SET – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Wed, 03 Nov 2021 11:05:52 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 อ่าน 7 ข้อ ทำความเข้าใจ ‘หุ้น OR’ ไขข้อสงสัย ‘ไม่มีพอร์ตหุ้น’ ก็ลงทุนได้ https://positioningmag.com/1315923 Fri, 22 Jan 2021 12:51:44 +0000 https://positioningmag.com/?p=1315923 ข่าวใหญ่ในวงการหุ้นไทยที่ได้รับความสนใจ คึกคักมาตั้งเเต่ต้นปี 2021 หลังบริษัท ปตท.น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ ‘OR’ (โออาร์) เตรียมเสนอขายหุ้นต่อประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก ในช่วงราคา 16-18 บาทต่อหุ้น

โดย OR นับเป็นหุ้น IPO ขนาดใหญ่ เป็นกิจการในเครือยักษ์พลังงานอย่าง ปตท. ที่คนไทยรู้จักกันดีผ่านการใช้บริการสถานีบริการน้ำมันที่มีสาขาอยู่ทั่วประเทศ รวมถึงธุรกิจร้านค้าปลีก ร้านสะดวกซื้อ ร้านนกาเเฟที่มีเเบรนด์ติดตลาดอย่าง ‘Café Amazon’

ความน่าสนใจในการเปิดจองซื้อ หุ้น PTTOR’ ในครั้งนี้ คือการเปิดให้คนทั่วไปเข้าซื้อได้ในจำนวน 300 หุ้นต่อคน จัดสรรด้วยวิธี Small Lot First เปิดโอกาสให้ประชาชนได้รับการกระจายหุ้นอย่างทั่วถึง ได้ทั้งคนที่มีพอร์ตหุ้นอยู่เเล้ว เเละแม้ ไม่มีพอร์ตหุ้นก็ซื้อได้

เเต่ทุกการลงทุนมีความเสี่ยง ดังนั้นผู้ลงทุนควรศึกษาธุรกิจนั้นๆ ให้รอบคอบ วันนี้ Positioning รวบรวมขอสรุปพื้นฐานธุรกิจ ความท้าทาย กลยุทธ์การเติบโต เเผนลงทุนในอีก 5 ข้างหน้า เเละรายละเอียดในการจองซื้อหุ้นของ ‘OR’ ไว้ดังนี้

ส่องธุรกิจ OR

บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ OR แยกออกมาจากบริษัทเเม่อย่าง ปตทมาตั้งเเต่ปี 2561 ประกอบธุรกิจตามเเนวคิด ‘Retailing Beyond Fuel’ ผสมผสานระหว่างธุรกิจน้ำมันและธุรกิจค้าปลีกสินค้าและบริการอื่น ๆ (Non-Oil) ทั้งในประเทศและต่างประเทศ

ประกอบด้วย การจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมและผลิตภัณฑ์อื่นๆ ตลาดค้าปลีกและตลาดพาณิชย์ธุรกิจร้านกาแฟ ร้านอาหารและเครื่องดื่ม ร้านสะดวกซื้อและการบริหารจัดการพื้นที่เช่า ฯลฯ

มีแบรนด์สถานีบริการน้ำมัน ติดตลาดอย่าง “PTT Station” ที่มีสาขา 1,968 แห่งในประเทศไทย และ 329 แห่งในต่างประเทศ ครองเบอร์หนึ่งมาร์เก็ตเเชร์ผู้ค้าน้ำมันในไทยที่ 38.9%

  • แบรนด์ร้านกาแฟ Café Amazon ที่มีจำนวน 3,168 ร้านในประเทศไทย และ 272 ร้านในต่างประเทศ
  • ศูนย์บริการยานยนต์ FIT Auto จำนวน 56 แห่งในประเทศไทย และ 4 แห่งในต่างประเทศ
  • ร้านสะดวกซื้อภายใต้แบรนด์ 7-Eleven ในสถานีบริการ และแบรนด์ Jiffy จำนวนรวมกัน 1,960 ร้านในประเทศไทย และ 86 ร้านในต่างประเทศ อย่างฟิลิปปินส์กัมพูชา และเมียนมา ฯลฯ (ข้อมูล ณ วันที่ 30 กันยายน 2563)
Photo : Shutterstock

รายได้และกำไรของ OR

ปี 2560 รายได้ 543,275 ล้านบาท กำไร 9,768 ล้านบาท

ปี 2561 รายได้ 592,072 ล้านบาท กำไร 7,851 ล้านบาท

ปี 2562 รายได้ 577,134 ล้านบาท กำไร 10,895 ล้านบาท

ปี 2563 (..-..) รายได้ 319,308 ล้านบาท กำไร 5,868.5 ล้านบาท

หากมองอัตรากำไรสุทธิปี 2560-2562 จะอยู่ที่ 2.3% 1.6% และ 1.9% ตามลำดับ ส่วนงวด 9 เดือนแรกของปีนี้มีอัตรากำไรสุทธิ 1.8%

ด้านสัดส่วนรายได้ เเบ่งเป็น ธุรกิจน้ำมัน 91.38% ธุรกิจค้าปลีกและบริการอื่นๆ 3.66% สัดส่วน EBITDA เเบ่งเป็น ธุรกิจน้ำมัน 68.67% ธุรกิจค้าปลีกและบริการอื่นๆ 25.04%

กางเเผนลงทุน 5 ปี 

หลังการระดมทุน IPO บริษัทมีแผนการลงทุนใน 5 ปีข้างหน้า (2564-2568) ตั้งงบไว้ราว 74,600 ล้านบาท ทั้งการขยายปั้มน้ำมัน เพิ่มสาขา Café Amazon ตั้งโรงงานเบเกอรีโรงงานผงผสมเครื่องดื่มศูนย์กระจายสินค้า ลุยธุรกิจ EV รองรับเทรนด์รถยนตืไฟฟ้า พร้อมร่วมทุนเเละเข้าซื้อกิจการธุรกิจใหม่ๆ

สำหรับแผนใช้เงินลงทุนทั้งหมด 74,600 ล้านบาท เเบ่งเป็น สัดส่วน 34.6% หรือราว 25,811.6 ล้านบาท จะลงทุนในกลุ่มธุรกิจน้ำมัน เพราะเป็นส่วนสำคัญที่จะสร้างเเละต่อยอดธุรกิจอื่นให้เติบโตไปด้วย รวมถึงเป็นการรักษาความเป็น ‘เบอร์หนึ่ง’ ในตลาดการเเข่งขันไทย

ธุรกิจน้ำมัน วางเป้าในปี 2568 สถานีบริการน้ำมัน PTT เป็น 3,100 แห่ง จากปัจจุบัน 1,968 แห่ง โดยใช้กลยุทธ์ ‘ลงทุนต่ำ’ ด้วยการให้ดีลเลอร์ที่ต้องการขยายสถานีบริการ เป็นผู้ลงทุนหลักสัดส่วน 80% และ OR ลงทุน 20% ภายใต้การกำกับดูแลตามมาตรฐานของบริษัท

ptt station ปั๊มปตท.

ต่อมาจะลงทุน สัดส่วน 28.6% หรือราว 21,335.6 ล้านบาท ในกลุ่มธุรกิจค้าปลีกและบริการ Non-Oil เพราะเป็นธุรกิจที่มีอัตราผลตอบแทนสูงกว่าการจำหน่ายน้ำมัน

ธุรกิจ Non-Oil วางเป้าปี 2568 ขยายสาขาร้านกาแฟ Café Amazon เพิ่มเป็น 5,800 สาขา จากปัจจุบันมี 3,168 สาขา รวมทั้งขยายฐานรายได้และขีดความสามารถการทำกำไรจากธุรกิจ Non oil ด้วยการเพิ่มความหลากหลายของบริการอาหารและเครื่องดื่มในปั๊ม โดยเฉพาะการซื้อแบรนด์ใหม่มาเพิ่มพร้อมกับขยายร้านเดิมที่มีอยู่

รวมถึงสร้างโรงงานเบเกอรี่ โรงงานผงผสมเครื่องดื่ม และศูนย์กระจายสินค้าอัตโนมัติ และขยายร้านไก่ทอด Texas Chicken ให้ได้อีก 20 สาขาต่อปี

ด้าน ลงทุนในต่างประเทศ เเบ่งเป็น สัดส่วน 21.8% หรือราว 16,262.8 ล้านบาท จะเน้นขยายลงทุนกลุ่มอาเซียน เช่น ฟิลิปปินส์กัมพูชาสปป.ลาว โดยการเพิ่มสถานีบริการน้ำมันอีก 350 แห่ง และร้าน Café Amazon อีก 310 แห่ง พร้อมรุกตลาด LPG ควบคู่ไปกับการสร้างคลังปิโตรเลียม ขยายธุรกิจน้ำมันหล่อลื่น PTT Lubricants

หลังจากเปลี่ยนรูปแบบลงทุนมาเป็นแฟรนไชส์ทำให้ Café Amazon ยายสาขาได้เร็ว โดยในเวียดนามร่วมทุนกับกลุ่มเซ็นทรัล ขยายสาขาทำเลหลัก ปัจจุบันมีขยายธุรกิจไปต่างประเทศ 10 ประเทศแล้ว หากนับ Café Amazon ในแง่จำนวนสาขาจะอยู่ที่อันดับ 6 ของโลก และแง่รายได้เป็นอันดับ 12 ของโลก 

ร้านกาเเฟ Café Amazon ในลาว

แผนในประเทศเมียนมา ปัจจุบัน OR อยู่ระหว่างลงทุนก่อสร้างคลังเก็บน้ำมันและคลัง LPG ทั้งใช้เพื่อสนับสนุนการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมแบบ B2B ในเมียนมา ควบคู่ไปกับการขยาย PTT Station และคาเฟ่ Café Amazon

สำหรับเเผนการลงทุนใน จีน’ ซึ่งเป็นตลาดใหญ่ จะมีการขยายสาขา Café Amazon และธุรกิจน้ำมันหล่อลื่น PTT Lubricants อย่างต่อเนื่อง ส่วนในประเทศโอมาน ปัจจุบัน OR ให้สิทธิ์ในการเป็นมาสเตอร์แฟรนไชส์กับบริษัทน้ำมันแห่งชาติของโอมาน เพื่อขยาย PTT Station ทั้งในและนอกสถานีบริการ

ขณะที่ เงินลงทุนอีก 15% หรือราว 11,190 ล้านบาท จะลงทุน ‘ธุรกิจอื่นๆ ที่ไม่ใช่ 3 ธุรกิจหลักดังกล่าว เพื่อมองหาโอกาสใหม่ และต่อยอดธุรกิจเดิมในรูปแบบของพันธมิตร จากการทำดีลร่วมทุน (JV) หรือซื้อเข้ากิจการ (M&A)

จัดงบลงทุน รับเทรนด์ ‘รถยนต์ไฟฟ้า’

หากเจาะลึกลงไปในงบการลงทุน 15% ของส่วน ‘ธุรกิจอื่นๆ’ พบว่าจะมีการนำไปลงทุนพัฒนา Mobility Ecosystem ทำธุรกิจเกี่ยวกับสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า (EV) ซึ่งขณะนี้ทดลองให้บริการชาร์จไฟฟ้ากับรถยนต์ EV แล้วที่ PTT Station จำนวน 25 แห่ง และมีแผนเพิ่มจุดให้บริการชาร์จไฟฟ้าใน PTT Station ให้ครอบคลุมเส้นทางหลักทั่วประเทศ

เมื่อถามว่า เทรนด์รถยนต์ EV อาจเป็นความเสี่ยงต่อ OR หรือไม่ ทีมผู้บริหารตอบว่า มองว่าเป็นโอกาสของธุรกิจมากกว่า บริษัทต้องเตรียมตัวให้พร้อมเเละพัฒนาไปข้างหน้า เราจะเข้าไปตามความต้องการของผู้บริโภค นำมาศึกษาความเป็นไปได้เพื่อต่อยอดต่อไป

ปัจจุบันอัตราการใช้รถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทยยัง น้อยมากจดทะเบียนคิดเป็นสัดส่วนน้อยกว่า 2% ของจำนวนรถจดทะเบียนใหม่

โดย OR จะมีแอปพลิเคชั่นเพื่ออำนวยความสะดวกและเก็บข้อมูล ออกแบบ EV Ecosystem เพื่อสร้างโมเดลธุรกิจใหม่ ไม่เพียงการชาร์จไฟฟ้าเท่านั้น แต่จะครอบคลุมทั้งห่วงโซ่อุปทาน ตั้งแต่การผลิตแบตเตอรี่ผลิตรถยนต์ การจำหน่ายรถยนต์ การผลิตเครื่องชาร์จ การจำหน่ายเครื่องชาร์จ การให้บริการชาร์จไฟฟ้าฯลฯ

ทั้งนี้ เมื่อปี 2563 ที่ผ่านมา OR ได้ลงทุนบริษัทโลจิสติกส์อย่าง แฟลช เอ็กซ์เพรส’  Flash Express) และได้ร่วมทุนกับพีเบอร์รี่ไทย(Peaberry) ขยายธุรกิจกาแฟให้ครอบคลุมถึงต้นน้ำ และกลางน้ำ โดยเฉพาะเครื่องชงอุปกรณ์ การบำรุงรักษาอุปกรณ์ เพื่อบริหารต้นทุน

คุยต่อสัญญา เซเว่นอีเลฟเว่น’ 

ปัจจุบันสัญญาการให้สิทธิแบรนด์ร้านสะดวกซื้อ เซเว่นอีเลฟเว่น (7-11) ของ บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) ในปั๊มน้ำมัน PTT Station ใกล้หมดสัญญาใน 2 ปีข้างหน้า จากอายุสัญญาทั้งหมด 10 ปี 

ผู้บริหาร OR กล่าวถึงกรณีนี้ว่า กำลังพิจารณาการต่อสัญญากับซีพีออลล์ เเละมีการพูดคุยกันบ้างเเล้ว โดยมองว่าทั้ง 2 ฝ่าย เป็นคู่พันธมิตรธุรกิจที่ดีต่อกัน สร้างผลประโยชน์ร่วมกัน ร้านสะดวกซื้อก็มีรายได้สูงขึ้น ขณะที่ปั๊มน้ำมันก็มีผู้คนเเวะมามีผู้ใช้บริการมากขึ้นด้วย 

จองซื้อหุ้น PTTOR ต้องทำอย่างไร?

OR ประกาศเสนอขายหุ้น IPO จำนวนไม่เกิน 2,610 ล้านหุ้น สัดส่วนไม่เกิน 22.5% ของจำนวนหุ้นสามัญทั้งหมดที่ออกและจำหน่ายได้แล้ว ในจำนวนนี้ จัดสรรให้นักลงทุนสถาบัน 65-70% (สถาบันต่างชาติ 17% และนักลงทุนสถาบันในไทย 83%) รายย่อยราว 30-35% 

  • จำนวน 1,860 ล้านหุ้น เสนอขายผู้ลงทุนที่จองซื้อในประเทศ (รวมรายย่อย 595.7 ล้านหุ้น )
  • จำนวน 450 ล้านหุ้น เสนอผู้ลงทุนสถาบันที่จองซื้อในต่างประเทศ
  • จำนวน 300 ล้านหุ้น เสนอขายให้แก่ประชาชน เฉพาะกลุ่มซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นเดิมของ ปตทเท่านั้น

วันปิดการเสนอขายหุ้นทั้งหมด หากมีผู้จองซื้อหุ้นเป็นจำนวนมากกว่าหุ้นทั้งหมดที่เสนอขาย อาจมีการจัดสรรหุ้นส่วนเกิน (กรีนชูให้แก่ผู้ลงทุนจำนวน 390 ล้านหุ้น

โดยกำหนดช่วงราคาหุ้น IPO ที่ 16-18 บาทต่อหุ้น โดยการจองซื้อหุ้นดังกล่าว จะต้องจ่ายเงินที่ราคาหุ้นละ 18 บาทก่อน หากประกาศราคาเสนอขายจริงในวันที่ 3 .. 2564 เวลา 9.00 เเล้วราคาต่ำกว่า 18 บาทจะคืนเงินส่วนต่างค่าจองซื้อหุ้นให้

ระบบเซ็ตเทรดจะประกาศผลการจัดสรรหุ้น IPO ประมาณวันที่ 6 ก.พ. 2564 ผ่านเว็บไซต์ settrade.com หากกรณีท่านไม่ได้รับการจัดสรรหุ้นในครั้งนี้ ระบบจะทำการคืนเงินให้อย่างช้าที่สุดภายในวันที่ 17 .. 2564 (กรณีรับเงินเข้าบัญชี) และวันที่ 22 .. 2564 (กรณีรับเป็นเช็ค)

จองซื้อขั้นต่ำจำนวน 300 หุ้น และจะต้องเพิ่มเป็นจำนวนขั้นต่ำครั้งละ 100 หุ้น โดยไม่จำกัดจำนวนจองซื้อสูงสุด เท่ากับว่าผู้ที่ต้องการจองซื้อจะต้องมีเงินขั้นต่ำ 5,400 บาท สำหรับหุ้นขั้นต่ำ 300 หุ้น ในราคา 18 บาทต่อหุ้น

โดยจะเปิดให้จองได้ในระยะ 10 วัน ตั้งแต่วันที่ 24 .. 2564 ถึง วันที่ 2 .. 2564 (เวลา 12.00 .) ต้องจ่ายค่าจองหุ้นที่ราคา 18 บาทก่อน ผ่าน 3 ธนาคาร ทุกสาขาทั่วประเทศ คือ ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกสิกรไทย เเละกรุงไทย โดยวันเสาร์อาทิตย์ จองซื้อได้ที่สาขาในห้าง

กรณีจองที่ธนาคารตัวแทนจำหน่าย จะต้องกรอกเอกสาร ดังนี้ 

  1. ใบจองซื้อหุ้นสามัญเพิ่มทุน
  2. แบบสอบถามเพื่อหาข้อบ่งชี้การเป็นบุคคลสหรัฐฯ (กรณีฝากหุ้นในบัญชีของบริษัทผู้ออกหลักทรัพย์ สมาชิกเลขที่ 600)
  3. แบบประเมินความเหมาะสมในการลงทุน (Suitability Test) (กรณีไม่เคยทำมาก่อน)
  4. บัตรประชาชนตัวจริงหรือสำเนา (ขึ้นอยู่กับธนาคาร)
  5. สมุดบัญชีเงินฝากหรือสำเนา (ขึ้นอยู่กับธนาคารใช้เพื่อรับคืนเงินค่าจองซื้อ
  6. ควรทราบเลขที่บัญชีซื้อขายหลักทรัพย์ และเลขที่สมาชิกของโบรกเกอร์ที่ใช้บริการ 

กรณีจองซื้อผ่านออนไลน์จะสามารถจองได้ตลอด 24 ชั่วโมง (ตั้งแต่เวลา 9.00 ของวันที่ 24 .. 2564 ถึง 12.00 . (เที่ยงวันของวันที่ 2 .. 2564)

  • กสิกรไทย ผ่านเว็บไซต์ K-My Invest และจ่ายผ่านแอปฯ KPLUS
  • กรุงเทพ ผ่านเว็บไซต์ และแอปฯ Bualuang Mobile Banking
  • กรุงไทย ผ่านเว็บไซต์ โดยเปิดใช้ KTB Netbank และแอปฯ KrungThai Next

ไม่มี พอร์ตหุ้นก็ซื้อได้

ประชาชนที่ “ไม่มีพอร์ตหุ้น” ก็สามารถจองซื้อหุ้นได้กับธนาคาร ผ่านการฝากหุ้นสามัญเพิ่มทุนตามจำนวนที่ได้รับการจัดสรรไว้ในชื่อ บริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทยจำกัดหรือ “TSD” และนำหุ้นเข้าฝากไว้กับ TSD นำเข้าบัญชีของบริษัทผู้ออกหลักทรัพย์สมาชิกเลขที่ 600

อย่างไรก็ตาม การมีพอร์ตหุ้นอยู่แล้วจะช่วยในเรื่อง ‘ความสะดวก’ ด้านการลงทุนแก่ผู้จองซื้อ เพราะสามารถขายหุ้นออกจากพอร์ตได้ตามความต้องการ

ทั้งนี้ ภายหลังเข้าตลาด ปตท. ยังถือหุ้น 77.5% (ภายใต้สมมติฐานว่าจะไม่มีการใช้สิทธิ์ซื้อหุ้นส่วนเกินทั้งจำนวน) และ 75% (ภายใต้สมมติฐานว่าจะมีการใช้สิทธิ์ซื้อหุ้นส่วนเกินทั้งจำนวน

จากการเสนอขายหุ้น IPO บริษัทกำหนดกรอบราคาเสนอขาย 16-18 บาทต่อหุ้น มีอัตราส่วนราคาต่อกำไรต่อหุ้น (P/E) 23.9-26.9 เท่า ขณะที่ค่าเฉลี่ยของบริษัทที่ทำธุรกิจใกล้เคียงกันทั้งในและต่างประเทศอยู่ที่ 31.7 เท่า

ผู้ถือหุ้น จะได้รับผลตอบแทนอะไรบ้าง

  • ได้เป็นหนึ่งในเจ้าของกิจการตามสัดส่วนการถือหุ้น
  • ได้รับเงินปันผล โดย OR มีนโยบายปันผลไม่น้อยกว่า 30% ของกำไรสุทธิหลังหักสำรองต่างๆ ทุกประเภทตามที่กฎหมายและบริษัทกำหนด
  • ได้รับกำไรจากส่วนต่างราคา หากสามารถขายหุ้นได้ราคาสูงกว่าราคาซื้อ เเต่ก็ไม่ได้รับประกันว่าราคาหุ้นจะปรับตัวขึ้นเกินราคาจองซื้อหรือไม่

ล่าสุด ณ วันที่ 11 ก.พ.2564 บมจ. ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก (OR) เข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ‘วันแรก’ จากราคาที่เสนอขายให้ประชาชนทั่วไปครั้งแรก (IPO) ที่ 18 บาทต่อหุ้น ซึ่งการจัดสรรหุ้น IPO ให้ผู้ลงทุนทั่วไปจองซื้อเข้ามามีสูงถึง 5.3 แสนรายการ และได้รับการจัดสรรต่อรายสูงสุดไม่เกินคนละ 4,500 หุ้นนั้น

ราคาซื้อขายเปิดตลาดครั้งเเรก เวลา 10.00 น. พบว่า มีราคาเปิดที่ 26.5 บาท ต่อหุ้น เพิ่มขึ้น 47% จากราคา IPO ที่หุ้นละ 18 บาท จากนั้นราคาปรับเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 27 บาท ก่อนมีแรงขายทำกำไรออกมาอยู่ที่ต่ำสุดราว 23 บาท

ก่อนหน้านี้ บล.เอเซีย พลัส ประเมินว่าราคาที่เหมาะสมจะอยู่ที่ราว 24 บาท ส่วนบล.แลนด์แอนด์เฮ้าส์ คาดว่าราคาจะอยู่ระหว่าง 19.30-23.10 บาท

การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนตัดสินใจลงทุน

]]>
1315923
BTS เข้าถือหุ้นร้านขนมหวาน “After You” 8.1% “กุลพัชร์-แม่ทัพ” 2 ผู้ก่อตั้ง ลุยขยายเครือข่าย https://positioningmag.com/1311848 Thu, 24 Dec 2020 04:57:50 +0000 https://positioningmag.com/?p=1311848 กุลพัชร์ กนกวัฒนาวรรณแม่ทัพ .สุวรรณ” สองผู้ก่อตั้งเเละถือหุ้นใหญ่คาเฟ่ขนมหวานอาฟเตอร์ ยู” (After You) เทขายหุ้นรวม 66 ล้านหุ้น หรือกว่า 8.1% ให้ “BTS” รับโอกาสขยายเครือข่าย

บริษัท อาฟเตอร์ ยู จำกัด (มหาชน) หรือ AU ชี้แจงตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ถึงการซื้อขายหุ้นของบริษัท ตามที่ได้ปรากฏในรายการซื้อขายหุ้น AU ผ่านระบบการซื้อขายของตลาดหลักทรัพย์ฯ บนกระดานรายใหญ่ (Big Lot Board) จำนวนรวม 66,000,000 หุ้น หรือคิดเป็นร้อยละ 8.1 ของหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัท โดยราคาเฉลี่ยหุ้นละ 10 บาท คิดเป็นมูลค่ารวมทั้งสิ้น 660 ล้านบาท

รายการดังกล่าว เกิดจากการขายหุ้นของนางสาวกุลพัชร์ กนกวัฒนาวรรณ และนายแม่ทัพ ต.สุวรรณ ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัท

โดยนางสาวกุลพัชร์ และ นายแม่ทัพ จำหน่ายหุ้น รายละจำนวน 33,000,000 หุ้น ส่งผลให้หลังการทำรายการ นางสาวกุลพัชร์ เหลือจำนวนหุ้นที่ถืออยู่ 226,669,759 หุ้น สัดส่วน 27.79% จากเดิม 31.84% ส่วนนายแม่ทัพ เหลือหุ้นจำนวน 206,793,750 หุ้น หรือสัดส่วน 25.35% จากเดิม 29.40%

การขายหุ้นของอาฟเตอร์ ยูในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อเสนอขายให้กับ บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) หรือ BTS เนื่องจากเล็งเห็นโอกาสในการผนึกกำลัง และขยายเครือข่ายงานต่อไปในอนาคตของทั้งสองฝ่าย

อย่างไรก็ตาม การขายหุ้นครั้งนี้ จะไม่มีผลกระทบต่อโครงสร้างการจัดการและนโยบายการดำเนินธุรกิจของบริษัทแต่อย่างใด

 

ที่มา : SET 

]]>
1311848
อ่าน 8 ข้อ ทำความเข้าใจธุรกิจ “เอสซีจี แพคเกจจิ้ง” ก่อนตัดสินใจซื้อหุ้น SCGP https://positioningmag.com/1298532 Thu, 24 Sep 2020 11:16:38 +0000 https://positioningmag.com/?p=1298532 บิ๊กธุรกิจบรรจุภัณฑ์อย่าง บมจ.เอสซีจี แพคเกจจิ้ง (SCGP) เตรียมระดมทุนในตลาดหุ้นไทยวันแรกเดือน ต..นี้ เพื่อขยายธุรกิจทั้งในและต่างประเทศ เคาะราคาเปิดขายหุ้น IPO ออกมาแล้วเบื้องต้นที่ 33.50-35.00 บาทต่อหุ้น เปิดให้จองซื้อในวันที่ 28 .. – 7 .. (ขึ้นอยู่กับประเภทของผู้จองซื้อ) คาดระดมทุนได้ 4.3-4.5 หมื่นล้านบาท ถือว่าเป็นหุ้นที่น่าจับตามองของปีนี้ ท่ามกลางตลาดที่กำลังซบเซา 

ช่วงนี้ธุรกิจบรรจุภัณฑ์ หรือเเพ็กเกจจิ้งเติบโตขึ้นอย่างมากในช่วงที่ผ่านมา เมื่อเดลิเวอรี่เฟื่องฟูจากอานิสงส์การเเพร่ระบาดของ COVID-19 ทำให้ผู้บริโภคปรับเปลี่ยนพฤติกรรมใหม่ อีกทั้งเทรนด์รักษ์โลกเเละการลดใช้พลาสติกที่กำลังเเพร่หลาย ก็สร้างความท้าทายให้เหล่าผู้ผลิตต้องปรับตัวขนานใหญ่ โดย SCGP ถือเป็นเจ้าใหญ่ที่ครองตลาดอาเซียนถึง 36%

Positioning ขอสรุปพื้นฐานธุรกิจ เเผนเเละกลยุทธ์การเติบโต รายละเอียดไทม์ไลน์ของหุ้น IPO เเละภาพรวมอุตฯ บรรจุภัณฑ์ในอาเซียน จากการแถลงของวิชาญ จิตร์ภักดี” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.เอสซีจี แพคเกจจิ้งเเละทีมผู้บริหาร เบื้องต้นไว้ดังนี้

อนาคต เเพ็กเกจจิ้ง “อาเซียน” 

ภาพรวมธุรกิจบรรจุภัณฑ์ทุกประเภทในภูมิภาคอาเซียน มีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยมีมูลค่ารวมกว่า 51,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2561 ซึ่งคาดว่าในช่วง 6 ปี (ปี 2561-2567) จะมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปีอยู่ที่ 6.1% หรือมีมูลค่าตลาดบรรจุภัณฑ์รวมอยู่ที่ 72,700 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2567

อาเซียน ถือเป็นตลาดใหญ่ที่มีศักยภาพในการเติบโตสูง โดยประเทศไทย เวียดนาม อินโดนีเซียและฟิลิปปินส์ มีประชากรรวมกันกว่า 500 ล้านคนและมี 4 เมกะเทรนด์ที่จะส่งผลดีต่อปริมาณการใช้บรรจุภัณฑ์ อย่าง

  • อัตราการบริโภคบรรจุภัณฑ์กระดาษและบรรจุภัณฑ์จากพอลิเมอร์ที่เพิ่มขึ้น
  • การเปลี่ยนแปลงของจำนวนประชากรและไลฟ์สไตล์
  • ธุรกิจอีคอมเมิร์ซ ที่กำลังเติบโตเฉลี่ย 26% ต่อปี และการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม
  • การเติบโตของธุรกิจเดลิเวอรี่

ขณะเดียวกัน ปัจจัยหนุนของการเพิ่มขึ้นของประชากร “วัยหนุ่มสาวรายได้ปานกลาง” ในอาเซียน เช่น เวียดนาม ก็เป็นโอกาสสำคัญที่จะสร้างเเพ็กเกจจิ้งที่มีความเเตกต่างเเละเป็นมิตรกับสิ่งเเวดล้อมมากขึ้น

ส่องธุรกิจ SCGP

เอสซีจี เริ่มต้นธุรกิจเยื่อและกระดาษในปี 2518 ภายใต้บริษัท The Siam Pulp and Paper ช่วง 30 ปีแรก ทำกระดาษบรรจุภัณฑ์ เยื่อกระดาษ บรรจุภัณฑ์กล่องลูกฟูก กระดาษพิมพ์เขียน เริ่มขยายธุรกิจกระดาษบรรจุภัณฑ์ไปในอาเซียน โดยประเทศเเรก ฟิลิปปินส์ จากนั้นช่วงปี 2549-2557 ขยายไปยังเวียดนามและอินโดนีเซีย ก่อนจะลงทุนลงทุนบรรจุภัณฑ์วัตถุดิบ Polymer เเละรีแบรนด์เป็น SCG Paper ในปี 2557

จากนั้นตั้งเเต่ปี 2558 ถึงปัจจุบันมีการรีแบรนด์อีกครั้ง จาก SCG Paper เป็น SCG Packaging ครองส่วนแบ่งในตลาดอาเซียน 36% มีบรรจุภัณฑ์ทั้งหมดราว 120,000 รายการ มีลูกค้าราว 4,000 ราย ผลิตตั้งแต่กล่องกระดาษลูกฟูก กล่องพิมพ์เพื่อแสดงสินค้า ไปจนถึงบรรจุภัณฑ์แบบอ่อนตัว บรรจุภัณฑ์แบบคงรูป

โดยสินค้ายอดนิยมตอนนี้ คือ “กระดาษบรรจุภัณฑ์” (Packaging Paper) เเละ “ถุงกระดาษรีไซเคิล” สําหรับสินค้าอุปโภคบริโภค และถุงอุตสาหกรรม

ผลการดำเนินงานครึ่งปีแรก 2563 มีรายได้จากการขายรวม 45,903 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 11% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน จากอานิสงส์การเติบโตของอีคอมเมิร์ซ ฟู้ดเดลิเวอรี่ อาหารส่งออก สินค้าอุปโภคบริโภคที่ต้องใช้ในชีวิตประจำวัน กลุ่มสินค้าเพื่อสุขภาพและสุขอนามัย

ขณะที่ช่วง 4 ปีที่ผ่านมา (ปี 2559-62) มีรายได้จากการขายเติบโตเฉลี่ยปีละ 6.1% และมีกำไรสุทธิเติบโตเฉลี่ยปีละ 15.2% ในปี 62 มีรายได้จากการขาย 8.9 หมื่นล้านบาท และมีกำไรสุทธิ 5.89 พันล้านบาท ขณะที่ในช่วง 6 เดือนแรกของปีนี้ มีรายได้จากการขาย 4.59 หมื่นล้านบาท เติบโต 10.5% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และมีกำไรสุทธิ 4.2 พันล้านบาท เติบโต 45.6% จากงวดปีก่อน

ด้านสัดส่วนรายได้จากยอดขายทั้งหมดของ SCGP จากข้อมูลครี่งปีเเรก 2563 เเบ่งเป็นตามประเทศ ได้เเก่ ไทย 52% ประเทศอื่นในอาเซียน (อินโดนีเซีย เวียดนาม ฟิลิปปินส์) 28% เเละประเทศอื่นๆ 20% หากเเบ่งตามสายผลิตภัณฑ์ ได้เเก่ กระดาษบรรจุภัณฑ์ 51% ผลิตภัณฑ์ขั้นปลายน้ำ 33% เเละสายธุรกิจเยื่อกระดาษ 16% 

ขณะที่หากเเบ่งเป็นตามประเภทธุรกิจของบรรจุภัณฑ์ ได้เเก่ อาหารเเละเครื่องดื่ม 42% ธุรกิจอื่นๆ 31% สินค้าอุปโภคบริโภคที่มีการจำหน่ายเร็ว (FMCG) อุปกรณ์เเละอิเลกทรอนิกส์ 13%

SCGP มีหน่วยงาน Inspired Studio ออกแบบบรรจุภัณฑ์ โดยมีนักออกแบบ 36 คน มีนักวิจัยและพัฒนา 90 คน  นักค้นคว้าและวิจัย 12 คนเเละพนักงานขายและบริการลูกค้า 500 คน ปัจจุบันได้จดทะเบียนสิทธิบัตรกับกระทรวงพาณิชย์ 66 รายการ

บุกอาเซียนเต็มสูบ 

กลยุทธ์ต่อไปของ SCGP หลักๆ จะเน้นไปที่การ “ขยายลงทุนอาเซียน” โดยในปี 2563 บริษัทได้ทำการเจรจาและลงนามในสัญญาซื้อหุ้นกับผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของ Bien Hoa Packaging Joint Stock Company (SOVI) ผู้ผลิตและจำหน่ายบรรจุภัณฑ์กล่องลูกฟูกรายใหญ่ในเวียดนาม เเละกำลังอยู่ระหว่างขยายกำลังผลิตอีก 4 โครงการใช้งบลงทุนรวมกว่า 8,200 ล้านบาท ซึ่งจะทยอยแล้วเสร็จในปี 2563–2564 ทั้งนี้ SCGP มีโรงงานอยู่เเล้ว 40 แห่งใน 5 ประเทศอาเซียน คือ ไทย เวียดนาม อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์เเละมาเลเซีย 

โดยเเบ่งงบลงทุนอย่างละเอียด ได้เเก่

  • เวียดนาม – ขยายกำลังผลิตบรรจุภัณฑ์เเบบอ่อนตัว เงินลงทุน 543 ล้านบาท คาดเเล้วเสร็จไตรมาส 3/2563
  • อินโดนีเซีย – ขยายกำลังผลิตกระดาษบรรจุภัณฑ์ เงินลงทุน 1,735 ล้านบาท คาดเเล้วเสร็จไตรมาส 1/2564
  • ฟิลิปปินส์ – ขยายกำลังผลิตกระดาษบรรจุภัณฑ์ เงินลงทุน 5,388 ล้านบาท คาดเเล้วเสร็จไตรมาส 2/2564
  • ไทย – ขยายกำลังการผลิตบรรจุภัณฑ์เเบบอ่อนตัว เงินลงทุน 600 ล้านบาท คาดเเล้วเสร็จไตรมาส 3/2564

ที่ผ่านมา SCGP มีการปรับโมเดลธุรกิจของ SCGP จากอุตสาหกรรมการผลิตสู่การเป็น Packaging Solutions Provider มีรูปแบบการดำเนินธุรกิจแบบ B2B B2B2C และ B2C เน้นเร่งขยายไลน์บรรจุภัณฑ์ให้ครบวงจรมากขึ้นตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่หลากหลาย ด้วยโมเดลเศรษฐกิจหมุนเวียน นำทรัพยากรธรรมชาติกลับมาใช้ใหม่ให้มากที่สุด เป็นวัสดุที่รีไซเคิลได้กว่า 95%

ผู้บริหาร SCGP มองตลาดบรรจุภัณฑ์ในประเทศไทยช่วงครึ่งปีหลังว่า จะยังคงมีการเติบโตท่ามกลางความท้าทายของภาวะเศรษฐกิจ โดยภาคธุรกิจต่างๆ เริ่มทยอยกลับมาดำเนินธุรกิจได้อีกครั้ง

“คาดว่าจะส่งผลดีต่อการอุปโภคและบริโภค โดยเฉพาะสินค้าอาหารกระป๋อง อาหารแช่แข็ง สินค้าอุปโภคบริโภค สินค้าเพื่อการดูแลสุขภาพ เเต่กลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอุตสาหกรรมยานยนต์ จะยังคงมีแนวโน้มชะลอตัวเนื่องจากเป็นสินค้าคงทนและมีมูลค่าสูง” 

เตรียมขึ้นเป็น SET50

ผู้บริหาร SCGP ระบุว่า การระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ครั้งนี้จะนำเงินเพื่อขยายธุรกิจ ทั้งในรูปแบบการขยายกำลังการผลิต การร่วมทุน การเข้าซื้อกิจการ การชำระคืนเงินกู้ยืม และสำหรับเป็นเงินทุนหมุนเวียนในธุรกิจ

“ประมาณการเบื้องต้นของมูลค่าตลาดของบริษัทจะอยู่ที่ราว 1.4 แสนล้านบาท มีความเป็นไปได้สูงที่จะเข้าไปอยู่ใน SET50 ตั้งแต่วันแรกๆ ที่จะเข้าเทรดตามกฎตลาดหลักทรัพย์” 

SCGP จะเป็นหุ้น IPO ที่จะเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ภายในเดือนต.ค.2563 ซึ่งจะมีการกำหนดราคาซื้อขายวันสุดท้าย วันที่ 8 ต.ค.ที่จะถึงนี้ โดยมีธนาคารไทยพาณิชย์ เป็นที่ปรึกษาทางการเงิน และมีบล.ไทยพาณิชย์ บล.บัวหลวง เป็นผู้จัดการการจัดจำหน่ายและรับประกันการจำหน่าย

เคาะ 33.50-35.00 บาท/หุ้น รายย่อยขั้นต่ำ 1,000 หุ้น 

โดยหุ้น SCGP จะจัดอยู่ในกลุ่มสินค้าอุตสาหกรรม หมวด “บรรจุภัณฑ์” ซึ่งจะมีการเสนอขายหุ้นเพิ่มทุนใหม่ไม่เกิน 1,296.68 ล้านหุ้น แบ่งเป็นหุ้นที่เสนอขายให้กับประชาชนทั่วไป (IPO) จำนวนไม่เกิน 1,127.55 ล้านหุ้น คิดเป็น 26.5% ของจำนวนหุ้นสามัญที่ออกและชำระแล้วทั้งหมด ส่วนที่เหลือไม่เกิน 169.1 ล้านหุ้น จะเป็นการขายหุ้นส่วนเกิน (Green Shore)

วีณา เลิศนิมิตร ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสายงาน Investment Banking ธนาคารไทยพาณิชย์ ในฐานะที่ปรึกษาทางการเงินและผู้จัดการการจัดจำหน่ายและรับประกันการจำหน่ายร่วม กล่าวว่า ช่วงราคาเสนอขายหุ้นให้กับประชาชนทั่วไปครั้งแรก (IPO) ของ SCGP ที่กำหนดไว้ 33.50-35.00 บาท/หุ้น นับว่าเป็นระดับที่น่าพอใจ มี P/E ที่ราว 22-23 เท่า เชื่อว่าผลประกอบการของ SCGP ยังมีโอกาสที่จะเติบโตขึ้นต่อไปในอนาคต

สำหรับช่วงราคาเสนอขายเบื้องต้นสำหรับหุ้น IPO ของ SCGP กำหนดที่ 33.50 -35.00 บาทต่อหุ้นนี้ “นักลงทุนรายย่อย” ต้องจองซื้อที่ 35.00 บาทต่อหุ้น ขั้นต่ำที่ 1,000 หุ้น มูลค่า 35,000 บาท และหากช่วงกำหนดราคาซื้อขายวันสุดท้ายวันที่ 8 ต.ค. ต่ำกว่าราคา 35 บาท หรืออาจมีคนเข้ามาจองซื้อมากจนล้นก็จะไม่สามารถจัดสรรให้ได้เต็มจำนวน ซึ่งส่วนเกินดังกล่าวบริษัทจะมีการคืนเงินให้กับผู้จองซื้อหลังจากปิดการจำหน่ายแล้ว

นักลงทุนสถาบัน เซ็นสัญญาซื้อเเล้ว 60% 

การเสนอขายหุ้นของ SCGP ครั้งนี้ ได้รับความสนใจจาก “นักลงทุนสถาบัน” โดยมีกลุ่มนักลงทุนหลักแบบเฉพาะเจาะจง (Cornerstone Investors) จำนวน 18 ราย ได้ลงนามในสัญญา Cornerstone Placing Agreement รวมทั้งสิ้น 676.53 ล้านหุ้น หรือ ประมาณ 60% ของจำนวนหุ้นสามัญเพิ่มทุนที่เสนอ IPO

ประกอบด้วย นักลงทุนสถาบันในประเทศ 14 รายรวมทั้งสิ้น 600 ล้านหุ้น ได้เเก่ 1.บลจ.บัวหลวง จำนวน 135 ล้านหุ้น 2.บลจ.กสิกรไทย จำนวน 135 ล้านหุ้น 3.บลจ.ไทยพาณิชย์ จำนวน 81 ล้านหุ้น 4.บลจ.เอ็มเอฟซี จำนวน 63 ล้านหุ้น 5.บลจ.ทิสโก้ จำนวน 42 ล้านหุ้น 6.บลจ.กรุงไทย จำนวน 37 ล้านหุ้น

7.บลจ.ยูโอบี(ประเทศไทย) จำนวน 26 ล้านหุ้น 8.บลจ.ธนชาต จำนวน 25 ล้านหุ้น 9.บมจ.ไทยประกันชีวิต จำนวน 13 ล้านหุ้น 10.บลจ.อเบอร์ดีน สแตนดาร์ด (ประเทศไทย) จำนวน 11 ล้านหุ้น 11.บมจ.เมืองไทยประกันชีวิต จำนวน 8 ล้านหุ้น 12.บลจ.พรินซิเพิล จำนวน 8 ล้านหุ้น 13.บลจ.ภัทร จำนวน 8 ล้านหุ้น 14.บลจ.วรรณ จำนวน 8 ล้านหุ้น

ส่วนที่เหลือ 4 รายเป็นนักลงทุนสถาบันต่างประเทศรวม 76.53 ล้านหุ้น คือ 1.Avanda Investment Management Pte Ltd จำนวน 27 ล้านหุ้น 2.NTAsian Discovery Master Fund จำนวน 23 ล้านหุ้น 3.Ghisallo Master Fund LP จำนวน 13.265 ล้านหุ้น 4. Tydor Systematic Tactical Trading LP จำนวน 13.265 ล้านหุ้น

เเละที่เหลืออีก 15% จัดสรรให้ผู้ถือหุ้นของบริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) หรือ SCC ที่มีสิทธิได้รับการจัดสรรหุ้น 15% และอีก 25% จัดสรรให้ผู้มีอุปการคุณของ SCGP และผู้ถือหุ้นกู้ของ SCC และลูกค้าของผู้จัดการจำหน่ายและการรับประกันรวมทั้งหมด 11 แห่ง

ระยะเวลาจองซื้อ

สำหรับกำหนดระยะเวลาจองซื้อของผู้จองซื้อแต่ละประเภท มีดังนี้

  • ผู้ถือหุ้น SCC, ผู้ถือหุ้น SCGP, ผู้มีอุปการคุณของ SCGP รวมถึงผู้ถือหุ้นกู้ SCC สามารถจองซื้อได้ในวันที่ 28 ก.ย.- 2 ต.ค.2563 (เฉพาะวันทำการ)
  • ผู้จองซื้อรายย่อย สามารถจองซื้อได้ในวันที่ 1,2 และ 5 ต.ค.2563 โดยจองซื้อขั้นต่ำที่ 1,000 หุ้น มูลค่า 35,000 บาท วิธีการจัดสรรจะเป็นลักษณะ Small Lot First ทุกคนจะได้หุ้นเพียงแต่จะแจกเป็นรอบๆ จนกระทั่งหุ้นหมด
  • บุคคลตามดุลพินิจของผู้จัดจำหน่ายหลักทรัพย์ สามารถจองซื้อได้ในวันที่ 5-7 ต.ค. 2563

คาดระดมทุนได้ 4.3-4.5 หมื่นล้าน

กุลเชฏฐ์ ธาราจันทร์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายการเงิน SCGP กล่าวว่า การระดมทุนครั้งนี้ จะได้เงินมาประมาณ 4.3-4.5 หมื่นล้านบาท (รวมหุ้นส่วนเกิน) โดยจำนวนเงิน 27,000 ล้านบาท หรือราว 60% ที่จะใช้ในการขยายการเติบโตของธุรกิจ

อย่างไรก็ตาม บริษัทมีการเติบโตแบบ Organic ซึ่งได้ลงทุนรวมไปกว่า 8,200 ล้านบาท ในการขยาย 4 โครงการในประเทศอาเซียน ตามที่กล่าวไว้ข้างต้น ด้านความแข็งแกร่งทางการเงิน มีหนี้สินต่อทุน (D/E) อยู่ที่ 0.9 เท่า เมื่อได้เงินจากการระดมทุนครั้งนี้ จะใช้เงินบางส่วนในการลดอัตราส่วนหนี้สินต่อทุน เพื่อให้งบการเงินมีความแข็งแกร่งที่จะเติบโตต่อไป ซึ่งบริษัทมีนโยบายจ่ายเงินปันผลขั้นต่ำ 20% ของกำไรสุทธิ

ในเมื่อธุรกิจเเพ็กเกจจิ้งมีเเนวโน้มจะเติบโตต่อเนื่อง เเต่อะไรคือความท้าทายของ SCGP กุลเชฏฐ์  ตอบว่า “ความท้าทายของธุรกิจเรา คือการหาสิ่งใหม่ๆ เพื่อตอบโจทย์ผู้บริโภคที่เปลี่ยนเร็ว ดังนั้นการปรับตัวขององค์กร ผู้บริหารเเละทีมงานให้ทัน จึงเป็นสิ่งที่ต้องทำให้ได้ ” 

 

]]>
1298532
ไขข้อสงสัย “ไทยเอ็นวีดีอาร์” คือใคร…ทำไม “ถือหุ้นใหญ่” บริษัทในตลาดหุ้นไทย? https://positioningmag.com/1298385 Wed, 23 Sep 2020 10:29:03 +0000 https://positioningmag.com/?p=1298385 จากกระเเสการ #เเบน ต่างๆ ทำให้ช่วงนี้หลายคนเข้าไปเช็กรายชื่อ “ผู้ถือหุ้นใหญ่” ตามบริษัททั้งหลายในตลาดหลักทรัพย์เเห่งประเทศไทย หรือ SET กันบ้าง หรือถ้าใครเป็นมือใหม่ที่ลงทุนในตลาดหุ้นไทยมาสักพักเเล้ว จะสังเกตเห็นว่าเหล่าองค์กรบิ๊กๆ จะมีรายชื่อผู้ถือหุ้นใหญ่ คือบริษัท ไทยเอ็นวีดีอาร์ จำกัด (ThaiNVDR) กันทั้งนั้น เกิดความสงสัยว่าบริษัทนี้ คือใครกันเเน่ ทำไมมีเงินลงทุนมากมายขนาดนั้น

วันนี้ Positioning พามาไขข้อสงสัยนี้เเละรู้จัก ThaiNVDR ให้มากขึ้นกัน

บริษัท ไทยเอ็นวีดีอาร์ จำกัด” คือใคร?

ไทยเอ็นวีดีอาร์ เป็นคำย่อจากภาษาอังกฤษว่า Thai Non-Voting Depository Receipt : ThaiNVDR หรือ ใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงของไทย

อธิบายง่ายๆ ว่า “บริษัทนี้มีหน้าที่เดียวคือการออกใบแสดงสิทธิของหุ้นตัวนั้น” เช่น หากเราซื้อ NVDR ของหุ้นตัวหนึ่ง ก็จะมีสิทธิได้รับผลประโยชน์จากหุ้นตัวที่ซื้อไปเหมือนกับการซื้อหุ้นทั่วไปใน SET ไม่ว่าจะเป็น ได้รับเงินปันผล กำไรจากส่วนต่างราคา (Capital Gain) สิทธิในการจองซื้อหุ้นเพิ่มทุน

เเต่สิ่งที่เเตกต่างของสิทธิ NVDR กับสิทธิของผู้ถือหุ้นทั่วไปคือ ผู้ถือ NVDR จะไม่มีสิทธิในการออกเสียงโหวตในที่ประชุมผู้ถือหุ้น (ตามความหมายตรงๆ ของ Non-Voting )

โหวตไม่ได้…จะลงทุนผ่าน NVDR ทำไมกัน? 

ย้อนกลับไปถึงจุดเริ่มต้นของ บริษัท ไทยเอ็นวีดีอาร์ จำกัดก่อตั้งเมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2543 มีทุนจดทะเบียนชำระแล้วทั้งสิ้น 10 ล้านบาท โดยมีตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยถือหุ้นร้อยละ 99.99 ของทุนจดทะเบียน

ช่วงนั้นเป็นภาวะหลังวิกฤตเศรษฐกิจ “ต้มยำกุ้ง” ตลาดหลักทรัพย์ฯ จึงตั้งไทยเอ็นวีดีอาร์ขึ้นมาเพื่อกระตุ้นการลงทุนเเละเสริมสภาพคล่องให้กับตลาดหุ้นไทย โดยการซื้อ-ขาย NVDR ทำได้เหมือนหุ้นทั่วไป คือซื้อขายผ่านโบรกเกอร์ และซื้อที่ราคาเท่ากับราคาตลาด “ซื้อเป็น NVDR ขายก็เป็น NVDR”

ข้อมูลจาก www.set.or.th ณ วันที่ 22 กันยายน 2563

โดยกลุ่มเป้าหมายเป็น “นักลงทุนต่างชาติ” เป็นหลัก เพราะคนต่างชาติติดปัญหาไม่สามารถถือหุ้นเกินเกณฑ์ที่กำหนด เเละถ้าชาวต่างชาติซื้อขายบนกระดานทั่วไป (Local Share) จะไม่มีสิทธิได้รับเงินปันผล ดังนั้นจึงมีทางเลือกให้ซื้อขายผ่านกระดานต่างประเทศ (Foreign) หรือใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทย (NVDR) แทน

ข้อมูลจาก www.set.or.th

รวมไปถึง “คนไทยที่ไม่ประสงค์ออกนาม” ไม่อยากจะแสดงชื่อว่าตัวเองเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของบริษัท ก็ลงทุน NVDR ได้เช่นกัน ซึ่งก็จะได้ใบแสดงสิทธิมาแทนหุ้น แล้วไทยเอ็นวีดีอาร์ก็จะไปซื้อหุ้นตัวนั้นแทนให้

ดังนั้น บริษัท ไทยเอ็นวีดีอาร์ จำกัด” จึงมีเงินลงทุนจำนวนมาก ที่มาจากเงินของนักลงทุนที่ซื้อขายผ่านบริษัท มักเข้าซื้อหุ้น “บริษัทใหญ่ในไทย” ในทุกอุตสาหกรรม เเละเข้าเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ตามที่เราได้เห็นกันบ่อยๆ ใน SET

โดยจะเคลื่อนไหวมากในกลุ่มหุ้นใหญ่ๆ อย่าง SET50 หรือ SET100 เช่น หุ้นที่ NDVR ซื้อมากในปี 2562 ได้แก่ CPALL, BDMS, SCC, SCB, CPF ส่วนหุ้นที่ NDVR ขายมากในปี 2562 ได้แก่ PTTGC, KBANK, TOP, PTT, PTTEP เป็นต้น  

ปัจจัยเหล่านี้ ทำให้คาดการณ์ว่าถ้าบริษัทไหนมีผู้ถือหุ้นใหญ่เป็นไทยเอ็นวีดีอาร์อยู่ด้วยเเล้ว ก็อนุมานได้ว่านักลงทุนต่างชาติกำลังสนใจหุ้นตัวนี้

โดยการที่นักลงทุนต่างชาติ มีจำนวนเงินมหาศาลในการซื้อขายหุ้น ทำให้มีแนวโน้มจะดันราคาหรือกดดันราคาหุ้นได้ เราจึงสามารถติดตามความเคลื่อนไหวของตลาดจากข้อมูลของ NVDR เพื่อดูแนวโน้มราคาหุ้นว่าจะไปในทิศทางใดได้

สรุปเเล้ว คนที่ซื้อขายผ่าน “บริษัท ไทยเอ็นวีดีอาร์ จำกัด” ก็เป็นได้ทั้ง นิติบุคคล-นักลงทุนรายย่อยชาวต่างชาติเเละชาวไทย เป็นนักลงทุนใหญ่ที่ไม่ประสงค์ออกนาม เป็นคนที่เราเห็นบ่อยๆในทีวี เป็นเพื่อน หัวหน้างาน หรือเพื่อนบ้านของเรา ก็อาจจะเป็นได้… 

 

]]>
1298385
ใครเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ “6 บิ๊กธนาคาร” ในไทย? https://positioningmag.com/1297995 Mon, 21 Sep 2020 06:18:58 +0000 https://positioningmag.com/?p=1297995 ธนาคารมีความสำคัญต่อเศรษฐกิจไทยเเละเป็นธุรกิจที่อยู่ใกล้ชิดในชีวิตประจำวันของประชาชนอย่างมาก เมื่อทุกคนต้องใช้เงินทั้งฝากถอนโอนกู้ลงทุนเเละอีกมากมาย

ผลกระทบของ COVID-19 ตั้งเเต่ช่วงปลายปีที่ผ่านมา ทำให้ราคาหุ้นในกลุ่มธนาคารพาณิชย์อยู่ในทิศทางขาลงโดยภาพรวมยังมีแรงกดดัน จากความกังวลต่อหนี้ NPL ที่อาจสูงขึ้นอีกในอนาคต บวกกับความระอุของการเมืองที่ปลุกกระเเสการเเบน การถอนเงินเเละปิดบัญชีในบางเเบงก์ขึ้นมา ยิ่งทำให้ถูกแนะนำว่าเป็นกลุ่มหุ้นที่ควรเลี่ยงการลงทุน

จากข้อมูลของธนาคารแห่งประเทศไทย ระบุว่า ปัจจุบันประเทศไทยมีธนาคารพาณิชย์อยู่ทั้งหมด 30 แห่ง เเต่บิ๊กเเบงก์ที่มีมูลค่ากิจการเเตะ 1 เเสนล้านบาทนั้นมีอยู่ 6 เเห่งด้วยกัน เรามาดูกันว่า ธนาคารใหญ่ๆ ในประเทศไทย…มีใครเป็นเจ้าของกันบ้าง

ธนาคารไทยพาณิชย์ SCB

เริ่มจากธนาคารที่เก่าเเก่ที่สุดในไทย ที่มีอายุกว่า 115 ปีอย่างธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) หรือ SCB มีมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด “มากที่สุด” ในวงการธนาคารไทยที่ 228,353.45 ล้านบาท อัตราเงินปันผลตอบแทนล่าสุด 9.29% โดยมีผู้ถือหุ้นใหญ่ ดังนี้

  1. พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว จำนวนหุ้น 793,832,359 คิดเป็น 23.38%
  2. กองทุนรวม วายุภักษ์หนึ่ง โดย บลจ.เอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน) จำนวนหุ้น 392,649,100 คิดเป็น 11.56%
  3. กองทุนรวม วายุภักษ์หนึ่ง โดย บลจ.กรุงไทย จำกัด (มหาชน) จำนวนหุ้น 392,649,100 คิดเป็น 11.56%
  4. บริษัท ไทยเอ็นวีดีอาร์ จำกัด จำนวนหุ้น 346,262,309 คิดเป็น 10.20%
  5. สำนักงานประกันสังคม จำนวนหุ้น 109,198,100 คิดเป็น 3.22%

ธนาคารกรุงศรีอยุธยา BAY

ตามมาด้วย เเบงก์สีเหลืองอย่างธนาคารกรุงศรีอยุธยา ที่มีมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดอยู่ที่ 144,908.51 ล้านบาท อัตราเงินปันผลตอบแทนล่าสุด 4.31% โดยในส่วนของ BAY ที่มีเจ้าของคือ MUFG Bank ธนาคารที่ใหญ่ที่สุดในญี่ปุ่น ถือหุ้นกว่า 76.88% ถือว่าเป็นทุนต่างชาติที่ถือหุ้นใหญ่ในสัดส่วนที่มากกว่าธนาคารอื่นมาก ซึ่งทำให้ BAY มีสัดส่วนผู้ถือหุ้น “รายย่อย” น้อยกว่าธนาคารใหญ่อื่นๆ มากด้วย

  1. MUFG BANK, LTD. จำนวนหุ้น 5,655,332,146 คิดเป็น 76.88%
  2. บริษัท สตรองโฮลด์ แอสเซ็ทส์ จำกัด จำนวนหุ้น 166,536,980 คิดเป็น 2.26%
  3. บริษัท ทุนมหาโชค จำกัด จำนวนหุ้น 166,478,940 คิดเป็น 2.26%
  4. บริษัท จี แอล แอสเซทส์ จำกัด จำนวนหุ้น 166,414,640 คิดเป็น 2.26%
  5. บริษัท บีบีทีวี แซทเทลวิชั่น จำกัด จำนวนหุ้น 166,151,114 คิดเป็น 2.26%

อีกหนึ่งเเบงก์ใหญ่อย่างธนาคารกรุงเทพ ที่มีมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด 192,793.13 ล้านบาท อัตราเงินปันผลตอบแทน 6.93% มีสัดส่วนผู้ถือหุ้นใหญ่ที่ค่อนข้างกระจายตัว ทั้งบริษัทไทย บริษัทต่างชาติ กองทุนและบริษัทนอมินี โดยมีผู้ถือหุ้นใหญ่ ดังนี้
  1. บริษัท ไทยเอ็นวีดีอาร์ จำกัด จำนวนหุ้น 448,535,678 คิดเป็น 23.50%
  2. SOUTH EAST ASIA UK (TYPE C) NOMINEES LIMITED จำนวนหุ้น 98,649,920 คิดเป็น 5.17%
  3. สำนักงานประกันสังคม จำนวนหุ้น 85,852,300 คิดเป็น 4.50%
  4. UOB KAY HIAN (HONG KONG) LIMITED – Client Account จำนวนหุ้น 39,837,220 คิดเป็น 2.09%
  5. STATE STREET EUROPE LIMITED จำนวนหุ้น 36,715,127 คิดเป็น 1.92%
Photo : Shutterstock
ฝั่งธนาคารทหารไทย มีมูลค่ากิจการตามราคาตลาด 87,732.57 ล้านบาท (ปรับลดจากระดับเเสนล้านบาทในช่วงต้นปีนี้) เงินปันผลล่าสุดเท่ากับ 3.54% ซึ่งถือหุ้นใหญ่โดย ธนาคาร ING จากเนเธอร์แลนด์ ทั้งนี้ ดีลใหญ่วงการธนาคารที่ TMB เข้าควบรวมกับธนาคารธนชาต ทำให้บริษัททุนธนชาตหรือ TCAP เข้ามาถือหุ้นด้วยในสัดส่วน 20.12% โดยตอนนี้ TMB ยังมีผู้ถือหุ้นใหญ่ ดังนี้
  1. ING BANK N.V. จำนวนหุ้น 22,190,033,791 คิดเป็น 23.03%
  2. บริษัท ทุนธนชาต จำกัด (มหาชน) จำนวนหุ้น 19,389,891,967 คิดเป็น 20.12%
  3. กระทรวงการคลัง จำนวนหุ้น 11,364,282,005 คิดเป็น 11.79%
  4. THE BANK OF NOVA SCOTIA จำนวนหุ้น 5,023,611,111 คิดเป็น 5.21%
  5. กองทุนรวม วายุภักษ์หนึ่ง โดย บลจ.กรุงไทย จำกัด (มหาชน) จำนวนหุ้น 4,926,405,658 คิดเป็น 5.11%
  6. กองทุนรวม วายุภักษ์หนึ่ง โดย บลจ.เอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน) จำนวนหุ้น 4,926,405,657 คิดเป็น 5.11%

ธนาคารกรุงไทย KTB

กรุงไทย มีมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดอยู่ที่ 132,772.58 ล้านบาท อัตราเงินปันผลตอบแทน 7.93% โดยเป็นธนาคารพาณิชย์ที่มีสถานะเป็นรัฐวิสาหกิจ เพราะมีผู้ถือหุ้นใหญ่คือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ซึ่งเป็นหน่วยงานภาครัฐ ทำให้มีลูกค้าเป็นข้าราชการจำนวนมาก มีโครงการรัฐต่างๆ ผ่านธนาคารนี้ อย่างเช่น กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) เป็นต้น

  1. กองทุน เพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน จำนวนหุ้น 7,696,248,833 คิดเป็น 55.07%
  2. บริษัท ไทยเอ็นวีดีอาร์ จำกัด จำนวนหุ้น 834,921,543 คิดเป็น 5.97%
  3. STATE STREET EUROPE LIMITED จำนวนหุ้น 362,902,099 คิดเป็น 2.60%
  4. สหกรณ์ออมทรัพย์ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย จำกัด จำนวนหุ้น 326,090,300 คิดเป็น 2.33%
  5. กองทุนรวม วายุภักษ์หนึ่ง โดย บลจ.เอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน) จำนวนหุ้น 305,775,658 คิดเป็น 2.19%
  6. กองทุนรวม วายุภักษ์หนึ่ง โดย บลจ.กรุงไทย จำกัด (มหาชน) จำนวนหุ้น 305,775,657 คิดเป็น 2.19% 
Photo : Shutterstock

ธนาคารกสิกรไทย KBANK

เเบงก์ใหญ่สีเขียวที่มีอายุกว่า 75 ปีอย่าง KBANK มีมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด 192,059.13 ล้านบาท อัตราเงินปันผลตอบแทนล่าสุด 6.24% มีสัดส่วนผู้ถือหุ้นใหญ่กระจายตัวทั้งบริษัทไทย กองทุน บริษัทต่างชาติเเละบริษัทนอมินี

  1. บริษัท ไทยเอ็นวีดีอาร์ จำกัด จำนวนหุ้น 443,939,592 คิดเป็น 18.55%
  2. STATE STREET EUROPE LIMITED จำนวนหุ้น 203,656,972 คิดเป็น 8.51%
  3. SOUTH EAST ASIA UK (TYPE C) NOMINEES LIMITED จำนวนหุ้น 142,055,420 คิดเป็น 5.94%
  4. สำนักงานประกันสังคม จำนวนหุ้น 85,905,100 คิดเป็น 3.59%
  5. BNY MELLON NOMINEES LIMITED จำนวนหุ้น 78,949,299 คิดเป็น 3.30%
  6. THE BANK OF NEW YORK MELLON จำนวนหุ้น 55,954,035 คิดเป็น 2.34%
Photo : Shutterstock
ข้อมูลจาก : ตลาดหลักทรัพย์เเห่งประเทศไทย (ค่าสถิติสำคัญ ณ วันที่ 18 ก.ย. 2563)
]]>
1297995
หุ้นภาคบ่ายดิ่งหนักกว่า 10% ต่ำสุดรอบ 7-8 ปี งัด Circuit Breaker หยุดพักการซื้อขาย https://positioningmag.com/1268023 Thu, 12 Mar 2020 08:37:27 +0000 https://positioningmag.com/?p=1268023 หุ้นภาคบ่ายดิ่งหนักกว่า 10% หรือติดลบกว่า 125.05 จุด ต่ำสุดในรอบประมาณ 7 ปี 8 เดือน นับจากจุดต่ำสุดที่ 1,099 จุด เมื่อเดือน มิ.. 2555 ล่าสุด ตลท. ได้ใช้มาตรการเซอร์กิตเบรกเกอร์ เพื่อหยุดพักการซื้อขายแล้ว

หุ้นเปิดตลาดภาคบ่ายดัชนียังคงไหลลงไม่หยุด โดยเมื่อเวลา 14.42 . ดัชนีปรับลงไปที่ระดับ 1,124.84 จุด ติดลบ 125.05 จุด หรือเปลี่ยนแปลง -10.00% มูลค่าการซื้อขาย 61,326.06 ล้านบาท โดยมีแรงขายหนักทั่วทั้งกระดาน

ล่าสุดตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ได้หยุดพักการซื้อขายหุ้นชั่วคราวตามมาตรการเซอร์กิตเบรกเกอร์ หลังจากดัชนี SET ภาคบ่ายยังดิ่งหนักถึง 10% โดยจะหยุดการซื้อขายเป็นเวลา 30 นาที โดยตลาดหุ้นไทยร่วงแรงเหมือนกับตลาดทั่วโลก จากกความกังวลการแพร่ระบาดของโควิด-19 ทั้งนี้การใช้ Circuit Breaker ในตลาดหุ้นไทยวันนี้ ถือเป็นครั้งที่ 4

โดยการใช้ Circuit Breaker ครั้งแรก วันที่ 19 ธันวาคม 2549 เวลา 11.26 . Set Index ลงไป 10.14 % สาเหตุจาก 18 .. 2549 ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ประกาศใช้มาตรการกันสำรอง 30% โดยในวันนั้นเกือบต้องใช้ Circuit Breaker ถึง 2 ครั้ง เพราะดัชนีร่วงลงไปถึง 19.52%

ส่วน Circuit Breaker ครั้งที่ 2 วันที่ 10 ตุลาคม 2551 เวลา 14.35 . ดัชนีลดลง 10.02% สาเหตุผลกระทบจากวิกฤติเศรษฐกิจโลกจากสหรัฐฯ หรือ HAMBURGER CRISIS เนื่องจากปัญหาสินเชื่อซับไพรม์ และ Circuit Breaker ครั้งที่ 3 วันที่ 27 ตุลาคม 2551 เวลา 16.04 . ดัชนีลดลง 10 % ห่างกันเพียง 17 วัน โดยยังได้รับผลกระทบ HAMBURGER CRISIS

ถนอมศักดิ์ สหรัตน์ชัย ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการและหัวหน้าฝ่ายวิจัย บล.กรุงไทย ซีมิโก้ ระบุว่า ตลาดหุ้นไทยร่วงแรงตามตลาดหุ้นทั่วโลก มองว่าเป็นการ Panic จากการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 ที่กระจายไปทั่วโลกอย่างเร่งตัวขึ้น จนองค์การอนามัยโลก (WHO) ออกแถลงการณ์ว่าไวรัสโควิด-19 เข้าสู่ภาวะแพร่ระบาดไปทั่วโลก ทำให้วิตกผลกระทบที่มีต่อเศรษฐกิจโลก

นอกจากนี้ ยังรับผลกระทบจากราคาน้ำมันร่วงลง ทำให้วิตกความเสี่ยงจากหนี้เสียที่จะมีสูงขึ้นได้ เนื่องจากบริษัทผู้ผลิตน้ำมันมีต้นทุนสูงกว่าซาอุดีอาระเบีย และส่วนใหญ่ก็จะมีการออกหุ้นกู้กันหากค้าขายไม่ดีก็วิตกจะไม่สามารถจ่ายหนี้ได้ ทำให้หนี้เสียมีโอกาสที่จะสูงขึ้น ซึ่งก็เป็นการซ้ำเติมเศรษฐกิจด้วย

สำหรับความคาดหวังจากการแถลงของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ แห่งสหรัฐฯ ที่มีขึ้นในช่วงเช้านี้ตามเวลาไทยก็มีอันต้องผิดหวังเพราะไม่ได้พูดถึงมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างที่คาดหวังกันไว้เลย ทำให้นักลงทุนตัดสินใจขายหุ้นออกมาก่อน

ตลาดบ้านเราร่วงแรงส่วนหนึ่งเป็นผลจาก Block Trade ที่ถ่วงตลาด จากที่ถูกบังคับขาย และยิ่งขายก็ยิ่งทำให้ดัชนีปรับตัวลงไป จนดัชนีรูดลงมาแถว 1,146 จุด ต่ำสุดในรอบประมาณ 7 ปี 8 เดือน นับจากจุดต่ำสุดที่ 1,099 จุด เมื่อเดือน มิ.. 2555″

Source

]]>
1268023