iQiyi – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Wed, 15 Jun 2022 11:36:40 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ลือหึ่ง! Baidu เตรียมขายหุ้นทั้งหมดใน iQIYI สตรีมมิ่งรายใหญ่อันดับ 2 ของจีน https://positioningmag.com/1388822 Wed, 15 Jun 2022 10:28:27 +0000 https://positioningmag.com/?p=1388822 ยักษ์ใหญ่เสิร์ชเอ็นจิ้นของจีน “Baidu” (ไป่ตู้) เตรียมขายหุ้นทั้งหมดใน iQIYI (อ้ายฉีอี้) สตรีมมิ่งแพลตฟอร์มอันดับ 2 ในแดนมังกร เนื่องจากต้องการมุ่งเน้นธุรกิจหลัก เช่น AI, ยานยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติ ให้มากขึ้น คาดว่าผู้สนใจซื้อจะเป็นบริษัทไพรเวทอิควิตี้ PAG และบริษัทยักษ์โทรคมนาคม China Mobile

แหล่งข่าววงในให้สัมภาษณ์กับ Reuters ว่า บริษัท Baidu กำลังเจรจาขายหุ้นทั้งหมดที่มีใน iQIYI โดยปัจจุบัน Baidu ถือหุ้น 53% ใน iQIYI และมีสิทธิออกเสียงในกลุ่มผู้ถือหุ้นถึง 90%

ระหว่างที่ประเทศจีนต้องล็อกดาวน์เพราะ COVID-19 ตลาดสตรีมมิ่งและวิดีโอออนไลน์กลายเป็นธุรกิจที่เบ่งบานอย่างมาก โดยบริษัทที่ปรึกษา Zhiyan คาดการณ์ว่ารายได้ในตลาดสตรีมมิ่งจีนจะก้าวขึ้นไปแตะ 1.63 แสนล้านหยวน (ประมาณ 8.5 แสนล้านบาท) ในปี 2022 นี้ หรือเท่ากับโตขึ้น 17% จากปีก่อน

ด้าน iQIYI นั้นเป็นสตรีมมิ่งเบอร์ 2 ของจีน รองจาก Tencent Video ของค่าย Tencent Holdings บริษัท iQIYI จดทะเบียนอยู่ใน Nasdaq ปัจจุบันมีมูลค่าตลาดที่ 4,000 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 1.4 แสนล้านบาท) แต่การขายหุ้นของ Baidu ที่คาดว่าจะตั้งราคาขาย 8.13 เหรียญต่อหุ้น จะทำให้บริษัทถูกตีมูลค่าเพิ่มขึ้นไปแตะ 7,000 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 2.45 แสนล้านบาท)

Apollo Park ศูนย์การพัฒนารถยนต์ไร้คนขับในเขตอี้จวง ชานเมืองปักกิ่ง

แหล่งข่าววงในสองรายกล่าวว่า บริษัท Baidu นั้นต้องการจะขายหุ้น iQIYI ออกจากพอร์ตบริษัท เพราะต้องการมุ่งเน้นกับธุรกิจหลักให้มากขึ้น ได้แก่ ปัญญาประดิษฐ์ (AI) และ แผนกยานยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติ ซึ่งเป็นธุรกิจที่ต้องใช้เงินลงทุนสูงมากทั้งคู่

การเปิดขายหุ้น iQIYI ได้รับความสนใจจากหลายบริษัทมาก ตั้งแต่บริษัทด้านการเงินจนถึงบริษัทที่ดำเนินการโดยรัฐบาลจีน โดยมีสองบริษัทที่เป็นตัวเก็ง คือ PAG บริษัทไพรเวทอิควิตี้จากฮ่องกง และเบอร์ 1 ด้านโทรคมนาคมในจีนอย่าง China Mobile ซึ่งเป็นบริษัทที่พัฒนาสตรีมมิ่งของตัวเองอยู่แล้วด้วยในชื่อ Migu Video

ทั้ง Baidu, PAG และ China Mobile ยังไม่มีความคิดเห็นตอบกลับผู้สื่อข่าวในขณะนี้

หากว่า Baidu สามารถปิดราคาขายได้ถึง 8.13 เหรียญต่อหุ้นจริง จะทำให้บริษัทได้กำไรมากกว่า 100% เนื่องจากราคาหุ้นเฉลี่ยในรอบ 3 เดือนที่ผ่านมาของ iQIYI นั้นอยู่ที่ 3.97 เหรียญต่อหุ้นเท่านั้น โดยราคาหุ้นของ iQIYI เป็นหนึ่งในผู้ได้รับผลกระทบจากกระแสการเทขายหุ้นเทคจีนในรอบ 12 เดือนก่อน ทำให้ราคาหุ้นตกไปกว่า 70%

ด้านบริษัท iQIYI ตอบกลับ Reuters ผ่านทางอีเมลอย่างสั้นๆ ว่า “นี่เป็นข่าวลือในตลาดหุ้นชัดๆ”

ในตลาดจีนนั้น มี 3 อันดับสตรีมมิ่งและวิดีโอแพลตฟอร์มที่ใหญ่ที่สุดคือ Tencent Video, iQIYI และ Youku (เป็นของ Alibaba Group) ทั้งหมดต่างนำเสนอคอนเทนต์ประเภทภาพยนตร์ ซีรีส์ และเรียลลิตี้โชว์ มีทั้งการผลิตออริจินอล คอนเทนต์และการซื้อคอนเทนต์จากผู้ผลิตหลายราย

สำหรับ iQIYI มีการผลิตคอนเทนต์สุดฮิตหลายเรื่อง เช่น ซีรีส์ The Long Night (ความจริงที่หลับใหล), The Wind Blows From Longxi (สายลมแห่งหล่งซี) รวมถึงเรียลลิตี้โชว์อย่าง The Rap of China, The Big Band ซึ่งเป็นตัวจุดกระแสร้อนแรงบนโซเชียลมีเดีย หากเป็นในประเทศไทยก็จะมีคอนเทนต์ดังคือรายการ Youth With You ซึ่งมี ‘ลิซ่า Blackpink’ เป็นเมนเทอร์

ในแง่การเงิน บริษัทที่ก่อตั้งมา 12 ปีมีโอกาสทำกำไรน้อยมาก รอบล่าสุดที่ทำกำไรคือเมื่อไตรมาสแรกของปีนี้ แต่ก็เป็นการทำกำไรครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 2016 โดยไตรมาสแรกปี 2022 บริษัทมีกำไร 169 ล้านหยวน (ประมาณ 880 ล้านบาท) แต่เมื่อไตรมาสแรกปี 2021 บริษัทเคยขาดทุนถึง 1,300 ล้านหยวน (ประมาณ 6,800 ล้านบาท) นับว่าเป็นธุรกิจที่ยัง ‘เผาเงินทุน’ มากในตลาดที่แข่งขันสูงอย่างสตรีมมิ่ง

Source

]]>
1388822
ย้อนรอย 2 ปีมี ‘วิดีโอสตรีมมิ่ง’ กี่รายต้องโบกมือลาไป และใครที่ยังอยู่รอด https://positioningmag.com/1364461 Mon, 29 Nov 2021 12:57:45 +0000 https://positioningmag.com/?p=1364461 แม้ว่าการระบาดของ COVID-19 จะทำให้ตลาด ‘วิดีโอสตรีมมิ่ง’ จะเติบโตขึ้นอย่างก้าวกระโดด แต่ไม่ใช่กับทุกแพลตฟอร์ม เนื่องจากการมาของผู้เล่น ‘หน้าใหม่’ แถมเป็น ‘ขาใหญ่ทุนหนา’ จนกลายเป็นตลาดที่แข่งขันสูง ผู้เล่นในระดับภูมิภาคอาจจะไม่มีกำลังต่อสู้มากพอที่จะผลิตคอนเทนต์มาดึงผู้ใช้ ดังนั้น มาย้อนดูกันว่าตลอด 2 ปีมีใครหายไป และใครที่ยังอยู่บ้าง

HOOQ

สำหรับ ‘HOOQ’ (ฮุค) เกิดจากการก่อตั้งโดย Singtel จากสิงคโปร์ ร่วมด้วย Sony Pictures และ Warner Bros. นอกจากนั้น ยังมีความร่วมมือกับ Hotstar ของ Disney และ Grab กับ VideoMax ของอินโดนีเซีย โดยได้เริ่มดำเนินกิจการในปี 2015

โดย HOOQ ให้บริการความบันเทิงหลายรูปแบบ มีทั้งหนัง และซีรีส์จากฮอลลีวูด รวมถึงรายการทิ้งถิ่นเพื่อหวังดึงดูดลูกค้าท้องถิ่น นอกจากนั้นก็ยังมีการผลิตเนื้อหาของตัวเองด้วย ซึ่งในช่วงนั้น Netflix เจ้าตลาดในฝั่งตะวันตกยังไม่ได้บุกตลาดเอเชียมากนัก จึงเป็นโอกาสของ HOOQ ที่จะทำตลาด และขายฐานลูกค้า ทำให้ตลอด 5 ปี ที่ผ่านมาสามารถหารายได้ถึง 80 ล้านเหรียญฯ

อย่างไรก็ตาม แม้รายได้ของ HOOQ จะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ แต่ค่าใช้จ่ายที่สูงมากก็ทำให้ HOOQ ขาดทุนมาตลอด โดยคาดว่าในปี 2019 ขาดทุนสะสมสูงถึง 220 ล้านเหรียญฯ ทำให้ในเดือนเมษายน 2563 HOOQ ก็ได้ประกาศผ่าน Facebook Official ว่าจะปิดให้บริการในวันที่ 30 เมษายน 2020 ปิดตำนานแพลตฟอร์มที่ให้บริการมาตลอด 5 ปี

Photo : Shutterstock

iflix

เป็นแพลตฟอร์มจากสตาร์ทอัพสัญชาติมาเลเซีย ก่อตั้งขึ้นในปี 2014 โดยสามารถระดมทุนได้ทั้งสิ้น 348 ล้านเหรียญสหรัฐ และสามารถขยายบริการในกว่า 24 ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และแถบตะวันออกกลาง แม้ว่าจะมีการขยายบริการไปในหลายประเทศ แต่จำนวนผู้ใช้กลับมีไม่ถึง 25 ล้านราย

จนมีข่าวว่าในปี 2018 iflix (ไอฟลิกซ์) มีเงินสดในบัญชีเพียงแค่ 12.7 ล้านเหรียญสหรัฐ ทำให้ iFlix ต้องการระดมทุนและเตรียม IPO จนมาช่วงต้นปี 2020 ได้มีข่าวว่าบริษัทที่อยู่ในกรุงกัวลาลัมเปอร์ได้ลดพนักงานประมาณ 50 คนออก ซึ่งเป็นไปได้ว่าเป็นผลพวงมาจากปัญหาทางการเงินที่กระท่อนกระเเท่นมากว่า 2 ปี

ในที่สุด iflix ก็ได้โดนบริษัทยักษ์ใหญ่ด้านอินเทอร์เน็ตของจีนอย่าง Tencent ซื้อกิจการไป พร้อมให้เหตุผลว่าเพื่อขยายการเข้าถึง WeTV แพลตฟอร์มสตรีมของตัวเองในภูมิภาค อีกทั้ง Tencent จะได้รับเนื้อหาเทคโนโลยีและทรัพยากรของ iFlix และขยายขอบเขตทางภูมิศาสตร์ในพื้นที่สำคัญของการเติบโต

LINE TV

รายล่าสุดสด ๆ ร้อน ๆ ก็คือ LINE TV (ไลน์ทีวี) แพลตฟอร์มวิดีโอสตรีมมิ่งจาก LINE แพลตฟอร์มแชทอันดับ 1 ของไทย ซึ่งเปิดตัวให้บริการตั้งแต่ปี 2014 โดยเปิดให้ผู้ใช้ดูฟรี ไม่มีค่าสมาชิก ในช่วงปี 2020 LINE TV มียอดรับชมรวม 1 แสนล้านนาที มีผู้บริโภคกว่า 40 ล้านรายที่เข้าถึงแพลตฟอร์ม

โดยจุดเด่นของ LINE TV อยู่ที่คอนเทนต์ไทย โดยเฉพาะละครรีรัน และซีรีส์วาย ที่มีกว่า 40 เรื่อง อาทิ เพราะเราคู่กัน, Why R U The Series และ En of Love นอกจากนี้ยังมีการ์ตูนและอนิเมะกว่า 100 เรื่อง

อีกจุดแตกต่างของ LINE TV ในการหารายได้นั้นจะแตกต่างออกไปจากแพลตฟอร์มอื่น ๆ ที่จะเก็บค่าสมาชิก (subscription) หรือทั้ง ดูฟรีและสมัครเป็น VIP แต่รายได้ของ LINE TV มาจาก ค่าโฆษณา เป็นหลัก ดังนั้น ผู้ชมจะได้รับชมคอนเทนต์ฟรี แต่ต้องดูโฆษณาจนจบ และไม่สามารถกดข้ามได้เลย

แม้ปี 2020 LINE TV จะถือเป็นปีทองที่มีการเติบโต แต่ล่าสุด LINE TV ก็ได้ประกาศผ่านเพจ Official ว่าจะให้บริการจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2564 นี้เท่านั้น โดยอธิบายเพียงว่า ต้องปิดบริการเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์การดำเนินการทางธุรกิจของ LINE ประเทศไทย

มีหลายคนมองว่า เนื่องจาก LINE TV ต้องซื้อคอนเทนต์จากพาร์ตเนอร์ และราคาของคอนเทนต์ก็สูงขึ้นเรื่อย ๆ ดังนั้น นี่อาจเป็นเหตุผลที่ทำให้ LINE TV มีต้นทุนในการดำเนินธุรกิจที่สูงขึ้น รวมถึงการแข่งขันที่สูงมากขึ้นจากการมาของแพลตฟอร์มใหม่ ๆ

คู่แข่งระดับโลก

หากพูดถึงผู้เล่นระดับโลกที่อยู่ในไทย แน่นอนก็มี Netflix (เน็ตฟลิกซ์) ที่ยังคงรุกตลาดไทยต่อเนื่อง มีการออกออริจินอลคอนเทนต์ของไทยอย่างน้อยปีละ 2-3 เรื่อง และอีกค่ายที่เพิ่งมาปีนี้ก็คือ Disney+ Hotstar (ดีสนีย์พลัส ฮอทสตาร์) ที่มีแฟรนไชส์คอนเทนต์สุดแข็งแรง ไม่ว่าจะเป็น Marvel, Star Wars, Pixar ฯลฯ และที่สำคัญคือ คอนเทนต์ส่วนใหญ่มี พากย์ไทย อีกด้วย

นอกจากนี้ยังมี HBO Go แพลตฟอร์มจาก WarnerMedia โดยภาพยนตร์และซีรีส์เด่น ๆ ก็คือ DC Comics อย่าง Justice League หรือซีรีส์ชื่อดังอย่าง Games of Thrones หรือ Westworld ที่เริ่มเข้ามาทำตลาดในไทย แม้จะยังไม่เห็นการทำตลาดอย่างจริงจัง แต่ก็ถือว่าเป็นที่รู้จักในกลุ่มคนที่ชอบดูหนังดูซีรีส์

ทั้งนี้ 3 แพลตฟอร์มดังกล่าวให้บริการแบบ subscription หรือสมัครสมาชิกรายเดือน ไม่มีดูฟรี

คู่แข่งจากเอเชีย

ด้านแพลตฟอร์มที่เน้นคอนเทนต์จากเอเชียเป็นหลักจะมี 3 แพลตฟอร์ม โดย 2 รายมาจากจีน ได้แก่ WeTv (วีทีวี) ที่มีบริษัทแม่อย่าง Tencent โดยจะเน้นที่ซีรีส์จีนเป็นหลัก ต่อมา Iqiyi (อ้ายฉีอี้) สตรีมมิ่งตัว Top ในเครือ Baidu ส่วนอีกรายคือ Viu (วิว) แพลตฟอร์มสตรีมมิ่งจากฮ่องกง โดยมีจุดแข็งที่ซีรีส์เกาหลี ปัจจุบันขึ้นแท่นเบอร์ 2 ของภูมิภาค เป็นรองแค่ Disney+

โดยทั้ง 3 แพลตฟอร์มนอกจากจะเน้นคอนเทนต์เอเชียเหมือนกันแล้ว โมเดลรายได้ก็เหมือนกันคือ สามารถดูฟรีมีโฆษณาและสมัครเป็น VIP

คู่แข่งโอเปอเรเตอร์

สำหรับโอเปอเรเตอร์ของไทยมีอยู่ 2 ค่ายที่โดดเข้ามาทำแพลตฟอร์มวิดีโอสตรีมมิ่ง โดย เอไอเอส (AIS) ก็มี (เอไอเอส เพลย์) ดูฟรีไม่จำกัดค่าย ไม่ว่าจะเป็นทีวีสด ละครย้อนหลัง ภาพยนตร์ ซีรีส์ การ์ตูน คอนเสิร์ต รวมถึงออริจินอลซีรีส์ นอกจากนี้ เอไอเอสยังเป็นพันธมิตรกับ Disney+ Hotstar อีกด้วย

เช่นเดียวกับ True ID (ทรู ไอดี) เป็นแพลตฟอร์มจาก ทรู ที่สามารถดูได้ไม่จำกัด แต่จะมีจุดเด่นที่คอนเทนต์กีฬา ‘พรีเมียร์ลีก’ นอกจากนี้ ยังมีระบบ เช่าหนังใหม่ อีกด้วย

คู่แข่งสัญชาติไทย

สำหรับแพลตฟอร์มวิดีโอสตรีมมิ่งของไทยมีอยู่ 2 แพลตฟอร์ม ได้แก่ Mono Max (โมโน แม็กซ์) และ Doonee (ดูนี่) โดยทั้ง 2 แพลตฟอร์มจะมีคอนเทนต์ที่โดดเด่นคล้าย ๆ กัน อาทิ ภาพยนตร์และซีรีส์ Hollywood โดยเฉพาะพวกซีรีส์สืบสวนสอบสวน และรายการดัง ๆ จากฝั่งอเมริกา แน่นอนว่าคอนเทนต์ส่วนใหญ่จะพากย์ไทยด้วย

คู่แข่งการ์ตูน

ต้องยอมรับว่าคอนเทนต์การ์ตูนในไทยกำลังมาแรงมาก ส่วนหนึ่งก็เป็นเพราะกระแสของ ดาบพิฆาตอสูร แม้ว่าแพลตฟอร์มส่วนใหญ่จะมีคอนเทนต์การ์ตูนให้ชม แต่ก็มีแพลตฟอร์มที่เน้นคอนเทนต์การ์ตูนโดยเฉพาะเช่นกัน ได้แก่ Bilibil (บิลิบิลิ), Flixer (ฟลิกเซอร์) และ POPS (พ็อพส์)

 

จะเห็นว่าแค่ช่วงเวลาไม่กี่ปีตลาดสตรีมมิ่งก็มีผู้เล่นจำนวนมากตบเท้ามาให้บริการ และแต่ละแพลตฟอร์มก็มี ทุนหนากันทั้งนั้น ดังนั้น จึงไม่น่าแปลกที่หลายแพลตฟอร์มจะแบกต้นทุนไม่ไหว และสุดท้ายก็ถอยทัพกลับ ก่อนที่จะเจ็บตัวไปมากกว่านี้ จากนี้ไม่รู้ว่าจะมีใครที่ต้องม้วนเสื่อกลับบ้าน และจะมีใครกล้าลงมาเล่นในตลาดนี้อีกหรือไม่

]]>
1364461
อัปเดต 13 แพลตฟอร์ม ‘ดูหนัง-ซีรีส์’ สตรีมมิ่งแบบถูกลิขสิทธิ์! https://positioningmag.com/1331833 Wed, 12 May 2021 13:45:00 +0000 https://positioningmag.com/?p=1331833 ประเทศไทยต้องมาเผชิญกับการระบาดของไวรัส COVID-19 อีกครั้ง ซึ่งถือเป็นระลอกที่ 3 ซึ่งรุนแรงกว่า 2 ครั้งก่อนหน้า ดังนั้น หลายคนก็หลีกเลี่ยงที่จะออกนอกบ้านเพื่อป้องกันตัวเอง ดังนั้น Positioning จะมาอัปเดตเหล่าแพลตฟอร์ม ‘วิดีโอสตรีมมิ่ง’ กันอีกครั้ง เผื่อใครอยากลองหาแพลตฟอร์มใหม่ ๆ เพราะแพลตฟอร์มเดิมอาจจะไม่มีคอนเทนต์อะไรที่น่าดูแล้ว ดังนั้น ไปดูกันว่ามีแพลตฟอร์มไหนบ้าง

Netflix (เน็ตฟลิกซ์)

ชื่อแรกที่ใคร ๆ นึกถึงคงหนีไม่พ้น ‘Netflix’ แพลตฟอร์มวิดีโอสตรีมมิ่งอันดับ 1 ของโลก ซึ่งในแต่ละช่วงก็จะมีซีรีส์หรือคอนเทนต์ใหม่ ๆ มาปลุกกระแสให้พูดถึงในไทยได้ตลอด ก่อนหน้านี้ก็มีซีรีส์เกาหลีอย่าง ‘Vincenzo’ และล่าสุดที่ถูกพูดถึงอย่างมากในโซเชียลฯ ก็คือ ‘เด็กใหม่ ซีซั่น 2’ ซึ่งเป็นการกลับมาของ ‘แนนโน๊ะ’ ซึ่งปัจจุบันได้ก้าวขึ้นสู่ Top 10 คอนเทนต์ยอดนิยมใน 7 ประเทศแถบเอเชียเลยทีเดียว

ปัจจุบัน แพ็กเกจของ Netflix มี 4 แบบ ได้แก่ แพ็กเกจมือถือ 99 บาทต่อเดือน, แพ็กเกจพื้นฐาน 279 บาทต่อเดือน, แพ็กเกจมาตรฐาน 349 บาทต่อเดือน, แพ็กเกจพรีเมียม 419 บาทต่อเดือน ผู้สมัครใหม่ดูฟรี 30 วันแรก

HBO Go (เอชบีโอ โก)

แพลตฟอร์มจากบริษัทโทรคมนาคมยักษ์ใหญ่ของอเมริกา ‘AT&T’ ประกาศควบรวมกิจการ Warner Media โดยเพิ่งให้บริการในไทยไปหมาย ๆ เมื่อช่วงปลายปีที่ผ่านมา โดยมีคอนเทนต์เด่น ๆ อย่าง ‘Justice league snyder cut’ ที่ลงฉายในแพลตฟอร์มวันแรกก็ทำเอาแพลตฟอร์มล่มเลยทีเดียว ซึ่งใครที่เป็นแฟนหนังของค่าย Warner Bros และแฟน DC Coomic ก็เตรียมตัวสมัครได้เลย เพราะมีหนังและซีรีส์ใหม่ ๆ จากทางค่ายให้ดูเพียบ โดยมีค่าบริการที่ 149 บาท/เดือน และสำหรับใครที่ใช้บริการอินเทอร์เน็ตบ้าน 3BB ก็จ่ายเพิ่มแค่ 39 บาท โดยดูฟรีได้ 7 วันหลังสมัคร

Viu (วิว)

แพลตฟอร์มที่เน้นด้านคอนเทนต์เอเชียเป็นหลัก ไม่ว่าจะจากเกาหลี, ญี่ปุ่น รวมถึงละครย้อนหลังของไทย อาทิ ช่อง One31 และ GMM25 โดยจุดเด่นของ Viu อีกสิ่งที่ถูกอกถูกใจชาวไทยก็คือ ภาคเสียง ‘ภาษาถิ่น’ หากสังเกตจะเห็นว่าหลายแพลตฟอร์มจะเริ่มมีคอนเทนต์พากย์ไทย แต่สำหรับ Viu และมี ‘เสียงภาษาอีสาน’ หรือ ‘เสียงภาษาเหนือ’ เรียกได้ว่าเอาใจคนท้องถิ่นไปเลย

สำหรับใครที่เป็นสาย ‘ดูฟรี’ Viu ก็จัดให้ แต่ต้องดูโฆษณาและได้แค่ความคมชัดภาพแบบ SD แต่ถ้าอยากดูแบบ Full HD ไม่มีโฆษณาก็มีค่าสมาชิกที่ 119 บาท/เดือน 3 เดือน 315 บาท และรายปี 1,199 บาท

WeTV (วีทีวี)

แพลตฟอร์ม ‘WeTV’ ซึ่งมีเจ้าของคือ ‘เทนเซ็นต์’ บริษัทยักษ์ใหญ่ของจีน โดย WeTV มีจุดเด่นด้านซีรีส์จากจีนและเอเชีย โดยเฉพาะภาพยนตร์กำลังภายใน นอกจากนี้ยังร่วมกับผู้ผลิตไทยผลิต ‘ซีรีส์วาย’ ภายใต้โปรเจกต์ “ปฏิบัติการณ์หัวใจ ‘วาย’”

โดยรูปแบบการใช้บริการมีทั้งดูฟรี (มีโฆษณา) และพรีเมียม (WeTV VIP) โดยราคาสมาชิกแบบต่ออายุอัตโนมัติ รายเดือน ชำระครั้งแรกที่ 59 บาท, สมาชิกแบบต่ออายุอัตโนมัติ ราย 3 เดือน ชำระครั้งแรกที่ 159 บาท และสมาชิกแบบต่ออายุอัตโนมัติราย 1 ปี ชำระครั้งแรกที่ 599 บาท

‘iQIYI’ (อ้ายฉีอี้)

‘iQIYI’ (อ้ายฉีอี้) สตรีมมิ่งตัว Top ในเครือ Baidu ที่ได้ฉายาว่า ‘Netflix เมืองจีน’ ที่เพิ่งเหยียบเท้าเข้ามาในไทยอีกราย โดยสิ่งที่น่าสนใจคือ ทั้งคู่มี Position เดียวกันกับ WeTV คือ เน้นคอนเทนต์ ‘เอเชียน’ โดย iQIYI เป็นเบอร์ 1 ในตลาดจีน มีผู้ชมต่อเดือนสูงกว่า 600 ล้านคน มีผู้ใช้งานแบบสมาชิกหรือ VIP ทะลุ 100 ล้านคน โดยคอนเทนต์แม่เหล็กของ iQIYI นอกจากซีรีส์จีนแล้วก็มีรายการวาไรตี้อย่าง Youth With You ที่ได้ ‘ลิซ่า’ วง Blackpink มาทำหน้าที่เป็นเมนเทอร์ และอีกส่วนที่เป็นที่พูดถึงมากก็คือ ‘การ์ตูนญี่ปุ่น’

หน้าแรกเว็บไซต์ iq.com อีกหนึ่งช่องทางรับชมของ iQIYI

LINE TV (ไลน์ทีวี)

แพลตฟอร์มที่คนไทยน่าจะคุ้นเคยกันดี โดย LINE TV ได้นิยามตัวเองว่า ‘King of Thai Content’ เพราะปัจจุบันมีทั้งละคร ซีรีส์ ซิทคอม ภาพยนตร์ การ์ตูน รายการวาไรตี้ รวมถึง Original Content รวมมากกว่า 1,000 รายการ จากพันธมิตรกว่า 250 ราย ขณะที่ในกลุ่ม ‘ซีรีส์วาย’ ที่กำลังได้รับความนิยม LINE TV ก็ถือว่ามีจำนวนคอนเทนต์มากสุดในไทยถึง 33 เรื่อง อีกจุดเด่นก็คือ ดูฟรีไม่มีค่าใช้จ่ายใด ๆ

AIS Play (เอไอเอส เพลย์)

แพลตฟอร์มคอนเทนต์จากโอเปอเรเตอร์ของไทยที่ให้ดูฟรีไม่จำกัดค่าย ไม่ว่าจะเป็นทีวีสด ละครย้อนหลัง ภาพยนตร์ ซีรีส์ การ์ตูน คอนเสิร์ต รวมถึงออริจินอลซีรีส์ แต่สำหรับใครที่ไม่จุใจก็สามารถสมัครบริการแบบพรีเมียม โดยจะสามารถดู 31 ช่องรายการ พร้อมหนังและการ์ตูนออนดีมานด์ รวมถึงดูคอนเทนต์ของ ‘Viu’ และ ‘bein sport’ ได้ด้วย

True ID (ทรู ไอดี)

เป็นแพลตฟอร์มจากโอเปอเรเตอร์และสามารถดูได้ไม่จำกัดค่ายเช่นกัน แต่ True ID จะมีจุดเด่นที่แตกต่างจาก AIS Play ตรงที่ มีกีฬา ‘พรีเมียร์ลีก’ ให้ชม แน่นอนว่าดูฟรีเฉพาะบางคู่ และสามารถเช่าหนังพรีเมียมได้ในราคา 149 บาท หรือจะใช้ True Point เพื่อเเลกชมก็ได้ โดยหนังใหม่ใน True ID นั้นมาเร็วมาก แต่หนังฟรีก็มี รวมถึงออริจินอลคอนเทนต์ด้วย

Doonee (ดูนี่)

แพลตฟอร์มสัญชาติไทยที่ให้ดูฟรี 30 วันเมื่อสมัคร แถมราคาเเพ็กเกจก็หลากหลาย ทั้งรายวัน 9 บาท รายเดือน 150 บาท และรายปี 1,500 บาท โดยคอนเทนต์ที่โดดเด่นจะเป็นภาพยนตร์และซีรีส์ Hollywood โดยเฉพาะพวกซีรีส์สืบสวนสอบสวน และรายการดัง ๆ จากฝั่งอเมริกา อย่าง hell kitchen, Master Chef และด้วยความที่เป็นแพลตฟอร์มคนไทย แน่นอนว่าคอนเทนต์ส่วนใหญ่จะพากย์ไทยด้วย

MONOMAX (โมโนแมกซ์)

คงไม่ต้องบอกสรรพคุณ ใครที่เป็นแฟนหนังและซีรีส์ในช่อง Mono29 ก็ตามไปดูต่อกันผ่านแพลตฟอร์มได้ ล่าสุดก็มีภาพยนตร์เรื่อง ‘007’ มาลงให้ชมครบทุกภาคด้วย แฟน ๆ ก็ตามรอได้เลย ใครสนใจก็สมัครดูได้ ให้ดูฟรี 30 วันเช่นกัน ใครติดใจก็สมัครต่อได้ในแพ็กเกจ 250 บาท/เดือน และ 2,500 บาท/ปี

Bilibil (บิลิบิลิ)

ในปีที่ผ่านมา กระแสของ ‘อนิเมะ’ หรือการ์ตูนญี่ปุ่นมาแรงมากในฝั่งบ้านเรา โดยเฉพาะ ‘Demon Slayer’ หรือ ‘ดาบพิฆาตอสูร’ นอกจากนี้ก็มี My Hero Academia, Attack on Titan หรือ Jujutsu Kaisen ที่กำลังโด่งดังไม่แพ้กัน ทำให้หลายแพลตฟอร์มก็จะมีการ์ตูนเรื่องเหล่านี้อยู่เกือบทุกแพลตฟอร์ม และสำหรับ ‘Bilibili’ ก็จะเป็นแพลตฟอร์มสัญชาติจีนที่เน้นไปทางอนิเมะแบบเต็มตัว ใครที่เป็นแฟนมังงะการ์ตูนญี่ปุ่นก็โหลดมาดูได้เลย

สำหรับ Bilibili เปิดให้ดูฟรีหรือสมัคร VIP ที่จะสามารถเนื้อหาพิเศษและดูตอนใหม่ ๆ ได้ก่อนในความละเอียด 1080P โดย 1 เดือนราคา 125 บาท 3 เดือน 350 บาท และ 1 ปี 1,200 บาท

Flixer (ฟลิกเซอร์)

แพลตฟอร์มที่เน้นไปที่ ‘การ์ตูน’ เช่นกัน แต่จะไม่ได้เน้นที่อนิเมะ แต่จะเป็นการ์ตูนไลฟ์แอคชั่น อาทิ มาส์กไรเดอร์ ขบวนการเซ็นไท อุลตร้าแมน กันดั้ม โดยบริษัท ฟลิกเซอร์ จำกัด ที่เป็นเจ้าของแพลตฟอร์มมีพาร์ตเนอร์รายใหญ่เป็น บริษัทดรีม เอกซ์เพรส หรือ DEX ที่เป็นผู้นำด้านลิขสิทธิ์คอนเทนต์จากญี่ปุ่นในไทยมานานกว่า 18 ปี โดย Flixer สามารถดูฟรีและแบบพรีเมียมในราคา 79 บาท

POPS (พ็อพส์)

แพลตฟอร์มวิดีโอสตรีมมิ่งจาก POPS Worldwide (ประเทศไทย) ที่เปิดตัวในเวียดนามปีที่ผ่านมา และเตรียมขยายให้ครอบคลุมทุกประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดย POPS จะคล้าย ๆ Flixer ที่เน้นคอนเทนต์การ์ตูน รวมไปถึงซีรีส์เกาหลี และมีออริจินัลคอนเทนต์ที่มีพันธมิตรเป็นเหล่าอินฟลูเอนเซอร์ อย่าง บี้-เดอะสกา, ต่อ-ตอปิโด หรือทีมอีสปอร์ตระดับท็อปของไทยอย่าง เบคอน ไทม์ โดยสามารถดูฟรี

ทั้งนี้ มีอีกเเพลตฟอร์มที่หลายคนตั้งตารออย่าง Disney + ซึ่งก็ยังไม่รู้ว่าจะเข้าไทยเมื่อไหร่ แม้ว่าจะมีหน้าเว็บไซต์ภาษาไทยรองรับแล้ว รวมถึงมีราคาค่าสมาชิกที่หลุดมาคือ 219 บาทต่อเดือน ซึ่งก็ไม่รู้ว่าระหว่าง COVID-19 ระลอก 3 กับ Disney + อะไรจะได้เห็นก่อนกัน

]]>
1331833
จับตาสงคราม ‘สตรีมมิ่งจีน’ ของยักษ์ใหญ่ iQIYI กับ WeTV ที่ย้ายสมรภูมิรบมาไทย https://positioningmag.com/1317698 Wed, 03 Feb 2021 13:15:03 +0000 https://positioningmag.com/?p=1317698 หากพูดถึงผู้ให้บริการสตรีมมิ่งในไทยเราอาจจะคุ้นกับแพลตฟอร์มยักษ์จากฝั่งตะวันตกอย่าง ‘Netflix’ เสียมากกว่า แม้ว่าช่วง 2-3 ปีหลังจะมีผู้เล่นมากหน้าหลายตาขึ้นก็ตาม ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือ ‘WeTV’ (วีทีวี) ที่มี Backup เป็น ‘Tencent’ เทคคอมปานียักษ์ใหญ่ของจีนที่ให้บริการในไทยเมื่อปี 2019

และในปี 2020 ที่ผ่านมา ‘iQIYI’ (อ้ายฉีอี้) สตรีมมิ่งตัว Top ที่ได้ฉายาว่า ‘Netflix เมืองจีน’ ก็เหยียบเท้าเข้ามาในไทยอีกราย โดยสิ่งที่น่าสนใจคือ ทั้งคู่มี Position เดียวกันคือ เน้นคอนเทนต์เอเชียน ดังนั้น นี่จึงเป็นศึกที่น่าจับตาอีกศึกในตลาดสตรีมมิ่งไทย

สงครามเดิมแต่ย้ายสมรภูมิ

สำหรับตลาดวิดีโอสตรีมมิ่งไทยจะมีภาพที่ชัดเจนขึ้นในปี 2020 เพราะการระบาดของ COVID-19 ก็ตาม แต่จริง ๆ ตลาดสตรีมมิ่งไทยมีมานานมากแล้ว เช่นเดียวกับประเทศจีนที่เกิดสงครามสตรีมมิ่งมาแล้วกว่า 10 ปี โดยผู้เล่น 3 เจ้าใหญ่ ได้แก่ Baidu, Alibaba และ Tencent โดย Baidu ก็คือเจ้าของ ‘iQIYI’ ทาง Tencent ก็มี ‘Tencent Video’ ส่วน Alibaba มี ‘Youku’ ที่เสมือน YouTube เมืองจีน โดยเป็นผู้เล่นรายเดียวที่ยังไม่เข้ามาไทย

ทั้ง 3 บริษัทต่างก็ทำสงครามกันมานาน ต่างคนต่างก็ทุ่มให้กับการทำ ‘ออริจินัลคอนเทนต์’ ของตัวเองเพื่อดึงดูดผู้ชมให้ได้มากที่สุด โดย iQIYI เป็นเบอร์ 1 ในตลาดจีน มีผู้ชมต่อเดือนสูงกว่า 600 ล้านคน มีผู้ใช้งานแบบสมาชิกหรือ VIP ทะลุ 100 ล้านคน

ด้าน Tencent Video ก็ตามมาติด ๆ ด้วยผู้ใช้งานแอคทีฟ 550 ล้านรายต่อเดือน และในที่สุดสงครามดังกล่าวก็ลามมาถึงตลาดไทย โดยเริ่มจาก Tencent ที่เปิดตัว ‘WeTV’ ไปเมื่อปี 2019 ภายใต้บริษัท เทนเซ็นต์ (ประเทศไทย) ซึ่งมีแบรนด์ในเครืออย่างเว็บไซต์ Sanook, JOOX มิวสิกสตรีมมิ่ง, เกม PUBG MOBILE ส่วน iQIYI เพิ่งขยับออกมาลุยตลาดต่างประเทศในปี 2020 ที่ผ่านมา ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือ ประเทศไทย

ศึกชิงความแข็งแกร่ง ‘เอเชียนคอนเทนต์’

ด้วยความที่แพลตฟอร์มสตรีมมิ่งมีจำนวนมากทั้งผู้เล่นระดับโลกอย่าง Netflix, HBO Max, Amazon Prime Video ผู้เล่นโลคอล อาทิ AIS Play, True ID, Mono Max, Doonee เป็นต้น ซึ่งแต่ละเจ้าก็พยายามลงทุนทำซีรีส์ด้วยทุนสูงเพื่อดึงดูดผู้ใช้งาน

ส่วนรายเล็กที่ไม่มีเงินทุนก็ต้องมีคอนเทนต์เฉพาะกลุ่มเพื่อสร้างความแตกต่าง เช่นเดียวกันกับ WeTV และ iQIYI ที่บอกตั้งแต่ต้นแล้วว่าคงจะไม่ไปแข่งที่คอนเทนต์ฝั่งตะวันตกที่ไม่ถนัด แต่จะขอโฟกัสไปที่คอนเทนต์เอเชียเป็นหลัก เพื่อขอชิง ‘เวลา’ ของผู้บริโภคให้มาอยู่ที่แพลตฟอร์มของตัวเองบ้าง ดังนั้น ทั้งคู่จึงเป็นคู่แข่งหลักของกันและกันไปโดยปริยาย

โดยเมื่อเทียบกันแล้ว คอนเทนต์หลักของทั้ง WeTV และ iQIYI กว่า 50% จะเป็นคอนเทนต์ ‘จีน’ เหมือนกัน ส่วนอีก 50% ก็จะเป็นซีรีส์เกาหลี, การ์ตูนญี่ปุ่น จุดที่จะชิงชัยคงจะเป็น ‘คอนเทนต์แม่เหล็ก’ ของตัวเอง อย่างฝั่งของ WeTV ก็มี ‘ปรมาจารย์ลัทธิมาร’ ที่โด่งดังเป็นพลุแตกในไทย ส่วน iQIYI ก็มีออริจินัลวาไรตี้ขวัญใจวัยรุ่นทั่วโลกอย่าง Youth With You 3 ซีซั่นล่าสุดที่ได้ ลิซ่า BLACKPINK มารับหน้าที่เมนเทอร์ประจำรายการอีกครั้ง

ผู้ผลิตไทยได้ประโยชน์เต็ม

เพราะทั้งคู่ต่างต้องการเป็นเจ้าแห่งคอนเทนต์เอเชียน ดังนั้น การพยายามดึงคอนเทนต์จากประเทศต่าง ๆ ในเอเชียมาไว้บนแพลตฟอร์มจึงเป็นอีกสงครามนอกจากแค่แย่งลูกค้า ดังนั้นนี่จึงเป็นโอกาสให้กับผู้ผลิตคอนเทนต์ของไทย โดยที่ผ่านมาจะเริ่มเห็นความร่วมมือในการดึงลิขสิทธิ์ซีรีส์หรือภาพยนตร์ต่าง ๆ มาลงในแต่ละแพลตฟอร์ม รวมถึงประกาศความร่วมมือกันผลิต ‘ออริจินัลคอนเทนต์’

อย่างที่ผ่านมา WeTV ก็จับกระแสซีรีส์วาย เดินหน้าสร้าง ‘ออริจินัล คอนเทนต์วาย’ ด้วยการจับมือกับพันธมิตรผู้ผลิตคอนเทนต์ในประเทศไทย สร้างสรรค์คอนเทนต์ภายใต้โปรเจกต์ “ปฏิบัติการณ์หัวใจ ‘วาย’” และนอกจากซีรีส์วายยังมีออริจินัลซีรีส์ ประเภทอื่น ๆ เพื่อรองรับกลุ่มเป้าหมายที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น

ส่วน iQIYI ก็จะเน้นไปที่ ‘ซิทคอม’ โดยดึงเอา ‘เป็นต่อ’ ‘เสือ ชะนี เก้ง’ และ ‘3 หนุ่ม 3 มุม x2’ มาลงในแพลตฟอร์ม พร้อมทั้งเตรียมจะปั้นออริจินัลซีรีส์ไทยในอนาคตด้วย และด้วยความที่แต่ละแพลตฟอร์มนั้นให้บริการในหลายประเทศ นี่ก็ถือเป็นอีกช่องทางการพาคอนเทนต์ไทย Go Inter ในตลาดโลกได้ด้วย

สงครามที่ไม่มีผู้ชนะขาด

ทั้ง 2 แพลตฟอร์มต่างงัดไม้เด็ดกันมาโกยผู้ใช้ ไม่ใช่แค่คอนเทนต์ แต่โมเดลของทั้งคู่ยังเป็นแบบ ‘ฟรีเมียม’ โดยให้ดูฟรีได้ (แต่มีโฆษณา และอาจจะดูช้าหน่อย) โดยค่าบริการ VIP ของ WeTV อยู่ที่ 119 บาทต่อเดือน ราคาเดียวกันกับ iQIYI เลยทีเดียว ซึ่งแสดงให้เห็นว่าไม่มีใครยอมใครจริง ๆ อย่างไรก็ตาม ทั้ง 2 แพลตฟอร์มระบุว่าไม่ได้โฟกัสว่าจะต้องมีผู้ใช้ VIP มากน้อยแค่ไหน (เพราะสามารถหารายได้จากโฆษณาได้อยู่ดี)

ดังนั้น เมื่อผู้เล่น 2 รายใหญ่พยายามจะขับเคี่ยวกันในตลาด ทั้ง 2 ต่างมีงบลงทุนมหาศาลการจะหาผู้ชนะขาดในตลาดนี้อาจจะเป็นเรื่องยาก เพราะต่างคนต่างก็มีคอนเทนต์เรือธงที่ต่างกัน แถมผู้บริโภคก็สามารถเลือกที่จะดูทั้ง 2 แพลตฟอร์มได้เพราะดูฟรี

ดังนั้น ปัญหาน่าจะเกิดกับผู้เล่นหน้าใหม่หรือผู้เล่นหน้าเก่าที่จะเข้ามาในตลาด โดยเน้นที่เอเชียนคอนเทนต์มากกว่าอาจเผชิญกับความยากลำบากที่จะสอดแทรกสู้ในสงครามนี้

]]>
1317698
ศึกชิงเจ้ายุทธภพ! iQIYI “สตรีมมิ่ง” ยักษ์จากจีนบุกไทย แย่งผู้ชมคอนเทนต์ “เอเชียน” https://positioningmag.com/1304814 Fri, 06 Nov 2020 10:01:58 +0000 https://positioningmag.com/?p=1304814 iQIYI (อ้ายฉีอี้) เข้ามาเติมความร้อนแรงในธุรกิจสตรีมมิ่ง เปิดตลาดไทยอย่างเป็นทางการ วางเป้าหมายเป็นแหล่งคอนเทนต์สไตล์ “เอเชียน” มาครบทั้งจีน เกาหลี ญี่ปุ่น และไทย ถึงมาช้ากว่าแต่เชื่อว่ายังมีช่องว่างให้แทรกตัว โดยต้องชนกับเจ้าตลาดเดิมทั้งทางตรงทางอ้อม แย่งเวลารับชมจากคนไทยกันอย่างดุเดือด!

iQIYI (อ้ายฉีอี้) ชื่อนี้อาจจะไม่คุ้นหูชาวไทยทั่วไปนัก แต่เป็นแพลตฟอร์มสตรีมมิ่งยักษ์ใหญ่ของจีน มีฐานคนดูถึง 600 ล้านคน โดยเป็นแพลตฟอร์มภายใต้เครือ Baidu เสิร์ชเอนจิ้นอันดับ 1 ของแดนมังกร

ในประเทศจีนนั้น คอนเทนต์ประเภทวิดีโอจะแข่งกัน 3 เจ้าหลัก คือ iQIYI, Tencent Video และ YOUKU อย่างไรก็ตาม YOUKU จะเป็นแพลตฟอร์มแบบเดียวกับ YouTube คือเน้นคอนเทนต์ที่สมาชิกผลิตขึ้นเอง (UGC : User-generated Content) ดังนั้น สตรีมมิ่งที่ลงฉายคอนเทนต์ระดับมืออาชีพ หลักๆ จึงเป็นสองยักษ์ iQIYI กับ Tencent Video ที่สู้กันมาตลอด

หน้าแรกเว็บไซต์ iq.com อีกหนึ่งช่องทางรับชมของ iQIYI

สำหรับ Tencent Video ในไทยจะใช้ชื่อ WeTV เข้ามาเปิดตลาดอย่างเป็นทางการเมื่อปี 2562 และบูมสุดขีดทันทีเมื่อลงสตรีมซีรีส์ “ปรมาจารย์ลัทธิมาร” กวาดคนดูเข้าแพลตฟอร์มจำนวนมาก และทำให้กระแสซีรีส์จีนในไทยกลับมาเป็นหนึ่งในกระแสหลักอีกครั้ง

หลังจากเปิดตลาดด้วยซีรีส์จีนไปแล้ว WeTV ก็เริ่มลุยต่อกับคอนเทนต์เอเชียนอื่นๆ โดยจากนี้จะมีทั้งซีรีส์จีน เกาหลี ไทย โดยเฉพาะ Original Content กับผู้จัดชาวไทย ยกตัวอย่างล่าสุดเป็นเรื่อง “อาทิตย์อัสดง” ซีรีส์ไทยแนวสยองขวัญที่ WeTV ลงทุนสร้าง

 

ไม่ใช่แค่จีน แต่เป็นแหล่งคอนเทนต์เอเชียน

ส่วน iQIYI ที่เพิ่งเข้ามาเปิดตัวอย่างเป็นทางการ แม้จะเสียเปรียบที่มาช้ากว่า แต่ก็มีฐานแฟนซีรีส์จีนอยู่แล้วไม่น้อยเหมือนกัน โดยเป็นกลุ่มแฟนพันธุ์แท้ที่ลงทุนใช้ VPN เพื่อฝ่ากำแพงเข้าไปรับชม (ก่อนหน้านี้ iQIYI ยังไม่เปิดให้ชมนอกประเทศจีน)

จนกระทั่งปีนี้ที่เริ่มเปิดตัวในไทยอย่างเป็นทางการ iQIYI เป็นที่รู้จักมากขึ้นเมื่อลงสตรีมรายการแข่งขันค้นหาไอดอลหน้าใหม่ในประเทศจีน “Youth with You ซีซั่น 2” ซึ่งมี “ลิซ่า-ลลิษา มโนบาล” หรือ ลิซ่า วง Blackpink เป็นหนึ่งในเมนเทอร์ ทำให้เหล่าแฟนคลับติดตามดูรายการกันแบบเหนียวแน่น แม้จะไม่ถึงกับดังเปรี้ยง แต่ก็ได้ฐานคนดูสายเกาหลีเข้ามาเพิ่ม

Youth with You 2 รายการแข่งขันหาไอดอลในประเทศจีน โดยมี ลิซ่า Blackpink เป็นหนึ่งในเมนเทอร์ เรียกฐานแฟนคนดูชาวไทย

สำหรับทิศทางที่จะเกิดขึ้นต่อไปนั้น “ผ่านศึก ธงรบ” ผู้อำนวยการฝ่ายเนื้อหา สำนักธุรกิจระหว่างประเทศ iQIYI ประเทศไทย กล่าวว่า เป้าหมายของแพลตฟอร์มต้องการจะเป็นแหล่งรวมคอนเทนต์ “เอเชียน” ทั้งหมด โดยจะแบ่งเป็นคอนเทนต์จีน 50% และอีก 50% จะผสมกันทั้งเกาหลี ญี่ปุ่น และไทย เพื่อให้ภาพจำของแพลตฟอร์มไม่ใช่มีแต่ซีรีส์จีนเท่านั้น แต่มีให้ชมอย่างหลากหลาย

แน่นอนว่าคอนเทนต์เกาหลีก็จะเป็นซีรีส์เกาหลีที่คนไทยชื่นชอบ ส่วนคอนเทนต์ญี่ปุ่น จะเน้นสายการ์ตูน-อนิเมะ ซึ่งผ่านศึกมองว่า หลายคนมักจะมองข้ามการ์ตูนญี่ปุ่นเพราะกระแสไม่หวือหวา แต่ที่จริงเป็นประเภทคอนเทนต์ที่ฐานคนดูใหญ่มาก คอนเทนต์เหล่านี้จะได้เห็นอย่างชัดเจนขึ้นในปี 2564

ปิดท้ายด้วยคอนเทนต์ไทย ส่วนนี้ iQIYI มีวิสัยทัศน์การลงทุนเพื่อสร้าง Original Content ตั้งแต่ที่ประเทศจีน และจะคงวิสัยทัศน์เดียวกันเมื่อออกมาลงทุนต่างประเทศ โดยล่าสุดเพิ่งประกาศเปิดตัวซีรีส์เรื่อง “โลกทั้งใบให้นายคนเดียว เดอะซีรีส์” เป็นโปรเจกต์ร่วมทุนกับ ช่อง 8 ในเครืออาร์เอส กรุ๊ป และผ่านศึกย้ำว่า การทำ Original Content จะเป็นแกนหลักอย่างหนึ่ง ทำให้ปีต่อๆ ไปจะได้เห็นแพลตฟอร์มจับมือกับพาร์ตเนอร์ชาวไทยอีกมาก

นักแสดง “โลกทั้งใบให้นายคนเดียว เดอะซีรีส์” มาครบทั้งชุดเดิมและชุดใหม่

 

มาด้วยทุน องค์ความรู้ และเทคโนโลยี

เมื่อเป็นหน้าเก่าที่จีนแต่เป็นหน้าใหม่ที่ไทย ผ่านศึกระบุว่าตลาดมีความท้าทายสูง แต่ก็เชื่อว่า iQIYI มีจุดแข็งพอที่จะเบียดแย่งตลาดมาได้

“OTT ในไทยมีเยอะแล้วก็จริง แต่เรามองเป็นความท้าทาย และเราก็มีจุดแข็ง คือองค์ความรู้จากจีนที่ให้บริการมานาน 10 ปี เน้นเรื่องเทคโนโลยีทุกขั้นตอน และในไทยเรามาด้วยธุรกิจนี้ธุรกิจเดียว ทำให้เรามุ่งเน้นกับธุรกิจนี้เท่านั้น” ผ่านศึกกล่าว

“นงลักษณ์ งามโรจน์” หัวหน้าเจ้าหน้าที่บริหาร สถานีโทรทัศน์ช่อง 8 ในเครืออาร์เอส กรุ๊ป และ “ผ่านศึก ธงรบ” ผู้อำนวยการฝ่ายเนื้อหา สำนักธุรกิจระหว่างประเทศ iQIYI ประเทศไทย

เทคโนโลยีที่ผ่านศึกกล่าวถึง เช่น คุณภาพของภาพและเสียงที่ดีกว่า ความเร็วในการดาวน์โหลด ความเร็วในการผลิตซับไตเติลให้กับซีรีส์ตอนใหม่เพื่อลงสตรีมให้เร็วที่สุด ไปจนถึงเทคโนโลยีการถ่ายทำและความพยายามสร้างนวัตกรรมใหม่

iQIYI นั้นเพิ่งจะเริ่มออกทำตลาดต่างประเทศครั้งแรกเมื่อปี 2562 โดยเปิดให้ชาวต่างประเทศเข้าดูคอนเทนต์ได้ แต่จะมีบางประเทศเท่านั้นที่ถือเป็นตลาดมุ่งเน้น และจัดตั้งทีมท้องถิ่นเพื่อสร้างคอนเทนต์แบบ Localized หนึ่งในนั้นคือ “ประเทศไทย” ส่วนประเทศอื่นๆ ที่มีการตั้งทีมแล้ว เช่น สิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น

 

iQIYI ต้องชนกับเจ้าอื่นทั้งทางตรงทางอ้อม

ว่ากันที่ราคาบ้าง iQIYI ให้บริการแบบ “ฟรีเมียม” คือดูฟรีมีโฆษณาคั่น แต่สามารถสมัครสมาชิกพรีเมียมได้เพื่อปิดโฆษณา พร้อมรับสิทธิ์ดูตอนใหม่ของซีรีส์ล่วงหน้าได้มากกว่าสมาชิกปกติ คิดราคา 119 บาทต่อเดือน โปรโมชันเดือนแรกลดเหลือ 15 บาทต่อเดือน

แพ็กเกจราคาแบบนี้เป็นลักษณะเดียวกับ WeTV ซึ่งใช้ระบบฟรีเมียม ผู้สมัคร VIP จะได้ดูจำนวนตอนมากกว่า ทำให้ iQIYI ชนกับ WeTV ตรงๆ เหมือนกับในประเทศจีน ไม่ว่าจะเป็นคอนเทนต์ที่มุ่งเป็นแพลตฟอร์มสายเอเชียน โดยมีคอนเทนต์จีนเป็นตัวชูโรงเหมือนกัน และแพ็กเกจราคาแบบฟรีเมียมเหมือนกันอีก

นอกจาก iQIYI จะต้องสู้กับ WeTV ตรงๆ แล้ว คอนเทนต์เอเชียนยังคาบเกี่ยวชนกับเจ้าตลาดเดิมอื่นๆ อีก เช่น LINE TV ซึ่งกลายเป็นแพลตฟอร์มแห่งคอนเทนต์ไทยไปแล้ว รวมถึง Viu (วิว) ซึ่งเน้นไปสายเกาหลี เสริมด้วยละครไทยและญี่ปุ่น

ที่กล่าวมายังไม่นับคู่แข่งทางอ้อมในกลุ่มสตรีมมิ่งที่เน้นซีรีส์ตะวันตก เช่น Netflix, HBO รวมถึง Disney+ ที่กำลังจะเข้ามาเร็วๆ นี้ ซึ่งมีโอกาสแย่งเวลาผู้ชมไปเหมือนกัน ดังนั้น ศึกชิงเจ้ายุทธภพสตรีมมิ่งจะเดือดยิ่งกว่าที่เคย และใครที่ไม่แข็งแรงพออาจต้องม้วนเสื่อกลับบ้าน เหมือนอย่าง HOOQ ที่เพิ่งปิดกิจการในไทยไปเมื่อนเดือนเมษายนที่ผ่านมา

]]>
1304814
“ช่อง 8” สู่น่านน้ำใหม่ใน OTT จับมือ iQIYI ปัดฝุ่นหนังในตำนาน “โลกทั้งใบให้นายคนเดียว” https://positioningmag.com/1304623 Thu, 05 Nov 2020 11:50:14 +0000 https://positioningmag.com/?p=1304623 พลิกมุมคิดเปลี่ยนคู่แข่งเป็นโอกาส! ช่อง 8 ในเครืออาร์เอส ปรับกลยุทธ์จับมือพาร์ตเนอร์ผลิตคอนเทนต์บุกตลาดออนไลน์ ประเดิมเรื่องแรกปัดฝุ่นหนังในตำนานวัยรุ่นยุค 90s “โลกทั้งใบให้นายคนเดียว” รีเมคเป็นซีรีส์ โดยร่วมทุนกับ iQIYI (อ้ายฉีอี้) แพลตฟอร์มสตรีมมิ่งจีนรายใหญ่ ออกอากาศคู่ขนานพร้อมกันทั้งบนแอปฯ และช่อง 8 งานนี้เป็นวิสัยทัศน์ใหม่ของอาร์เอส ออนไลน์ไม่ใช่คู่แข่งแต่เป็นพันธมิตรที่ช่วยเสริมให้ช่องได้คนดูกลุ่มใหม่

พูดถึงละคร ช่อง 8 ภาพจำของคนดูน่าจะเป็นละครชิงรักหักสวาท เกี่ยวข้องกับวิญญาณและความเชื่อ มีความเปรี้ยว แรง และแซบ แต่ภาพจำนั้นกำลังจะเปลี่ยนไปเมื่อช่อง 8 หันมาบุกคนดูกลุ่มใหม่บนโลกออนไลน์ ผ่านการจับมือกับ OTT หน้าใหม่ในไทยแต่เป็นรายใหญ่จากเมืองจีนคือ “iQIYI” (อ้ายฉีอี้) ร่วมทุนกันสร้างซีรีส์ “โลกทั้งใบให้นายคนเดียว เดอะซีรีส์” ซีรีส์ยาวไม่ต่ำกว่า 12 ตอนที่สร้างจากภาพยนตร์ชื่อดังในยุค 90s

โลกทั้งใบให้นายคนเดียว เดอะซีรีส์ จะดึงเอานักแสดงวัยรุ่นชื่อดัง 3 คนมาเป็นแม่เหล็ก ทั้ง “โอห์ม-ฐิติวัฒน์ ฤทธิ์ประเสริฐ” “สิงโต-ปราชญา เรืองโรจน์” และ “น้ำตาล-ทิพย์นารี วีรวัฒโนดม” มาสวมบทเป็น ไม้-เม่น-ป้อน และยังมีนักแสดงชุดเดิมคือ “เต๋า-สมชาย เข็มกลัด” “โมทย์-ปราโมทย์ แสงศร” และ “นุ๊ก-สุทธิดา เกษมสันต์ ณ อยุธยา” ร่วมแสดงประกบอยู่ด้วย โดยเนื้อเรื่องจะยังเคารพบทต้นฉบับ แต่ตีความตัวละครได้ลึกขึ้น บนสภาพแวดล้อมยุคปัจจุบัน

นักแสดง “โลกทั้งใบให้นายคนเดียว เดอะซีรีส์” มาครบทั้งชุดเดิมและชุดใหม่

ซีรีส์เรื่องนี้จะออกอากาศตอนแรกวันที่ 12 ธันวาคม 2563 ทุกวันเสาร์-อาทิตย์ เวลา 21.40 น. และเป็นการออกอากาศพร้อมกันทั้งในช่อง 8 และแพลตฟอร์ม iQIYI ซึ่งจะออนแอร์ไม่ใช่แค่ในไทย แต่ส่งไป 20 ประเทศทั่วโลก นับเป็นครั้งแรกที่ช่อง 8 มีการผลิต Original Content ที่มองหาผู้ชมกลุ่มใหม่ทั้งในไทยและสากล รวมถึงออนแอร์พร้อมกันกับ OTT จากปกติจะมีการส่งคอนเทนต์ไปรีรันบน OTT หลังจากฉายบนช่องโทรทัศน์ไปแล้ว

เห็นได้ชัดว่าช่อง 8 กำลังพลิกกลยุทธ์ใหม่ ผลิตซีรีส์เอาใจวัยรุ่นโดยยังไม่ทิ้งลูกค้ากลุ่มเดิม และยกระดับความร่วมมือกับแพลตฟอร์มออนไลน์อย่างใกล้ชิด

 

ถึงเวลาช่อง 8 บุกออนไลน์เต็มตัว

“นงลักษณ์ งามโรจน์” หัวหน้าเจ้าหน้าที่บริหาร สถานีโทรทัศน์ช่อง 8 ในเครืออาร์เอส กรุ๊ป เปิดเผยว่า ความร่วมมือกับ iQIYI ครั้งนี้เกิดขึ้นจากทิศทางบริษัทที่ต้องการจะบุกออนไลน์ โดยเชื่อว่าช่วงนี้คือจังหวะที่เหมาะสม

เนื่องจากพบว่า ฐานผู้ชมออนไลน์ทั่วประเทศเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันผู้ชมคอนเทนต์ออนไลน์อยู่ที่ 1.3 ล้านคน เพิ่มขึ้น 18.8% จากปี 2561 และคาดการณ์ว่าจะเพิ่มเป็น 2.1 ล้านรายภายในปี 2566 ขณะที่ผู้ติดตามของช่อง 8 บนโซเชียลมีเดียทุกช่องทางรวมกันมีมากกว่า 30 ล้านคน และเชื่อว่าจะเพิ่มเป็น 40 ล้านคนภายในสิ้นปี 2564

“นงลักษณ์ งามโรจน์” หัวหน้าเจ้าหน้าที่บริหาร สถานีโทรทัศน์ช่อง 8 ในเครืออาร์เอส กรุ๊ป และ “ผ่านศึก ธงรบ” ผู้อำนวยการฝ่ายเนื้อหา สำนักธุรกิจระหว่างประเทศ iQIYI ประเทศไทย

“ถามว่า OTT เข้ามาดิสรัปต์ฐานคนดูเดิมของเราไหม ต้องตอบว่า ‘ไม่’ เพราะฐานคนดูตลาดแมสเรายังอยู่กับหน้าจอทีวี เรามีคนดูในต่างจังหวัดสูงมาก ทำให้ในอดีตเรายังไม่ขยับเพราะจังหวะยังไม่ใช่ แต่วันนี้เรามีผู้ติดตามบนออนไลน์มากถึง 30 ล้านคนแล้ว ทำให้เราเห็นว่าเป็นจังหวะที่ใช่ในการไปออนไลน์” นงลักษณ์กล่าว

 

โมเดลออนไลน์เป็น “โปรเจกต์พิเศษ” วิธีคิดแบบสากล

ปกติในแต่ละปีช่อง 8 จะมีละครลงจอทีวี 10-12 เรื่องเป็นมาตรฐาน ส่วนการผลิตคอนเทนต์ที่เน้นออนไลน์กับพาร์ตเนอร์ OTT จะเป็นคอนเทนต์ใหม่ที่เสริมเข้ามา โดยนงลักษณ์กล่าวว่า ไม่ได้วางเป้าหมายจำนวนเรื่องต่อปี จะขึ้นอยู่กับโอกาส แต่จะเพิ่มให้มากที่สุด โดยการรีเมคภาพยนตร์เก่าอื่นๆ เป็นซีรีส์นั้นมีความเป็นไปได้ กำลังอยู่ระหว่างพิจารณา

การผลิตคอนเทนต์เพื่อตีตลาดออนไลน์จะมีความแตกต่าง ยกตัวอย่าง โลกทั้งใบให้นายคนเดียว เดอะซีรีส์ วิธีคิดจะมองแบบสากลมากขึ้น ทำให้เชิญ ดร.องอาจ สิงห์ลำพอง มาเป็นผู้กำกับ เพื่อให้ได้กลิ่นอายความเป็นภาพยนตร์ เพลงประกอบก็มีการผลิตใหม่ให้เข้ากับรสนิยมคนจีนและเกาหลีใต้มากขึ้น รวมถึงนักแสดงก็เลือกให้เหมาะกับรสนิยมคนรุ่นใหม่

นอกจากนี้ แนวทางใหม่ของอาร์เอสและช่อง 8 ยังเปิดกว้างมากขึ้นภายใต้การแข่งขันยุคใหม่ ยกตัวอย่างเช่น นักแสดงนำในเรื่องโลกทั้งใบฯ 2 คนคือ สิงโต-ปราชญา กับ น้ำตาล-ทิพย์นารี เป็นดาราต่างสังกัดจากจีเอ็มเอ็มทีวี ก็มาร่วมงานในโปรเจกต์ของช่องได้ และโอห์ม-ฐิติวัฒน์ ซึ่งอยู่ในค่ายอาร์เอส ก็ไปร่วมแสดงละครกับค่ายอื่นได้

“ถ้าเรามองว่าเป็นการแข่งขัน การทำงานกับพาร์ตเนอร์จะไม่สนุก แต่ถ้ามองว่าเป็นการเสริมกัน เป็นสปริงบอร์ดให้กัน มันจะเปลี่ยนวิธีคิดทั้งหมด อย่างเรื่องโลกทั้งใบให้นายคนเดียว เดอะซีรีส์ ตลาดแมสก็สามารถดูได้ที่ช่อง 8 ส่วนคนรุ่นใหม่ก็ดูได้ที่ iQIYI” นงลักษณ์กล่าว “การผลิตเราก็สามารถรับดารา ผู้กำกับ ผู้จัดละคร ฯลฯ จากนอกค่ายมาทำงานด้วยกันได้ มันไม่ใช่ปัญหาแล้ว แต่นี่คือโอกาส”

 

iQIYI หวังจุดพลุตลาดไทย ร่วมงานกับสารพัดค่าย

ด้าน “ผ่านศึก ธงรบ” ผู้อำนวยการฝ่ายเนื้อหา สำนักธุรกิจระหว่างประเทศ iQIYI ประเทศไทย เปิดเผยถึงแพลตฟอร์ม iQIYI ว่า เป็นน้องใหม่ในไทย แต่เป็นพี่ใหญ่ของประเทศจีน อยู่ภายใต้เครือเดียวกับ Baidu เสิร์ชเอนจิ้นที่ใหญ่ที่สุดของแดนมังกร โดย iQIYI มีฐานผู้ชมกว่า 600 ล้านคน

แน่นอนว่ามาจากจีน คอนเทนต์สำคัญที่อยู่ในแพลตฟอร์มขณะนี้จึงเป็นซีรีส์และรายการวาไรตี้จีน แต่ iQIYI ต้องการจะสร้างสรรค์ Original Content ไทยให้ติดตลาด ตามกลยุทธ์เดียวกับในจีนที่ iQIYI จะเป็นผู้ผลิตคอนเทนต์เองจำนวนมาก โดยปีนี้แพลตฟอร์มมีคอนเทนต์ไทยลงแล้ว 3 เรื่อง คือ 3 หนุ่ม 3 มุม x 2 ซึ่งร่วมกับช่องวัน, Gen Y The Series ผลิตโดย Star Hunter Entertainment และ โลกทั้งใบให้นายคนเดียว เดอะซีรีส์ กับช่อง 8

ซีรีส์ไทยที่ลงสตรีมมิ่งใน iQIYI ปี 2563

นอกจากจะมี Original Content แล้ว ยังดึงคอนเทนต์ที่น่าสนใจลงสตรีมมิ่งอีกเพียบ โดยเฉพาะความร่วมมือกับอาร์เอส จะมีการนำภาพยนตร์เก่าชื่อดัง 11 เรื่องมาปรับปรุงคุณภาพงานภาพและเสียงเพื่อเข้าแพลตฟอร์ม iQIYI เช่น โลกทั้งใบให้นายคนเดียว (เวอร์ชันต้นฉบับ), Sex Phone คลื่นเหงาสาวข้างบ้าน, แสบสนิท ศิษย์สายหน้า, มือปืน/โลก/พระ/จัน, ล่องจุ๊น ขอหมอนใบนั้นที่เธอฝันยามหนุน, เกิดอีกทีต้องมีเธอ เป็นต้น

ปัจจุบัน iQIYI ไทยให้บริการแบบ ฟรีเมียม คือดูฟรีแต่มีโฆษณาคั่น แต่สามารถสมัครสมาชิกได้ในราคา 119 บาทต่อเดือน พร้อมโปรโมชันพิเศษเดือนแรกจ่ายเพียง 15 บาท เพื่อปิดโฆษณาและได้สิทธิดูคอนเทนต์ล่วงหน้าได้ ไม่ต้องรอทยอยออกตอนใหม่ทุกสัปดาห์

เมื่ออาร์เอส-ช่อง 8 กระโดดร่วมวง วางตัวเองเป็นทั้งเจ้าของแพลตฟอร์มและผู้ผลิตคอนเทนต์ รวมถึง iQIYI สตรีมมิ่งแพลตฟอร์มยักษ์ใหญ่จากจีนที่บุกเข้ามาแย่งผู้ชม นับตั้งแต่นี้ การแข่งขันตลาดคอนเทนต์บันเทิงจะยิ่งร้อนแรงขึ้นอย่างแน่นอน!

]]>
1304623
เอาบ้าง! “ไต้หวัน” เปิดศึกบริษัทเทคจีน เตรียมแบนแอปฯ สตรีมมิ่ง iQiyi และ WeTV https://positioningmag.com/1293646 Fri, 21 Aug 2020 04:46:16 +0000 https://positioningmag.com/?p=1293646 “ไต้หวัน” วางแผนแบนยักษ์ใหญ่แพลตฟอร์มสตรีมมิ่งจากจีนอย่าง iQiyi (อ้ายฉีอี้) และ WeTV โดยจะสั่งห้ามมิให้องค์กรหรือบุคคลใดทำงานร่วมกับทั้งสองแพลตฟอร์มนี้ กลายเป็นอีกหนึ่งพื้นที่ปกครองที่เปิดศึกกับบริษัทเทคโนโลยีจีนต่อจากสหรัฐฯ และอินเดีย

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกิจกรรมทางเศรษฐกิจของไต้หวันเปิดเผยว่า คำสั่งดังกล่าวจะมีประกาศอย่างเป็นทางการวันที่ 3 กันยายนนี้ โดยจะสั่งการห้ามองค์กรและบุคคลใดทำงานร่วมกับบริษัทสตรีมมิ่งจากจีนแผ่นดินใหญ่ ทำให้ทั้งสองบริษัทจะให้บริการบนเกาะไต้หวัน “อย่างผิดกฎหมาย” ไม่ได้ แม้แต่การดำเนินการผ่านตัวแทนผู้จัดจำหน่ายหรือเอเย่นต์ก็ไม่สามารถกระทำได้

iQiyi (อ้ายฉีอี้) นั้นเป็นแพลตฟอร์มสตรีมมิ่งรายใหญ่ในเครือ Baidu โดยมีลักษณะคล้าย Netflix คือเป็นแพลตฟอร์มที่รวบรวมซีรีส์ ภาพยนตร์ รายการวาไรตี้ ที่ผลิตโดยมืออาชีพมาให้สมาชิกได้รับชม แอปฯ iQiyi ยื่นขออนุญาตเปิดบริษัทย่อยในไต้หวันเมื่อปี 2559 แต่ทางการไต้หวันปฏิเสธการเปิดบริษัทไป

เนื่องจากไต้หวันมี “กฎหมายความสัมพันธ์ทางการปกครองระหว่างพื้นที่สาธารณรัฐไต้หวันกับพื้นที่แผ่นดินใหญ่” ซึ่งกำหนดให้บริษัทจีนสามารถลงทุนจำหน่ายสินค้าและให้บริการในไต้หวันได้เป็นบางหมวดเท่านั้น และบริการสตรีมมิ่งไม่อยู่ในรายการที่ได้รับอนุญาตตามกฎหมาย

WeTV เพิ่งเปิดตัวในไต้หวันไม่ถึงปี แต่มียอดดาวน์โหลดแล้วกว่า 1 ล้านครั้ง

อย่างไรก็ตาม แพลตฟอร์ม iQiyi และ WeTV ซึ่งเป็นคู่แข่งประเภทเดียวกันจากเครือ Tencent หลีกเลี่ยงการบังคับใช้กฎหมาย โดยการร่วมเป็นพันธมิตรกับธุกิจสื่อท้องถิ่นและตัวแทนจัดจำหน่ายในไต้หวัน เพื่อโปรโมตและบริการสตรีมมิ่งของตนเอง

สำนักข่าว Taipei Times รายงานเมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมาว่า iQiyi อาจจะมีสมาชิกถึง 6 ล้านคนบนเกาะไต้หวัน และมีสำนักข่าวท้องถิ่นรายงานเมื่อเดือนธันวาคมปีก่อนว่า แพลตฟอร์มนี้มียอดวิวทะลุ 1,700 ล้านวิวไปแล้ว เนื่องจากซีรีส์สุดฮิต The Legend of Haolan ออกฉาย ส่วนแอปฯ WeTV มียอดดาวน์โหลดมากกว่า 1 ล้านครั้งในไต้หวัน หลังจากเปิดบริการมาไม่ถึง 1 ปี

“โคลาส โยทากะ” โฆษกหญิงรัฐบาลไต้หวัน กล่าวไว้เมื่อเดือนเมษายนว่า การอนุญาตให้แพลตฟอร์มสตรีมมิ่งจีนให้บริการได้บนช่องว่างทางกฎหมาย ด้วยการไปจับมือกับบริษัทท้องถิ่น เป็นการ “ทำผิดต่อหลักประชาธิปไตย” และไต้หวันซึ่งเป็นเขตปกครองตนเองจะร่างกฎหมายใหม่มาอุดช่องว่างนี้ จากนั้นจึงนำมาสู่การออกกฎหมายห้ามทำงานร่วมกับบริษัทสตรีมมิ่งจากจีน

Tencent ยังไม่มีการให้ข้อมูลใดๆ ส่วน iQiyi กล่าวว่าให้ยึดคำแถลงจาก OTT Entertainment ซึ่งเป็นพันธมิตรธุรกิจท้องถิ่นในไต้หวัน ทาง OTT กล่าวว่า “บริษัทจะยึดมั่นในการปกป้องสิทธิและผลประโยชน์ของสมาชิกผู้ใช้งานอย่างเต็มที่”

TikTok กลายเป็นสมรภูมิการต่อสู้ด้านเทคโนโลยีระหว่างจีนกับสหรัฐฯ

สถานการณ์ธุรกิจเทคโนโลยีจีนช่วงนี้กำลังถูกโจมตีอย่างหนัก ด้วยข้อกังวลว่าแอปฯ จีนเหล่านี้ไม่มีการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลผู้ใช้และจะเป็นภัยต่อความมั่นคงของชาติ ทำให้สหรัฐอเมริกาและอินเดียเริ่มแบนแอปฯ จีนไปจำนวนมาก เช่น TikTok, WeChat สำหรับ TikTok นั้นถูกสหรัฐฯ สั่งการให้ถอนตัวออกจากตลาดภายใน 90 วัน ส่วนอินเดียมีการแบนแอปฯ จีนไปแล้วถึง 59 ราย หลังเกิดการปะทะของกองทัพจีนกับอินเดียบริเวณชายแดนจนมีผู้เสียชีวิต

“การตรวจสอบแอปฯ จีนในระดับสากลจากข้อกังวลเรื่องความปลอดภัยของข้อมูลและความมั่นคงของชาติ ประเด็นนี้จะกลายเป็นอุปสรรคสำคัญในการขยายธุรกิจของบริษัทอินเทอร์เน็ตจีน” เวย์-เซิร์น หลิง นักวิเคราะห์จาก Bloomberg Intelligence กล่าว “การแบนแอปฯ เพื่อตอบโต้เอาคืนในเชิงภูมิรัฐศาสตร์เป็นวิธีที่นำมาใช้ได้ง่าย และยังสร้างผลเสียติดตามมาน้อยกว่าหากเทียบกับวิธีการอื่น เช่น ตั้งกำแพงภาษี”

Source

]]>
1293646
‘iQiyi’ เน็ตฟลิกซ์เมืองจีนหุ้นหล่น 18% หลังก.ล.ต.สหรัฐฯ สอบ เพราะอาจแต่งตัวเลข ‘รายได้’ https://positioningmag.com/1292650 Fri, 14 Aug 2020 10:17:11 +0000 https://positioningmag.com/?p=1292650 ถ้าพูดถึงสตรีมมิ่งจากค่ายจีนคนไทยคงจะไม่ค่อยคุ้นชื่อ ‘iQiyi’ (อ้ายฉีอี้) แบรนด์ที่ได้ชื่อว่าเป็น ‘Netflix’ (เน็ตฟลิกซ์) ของจีน ซึ่งเป็นบริษัทลูกของ ‘Baidu’ (ไปตู่) บริษัท search engine อันดับ 1 ของประเทศจีนเลยทีเดียว อย่างไรก็ตาม iQiyi นั้นกำลังโดนก.ล.ต.สหรัฐฯ ‘ตรวจสอบ’ หลังโดนกล่าวหาว่ารายงานรายได้เกินจริง

บริษัท Wolfpack Research กล่าวหาว่า iQiyi แต่งตัวเลขรายได้ของปี 2019 จากประมาณ 8 พันล้านหยวน (1.13 พันล้านดอลลาร์) เป็น 13 พันล้านหยวน (1.98 พันล้านดอลลาร์) หรือระหว่าง 27% ถึง 44% โดยบริษัท Wolfpack ยังอ้างอีกว่า ไม่ใช่แค่รายได้ แต่จำนวนผู้ใช้ที่แอ็กทีฟกว่า 553 ล้านรายก็สูงเกินจริง รวมถึงตัวเลขค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ด้วย

ส่งผลให้สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์สหรัฐฯ หรือ SEC เข้าตรวจสอบบันทึกทางการเงินและการดำเนินงานบางของ iQiyi ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2018 ตลอดจนเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการเข้าซื้อกิจการและการลงทุน ซึ่งส่งผลให้หุ้นของ iQiyi ที่จดทะเบียนใน Nasdaq ลดลงกว่า 18% ขณะที่หุ้นของ Baidu ที่เป็นบริษัทแม่ลดลง 7% ซึ่งเป็นผลมาจาก iQiyi ถูก SEC สอบสวน

ทั้งนี้ หลังจากที่เดือนพฤษภาคม วุฒิสภาสหรัฐได้ผ่านร่างกฎหมายที่จะเพิ่มการตรวจสอบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับบริษัทจีนที่จดทะเบียนในวอลล์สตรีท โดยขู่ว่าจะถูกเพิกถอนหากพวกเขาไม่ปฏิบัติตาม ซึ่งที่ผ่านมา SEC เคยสอบสวนบริษัท ‘Luckin Coffee’ หนึ่งในบริษัทจีนที่จดทะเบียนในสหรัฐฯ ในข้อหาเดียวกันกับ iQiyi ซึ่ง Luckin Coffee ยอมรับว่าได้โกงตัวเลขยอดขายในปี 2019 ส่งผลให้บริษัทถูกเพิกถอนจาก Nasdaq ในเดือนมิถุนายน

Source

]]>
1292650
Update ตั้งแต่ ‘HOOQ’ ไป แพลตฟอร์มไหนยังอยู่ และอีกกี่รายที่กำลังจะมา https://positioningmag.com/1276822 Tue, 05 May 2020 06:36:33 +0000 https://positioningmag.com/?p=1276822 ถือว่าใจหายอยู่สำหรับ ‘HOOQ’ แพลตฟอร์มวิดีโอสตรีมมิ่งที่ทำตลาดมากว่า 5 ปีได้เลิกกิจการไปด้วยเหตุ ‘สู้ต้นทุนไม่ไหว’ ดังนั้นเราจะมา Update กันว่ายังมีผู้ให้บริการที่ยังสามารถยืนหยัดอยู่ได้ และมีผู้เล่นอีกกี่รายที่เตรียมบุกตลาดไทย บอกได้คำเดียวเลยว่าตลาดนี้ไม่ใช่ Blue Ocean อีกต่อไปแล้ว

Netflix (เน็ตฟลิกซ์)

แพลตฟอร์มยอดฮิตของไทยและของผู้ใช้ทั่วโลก ที่เริ่มต้นมาจากธุรกิจให้เช่า DVD ผ่านทางเว็บไซต์ และแจ้งเกิดอย่างเต็มตัวด้วยระบบ Movie Recommendation ช่วยแนะนำภาพยนตร์เรื่องใหม่ ๆ ให้กับลูกค้า และพัฒนามาเป็น Online Streaming ในปี 2007 และต่อยอดจนมี Original Content ของตัวเองและเติบโตจนให้บริการกว่า 190 ประเทศ มีผู้ใช้กว่า 160 ล้านราย และคาดว่าปีนี้อาจทะลุ 190 ล้านราย

Viu (วิว)

หนึ่งในบริการดูหนังและซีรีส์ที่เติบโตเร็วสุดของเอเชีย ที่เริ่มให้บริการเมื่อปี 2017 โดยกลุ่มบริษัท PCCW Media (พีซีซีดับเบิลยู มีเดีย) พร้อมได้พันธมิตรเป็น 3 ช่องทีวีจากเกาหลี ได้แก่ SBS, KBS และ MBC ทำให้มีจุดเด่นด้านคอนเทนต์เกาหลีและเอเชีย ทั้งซีรีส์ ภาพยนตร์และรายการวาไรตี้ แถมมาพร้อมกับโมเดล ‘ฟรีเมียม’ ให้ ดูฟรี ไม่เสียเงิน แต่มีโฆษณาและได้แค่ความคมชัดภาพแบบ SD แต่ถ้าอยากดูแบบ Full HD ไม่มีโฆษณา สามารถสมาชิกได้ในราคา 119 บาท/เดือน โดยปีที่ผ่านมามีผู้ใช้บริการกว่า 41.4 ล้านคน มียอดเข้าชมกว่า 5.7 พันล้านครั้ง จากการให้บริการใน 6 ประเทศ

WETV (วีทีวี)

หลังจากที่ยักษ์ใหญ่อย่าง ‘เทนเซ็นต์’ ได้ให้บริการแพลตฟอร์ม Tencent Video ในประเทศจีน จนปัจจุบันมีผู้ใช้งาน 200 ล้านคน/วัน มีออริจินอลคอนเทนต์กว่า 80 เรื่อง ก็มาถึงช่วงขยายการเติบโต โดยเปิดตัว แพลตฟอร์ม ‘WeTV’ ในไทยประเทศแรกต่อจากจีน โดย WeTV มีจุดเด่นด้านซีรีส์จากจีนและเอเชีย ที่น่าจะถูกใจคอภาพยนตร์กำลังภายใน และสาว (วาย) อย่าง ‘ปรมาจารย์ลัทธิมาร’ ซึ่งรูปแบบการใช้บริการมีทั้งดูฟรีและพรีเมียม ถ้าอยากดูชัด ดูเร็ว และไม่มีโฆษณาคั่นก็จัดเลย เดือนละ 59 บาท

iFlix (ไอฟลิกซ์)

ไอฟลิกซ์เริ่มก่อตั้งเมื่อปี 2014 โดยเน้นเจาะตลาดเกิดใหม่เป็นหลักหรือประเทศที่กำลังพัฒนา โดยปัจจุบันเปิดให้บริการแล้ว 28 ประเทศ นอกจากในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แล้วยังมี ประเทศอื่น ๆ อาทิ เนปาล, บังกลาเทศ, ซิมบับเว, แทนซาเนีย  โมร็อกโก และยูกันดา มีสมาชิกรวมกว่า 15 ล้านคน ในส่วนของคอนเทนต์จะเน้นความหลากหลายทั้งฝรั่ง จีน เกาหลี การ์ตูน มีหมด แถมบางคอนเทนต์ยังอัพเดตเร็วมาก ฉายจาก US ไม่ถึง 24 ชั่วโมงก็มีซับไทยแล้ว ขณะที่รูปแบบการให้บริการก็มีทั้งฟรี iflixFREE และรูปแบบบริการแบบจ่ายค่าบริการสมาชิก ดูได้ไม่อั้นบน iflixVIP ในราคา 100 บาท/เดือน

LINE TV (ไลน์ทีวี)

แอปซีรีส์, ละครย้อนหลังและรายการวาไรตี้ยอดฮิตของคนไทย แถมมีออริจินอลซีรีส์ของตัวเองด้วย และที่ดีงามที่สุดคือ ดูฟรี แต่มีโฆษณานะ

ออริจินอล คอนเทนต์ ของ LINE TV ในปี 2563

AIS Play (เอไอเอส เพลย์)

แพลตฟอร์มคอนเทนต์จากโอเปอเรเตอร์ของไทยที่ให้ดูฟรีไม่จำกัดค่าย โดย AIS มี Netflix และ Viu เป็นพันธมิตร และมีคอนเทนต์ครบทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นทีวีสด ภาพยนตร์ ซีรีส์ การ์ตูน คอนเสิร์ต รวมถึงออริจินอลซีรีส์ ‘คลับสะพานฟาย’ ที่พึ่งเปิดตัวปีนี้ แต่สำหรับใครที่อยากจะดู 10 ช่องพรีเมียม มีค่าบริการที่ 119 บาท/เดือน

True ID (ทรู ไอดี)

เป็นแพลตฟอร์มจากโอเปอเรเตอร์และสามารถดูได้ไม่จำกัดค่ายเช่นกัน แต่ True ID จะมีจุดเด่นที่แตกต่างจาก AIS Play ตรงที่ มีกีฬา ‘พรีเมียร์ลีก’ ให้ชม แน่นอนว่าดูฟรีเฉพาะบางคู่ และสามารถเช่าหนังพรีเมียมได้ในราคา 149 บาท โดยหนังใหม่ใน True ID นั้นมาเร็วมาก แต่หนังฟรีก็มี รวมถึงออริจินอลคอนเทนต์ด้วย เช่น ‘Voice สัมผัสเสียงมรณะ’

Doonee (ดูนี่)

แพลตฟอร์มสัญชาติไทยที่ให้ดูฟรี 30 วันเมื่อสมัคร แถมราคาเเพ็กเกจก็หลากหลาย ทั้งรายวัน 9 บาท รายเดือน 150 บาท และรายปี 1,500 บาท โดยคอนเทนต์ที่โดดเด่นจะเป็นภาพยนตร์และซีรีส์ Hollywood โดยเฉพาะพวกซีรีส์สืบสวนสอบสวน และรายการดัง ๆ จากฝั่งอเมริกา อย่าง hell kitchen, Master Chef และด้วยความที่เป็นแพลตฟอร์มคนไทย แน่นอนว่าคอนเทนต์ส่วนใหญ่จะพากย์ไทยด้วย

MONOMAX (โมโนแมกซ์)

คงไม่ต้องบอกสรรพคุณ ใครที่เป็นแฟนหนังและซีรีส์ในช่อง Mono29 ก็ตามไปดูต่อกันผ่านแพลตฟอร์มได้ ล่าสุดเตรียมเอาซีรีส์ “WESTWORLD Season 3” (เวสต์เวิลด์ ซีซั่น 3) มาลงด้วย แฟน ๆ ก็ตามรอได้เลย ใครสนใจก็สมัครดูได้ ให้ดูฟรี 30 วันเช่นกัน ใครติดใจก็สมัครต่อได้ในแพ็กเกจ 250 บาท/เดือน และ 2,500 บาท/ปี

Flixer (ฟลิกเซอร์)

แพลตฟอร์มที่มีจุดยืนชัดเจน ว่ารวบรวมคอนเทนต์จากญี่ปุ่น โดยเฉพาะ ‘การ์ตูน’ ไม่ว่าจะเป็นฮีโร่ มาส์กไรเดอร์ ขบวนการเซ็นไท อุลตร้าแมน กันดั้ม อีกทั้งยังมีรายการแนวพาเที่ยว พาชิม บันเทิงวาไรตี้สนุก ๆ มากมาย โดยบริษัท ฟลิกเซอร์ จำกัด ที่เป็นเจ้าของแพลตฟอร์มมีพาร์ตเนอร์รายใหญ่เป็น บริษัทดรีม เอกซ์เพรส หรือ DEX ที่เป็นผู้นำด้านลิขสิทธิ์คอนเทนต์จากญี่ปุ่นในไทยมานานกว่า 18 ปี โดย Flixer สามารถดูฟรีและแบบพรีเมียมในราคา 89 บาท

POPS (พ็อพส์)

แพลตฟอร์มวิดีโอสตรีมมิ่งจาก POPS Worldwide (ประเทศไทย) ที่เปิดตัวในเวียดนามปีที่ผ่านมา และเตรียมขยายให้ครอบคลุมทุกประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดย POPS จะคล้าย ๆ Flixer ที่เน้นคอนเทนต์การ์ตูน แต่เป็นฝั่งซูเปอร์ฮีโร่อเมริกัน อาทิ ไอรอนแมน (Ironman) วูล์ฟเวอรีน (Wolverine) เอ็กซ์เมน (X-MEN) เบลด (BLADE) และออริจินัลคอนเทนต์ที่มีพันธมิตรเป็นเหล่าอินฟลูเอนเซอร์ อย่าง บี้-เดอะสกา, ต่อ-ตอปิโด หรือทีมอีสปอร์ตระดับท็อปของไทยอย่าง เบคอน ไทม์ โดยสามารถดูฟรี

รายนามยักษ์ใหญ่ที่กำลังเข้ามา

จากลิสต์รายชื่อ ดูเหมือนจะมีแค่ ‘Netflix’ รายเดียวที่เป็นรายใหญ่ระดับโลก ที่เหลือเป็นผู้เล่นระดับภูมิภาคและผู้ให้บริการในไทย ขณะเดียวกัน ผู้เล่นรายใหญ่ที่ยังไม่มาไทยก็กำลังเดินหน้าทำตลาดอื่น ๆ ในโลก อาทิ Disney + ของ Disney เจ้าของแฟรนไชส์พันล้านอย่าง Marvel และ Star wars, Amazon Prime Video โดย Amazon,  Apple TV+ จาก Apple,  HBO Max เจ้าของซีรีส์สุดฮิตอย่าง Game of throne และ Hulu นอกจากนี้ยังมีรายที่ยังไม่เปิดตัวอย่าง Peacock โดย NBCUniversal และไม่ใช่แค่ฝั่งยุโรป แต่เอเชียก็ยังมีผู้เล่นรายใหญ่ ๆ อีกนอกจาก ‘เทนเซ็นต์’ ที่เปิดตัว WeTV ในไทย อาทิ iQiyi (อ้ายฉีอี้) ฉายา Netflix ของจีน โดยมีเจ้าของคือ Baidu และ YouKu โดย Alibaba

ขนาดยังมาไม่ครบ ก็ทำเอาผู้เล่นระดับภูมิภาคไปแล้ว ถ้าวันที่ผู้เล่นเหล่านี้ทำตลาดครบทุกประเทศ ผู้เล่นที่เล็กกว่าจะใช้แผนไหนเพื่อสร้างรายได้ให้อยู่รอด คงต้องรอดูกันยาว ๆ

#Netflix #Viu #HOOQ #WETV #LINETV #iFlix #Doonee #MONOMAX #Flixer #Pops #TrueID #AISPlay #Disney+ #AmazonPrimeVideo #AppleTV+ #HBOMax #Hulu  #Peacock #iQiyi #YouKu #Positioningmag

]]>
1276822
จุดจบโทรทัศน์!?! iQiyi แพลตฟอร์มวิดีโอสตรีมมิ่งสัญชาติจีน สร้างสถิติ “ละครตอนเดียว” คนเข้าชมทะลุ 500 ล้านวิวใน 1 วัน https://positioningmag.com/1183837 Thu, 16 Aug 2018 23:00:11 +0000 https://positioningmag.com/?p=1183837 กลางเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา iQiyi (爱奇艺; อ้ายฉีอี้) บริษัทวิดีโอสตรีมมิ่ง แพลตฟอร์มให้บริการละครออนไลน์ยักษ์ใหญ่ที่ได้ชื่อว่าเป็นเสมือน Netflix เมืองจีน สร้างสถิติอันน่าตกตะลึงด้วยละครย้อนยุคสมัยราชวงศ์ชิง เรื่อง เหยียนสี่กงเลี่ยว์ (The Story of Yanxi Palace / 延禧攻略) ที่สามารถดึงยอดผู้เข้าชมได้สูงถึง 530 ล้านครั้งในวันเดียว (ในวันที่ 12 สิงหาคม 2561) ซึ่งถือเป็นตัวเลขสูงสุดเป็นประวัติการณ์ของจีน และเป็นตัวเลขมหาศาลเกือบครึ่งของประชากรในประเทศจีนที่มีราว 1,300 ล้านคน

The Story of Yanxi Palace หรือ เรื่องราวในวังเหยียนสี่ เป็นผลงานสร้างร่วมกันของ  iQiyi และ ฮวนอี๋ว์ ฟิล์ม (Huanyu Film) เป็นเรื่องราวดราม่าอิงประวัติศาสตร์ในสมัยราชวงศ์ชิง ยุคจักรพรรดิเฉียงหลง (..1711 – 1799) ของหญิงสาวผู้เฉลียวฉลาดที่แฝงตัวเข้ามาในวังหลวงในฐานะสาวใช้เพื่อสืบหาสาเหตุการตายของพี่สาว ท่ามกลางการต่อสู้แย่งชิงของบรรดานางสนมที่ร้ายกาจ นำแสดงโดย ฉิน หลัน, เนี่ย หย่วน, อู๋จิ่นเหยียนและเสอซือมั่น

ตัวอย่างภาพยนตร์ The Story of Yanxi Palace

จากผู้จัดการสถิติและระบบตั๋วออนไลน์เมาเหยี่ยน (Maoyan/猫眼) รายงานว่าละครยอดฮิตผู้สร้างมาตรฐานใหม่ให้กับ iQiyi เรื่องนี้ มียอดเข้าชมรวมทั้งสิ้น เท่ากับ 5,600 ล้านวิว นับตั้งแต่ออกอากาศในเดือนกรกฎาคม 2561 หรือเฉลี่ย 130 ล้านวิวในแต่ละตอน ซึ่งแสดงให้เห็นว่าพล็อตเรื่องดราม่าอิงประวัติศาสตร์ยังคงได้รับการตอบรับอย่างดีมากในหมู่ผู้ชมชาวจีน

นอกจากนี้ iQiyi ยังเปิดเผยว่า TVB แห่งฮ่องกง ได้ซื้อลิขสิทธิ์ออกอากาศ The Story of Yanxi Palace ในฮ่องกง มาเก๊า สิงคโปร์ และมาเลเซีย ขณะที่มีข้อตกลงการเผยแพร่ที่คล้ายกัน ระหว่างช่องสถานีโทรทัศน์กับแพลตฟอร์มในประเทศต่างๆ ได้แก่ เกาหลีใต้ ไต้หวัน ญี่ปุ่น ไทย อินโดนีเซีย และเวียดนาม 

ความสำเร็จดังกล่าวของ iQiyi บริษัทลูกในเครือไป่ตู้ เสิร์ชเอ็นจินอันดับ 1 ของประเทศจีนถือเป็นเรื่องราวดีๆ หลังจากช่วงเวลายากลำบากเมื่อครั้งที่ iQiyi ตัดสินใจทำไอพีโอ เข้าตลาดหุ้นวอลล์สตรีท เมื่อวันที่ 30 มีนาคมที่ผ่านมา โดยการเข้าเทรดวันแรกบนตลาดแนสแด็ก หุ้น iQiyi โชว์ฟอร์มไม่สวยงามอย่างใจคิด เพราะบริษัทเปิดตัวในตลาดหุ้นด้วยมูลค่า 2.25 พันล้านเหรียญสหรัฐ โดยปิดตลาดวันแรกราคาตกลงไปอยู่ที่ 15.55 เหรียญสหรัฐ จากราคาเปิด 18 เหรียญสหรัฐ หรือราคาร่วงลง 13.6% ทำให้นักลงทุนต่างพากันวิตกกังวลถึงอนาคตของ iQiyi ซึ่งได้รับฉายาว่าเน็ตฟลิกซ์แห่งเมืองจีน (China’s Netflix)

ขณะที่คู่แข่งยักษ์ใหญ่อีกสองเจ้า ทั้ง Tencent และ Alibaba ล้วนมีช่องทางอื่นในการดึงดูดสมาชิก ตัวอย่างเช่นการ์ดที่สามารถใช้เข้าชมฟรี หรือเป็นสมาชิกรายเดือนและรายปีได้เมื่อเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ เป็นต้น ขณะที่ iQiyi ไม่มี ณ ปัจจุบันจึงต้องเอาจุดเด่นด้านเนื้อหาเข้าสู้เพียงอย่างเดียว

กระนั้น ก่อนหน้าที่จะเข้าตลาด กง อี่ว์ (龚宇) ผู้ก่อตั้งและซีอีโอของ iQiyi เคยกล่าวผ่านสื่อว่า iQiyi หวังที่จะลงทุนเพิ่มเติมและไม่แสวงหาผลกำไรในระยะสั้น ซึ่งเป็นแนวทางที่สอดคล้องกับเป้าหมายของการเป็นบริษัทที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี

ตามข้อมูลที่เปิดเผยสาธารณะ iQiyi มีสมาชิกที่จ่ายเงินเพื่อรับชม (Paid Subscribers) จำนวน 50.8 ล้านคนเมื่อสิ้นปี พ..2560 และเพิ่มทะลุ 60.1 ล้านคนเมื่อสิ้นเดือนกุมภาพันธ์ 2561 หมายความว่าจำนวนสมาชิกที่ชำระเงินเพิ่มขึ้น 9.3 ล้านคนในช่วงเวลาเพียงสองเดือนแรกของปีนี้ ซึ่งถือเป็นแนวโน้มที่ดีมาก เมื่อเปรียบเทียบกับแพลตฟอร์มวิดีโอที่ใหญ่ที่สุดในสหรัฐอเมริกาอย่างเน็ตฟลิกซ์ (Netflix) ที่เพิ่งประกาศผลประกอบการไตรมาสแรกปี 2561 โดยในรายงานระบุว่ามีจำนวนสมาชิกจ่ายเงินเพิ่มขึ้นจำนวน 7.41 ล้านคน ในไตรมาสแรกที่ผ่านมา ทำให้ยอดสมาชิกที่จ่ายเงินชมทั้งหมดของเน็ตฟลิกซ์เพิ่มขึ้นทะลุ 125 ล้านคน ซึ่งถือว่ามากกว่าเคเบิลทีวีแบบบอกรับสมาชิกทุกเจ้าบนโลกนี้

เมื่อหันไปดู รายงานผลประกอบการไตรมาสแรกปี 2018 ของ iQiyi เองที่ออกมาเมื่อเดือน เมษายน 2561 หลังเข้าตลาดก็ถือว่าไม่ขี้เหร่ โดยระบุว่า รายได้รวมของบริษัทสตรีมมิ่งวิดีโอยักษ์ใหญ่รายนี้ อยู่ที่ 4,900 ล้านหยวน (778 ล้านเหรียญสหรัฐ) เพิ่มขึ้น 57% เมื่อเทียบกับปีก่อน ขณะที่ผลขาดทุนสุทธิอยู่ที่ 396 ล้านหยวน (63.1 ล้านเหรียญสหรัฐ) ลดลงจาก 1,100 ล้านหยวนในช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนประมาณการไตรมาสที่สองของปี 2561 คาดว่าบริษัทจะมีรายได้รวมอยู่ระหว่าง 5,800-6,040 ล้านหยวน (924-963 ล้านเหรียญสหรัฐ) หรือเพิ่มขึ้น 42-48% เมื่อเทียบเป็นรายปี

ก่อนหน้านี้ละครพีเรียด แนวดราม่าอิงประวัติศาสตร์ของจีนที่เคยสร้างทำสถิติอย่างเช่น The Legend of Zhenhuan (เจินหวน จอมนางคู่แผ่นดิน) ซึ่งออกฉายในปี ค..2011 ก็เคยทำสถิติมีผู้ชมออนไลน์รวมมากถึง 6,800 ล้านวิวมาก่อน ขณะที่ The Legend of MiYue ซึ่งเป็นละครย้อนยุคไปในยุคจ้านกั๋ว หรือ สงครามรณรัฐของจีนที่ออกฉายในปี ค.ศ.2015 ก็เคยทำยอดรวมผู้ชมได้ทะลุ 1 หมื่นล้านวิวมาแล้ว

ปัจจุบันจีนถือเป็นประเทศที่มีประชากรบนโลกออนไลน์มากที่สุดในโลกกว่า 770 ล้านคน และเม็ดเงินโฆษณาในตลาดวิดีโอสตรีมมิ่งก็ทะลุหลัก 95,000 ล้านหยวน หรือราว 457,000 ล้านบาท ไปเรียบร้อยแล้ว โดยในปี ค..2020 หรืออีกสองปีข้างหน้า ตัวเลขดังกล่าวน่าจะเพิ่มขึ้นแตะ 200,000 ล้านหยวน หรือ 962,000 ล้านบาท จากข้อมูลของ iResearch

เม็ดเงินโฆษณาดังกล่าว ผลักดันให้เกิดการแข่งขันกันอย่างรุนแรง ในหมู่ผู้นำการให้บริการวิดีโอสตรีมมิ่งในจีน คือ iQiyi, Tencent Video และ Youkou Tudou โดยล่าสุดเซาธ์ไชน่า มอร์นิ่ง โพสต์ สื่อดังของฮ่องกงเปิดเผยว่า มีการเสนอค่าตัวให้กับดาราโทรทัศน์ในจีนถึง 1 ล้านหยวน (ราว 4.8 ล้านบาท) ต่อการปรากฏตัวบนละคร/ซีรีส์เพียง 1 ตอน ส่งผลให้ดาราโทรทัศน์จีนชื่อดังอาจทำรายได้มากถึง 50 ล้านหยวน (ราว 240 ล้านบาท) ต่อการแสดงละครเพียงหนึ่งเรื่อง

สำหรับละครเรื่อง The Story of Yanxi Palace มีทั้งสิ้น 70 ตอน ในประเทศจีน ปล่อยตอนใหม่บนแพลตฟอร์ม iQiyi สัปดาห์ละ 2 วัน คือ วันอังคารและวันอาทิตย์ เริ่มฉายตอนแรกในวันที่ 19 กรกฎาคมที่ผ่านมา และจะแพร่ภาพตอนสุดท้ายในวันที่ 28 สิงหาคม 2561 นี้ สำหรับสมาชิกที่จ่ายเงินเพื่อรับชม.

]]>
1183837