COVID-19 ระลอกใหม่ – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Fri, 17 Dec 2021 07:04:30 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 Pfizer ครบโดสป้องกันติดเชื้อ “โอมิครอน” ได้แค่ 33% แต่ยังป้องกันป่วยหนักได้ 70% https://positioningmag.com/1366918 Wed, 15 Dec 2021 04:41:30 +0000 https://positioningmag.com/?p=1366918 ผลศึกษาจากพื้นที่จริงในแอฟริกาใต้ พบว่า วัคซีน Pfizer เมื่อฉีดครบโดสสามารถป้องกันการติดเชื้อ COVID-19 สายพันธุ์ “โอมิครอน” ได้ลดลงเหลือเพียง 33% แต่การป้องกันการป่วยหนักยังอยู่ในระดับ 70%

สำนักข่าว Reuters รายงานจากผลการศึกษาในแอฟริกาใต้ซึ่งเป็นพื้นที่การระบาดจริงของ COVID-19 สายพันธุ์โอมิครอน จัดทำโดย Discovery Health บริษัทประกันสุขภาพที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ ร่วมกับ สภาการวิจัยทางการแพทย์แห่งแอฟริกาใต้

จากกลุ่มตัวอย่างที่รับวัคซีน Pfizer ครบโดสแล้ว และติดเชื้อระหว่างวันที่ 15 พฤศจิกายน – 7 ธันวาคม 2021 พบว่า 70% ไม่มีอาการป่วยหนักจนต้องเข้ารักษาในโรงพยาบาล ซึ่งลดลงจากอัตราป้องกันการเข้าโรงพยาบาล 93% ในช่วงที่สายพันธุ์เดลตาระบาด ทั้งนี้ การป้องกันการป่วยหนักทำได้ในทุกกลุ่มอายุตั้งแต่ 18-79 ปี แต่ในกลุ่มผู้สูงอายุจะป้องกันได้ลดลงเล็กน้อย

ส่วนการป้องกันการติดเชื้อโอมิครอน Pfizer ครบโดสทำได้เพียง 33% เท่านั้น เมื่อเทียบกับอัตราป้องกัน 80% ต่อเชื้อสายพันธุ์เดลตา

การศึกษานี้ถือเป็นรายงานแรกๆ ที่มาจากโลกจริง เทียบกับก่อนหน้านี้จะเป็นข้อมูลจากการศึกษาในแล็บ ซึ่งมีผลเบื้องต้นออกมาอยู่แล้วว่า วัคซีนจะได้ผลน้อยลงกับไวรัสสายพันธุ์โอมิครอน

รายงานฉบับนี้ศึกษาจากผลการตรวจเชื้อผู้ป่วย COVID-19 จำนวน 211,000 ราย ในจำนวนนี้มีประมาณ 78,000 รายที่ติดเชื้อพันธุ์โอมิครอน

บทสรุปในรายงานมองว่า มีความเป็นไปได้ที่โอมิครอนจะทำให้เกิดความเสี่ยงการติดเชื้อซ้ำในหมู่ประชากร แม้ว่าจะฉีดวัคซีนครบโดสแล้ว แต่ก็ยังถือว่าสถานการณ์น่าจะดีกว่าการระบาดรอบแรกเมื่อปี 2020 ที่ยังไม่มีการป้องกันใดๆ อยู่ 29%

อย่างไรก็ตาม นักวิจัยย้ำอีกครั้งว่าการศึกษาเหล่านี้ยังไม่ชัดเจนแน่นอน ต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมต่อไป และมีอีกหลายเรื่องที่เรายังไม่รู้เกี่ยวกับโอมิครอน เช่น ในเชิงสถิติแล้วแอฟริกาใต้มีเด็กวัยต่ำกว่า 5 ขวบเข้าโรงพยาบาลจากการติดเชื้อเพิ่มขึ้นมาก แต่ยังไม่ทราบว่าเกี่ยวข้องกับสายพันธุ์โอมิครอนหรือไม่ และยังไม่รู้ว่าสรุปแล้วโอมิครอนจะระบาดได้ไวกว่าเดลตาจริงหรือไม่

แอฟริกาใต้เริ่มแจ้งเตือนการค้นพบสายพันธุ์โอมิครอนมาตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ทำให้ทั้งโลกตื่นตัวและเริ่มสกัดการเดินทางจากทางใต้ของทวีปแอฟริกา การติดเชื้อใหม่รายวันในแอฟริกาใต้พุ่งสูงขึ้นจนรอบสัปดาห์นี้มีการติดเชื้อใหม่เฉลี่ย 20,000 รายต่อวัน แต่ผู้เสียชีวิตยังไม่พุ่งสูงมากนัก โดยจำนวนผู้เสียชีวิตยังอยู่ระหว่าง 20-40 คนต่อวัน ในช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา

Source

]]>
1366918
เรารู้อะไรแล้วบ้างเกี่ยวกับ “ไวรัส” COVID-19 กลายพันธุ์จาก “แอฟริกาใต้” https://positioningmag.com/1364114 Fri, 26 Nov 2021 16:00:25 +0000 https://positioningmag.com/?p=1364114 ไวรัสโรคระบาด COVID-19 กลายพันธุ์ชนิดใหม่จาก “แอฟริกาใต้” สร้างความกังวลไปทั่วโลก เรารู้อะไรแล้วบ้างเกี่ยวกับไวรัสตัวนี้ และเราควรกังวลมากน้อยแค่ไหน

 

1) มีการกลายพันธุ์อย่างหนัก

ไวรัสพันธุ์นี้ใช้ชื่อว่า B.1.1.529 และองค์การอนามัยโลก (WHO) ตั้งรหัสชื่อให้มันเรียบร้อยว่า “โอไมครอน”

ศาสตราจารย์ตูลิโอ เดอ โอลิเวียร่า ผู้อำนวยการ ศูนย์การตอบสนองและนวัตกรรมต่อโรคระบาดแอฟริกาใต้ กล่าวถึงไวรัสตัวนี้ว่า “มีการกลายพันธุ์แบบกลุ่มที่ผิดปกติ” และ “มีความแตกต่างอย่างมาก” จากไวรัสกลายพันธุ์อื่นๆ ที่เคยระบาด

“ไวรัสกลายพันธุ์ตัวนี้ทำให้เราแปลกใจ มันพัฒนาตัวเองอย่างก้าวกระโดด และมีการกลายพันธุ์มากกว่าที่เราคาด” เดอ โอลิเวียร่ากล่าว

B.1.1.529 มีการกลายพันธุ์ถึง 50 ตำแหน่ง และ 30 ตำแหน่งในนั้นเกิดขึ้นที่หนามโปรตีน ซึ่งเป็นจุดโจมตีของวัคซีนหลายชนิดเพื่อทำลายไม่ให้ไวรัสเข้ามาในเซลล์ร่างกายของเราได้

ต้องย้ำอีกครั้งว่า ไวรัสตัวนี้มีหน้าตาที่เปลี่ยนไปอย่างรุนแรงเมื่อเทียบกับตัวต้นฉบับจากอู่ฮั่น ประเทศจีน หมายความว่า วัคซีนที่พัฒนามาเพื่อจัดการไวรัสแบบเก่าน่าจะไม่มีประสิทธิภาพกับไวรัสพันธุ์นี้

 

2) กลายพันธุ์ในจุดที่ทำให้ระบาดง่ายขึ้น

บางจุดของการกลายพันธุ์เป็นตำแหน่งที่เคยเกิดขึ้นมาแล้วในสายพันธุ์อื่น เช่น จุด N501Y ที่ถูกประเมินว่าเป็นตำแหน่งที่ทำให้ไวรัสระบาดง่ายขึ้น เพราะทำให้แอนติบอดี้ไม่รู้จักตัวไวรัส วัคซีนจึงมีประสิทธิภาพลดลง

ฟรองซัว บัลลูซ์ ผู้อำนวยการ สถาบันพันธุกรรมแห่ง University College of London มองว่า ความเสี่ยงสูงสุดจากการกลายพันธุ์ครั้งนี้คือ ไวรัสอาจจะทำให้ผู้ป่วยที่เคยติดเชื้อแล้วเกิดติดเชื้อซ้ำมากขึ้น

อย่างไรก็ตาม ยังไม่ต้องตื่นตูมไป เพราะการศึกษาบนงานวิจัยอาจจะดูน่ากลัวแต่ก็ยังไม่มีอะไรแน่นอน เหมือนกับสายพันธุ์เบตาที่ทางทฤษฎีแล้วหลบเลี่ยงระบบภูมิคุ้มกันได้ดีที่สุด แต่กลับกลายเป็นสายพันธุ์เดลตาซึ่งเป็นพันธุ์ที่แพร่ได้เร็วที่สุดที่ครองโลกอยู่ในขณะนี้

 

3) มีผู้ติดเชื้อแล้ว 77 คน

ขณะนี้มีรายงานการติดเชื้อแล้ว 77 คน จากจังหวัด Guateng ในประเทศแอฟริกาใต้, ประเทศบอตสวานา, และเกาะฮ่องกง

มีการคาดการณ์ว่าผู้ติดเชื้อน่าจะมีมากกว่านี้ และเป็นไปได้ว่าอาจจะระบาดทั่วประเทศแอฟริกาใต้แล้ว รวมถึงน่าจะเป็นสายพันธุ์ที่ทำให้เกิดการระบาดระลอกที่สี่ขึ้นภายในประเทศแอฟริกาใต้

สำหรับเคสในฮ่องกง พบผู้ติดเชื้อ 2 ราย รายหนึ่งเป็นผู้ป่วยที่บินตรงมาจากแอฟริกาใต้ อีกรายเป็นชาวแคนาดาที่กักตัวอยู่ในสถานกักตัวชั้นเดียวกัน

 

4) หลายประเทศทยอยประกาศ “แบน” ห้ามเข้า

ตั้งแต่วันที่ 25 พ.ย. 2021 สหราชอาณาจักร ประกาศให้ 6 ประเทศทวีปแอฟริกาใต้อยู่ใน “ลิสต์สีแดง” ได้แก่ แอฟริกาใต้ นามิเบีย เลโซโท บอตสวานา เอสวาตินี และซิมบับเว ทำให้เที่ยวบินจากประเทศเหล่านี้ถูกระงับตั้งแต่เที่ยงวันของวันที่ 26 พ.ย. 2021

ตามด้วย ฝรั่งเศส และ อิตาลี ประกาศห้ามผู้เดินทางจากตอนใต้ของทวีปแอฟริกาเข้าประเทศเป็นการชั่วคราว

สิงคโปร์ มาเลเซีย บาห์เรน และ อิสราเอล แบนผู้ที่ไม่ได้ถือสัญชาติหรือสิทธิพำนักระยะยาวที่เดินทางจาก 7 ประเทศ เดินทางข้ามพรมแดน ได้แก่ แอฟริกาใต้ นามิเบีย เลโซโท บอตสวาน่า เอสวาตินี ซิมบับเว และโมซัมบิก

ขณะที่ อินเดีย สั่งการสกรีนคนเดินทางจากพื้นที่ที่มีการติดเชื้อ B.1.1.529 เป็นพิเศษ และจะมีการประชุมด่วนในวันที่ 29 พ.ย.นี้

มีความเป็นไปได้ด้วยว่า สหภาพยุโรป (EU) จะประกาศแบนการเดินทางด้วยเครื่องบินจากตอนใต้ของทวีปแอฟริกา จากถ้อยแถลงของ เออร์ซูลา ฟอน เดอร์ เลเยน ประธานคณะกรรมาธิการยุโรป (EC) ที่ระบุว่าจะมีการพูดคุยและประกาศฉุกเฉินร่วมกับประเทศสมาชิก

แน่นอนว่าประเทศแอฟริกาใต้ไม่พอใจนักที่อังกฤษเดินเกมเร็ว เร่งปิดประเทศ ทั้งที่ WHO ยังไม่มีแถลงการณ์ใดๆ เนื่องจากมองว่าเป็นการทำลายภาคท่องเที่ยวระหว่างประเทศ โดยขณะนี้มีนักท่องเที่ยวแอฟริกาใต้เข้าสู่อังกฤษวันละ 500-700 คน และน่าจะเพิ่มมากขึ้นช่วงคริสต์มาส

 

สิ่งที่เรา “ยังไม่รู้” ณ ขณะนี้คือไวรัสพันธุ์ใหม่จะแพร่ได้เร็วกว่าเดลตาหรือไม่ จะเกิดโรครุนแรงกว่าหรือไม่ หรือทำให้มีอาการแปลกไปกว่าเดิมหรือไม่ รวมถึงจะแพร่ระบาดได้มากหรือไม่ในประเทศที่มีอัตราการฉีดวัคซีนสูง เนื่องจากศูนย์กลางระบาดปัจจุบันคือที่แอฟริกาใต้ มีประชากรรับวัคซีนครบโดสแล้วเพียง 24%

ที่มา: BBC, CNN, AP, Financial Times

]]>
1364114
เคราะห์ซ้ำ! มาเลเซียปิด 1 จุดฉีดวัคซีนหลังจนท.ติดเชื้ออื้อ ผู้ป่วยใหม่ทะลุ 11,000 รายต่อวัน https://positioningmag.com/1342145 Tue, 13 Jul 2021 11:19:35 +0000 https://positioningmag.com/?p=1342145 ข่าวร้ายมาในวันเดียวกันสำหรับ “มาเลเซีย” โดยต้อปิดจุดฉีดวัคซีน 1 แห่งหลังพบเจ้าหน้าที่ติดเชื้อ 204 ราย ผู้รับการฉีดวัคซีนระหว่างวันที่ 9-12 ก.ค.ได้รับคำแนะนำให้กักตัวเอง ทั้งนี้ มาเลเซียยังคงอยู่ในวิกฤตระบาดระลอก 3 โดยวันนี้ (13 ก.ค. 2021) มีผู้ติดเชื้อ 11,079 ราย สูงสุดตั้งแต่เกิดการระบาด

สำนักข่าว Reuters เปิดเผยข้อมูลสถานการณ์วิกฤตในมาเลเซีย พบจุดฉีดวัคซีน 1 แห่ง บริเวณนอกกรุงกัวลาลัมเปอร์ 25 กม. มีเจ้าหน้าที่และอาสาสมัครติดเชื้อโรค COVID-19 ทั้งหมด 204 ราย จากเจ้าหน้าที่ทั้งหมด 453 ราย ทำให้ต้องปิดจุดฉีดวัคซีนแห่งนี้ทันทีเพื่อทำความสะอาดฆ่าเชื้อ และต้องเปลี่ยนเจ้าหน้าที่ยกชุด

สำหรับผู้รับการฉีดวัคซีนระหว่างวันที่ 9-12 ก.ค. 2021 ทางการให้คำแนะนำว่าควรกักตัวเองอยู่ในบ้าน 10 วัน โดยปกติจุดฉีดวัคซีนแห่งนี้สามารถรองรับได้ 3,000 โดสต่อวัน ดังนั้น คาดว่าอาจมีประชาชนประมาณ 12,000 คนที่ได้รับผลกระทบ

สถานการณ์นี้เกิดขึ้นแบบวิกฤตซ้อนวิกฤต เพราะมาเลเซียยังคงต่อสู้กับการระบาดระลอก 3 อันหนักหน่วง โดยวันนี้ (13 ก.ค. 2021) มาเลเซียแถลงพบผู้ติดเชื้อ 11,079 ราย ถือเป็นยอดสูงสุดตั้งแต่เกิดการระบาด และจำนวนผู้ติดเชื้อต่อวันมากกว่าหมื่นคนเป็นครั้งแรก

มาเลเซียเผชิญการระบาดระลอก 2 มาตั้งแต่กลางเดือนเมษายน 2021 ตัวเลขผู้ติดเชื้อขึ้นไปพีคสุดในวันที่ 29 พ.ค. 2021 จำนวน 9,020 คน ก่อนจะลดลงเป็นลำดับถึงช่วงปลายเดือนมิถุนายน ตัวเลขผู้ติดเชื้อลงมาที่ระดับ 5 พันกว่าคนต่อวัน และกลับพุ่งสูงขึ้นไปอีกครั้งเป็นระลอกที่ 3 จนปัจจุบันมีผู้เสียชีวิตเฉลี่ย 85 คนต่อวันในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา แม้ว่ารัฐบาลจะมีคำสั่งล็อกดาวน์ยาวนานมาตั้งแต่วันที่ 1 มิ.ย. 2021

มาเลเซียยังเป็นหนึ่งในประเทศที่ก้าวหน้าในการฉีดวัคซีนมากที่สุดประเทศหนึ่งในกลุ่มอาเซียน โดยมีประชากรรับวัคซีนแล้วอย่างน้อย 1 โดส คิดเป็น 25% ของประชากรทั้งหมด 32 ล้านคน และรับครบ 2 โดสแล้ว 11% ของประชากร วัคซีนที่มาเลเซียใช้ ประกอบด้วย Sinovac, Pfizer-BioNTech และ AstraZeneca

Reuters รายงานด้วยว่า ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์เดลตาที่กำลังระบาดในกลุ่มประเทศอาเซียน ทำให้เกือบทุกประเทศในเขตนี้อยู่ในภาวะวิกฤต ได้แก่ อินโดนีเซีย ไทย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ เวียดนาม เมียนมา และกัมพูชา โดยเฉพาะอินโดนีเซียที่ถึงขีดจำกัดของการรับมือ ถึงขนาดที่หลุมฝังศพ 4 ใน 5 แห่งกรุงจาการ์ตา เกือบจะเต็มหมดเรียบร้อยแล้ว

ประเทศที่ยังรอดพ้นวิกฤตมาได้คือ สิงคโปร์ ซึ่งยังไม่มีการระบาดใหม่ ข้อมูลจาก Our World in Data พบว่าสิงคโปร์ฉีดวัคซีนให้ประชากรแบบครบ 2 โดสแล้ว 40% ของประชากรทั้งหมด

]]>
1342145
เปิดอินไซต์ใช้จ่าย ‘ตรุษจีน’ 2564 เงียบเหงา เศรษฐกิจเเย่ ต้องประหยัด ของไหว้เจ้า ‘แพงขึ้น’ https://positioningmag.com/1318396 Mon, 08 Feb 2021 11:25:25 +0000 https://positioningmag.com/?p=1318396 เทศกาลตรุษจีนปีนี้ ไม่คึกคักเหมือนเคย ใช้จ่ายต่ำสุดในรอบ 13 ปี คาดเงินสะพัดเหลือแค่ 4.49 หมื่นล้าน ลดลง 21.85% จากพิษ COVID-19 รอบใหม่ คนประหยัดขึ้น ชะลอใช้จ่าย ลดการเดินทางท่องเที่ยว มองราคาของไหว้เจ้าแพงขึ้น

มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยถึง ผลการสำรวจพฤติกรรมและการใช้จ่ายของประชาชนในช่วงเทศกาลตรุษจีนปี 2564 ว่า ภาพรวมเทศกาลตรุษจีนปีนี้ไม่คึกคัก

ปัจจัยหลักๆ มาจากการเเพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาทั้งรอบใหม่เเละรอบเก่า ทำให้ภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวต่อเนื่อง มีความไม่เเน่นอนทางรายได้สูง ส่งผลให้ประชาชนไทยเชื้อสายจีนใช้จ่ายลดลงเช่นกัน

ปีนี้มีมูลค่าการใช้จ่ายลดลงเหลือ 44,939 ล้านบาท ปรับตัวลดลง 21.85% หรือเงินหายไป 1.2 หมื่นล้านบาท นับเป็นอัตราต่ำสุดในรอบ 13 ปี ตั้งแต่มีการสำรวจมา

ธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดี มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ระบุว่า จากความกังวลต่อการระบาดของ COVID-19 ยังไม่สามารถจะเดินทางท่องเที่ยวได้มากนัก รวมถึงผู้คนต้องประหยัด เเละระมัดระวังการจับจ่ายใช้สอย ทำให้การจ่ายเงินซื้อสินค้าเซ่นไหว้ในช่วงตรุษจีนไม่คึกคักเท่าที่ควร

ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ทำการสำรวจความเห็นของประชาชนในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑลที่ไหว้เจ้าในช่วงเทศกาลตรุษจีนปีนี้ จำนวน 1,200 คน พบว่า ประชาชน 42.2% มีการใช้จ่ายน้อยลง ส่วน 33.2% ไม่มีการเปลี่ยนแปลงการใช้จ่าย และมีเพียง 24.6% ที่มีการใช้จ่ายเพิ่มมากขึ้น

โดยสาเหตุที่มีค่าใช้จ่ายมากขึ้น เป็นเพราะมองว่าราคาสินค้าแพงขึ้น 69.9% ส่วนสาเหตุที่มีการใช้จ่ายน้อย เพราะมองว่าภาวะเศรษฐกิจแย่ลง 39.9% มีรายได้ลดลง 24% ต้องการลดค่าใช้จ่าย 15.4% และผล
กระทบโรคระบาด 15.1%

ส่วนบรรยากาศช่วงเทศกาลตรุษจีนในปี 2564 เมื่อเทียบกับปี 2563 ประชาชนส่วนใหญ่มองว่า จะคึกคักน้อยกว่าปีที่ผ่านมาที่ 63.7% มองว่าคึกคักพอพอกัน 21.0% และคึกคักมากกว่า 15.3% ประชาชนส่วนใหญ่ยังไปจับจ่ายซื้อของที่ตลาดสดและห้างค้าปลีก

สำหรับผู้ที่ได้รับแต๊ะเอียในปีนี้ คิดว่าจะได้รับแต๊ะเอีย 55.5% และคิดว่าจะไม่ได้ รับแต๊ะเอียราว 44.5% เมื่อถามลึกลงไปกว่านั้น คนที่คิดว่าตัวเองจะได้รับแต๊ะเอียส่วนใหญ่ จะเอาเงินที่ได้ไปเก็บออม 58.5% และซื้อเครื่องแต่งกาย 54.6% ไปทานข้าว 36.9%

หากแบ่งการใช้จ่ายตามภูมิภาค พบว่า กรุงเทพฯ และปริมณฑล อยู่ที่ 16,230 ล้านบาท ลดลง 24.50% ภาคกลาง อยู่ที่ 11,452 ล้านบาท ลดลง 21.40% ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อยู่ที่ 7,269 ล้านบาท ลดลง 15.55% ภาคเหนือ อยู่ที่ 4,499 ล้านบาท ลดลง 17.21% และภาคใต้ อยู่ที่ 5,487 ล้านบาท ลดลง 25.80%

ด้านแหล่งที่มาของเงินที่นำมาใช้จ่าย ผู้ตอบราว 66.8% ระบุว่า มาจากเงินเดือน/รายได้ปกติ, 19.8% มาจากเงินออม, 10% โบนัส/รายได้พิเศษ, 1.6% เงินกู้ และอีก 1.8% เป็นเงินช่วยเหลือจากภาครัฐจากมาตรการต่าง ๆ ในการกระตุ้นเศรษฐกิจ และช่วยเหลือเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจาก COVID-19

อีกหนึ่งประเด็นที่น่าสนใจในการสำรวจ พบว่า มีการใช้บริการซื้อขายสินค้าทางออนไลน์เเละสั่งเดลิเวอรี่มากขึ้น ลดการเดินทางท่องเที่ยวน้อยลง ส่วนการเลือกซื้อของเซ่นไหว้ ปีนี้คนจะเลือกซื้อไข่มากขึ้น ลดสัดส่วนการซื้อประเภทอื่นอย่างหมู เป็ด ไก่ ลดลง

โดยมีการใช้จ่ายรูปแบบใช้จ่ายผ่านเงินสด อยู่ที่ 63.3% ลดลงจากปีที่ผ่านมา ซึ่งมีการใช้จ่ายผ่านเงินสดอยู่ที่ 84.6% ประชาชนหันไปใช้จ่ายผ่านการโอนเงินมากขึ้น อยู่ที่ 13.4% ผ่านบัตรเครดิต 23.3%”

สำหรับสิ่งที่ประชาชนเป็นห่วงในช่วงตรุษจีนมากที่สุด คือ การแพร่ระบาดของ COVID-19 ตามมาด้วยราคาสินค้าเพิ่มขึ้น

มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย มองว่า มาตการช่วยเหลือของภาครัฐ จะสามารถช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้ โดยการอัดฉีดเงินจากมาตรการเราชนะเเละ.33เรารักกันในช่วงปลายเดือนนี้ จะกระตุ้นการใช้จ่ายของประชาชนให้เพิ่มขึ้นได้ ตั้งแต่ไตรมาส 2 ของปี 2564 เป็นต้นไป

 

 

 

]]>
1318396
ข่าวร้ายธุรกิจท่องเที่ยว คนกรุง 54.8% เก็บตัว “อยู่บ้าน” ช่วงปีใหม่ รายได้หายเฉียด 6 พันล้าน https://positioningmag.com/1312310 Mon, 28 Dec 2020 07:54:20 +0000 https://positioningmag.com/?p=1312310 ข่าวร้ายธุรกิจท่องเที่ยว COVID-19 ระบาดระลอกใหม่ ทำให้คนกรุงกว่าครึ่ง ตัดสินใจเก็บตัวอยู่บ้านในช่วงเทศกาลปีใหม่ คาดสูญเสียรายได้ไปกว่า 5,850 ล้านบาท

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เผยผลสำรวจพบว่า คนกรุงเทพฯ กว่า 54.8% ไม่มีแผนที่จะเดินทางท่องเที่ยวต่างจังหวัดในช่วงวันหยุดยาวส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ 2564 โดยกว่า 40.7% เป็นการยกเลิกหรือเลื่อนแผนการเดินทางไปต่างจังหวัดในช่วงเทศกาลปีใหม่ที่ได้วางแผนไว้ก่อนหน้า

ขณะที่กลุ่มตัวอย่างราว 30.9% บอกว่า ยังมีแผนที่จะเดินทางท่องเที่ยวในต่างจังหวัด ซึ่งมีทั้งการเดินทางเพื่อท่องเที่ยวแบบพักค้างคืนและการเดินทางไปเช้าเย็นกลับ

ปัจจัยหลักๆ ที่ต้องยกเลิกท่องเที่ยวปีใหม่ มาจากการระบาดของ COVID-19 รองลงมาเป็นเหตุผลอื่นๆ เช่น กลุ่มตัวอย่างได้เดินทางท่องเที่ยวในช่วงวันหยุดยาวไปก่อนหน้านี้แล้ว หรืออยากหลีกเลี่ยงการเดินทางในช่วงเทศกาลปีใหม่ แต่ก็มีแผนที่จะท่องเที่ยวหลังปีใหม่ เเละบางส่วนมีปัญหาการเงิน ปัจจัยเศรษฐกิจในครัวเรือน ฯลฯ

โดยการวางแผนการท่องเที่ยว ต้องขึ้นอยู่กับสถานการณ์การระบาดของ COVID-19 เพราะจำนวนผู้ติดเชื้อใหม่ยังมีจำนวนเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง มีผลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวของผู้ตอบแบบสอบถาม

การระบาดของ COVID-19 ระลอกใหม่ นับเป็นข่าวร้ายต่อภาคการท่องเที่ยวของไทยที่กำลังอยู่ในระยะของการเริ่มฟื้นตัว ขณะที่แม้ทางการจะออกมาตรการต่าง ๆ เพื่อควบคุมการระบาดระลอกใหม่ แต่ยังไม่ได้มีข้อจำกัดห้ามเดินทางข้ามจังหวัดก็ตาม

คาดว่าการที่ประชาชนอยู่บ้านในช่วงปีใหม่ จะทำให้เกิดการสูญเสียโอกาสในการสร้างรายได้จากคนไทยเดินทางท่องเที่ยวในช่วงวันหยุดยาว 4 วัน (ตั้งแต่วันที่ 31 .. 63 – 3 .. 64) คิดเป็นมูลค่าราว 5,850 ล้านบาท หรือคิดเป็นสัดส่วนรายได้ที่สูญเสียไปประมาณ 58.4% ของรายได้ไทยเที่ยวไทยในช่วงเวลาปกติ 4 วัน ที่ไม่ได้เกิดการระบาดระลอกใหม่

หาดป่าตอง ภูเก็ต ช่วงหลัง COVID-19 ยังมีนักท่องเที่ยวบางตา (Photo : Shutterstock)

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า ในช่วงเวลานี้ภาคการท่องเที่ยวคงจะได้รับผลกระทบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีข่าวการพบผู้ติดเชื้อจำนวนมาก ส่วนพื้นที่ที่ไม่พบผู้ติดเชื้อหรือมีจำนวนผู้ติดเชื้อในอัตราที่ต่ำ ก็ได้รับผลกระทบเช่นกัน

ดังนั้น สิ่งสำคัญในช่วงเวลานี้ของผู้ประกอบการ คือ การประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับสถานการณ์การระบาดในพื้นที่ที่ถูกต้องอย่างต่อเนื่อง ผ่านช่องทางต่างๆ ของผู้ประกอบการ อย่างเว็บไซต์ หรือช่องทางเครือข่ายสังคมออนไลน์ เพื่อประกอบการตัดสินใจของลูกค้าที่จะมาใช้บริการหรือมีแผนที่จะเดินทางในช่วงนี้ และป้องกันการเกิดข่าวลืออันจะส่งผลกระทบต่อธุรกิจ

นอกจากนี้ ผู้ประกอบการยังต้องรักษามาตรฐานความปลอดภัย และสร้างความมั่นใจให้แก่นักท่องเที่ยวที่จะมาใช้บริการ เเละจะต้องเตรียมแผนรองรับการปรับเปลี่ยนแผนการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยว รวมถึงมาตรการของภาครัฐที่อาจจะมีการปรับเปลี่ยนตามสถานการณ์การระบาดในระยะนี้

ในกรณีที่ทางการสามารถควบคุมดูแลการระบาดของ COVID-19 ให้อยู่ในวงจำกัด และสามารถควบคุมสถานการณ์ได้ภายในช่วงระยะเวลา 1 เดือนต่อจากนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า ภาพรวมของตลาดไทยเที่ยวไทยน่าจะทยอยกลับมาฟื้นตัวได้ดีขึ้นในช่วงปลายไตรมาส 1/64”

 

]]>
1312310