ปริมาณเม็ดเงินในเดือนสิงหาคมไหลออกจากจีนมากถึง 49,000 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็นเงินไทยราวๆ 1.75 ล้านล้านบาท สูงที่สุดนับตั้งแต่เดือนธันวาคมปี 2015 เป็นต้นมา ซึ่งปกติแล้วปริมาณเม็ดเงินส่วนใหญ่จะไหลเข้าสุทธิมากกว่าไหลออก
สิ่งที่เกิดขึ้นหลังรัฐบาลจีนได้รายงานตัวเลขดังกล่าว ค่าเงินหยวนเมื่อเทียบกับค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ ล่าสุดอยู่ที่ราวๆ 7.296 หยวนต่อดอลลาร์สหรัฐแล้ว ซึ่งถือเป็นการอ่อนค่ามากที่สุดในรอบ 16 ปี
สาเหตุสำคัญที่ทำให้เม็ดเงินไหลออกจากจีนคือ ความกังวลต่อเศรษฐกิจจีน หลังจากจีนประสบปัญหาเศรษฐกิจฟื้นตัวจากการแพร่ระบาดของโควิด ขณะเดียวกันจีนยังประสบปัญหาความเชื่อมั่นของผู้บริโภคจากปัญหาภาคอสังหาริมทรัพย์ แม้ว่ารัฐบาลจีนจะออกมาตรการต่างๆ แล้วก็ตาม
อีกสาเหตุหนึ่งคือเรื่องความขัดแย้งระหว่างสหรัฐอเมริกากับจีน ทำให้ธุรกิจหลายแห่งมีการย้ายกำลังการผลิตออกนอกประเทศจีนเพิ่มมากขึ้น เพื่อลดความเสี่ยงที่พึ่งพากำลังการผลิตในประเทศจีนมากจนเกินไป หรือแม้แต่ป้องกันปัญหา Supply Chain หยุดชะงัก
นอกจากนี้ยังรวมถึงส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยในประเทศจีนที่ต่ำกว่าสหรัฐอเมริกา ยิ่งเป็นแรงกดดันทำให้เม็ดเงินยิ่งไหลออกจากประเทศจีนมากขึ้น
เงินหยวนของจีนนั้นมีเหตุการณ์อ่อนค่าสำคัญๆ คือในปี 2015 และในช่วงที่จีนมีสงครามการค้า ซึ่งค่าเงินหยวนที่อ่อนค่านั้นทำให้รัฐบาลของประธานาธิบดีทรัมป์กล่าวหาว่าจีนได้ควบคุมค่าเงินเพื่อที่จะทำให้สินค้าของจีนมีราคาถูกและได้เปรียบสินค้าจากคู่แข่งที่มาจากประเทศอื่น
Gary Ng นักเศรษฐศาสตร์จาก Natixis ได้กล่าวกับสำนักข่าว Bloomberg ว่า เขากังวลว่าเงินหยวนจะยังอ่อนค่าต่อ เนื่องจากสภาวะเศรษฐกิจที่แตกต่างกับภายนอก ขณะเดียวกันรัฐบาลจีนไม่มีแรงจูงใจให้นักลงทุนเพียงพอที่จะทำให้เม็ดเงินไหลเข้ากลับประเทศอีกครั้ง
ที่มา – Bloomberg, Reuters, Asia Financial
]]>China Daily ได้รายงานข่าวว่า ปัจจุบันมีการใช้เงินหยวนในการซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้าระหว่างประเทศเพิ่มมากขึ้น โดยปัจจุบันสัดส่วนนั้นอยู่ที่ 7% เป็นสกุลเงินที่มีการซื้อขายมากที่สุดอันดับ 5 ของโลก นอกจากนี้สื่อจีนรายดังกล่าวยังชี้ว่ามีการใช้งานสกุลเงินดังกล่าวเพิ่มมากขึ้น 85% นับตั้งแต่ปี 2019 เป็นต้นมา
ข้อมูลที่สื่อจีนรายใหญ่ใช้อ้างอิงนั้นมาจากธนาคารเพื่อการชำระหนี้ระหว่างประเทศ (BIS) ได้เก็บข้อมูลในเดือนเมษายนในปีนี้พบว่าปริมาณการใช้งานเงินหยวนในการชำระบัญชีนั้นอยู่ที่ 526,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ขณะเดียวกันสัดส่วนในการใช้เงินหยวนในการชำระบัญชีผ่านระบบ SWIFT ที่ธนาคารพานิชย์ทั่วโลกใช้งานนั้นอยู่ที่ 2.41% เพิ่มมากขึ้นกว่าปี 2021 ที่มีสัดส่วนการใช้งาน 2.31%
สำหรับสัดส่วนการใช้สกุลเงินที่สูงที่สุดในโลกยังเป็นดอลลาร์สหรัฐ ซึ่ง BIS ชี้ว่าสัดส่วนการใช้งานสูงถึง 88% รองลงมาคือสกุลเงินยูโร เยน ปอนด์ และหยวน ตามลำดับ ซึ่งในปี 2019 สกุลเงินของประเทศจีนมีปริมาณการซื้อขายนั้นอยู่อันดับที่ 8 ของโลกเท่านั้น
ข้อมูลจาก BIS ยังชี้ว่าข้อมูลในเดือนเมษายนที่ผ่านมานั้น การซื้อขายแลกเปลี่ยนสกุลเงิน (Foreign Exchange) ปริมาณในแต่ละวันนั้นเพิ่มมากขึ้นถึง 7.5 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งทำสถิติใหม่สูงที่สุด
Zhou Maohua นักวิเคราะห์จาก China Everbright Bank ได้กล่าวกับ China Daily ว่าการใช้งานเงินหยวนเพื่อชำระบัญชีนั้นเพิ่มสูงขึ้นตามปริมาณการค้าและการส่งออกของประเทศจีน นอกจากนี้เงินหยวนเองก็เริ่มมีสัดส่วนในการนำไปใช้เป็นทุนสำรองระหว่างประเทศของธนาคารกลางต่างๆ เพิ่มมากขึ้นด้วย
]]>ข้อมูลจากธนาคารกลางญี่ปุ่นและรวบรวมโดย Nikkei Asia ในเดือนตุลาคมธนาคารกลางญี่ปุ่นได้ใช้เงินไปแล้วกว่า 5.5 ล้านล้านเยน ซึ่งมากว่าเดือนกันยายนที่ธนาคารกลางได้ใช้เงินแทรกแซงค่าเงินไปแล้วถึง 2.8 ล้านล้านเยน
ค่าเงินเยนที่อ่อนค่านั้นสาเหตุสำคัญมาจากนโยบายการเงินของญี่ปุ่นนั้นแตกต่างกับประเทศพัฒนาแล้วหลายประเทศ เนื่องจากญี่ปุ่นเองต้องการแก้ปัญหาเงินฝืดซึ่งเกิดขึ้นมาเป็นระยะเวลานาน จึงต้องใช้นโยบายด้านการเงินแบบผ่อนคลาย ไม่ว่าจะเป็นการใช้อัตราดอกเบี้ยที่ต่ำ รวมถึงการอัดสภาพคล่องเข้าสู่ระบบการเงิน
ซึ่งนโยบายการเงินของญี่ปุ่นถือว่าตรงข้ามกับกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว เช่น สหรัฐอเมริกา ที่ใช้นโยบายการเงินแบบตึงตัว ไม่ว่าจะเป็นการขึ้นอัตราดอกเบี้ย ไปจนถึงการลดสภาพคล่องในระบบ เพื่อที่จะลดความร้อนแรงของเศรษฐกิจซึ่งได้รับผลกระทบจากเงินเฟ้อในตอนนี้ ส่งผลทำให้ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐอเมริกากับญี่ปุ่นนั้นห่างออกไปเรื่อยๆ ส่งผลทำให้เม็ดเงินไหลออกจากญี่ปุ่น จึงทำให้ค่าเงินเยนอ่อนค่าอย่างหนัก
ก่อนหน้านี้ Shunichi Suzuki รัฐมนตรีกระทรวงการคลัง ได้ออกมากล่าวกับสื่อว่าจะดำเนินการอย่างเหมาะสมและเด็ดขาดกับการเคลื่อนไหวของค่าเงินเยนที่อ่อนค่ามากเกินไป โดยตัวเขามองว่าค่าเงินที่อ่อนค่านั้นถูกขับเคลื่อนโดยนักเก็งกำไรค่าเงิน ไม่เพียงเท่านี้เขายังกล่าวว่าทางการสามารถที่จะเข้าไปแทรกแซงโดยไม่ต้องประกาศให้สาธารณชนรับรู้ได้
นอกจากนี้ญี่ปุ่นได้พยายามแก้ปัญหาค่าเงินเยนที่อ่อนค่า ไม่ว่าจะเป็นการเปิดประเทศเพื่อที่จะรับนักท่องเที่ยว ส่งผลทำให้เม็ดเงินไหลเข้า นอกจากนี้ปัจจัยดังกล่าวยังดึงดูดนักท่องเที่ยวให้ไปญี่ปุ่นเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากค่าเงินเยนที่อ่อนค่า เมื่อเทียบกับหลายๆ ประเทศในเอเชีย
โดยในบทวิเคราะห์ของ JPMorgan ได้คาดการณ์ว่าค่าเงินเยนจะอ่อนค่ามากที่สุด 155 เยนต่อดอลลาร์สหรัฐในช่วงเดือนธันวาคม ก่อนที่จะค่อยๆ ทยอยแข็งค่ามากขึ้นในปี 2023
]]>ค่าเงินเยนล่าสุดเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐนั้นทำสถิติอ่อนค่ามากสุดในรอบ 32 ปี โดยล่าสุดนั้น (เวลา 16:45) อยู่ที่ 149.11 เยนต่อดอลลาร์สหรัฐ และทำให้ธนาคารกลางของญี่ปุ่นอาจต้องออกมาตรการเพื่อที่จะไม่ให้ค่าเงินเยนของประเทศนั้นอ่อนค่ามากเกินไป
โดยในช่วงที่ผ่านมาค่าเงินเยนของญี่ปุ่นนั้นอ่อนค่าตั้งแต่ 140 เยนต่อดอลลาร์สหรัฐ จนเมื่อถึง 145 เยนต่อดอลลาร์สหรัฐนั้นธนาคารกลางญี่ปุ่น ได้เข้าแทรกแซงค่าเงินในรอบหลายสิบปี เนื่องจากค่ามุมมองของธนาคารกลางฯ รวมถึงรัฐบาลญี่ปุ่นนั้นมองว่าค่าเงินเยนของญี่ปุ่นนั้นอ่อนค่าเร็วเกินไป
Shunichi Suzuki รัฐมนตรีกระทรวงการคลัง ได้ออกมากล่าวกับสื่อว่าจะดำเนินการอย่างเหมาะสมและเด็ดขาดกับการเคลื่อนไหวของค่าเงินเยนที่อ่อนค่ามากเกินไป เขายังมองว่าค่าเงินที่อ่อนค่านั้นถูกขับเคลื่อนโดยนักเก็งกำไรค่าเงิน ไม่เพียงเท่านี้เขายังกล่าวว่าทางการสามารถที่จะเข้าไปแทรกแซงโดยไม่ต้องประกาศให้สาธารณชนรับรู้ได้
สำหรับปัจจัยสำคัญที่ทำให้ค่าเงินเยนของญี่ปุ่นอ่อนค่าอย่างหนักทำสถิตินี้เกิดจากนโยบายการเงินของญี่ปุ่นที่สวนทางกับประเทศอื่น เนื่องจากญี่ปุ่นมีอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำ เมื่อเทียบกับสหรัฐอเมริกา ทำให้เม็ดเงินนั้นไหลออกจากญี่ปุ่นกลับไปยังสหรัฐอเมริกา
ก่อนหน้านี้รัฐบาลและธนาคารกลางญี่ปุ่นต่างมองตรงกันว่าการที่เงินเยนอ่อนค่าเร็วเกินไปส่งผลต่อภาคธุรกิจ รวมถึงสร้างความไม่แน่นอนให้กับเศรษฐกิจญี่ปุ่นเพิ่มมากขึ้น
ทางแก้ไขของรัฐบาลญี่ปุ่นนั้นได้ใช้วิธีการเปิดประเทศเพื่อรับนักท่องเที่ยว เพื่อที่จะทำให้เงินไหลกลับเข้าประเทศอีกครั้ง และลดแรงกดดันจากค่าเงินเยนที่อ่อนค่าไปในตัว แต่ก็ยังไม่สามารถแก้ปัญหาดังกล่าวได้
โดยถ้าหากทางการญี่ปุ่นแทรกแซงค่าเงินนั้น NHK รายงานว่าทางการญี่ปุ่นจะมีเม็ดเงินราวๆ 1.3 ล้านล้านสหรัฐในการแทรกแซงค่าเงิน
Haruhiko Kuroda ผู้ว่าการธนาคารกลางของญี่ปุ่นได้ชี้ว่าหลังจากที่เขาได้เข้าประชุมกับผู้ว่าธนาคารกลางของกลุ่มประเทศ G20 รวมถึงเข้าพูดคุยกับทางกองทุนการเงินระหว่างประเทศ เขาชี้ว่าค่าเงินดอลลาร์ที่แข็งค่าขึ้นนั้นอาจไม่ได้แข็งค่าเป็นเวลานาน นอกจากนี้เขายังยืนยันว่าปัญหาค่าเงินเยนที่อ่อนค่านั้นเขาจะไม่ลาออกจากตำแหน่งโดยเด็ดขาด
]]>สื่อต่างประเทศทั้ง Bloomberg และ Nikkei Asia ได้รายงานว่าหลังจากค่าเงินเยนที่อ่อนค่าอย่างรวดเร็ว ญี่ปุ่นอาจเตรียมงัดมาตรการเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวเข้าประเทศไวกว่าคาด เนื่องจากมองว่ามาตรการดังกล่าวนั้นเป็นวิธีที่ได้ผลมากที่สุดที่จะแก้ปัญหาค่าเงินเยนอ่อนค่าไวเกินไป
เซจิ คิฮาระ รองหัวหน้าคณะรัฐมนตรี กล่าวในรายการของสถานีโทรทัศน์ฟูจิ ว่าเตรียมที่จะพิจารณายกเลิกมาตรการจำกัดจำนวนนักท่องเที่ยวเข้าประเทศญี่ปุ่น ซึ่งปัจจุบันอยู่ที่ 50,000 คนต่อวัน และเดินทางได้โดยไม่ต้องมีไกด์นำเที่ยว และเขาชี้ว่าญี่ปุ่นจะต้องไม่ตามหลังประเทศอื่นๆ ในการดึงดูดนักท่องเที่ยวเข้าประเทศ
ความเคลื่อนไหวของรัฐบาลญี่ปุ่นเพิ่มมากขึ้น หลังค่าเงินเยนอ่อนค่าสุดในรอบ 24 ปี ไม่ว่าจะเป็น ชุนิจิ ซูซูกิ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังญี่ปุ่นเตรียมงัดมาตรการทุกวิถีทาง โดยรัฐมนตรีรายนี้มองว่าการเคลื่อนไหวของค่าเงินเยนที่อ่อนค่าวันละ 2-3 เยนนั้นถือว่ารวดเร็วเกินไป และรัฐบาลญี่ปุ่นจะไม่ตัดตัวเลือกใดๆ ออกไป
ทั้งรัฐบาลและธนาคารกลางญี่ปุ่นมองว่าการที่เงินเยนอ่อนค่าเร็วเกินไปส่งผลต่อภาคธุรกิจ รวมถึงสร้างความไม่แน่นอนให้กับเศรษฐกิจญี่ปุ่น
รองหัวหน้าคณะรัฐมนตรีรายนี้ยังมองว่าวิธีที่จะแก้ปัญหาค่าเงินเยนอ่อนค่าได้ผลที่สุดคือการเปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าประเทศ และเขาก็ทราบว่านักท่องเที่ยวชาวต่างชาติอยากเข้ามาที่ญี่ปุ่นขนาดไหน
ความเห็นดังกล่าวยังสอดคล้องกับการให้สัมภาษณ์ของ ยูริโกะ โคอิเกะ ผู้ว่าการกรุงโตเกียว ที่ได้ให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าว Bloomberg เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมาว่า นี่คือช่วงเวลาสำคัญที่จะเปิดให้นักท่องเที่ยวเข้ามาในญี่ปุ่น แม้ว่าพรมแดนของญี่ปุ่นจะถูกบริหารโดยรัฐบาลกลาง แต่เธอต้องการที่จะเปิดประเทศต้อนรับนักท่องเที่ยวอย่างเต็มรูปแบบตั้งแต่วันพรุ่งนี้ด้วยซ้ำ
เธอยังเสริมว่าอุตสาหกรรมท่องเที่ยวถือว่ามีความสำคัญต่อประเทศญี่ปุ่นอย่างมาก และสำคัญต่อกรุงโตเกียวเช่นกัน นี่คือเวลาที่จะให้นักท่องเที่ยวกลับมาท่องเที่ยวญี่ปุ่นอีกครั้ง โดยใช้ความได้เปรียบของค่าเงินเยนที่อ่อนค่า ณ ตอนนี้
อย่างไรก็ดีรองหัวหน้าคณะรัฐมนตรีรายนี้ไม่ได้กล่าวถึงรายละเอียดช่วงเวลาว่ารัฐบาลจะมีการพิจารณามาตรการดังกล่าวเมื่อไหร่ รวมถึงมาตรการผ่อนคลายต่างๆ ที่ให้นักท่องเที่ยวเข้าญี่ปุ่นหลังจากนี้มีมากน้อยเพียงใด
]]>โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังญี่ปุ่นรายนี้แสดงความกังวลอย่างมาก หลังจากค่าเงินเยนมีการอ่อนค่าอย่างต่อเนื่อง
สอดคล้องกับ ฮารุฮิโกะ คุโรดะ ผู้ว่าการธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ได้กล่าวว่าค่าเงินเยนที่อ่อนค่าวันละ 2-3 เยน เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐนั้นถือว่าเป็นการอ่อนค่าที่รวดเร็วมากเกินไป และสร้างผลกระทบรวมถึงสร้างความไม่แน่นอนต่อภาคธุรกิจ นอกจากนี้เขากล่าวว่า BOJ จับตามองสถานการณ์ดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง
คำพูดของผู้ว่าการธนาคารกลางญี่ปุ่น ต่อเนื่องหลังจากที่รัฐมนตรีกระทรวงการคลัง ได้กล่าวว่า รัฐบาลญี่ปุ่นจะไม่ตัดตัวเลือกใด ๆ เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ
ค่าเงินเยนที่อ่อนค่าสาเหตุสำคัญมาจากนโยบายการเงินของธนาคารกลางญี่ปุ่นดำเนินการสวนทางกับธนาคารกลางสหรัฐฯ ในปัจจุบันญี่ปุ่นนั้นยังใช้มาตรการผ่อนคลายทางนโยบายการเงิน และกดอัตราดอกเบี้ยให้ต่ำ เพื่อที่จะแก้ปัญหาเงินฝืดที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมา ขณะที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ นั้นกลับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อที่จะแก้ปัญหาเงินเฟ้อ
ปัจจัยดังกล่าวนั้นทำให้นักลงทุนเทขายเงินเยน และกลับไปถือดอลลาร์สหรัฐแทน เนื่องจากส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยที่มากกว่าอัตตราดอกเบี้ยของญี่ปุ่น จึงทำให้ค่าเงินเยนอ่อนค่าอย่างรวดเร็ว
โดย BOJ จะจัดการประชุมนโยบายครั้งต่อไปในวันที่ 21-22 กันยายน
]]>สำนักข่าว Reuters รายงานว่าค่าเงินดอลลาร์ทำสถิติแข็งค่าสุดในรอบ 20 ปี เมื่อเทียบกับสกุลเงินอื่นๆ หลังจากที่ เจอโรม พาวเวล ประธานธนาคารกลางสหรัฐอเมริกา (Fed) ส่งสัญญาณว่าจะยังมีการขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างต่อเนื่อง เพื่อจะแก้ปัญหาเงินเฟ้อ
ดัชนีค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ (Dollar Index) ล่าสุด (เวลา 14:55) อยู่ที่ 109.221 และถ้าหากมองดัชนีดังกล่าวนับตั้งแต่ต้นปีแล้ว ค่าเงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้นมาแล้ว 14.16%
ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐแข็งค่ายังส่งผลทำให้ค่าเงินสกุลใหญ่อย่างค่าเงินยูโรอ่อนค่าที่สุดในรอบ 20 ปี โดยล่าสุดค่าเงินยูโรเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐอยู่ที่ 0.99415 ขณะที่ค่าเงินปอนด์ของอังกฤษนั้นอ่อนค่าสุดในรอบ 2 ปีครึ่งที่ 1.1676 ดอลลาร์สหรัฐต่อ 1 ปอนด์ ขณะเดียวกันค่าเงินบาทของไทยเองก็อ่อนค่าอยู่ที่ 36.45 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ
เจอโรม พาวเวล ประธานของ Fed ได้กล่าวเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาว่าทาง Fed จะขึ้นดอกเบี้ยนโยบายให้สูงเท่าที่จำเป็น เพื่อที่จะจัดการปัญหาของเงินเฟ้อ ซึ่งเป้าหมายเงินเฟ้อของ Fed นั้นอยู่ที่ 2% แต่อัตราเงินเฟ้อของสหรัฐล่าสุดในเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมานั้นอยู่ที่ 8.5%
สัญญาณการยังขึ้นดอกเบี้ยจากประธานของ Fed ยังทำให้คณะกรรมการของธนาคารกลางหลายประเทศ เช่น ธนาคารกลางยุโรปเองส่งสัญญาณว่าอาจมีการขึ้นดอกเบี้ยตาม Fed เพื่อที่จะกดเงินเฟ้อลงมาให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมเช่นกัน
]]>