FED – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Thu, 27 Jul 2023 06:30:42 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 Fed ประกาศขึ้นดอกเบี้ยอีกครั้ง ล่าสุดอยู่ที่ 5.25% ทำสถิติสูงสุดในรอบ 22 ปี ส่งสัญญาณไม่ลดดอกเบี้ย https://positioningmag.com/1439165 Thu, 27 Jul 2023 05:40:53 +0000 https://positioningmag.com/?p=1439165 ธนาคารกลางสหรัฐฯ ประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกครั้ง ตราดอกเบี้ยในสหรัฐอเมริกาล่าสุดอยู่ในช่วง 5.25-5.5% ซึ่งถือเป็นอัตราดอกเบี้ยที่สูงที่สุดในรอบ 22 ปี และยังไม่ส่งสัญญาณการลดดอกเบี้ยลงมาด้วยซ้ำ

คณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงิน (FOMC) ของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก 0.25% ซึ่งทำให้อัตราดอกเบี้ยในสหรัฐอเมริกาล่าสุดอยู่ในช่วง 5.25-5.5% ซึ่งถือเป็นอัตราดอกเบี้ยที่สูงที่สุดในรอบ 22 ปี และเป็นการขึ้นอัตราดอกเบี้ยติดต่อกันครั้งที่ 11 แล้ว

ในรายงานของ Fed ได้ชี้ถึงการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนั้นมีแนวโน้มที่จะส่งผลกระทบต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจ การจ้างงาน และอัตราเงินเฟ้อ และ Fed เองได้ให้ความสำคัญในการขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อที่จะทำให้ตัวเลขเงินเฟ้อกลับเข้าสู่เป้าหมายระยะยาวที่ 2% ให้ได้

ตัวเลขเงินเฟ้อในเดือนมิถุนายนที่ผ่านมาอยู่ที่ 3% ซึ่งลดลงตามลำดับในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา หลังจากที่เงินเฟ้อของสหรัฐฯ ทำสถิติสูงสุดที่ 9.1% ในปี 2022 ที่ผ่านมา

ขณะเดียวกันรายงานของ Fed ยังกล่าวถึงอุตสาหกรรมภาคการธนาคารของสหรัฐฯ ยังเข้มแข็ง และมีความยืดหยุ่น เพื่อที่จะสร้างความมั่นใจให้กับนักลงทุนรวมถึงประชาชนด้วย

เจอโรม พาวเวล ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ ไม่ได้ส่งสัญญาณที่จะลดอัตราดอกเบี้ยลงในระยะเวลาอันใกล้นี้ด้วย และเปิดช่องไว้ว่าอาจมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกครั้งในเดือนกันยายนนี้ โดย Fed จะติดตามดูข้อมูลทางเศรษฐกิจในช่วง 2 เดือนหลังจากนี้

ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ ยังกล่าวเสริมว่าจะพยายามทำให้เศรษฐกิจสหรัฐฯ ชะลอตัวลงแบบค่อยเป็นค่อยไป หลังจากที่ชะลอการขึ้นดอกเบี้ยในเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา และพยายามไม่ให้ผลกระทบของการขึ้นดอกเบี้ยส่งผลต่อตลาดแรงงานมากเกินไป ซึ่งปัจจัยเหล่านี้จะทำให้เศรษฐกิจของสหรัฐฯ จะไม่เข้าสู่สภาวะถดถอย

ในบทวิเคราะห์ของ Goldman Sachs มองว่า แถลงการณ์ของ Fed ไม่ได้ส่งสัญญาณว่าการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยจะชะลอลงแต่อย่างใดด้วยซ้ำ อย่างไรก็ดี สถาบันการเงินรายนี้ยังคงคาดหวังว่าท้ายที่สุดแล้วจะมีการคงดอกเบี้ยในเดือนกันยายนที่จะถึงนี้

]]>
1439165
ธนาคารกลางสหรัฐฯ ประกาศคงดอกเบี้ยนโยบาย แต่ส่งสัญญาณอาจขึ้นได้อีก 2 ครั้งหลังจากนี้ https://positioningmag.com/1434140 Thu, 15 Jun 2023 06:15:19 +0000 https://positioningmag.com/?p=1434140 ธนาคารกลางสหรัฐอเมริกา (Fed) ได้ประกาศคงอัตราดอกเบี้ยไว้ในช่วง 5-5.25% อย่างไรก็ดีก็ได้ส่งสัญญาณอาจขึ้นดอกเบี้ยได้อีก 2 ครั้งหลังจากนี้ และยังยืนยันถึงเป้าหมายสำคัญที่ทำให้อัตราเงินเฟ้อของสหรัฐฯ ลดลงมาตามเป้าหมายให้ได้

Fed ได้ประกาศคงอัตราดอกเบี้ย โดยล่าสุดอัตราดอกเบี้ยนโยบายของสหรัฐอเมริกาจะอยู่ในช่วง 5-5.25% ซึ่งตัวเลขดังกล่าวตามมาหลังจากสหรัฐอเมริกาได้รายงานตัวเลขเงินเฟ้อ ซึ่งล่าสุดอยู่ที่ 4% ต่ำที่สุดในรอบ 2 ปีที่ผ่านมา

อัตราดอกเบี้ยนโยบายของสหรัฐฯ ที่ทาง Fed ประกาศขึ้น 10 ครั้งถือเป็นอัตราดอกเบี้ยมากที่สุดในรอบ 16 ปีของเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกา และยังเป็นรอบการขึ้นอัตราดอกเบี้ยที่ไวมากที่สุดรอบหนึ่งเพื่อที่จะสกัดกั้นปัญหาเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้นในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา

ในคาดการณ์ของ Fed ยังมองว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ ปีนี้จะเติบโตอยู่ที่ 1% จากเดิมที่มองว่า GDP ของแดนมะกันจะโตแค่ 0.4% เท่านั้น ในด้านของตลาดแรงงานมองว่าอัตราการว่างงานของสหรัฐฯ จะอยู่ที่ราวๆ 4.1% และอัตราเงินเฟ้อในช่วงสิ้นปี 2023 จะอยู่ที่ 3.9% ซึ่งสูงกว่าเป้าหมายของ Fed ด้วย

อย่างไรก็ดีทางธนาคารกลางสหรัฐฯ นั้นได้ส่งสัญญาณว่าจะมีการขึ้นดอกเบี้ยอีก 2 ครั้ง โดยการชะลอขึ้นดอกเบี้ยครั้งนี้เพื่อที่จะดูตัวเลขทางเศรษฐกิจให้แน่ใจอีกครั้ง สอดคล้องกับ เจอโรม พาวเวลล์ ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ และเป็นหนึ่งในคณะกรรมการนโยบายการเงินได้กล่าวว่าการที่ต้องกดตัวเลขเงินเฟ้อให้ต่ำลงจะต้องใช้ระยะเวลา

ในบทวิเคราะห์ของ Bank of America สถาบันการเงินรายใหญ่ ได้มองว่าการที่ Fed ได้ส่งสัญญาณว่าจะมีการขึ้นดอกเบี้ยอีก 2 ครั้ง ทำให้คาดว่าการประกาศลดอัตราดอกเบี้ยลงมานั้นคาดว่าจะอยู่ในช่วงเดือนพฤษภาคมปี 2024 จากเดิมที่คาดว่าจะอยู่ในช่วงเดือนมีนาคม 

ที่มา – CNBC,

]]>
1434140
Fed ประกาศขึ้นดอกเบี้ยอีก 0.25% ยังมองตัวเลขเงินเฟ้อสหรัฐฯ สูง ย้ำระบบธนาคารยังแข็งแกร่ง https://positioningmag.com/1429552 Thu, 04 May 2023 12:08:15 +0000 https://positioningmag.com/?p=1429552 ธนาคารกลางสหรัฐอเมริกา (Fed) ประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก 0.25% เป็นการปรับขึ้นดอกเบี้ย 10 ครั้งในรอบ 14 เดือนนับตั้งแต่เดือนมีนาคมปี 2022 ที่ผ่านมา เพื่อที่จะสกัดกั้นเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงมากขึ้นในเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกา แต่ก็ไม่ปิดโอกาสที่จะหยุดการขึ้นดอกเบี้ยหลังจากนี้ 

การขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งนี้ของ Fed จะทำให้ล่าสุดอัตราดอกเบี้ยนโยบายของสหรัฐอเมริกาอยู่ในช่วง 5 ถึง 5.25% ซึ่งถือว่าเป็นอัตราดอกเบี้ยที่สูงสุดในรอบ 16 ปี หลังจากการขึ้นดอกเบี้ยเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา

ในคำแถลงของธนาคารกลางสหรัฐฯ ยังยืนยันถึงความพยายามที่จะทำให้เงินเฟ้อของสหรัฐนั้นกลับมาสู่เป้าหมายระยะยาวที่ 2% ให้ได้ ซึ่งตัวเลขล่าสุดในเดือนมีนาคมนั้นอัตราเงินเฟ้อในสหรัฐอเมริกาอยู่ที่ 4.98% ซึ่งถือว่าต่ำสุดนับตั้งแต่ปี 2021 เป็นต้นมาแล้วก็ตาม แต่ Fed ก็ยังมองว่าสูงเกินไป

นอกจากนี้ยังมีการกล่าวถึงภาคการธนาคารของสหรัฐอเมริกายังมีความมั่นคงและยืดหยุ่น อย่างไรก็ดี อัตราดอกเบี้ยที่สูงส่งผลทำให้ภาพรวมสินเชื่อสำหรับครัวเรือนและธุรกิจนั้นตึงตัวมากขึ้น ทำให้มีแนวโน้มจะส่งผลกระทบต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจ การจ้างงาน และอัตราเงินเฟ้อด้วย

มุมมองของ Bank of America สถาบันการเงินรายใหญ่อีกรายได้ออกบทวิเคราะห์โดยมองว่า ถ้าหากสถานการณ์ตลาดแรงงานยังคงตึงตัว รวมถึงอัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับสูง ก็มีความเป็นไปได้ที่จะเห็น Fed ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือนมิถุนายนได้ ถ้าหากเหตุการณ์สถาบันการเงินในสหรัฐนั้นดูดีมากกว่านี้

อย่างไรก็ดีธนาคารกลางสหรัฐไม่ปิดโอกาสที่จะมีการหยุดขึ้นดอกเบี้ย โดยกล่าวถึงว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ เฝ้าจับตาสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ และเตรียมที่จะปรับจุดยืนของธนาคารกลางสหรัฐ ถ้าหากมีความเสี่ยงที่ขัดกับเป้าหมายของธนาคารกลาง

ที่มา – CNN, NBC News, CBS News, ส่วนหนึ่งจากบทวิเคราะห์ของ Bank of America

]]>
1429552
Fed ประกาศขึ้นดอกเบี้ยอีก 0.25% แม้จะมีวิกฤตภาคธนาคารในช่วงที่ผ่านมาก็ตาม https://positioningmag.com/1424555 Thu, 23 Mar 2023 02:07:51 +0000 https://positioningmag.com/?p=1424555 ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก 0.25% เพื่อที่จะสกัดเงินเฟ้อไม่ให้เพิ่มขึ้นไปมากกว่านี้ แม้ว่าจะมีวิกฤตภาคธนาคารในช่วงที่ผ่านมาก็ตาม โดยประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ ยังยืนยันถึงความแข็งแกร่งของภาคการธนาคารที่ยังมีสภาพคล่องรวมถึงเงินทุนที่แข็งแกร่ง

ธนาคารกลางสหรัฐอเมริกาประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีก 0.25% ซึ่งจะทำให้ล่าสุดอัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่ในช่วง 4.75 ถึง 5.0% และยังถือว่าเป็นอัตราดอกเบี้ยที่สูงที่สุดนับตั้งแต่ปี 2006 เป็นต้นมา เพื่อที่จะปราบเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้นในช่วงที่ผ่านมาลดลงให้ได้

คำแถลงของธนาคารกลางสหรัฐฯ ได้กล่าวถึงความพยายามที่จะทำให้เงินเฟ้อของสหรัฐนั้นกลับมาสู่เป้าหมายระยะยาวที่ 2% ให้ได้

ขณะที่ปัญหาของภาคการธนาคาร Jerome Powell ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ ยังได้พยายามกล่าวเพื่อสร้างความมั่นใจให้กับนักลงทุนเกี่ยวกับระบบธนาคารที่มีปัญหาในช่วงที่ผ่านมาว่า การบริหารจัดการของ Silicon Valley Bank ถือว่า “ล้มเหลวอย่างมาก” แต่การล่มสลายของธนาคารไม่ได้บ่งชี้ถึงจุดอ่อนที่เพิ่มขึ้นในระบบธนาคาร

อย่างไรก็ดีประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ ได้เตือนถึงผลกระทบที่เกิดจากผลกระทบของ Silicon Valley Bank ในช่วงหลังจากนี้ ขณะที่กรณีที่ UBS ได้เข้าซื้อกิจการของ Credit Suisse นั้นมองว่าเป็นผลลัพธ์ในเชิงบวก

แต่ในภาพรวมแล้วประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ ยังกล่าวว่าภาคการธนาคารสหรัฐยังมีสภาพคล่อง รวมถึงเงินกองทุนขั้นต้นของภาคธนาคารที่แข็งแกร่ง และยืนยันว่าจะใช้เครื่องมือต่างๆ รวมถึงการจับตามอง เพื่อจะทำให้ภาคการธนาคารมีความปลอดภัย

ขณะที่คาดการณ์ของธนาคารกลางสหรัฐฯ ยังมองว่าอัตราดอกเบี้ยจะยังคงสูงต่อไปจนถึงปี 2025 ขณะเดียวกันอัตราเงินเฟ้อในสหรัฐอเมริกาในปีนี้ก็ยังคงสูง ซึ่งทำให้ตลาดที่คาดว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ จะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในปีนี้นั้นอาจไม่เป็นไปตามคาด

นอกจากนี้คณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินยังให้มุมมองว่าจะจับตาดูผลกระทบของเศรษฐกิจหลังจากการขึ้นดอกเบี้ยหลังจากนี้อีกด้วย

ที่มา – NBC News, BBC News, CBS News

]]>
1424555
จะเกิดอะไรกับเศรษฐกิจโลก เมื่อเฟดขึ้นดอกเบี้ยแรงกว่าคาด https://positioningmag.com/1386310 Tue, 24 May 2022 08:29:00 +0000 https://positioningmag.com/?p=1386310

โดย ตราวุทธิ์ เหลืองสมบูรณ์ CEO Jitta Wealth

แม้ผลประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ (FED) ครั้ง 2 ในรอบปี 2565 เมื่อต้นเดือนพฤษภาคมได้ผ่านพ้นไปแล้ว แต่นักลงทุนทั่วโลกยังคงปั่นป่วนกับการดำเนินนโยบายดอกเบี้ยขาขึ้นของเฟด ด้วยคำถามตัวโตๆ ว่าจะควบคุมเงินเฟ้อสูงได้จริงหรือไม่ และเศรษฐกิจจะไปต่อหรือถดถอย?   

จากผลประชุมเฟดเมื่อวันที่ 3-4 พฤษภาคมที่ผ่านมา มีมติขึ้นดอกเบี้ยอีก 0.50% ออกมาตามที่ตลาดได้คาดการณ์ไว้ และถือเป็นการปรับขึ้นดอกเบี้ยครั้งใหญ่ที่สุดในรอบกว่า 22 ปี เพื่อควบคุมอัตราเงินเฟ้อที่พุ่งทยานขึ้นอย่างรุนแรง พร้อมกับส่งสัญญาณชัดเจนต่อทิศทางการปรับขึ้นดอกเบี้ย 0.50% ในระยะข้างหน้าด้วย เพื่อช่วยประคองเสถียรภาพเศรษฐกิจสหรัฐฯ ไปต่อได้ไม่สะดุด

เฟดขึ้นดอกเบี้ยแรง แก้โจทย์เงินเฟ้อ ตลาดลงทุนป่วน

ผมขอย้อนบรรยากาศตลาดหุ้นที่ดีดขึ้นและร่วงลงแรงในช่วงต้นเดือนพฤษภาคม หลังจากเฟดแถลงผลประชุมเมื่อวันที่ 4 พฤษภาคมที่ผ่านมา ‘เจอโรม พาวเวลล์’ ประธานเฟดได้แถลงต่อสื่อมวลชนในรอบ 2 ปีว่า ได้มีมติปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยระยะสั้น 0.50% สู่ระดับ 0.75% – 1.00% ซึ่งถือเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2543 พร้อมเปิดแผนปรับลดขนาดงบดุล (Quantitative Tightening : QT) เริ่มตั้งแต่เดือนมิ.ย. จะลดขนาดงบดุลในวงเงิน 4.75 หมื่นล้านดอลลาร์/เดือน เป็นเวลา 3 เดือน

หลังจากนั้นจะลดขนาดงบดุลเป็น 9.5 หมื่นล้านดอลลาร์/เดือน ซึ่งงบดุลดังกล่าวประกอบด้วยพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ และตราสารหนี้ที่มีสินเชื่อที่อยู่อาศัยเป็นหลักประกันการจำนอง (MBS) โดยขณะนี้มีมูลค่ารวม 8.9 ล้านล้านดอลลาร์ ซึ่งเฟดจะปล่อยให้ตราสารเหล่านี้หมดอายุไปโดยไม่มีการซื้อเพิ่มแต่อย่างใด 

Photo : Shutterstock

ตลาดหุ้นสหรัฐฯ นำโดยดัชนี S&P 500 ดีดตัวขึ้นสู่กว่า 1,000 จุดหรือ 2.8% และดัชนี Nasdaq เด้งขึ้น 3.3% อย่างไรก็ตาม ตลาดให้ความสำคัญต่อประเด็นที่คาดว่าเฟดอาจจะต้องปรับขึ้นดอกเบี้ยถึง 0.75% ในครั้งถัดไป แต่ประธานเฟดได้ตอบปฏิเสธว่ายังไม่มีแผนจะขึ้นดอกเบี้ย 0.75%ในอนาคตอันใกล้นี้

พร้อมกับย้ำว่า ขนาดยา 0.50% ที่ FOMC จะใช้ในครั้งนี้ หากเกิดประสิทธิผลต่อการสกัดเงินเฟ้อได้และทำให้เศรษฐกิจเป็นไปตามคาดได้ ก็จะพิจารณาปรับขึ้นดอกเบี้ยอีก 0.50% ในการประชุม 2-3 ครั้งข้างหน้าต่อไป ภายใต้การประเมินว่า เริ่มจะเห็นอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน (Core inflation) ถึงจุดสูงสุดแล้ว การที่เฟดจะเร่งขึ้นดอกเบี้ยอย่างเร็ว ก็เพื่อจะให้กลับไปที่ดอกเบี้ย Neutral rate ที่อยู่ระดับ 2-3%

ระทึก!! เศรษฐกิจ ‘soft landing’ หรือ ‘ถดถอย’

ประธานเฟดยังเลี่ยงที่จะตอบว่าความเสี่ยงเศรษฐกิจสหรัฐฯ จะเข้าสู่ภาวะถดถอยหรือไม่ โดยระบุแค่ว่า มีโอกาสที่จะเห็นเศรษฐกิจชะลอตัวลงในลักษณะ ‘soft landing’ แต่ก็ยังขยายตัวสูงกว่า 2% เนื่องจากภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจยังคงมีสถานะการเงินที่แข็งแกร่ง และตลาดแรงงานก็อยู่ในภาวะที่แข็งแกร่งมากด้วย แต่ก็ยอมรับว่าไม่ใช่เรื่องง่ายและเป็นความท้าทายเช่นกัน    

Photo : Shutterstock

ถ้อยแถลงเหล่านี้ ไม่สามารถสร้างความเชื่อมั่นแก่นักลงทุนได้เลย เนื่องจากแนวโน้มเงินเฟ้อที่ยังพุ่งแรง จากตัวเร่งจากความขัดแย้งรัสเซีย-ยูเครนที่ยืดเยื้อ กลุ่มสหภาพยุโรป (EU) ประกาศแบนการนำเข้าก๊าซธรรมชาติและน้ำมันจากรัสเซีย ดันราคาพลังงานพุ่งขึ้นรุนแรงอย่างต่อเนื่อง ล้วนเป็นผลลบต่อทิศทางการลงทุน จึงทำให้วันต่อมาหลังเฟดแถลง ก็เกิดแรงเทขายอย่างหนักจากนักลงทุน ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปรับตัวร่วงแรงกว่า 1,000 จุด และ Nasdaq ลบ 5%    

ส่วนความเคลื่อนไหวของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ (Bond Yield) ในช่วงต้นเดือนพฤษภาคม Bond Yield อายุ 10 ปีได้ปรับตัวทะลุ 3% และดีดสูงขึ้นต่อเนื่องแตะระดับ 3.12% ทำสถิติสูงสุดใหม่ในรอบปี ถือเป็นสัญญาณว่านักลงทุนกำลังมองว่า FED มีโอกาสขึ้นดอกเบี้ยได้เร็วและสูงขึ้น เพราะไม่ต้องกังวลเรื่องปัญหาเรื่องการจ้างงานที่แข็งแกร่งอีกต่อไป

2 ตัวแปร ‘เงินเฟ้อพุ่งต่อ-จ้างงานแข็งแกร่ง’ บีบเฟดขึ้น 0.75% 

สิ่งที่ตลาดกำลังจับจ้องเวลานี้ มี 2 ตัวแปรที่จะมีผลต่อการเร่งขึ้นดอกเบี้ยที่ระดับ 0.75% หรือไม่ ได้แก่

1. ตัวเลขเงินเฟ้อทั่วไปหรือดัชนีผู้บริโภค (CPI) เดือนเมษายนว่าจะปรับลดลงมาต่ำกว่าเดือนมีนาคมที่อยู่ระดับ 8.5% หรือไม่ เพราะดัชนี CPI มีแต่ปรับตัวขึ้นแรงตลอด ตั้งแต่เดือนมกราคม ดัชนี CPI อยู่ที่ 7.5% สูงสุดในรอบ 40 ปี และต่อเนื่องมาเดือนกุมภาพันธ์อยู่ที่ 7.9% และเดือนมีนาคมอยู่ที่ 8.5% สูงสุดนับจากเดือนธันวาคม 2524 หรือรอบ 41 ปีนั่นเอง แน่นอนว่า หากตัวเลขเงินเฟ้อออกมาต่ำกว่าคาด จะช่วยคลายกังวลต่อการเร่งขึ้นดอกเบี้ยของเฟดได้บ้าง แต่หากตัวเลขเงินเฟ้อออกมาสูงกว่าที่ตลาดคาด แรงกดดันต่อการขึ้นอัตราดอกเบี้ยของเฟด จะกลับมาเป็นปัจจัยกดดันตลาดลงทุนอีกระลอก และนี่จึงทำให้ตลาดลงทุนในสินทรัพย์ต่างๆเกิดความผันผวนอยู่ในช่วงเวลานี้

ทั้งนี้ ดัชนี CPI ปรับตัวขึ้นแรง มาจากราคาพลังงานที่พุ่งขึ้น ส่งผลต่อต้นทุนการผลิตและกระทบไปยังการปรับขึ้นราคาสินค้า อาหาร ราคาบ้าน ขณะที่เศรษฐกิจสหรัฐฯ ขับเคลื่อนด้วยภาคการบริโภคสัดส่วนถึง 70% ของกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ยิ่งเงินเฟ้อสูงก็ยิ่งกระทบกำลังซื้อชาวอเมริกัน โดยเฉพาะกลุ่มผู้มีรายได้ต่ำถึงระดับปานกลาง 

Photo : Shutterstock

2. ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตร (Non-Farm Payrolls) เดือนเมษายนเพิ่มขึ้น 428,000 ตำแหน่ง สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ที่ 390,000-420,000 ตำแหน่ง และอัตราการว่างงานของสหรัฐฯ (Unemployment Rate) อยู่ที่ 3.6% สะท้อนภาพรวมตลาดแรงงานที่แข็งแกร่ง เอื้อต่อเฟดในการเร่งขึ้นดอกเบี้ย 0.75% ตามที่ตลาดคาดไว้ว่าจะเห็นในรอบการประชุมเดือนมิถุนายนนี้

จะเห็นว่า หลังจากที่เฟดปรับขึ้นดอกเบี้ยครั้งล่าสุดนี้แล้ว ตลาดการเงินโลกเกิดความปั่นป่วนอย่างมาก เพราะเวลานี้ นักลงทุนในตลาดยังต้องจดจ่อกับ 2 ตัวแปรหลักอย่าง ‘อัตราเงินเฟ้อ – ภาวะตลาดแรงงาน’ ที่จะนำมาสู่การตัดสินใจขึ้นดอกเบี้ย 0.75% ทั้งๆที่ตัวเลขแรงงานที่แข็งแกร่ง ก็ควรสะท้อนผลเชิงบวกต่อภาพรวมเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่แข็งแรง และลดความวิตกกังวลต่อการเกิดภาวะ Stagflation หรือภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวแต่เงินเฟ้อสูงลงได้

แต่อีกด้านก็วิตกกังวลว่า เฟดอาจจะเร่งพิจารณาปรับขึ้นดอกเบี้ยเร็วและแรง ซึ่งผลที่จะตามมาคือ มีความเป็นไปได้ที่จะเห็นเศรษฐกิจที่ชะลอตัวแบบ soft landing ที่เฟดอยากเห็น หรืออาจเข้าสู่ ‘ภาวะเศรษฐกิจถดถอย’ ที่ตลาดผวากันอยู่เวลานี้ ซึ่งแน่นอนว่า ตลาดหุ้นย่อมไม่ชอบภาพความอึมครึม ที่ทำให้เกิดสภาวะความไม่แน่นอนต่อการลงทุน เมื่อไม่เป็นผลดีต่อตลาดหุ้นทั่วโลก จึงเห็นภาพความผันผวนอย่างต่อเนื่องในช่วงที่เหลือของปีนี้ 

สถิติวัฎจักรขึ้นดอกเบี้ย 8 ครั้ง เศรษฐกิจถดถอย

หากถามว่า มีโอกาสที่จะเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยมากหรือน้อย ถ้ามีการปรับดอกเบี้ยแรงจริงๆ ผมขอนำข้อมูลสถิติในอดีตของการเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยหลังมีการปรับขึ้นดอกเบี้ยแรงมาให้ดูครับ

ข้อมูลสถิติการปรับขึ้นดอกเบี้ยของเฟด ในช่วง 60 ปีที่ผ่านมา ตั้งแต่ปี 2508 เฟดได้ปรับขึ้นดอกเบี้ยทั้งหมด 11 ครั้ง พบว่า การปรับขึ้นดอกเบี้ย 8 ครั้ง ส่งผลต่อเศรษฐกิจเข้าสู่ภาวะถดถอย (Recession) และมีเพียง 3 ครั้งเท่านั้นที่เฟดสามารถควบคุมเงินเฟ้อได้สำเร็จ และประคองเศรษฐกิจให้ขยายตัวต่อไปได้แบบ soft landing ได้แก่ ปี 2508 ปี 2526 และปี 2536 ซึ่งเป็นการขึ้นดอกเบี้ยในช่วงที่เงินเฟ้อ อยู่ในระดับต่ำ ซึ่งในเวลานั้นเงินเฟ้อสูงสุดไม่เกิน 4% เฟดจึงไม่จำเป็นต้องเร่งขึ้นดอกเบี้ย

แต่สำหรับครั้งนี้ พบว่า สภาพแวดล้อมที่แตกต่างจากอดีตอย่างมาก ทำให้การเร่งขึ้นดอกเบี้ยเร็ว เฟดอาจจะไม่ประสบความสำเร็จประคองเศรษฐกิจลงแบบ soft landing ได้ เนื่องมาจาก 2 เหตุผล  

Photo : Shutterstock

เหตุผลแรก สหรัฐฯ ยังเผชิญกับภาวะเงินเฟ้อสูงกว่า 8% เป็นแรงกดดันให้จำเป็นต้องขึ้นดอกเบี้ยเร็วขึ้นเพื่อควบคุมเงินเฟ้อสูง ขณะที่พบว่า Yield Curve (เส้นอัตราผลตอบแทน) ของพันธบัตรสหรัฐฯ อายุ 10 ปี และอายุ 2 ปี (ซึ่งใช้ประเมินความเสี่ยงการเกิดภาวะถดถอยในระยะ 19 เดือนข้างหน้า) ได้เกิดภาวะ Inverted Yield Curve ขึ้นเมื่อช่วงต้นเดือนเมษายนที่ผ่านมา สะท้อนความเสี่ยงของเศรษฐกิจสหรัฐฯ จะเข้าสู่ภาวะถดถอยได้ราวปลายปี 2566 หรือใช้เวลาอีกกว่า 1 ปี

เหตุผลที่สอง อัตราผลตอบแทนที่แท้จริง (Real Yield/Interest) หลังหักอัตราเงินเฟ้อคาดการณ์ กำลังจะกลับมาเป็นบวก ซึ่งจะเป็นปัจจัยที่กระตุ้นให้เม็ดเงินไหลออกจากตลาดหุ้นที่เป็นสินทรัพย์เสี่ยง เพื่อหันมาหาสินทรัพย์ที่ปลอดภัยหรือเสี่ยงต่ำกว่า แต่ได้ผลตอบแทนสูงเช่นกัน

ผลของการเร่งขึ้นดอกเบี้ยสู้เงินเฟ้อ กับความเสี่ยงเศรษฐกิจ

อย่างไรก็ตาม เมื่อเร็วๆนี้ Fed Watch ส่งสัญญาณให้น้ำหนักการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.75%ในการประชุมรอบวันที่ 14-15 มิถุนายน 2565 ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกับที่นักลงทุนได้คาดการณ์กันไว้ ท่ามกลางแรงเทขายสินทรัพย์เสี่ยงต่างๆทั่วโลกยังเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง  

สำหรับผลของการปรับขึ้นดอกเบี้ยในปีนี้ ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยสินเชื่อบ้าน 30 ปีของสหรัฐฯ เฉลี่ยอยู่ที่ 5.20% เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วที่อยู่ 3.20% ซึ่งอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นอาจจะช่วยชะลอเงินเฟ้อให้ลดลงได้ เนื่องจากความต้องการซื้อบ้านจะชะลอตัวลง ผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์จึงต้องชะลอการก่อสร้างที่อยู่อาศัย ซึ่งจะทำให้ตลาดอสังหาริมทรัพย์ลดความร้อนแรงลง

เนื่องจากราคาที่อยู่อาศัยเป็นปัจจัยสำคัญที่เร่งให้เกิดเงินเฟ้อพุ่งขึ้นเร็วด้วย โดยปีที่แล้ว ราคาบ้านและราคาค่าเช่าบ้าน พุ่งสูงขึ้น 18.8% และ 17.6% ตามลำดับ ซึ่งประธานเฟดก็คาดว่า ดอกเบี้ยสูงจะดึงอุปสงค์ตลาดอสังหาริมทรัพย์ลดลงมา ช่วยดึงงินเฟ้อลงมาได้เร็ว ซึ่งต้องใช้เวลาพิสูจน์กันต่อไปว่า ต้องขึ้นดอกเบี้ยแรงและเร็วแค่ไหนที่จะดึงลงมาได้สำเร็จ

Photo : Shutterstock

ขณะเดียวกัน ผลกระทบอีกด้านก็สำคัญเช่นกัน คือ เมื่อดอกเบี้ยนโยบายปรับตัวขึ้นแรง แน่นอนว่า ดอกเบี้ยในตลาดเงินย่อมต้องปรับตัวขึ้นตาม เท่ากับเพิ่มต้นทุนทางการเงินในระบบสูงขึ้น โดยเฉพาะดอกเบี้ยกู้ยืม ในส่วนของภาคธุรกิจย่อมกระทบต่อผลกำไร แม้ว่าปีที่ผ่านมา ผลดำเนินงานในภาคเอกชนจะแข็งแกร่ง แต่หากปีนี้ ผลงานออกมาต่ำกว่าปีที่แล้ว ย่อมไม่เป็นผลดีต่อราคาหุ้นของบริษัทเหล่านี้แน่นอน

ในด้านของประชาชนชาวอเมริกันที่มีหนี้สินครัวเรือนไม่น้อย และยังพบว่าชาวอเมริกันออมเงินน้อยลงกว่าช่วงต้นของการระบาดของโควิด-19 เพราะฉะนั้น ย่อมได้รับผลกระทบจากภาระจ่ายดอกเบี้ยเงินกู้ที่สูงขึ้นแน่ ทำให้เงินจับจ่ายใช้สอยลดลง  นั่นหมายความว่า ภาคบริโภคที่มีขนาดใหญ่สัดส่วน 70% ของกิจกรรมทางเศรษฐกิจสหรัฐฯ ต้องสะดุดลง ขาดแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่อาจเกิดภาวะชะลอตัวจนถึงภาวะถดถอยได้ ซึ่งมีระยะเวลากว่า 1 ปีที่จะเห็นว่าภาพนี้เกิดขึ้นหรือไม่

แน่นอนเมื่อเศรษฐกิจหลักของโลกอย่าง ‘สหรัฐฯ’ เกิดภาวะถดถอย ประเทศคู่ค้าต่างๆ ย่อมได้รับผลกระทบทางการค้าอย่างหลีกเลียงไม่ได้ ท่ามกลางเศรษฐกิจหลายๆ ประเทศที่เพิ่งสร่างไข้จากผลกระทบโควิด-19 อาจต้องถูกกระแทกซ้ำ ภาพรวมของเศรษฐกิจโลกจึงมีความเสี่ยงตามไปด้วย 

นี่คือผลของการขึ้นดอกเบี้ยแรงของเฟดในช่วงที่เหลือของปีนี้ เพื่อสู้กับเงินเฟ้อสูง แต่กลับเอาไม่อยู่ กลายเป็นผลักเศรษฐกิจเข้าสู่ภาวะถดถอย นับเป็นรอบวัฎจักเศรษฐกิจของโลกที่มีช่วงเวลาสั้นมาก  

ช่วงที่เหลือปีนี้ รับมือกับความผันผวนการลงทุน

สำหรับในช่วงที่เหลือของปีนี้ ผมก็มองว่า นักลงทุนยังต้องเผชิญกับความเสี่ยงจากความผันผวนที่จะเกิดขึ้นตามการดำเนินนโยบายการเงินของเฟดในระยะข้างหน้านี้

หากเป็นการลงทุนระยะยาวแล้ว จะเชื่อว่าความเสี่ยงที่กำลังเผชิญอยู่ จะจบลงได้อย่างแน่นอน ในที่สุดทุกอย่างจะกลับเข้าสู่ภาวะปกติ ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ก็เช่นกัน แต่หากใครที่มองว่า ช่วงเวลานี้เป็นโอกาสของการเพิ่มทุน เพื่อเลือกซื้อหุ้นดี และ ETF ในราคาที่ถูกกว่าเดิมก็ย่อมทำได้  

ทั้งนี้ทั้งนั้น ต้องขึ้นอยู่กับจิตใจของนักลงทุนจะแข็งแกร่งเพียงใด 

หากเป็น Warren Buffett ก็จะบอกว่า “จงกลัวเมื่อคนอื่นกล้า แต่จงกล้าเมื่อคนอื่นกลัว” 

]]>
1386310
IMF มองการ ‘ขึ้นดอกเบี้ย’ ของเฟด เหมาะสมเเล้ว เเต่เพิ่มความเสี่ยงต่อตลาดเกิดใหม่ https://positioningmag.com/1378177 Fri, 18 Mar 2022 11:14:14 +0000 https://positioningmag.com/?p=1378177 กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) มองการกระชับนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เป็นไปอย่างเหมาะสมส่งสัญญาณถึงการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในอนาคต เเต่อาจทำให้เกิดความเสี่ยงต่อกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ที่ต้องพึ่งพาเงินดอลลาร์

โดยประเทศต่าง ๆ อาจเผชิญกับความยากลำบากเพิ่มขึ้น จากผลกระทบจากนโยบายของเฟด เนื่องจากปัจจัยด้านเศรษฐกิจที่มีการฟื้นตัวแตกต่างกันหลังการระบาดใหญ่ รวมถึงผลกระทบจากความขัดเเย้งระหว่างรัสเซียและยูเครน

การแถลงของ Gerry Rice โฆษก IMF มีขึ้นหลังจากที่เฟดประกาศปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นอีก 0.25% สู่ระดับ 0.50% เมื่อวันที่ 16 มี.. ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นการปรับขึ้นดอกเบี้ยครั้งแรกในรอบ 4 ปี พร้อมส่งสัญญาณว่าจะปรับขึ้นดอกเบี้ยอีก 6 ครั้งในปีนี้

นักวิเคราะห์ประเมินว่า อัตราเงินกองทุนของรัฐบาลกลางสหรัฐ จะเพิ่มขึ้นเป็นช่วงระหว่าง 1.75% ถึง 2% ภายในสิ้นปี 2022 หรือเท่ากับเพิ่มในอัตราครั้งละ 0.25% ในการประชุมนโยบายที่เหลือ 6 ครั้งในปีนี้

โดยประเทศต่างๆ อาจจะเผชิญกับความยากลำบากเพิ่มขึ้น เมื่อประเมินถึงผลกระทบจากการดำเนินนโยบายของเฟด เนื่องจากมีบริบทการฟื้นตัวด้านเศรษฐกิจที่แตกต่างกันหลังโรคระบาด รวมถึงผลกระทบจากสงครามระหว่างรัสเซียและยูเครน

การแนวทางที่ชัดเจนเเละต่อเนื่อง พร้อมตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของข้อมูลอย่างเหมาะสม จะช่วยให้ตัวเลขคาดการณ์เงินเฟ้ออยู่ในระดับที่คาดไว้

การเร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของเฟด เพิ่มความเสี่ยงสำหรับประเทศอื่นๆ ที่ต้องพึ่งพาเงินทุนในสกุลดอลลาร์ โดยเฉพาะกลุ่มประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่และประเทศกำลังพัฒนา

 

ที่มา : Reuters 

]]>
1378177
Goldman Sachs คาดเฟดจะประกาศ ‘ขึ้นดอกเบี้ย’ ถึง 7 ครั้งในปีนี้ https://positioningmag.com/1373697 Fri, 11 Feb 2022 08:18:26 +0000 https://positioningmag.com/?p=1373697 Goldman Sachs วาณิชธนกิจรายใหญ่ คาดการณ์ว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) จะประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยถึง 7 ครั้งภายในปีนี้ เพื่อสู้กับปัญหาเงินเฟ้อ หลังตัวเลข CPI สูงกว่าที่คาดไว้

ก่อนหน้านี้ Goldman Sachs ประเมินว่า เฟดจะมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 5 ครั้งในปีนี้ เเต่มุมมองนี้เปลี่ยนไป หลังดัชนีราคาผู้บริโภคสหรัฐฯ หรือ CPI ประจำเดือนม.. แตะที่ระดับ 7.5% สูงสุดในรอบ 40 ปี หรือนับตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ ปี 1982 สร้างแรงกดดันให้เฟดต้องขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างจริงจัง

ส่วนดัชนี CPI พื้นฐาน ซึ่งไม่นับรวมหมวดอาหารและพลังงาน ก็พุ่งขึ้น 6.0% ในเดือนม.. เมื่อเทียบรายปี

นักเศรษฐศาสตร์ของ Goldman Sachs ประเมินว่า ในการประกาศขึ้นดอกเบี้ยของเฟดทั้ง 7 ครั้ง อาจจะมีการขึ้นดอกเบี้ยที่ 0.25% อย่างไรก็ตาม มีความเป็นไปได้ที่เฟดจะปรับขึ้นดอกเบี้ย ‘0.50%’ ในการประชุมนโยบายการเงินเดือนมี..นี้ เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อที่สูงมาก รวมไปถึงการปรับเพิ่มของค่าจ้างในตลาดเเรงงาน

เช่นเดียวกับความเห็นของนักวิเคราะห์จาก Citi ที่คาดการณ์ว่า เฟดจะปรับขึ้นดอกเบี้ย 0.50% ในเดือนมี..นี้ เพื่อสกัดการพุ่งขึ้นของอัตราเงินเฟ้อ

ตอนนี้เราคาดว่าเฟดจะขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.50% ในเดือนมีนาคม ตามด้วยการปรับขึ้น 0.25% สี่ครั้งในเดือนพฤษภาคม มิถุนายน กันยายน และธันวาคม

นอกจากนี้ ยังมีแนวโน้มว่า เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก 3 ครั้งในปี 2033 หลังจากที่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยรวม 1.50% ในปีนี้

ขณะที่นักวิเคราะห์บางคนเชื่อว่าเฟดจะคงแนวทางนโยบายการเงินเเบบ ’ค่อยเป็นค่อยไปแม้ว่าอัตราเงินเฟ้อจะสูงเกินคาดก็ตาม

 

ที่มา : Straitstimes , Reuters , CNBC 

]]>
1373697
รับมือตลาดการเงินโลกผันผวน ลงทุนเมกะเทรนด์อย่างไรให้พอร์ตปัง https://positioningmag.com/1355465 Sun, 10 Oct 2021 07:53:51 +0000 https://positioningmag.com/?p=1355465

เริ่มเข้าสู่ไตรมาสสุดท้ายของปี 2564 กันแล้ว บรรยากาศการลงทุนทั่วโลกตลอด 9 เดือน ตกอยู่ในความผันผวนสูง ไม่ว่าจะเป็นโรคระบาด COVID-19 ที่ไม่คลี่คลาย และประเด็นข้อถกเถียงจาก 2 ขั้วมหาอำนาจโลก สหรัฐฯ กับจีน ที่ยังมีอยู่อย่างต่อเนื่อง ทำเอาทั้งนักลงทุนทั่วโลกต่างหวาดหวั่นไปกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแบบไม่ทันตั้งตัว กลัวจะเกิด Big Shock จนอยากร้องขอตัวช่วย จะทำอย่างไรให้พอร์ตลงทุนที่มีอยู่แข็งแกร่งและรอดได้

ในช่วงเดือนกันยายนที่ผ่านมา นักลงทุนทั่วโลกเผชิญกับประเด็นร้อนที่ถาโถมเข้ามา ผมขอกล่าวถึงฝั่งโลกตะวันตกก่อนครับ

ผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (FOMC) ของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ล่าสุดมีมติคงดอกเบี้ยนโยบายในกรอบ 0-0.25% และวงเงินซื้อสินทรัพย์ผ่านมาตรการการเงินผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) คงไว้ระดับเดิม 120,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อเดือน

แต่ Fed มีแนวโน้มจะเริ่มลดวงเงินซื้อพันธบัตรผ่านมาตรการ QE หรือ QE Tapering ในเดือนพฤศจิกายนนี้ และจะสิ้นสุดในกลางปี 2565

Photo : Shutterstock

สิ่งที่อยู่เหนือคาดการณ์ของตลาด คือ ถ้อยแถลงหลังประชุม FOMC สะท้อนมุมมองเจ้าหน้าที่ Fed บางส่วนใน 18 รายว่า มีความเป็นไปได้ที่ Fed จะเริ่มขยับขึ้นดอกเบี้ยในปี 2565 เร็วกว่าครั้งก่อนที่ประเมินว่า จะเริ่มปี 2566 ภายใต้ตัวแปรการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและตลาดแรงงานของสหรัฐฯ จะมีความต่อเนื่องและเป็นไปในทิศทางที่ดี

Fed ได้ปรับเพิ่มคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่ 4.2% ในปี 2564 และ 2.2% ในปี 2565 ส่วนคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน (ไม่รวมราคาอาหารสดและพลังงาน) ขยับขึ้นมาที่ 3.7% และ 2.3% ตามลำดับ จากตัวเลขประมาณการใหม่ จะเห็นว่า ปี 2565 อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานขยับสูงไล่ตามอัตราเงินเฟ้อทั่วไป เป็นสัญญาณบ่งชี้ Fed จำเป็นต้องดูแลโจทย์เงินเฟ้อเพิ่มขึ้น ผ่านการปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายนั่นเอง

ฝั่งธนาคารกลางยุโรป (ECB) ที่สัญญาณเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัว จึงเตรียมถอนนโยบายการเงินผ่อนคลาย โดยจะลดวงเงินซื้อพันธบัตรภายใต้โครงการ Pandemic Emergency Purchase Programe (PEPP) จากวงเงิน 80,000 ล้านยูโร ในอีก 3 เดือนข้างหน้าหรือช่วงปลายปีนี้ และยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 0%

เพราะฉะนั้น ในช่วงปลายปี 2564 สภาพคล่องทางการเงินของโลกจะเริ่มตึงตัวขึ้น จากการทำ QE Tapering ของฝั่งสหรัฐฯ และฝั่งยุโรป จะมีผลกระทบต่ออัตราแลกเปลี่ยนทั่วโลก และการบริหารพอร์ตลงทุนอย่างแน่นอน

Photo : Sutterstock

มากันที่โลกตะวันออก ข่าวช็อกโลกมากสุดในรอบปี 2564 ต้องยกให้จีน มหาอำนาจใหญ่อันดับ 2 ของโลก ประเดิมต้นปี ทางการจีนเข้ามาคุมเข้มการผูกขาดตลาดของธุรกิจเทคโนโลยี ของบิ๊กเทคอย่าง Alibaba, Tencent และ Meituan

ตามมาด้วยธุรกิจ Tech Education การออกกฎหมายความปลอดภัยของข้อมูล (Data Security Law) และกฎหมายปกป้องข้อมูลส่วนบุคคล (Personal Information Protection Law – PIPL) และยังคุมธุรกิจอื่นๆ อีก เช่น เสริมความงาม และกาสิโน

ล่าสุด ก็มีประเด็นข่าวที่ทำเอานักลงทุนทั่วโลกอกสั่นขวัญแขวนไปตามๆ กัน สะเทือนตลาดหุ้นตลาดเงินดิจิทัล

เมื่อปลายเดือนกันยายน ธนาคารกลางจีนได้ทลายเหมือง Bitcoin ใหญ่ที่สุดในประเทศ โดยประกาศเป็นทางการว่า การทำธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับคริปโตเคอร์เรนซี หรือสกุลเงินดิจิทัล ไม่ว่าจะเป็นสกุลใดที่ใช้ซื้อสินค้าและบริการถือว่า ผิดกฎหมาย

ด้วยเหตุผลว่า สกุลเงินดิจิทัลจะรบกวนต่อระบบการเงินของจีน และเป็นช่องทางฟอกเงินที่นำไปสู่อาชญากรรมทางการเงิน หากผู้ใดฝ่าฝืนจะถูกตรวจสอบอย่างละเอียด

เหตุการณ์ทลายเหมือง Bitcoin เกิดขึ้น ไล่หลังกรณีบริษัทอสังหาริมทรัพย์รายใหญ่เบอร์ 2 ของจีน อย่าง China Evergrande ที่จดทะเบียนในตลาดหุ้นฮ่องกง กำลังเผชิญหนี้สินมากกว่า 300,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ทั้งหนี้ของสถาบันการเงินและหนี้หุ้นกู้ของนักลงทุน และแนวโน้มจะผิดนัดชำระหนี้ และเป็น NPL ในภาคการเงินของจีน ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนสูงถึง 2% ของ GDP ประเทศเลยทีเดียว

ทั้ง 2 วิกฤตกดดันทั้งตลาดหุ้นจีนและฮ่องกง ดัชนี CSI300 และ HSI ปรับตัวลดลง 3% ผลกระทบส่งถึงตลาดหุ้นสหรัฐฯ เกิดแรงเทขายกดดันดัชนี DJIA ลดลง 2.4%

ราคาหุ้นของ China Evergrande นับตั้งแต่ต้นปีจนถึงปัจจุบัน ปรับตัวลดลงมาเกือบเท่าตัวแล้ว หลังจากบริษัทประสบปัญหาขาดทุนอย่างหนักและขาดสภาพคล่องในการดำเนินธุรกิจ และ S&P ได้ปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของ China Evergrande เหลือ CCC คือ มึความเสี่ยงสูงในการผิดนัดชำระหนี้

นักวิเคราะห์ตีความกันไปว่า หากทางการจีนปล่อยให้ China Evergrande ล้มละลาย จะเกิดวิกฤต Subprime ในฝั่งเอเชีย เทียบกับกรณีสหรัฐฯ เคยปล่อยให้ Lehman Brothers ล้มและตามมาด้วยวิกฤต Subprime เมื่อปี 2551

Photo : Shutterstock

สถานการณ์ล่าสุด ธนาคารกลางจีน (PBOC) ได้อัดฉีดสภาพคล่อง 90,000 ล้านหยวนเข้าสู่ระบบสถาบันการเงินผ่านสัญญากู้ยืมระยะสั้น (Repo) อายุ 7-14 วัน นับเป็นการอัดฉีดสภาพคล่องที่มีมูลค่าสูงสุด เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบเป็นลูกโซ่ต่อเจ้าหนี้สถาบันการเงิน ผู้ถือหุ้นกู้ และภาคธุรกิจที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นผู้รับเหมาก่อสร้าง วัสดุก่อสร้าง แรงงานและลูกค้าที่วางเงินดาวน์จองซื้อกว่า 1.5 ล้านราย

พร้อมกับออกมาตรการมาดูแลและสั่งทำแผนจัดการปัญหาหนี้ของบริษัท การประสานงานกับผู้ซื้อทรัพย์สินที่มีศักยภาพภายในเดือนกันยายน และข้อเสนอการเจรจากำหนดเวลาการชำระเงินกับธนาคารและเจ้าหนี้ต่างๆ ทั้งนี้ภาคอสังหาริมทรัพย์มีมูลค่าสูงถึง 29% ของ GDP จีน

แพลตฟอร์มของ Jitta ได้วิเคราะห์หุ้น China Evergrande บริษัทนี้มีงบการเงินที่อ่อนแอหลายด้าน เช่น กำไรลดลง มูลหนี้สูง กระแสเงินสดใช้เวลาหมุนเวียนมากกว่า 1 ปี ธุรกิจขาดการเติบโต และการจ่ายปันผลน้อย

แม้ว่าราคาหุ้นปัจจุบัน จะอยู่ต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริง แต่ก็ไม่ได้แปลว่างบการเงินจะดีเสมอไป และนี่เองที่ทำให้อัลกอริทึมของ Jitta ไม่จัด China Evergrande ติดอันดับสูงของ Jitta Ranking ฮ่องกง

หากถามผมว่า จากสถานการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในช่วงเดือนกันยายนที่ผ่านมา ยังลงทุนในหุ้นได้หรือไม่ แน่นอนครับว่า ปัจจัยความไม่แน่นอนเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา และเป็น Big Surprise ที่พร้อมจะปะทุในทุกมุมโลก แต่ในวิกฤตย่อมมีโอกาสลงทุน เพียงแต่ควรตั้งหลักก่อน ถึงจะมองให้เห็น

Photo : Shutterstock

ผมมองว่า ตลาดหุ้นในบางประเทศอาจจะได้รับผลกระทบโดยตรงจากข่าวสารต่างๆ ที่เกิดขึ้น แต่หากดูเป็นธีมธุรกิจ จะพบว่าหลายธุรกิจที่อยู่ในเมกะเทรนด์ มีโอกาสเติบโตในระยะยาว ซึ่งธีมเมกะเทรนด์ที่ยังคงมาแรงทำรายได้และกำไรเติบโตได้ดีมาก เช่น คลาวด์ ฟินเทค เทคโนโลยี หรือ AI และหุ่นยนต์ เป็นต้น

ปัจจุบัน Thematic Investment หรือธีมการลงทุน โดยลงทุนผ่านสินทรัพย์อย่าง ETF (Exchange Traded Fund) ได้รับความสนใจจากนักลงทุนทั่วโลก เนื่องจากเน้นไปที่ธุรกิจที่เป็นเมกะเทรนด์ และมองข้ามช็อตที่การเติบโตในอีก 5-10 ปีข้างหน้า หรือนานกว่านั้น

ไม่เพียงเท่านั้น ธีมการลงทุนใหม่ๆ ผุดขึ้นเป็นดอกเห็ด มีเป็น 10 เป็น 100 ธีมให้คุณได้ลงทุน พร้อมกระจายความเสี่ยงใน ETF ไม่ต้องอิงไปกับหุ้นบริษัทใดบริษัทหนึ่ง

Photo : Shutterstock

อย่าง Jitta Wealth มีทางเลือกเป็นกองทุนส่วนบุคคล Thematic เช่นเดียวกัน โดยแบ่งเป็น Thematic DIY ที่ให้นักลงทุนเลือกธีมจัดพอร์ตเอง และ Thematic Optimize ที่ให้ AI ของทีมงานพัฒนาขึ้นมา เลือกธีมที่น่าลงทุนที่สุดให้ในช่วงเวลานั้น

หลักการลงทุนที่ดีและยั่งยืน คือ เมื่อคุณเชื่อมั่นในสินทรัพย์ที่เลือกลงทุน ไม่ว่าจะเป็น ETF ที่ตอบโจทย์ หรือหุ้นที่มีพื้นฐานดี คุณควรหมั่นเพิ่มทุน หรือ DCA (Dollar Cost Averaging) อย่างสม่ำเสมอ เพื่อเฉลี่ยต้นทุน และทำให้พอร์ตโดยรวมไม่ผันผวนมาก จากการลงทุนในแต่ละช่วงเวลา

นอกจากนี้ การรีวิวพอร์ตลงทุน เมื่อถึงช่วงเวลาที่เหมาะสม เช่น รายไตรมาส ถือเป็นการสร้างวินัยการลงทุนที่ดี เพราะงบการเงินของแต่ละบริษัทจะอัปเดตทุกไตรมาส มีทั้งผลกระทบเชิงบวกและลบ เมื่องบการเงินออก ทั้งนี้ Jitta Wealth ได้พัฒนาระบบปรับพอร์ตอัตโนมัติ เพื่อรักษาสัดส่วนพอร์ตลงทุนให้เหมาะสม

เมื่อเราเลือกสินทรัพย์ที่ดี และหมั่นลงทุนอย่างสม่ำเสมอ ให้ระบบได้ปรับพอร์ตลงทุน ให้เงินได้ทำงานสร้างผลตอบแทนที่ดี อย่างน้อยก็หมดห่วงเกี่ยวกับสถานการณ์ที่ไม่แน่นอนได้แล้วครับ

]]>
1355465
วิกฤต! “การจ้างงาน” ในสหรัฐฯ จะไม่ฟื้นกลับมาในระดับก่อน COVID-19 จนกว่าปี 2023 https://positioningmag.com/1299821 Sat, 03 Oct 2020 14:33:23 +0000 https://positioningmag.com/?p=1299821 สำนักข่าวซินหัว รายงานว่า แพทริก ฮาร์เกอร์ ประธานธนาคารกลางประจำนครฟิลาเดลเฟียของสหรัฐฯ เปิดเผยว่าแม้เศรษฐกิจสหรัฐฯ จะกลับมาฟื้นตัวเร็วกว่าที่คาดการณ์ไว้ หลังเผชิญภาวะหดตัวครั้งใหญ่ในไตรมาส 2 (เม.ย.-มิ.ย.) ของปีนี้ แต่การจ้างงานในสหรัฐฯ อาจจะไม่ฟื้นตัวกลับสู่ระดับก่อนเกิดโรคระบาดใหญ่จนกว่าจะถึงปี 2023

“แนวโน้มการเติบโตอย่างต่อเนื่องของเศรษฐกิจที่ผมพูดมานั้น ขึ้นอยู่กับอัตราผู้ป่วยใหม่ที่ลดลงอย่างมีเสถียรภาพ ซึ่งอาจเป็นผลจากการสวมหน้ากากอนามัยอย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะพื้นที่ในร่ม ทำให้การระบาดครั้งใหม่เกิดขึ้นเพียงประปราย” ฮาร์เกอร์กล่าวระหว่างการประชุมออนไลน์ที่จัดโดยการประชุมสถาบันการเงินและเงินตราทางการ (OMFIF)

“เราคาดว่าวัคซีนจะเริ่มพร้อมใช้งานเป็นวงกว้างในช่วงกลางถึงปลายปีหน้า แต่โรค COVID-19 นั้นยังยากจะควบคุม” ฮาร์เกอร์กล่าว พร้อมเสริมว่าทิศทางการเติบโตของเศรษฐกิจนั้นส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับทิศทางการระบาดของโรค

ฮาร์เกอร์ชี้ว่าแม้เศรษฐกิจจะยังคงฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง และสามารถหลีกเลี่ยงการระบาดรอบใหม่ได้ แต่หลายภาคธุรกิจอย่างการท่องเที่ยวและการบริการจะยังคงซบเซาไปอีกนาน ฉุดให้ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) และการเติบโตของการจ้างงานโดยรวมลดลงตามไปด้วย

Photo : Xinhua

“โชคร้ายที่การจ้างงานอาจไม่กลับไปสู่ระดับก่อนเกิดโรคระบาดใหญ่จนกว่าจะถึงปี 2023” ฮาร์เกอร์กล่าว พร้อมเรียกร้องฝ่ายนิติบัญญัติของสหรัฐฯ พิจารณาการสนับสนุนทางการเงินเพิ่มเติมในเร็ววัน เพื่อลดผลกระทบทางเศรษฐกิจของโรค COVID-19

“เนื่องจากสหรัฐฯ ไร้ความสามารถควบคุมไวรัส ทำให้ยอดผู้ป่วยเสียชีวิตในประเทศครองสัดส่วนราว 21% ของยอดผู้ป่วยเสียชีวิตทั่วโลก แม้ประชากรของประเทศจะครองสัดส่วนเพียง 4% ของประชากรโลกก็ตาม” ฮาร์เกอร์กล่าว

ทั้งนี้ ฮาร์เกอร์ออกมาแสดงความคิดเห็นหลังจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจากพรรคเดโมแครตเปิดเผยมาตรการเยียวยาโรค COVID-19 มูลค่า 2.2 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 69 ล้านล้านบาท) ซึ่งเป็นความพยายามกดดันทำเนียบขาว และพรรครีพับลิกันบรรลุข้อตกลงดังกล่าวก่อนการเลือกตั้งประธานาธิบดีในเดือนพฤศจิกายน

ด้านแนนซี เพโลซี ประธานสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ และมาร์ก มีโดวส์ หัวหน้าคณะเจ้าหน้าที่ทำเนียบขาว ต่างแสดงความหวังว่าจะสามารถบรรลุข้อตกลงเกี่ยวกับมาตรการเยียวยาโรค COVID-19 หลังการเจรจาที่หยุดชะงักกลับมาดำเนินการต่ออีกครั้ง

]]>
1299821
ประธาน “เฟด” มอง อัตราดอกเบี้ยสหรัฐฯ จะอยู่ “ระดับต่ำ” อีกนานหลายปี เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจ https://positioningmag.com/1295743 Mon, 07 Sep 2020 11:25:20 +0000 https://positioningmag.com/?p=1295743 เศรษฐกิจอเมริกาเเละทั่วโลกกำลังเผชิญความยากลำบาก จากผลกระทบของ COVID-19 ล่าสุด ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) มองว่า อัตราดอกเบี้ยควรอยู่ในระดับต่ำต่อไป “อีกนานหลายปี” เพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในระยะยาว

Jerome Powell ให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าว NPR ว่าเราคิดว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ จำเป็นต้องใช้อัตราดอกเบี้ยต่ำ ที่จะช่วยส่งเสริมกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ซึ่งมันอาจจะต้องนานเป็นปีๆ

ไม่ว่าจะนานแค่ไหน เราจะไปที่นั่น เราจะไม่ถอนการสนับสนุนก่อนเวลาอันควร ตราบใดที่เราคิดว่าเศรษฐกิจยังต้องการอยู่

ความเห็นของ Powell เป็นไปในทิศทางเดียวกันกับความเห็นของเจ้าหน้าที่ Fed คนอื่นๆ ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา

ก่อนหน้านี้ Fed ได้เปลี่ยนนโยบายการเงินครั้งใหญ่ เพื่อส่งเสริมการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจในอเมริกา โดยกำหนดให้อัตราเงินเฟ้อสามารถเคลื่อนตัวขึ้นเหนือระดับ 2% ของ Fed ในช่วงเวลาหนึ่ง หลังจากเคลื่อนตัวต่ำกว่าเป้าหมายตลอดช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ซึ่งการตัดสินใจดังกล่าว ชี้ให้เห็นว่า Fed ไม่จำเป็นต้องขึ้นดอกเบี้ยเพื่อควบคุมเงินเฟ้อให้อยู่ในกรอบเป้าหมาย 2% เหมือนสมัยก่อน

เราได้ทำหลายอย่างที่เราทำได้ แต่เรายังทำได้มากกว่านี้ และเราก็จะทำหากมองว่าจำเป็นต้องทำ” 

ด้านสถานการณ์เศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่บอบช้ำจากการเเพร่ระบาดของ COVID-19 อย่างมาก ตอนนี้เริ่มเห็นสัญญาณที่ดีขึ้น โดยตัวเลขการจ้างงานนอกภาคการเกษตรล่าสุด เพิ่มขึ้น 1.37 ล้านตำแหน่ง ขณะที่อัตราว่างงานลดลงมาเหลือ 8.4%

ประธาน Fed มองว่า เป็นตัวเลขรายงานที่ดี แม้ว่าอัตราว่างงานยังสูงกว่าช่วงแรกๆ ของการฟื้นตัวจากวิกฤตการเงินโลก เมื่อปี 2008-09 แต่ก็ถือว่าดีขึ้นจากที่เคยพุ่งแตะระดับสูงสุดที่ 14.7% ในช่วงที่เกิดการระบาดของ COVID-19 พร้อมขอให้ประชาชนให้ความร่วมมือปฏิบัติตามมาตรการความปลอดภัย อย่างการสวมหน้ากากอนามัย และรักษาระยะห่างทางสังคม เพราะการร่วมมือกันของคนทั้งชาติ จะเป็นประโยชน์มหาศาลกับเศรษฐกิจ

 

ที่มา : CNBC , Reuters

]]>
1295743