Digital economy – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Sun, 28 Apr 2024 07:48:14 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 Stripe มอง 3 เทรนด์ธุรกรรมข้ามพรมแดน ชี้เศรษฐกิจดิจิทัลในอาเซียนมีศักยภาพเติบโตได้อีกมาก https://positioningmag.com/1471210 Sun, 28 Apr 2024 07:44:48 +0000 https://positioningmag.com/?p=1471210 Stripe แพลตฟอร์มให้บริการโครงสร้างพื้นฐานทางการเงิน มอง 3 เทรนด์ธุรกรรมข้ามพรมแดน นอกจากนี้ยังมองถึงศักยภาพของเศรษฐกิจดิจิทัลในอาเซียนยังเติบโตได้อีกมาก และมีแผนขยายบริการอื่นๆ ในประเทศต่างๆ ของทวีปเอเชียเพิ่ม

Positioning พูดคุยกับ ศริตา ซิงห์ กรรมการผู้จัดการประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อินเดีย และ จีน ของ Stripe และ ธีย์ ฉายากุล ผู้อำนวยการประจำประเทศไทยของ Stripe ถึงเรื่องเศรษฐกิจดิจิทัล โอกาสของอาเซียน หรือแม้แต่เรื่องการเจาะตลาดของ Stripe หลังจากนี้

ศริตา กล่าวถึงเศรษฐกิจโลกยังเติบโตได้ดีแม้ว่าจะพบเจอกับเรื่องต่างๆ มากมาย ขณะเดียวกันเธอได้กล่าวถึงทวีปเอเชียมีหลายประเทศที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลก จากการเติบโตของ GDP ที่สูง นอกจากนี้เธอยังได้ชี้ว่าสิ่งที่จะขับเคลื่อนเศรษฐกิจหลังจากนี้ก็คือเศรษฐกิจดิจิทัล

กรรมการผู้จัดการประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อินเดีย และ จีน ของ Stripe ยังกล่าวเสริมว่า “ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นหนึ่งในตลาดอินเทอร์เน็ตที่เติบโตเร็วที่สุดในโลกปัจจุบัน”

Stripe ได้มองถึงแนวโน้มสำคัญ 3 ประการที่ขับเคลื่อนการเติบโตในอนาคตภายในทศวรรษหน้า ได้แก่

  • การค้าข้ามพรมแดน รายงานล่าสุดของ Stripe เกี่ยวกับการค้าดิจิทัลทั่วโลกพบว่า 84% ของธุรกิจที่ทำการสำรวจได้ขายสินค้าและบริการในหลายตลาด และโลกออนไลน์ทำให้เข้าถึงผู้บริโภคทั่วโลก ทำให้หารายได้มากกว่าเดิม ปัจจุบันการทำธุรกรรมข้ามพรมแดนมีมากถึง 1 ใน 3 ของธุรกรรมทั่วโลก
  • การเติบโตของเศรษฐกิจแพลตฟอร์ม แม้ว่าแนวคิดเรื่องเศรษฐกิจแบบแพลตฟอร์มจะไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่ข้อสังเกตล่าสุดแสดงให้เห็นว่าแพลตฟอร์มและตลาดดิจิทัลกำลังกลายเป็นศูนย์กลางของเศรษฐกิจโดยรวมมากขึ้น ผู้บริหารของ Stripe ได้ชี้ให้เห็นจากบริการแพลตฟอร์มที่เติบโตขึ้น
  • ความเป็นผู้ประกอบการในภูมิภาคนี้ ผู้บริหารของ Stripe ได้ชี้ถึงหลายบริษัทเริ่มปลุกปั้นผู้ประกอบการภายในบริษัทตัวเอง ให้พนักงานสร้างธุรกิจได้

ผู้บริหารหญิงจาก Stripe ยังกล่าวเสริมว่า “เชื่อว่าภายใน 10 ปีข้างหน้า เศรษฐกิจดิจิทัลนั้นจะมีขนาดใหญ่กว่าเศรษฐกิจในโลกทั่วไปมากถึง 2.5 เท่า”

ไม่เพียงเท่านี้ เธอยังชี้ถึงคนทั่วไปได้เข้าถึงโลกออนไลน์เพิ่มขึ้น 125,000 คนต่อวันในอาเซียน ถือว่าเป็นปริมาณที่สูง ทำให้บริษัทมองเห็นโอกาส โดยประเทศไทยนั้น Stripe ได้ให้บริการในประเทศไทยตั้งแต่ช่วงปี 2022 เป็นต้นมา

ศริตา ซิงห์ – กรรมการผู้จัดการประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จีน และ และอินเดีย ของ Stripe / ภาพจากบริษัท

Stripe แตกต่างกับผู้ให้บริการรายอื่นอย่างไร

กรรมการผู้จัดการประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อินเดีย และ จีน ของ Stripe ได้กล่าวถึงแพลตฟอร์มของบริษัทนั้นถือว่าเป็นโครงสร้างทางพื้นฐานทางการเงิน และมองว่าบริการรับชำระเงินหรือ Payment Gateway นั้นถือว่าเป็นบริการส่วนหนึ่งเท่านั้น โดยบริษัทมีบริการอื่นไม่ว่าจะเป็น Banking As A Service บริการที่เกี่ยวข้องกับระบบอัตโนมัติ การจัดตั้งบริษัท เป็นต้น

ขณะที่ผู้อำนวยการประจำประเทศไทยของ Stripe ได้กล่าวเสริมว่า การสร้างความไว้ใจของ Stripe คือการที่ลูกค้าได้พบกับประสบการณ์ผ่านการใช้งานจริง และถ้าลูกค้าเห็นว่า Stripe ได้ช่วยบริษัททั่วโลกได้มากแค่ไหน ก็สามารถตัดสินใจได้ง่ายขึ้น ซึ่งปัจจุบันบริษัทได้ให้บริการด้านโครงสร้างพื้นฐาด้านการเงิน เช่น ระบบชำระเงินให้ลูกค้าหลายราย ไม่ว่าจะเป็น Toyota ไปจนถึง Spotify เป็นต้น

กรณีศึกษาในประเทศไทย

ผู้อำนวยการประจำประเทศไทยของ Stripe ได้ยกกรณีศึกษาของ จิม ทอมป์สัน แบรนด์ค้าปลีกแฟชั่นของไทยที่ต้องการธุรกิจไปยังตลาดทั่วโลก ธีย์ ได้กล่าวถึงทางแบรนด์ได้ติดต่อว่าทำอย่างไรให้ลูกค้าชาวต่างชาตินั้นสามารถสั่งซื้อสินค้าและทำธุรกรรมได้อย่างสะดวกมากกว่าผู้บริการเจ้าเดิม หรือแม้แต่การขยายธุรกิจไปยังประเทศสิงคโปร์ ทำยังไงให้ลูกค้ามีประสบการณ์ในการใช้งานระบบจ่ายเงินได้ดีสุด

ธีย์ ยังได้กล่าวถึงลูกค้าในประเทศไทยได้หันมาใช้ Stripe เยอะเพิ่มขึ้น นอกจากนี้บริษัทยังมีทีมพัฒนาในไทยเพื่อรับฟังความเห็นหรือหาวิธีการในการแก้ปัญหาให้กับลูกค้าชาวไทย ไม่ว่าจะเป็นลูกค้ารายย่อยหรือรายใหญ่ รวมถึงการพูดคุยกับหน่วยงานกำกับดูแล เพื่อพัฒนาวิธีการต่างๆ ให้ดีขึ้น

ขยายตลาดไปยังทวีปเอเชีย

ศริตา ได้กล่าวถึงการขยายธุรกิจของ Stripe ไปยังประเทศต่างๆ ทั่วเอเชียแปซิฟิกว่าในการขยายธุรกิจไปนั้นแต่ละประเทศต้องการผลิตภัณฑ์หรือบริการไม่เหมือนกัน อย่างเช่นในกรณีของประเทศไทยนั้นอาจไม่ได้ต้องการระบบการคิดภาษี ซึ่งของไทยนั้นใช้อัตราภาษีเดียวกัน แตกต่างกับบางประเทศ ฉะนั้นในการขยายบริการนั้นแต่ละประเทศก็จะได้รับบริการไม่เหมือนกัน

ขณะเดียวกันการเข้ามาของเทคโนโลยี AI นั้นบริษัทได้นำเทคโนโลยีดังกล่าวมาใช้โดยใช้ข้อมูลธุรกรรมไปวิเคราะห์พฤติกรรมที่ผิดปกติ ไม่ว่าจะเป็นการตรวจสอบธุรกรรมที่ผิดปกติ หรือแม้แต่การตรวจสอบเรื่องการฉ้อโกง

นอกจากนี้ Stripe เองยังเตรียมที่จะพัฒนาบริการหรือผลิตภัณฑ์ให้เหมาะสมกับผู้ใช้งานของประเทศนั้นๆ ด้วย

]]>
1471210
รายงานล่าสุดชี้เศรษฐกิจดิจิทัลในอาเซียนโตช้าลง คาดว่าปีนี้รายได้จากธุรกิจดิจิทัลแตะ 1 แสนล้านเหรียญได้ https://positioningmag.com/1450237 Wed, 01 Nov 2023 10:47:40 +0000 https://positioningmag.com/?p=1450237 Google Temasek และ Bain & Company ได้ออกรายงาน e-Conomy SEA ซึ่งรวมเศรษฐกิจดิจิทัลในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในปี 2023 นี้ โดยคาดว่ารายได้ของธุรกิจดิจิทัลจะแตะ 100,000 ล้านเหรียญสหรัฐได้

Google และกองทุนความมั่งคั่งของสิงคโปร์อย่าง Temasek รวมถึงบริษัทที่ปรึกษาธุรกิจอย่าง Bain & Company ได้ออกรายงาน e-Conomy SEA ประจำปี 2023 โดยประเด็นที่น่าสนใจในปีนี้คือเศรษฐกิจดิจิทัลในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 6 ประเทศ ได้แก่ ไทย มาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ เวียดนาม

Positioning สรุปประเด็นที่น่าสนใจของรายงานดังกล่าวมาฝาก 

ในรายงานได้ชี้ถึงสภาวะเศรษฐกิจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยังคงเติบโตได้ดี แม้ว่าสภาวะเศรษฐกิจภายนอกจะมีความผันผวน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ ขณะเดียวกันในรายงานมองว่าความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะกลับมาในไตรมาส 3

รายงานดังกล่าวชี้ว่าการเติบโตของเศรษฐกิจดิจิทัลหลังปี 2025 ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นั้นจะเติบโตได้ช้าลง หลังจากนี้ ในประเทศไทยเศรษฐกิจดิจิทัลในช่วงปี 2025-2030 เติบโตเฉลี่ยราวๆ 13% ต่อปี จากเดิมในช่วงปี 2023-2025 เติบโตได้มากถึง 17% ต่อปี

สำหรับรายได้จากเศรษฐกิจดิจิทัลในปี 2023 ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นั้นแตะระดับ 100,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐได้ในปีนี้ ซึ่งเติบโต 8 เท่าเมื่อเทียบกับปี 2016 ที่ผ่านมา ขณะด้านบริการด้านการเงินผ่านช่องทางดิจิทัล (ที่เป็นสีเทา) เองก็กำลังเติบโตเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นบริการลงทุน บริหารความมั่งคั่ง ประกัน ฯลฯ

ถ้าหากมาแยกเม็ดเงินของเศรษฐกิจดิจิทัล E-commerce ยังถือเป็นสัดส่วนมากที่สุดคือ หรือด้านอื่นอย่างด้านแพท่องเที่ยวถือว่าเติบโตได้ดี ซึ่งเป็นการฟื้นตัวกลับมาจากการแพร่ระบาดของโควิด ขณะที่ด้าน Online Media เริ่มเติบตัวชะลอลง

สำหรับธุรกิจ E-commerce ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รายได้ยังถือว่าเติบโต โดยในปี 2023 เติบโตมากถึง 22% อย่างไรก็ดีในช่วงทีผ่านมาผู้เล่นหลายรายเองก็ต้องเลือกว่าจะต้องทำให้รายได้เติบโต หรือแม้แต่ต้องป้องกันไม่ให้คู่แข่งรายใหม่เข้ามา

รายงานยังได้ชี้ถึงการลงทุนของ VC ต่างๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ลดลงจนสู่ระดับต่ำสุดในรอบ 6 ปี เนื่องจากต้นทุนทางการเงินที่สูงขึ้น (ผลจากการขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารกลาง) ขณะเดียวกันนักลงทุนก็คาดหวังว่าเหล่าบริษัทสตาร์ทอัพจะสามารถกลับมาทำกำไรได้ และสามารถดำเนินธุรกิจในระยะยาวแบบยั่งยืนได้

โดยในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประเทศไทยมีดีลการลงทุนเมื่อคิดมูลค่าเม็ดเงินแล้วที่น้อยสุด ในช่วงครึ่งปี 2023 นั้นมีการลงทุนแค่ 100 ล้านเหรียญสหรัฐเท่านั้น

สำหรับประเทศไทยเศรษฐกิจดิจิทัล รายงานดังกล่าวคาดว่าจะโตจนมีขนาด 100,000 ถึง 165,000 ล้านเหรียญสหรัฐภายในปี 2030 โดยขนาดใหญ่ที่สุดนั้นมาจาก E-Commerce รองลงมาคือ Online Travel และ Online Media

บริการเงินแบบดิจิทัลของไทยนั้นได้ผลดีจากการสนับสนุนของหน่วยงานกำกับดูแล โดยรายงานฉบับนี้คาดว่าภายในปี 2023-2025 จะทุกภาคส่วนจะเติบโตไม่น้อยกว่า 15% โดยในรายงานดังกล่าวมองว่าส่วนของบริการบริหารความมั่งคั่งจะเติบโตมากที่สุด รองลงมาคือบริการสินเชื่อผ่านช่องทางดิจิทัล

]]>
1450237
รายงานเผย เศรษฐกิจดิจิทัลในไทยโตเฉลี่ย 17% ต่อปีจนถึงปี 2025 นำโดยกลุ่ม E-commerce https://positioningmag.com/1405754 Thu, 27 Oct 2022 07:58:29 +0000 https://positioningmag.com/?p=1405754 รายงานเศรษฐกิจดิจิทัลในประเทศไทย ซึ่งจัดทำโดย Google, Temasek และ Bain & Company ระบุว่าเศรษฐกิจดิจิทัลของไทยนั้นเติบโตเฉลี่ย 17% ต่อปีจนถึงปี 2025 นำมาโดยกลุ่ม E-commerce ขณะเดียวกันในรายงานยังชี้ว่าธุรกิจการท่องเที่ยวออนไลน์ของไทยต้องใช้เวลาอย่างน้อย 2 ปี ก่อนที่จะกลับมาเติบโตก่อนการแพร่ระบาดของโควิด-19

ขณะเดียวกันในรายงานยังชี้ถึงบริการทางการเงินดิจิทัลของไทยนั้นอัตราการเติบโตที่มากที่สุดนั่นคือการลงทุนผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์นั้นเติบโตมากถึง 44% ต่อปีจนถึงปี 2025 รองลงมาคือการกู้ยืมเงินออนไลน์นั้นเติบโตได้มากถึง 39% ต่อปีจนถึงปี 2025

นอกจากนี้ในรายงานยังชี้ว่าการระดมทุนเพื่อลงทุนในบริการด้านการเงินดิจิทัลของไทยในครึ่งปีแรกของปี 2022 นั้นได้แซงหน้าธุรกิจ E-commerce ไปแล้ว ซึ่งเราจะเห็นได้จากในช่วงที่เกือบ 1 ปีผ่านมานั้นนักลงทุนจากต่างประเทศเริ่มสนใจที่จะลงทุนในแพลตฟอร์มด้านการเงินดิจิทัลมากขึ้น

ถ้าหากกลับมามองในอาเซียน 6 ประเทศได้แก่ ไทย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ เวียดนาม ในรายงานได้ชี้ว่าขนาดเศรษฐกิจดิจิทัลมูลค่าจะแตะ 2 แสนล้านเหรียญได้ภายในปี 2022 นี้ได้ ซึ่งไวกว่าคาดการณ์เดิมในรายงานฉบับปี 2016 ที่คาดว่าตัวเลขดังกล่าวจะเกิดขึ้นในปี 2025

ข้อมูลจาก Google, Temasek และ Bain & Company

อย่างไรก็ดีในรายงานดังกล่าวยังชี้ให้เห็นการเติบโตที่ช้าลงในหลายภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นการเติบโตของผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ต ที่จากเดิมเติบโตได้ราวๆ 10% ต่อปี แต่ล่าสุดลดลงเหลือ 4% ต่อปีแล้ว หรือแม้แต่การใช้งาน E-commerce ที่ลดลงเหลือแค่ 16% ต่อปีเท่านั้น

โดยบริการต่างๆ ที่ผู้ใช้งานใน 6 ประเทศได้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมใช้งานเพิ่มมากสุดคือการสั่งซื้อสินค้าออนไลน์ การสั่งอาหารออนไลน์ ขณะที่การดูวิดีโอสตรีมมิ่ง หรือมิวสิคสตรีมมิ่งนั้นยังมีอัตราการใช้งานที่รั้งท้าย

สำหรับอุตสาหกรรมบนเศรษฐกิจดิจิทัลอาเซียนในปี 2025 ในรายงานของ Google, Temasek และ Bain & Company วิเคราะห์ว่าจะยังเติบโต ได้แก่ ธุรกิจส่งอาหาร รวมถึง E-commerce ขณะที่ธุรกิจความบันเทิงหรือการทารอาหารนอกบ้านนั้นจะกลับเข้าสู่การเติบโตได้อีกครั้ง ขณะที่ธุรกิจท่องเที่ยวหรือขนส่งนั้นต้องใช้เวลาหลังปี 2025 ถึงจะกลับมาเติบโตก่อนช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19

]]>
1405754
วิเคราะห์เศรษฐกิจดิจิทัล ‘อาเซียน’ โตเเรง ดึงเงินทุนทั่วโลก ฉายเเววมี ‘ยูนิคอร์น’ เพิ่มขึ้น https://positioningmag.com/1362133 Mon, 15 Nov 2021 13:58:10 +0000 https://positioningmag.com/?p=1362133 เศรษฐกิจดิจิทัลในอาเซียน กำลังเป็นที่จับตามองจากนักลงทุนทั่วโลก หลังมีเเนวโน้มเติบโตสดใส แตะระดับ 1 ล้านล้านดอลลาร์ภายในปี 2030 จากจำนวนผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ต ‘หน้าใหม่’ ที่เพิ่มขึ้นในช่วงวิกฤตโรคระบาด เทคสตาร์ทอัพดาวรุ่ง การขับเคลื่อนธุรกิจออนไลน์ อีคอมเมิร์ซเเละการเงินดิจิทัล

Nikkei Asia นำเสนอบทวิเคราะห์น่าสนใจ ถึงเศรษฐกิจดิจิทัลของกลุ่มประเทศอาเซียนที่คาดว่าจะมีมูลค่าถึง 3.63 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ ภายในปี 2025 และมีโอกาสแตะระดับ 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ภายในปี 2030

ชาวเน็ตหน้าใหม่ มาพร้อมช้อปปิ้ง 

จากรายงาน e-Conomy SEA Report 2021 ซึ่งเผยเเพร่เมื่อ 10 ..ที่ผ่านมา โดยความร่วมมือของ Google , Temasek ของสิงคโปร์ และบริษัทที่ปรึกษาอย่าง Bain & Co. สำรวจกลุ่มเศรษฐกิจในอาเซียน 6 ประเทศ ได้แก่ เวียดนาม ไทย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย

พบว่า ในปีนี้มีผู้ใช้อินเทอร์เน็ตรายใหม่กว่า 40 ล้านคนในภูมิภาค เข้ามาในโลกออนไลน์ ทำให้ปัจจุบันยอดรวมของผู้เข้าถึงอินเทอร์เน็ตในอาเซียนเพิ่มขึ้นเป็น 350 ล้านคน คิดเป็น 75% ของประชากรทั้งภูมิภาค และที่สำคัญคือในจำนวนนี้กว่า 8 ใน 10 คน เคยสั่งซื้อของออนไลน์อย่างน้อย 1 ครั้ง

Stephanie Davis รองประธาน Google ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าวว่า ก่อนการแพร่ระบาดของโควิด-19 เมืองใหญ่ๆ ในภูมิภาคก็เป็นพื้นที่ที่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตและการบริโภคออนไลน์ในระดับสูงอยู่เเล้ว

เเต่หลังจากโรคระบาด การเปลี่ยนเเปลงที่เกิดขึ้นคือ จำนวนผู้เข้าถึงอินเทอร์เน็ตในพื้นที่นอกเมือง มีมากขึ้นเรื่อย ๆ และกลายมาเป็นผู้บริโภคกลุ่มใหญ่ในปี 2020 และขยายตัวมากขึ้นไปอีกในปีนี้ เราจะเริ่มมองไม่เห็นความแตกต่างระหว่างผู้บริโภคในเมืองและในชนบท

‘ยูนิคอร์น’ ในอาเซียนเริ่มมีมากขึ้นเรื่อยๆ 

อีกประเด็นสำคัญ คือ การเติบโตอย่างรวดเร็วของสตาร์ทอัพเทคโนโลยีที่มีมากขึ้นเรื่อยๆ ในภูมิภาคก็มีส่วนสำคัญที่ทำให้มูลค่าของเศรษฐกิจดิจิทัลของอาเซียนเพิ่มสูงขึ้นไปด้วย

โดยเฉพาะสตาร์ทอัพที่ประสบความสำเร็จระดับยูนิคอร์นที่มีมูลค่าบริษัทสูงกว่า 1,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ อย่าง ผู้ให้บริการซูเปอร์แอป Grab และ GoTo รวมถึง Sea Group บริษัทจดทะเบียนที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในปีนี้อาเซียน มีสตาร์ทอัพยูนิคอร์น เพิ่มขึ้นถึง 11 ราย ทำให้ปัจจุบันมียูนิคอร์นรวมเป็น 23 ราย

การที่บริษัทต่างๆ มุ่งเน้นไปในอีคอมเมิร์ซและเทคโนโลยีทางการเงิน จะมีส่วนช่วยเพิ่มมูลค่าของเศรษฐกิจอินเทอร์เน็ตของอาเซียนในทศวรรษหน้า

ท่ามกลางวิกฤตโรคระบาดที่ยืดเยื้อมานานเกือบ 2 ปีเกิดข้อจำกัดทางสังคมเเละเศรษฐกิจต่างๆ มากมายผู้บริโภคทั่วโลกต้องพึ่งพาบริการดิจิทัลอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

เหล่านี้ ทำให้มูลค่าของเศรษฐกิจอินเทอร์เน็ตในอาเซียนในปีนี้ ขยายตัวถึง 49% เป็น 1.74 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากระดับ 1.17 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2020

ธุรกิจการจัดส่งอาหาร หรือฟู้ดเดลิเวอรี่เป็นหนึ่งในบริการดิจิทัลที่เข้าถึงผู้บริโภคมากที่สุด โดย 71% ของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตเคยสั่งอาหารออนไลน์อย่างน้อยหนึ่งครั้ง

ขณะที่ บริการทางการเงินดิจิทัล ก็เติบโตอย่างแข็งแกร่ง’ รายงานระบุว่า การชำระเงินดิจิทัลและกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-wallets) กลายเป็นเทรนด์กระแสหลักอย่างรวดเร็ว เชื่อมโยงกับการเติบโตของอีคอมเมิร์ซ ที่การซื้อสินค้ามักจะถูกชำระผ่านออนไลน์แทนที่จะใช้เงินสด

การชำระเงินทางดิจิทัลขยายตัว 9% ตามมูลค่าธุรกรรมรวม จาก 6.46 เเสนล้านดอลลาร์ในปี 2020 เป็น 7.07 เเสนล้านดอลลาร์ในปีนี้ และคาดว่าจะสูงถึง 1.17 ล้านล้านดอลลาร์ ภายในปี 2025

ด้านการปล่อยสินเชื่อดิจิทัลในอาเซียน เพิ่มขึ้น 48% จาก 2.6 หมื่นล้านดอลลาร์ในปี 2020 เป็น 3.9 หมื่นล้านดอลลาร์ในปีนี้ เเละคาดว่าจะมีมูลค่าสูงถึง 1.16 เเสนล้านดอลลาร์ ภายในปี 2025

Photo : Shutterstock

ดึงดูดเงินทุนจากทั่วโลก 

ความโดดเด่นของฟินเทคและอีคอมเมิร์ซฉายเเสงดึงดูดความสนใจจากนักลงทุนในสตาร์ทอัพ รายงานของ Google ระบุว่า เงินทุนของจากทั่วโลกเข้ามาในกลุ่มสตาร์ทอัพด้านเทคโนโลยีของอาเซียนพุ่งสูงเป็นประวัติการณ์

โดยมูลค่าข้อตกลงทางธุรกิจในบริษัทเทคโนโลยีอาเซียนช่วง 6 เดือนแรกปีนี้ อยู่ที่ 11,500 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นราว 65% จากช่วงเดียวกันของปี 2020 และเกือบเท่ากับมูลค่ารวมของข้อตกลงตลอดทั้งปี 2020 ที่ 11,600 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

ส่วนใหญ่กระจุกตัวในอุตสาหกรรมการขนส่งและอาหาร สื่อออนไลน์และการเดินทางออนไลน์ โดยเฉพาะกลุ่ม Sea Group บริษัทเทคโนโลยีของสิงคโปร์ ที่มีมูลค่าตลาดถึง 2 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ ครอบคลุมหลายธุรกิจทั้งเกมออนไลน์อย่าง Garena เเละอีมาร์เก็ตเพลสอย่าง Shopee

การลงทุนส่วนใหญ่ที่เข้ามาในภูมิภาคนี้ ไม่ได้มาจากกลุ่มทุนในภูมิภาคหรือท้องถิ่นเท่านั้น เเต่กระแสเงินทุนจำนวนมากนี้มาจากนักลงทุนทั่วโลก

 

ที่มา : Nikkei Asia

]]>
1362133
‘เทนเซ็นต์ คลาวด์’ กับ ดาต้าเซ็นเตอร์แห่งที่ 2 ในไทย ก้าวสำคัญภารกิจปั้นไทยสู่ดิจิทัลฮับอาเซียน https://positioningmag.com/1338428 Tue, 29 Jun 2021 12:00:03 +0000 https://positioningmag.com/?p=1338428

ธุรกิจคลาวด์ เติบโตไม่หยุดในยุคเเห่งข้อมูล เป็น ‘เมกะเทรนด์’ ที่เข้าไปอยู่ในชีวิตประจำวันของผู้บริโภค เมื่อทุกระบบต้องเชื่อมต่อกันอย่างรวดเร็ว องค์กรต่างๆ จึงต้องปรับตัวให้ก้าวทัน สรรหาโซลูชั่นจัดการข้อมูลที่มีอยู่มากมายมหาศาล เเละมีความซับซ้อนมากขึ้นเรื่อยๆ

จากข้อมูลของ Frost & Sullivan พบว่าในปี 2563 กว่า 52% ขององค์กรทั่วโลกใช้บริการคลาวด์ และอีก 34% มีแนวโน้มจะเพิ่มโครงสร้างพื้นฐานระบบคลาวด์ภายในสองปีข้างหน้า

ด้านข้อมูลล่าสุดจาก Gartner คาดว่าจะมีการใช้จ่ายด้านบริการคลาวด์สาธารณะของผู้ใช้งานทั่วโลก เพิ่มขึ้น 23.1% ในปี 2564 เป็น 332.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจาก 270 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ    ในปี 2563

ข้อมูลเหล่านี้เเสดงให้เห็นถึงการ ‘ขยายตัว’ ของอุตสาหกรรมคลาวด์ ยิ่งในช่วงวิกฤตโรคระบาดที่ผู้คนขยับมาอยู่บนเเพลตฟอร์มออนไลน์มากขึ้น ทั้งการทำงานเเละเรียนทางไกล ค้าขายอีคอมเมิร์ซ เก็บข้อมูลเเละติดต่อสื่อสารต่างๆ

สำหรับประเทศไทย ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ก็มีความต้องการด้านโซลูชันคลาวด์อัจฉริยะขององค์กรต่างๆ ‘เพิ่มสูงขึ้น’ จากปัจจัยการเติบโตของระบบเศรษฐกิจดิจิทัล (Digital economy) อย่างเห็นได้ชัดเช่นกัน


‘เทนเซ็นต์’ จับเทรนด์โลก ทุ่มบุกตลาด ‘คลาวด์’

เเบรนด์ที่เราคุ้นเคยกันดีอย่าง ‘เทนเซ็นต์’ (Tencent) เป็นอีกหนึ่งบริษัทเทคโนโลยีชั้นนำของโลกที่ขยายมายังธุรกิจนี้กับบทบาทการเป็นผู้ให้บริการระบบปฏิบัติการคลาวด์ระดับเวิลด์คลาส รองรับความต้องการเเละการใช้จ่ายผ่านคลาวด์ที่กำลังเติบโตทั่วโลกในหลากหลายอุตสาหกรรม เช่น ภาคการผลิต (Manufacturing)    ค้าปลีก สุขภาพ สื่อและบันเทิง ฯลฯ

โดยล่าสุดเทนเซ็นต์ คลาวด์ (Tencent Cloud) กลุ่มธุรกิจคลาวด์ภายใต้เทนเซ็นต์ เพิ่งประกาศ เปิดตัวศูนย์ข้อมูลอินเทอร์เน็ต (Internet Data Center) แห่งใหม่ในกรุงเทพฯ แฟรงก์เฟิร์ต และโตเกียว ซึ่งเป็นพื้นที่ให้บริการโซนที่สอง (Second availability zone -AZ2) และในฮ่องกง ซึ่งเป็นพื้นที่ให้บริการโซนที่สาม (Third availability zone – AZ3)

ก่อนหน้านี้ ในช่วงปลายปี 2563  เทนเซ็นต์ คลาวด์ ได้เปิดพื้นที่ให้บริการโซนที่สองในเกาหลีใต้ ตามด้วยการเปิดตัวศูนย์ข้อมูลอินเทอร์เน็ตแห่งแรกในอินโดนีเซีย และพื้นที่ให้บริการโซนที่สามในสิงคโปร์เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมาพร้อมมีกำหนดจะเปิดตัวศูนย์ข้อมูลอินเทอร์เน็ตแห่งที่สองในอินโดนีเซีย และแห่งแรกในบาห์เรนภายในสิ้นปีนี้

นับเป็นความเคลื่อนไหวที่น่าสนใจ สะท้อนให้เห็นถึงกลยุทธ์ใหม่เเละทิศทางขยายการลงทุนในต่างประเทศของธุรกิจเทคโนโลยี

อีกประเด็นที่น่าสนใจคือ การเปิดตัวศูนย์ข้อมูลอินเทอร์เน็ตแห่งใหม่ ทั้งกรุงเทพฯ แฟรงก์เฟิร์ต ฮ่องกง และโตเกียว ‘ในช่วงเวลาเดียวกัน’ ก็สื่อถึงก้าวสำคัญในการสร้างการเติบโตด้านโครงสร้างพื้นฐาน     ระดับโลกของเทนเซ็นต์ คลาวด์ด้วย

โดยการเพิ่มศูนย์ข้อมูลอินเทอร์เน็ตเหล่านี้ จะทำให้เทนเซ็นต์ คลาวด์ สามารถให้บริการได้ถึง 27 ภูมิภาค และ 66 พื้นที่ให้บริการทั่วโลก ถือเป็นการ ‘เพิ่มศักยภาพ’ เพื่อตอบสนองความต้องการทางธุรกิจที่เติบโตต่อเนื่องได้อย่างน่าสนใจ


ปั้นดาต้าเซ็นเตอร์ใหม่ในไทย สู่ดิจิทัลฮับอาเซียน

 “เทนเซ็นต์ คลาวด์ เล็งเห็นถึงศักยภาพของประเทศไทย เเละพร้อมผลักดันให้เป็นศูนย์กลางดิจิทัลของภูมิภาคอาเซียนในอนาคต”

มร.ชาง ฟู ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ บริษัท เทนเซ็นต์ (ประเทศไทย) จํากัด กล่าวถึง          เป้าหมายสำคัญของการเปิดศูนย์บริการแห่งที่สองในไทย พร้อมความตั้งใจจะช่วยเหลือและส่งเสริมธุรกิจ     ในทุกอุตสาหกรรม ให้องค์กรต่างๆ สามารถปรับใช้ระบบปฏิบัติการคลาวด์ได้รวดเร็ว มีการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพ ทันสมัยยิ่งขึ้นเเละสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืน

สำหรับศูนย์ข้อมูลอินเทอร์เน็ตในไทยแห่งที่สองของเทนเซ็นต์ คลาวด์นั้น เป็นศูนย์ข้อมูลระดับ Tier 3     มีเทคโนโลยีที่สามารถรองรับการให้บริการได้อย่างเต็มที่ มาพร้อมกับกระบวนการแลกเปลี่ยนข้อมูลเส้นทางระหว่างเกทเวย์ (Border Gateway Protocol: BGP) ที่มีความน่าเชื่อถือและคุณภาพสูง   ทำงานร่วมกับผู้ให้บริการเครือข่ายรายใหญ่ทั้งในและต่างประเทศ


จุดเด่นของดาต้าเซ็นเตอร์ เเห่งที่ 2 ในไทย มีอะไรบ้าง ?

เจาะลึกลงไปถึงการทำงานศูนย์ข้อมูลแห่งที่สองของเทนเซ็นต์ คลาวด์ ในประเทศไทย พบว่ามี ‘จุดเด่น’      ใน 3 ด้านหลักๆ ได้เเก่

  • ระบบเซิร์ฟเวอร์ที่เป็นโครงสร้างพื้นฐาน (Server)

โดยโครงสร้างพื้นฐานที่นำมาติดตั้งที่ศูนย์ข้อมูลแห่งที่สองของไทยนั้นเป็นรุ่นใหม่ล่าสุด ซึ่งมีการเพิ่มเทคโนโลยีเพื่อเสริมศักยภาพของบริการคลาวด์ สามารถรองรับปัญญาประดิษฐ์ (Artificial intelligence)    ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

“เมื่อ AI มีการคำนวณที่ต้องใช้สเปคที่สูงขึ้น เทคโนโลยีใหม่นี้จะสามารถทำให้การทำงานดีขึ้น รวดเร็วขึ้น และประหยัดพลังงาน”

  • การทำงานของ Graphics Processing Unit (GPU)

ช่วยเพิ่มศักยภาพในการประมวลผลต่างๆให้สามารถประมวลผลได้เร็วขึ้น และรองรับการทำ parallel computing ด้วย Bare Metal Service หรือ Cloud Physical Server ที่สร้างความยืดหยุ่นในการใช้งาน ซึ่งโดยปกตินั้น Cloud virtual machine จะสามารถรองรับการใช้งานได้แค่ window หรือ ลีนุกซ์ เท่านั้น แต่ Bare Metal Service ในศูนย์ข้อมูลแห่งที่สองของไทย สามารถรองรับระบบปฎิบัติการ (Operation system) อื่นๆ ได้ โดยขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้ใช้งาน

  • รองรับการให้บริการโซลูชันอัจฉริยะต่างๆ จากเทนเซ็นต์ คลาวด์

เนื่องจากเทคโนโลยีที่ทันสมัยขึ้น ทำให้ศูนย์ข้อมูลในไทยแห่งที่สองของเทนเซ็นต์ คลาวด์นั้น สามารถรองรับ Smart solution ได้อย่างมีประสิทธิภาพและส่งเสริมการทำงานได้อย่างรวดเร็ว อาทิ เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) Internet of Things (IoT) ระบบการจดจำใบหน้า (Facial Recognition) เทคโนโลยีการจดจำตัวอักษร หรือ Optical Character Recognition (OCR) บริการถ่ายทอดวิดีโอไลฟ์ (LVB) เป็นบริการสำหรับการถ่ายทอดไฟล์วิดีโอ/ไฟล์เสียงไลฟ์แบบต่อเนื่อง เป็นต้น

เมื่อตลาดโตเร็ว ย่อมมีคู่เเข่งเยอะตามไปด้วย ท่ามกลางตลาดธุรกิจคลาวด์อันดุเดือดนี้

นอกจากเครือข่ายโครงสร้างพื้นฐานของระบบปฏิบัติการคลาวด์ และเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) ที่มี   ความแข็งแกร่ง และครอบคลุมทั่วโลกแล้ว ‘เทนเซ็นต์ คลาวด์’ ยังมีจุดเเข็งด้านความเชี่ยวชาญและความเข้าใจเชิงลึกในด้านการให้บริการด้วยแพลตฟอร์มขนาดใหญ่จากบริษัทแม่ที่มีผู้ใช้งานกว่าหนึ่งพันล้านคนทั่วโลก     รวมไปถึงเรื่องความน่าเชื่อถือ ความปลอดภัย และการทำงานที่มีประสิทธิภาพสูง

นอกจากนี้ ยังสามารถนำเสนอโซลูชันระบบคลาวด์ที่มีความยืดหยุ่น ครอบคลุมความต้องการของแต่ละธุรกิจ ด้วยเครือข่ายที่ปลอดภัยเเละหลากหลาย

พร้อมมีทีมสนับสนุนในประเทศไทย ที่สามารถให้บริการและคำปรึกษากับลูกค้าคนไทย เพื่อตอบสนอง     ความต้องการของผู้ใช้งานในประเทศ และมีศูนย์จัดเก็บข้อมูล (Data Center) ที่ตั้งอยู่ในประเทศ          เพื่อให้การถ่ายโอนข้อมูลเป็นไปอย่างรวดเร็วและปลอดภัย

นับเป็นอีกก้าวสำคัญของ ‘เทนเซ็นต์ คลาวด์’ ที่จะเข้ามาเสริมเครือข่ายโครงสร้างพื้นฐาน รับการเติบโตของ ‘สมาร์ทโซลูชัน’ ภาคธุรกิจไทย พร้อมยกระดับและผลักดันศักยภาพของประเทศไทย     ให้เป็นศูนย์กลางดิจิทัลของอาเซียนในอนาคตข้างหน้า…น่าจับตามองยิ่ง  

ผู้ที่สนใจสามารถติดต่อ Tencent Cloud ได้ ที่นี่ หรือโทร +662-833-3000

]]>
1338428