Krungthai COMPASS – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Thu, 17 Jun 2021 13:19:43 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 โอกาสตลาด ‘ยานยนต์ไฟฟ้า’ ในไทย อีก 7 ปีแตะ 1 ล้านคัน มีเเววต่อยอดเป็นฐานผลิต ‘รถไฮบริด’ https://positioningmag.com/1337621 Thu, 17 Jun 2021 11:40:52 +0000 https://positioningmag.com/?p=1337621 เมกะเทรนด์การเปลี่ยนแปลง Krungthai COMPASS ประเมินอุตสาหกรรม ‘ยานยนต์ไฟฟ้าในไทย คาดปี 2028 มียอดผู้ใช้เเตะ 1 ล้านคัน ในจำนวนนี้จะเป็น ‘รถไฮบริด’ ถึง 93% เเนะรัฐออกมาตรการช่วยดัน มีโอกาสต่อยอดเป็นฐานผลิต’ ของภูมิภาค 

ช่วงวิกฤตโรคระบาด เศรษฐกิจโลกได้รับผลกระทบจนเข้าสู่ภาวะถดถอยเเต่ธุรกิจยานยนต์ไฟฟ้า (EV) กลับเติบโตอย่างก้าวกระโดด ด้วยยอดขายสูงถึง 3.2 ล้านคันทั่วโลก หรือเพิ่มขึ้นกว่า 43%

ในไทยก็ได้รับความนิยมไม่น้อย โดยมียอดจดทะเบียนสูงถึง 3 หมื่นคัน ขยายตัวถึง 13% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า สวนทางยอดขายรถยนต์โดยรวมที่ลดลง 21%

ดร.พชรพจน์ นันทรามาศ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ศูนย์วิจัย Krungthai COMPASS ธนาคารกรุงไทย กล่าวถึงปัจจัยที่สนับสนุน EV ว่า ส่วนหนึ่งเกิดจากการตื่นตัวของภาครัฐในต่างประเทศเพื่อแก้ไขประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมตามข้อตกลงปารีส โดยเฉพาะนโยบายยกเลิกการขายยานยนต์เครื่องยนต์สันดาปภายใน (ICE) ควบคู่ไปกับการสนับสนุนยานยนต์ไฟฟ้าอย่างเป็นรูปธรรม

ประกอบกับความเคลื่อไหวของผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่ที่ปรับตัวหันไปทำตลาดยานยนต์ไฟฟ้ามากขึ้นตามความสนใจของผู้บริโภคที่มากขึ้นกว่าแต่ก่อน

เหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยขับเคลื่อนให้จำนวนยานยนต์ไฟฟ้าสะสมทั่วโลกมีโอกาสแตะระดับ 25-45 ล้านคันได้ภายในปี 2030 จาก 10 ล้านคันในปัจจุบัน”  

ตลาดไทยยังเล็ก เเต่มีเเววต่อยอด ‘ฐานผลิตไฮบริด’ 

สำหรับประเทศไทยนั้น มียอดใช้ยานยนต์ไฟฟ้าสะสมในประเทศ ณ สิ้นปี 2020 อยู่ที่เพียง 1.9 แสนคัน หรือคิดเป็นเพียง 1% ของยานยนต์ทั้งหมด ถือว่ายังมีขนาดเล็กและอยู่ในช่วงเริ่มต้นเมื่อเทียบกับประเทศชั้นนำอื่นๆ

ดร.มานะ นิมิตรวานิช ผู้อำนวยการฝ่าย ศูนย์วิจัย Krungthai COMPASS มองว่าข้อได้เปรียบของไทย คือการเป็นฐานผลิตยานยนต์เครื่องยนต์ ICE แบบดั้งเดิมมาอย่างยาวนาน ประกอบกับกลยุทธ์การทำตลาดของผู้ผลิตยานยนต์ OEM ในประเทศที่ยังคงเน้นทำตลาดยานยนต์ไฟฟ้าไฮบริดตามบริษัทแม่ในญี่ปุ่น

ยอดใช้ยานยนต์ไฟฟ้าสะสมในไทยมีโอกาสแตะ 1 ล้านคันได้ในปี 2028 หรือขยายตัวเฉลี่ยราว 24% ต่อปี โดยยอดใช้ยานยนต์ไฟฟ้าไฮบริดที่คาดว่าจะมีสัดส่วนสูงถึง 93% ของยานยนต์ไฟฟ้าทั้งหมด

โดยมาตรการภาครัฐที่สนับสนุนทั้งผู้ผลิต ผู้ประกอบการ และผู้บริโภค จะเป็นส่วนสำคัญให้อุตสาหกรรมยานยนต์ของไทย มีโอกาสต่อยอดเป็นฐานผลิตยานยนต์ไฟฟ้าไฮบริดที่แข็งแกร่งของภูมิภาคในอนาคตต่อไป

ผู้ประกอบการกลุ่มไหน ได้รับผลประโยชน์-ผลกระทบ ? 

การเป็นฐานผลิตยานยนต์ไฟฟ้าไฮบริดของไทย นอกจากจะช่วยรักษาตลาดผู้ผลิตในกลุ่มเครื่องยนต์ ICE ในประเทศเเล้ว รวมถึงห่วงโซ่อุปทานที่เกี่ยวข้องในระยะปานกลางแล้ว ยังส่งผลดีต่อ ผู้ผลิตแบตเตอรี่ไฟฟ้า ผู้ผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ และผู้ผลิตวัสดุน้ำหนักเบาและแข็งแรงอีกด้วย

อย่างไรก็ตาม พิมฉัตร เอกฉันท์ นักวิเคราะห์ของ Krungthai COMPASS ระบุว่า ในระยะยาว การที่สัดส่วนยานยนต์ปราศจากการปล่อยมลพิษ หรือ Zero Emission Vehicle : ZEV เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยตามกระแสเมกะเทรนด์ที่กำลังเดินหน้าไปสู่เศรษฐกิจพลังงานสะอาด (Green Economy) นั้น จะส่งผลกระทบโดยตรงต่อผู้ผลิตชิ้นส่วนในกลุ่ม Powertrain และ Engine ในไทย ซึ่งมีมูลค่าตลาดสูงถึงเกือบ 3 แสนล้านบาท หรือประมาณ 20% ของรายได้ของผู้ผลิตชิ้นส่วนในตลาดทั้งหมด

โดยสรุปเเล้ว ในระยะสั้นปานกลาง อุตสาหกรรมยานยนต์ของไทยแบบดั้งเดิม จะถูกปรับเปลี่ยนเชิงโครงสร้างเพื่อรองรับฐานการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าไฮบริดมากขึ้น ทำให้ดีมานด์ที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มยานยนต์เครื่องยนต์ ทั้ง ICE แบบเดิม ควบคู่ไปกับระบบไฟฟ้าสมัยใหม่ ยังเป็นที่ต้องการทั้งในและต่างประเทศ

อย่างไรก็ดี กระแสเมกะเทรนด์ที่ตื่นตัวต่อประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม การปรับตัวของผู้ผลิตที่เน้นไปหายานยนต์แบบปราศจากมลพิษ (ZEV) มากขึ้น รวมทั้งการเปิดรับจากผู้บริโภคที่มากขึ้นกว่าแต่ก่อน

ปฏิเสธไม่ได้ว่า ตลาดยานยนต์ไฟฟ้าแบบ ZEV จะทยอยเข้ามามีบทบาทในไทยมากขึ้นตามลำดับ ซึ่งก็จะทำให้ในระยะยาวที่สัดส่วนยานยนต์ ZEV เพิ่มขึ้นอย่างมีนัย ย่อมจะส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการไทยที่ส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบการขนาดเล็ก โดยเฉพาะในกลุ่ม Powertrain และ Engine มากที่สุด

 

 

 

]]>
1337621
โควิดรอบใหม่ ซัดเศรษฐกิจไทย สูญอย่างน้อย 1.6 เเสนล้าน ท่องเที่ยวซึมยาว สะเทือนจ้างงานหลายล้านคน https://positioningmag.com/1314167 Thu, 14 Jan 2021 16:41:39 +0000 https://positioningmag.com/?p=1314167 เศรษฐกิจไทยในปี 2021 ยังเต็มไปด้วยความไม่เเน่นอน หลังเจอ COVID-19 ระลอกใหม่ฉุดการฟื้นตัว รายได้วูบอย่างน้อย 1.6 แสนล้าน ธุรกิจท่องเที่ยวซึมยาว สะเทือนการจ้างงานหลายล้านคน 

ดร.พชรพจน์ นันทรามาศ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ศูนย์วิจัย Krungthai COMPASS ธนาคารกรุงไทย ประเมินว่า เศรษฐกิจไทยในปีนี้จะขยายตัวที่ระดับ 2.5% ลดลงจากเดิมที่คาดการณ์ไว้ที่ 3.5%

เเม้ว่าจะทำให้ไทยพ้นจากภาวะถดถอยในปี 2020 ที่เศรษฐกิจติดลบไปถึง 6.5% เเต่การเเพร่ระบาดระลอกใหม่ที่เกิดขึ้นตั้งเเต่ช่วงต้นปี ได้กระทบการใช้จ่ายของภาคเอกชน การบริโภค การลงทุนและการท่องเที่ยวในประเทศค่อนข้างมาก 

“COVID-19 รอบใหม่ (เดือนม.ค.-ก.พ.) จะทำให้เกิดค่าเสียโอกาส ไม่ต่ำกว่า 1.6 เเสนล้านบาท จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยที่ต้องล่าช้าออกไป ท่ามกลางความไม่เเน่นอน

ส่วนมาตรการการเยียวยาของภาครัฐครั้งล่าสุด คาดว่าจะต้องใช้งบราว 1.7 – 2 แสนล้านบาท เพื่อพยุงให้เศรษฐกิจไทยในปีนี้ไม่ให้ปรับลดลงมากนัก

อย่างไรก็ตาม หากสถานการณ์โรคระบาดยืดเยื้อ ลากยาวถึง 3 เดือน (ม.ค.-มี.ค.) คาดว่าจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศกว่า 2.39 แสนล้านบาท ซึ่งจะฉุดจีดีพีปีนี้ให้เติบโตได้เพียงระดับ 2% เท่านั้น เเละหากสถานการณ์ยาวนานกว่านี้ เชื่อว่าผลกระทบที่มีต่อเศรษฐกิจก็จะเพิ่มสูงขึ้นตามไปเรื่อยๆ 

เมื่อเจาลึกลงไปในภาคการท่องเที่ยว พบว่า หากมาตรการที่รัฐบาลใช้อยู่ ณ ปัจจุบัน สามารถควบคุมสถานการณ์ได้ภายใน 2-3 เดือน จำนวนนักท่องเที่ยวในประเทศในปีนี้ คาดว่าจะอยู่ที่ 109.6 ล้านคนต่อครั้ง ต่ำลงกว่าประมาณการเดิมที่ 131.8 ล้านคนต่อครั้ง แต่ก็ยังสูงกว่าปีก่อนหน้าที่ 91.2  ล้านคนต่อครั้ง
ส่วนจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติในปี 2021 คาดว่าจะมีเพียง 4.4 ล้านคนเท่านั้น

โดยมาตรการของรัฐที่คุมเข้มในช่วง 2 เดือน (ม.ค.- ก.พ.) คาดว่าจะส่งผลกระทบทำให้เม็ดเงินในธุรกิจท่องเที่ยวหายไปราว 1.1 แสนล้านบาท

ในกรณีที่ต้องคุมเข้มยาวถึง 3 เดือน จะทำให้นักท่องเที่ยวในประเทศลดเหลือ 100 ล้านครั้ง เม็ดเงินในธุรกิจท่องเที่ยวจะหายไปถึง 1.5 แสนล้านบาท จึงต้องหวังว่าไทยจะสามารถคุมสถานการณ์ COVID-19 รอบใหม่ให้ได้ภายใน 2 เดือนนี้

สำหรับปัญหาการว่างงาน ยังอยู่ในระดับที่น่าเป็นห่วง โดยเฉพาะภาคการท่องเที่ยวที่เกี่ยวเนื่องกับการจ้างงานหลายล้านคน เเม้ช่วงไตรมาส 3-4 ในปีที่ผ่านมา เศรษฐกิจไทยจะเริ่มฟื้นตัวบ้าง เเต่อัตราการว่างงานเเละการมีชั่วโมงการทำงานน้อยกว่าปกติยังไม่ฟื้นตัวเท่าที่ควร ซึ่งจะเป็นปัญหาระยะยาวของโครงสร้างเศรษฐกิจไทย

TMB Analytics ธนาคารทหารไทย มองว่า จากการที่ไทยมีสัดส่วนพึ่งพาภาคการค้าและการท่องเที่ยวถึง 22% ต่อจีดีพี มีการจ้างงานสูงรวมกันที่ 6.9 ล้านคน ดังนั้นคาดว่าผลกระทบจาก COVID-19 รอบใหม่ จะทำให้รายได้ภาคการค้าและการท่องเที่ยวลดลงรวมกันกว่า 1.4 แสนล้านบาท

ด้าน ‘ค่าเงินบาท’ มีเเนวโน้มว่าจะ ‘แข็งค่า’ ตลอดทั้งปี 2021 โดยมีโอกาสที่จะหลุดจาก 30 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ เเละอาจแข็งค่าไปเเตะระดับ 28.50 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ จากปัจจัยหลักๆ เช่น ค่าเงินดอลลาร์อ่อนค่า เม็ดเงินลงทุนที่ไหลออกจากประเทศไทยไปต่างประเทศยังน้อย รวมถึงการไหลเข้าของเม็ดเงินในตลาดกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา เเละความท้าทายด้านการส่งออก ปัญหาการขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์ที่ทำให้ค่าขนส่งที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง

Krungthai COMPASS ประเมินว่า หากการเเพร่ระบาดรุนแรงกว่าที่ประเมินไว้ ก็มีโอกาสที่จะเห็นคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) จะปรับลดดอกเบี้ยนโยบายลงจากปัจจุบันอยู่ที่ 0.50% เพื่อช่วยสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ

ปัจจัยบวก

  • นโยบายเยียวยาและฟื้นฟูเศรษฐกิจ
  • การลงทุนในเทคโนโลยีท่ีสอดรับกับยุค 5G และกระแส Green Economy
  • โอกาสจากการเปลี่ยนแปลงสู่ New Normal

ปัจจัยลบ

  • COVID-19 ระลอกใหม่
  • ภัยแล้งรุนแรงและยาวนาน
  • ปัญหาขาดแคลนต้คูอนเทนเนอร์
  • ราคาน้ำมันอยู่ในระดับต่ำ

จับตา ‘The Great Reset’ 

มานะ นิมิตรวานิช ผู้อำนวยการฝ่าย ศูนย์วิจัย Krungthai COMPASS กล่าวว่า ภาคธุรกิจไทยต้องเตรียมตัวรับการเปลี่ยนแปลงที่เป็น Megatrend ของโลก หลังวิกฤตโรคระบาด อย่างกระแสการปรับเปลี่ยนรูปแบบเศรษฐกิจครั้งใหญ่ หรือ The Great Reset ที่ให้ความสำคัญกับการสร้างสมดุลของเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ที่มีความ Greener, Smarter และ Fairer

ภาคธุรกิจไทยต้องปรับตัว เพราะประเทศมหาอำนาจของโลกให้น้ำหนักกับประเด็นนี้มากขึ้น และอาจนำมาใช้เป็นข้ออ้างในการกีดกันทางการค้าได้ “

นอกจากนี้ ยังต้องจับตาท่าทีความร่วมมือระหว่างประเทศที่จะกลายเป็นจุดเปลี่ยนทางการค้ารอบใหม่ เช่น แนวนโยบายภายใต้ ‘โจ ไบเดน’ ผู้นำสหรัฐฯ คนใหม่ รวมไปถึง ‘แผนยุทธศาสตร์ 5 ปีของจีน’ ที่มุ่งเน้นการพึ่งพาตนเองด้านเทคโนโลยีมากขึ้น

ตลอดจนความตกลง RCEP ซึ่งเป็นเขตการค้าเสรีที่ใหญ่ที่สุดโลก ซึ่งมองว่าความตกลง RCEP ที่จะส่งผลดีต่อไทยในการส่งออกสินค้า จากสิทธิประโยชน์ทางด้านภาษีที่เพิ่มขึ้น และอานิสงส์จากการค้าระหว่างคู่เจรจาที่จะคึกคักขึ้น

“ไทยจะได้ผลดีจากการเข้า RCEP เเละมองว่าเวียดนามจะกลายเป็นคู่แข่งที่น่ากลัวของไทย”

 

]]>
1314167
ธุรกิจไทย “รายได้หด” ส่อผิดนัดชำระหนี้พุ่ง กิจการ “ซมไข้ยาวนาน” อีก 2 ปียัง “ฟื้นตัวช้า” https://positioningmag.com/1301564 Thu, 15 Oct 2020 07:18:58 +0000 https://positioningmag.com/?p=1301564 พิษไวรัสซ้ำเเผลเศรษฐกิจ ประเมินยอดขายภาคธุรกิจไทยปี 2563 หดตัวลึก 9% มองอีก 2 ปีข้างหน้ายัง “ฟื้นตัวจำกัด” กดดันความสามารถชำระหนี้ เสี่ยงทำให้มีธุรกิจ “ซมไข้ยาวนาน” เพิ่มจาก 9.5% ของกิจการทั้งหมดในปี 2562 เป็น 26% ภายในปี 2565 จับตา Zombie Firm “โรงแรม-อสังหาริมทรัพย์” น่าห่วงสุด

ศูนย์วิจัย Krungthai COMPASS ธนาคารกรุงไทย ระบุว่า เศรษฐกิจไทยยังชะลอตัวต่อเนื่อง ส่งผลต่อภาคธุรกิจของไทย โดยเฉพาะผลกระทบจาก COVID-19 สะท้อนต่อรายได้ครึ่งปีแรก 2563 ของบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ลดลง 13.5% ขณะที่ภาคธุรกิจไทยยอดขายทั้งปี 2563 จะหดตัวถึง 9%

เมื่อรายได้และยอดขายของภาคธุรกิจลดลง เป็นปัจจัยที่สร้างความกดดันต่อความสามารถในการชำระหนี้ และความเสี่ยงทางธุรกิจที่เพิ่มขึ้น

จากการวิเคราะห์ข้อมูลงบการเงินในระดับรายบริษัทกว่า 2 แสนราย พบว่า อัตราส่วนความสามารถในการจ่ายดอกเบี้ย (Interest Coverage Ratio : ICR) ซึ่งสะท้อนว่ากิจการมีกำไรจากการดำเนินงานเพียงพอที่จะจ่ายภาระดอกเบี้ยมากน้อยแค่ไหนนั้น ในภาพรวมจะลดลงจาก 3.62 เท่า ในปี 2562 มาอยู่ที่ 3.11 เท่า ในปี 2563 และจะใช้เวลาอย่างน้อย 3 ปี ถึงจะกลับไปสู่ระดับเดิม อีกทั้งกิจการที่มีกำไรจากการดำเนินงานไม่เพียงพอจ่ายดอกเบี้ย หรือมี ICR ต่ำกว่า 1 เท่า จะมีสัดส่วนมากถึง 28-30% ในระยะ 1-2 ปีข้างหน้า

Photo : Shutterstock

“สถานการณ์เศรษฐกิจซบเซาที่มีแนวโน้มลากยาว อาจส่งผลให้กิจการ “ซมไข้ยาวนาน” หรือที่เรียกว่า Zombie Firm ซึ่งเป็นกิจการที่มี ICR ต่ำกว่า 1 เท่า ติดต่อกันเป็นเวลา 3 รอบปีบัญชี มีจำนวนเพิ่มขึ้น จากเดิมที่เคยอยู่ที่ 9.5% ของกิจการทั้งหมด ในปี 2562 เป็น 14% ของกิจการทั้งหมดในปี 2563 และจะพุ่งสูงขึ้นเป็น 26% ภายในปี 2565”

สำหรับธุรกิจที่เปราะบาง ได้แก่ ธุรกิจโรงแรม, ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์, ธุรกิจสื่อและความบันเทิง, ธุรกิจเครื่องหนังและรองเท้า, ธุรกิจเครื่องสำอาง, ธุรกิจสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม โดยกลุ่มธุรกิจที่เปราะบางมีความเสี่ยงที่จะอ่อนแอลงต่อเนื่อง หากไม่มีมาตรการช่วยเหลือ เช่น การปรับโครงสร้างหนี้ ฯลฯ

โดยปัจจัยหลักในการฟื้นตัว ยังขึ้นอยู่กับแนวโน้มการเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติและพัฒนาการของเศรษฐกิจโลก แนวโน้มกำลังซื้อในประเทศ ภาวะการมีงานทำ รวมถึงความสามารถในการชำระหนี้ของครัวเรือน 

Krungthai COMPASS มองสถานการณ์เศรษฐกิจไทยว่า ต้องใช้เวลา 2-3 ปีจึงจะฟื้นตัว โดยเศรษฐกิจโลกที่ยังชะลอตัวจะส่งผลต่อการส่งออกยังหดตัวสูง และการว่างงานอาจสูงขึ้น โดยคาดว่าปี 2563 จีดีพีไทยจะหดตัวที่ 9.1% และทยอยปรับตัวดีขึ้นโดยปี 2564 จะอยู่ที่ 4.1% ปี 2565 GDP จะขยายตัวที่ 6% และปี 2566-2568 จะอยู่ที่ 3% 

หากจะมองในมุมมองของนักลงทุนในตลาดทุนจากการสำรวจ พบว่า จากช่วงที่มีสถานการณ์ล็อกดาวน์ดัชนีตลาดหุ้นไทย -28.7% ปัจจุบันอยู่ที่ -21% โดยกลุ่มที่ลดลงมากได้แก่ อุตสาหกรรมการเงิน ทรัพยากร และอสังหาริมทรัพย์และพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ฟื้นตัวบ้างหรือติดลบน้อยเป็นกลุ่ม อุปโภคบริโภค เกษตร-อาหาร และเทคโนโลยี

ขณะที่ดัชนีตลาด Nasdaq ช่วงล็อกดาวน์อยู่ที่ -14% ปัจจุบัน +13% กลุ่มที่บวกจะอยู่ในกลุ่มคอนซูเมอร์ เทคโนโลยี ดังนั้น จึงมีความเป็นไปได้ว่าการที่ตลาดหุ้นไทยยังไม่ฟื้นหลังคลายล็อกดาวน์แล้ว เพราะมีธุรกิจที่สอดรับกับพฤติกรรม New Normal น้อยกว่า

Photo : Shutterstock

ขณะที่มาตรการรัฐในระยะต่อไปที่ต้องดำเนินนโยบายต่างๆ Krungthai COMPASS มองว่า จากผลกระทบในแต่ละกลุ่มที่รุนแรงไม่เท่ากัน จึงจำเป็นต้องมีความเฉพาะเจาะจง ในแต่กลุ่มที่ได้รับผลกระทบที่รุนแรงและยังมีแนวโน้มที่ฟื้นตัวยากให้มากขึ้น จากเดิมที่เป็นมาตรการในวงกว้าง เช่น มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐที่จะออกมาไม่ว่าจะเป็นโครงการ “คนละครึ่ง” “ช้อปดีมีคืน” และการต่ออายุมาตรการสนับสนุนท่องเที่ยว ก็ถือว่าตรงจุดในระดับหนึ่ง

นอกจากนี้ ยังต้องคำนึงถึงการป้องกันปัญหา Moral Hazard ที่อาจจะตามมาได้ โดยควรให้การสนับสนุนในมิติอื่นๆ นอกเหนือจากเงินทุนควบคู่ไปด้วย เช่น การยกเครื่องธุรกิจโดยอาศัยเทคโนโลยีดิจิทัล ควบคู่กับการสนับสนุนให้ภาคธุรกิจปรับตัวเพื่อแสวงหาโอกาสในตลาดศักยภาพใหม่ๆ ลดต้นทุน และสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันที่สอดรับกับบริบท New Normal ต่อไป

 

]]>
1301564
ธุรกิจ “ดีลเลอร์รถยนต์” เหนื่อยหนัก กรุงไทยคาดรายได้ปีนี้หดตัว 25% ยอดขายทั้งปี 6.2 แสนคัน https://positioningmag.com/1293114 Tue, 18 Aug 2020 10:26:11 +0000 https://positioningmag.com/?p=1293114 ศูนย์วิจัยธนาคารกรุงไทย คาด COVID-19 ฉุดรายได้ “ดีลเลอร์รถยนต์” หดตัว ถึง 25% คาดยอดขายทั้งปี 6.2 แสนคัน หดตัว 38.2% ต้องใช้เวลาฟื้นตัวไม่ต่ำกว่า 2 ปี ประเมินผู้ประกอบการ 1 ใน 3 มีโอกาสเผชิญหน้ากับภาวะกำไรติดลบ แนะปรับรูปแบบการขายเเละบริการสู่ระบบดิจิทัล

ตลาดรถยนต์ไทยอ่วม ดีลเลอร์กำไรหด

ดร.พชรพจน์ นันทรามาศ ผู้อำนวยการฝ่ายอาวุโส ศูนย์วิจัย Krungthai COMPASS ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยว่า ยอดขายรถยนต์ของไทยในปี 2563 ได้รับผลกระทบอย่างมากจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ที่ทำให้เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มหดตัวรุนแรง (Deep Recession) ที่ 9.1% และฉุดกำลังซื้อของผู้บริโภคอย่างมาก

โดยยอดขายรถยนต์ในประเทศในครึ่งแรกของปี 2563 อยู่ที่เพียง 330,000 คัน หดตัว 37.5% ประเมินว่ายอดขายทั้งปี จะอยู่ที่ 620,000 คัน หรือหดตัวถึง 38.2% ซึ่งจะส่งผลกระทบอย่างมากต่อธุรกิจตัวแทนจัดจำหน่ายรถยนต์มือหนึ่ง (ดีลเลอร์) ที่พึ่งพารายได้ส่วนใหญ่เกือบ 85% มาจากการขายรถยนต์

สำหรับรายได้ของธุรกิจดีลเลอร์รถยนต์ ในภาพรวมปี 2563 มีแนวโน้มลดลง 25% เทียบกับปีที่แล้ว อย่างไรก็ตามต้นทุนและค่าใช้จ่ายทั้งหมดของดีลเลอร์ไม่สามารถปรับลงได้เท่ากับรายได้ที่หายไป ส่งผลให้อัตรากำไรสุทธิ (Net Profit Margin) ของผู้ประกอบการมีแนวโน้มแย่ลงจากกำไรที่ 1-1.2% ในช่วงปี 2560-2562 เป็นติดลบ 4.8% ในปี 2563

“คาดว่าสัดส่วนของผู้ประกอบการที่มีกำไรสุทธิติดลบจะเพิ่มขึ้นจาก 24% ในปีที่ผ่านมา เป็น 36% ในปีนี้ โดยกว่าสถานการณ์ยอดขายรถยนต์ในประเทศจะกลับมาอยู่ในช่วงก่อนวิกฤติ COVID-19 หรือที่ประมาณ 1 ล้านคัน จะต้องใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 2 ปี”

Photo : Shutterstock

ลูกค้าไปโชว์รูมลดลง เเนะทำการตลาดเชิงรุก

ด้านดร.มานะ นิมิตรวานิช ผู้อำนวยการฝ่าย ศูนย์วิจัย Krungthai COMPASS กล่าวว่า ธุรกิจดีลเลอร์รถยนต์ ซึ่งเป็นธุรกิจแบบดั้งเดิม (Brick and Mortar) กำลังเผชิญกับพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปจากการแพร่ระบาดของ COVID-19

“ผู้บริโภคมีแนวโน้มที่จะเข้าไปยังโชว์รูมน้อยลง การปิดการขายจึงยากขึ้นกว่าเดิม ภายใต้สถานการณ์ที่ท้าทายธุรกิจดีลเลอร์รถยนต์เป็นอย่างมาก ผู้ประกอบการควรรักษาฐานลูกค้าเดิมอย่างต่อเนื่อง”

โดยเเนะนำให้ธุรกิจดีลเลอร์ ทำการตลาดเชิงรุกเพื่อรองรับกับ Pent Up Demand ที่อาจกลับมาหลังการแพร่ระบาดคลี่คลาย รวมทั้งนำกลยุทธ์ของดีลเลอร์ในต่างประเทศมาประยุกต์ใช้ โดยเฉพาะการยกระดับการขายและบริการเข้าสู่ระบบดิจิทัล (Digitalize) ซึ่งถือเป็นกลยุทธ์ที่สำคัญในระยะยาว

“กลยุทธ์ที่ธุรกิจดีลเลอร์รถยนต์ควรทำทันที คือ การรักษาความสัมพันธ์กับกลุ่มลูกค้าเดิมตลอดช่วงของการล็อกดาวน์ และการทำตลาดเชิงรุกในการหากลุ่มลูกค้าเป้าหมายใหม่ในช่วงหลังคลายล็อกดาวน์”

ส่วนในระยะยาวนั้น แนะนำให้ผู้ประกอบการปรับแนวทางการทำธุรกิจให้สอดคล้องกับพฤติกรรมของผู้บริโภค โดยเฉพาะการนำขั้นตอนการขายและบริการเข้าสู่ระบบดิจิทัล เช่น การแสดง หรือรีวิวรถยนต์ในช่องทางออนไลน์ที่มีความคมชัดสูง การนัดทดลองขับ (Test-drive) ณ ที่พักอาศัยของผู้บริโภคผ่าน Application ไปจนถึงการเพิ่มช่องทางการขายแบบ Omni-channel

โดยกลยุทธ์ดังกล่าวจะช่วยให้ธุรกิจอยู่รอดในยุค New Normal เห็นได้ชัดจากยอดขายของบริษัทที่ใช้ช่องทางออนไลน์เป็นหลักอย่าง Tesla ที่ติดลบเพียง 5% ในช่วงการแพร่ระบาดของ COVID-19 เทียบกับค่ายรถยนต์อื่นๆ ในสหรัฐฯ อย่าง Ford และ GM ที่ลดลงมากกว่า 30% ในช่วงเวลาเดียวกัน

 

 

]]>
1293114