65% ในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา (ข้อมูล ณ วันที่  11 สิงหาคม 2564) โดยได้ผลิตชุดตรวจ Rapid Antigen Test แบบการ์ด ด้วยราคาเพียง 5 ดอลลาร์สหรัฐ พร้อมแสดงผลภายใน 15 นาทีผ่านแอปพลิเคชัน ส่วน Roche จากสวิตเซอร์แลนด์ ราคาเพิ่มขึ้น 16.32% ในช่วงเวลาเดียวกัน

ชี้เป้า ETF ลงทุนหุ้น COVID-19

เชื้อ COVID-19 ค้นพบครั้งแรกในจีนเมื่อปลายปี 2563 จนตอนนี้ระยะผ่านมานานกว่า 1 ปีครึ่ง ทั่วโลกยังเผชิญกับสถานการณ์แพร่ระบาดหลายระลอก

บางประเทศคุมได้เร็ว แต่ก็ยังกลับมาระบาดได้อีก บางประเทศเลือกที่จะเร่งรัดการฉีดวัคซีนให้ได้สัดส่วนมากกว่า 70% ของประชากร มีเป้าหมายให้เกิดภูมิคุ้มกันหมู่โดยเร็วที่สุด เพื่อที่จะคลายมาตรการล็อกดาวน์ เปิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจ และเปิดการท่องเที่ยว

ขณะที่หลายๆ ประเทศพยายามสั่งจองวัคซีนหลายล้านโดส จากหลายๆ แบรนด์ผู้ผลิต เพื่อมาฉีดให้กับประชาชนโดยเร็วที่สุด เนื่องจากไม่สามารถคุมการแพร่ระบาดได้ การสร้างภูมิคุ้มกันที่แข็งแรงให้กับประชาชน จึงเป็นทางออกที่ดีที่สุด

มิฉะนั้น…จะเปิดประเทศไม่ได้ จะเปิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจไม่ได้ เศรษฐกิจเสียหายหนักและใช้เวลานานกว่าจะฟื้นตัวเท่าช่วงก่อนเกิด COVID-19

Photo : Shutterstock

แม้วัคซีนเป็นแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์ แต่เรายังคาดการณ์ไม่ได้ว่า โลกจะเอาชนะ COVID-19 ได้หรือไม่ หรือจะต้องเผชิญกับการแพร่ระบาด รวมทั้งไวรัสกลายพันธุ์ไปจนถึงเมื่อไร

มันเป็นวิกฤตของโลกที่กำลังสะเทือนเศรษฐกิจทุกประเทศ ในทางกลับกัน…โอกาสการลงทุนก็อยู่กับบริษัทที่พัฒนาและผลิตวัคซีน ยาต้านไวรัส และชุดตรวจ Rapid Test รวมทั้งถึงอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้องอื่นๆ

อย่างที่เราได้รวบรวมข้อมูลหุ้นวัคซีนและชุดตรวจ COVID-19 วัดกันที่ราคาหุ้นระยะสั้น ส่วนใหญ่มีทิศทางที่ดีจากการพัฒนาวัคซีนได้สำเร็จ มียอดสั่งซื้อจากทั่วโลก และการพัฒนาวัคซีนรุ่นใหม่ๆ รวมไปถึงการคิดค้นชุดตรวจที่แสดงผลรวดเร็วและแม่นยำมากยิ่งขึ้น

ธุรกิจบริการสุขภาพ และเทคโนโลยีใหม่ๆ อย่างจีโนมิกส์  จึงมีความน่าสนใจมากในยุค New Normal นี้ โดย Jitta Wealth ได้คัดเลือก ETF 2 กอง เข้ามาเป็นตัวแทนของธีมธุรกิจเมกะเทรนด์ในกองทุนส่วนบุคคล Thematic อย่างธีมสุขภาพ (Healthcare) และธีมจีโนมิกส์ (Genomics) ที่ได้รับอานิสงส์จากวิกฤต COVID-19 ด้วย

Photo : Shutterstock

ธีมสุขภาพ มี iShares Global Healthcare ETF (IXJ) ลงทุนในหุ้นธุรกิจบริการสุขภาพทั่วโลกประมาณ 110 บริษัท เป็น Passive Fund โดยมีดัชนีอ้างอิง S&P Global 1200 Healthcare Sector Index ลงทุนในหุ้นที่มีโอกาสเติบโตจากวิกฤต COVID-19 เช่น บริษัท Johnson & Johnson บริษัท Pfizer บริษัท Moderna บริษัท AstraZeneca บริษัท Sanofi บริษัท Abbott Laboratories และ Roche

ผลตอบแทนของ IXJ

  • ย้อนหลัง 1 ปี (1 สิงหาคม 2563 – 31 กรกฎาคม 2564) อยู่ที่ +21.87%
  • ปี 2564 (1 มกราคม – 11 สิงหาคม 2564) อยู่ที่ +13.26%
  • นับตั้งแต่จัดตั้ง ETF (13 พฤศจิกายน 2544) อยู่ที่ +374.37%

ธีมจีโนมิกส์ มี iShares Genomics Immunology and Healthcare ETF (IDNA) ลงทุนในหุ้นที่พัฒนานวัตกรรมจากระบบพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิต วินิจฉัยโรคในระดับยีน และลงลึกไปถึงระบบภูมิคุ้มกันวิทยา ซึ่งการพัฒนาวัคซีน mRNA คือ การใช้เทคโนโลยีจีโนมิกส์ด้วย

IDNA เป็น Passive Fund โดยมีอ้างอิง 2 ดัชนี คือ NYSE FactSet Global Genomics และ Immuno Biopharma Index ลงทุนหุ้นที่พัฒนาวัคซีน mRNA เช่น บริษัท Moderna บริษัท BioNTech และบริษัท Sanofi

ผลตอบแทนของ IDNA

  • ย้อนหลัง 1 ปี (1 สิงหาคม 2563 – 31 กรกฎาคม 2564) อยู่ที่ +34.49%
  • ปี 2564 (1 มกราคม – 11 สิงหาคม 2564) อยู่ที่ +13.17%
  • นับตั้งแต่จัดตั้ง ETF (11 มิถุนายน 2562) อยู่ที่ +115.01%

สำหรับ การลงทุนในธุรกิจบริการสุขภาพในจีน ตลาดผู้บริโภคขนาดใหญ่และเป็นผู้พัฒนาวัคซีนจำนวนมหาศาลของโลกเช่นเดียวกับสหรัฐฯ กองทุนส่วนบุคคล Thematic ของ บลจ. จิตต เวลธ์ มีธีมตลาดหุ้นจีน iShares MSCI China ETF (MCHI) ที่ลงทุนในหุ้น Sinopharm และ CanSino Biologics ด้วย

]]>
1347296
ผลวิเคราะห์ชี้ 5 ใน 6 ประเทศที่มีการ ‘ติดเชื้อโควิดสูง’ ได้รับ ‘วัคซีนจีน’ https://positioningmag.com/1341457 Fri, 09 Jul 2021 06:33:05 +0000 https://positioningmag.com/?p=1341457 การวิเคราะห์ของเว็บไซต์ CNBC ระบุว่า ในบรรดาประเทศที่มี ‘อัตราการฉีดวัคซีนสูง’ และ ‘อัตราการติดเชื้อ COVID-19 สูง’ ส่วนใหญ่พึ่งพา ‘วัคซีนที่ผลิตในประเทศจีน’ โดยการหาข้อมูลดังกล่าวเกิดขึ้นหลังจากมีการตรวจสอบถึงประสิทธิภาพวัคซีนจากจีน เนื่องจากการมาของตัวแปรเดลต้าที่แพร่เชื้อได้ดีกว่า

CNBC ระบุ 36 ประเทศที่มีผู้ป่วยยืนยันรายใหม่มากกว่า 1,000 รายต่อล้านคน ณ วันที่ 6 กรกฎาคม โดยใช้ตัวเลขจาก Our World in Data ซึ่งรวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ รวมถึงองค์การอนามัยโลก รัฐบาล และนักวิจัยที่มหาวิทยาลัยอ็อกซ์ฟอร์ด จากนั้น CNBC ระบุประเทศในกลุ่ม 36 ที่มีประชากรมากกว่า 60% ได้รับวัคซีนโควิดอย่างน้อย 1 โดส

จากข้อมูลพบว่าผู้ป่วยโควิดรายสัปดาห์ซึ่งปรับตามจำนวนประชากรยังคง เพิ่มสูงขึ้น ในประเทศที่มีการฉีดวัคซีนมากที่สุดในโลกอย่างน้อย 6 ประเทศ และ 5 ประเทศ ในนั้นต้อง พึ่งพาวัคซีนจากประเทศจีน ได้แก่ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์, เซเชลส์, มองโกเลีย, อุรุกวัย และชิลี ส่วนอีกหนึ่งประเทศหนึ่งที่เหลือคือ สหราชอาณาจักรที่ไม่ได้รับวัคซีนจากจีนเป็นหลัก

  • มองโกเลีย เปิดเผยว่าประเทศได้รับวัคซีน 2.3 ล้านโดส เป็น Sinopharm ตามด้วย สปุตนิก วี ของรัสเซีย 80,000 โดส และ Pfizer-BioNTech ประมาณ 255,000 โดส
  • ชิลี ฉีดวัคซีน 16.8 ล้านโดสจาก Sinovac Biotech ได้ Pfizer-BioNTech 3.9 ล้านโดส และวัคซีนอีก 2 ชนิดในปริมาณที่น้อยกว่า 2 รายแรก
  • สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และ เซเชลส์ พึ่งพาวัคซีน Sinoarm อย่างมากในช่วงเริ่มต้น แต่แต่ละแห่งเพิ่งเปิดตัววัคซีนอื่น ๆ
  • อุรุกวัย มีวัคซีนของ Sinovac เป็นหนึ่งในสองวัคซีนที่ใช้กันมากที่สุด ร่วมกับ Pfizer-BioNTech
  • สหราชอาณาจักร ได้วัคซีน Moderna, AstraZeneca-Oxford, Pfizer-BioNTech และ Janssen ผู้ติดเชื้อในสหราชอาณาจักรเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากมีการแพร่กระจายของโรคเดลต้าที่แพร่ระบาดมากขึ้น

ทั้งนี้ มีหลายปัจจัยที่อาจทำให้จำนวนผู้ป่วยโควิดเพิ่มขึ้นในประเทศที่มีอัตราการฉีดวัคซีนสูง เพราะ วัคซีนไม่ได้ให้การป้องกัน 100% ดังนั้น ผู้ที่ได้รับการฉีดวัคซีนยังสามารถติดเชื้อได้ ในเวลาเดียวกัน ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าสามารถเจาะภูมิคุ้มกันของวัคซีนได้ดีขึ้น

(Photo by Andressa Anholete/Getty Images)

อย่างไรก็ตาม นักระบาดวิทยามองว่า ประเทศต่าง ๆ ไม่ควรหยุดใช้วัคซีน จากประเทศจีน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในขณะที่จำนวนของวัคซีนมีจำกัดในกลุ่มประเทศที่มีรายได้ต่ำและปานกลาง โดยหลายประเทศที่อนุมัติวัคซีนโดย Sinopharm และ Sinovac ส่วนใหญ่เป็นประเทศกำลังพัฒนาที่ไม่สามารถแข่งขันกับประเทศที่ร่ำรวยกว่าสำหรับวัคซีนที่พัฒนาในสหรัฐอเมริกาและยุโรป

แม้จะบอกว่าไม่ควรหยุดใช้วัคซีนจากจีน แต่เมื่อเดือนที่ผ่านมา คอสตาริกาปฏิเสธการส่งมอบวัคซีนที่พัฒนาโดยซิโนแวค หลังจากสรุปว่าไม่ได้ผลเพียงพอ แม้องค์การอนามัยโลกอนุมัติวัคซีนจาก Sinopharm และ Sinovac เพื่อใช้ในกรณีฉุกเฉินก็ตาม

ทั้งนี้ ประสิทธิผลของวัคซีนจีนทั้งสองชนิดนั้นมีผลออกมาว่าต่ำกว่าของ Pfizer – BioNTech และ Moderna ซึ่งทั้งสองวัคซีนมีประสิทธิภาพมากกว่า 90% โดยวัคซีนของ Sinopharm มีประสิทธิภาพ 79% ในการต่อต้านการติดเชื้อโควิดตามอาการ WHO กล่าว แต่ประสิทธิภาพของวัคซีนในบางกลุ่ม เช่น คนอายุ 60 ปีขึ้นไป ยังไม่ชัดเจน ประสิทธิภาพของการยิง Sinovac นั้นอยู่ระหว่างประมาณ 50-80% ขึ้นอยู่กับประเทศที่ถูกจัดขึ้นในการทดลอง

Source

]]>
1341457
‘ญี่ปุ่น’ อาจแบ่งวัคซีนให้ ‘ไต้หวัน’ หลังมีวัคซีนมากกว่าความต้องการ ‘2 เท่า’ https://positioningmag.com/1334323 Fri, 28 May 2021 06:44:21 +0000 https://positioningmag.com/?p=1334323 ก่อนหน้านี้ ‘ญี่ปุ่น’ ต้องเจอกับปัญหาการจัดการ ‘ฉีดวัคซีน’ ป้องกัน COVID-19 ได้ล่าช้า แม้จะเป็นประเทศที่มีวัคซีนมากสุดในเอเชีย ซึ่งสาเหตุนั้นทำให้อาจต้องทิ้งวัคซีนนับหมื่นโดสเพราะหมดอายุ และตอนนี้ญี่ปุ่นเพิ่งได้วัคซีนของ AstraZeneca ซึ่งยังมีความกังวลเรื่อง ‘ลิ่มเลือดอุดตัน’ จนไม่มีแผนที่จะฉีดเร็ว ๆ นี้ และอาจแบ่งให้ ‘ไต้หวัน’ ที่กำลังขาดแคลน

ที่ผ่านมา ญี่ปุ่นสั่งจองวัคซีน COVID-19 มากกว่า 400 ล้านโดส ซึ่ง มากกว่าความต้องการสำหรับประชากรผู้ใหญ่ถึง 2 เท่า และถือเป็นประเทศที่มีวัคซีนมากที่สุดแห่งหนึ่งในเอเชีย ขณะที่ปัจจุบัน ญี่ปุ่นเริ่มจะพิจารณาแบ่งปันวัคซีนให้กับประเทศอื่น ๆ ซึ่งหนึ่งในตัวเลือกนั้นก็คือ ‘ไต้หวัน’

“ญี่ปุ่น” อาจต้องทิ้งวัคซีนนับหมื่นโดส เหตุฉีดล่าช้าไม่ทันก่อนหมดอายุสิ้นมิ.ย.

ปัจจุบัน ไต้หวันกำลังต่อสู้กับการติดเชื้อในประเทศที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ขณะที่มีประชากรที่ได้รับการฉีดวัคซีนเพียง 1% เท่านั้น ขณะที่กระทรวงต่างประเทศของไต้หวันระบุว่า รัฐบาลกำลังทำงานอย่างหนักเพื่อขอรับวัคซีนผ่านทางผู้ผลิตหรือโครงการแบ่งปันทั่วโลกของ COVAX

“เราคิดว่าสิ่งสำคัญคือ ต้องดูแลให้มีการเข้าถึงวัคซีนที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพในทุกประเทศอย่างเป็นธรรม เราจะพิจารณาและพิจารณาแนวทางที่เป็นรูปธรรมอย่างรวดเร็วเกี่ยวกับวิธีที่เราจัดหาวัคซีนให้กับประเทศและภูมิภาคอื่น ๆ ที่เกินจำนวน” คัตสึโนบุ คาโตะ หัวหน้าคณะรัฐมนตรีของญี่ปุ่นกล่าว

มาซาฮิสะ ซาโตะ หัวหน้าคณะกรรมการฝ่ายไต้หวันสัมพันธ์ กล่าวว่ารัฐบาลควรจัดหาวัคซีนให้ไต้หวันโดยเร็วที่สุด เพราะเมื่อตอนที่หน้ากากอนามัยขาดแคลนในญี่ปุ่น ไต้หวันก็ได้ส่งหน้ากากอนามัยให้เรา 2 ล้านชิ้น”

ทั้งนี้ ญี่ปุ่นได้อนุมัติวัคซีนของ AstraZeneca เมื่อสัปดาห์ที่แล้วและได้ทำสัญญาซื้อ 120 ล้านโดส แต่ยังไม่มีแผนที่จะใช้การในประเทศทันที เนื่องจากมีความกังวลที่เกิดขึ้นในระดับสากลเกี่ยวกับการอุดตันของเลือด ขณะที่วัคซีนของ AstraZeneca ได้เริ่มบรรจุขวดวัคซีนในเดือนมีนาคม โดยคลังสินค้าคาดว่าจะอยู่ที่ประมาณ 30 ล้านโดส ซึ่งจะหมดอายุภายในเดือนกันยายนหากไม่ได้ใช้

อย่างไรก็ตาม ญี่ปุ่นมีแนวโน้มที่จะเก็บวัคซีนของ AstraZeneca ไว้บางส่วนเพื่อนำมาฉีดให้แก่ประชาชนที่แพ้วัคซีนของ Pfizer หรือ Moderna และบริจาควัคซีนที่เหลือให้แก่ประเทศอื่น ๆ ขณะที่ไต้หวันมีจำนวนผู้ป่วย COVID-19 สะสมทะลุ 5 พันกว่าราย ส่วนกรุงไทเป-นครนิวไทเปกำลังการแพทย์ไม่เพียงพอ

Source

]]>
1334323
“อิตาลี” ยอดติดเชื้อลดฮวบ 80% หลังฉีดวัคซีนแอสตราฯ/ไฟเซอร์/โมเดอร์นา https://positioningmag.com/1332384 Sun, 16 May 2021 15:53:18 +0000 https://positioningmag.com/?p=1332384 สำนักข่าวซินหัว รายงานว่า สถาบันสุขภาพแห่งชาติและกระทรวงสาธารณสุขของอิตาลี รายงานว่าหลังดำเนินโครงการฉีดวัคซีนในระยะแรก 5 สัปดาห์ พบว่าจำนวนผู้ป่วยโรคติดเชื้อ COVID-19 ในประชากรทุกกลุ่มอายุของอิตาลีลดลงถึง 80%

รายงานระดับชาติว่าด้วยประสิทธิภาพของวัคซีนป้องกันโรค COVID-19 ที่ถูกนำมาใช้งานจริง บันทึกข้อมูลตั้งแต่วันที่ 27 ธ.ค. 2020 ซึ่งเป็นช่วงที่อิตาลีเริ่มโครงการฉีดวัคซีนในประเทศจนถึงวันที่ 3 พ.ค.

รายงานระบุว่าความเสี่ยงที่เชื่อมโยงกับโรค COVID-19 เริ่มลดลงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ 2 สัปดาห์หลังการฉีดวัคซีนครั้งแรก ทั้งยังรายงานสถิติ “การติดเชื้อลดลง 80% การรักษาตัวในโรงพยาบาลลดลง 90% และการเสียชีวิตลดลง 95%” หลังการฉีดวัคซีนโดสแรก 35 วัน โดยแนวโน้มรูปแบบดังกล่าวพบได้ในกลุ่มคนทุกเพศ และช่วงอายุ

“ข้อมูลข้างต้นยืนยันถึงประสิทธิภาพของโครงการฉีดวัคซีน และความจำเป็นในการฉีดวัคซีนให้ครอบคลุมกลุ่มประชากรจำนวนมากโดยเร็วเพื่อยุติภาวะฉุกเฉิน” ซิลวิโอ บรูซาเฟอร์โร ประธานสถาบันฯ กล่าว

Photo : Shutterstock

ผลลัพธ์ที่ชัดเจนหลังการฉีดวัคซีนของแอสตราเซเนกา (AstraZeneca) ไฟเซอร์-ไบออนเทค (Pfizer-BioNTech) หรือโมเดอร์นา (Moderna) โดสแรกนั้นมีความสำคัญอย่างยิ่ง เนื่องจากกลุ่มผู้ผลิตวัคซีนระบุว่าจำเป็นต้องมีการฉีดวัคซีนโดสที่สองตามหลัง 3-12 สัปดาห์ (ระยะห่างขึ้นอยู่กับชนิดของวัคซีน) เพื่อให้วัคซีนสามารถป้องกันการเกิดโรคได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ส่วนวัคซีนของจอห์นสันแอนด์จอห์นสัน (Johnson & Johnson) ถูกกำหนดให้ฉีดเพียง 1 โดสก็มีประสิทธิภาพ

ทั้งนี้ อิตาลีดำเนินการฉีดวัคซีน COVID-19ให้ประชาชนทั่วประเทศกว่า 26.6 ล้านโดสแล้ว โดยมีประชาชน 8.4 ล้านคน หรือคิดเป็น 14.1% ที่ได้รับวัคซีนครบโดส เมื่อนับถึงวันเสาร์ที่ 15 พ.ค.

]]>
1332384
วิจัยเกาหลีพบ “วัยเกษียณ” ฉีด Pfizer/AstraZeneca “เข็มเดียว” ประสิทธิภาพเกิน 86% https://positioningmag.com/1330730 Thu, 06 May 2021 05:19:42 +0000 https://positioningmag.com/?p=1330730 ข้อมูลจากเกาหลีพบว่า ผู้สูงอายุวัย 60 ปีขึ้นไปหลังได้รับวัคซีน Pfizer หรือ AstraZeneca เพียงเข็มเดียว ประสิทธิภาพป้องกัน COVID-19 สูงมากกว่า 86%

รายงานข่าวจาก Reuters ระบุข้อมูลที่ออกโดย สำนักงานป้องกันและควบคุมโรคเกาหลีใต้ (KDCA) พบว่า วัคซีน Pfizer มีประสิทธิภาพในการป้องกันโรค COVID-19 อยู่ที่ 89.7% หลังการฉีดเข็มแรก 2 สัปดาห์ ขณะที่วัคซีน AstraZeneca สามารถป้องกันได้ 86.0% หลังฉีดเข็มแรก 2 สัปดาห์

อย่างไรก็ตาม กลุ่มประชากรที่ KDCA ศึกษา เป็นการเจาะเฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุวัย 60 ปีขึ้นไปจำนวน 3.5 ล้านคน โดยกว่า 5.2 แสนคนในจำนวนนี้ได้รับวัคซีนเข็มแรกมานานกว่า 2 เดือนแล้ว

ด้านผลข้างเคียงร้ายแรงจากการฉีดวัคซีน ทางกระทรวงสาธารณสุขเกาหลีใต้ระบุว่ามีโอกาสเกิดลิ่มเลือดอุดตันได้ แต่อยู่ใน “อัตราที่ต่ำมาก” และส่วนใหญ่สามารถรักษาได้

ปัจจุบัน เกาหลีใต้มีประชากรได้รับวัคซีนแล้วอย่างน้อย 1 เข็มคิดเป็นสัดส่วน 6.7% ของประชากรทั้งหมด หากวัดประชากรที่ได้รับวัคซีนครบ 2 เข็มจะมีเพียง 0.5% เท่านั้น โดยประเทศนี้ตั้งเป้าจะสร้างภูมิคุ้มกันให้ประชากร 70% ภายในเดือนกันยายน และต้องการให้เกิดภูมิคุ้มกันหมู่ภายในเดือนพฤศจิกายน

Photo : Shutterstock

ผลการศึกษาของ KDCA ค่อนข้างแตกต่างจากข้อมูลประสิทธิภาพวัคซีนสองชนิดนี้ที่เคยมีการศึกษามา เพราะก่อนหน้านี้ AstraZeneca ถูกระบุว่ามีประสิทธิภาพป้องกันโรค 76% หลังจากฉีดครบ 2 โดส ซึ่งต่ำกว่าที่ KDCA พบว่าฉีดเพียงเข็มเดียวก็ป้องกันได้ถึง 86% แล้ว

ขณะที่ Pfizer ยังถือเป็นข้อมูลที่สอดคล้องกัน เพราะข้อมูลเดิมพบว่าการฉีดครบ 2 โดสจะป้องกันได้ 95% เพิ่มขึ้นมากกว่าการฉีดโดสเดียวที่ป้องกันได้ 89.7% ตามการศึกษาของ KDCA

ความแตกต่างนี้ เป็นไปได้ว่าเกิดจากสายพันธุ์ของ COVID-19 ที่เกิดกลายพันธุ์ไปหลายพันธุ์แล้ว เช่น สายพันธุ์อังกฤษ สายพันธุ์บราซิล สายพันธุ์แอฟริกาใต้ โดยที่ KDCA ไม่ได้ระบุแยกย่อยถึงประสิทธิภาพการป้องกันต่อสายพันธุ์ต่างๆ

ข้อมูลนี้มีความสำคัญ เพราะขณะนี้สหราชอาณาจักรวางแผนการฉีดวัคซีนโดยเน้นการฉีด “เข็มแรก” ให้กับประชากรให้ได้อย่างน้อยครึ่งหนึ่งของประเทศก่อน ดังนั้น ข้อมูลประสิทธิภาพจากการฉีดเข็มแรกที่เกิดขึ้นจะเป็นข้อมูลสนับสนุนสำคัญต่อวิธีวางแผนของอังกฤษ และอาจเป็นตัวอย่างให้กับประเทศอื่นที่เพิ่งเริ่มการฉีดวัคซีนได้

Source

]]>
1330730
“มาเลเซีย” แยกศูนย์ฉีด “AstraZeneca” ไม่รวมในวัคซีนโครงการหลัก แก้ปัญหาความกังวล https://positioningmag.com/1329914 Thu, 29 Apr 2021 07:32:54 +0000 https://positioningmag.com/?p=1329914 “มาเลเซีย” เร่งแก้ปัญหาความวิตกกังวลของประชาชนหลังมีข่าวผลข้างเคียงลิ่มเลือดอุดตัน ทำให้รัฐบาลตัดสินใจ “แยก” วัคซีนยี่ห้อนี้ออกจากโครงการหลัก มีศูนย์ฉีดให้โดยเฉพาะสำหรับประชาชนที่พิจารณาข้อดีข้อเสียแล้วและสมัครใจฉีด AstraZeneca

สำนักข่าว Channel News Asia รายงานจากเวทีแถลงข่าวของรัฐบาลมาเลเซีย ประกอบด้วย “ไครี จามาลุดดิน” รัฐมนตรีกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ร่วมด้วย “อัดฮัม บาบา” รัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุข โดยไครีกล่าวว่า วัคซีน AstraZeneca จะไม่ถูกใช้งานในโครงการวัคซีนหลักของชาติ

ไครีระบุว่า แม้ผู้เชี่ยวชาญจะพบว่าประโยชน์ของการใช้วัคซีน AstraZeneca จะมีน้ำหนักมากกว่าความเสี่ยงของผลข้างเคียงลิ่มเลือดอุดตันก็ตาม แต่รัฐบาลก็รับฟังความกังวลและความคลางแคลงใจของสังคมที่มีต่อวัคซีนยี่ห้อนี้

“ต่อประเด็นนี้ ผมและดร.อัดฮัมได้หารือกันอย่างใกล้ชิดเกี่ยวกับการใช้งานวัคซีน AstraZeneca เราไม่ต้องการจะปล่อยให้วัคซีนที่มีประสิทธิภาพและปลอดภัยเสียไปโดยเปล่าประโยชน์ เราเข้าใจดีว่าในขณะนี้วิทยาศาสตร์และข้อเท็จจริงไม่อาจเอาชนะความกลัวและข่าวปลอมที่แพร่กระจายไปทั่วแล้ว” ไครีอธิบาย

“จากการหารือของเรา เราตัดสินใจว่าจะยังคงใช้วัคซีน AstraZeneca ต่อไป แต่ในขณะเดียวกันก็รับมือกับความกลัวและความกังวลของประชาชนที่มีต่อ AstraZeneca แม้จริงๆ แล้วจะไม่ได้ตั้งอยู่บนฐานของวิทยาศาสตร์เลยก็ตาม”

Photo : Shutterstock

ดังนั้น รัฐบาลมาเลย์จะมีศูนย์ฉีดวัคซีนพิเศษที่ใช้วัคซีน AstraZeneca เท่านั้น และวัคซีนยี่ห้อนี้จะไม่รวมอยู่ในโครงการวัคซีนหลักของรัฐ

“เราจะเปิดศูนย์นี้สำหรับผู้ที่สมัครใจฉีด หลังจากบุคคลนั้นได้ศึกษาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับ AstraZeneca แล้วและต้องการจะลงทะเบียนในศูนย์พิเศษเพื่อรับวัคซีนตัวนี้” ไครีกล่าว

ทั้งนี้ The Strait Times รายงานว่า ปัจจุบันมาเลเซียเริ่มใช้วัคซีนแล้ว 2 ชนิด ได้แก่ Pfizer-BioNTech และ Sinovac ส่วนวัคซีน AstraZeneca เพิ่งส่งมอบ ขณะที่วัคซีน CanSino จากจีนอยู่ระหว่างพิจารณารับรอง และเป็นวัคซีนความหวังสำหรับพื้นที่ชนบทห่างไกล เพราะฉีดเพียงแค่โดสเดียวก็เพียงพอ

แทนที่จะเสียวัคซีนนี้ไปโดยเปล่าประโยชน์ถึง 268,600 โดส วัคซีนชุดนี้จะถูกนำไปกระจายในรัฐสลังงอร์และเขตปกครองกัวลาลัมเปอร์แทน โดยวัคซีนชุดนี้เป็นลอตแรกที่รัฐบาลมาเลย์ได้มาจากการซื้อผ่านโครงการ COVAX และลอตต่อไปจะมาถึงในเดือนพฤษภาคมนี้

ไครียังย้ำอีกครั้งว่า อัตราการเกิดลิ่มเลือดอุดตันจากการฉีด AstraZeneca มีเพียง 4 เคสต่อ 1 ล้านโดสเท่านั้น เปรียบเทียบกับคนที่เกิดลิ่มเลือดอุดตันเนื่องจากติดเชื้อโรค COVID-19 ที่เกิดขึ้น 165,000 คนต่อจำนวนผู้ติดเชื้อ 1 ล้านคน หรือเกิดขึ้นกับคนที่สูบบุหรี่ 1,763 คนต่อผู้สูบบุหรี่ 1 ล้านคน

มาเลเซียวางเป้าจะฉีดวัคซีนให้ถึง 80% ของประชาชนภายในสิ้นปีนี้ นั่นหมายถึงจะต้องฉีดวัคซีนให้คนอย่างน้อย 26.7 ล้านคน แต่ขณะนี้รัฐบาลกำลังวิตกเพราะมีชาวมาเลย์ลงทะเบียนต่อคิวรับการฉีดเพียง 1 ใน 4 ของประชากร อย่างไรก็ตาม เนื่องจากวัคซีนยังมีซัพพลายเข้ามาน้อยกว่าดีมานด์ รัฐบาลจึงยังรอดูสถานการณ์ต่อไปก่อน

Source: CNA, The Strait Times

]]>
1329914
‘คนอังกฤษ’ เมินฉีดวัคซีน ‘แอสตราเซเนกา’ เพิ่มขึ้น กังวลความเสี่ยงลิ่มเลือดอุดตัน https://positioningmag.com/1329842 Wed, 28 Apr 2021 14:04:26 +0000 https://positioningmag.com/?p=1329842 ผลสำรวจพบ ความนิยมของวัคซีนแอสตราเซเนกา’ (AstraZeneca) ในหมู่คนอังกฤษลดลงอย่างมาก หลังมีรายงานผลข้างเคียงหลังฉีด ที่เชื่อมโยงกับการเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตัน

จากผลสำรวจความเห็นของประชาชนเกือบ 5,000 คนในสหราชอาณาจักร ช่วงเดือนเมษายน พบว่า ประชาชนมีความต้องการที่จะฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตราเซเนกาลดลง นับตั้งแต่เดือนมีนาคมเป็นต้นมา เเละมีและความเชื่อว่าจะทำให้เลือดภาวะอุดตันลิ่มเลือดเพิ่มขึ้น

ผลการศึกษาทางวิชาการของอังกฤษ พบว่า กลุ่มคนที่เคยประสงค์จะฉีดวัคซีนของแอสตราเซเนกา ที่มีอยู่ราว 24% ในเดือนมีนาคม ลดลงเหลือเพียง 17% ของผู้ตอบแบบสอบถามในเดือนเมษายนเท่านั้น

ขณะที่ 23% เชื่อว่าวัคซีนของแอสตราเซนเนกานั้น ทำให้เกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตัน กลับมีเพิ่มขึ้นจากระดับ 13% ในเดือนมีนาคม

อย่างไรก็ตาม ชาวอังกฤษอีก 39% ยังคงเชื่อว่าข้อมูลดังกล่าวเป็นเท็จ เเละอีก 38% ระบุว่า พวกเขายังไม่แน่ใจว่าข้อมูลดังกล่าวถูกต้องหรือไม่

Photo : Shutterstock

โดยผลการศึกษานี้ ดำเนินการโดยมหาวิทยาลัยบริสทอล คิงส์ คอลเลจ ลอนดอน ร่วมกับสถาบันวิจัยสุขภาพแห่งชาติ (NIHR) จัดทำขึ้นระหว่างวันที่ 1-16 เมษายน

ชี้ให้เห็นว่า ประชาชนมีความเชื่อที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก หลังได้รับข่าวสารใหม่ เมื่อทางการอังกฤษประกาศว่า มีความเป็นไปได้ที่วัคซีนโควิด-19 ของแอสตราเซเนกา จะเกี่ยวข้องกับภาวะลิ่มเลือดอุดตัน ซึ่งเป็นกรณีที่พบได้ยากจากนั้นมีชาติในยุโรปอย่างเดนมาร์กตัดสินใจระงับการฉีดวัคซีนนี้

ขณะท่ี่ผลการทดลองขนาดใหญ่ในสหรัฐอเมริกา ชี้ว่าวัคซีนโควิด-19 ที่พัฒนาโดย ‘แอสตราเซเนกา’ และมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด มีประสิทธิภาพ 79% ในการป้องกันอาการเจ็บป่วยและได้ผล 100% ในการป้องกันโรครุนแรงและการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล และสำหรับกลุ่มผู้ที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป ประสิทธิภาพของวัคซีนจะอยู่ที่ 80%

อย่างไรก็ตาม เเม้ข้อกังขาในผลข้างเคียงของวัคซีนจะส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่น เเต่ก็เกิดขึ้นเฉพาะยี่ห้อเท่านั้น เนื่องจากความพึงพอใจการในการควบคุมวิกฤตโควิด-19 ด้วยการฉีดวัคซีนโดยรวมนั้นมีมากขึ้น

โดยกว่า 81% มองว่า วัคซีนมีความปลอดภัย เพิ่มขึ้นจากระดับ 73% ในช่วงปลายปี 2020 เเละชาวอังกฤษกว่า 86% เชื่อว่าการทำงานของวัคซีนนั้นมีประสิทธิภาพ เพิ่มขึ้นจากระดับ 79% ในช่วงเดือนพฤศจิกายนธันวาคมของปีที่เเล้ว

 

ที่มา : CNBC , Reuters 

]]>
1329842
หลายชาติในเอเชีย เเข่งหา ‘วัคซีน COVD-19’ หลังอินเดียระงับส่งออก สะเทือนโครงการ COVAX https://positioningmag.com/1325808 Wed, 31 Mar 2021 10:16:14 +0000 https://positioningmag.com/?p=1325808 หลายประเทศในเอเชีย กำลังเร่งหาเเหล่งผลิตวัคซีน COVID-19’ แห่งใหม่ หลังอินเดียต้องระงับส่งออกวัคซีนแอสตราเซเนกาหลังยอดติดเชื้อในประเทศกลับมาพุ่งสูง ส่งผลให้โครงการ COVAX ขององค์การอนามัยโลกต้องเจอปัญหาขาดเเคลนวัคซีน ส่วนจีนเเละรัสเซียกำลังจะเข้ามาเจาะตลาดนี้

โดยเกาหลีใต้ อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์อยู่ในกลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากความล่าช้าของวัคซีนในโครงการ COVAX ที่จัดตั้งขึ้นเพื่อลดความเหลื่อมล้ำในกระจายวัคซีนให้แก่ประเทศยากจนกว่า 64 ประเทศ

ปัญหานี้เกิดขึ้นเมื่ออินเดีย’ หนึ่งในผู้ผลิตวัคซีนรายใหญ่ที่สุดของโลกต้องระงับการส่งออกวัคซีนของ แอสตราเซเนก้า (AstraZeneca) ซึ่งผลิตโดย Serum Institute of India (SII) เป็นการชั่วคราวจากความจำเป็นต้องเก็บสำรองวัคซีนไว้เพื่อใช้งานภายในประเทศ

โดย SII ได้ผลิตวัคซีนส่งให้กับ COVAX แล้วประมาณ 17.7 ล้านโดส จากกำหนดเดิมที่ต้องส่งมอบวัคซีนจำนวน 90 ล้านโดสให้กับ COVAX ในช่วงเดือนมีนาคมและเมษายน

ขณะนี้ยังไม่มีความชัดเจนว่าอินเดียจะนำมอบวัคซีนส่วนนี้มาใช้ในประเทศเป็นจำนวนเท่าใด เเละไม่ได้ระบุรายละเอียดเกี่ยวกับระยะเวลาในการควบคุมการส่งออก

UNICEF ซึ่งเป็นพันธมิตรด้านการจัดจำหน่ายของ COVAX เปิดเผยเมื่อช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมาว่า อินเดียอาจจะกลับมาส่งมอบวัคซีนไปต่างประเทศได้อีกครั้งภายในเดือนพฤษภาคม

(Photo by Chaiwat Subprasom/SOPA Images/LightRocket via Getty Images)

ยังคงมีอีกหลายชาติที่จำเป็นต้องพึ่งพาโครงการกระจายวัคซีนนี้ โดยเกาหลีใต้เพิ่งจะได้รับวัคซีนป้องกัน COVID-19 เพียง 432,000 โดสจากทั้งหมด 690,000 โดส โดยจะได้รับวัคซีนที่เหลือล่าช้าจากกำหนดเดิมไปเป็นสัปดาห์ที่ 3 ของเดือนเมษายน

ด้านประธานาธิบดีโรดรีโก ดูแตร์เต ของฟิลิปปินส์ ประกาศปลดล็อกข้อจำกัดในการนำเข้าวัคซีนของเอกชน โดยอนุญาตให้บริษัทต่าง ๆ สามารถนำเข้าวัคซีนเพื่อนำมาใช้สำหรับพนักงานของตนเอง นอกเหนือจากที่รัฐจะจัดหาให้ เพื่อต่อสู้กับโรคระบาดในประเทศที่กลับมาอีกครั้ง

ส่วนทางการเวียดนาม ได้ขอให้ภาคเอกชนเข้ามาช่วยเหลือ หลังจากถูกปรับลดวัคซีนจากโครงการ COVAX ลงกว่า 40% เหลือ 811,200 โดส และคาดว่าจะได้รับวัคซีนล่าช้าออกไปอีกหลายสัปดาห์ 

ด้านเจ้าหน้าที่กระทรวงสาธารณสุขอินโดนีเซียเผยกับ Reuters ว่า รัฐบาลอาจจะได้รับวัคซีนจำนวนกว่า 10.3 ล้านโดสจากโครงการ COVAX ล่าช้าออกไปจนถึงเดือนพฤษภาคม

ก่อนจะเจอปัญหานี้ นักวิเคราะห์มองไปในทิศทางเดียวกันว่า ‘อินเดีย’ มีเเนวโน้มจะขึ้นตัวท็อปในการผลิตวัคซีน COVID-19 ของโลก ทั้งในด้านการคิดค้นวัคซีนและผลิตเอง หรือเป็นโรงงานรับจ้างผลิตให้กับต่างชาติ

โดยอินเดีย’ กำลังจะเป็นผู้ผลิตวัคซีน รายใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากสหรัฐฯ โดยจะมีกำลังผลิตที่สูงมาก ครอบคลุมทั้งประชากรในประเทศ 1.3 พันล้านคน เเละยังส่งต่อไปยังประเทศกำลังพัฒนา ผ่านโครงการ วัคซีนไมตรี (VaccineMaitr) เป็นของขวัญเชื่อมความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้าน

นับเป็น ‘การทูตเเบบใหม่’ เพื่อยกระดับบทบาทในเวทีโลก ไปพร้อมๆ กับการ ‘ต่อต้านจีน’ ที่กำลังขยายอิทธิพลในเอเชียใต้ ต้องลุ้นว่าอินเดียจะกลับมาส่งมอบวัคซีนไปต่างประเทศอีกครั้งได้อย่างเร็วที่สุดเมื่อใด

ขณะเดียวกันจีนเเละรัสเซียก็กำลังจะเข้ามาคว้าโอกาสนี้ โดยฟิลิปปินส์และอินโดนีเซีย พึ่งพาวัคซีนจาก Sinovac ของจีนจำนวนมากเพื่อการขับเคลื่อนการกระจายวัคซีน เเละเพิ่งอนุมัติใช้วัคซีน Sputnik V ของรัสเซีย ซึ่งฟิลิปปินส์คาดว่าจะได้รับ Sputnik V ล็อตแรกภายในเดือนเมษายนนี้

โดยรัฐบาลจีนประกาศว่า จะส่งความช่วยเหลือด้านวัคซีน COVID-19 ให้แก่ 80 ประเทศและองค์กรระหว่างประเทศอีก 3 แห่ง รวมถึงส่งออกวัคซีนไปยังกว่า 40 ประเทศ

 

 

ที่มา : CNA , Aljazeera

]]>
1325808
‘ยุโรป’ กำลังเผชิญการระบาด ‘ระลอก 3’ จากโควิดสายพันธุ์ใหม่ที่รุนแรงกว่าเดิม https://positioningmag.com/1324398 Mon, 22 Mar 2021 05:23:28 +0000 https://positioningmag.com/?p=1324398 การติดเชื้อเพิ่มขึ้นอย่างทวีคูณใน ‘เยอรมนี’ และการล็อกดาวน์ครั้งใหม่ใน ‘ปารีส’ เป็นเวลา 1 เดือนได้ตอกย้ำสถานการณ์เลวร้ายทั่วยุโรปว่าเชื้อไวรัส COVID-19 ระบาดอีกครั้ง โดยไวรัส COVID-19 สายพันธุ์ใหม่ที่ถูกค้นพบในสหราชอาณาจักรถูกมองว่าเป็นสาเหตุของการระบาดที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เนื่องจากเชื้อสายพันธุ์นี้มีรายงานว่ารุนแรงกว่าสายพันธุ์เดิมมาก

เมืองหลวงของฝรั่งเศสและทางตอนเหนือของประเทศจะเข้าสู่การล็อกดาวน์ใหม่ในวันศุกร์ แม้ว่าโรงเรียนและร้านค้าสำคัญ ๆ จะยังคงเปิดให้บริการอยู่ โดยค่าเฉลี่ยผู้ติดเชื้อไวรัส COVID-19 สายพันธุ์ใหม่มีสูงถึง 25,000 รายในช่วงเวลา 7 วัน โดยเป็นการติดเชื้อที่สูงสุดหลังจากเดือนพฤศจิกายน

ส่วนใน ‘เยอรมนี’ จากที่ นายกรัฐมนตรีอังเกลา แมร์เคิล ได้ประกาศผ่อนคลายการล็อกดาวน์ในเดือนมีนาคม เนื่องจากมีจำนวนผู้ติดเชื้อที่ 65 รายต่อ 100,000 คน แต่ตอนนี้ตัวเลขนั้นทะลุ 100 คนเรียบร้อย ซึ่งเกินกว่าระดับ 100 รายที่ห้องผู้ป่วยหนัก (ICU) ตามโรงพยาบาลต่าง ๆ นั้นสามารถรองรับได้สูงสุด ทำให้รัฐบาลเยอรมันเตรียมประกาศขยายระยะเวลาใช้มาตรการล็อกดาวน์เป็นเดือนที่ 5

“ตัวเลขผู้ป่วยที่เพิ่มขึ้นอาจหมายความว่าเราไม่สามารถดำเนินการตามขั้นตอนการเปิดตัวเพิ่มเติมได้ในอีกไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้า ในทางกลับกันเราอาจต้องก้าวถอยหลังด้วยซ้ำ” นายเจนส์ สปาห์น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเยอรมนี กล่าว

(Photo by Pascal Le Segretain/Getty Images )

‘อิตาลี’ ได้ระงับแผนเทศกาลอีสเตอร์ไว้แล้วด้วยการประกาศปิดประเทศครั้งใหม่โดยนายกรัฐมนตรีมาริโอ ดรากี โดยอิตาลีมีผู้เสียชีวิตสูงสุดเป็นอันดับ 6 ของโลก โดยมีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 103,855 ราย นอกจากนี้ ‘โปแลนด์’ ยังพบว่ามีผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยประมาณ 52% ของผู้ป่วยรายใหม่ที่เชื่อมโยงกับผู้ติดเชื้อจากสหราชอาณาจักร ปัจจุบัน โปแลนด์มีผู้ติดเชื้อทั้งหมดกว่า 2 ล้านราย

ทั้งนี้ ส่วนหนึ่งของการระบาดหนักมาจากแคมเปญการฉีดวัคซีนของประเทศในสหภาพยุโรปมีประสิทธิภาพต่ำกว่ามากเมื่อเทียบกับในสหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักร นอกจากนี้ยังมีปัญหาการจัดหาและการจัดซื้อวัคซีน โดยเฉพาะวัคซีน AstraZeneca-Oxford ที่ถูกเบรกลงเนื่องจากพบผลข้างเคียงที่ก่อให้เกิดลิ่มเลือดที่กำลังตรวจสอบอยู่ ขณะที่เยอรมนีได้เตือนว่าปัจจุบันมีวัคซีนไม่เพียงพอในยุโรปที่จะป้องกันการระบาดรอบ 3 นี้

Source

]]>
1324398