Sinopharm – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Tue, 26 Oct 2021 07:31:10 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ‘จีน’ จะเริ่มฉีดวัคซีนในเด็ก ‘3 ขวบ’ หลังเจอการระบาดระลอกใหม่ https://positioningmag.com/1358280 Tue, 26 Oct 2021 06:37:19 +0000 https://positioningmag.com/?p=1358280 หลังจากสกัดการระบาดของ COVID-19 จนเป็นศูนย์ไปได้ไม่นาน ล่าสุด จีนก็เจอการแพร่ระบาดขนาดเล็กในมณฑลกานซู, เขตปกครองตนเองมองโกเลีย ทำให้ผู้อยู่อาศัยในเขตปกครองตนเองมองโกเลียในได้รับคำสั่งให้อยู่แต่ภายในบ้าน และต้องปิดสถานที่ท่องเที่ยวทุกแห่งในมณฑลกานซูทางตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศ ล่าสุด ได้มีแผนที่จะฉีดวัคซีนในเด็กอายุ 3-11 ปีอีกด้วย

ที่ผ่านมา ประชากรชาวจีน 76% ได้รับการฉีดวัคซีนครบถ้วนแล้ว และทางการยังคงนโยบายที่ไม่ยอมให้มีการแพร่ระบาด ดังนั้น จึงมีแผนที่จะฉีดวัคซีนในเด็กอายุ 3 ขวบ ในอย่างน้อย 5 มณฑลของจีน โดยมาตรการดังกล่าวทำให้จีนกลายเป็นหนึ่งในไม่กี่ประเทศในโลกที่เริ่มให้วัคซีนแก่เด็กที่อายุน้อย อาทิ คิวบาได้เริ่มให้วัคซีนกับเด็กอายุไม่เกิน 2 ปี สหรัฐฯ และหลายประเทศในยุโรปอนุญาตให้ฉีดวัคซีนในเด็กอายุ 12 ปี และตอนนี้ สหรัฐฯ กำลังเดินหน้าฉีดวัคซีนในเด็กอายุ 5-11 ปี

สำหรับการฉีดวัคซีนให้กับเด็กอายุ 3-11 ปีนี้ จีนยังคงอนุมัติวัคซีนสองชนิด คือ Sinopharm จากสถาบันผลิตภัณฑ์ชีวภาพแห่งปักกิ่งและ Sinovac โดยที่ผ่านมา จีนเพิ่งฉีดวัคซีนให้กับผู้ที่มีอายุ 12 ปีขึ้นไปเท่านั้น

ทั้งนี้ วัคซีนที่ใช้กันอย่างแพร่หลายที่สุดของจีนคือ Sinopharm และ Sinovac ได้แสดงให้เห็นประสิทธิภาพในการป้องกันโรคร้ายแรงและการแพร่เชื้อไวรัส โดยอ้างอิงจากข้อมูลสาธารณะ แต่การป้องกันสายพันธุ์เดลตา ยังไม่ได้รับคำตอบที่แน่ชัด แม้ว่าเจ้าหน้าที่จะบอกว่าสามารถปกป้องได้ก็ตาม

ที่ผ่านมา จีนได้ใช้มาตรการล็อกดาวน์ การกักกัน และการทดสอบภาคบังคับสำหรับการค้นหาเชื้อไวรัสตลอดการระบาดใหญ่ และได้ขจัดกรณีการติดเชื้อในท้องถิ่นส่วนใหญ่ออกไป นอกจากนี้ ยังเร่งฉีดวัคซีนให้แก่ประชาชน โดยรับวัคซีนแล้วทั้งสิ้น 1.07 พันล้านคน จากประชากร 1.4 พันล้านคน

วัคซีน covid-19

แม้ Sinopharm และ Sinovac จะมีการใช้อย่างแพร่หลายในประเทศและทั่วโลก แต่ผู้ปกครองบางคนก็ไม่มั่นใจเกี่ยวกับวัคซีน โดยอ้างข้อมูลที่เผยแพร่ต่อสาธารณชนว่ามีประสิทธิภาพน้อยกว่า โดย หวัง ลู่ ซึ่งอาศัยอยู่ในเมืองฝูโจว ทางตอนใต้ของมณฑลฝูเจี้ยน กล่าวว่า เธอไม่ได้เร่งรีบเพื่อให้ลูกชายวัย 3 ขวบของเธอไปฉีดวัคซีน

“ฉันแค่ไม่ชัดเจนเกี่ยวกับความปลอดภัยของวัคซีน ดังนั้นฉันจึงไม่ต้องการให้เขาฉีดวัคซีน อย่างน้อยที่สุด ฉันก็ไม่อยากเป็นคนแรก” หวางกล่าว

ขณะที่มีผู้ปกครองคนอื่น ๆ ไม่กังวล เนื่องจากมีคนถูกฉีดไปแล้วหลายคน โดย Wu Cong คุณแม่ของเด็กอายุ 7 ขวบกล่าวว่า โรงเรียนของลูกสาวในเซี่ยงไฮ้ยังไม่ได้แจ้งการฉีดวัคซีนใด ๆ ให้พวกเขาทราบ แต่คิดว่ามันไม่ต่างจากวัคซีนไข้หวัดใหญ่มากนัก มีคนฉีดวัคซีนแล้วมากมาย เลยไม่ต้องกังวลอะไรมาก

Source

]]>
1358280
เงื่อนไข : ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ เปิดจอง ‘โมเดอร์นา’ เข็ม 3 ราคา 555 บาท/โดส ซิโนฟาร์ม 550 บาท/โดส https://positioningmag.com/1356921 Sat, 16 Oct 2021 06:00:30 +0000 https://positioningmag.com/?p=1356921 ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ เผยเงื่อนไขจองวัคซีนเข็มกระตุ้นภูมิคุ้มกัน ‘ซิโนฟาร์มและโมเดอร์นา’ สำหรับองค์กรนิติบุคคลและโรงพยาบาลที่ให้บริการฉีดวัคซีนซิโนฟาร์ม ขั้นต่ำ 12 คนขึ้นไป เปิดจองในวันที่ 29 ตุลาคม เวลา 09.00 น. กำหนดเริ่มฉีดตั้งแต่วันที่ 25 มีนาคม 2565 เป็นต้นไป

โดยกำหนดการเปิดจองวัคซีนทางเลือกเข็มกระตุ้นภูมิคุ้มกัน ในรูปแบบองค์กร นิติบุคคล และโรงพยาบาลเท่านั้น (ยังไม่มีการเปิดรอบบุคคลทั่วไป)

วัคซีนซิโนฟาร์ม อัตราเข็มละ 550 บาท

วัคซีนเข็มกระตุ้นภูมิคุ้มกัน ซิโนฟาร์ม (Sinopharm) อัตราเข็มละ 550 บาท พร้อมร่วมบริจาค 10% ของจำนวนวัคซีนที่ขอรับจัดสรรให้กับกลุ่มเปราะบาง (ยอดบริจาคนิติบุคคลนำไปลดหย่อนภาษีได้ 2 เท่าผ่านระบบ E-Donation)

-แนะนำเป็นเข็มกระตุ้นภูมิ (เข็มที่ 3) สำหรับผู้ที่ได้รับวัคซีนซิโนฟาร์มหรือวัคซีนชนิดอื่นๆ ครบ 2 เข็มมาแล้ว 3-6 เดือน

-ลงทะเบียนจองพร้อมโอนเงินเต็มจำนวน รวมจำนวนวัคซีนบริจาค 10% ภายใน 5 วันทำการเมื่อได้รับการแจ้งจัดสรรวัคซีน

-กำหนดเริ่มฉีดเข็มกระตุ้นภูมิได้ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2564 เป็นต้นไป ณ ศูนย์ฉีดวัคซีนราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ และสถานพยาบาลที่อยู่ในระบบจัดสรรวัคซีนที่รับฉีดแทนโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ทั่วประเทศ

บุคคลธรรมดาที่เคยฉีดวัคซีนซิโนฟาร์ม

ขอให้ท่านติดตามการจองวัคซีนทางเลือกเข็มกระตุ้นภูมิจากโรงพยาบาลต่างๆ ที่รับการจัดสรรวัคซีนจากราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ และให้บริการฉีดแทนโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ โดยทางราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์จะไม่เปิดรับจองในรูปแบบบุคคลทั่วไปในการจัดสรรครั้งนี้

หมายเหตุ: สำหรับผู้ที่เคยเข้ารับการฉีดวัคซีนซิโนฟาร์มรอบบุคคลธรรมดากับโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ กรุณารอ SMS เพื่อแจ้งกำหนดการเข้ารับวัคซีนเข็ม 3 สำหรับผู้ที่มีความประสงค์จะใช้วัคซีนทางเลือกซิโนฟาร์มเป็นเข็มกระตุ้นภูมิคุ้มกัน โดยชำระเงิน ณ วันเข้ารับวัคซีน (สำหรับกลุ่มเปราะบางที่ได้รับวัคซีนซิโนฟาร์มจากโรงพยาบาลจุฬาภรณ์โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย กรุณารอการติดต่อทาง sms หรือให้ผู้ประสานงานทำหนังสือถึงเลขาธิการเพื่อรอการจัดสรร)

วัคซีนโมเดอร์นา อัตราเข็มละ 550 บาท

วัคซีนเข็มกระตุ้นภูมิคุ้มกัน โมเดอร์นา (Moderna) 50 ไมโครกรัม อัตราเข็มละ 555 บาท พร้อมร่วมบริจาค 10% ของจำนวนวัคซีนที่ขอรับจัดสรรให้กับกลุ่มเปราะบาง (ยอดบริจาคนิติบุคคลนำไปลดหย่อนภาษีได้ 2 เท่าผ่านระบบ E-Donation)

-แนะนำใช้เป็นเข็มกระตุ้นภูมิคุ้มกันในปี 2565 (โดยฉีดเป็นวัคซีนเข็มที่ 3 หรือ 4) โดยฉีดห่างจากวัคซีนเข็มล่าสุด 3-6 เดือน (แล้วแต่ชนิดวัคซีนที่ได้รับก่อนหน้านั้น)

-ลงทะเบียนจองพร้อมโอนเงินมัดจำ 250 บาทต่อโดส จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2564 และโอนเงินมัดจำ 400 บาทต่อโดสตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2565 เป็นต้นไป และชำระเงินส่วนที่เหลือเต็มตามจำนวน เมื่อได้รับการจัดสรรวัคซีน พร้อมจำนวนที่บริจาคอีก 10%

เริ่มฉีดเมื่อไหร่ 

กำหนดเริ่มฉีดตั้งแต่วันที่ 25 มีนาคม 2565 เป็นต้นไป ณ ศูนย์ฉีดวัคซีนราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ และสถานพยาบาลที่อยู่ในระบบจัดสรรวัคซีนที่รับฉีดแทนโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ทั่วประเทศ

จัดสรรวัคซีนในเดือนมีนาคม ตามลำดับองค์กรที่โอนเงินจองเข้ามาก่อน และจัดสรรต่อทุก 3 เดือน หรือเมื่อได้รับวัคซีนจากต่างประเทศจนได้รับวัคซีนครบตามจำนวน

ข้อกำหนด : การจองวัคซีนทางเลือกเข็มกระตุ้นภูมิคุ้มกันสำหรับองค์กรนิติบุคคล

1.การสั่งจองและขอรับจัดสรรวัคซีนทางเลือกนี้ เมื่อยืนยันการจองและโอนเงินแล้ว ทางราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์จะไม่คืนเงิน และไม่รับการขอลดจำนวนวัคซีนในทุกกรณี หากไม่โอนเงินภายในระยะเวลาที่กำหนด ขอสงวนสิทธิ์ที่จะนำเงินจองจำนวนดังกล่าว หรือวัคซีนไปจัดสรรให้กับกลุ่มเปราะบางของประเทศต่อไป

2. ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์จะจัดสรรวัคซีนให้ตามลำดับองค์กรที่โอนเงินจองเข้ามาก่อนกับวัคซีนที่จะทยอยมาจากต่างประเทศ

3. องค์กรสามารถยื่นขอรับจัดสรรวัคซีนได้ทั้ง 2 ชนิด โดยแจ้งระบุจำนวนคนตามยี่ห้อวัคซีนเข็มกระตุ้นภูมิที่ประสงค์จะขอรับจัดสรร

4. องค์กรจะได้รับอีเมลแจ้งชื่อผู้ใช้งานและรหัสผ่านเพื่อล็อกอินเข้าระบบผ่านเมนู “ลงทะเบียนองค์กรผู้ได้รับการจัดสรรวัคซีน” เพื่อยืนยันยอดจำนวนวัคซีนที่ขอรับการจัดสรร และวิธีการโอนเงิน โดยโอนเต็มจำนวนสำหรับวัคซีนซิโนฟาร์ม และโอนเงินมัดจำ 250 บาทต่อโดสสำหรับวัคซีนโมเดอร์นา

5. ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์จะดำเนินการส่งรายงานมูลค่าบริจาควัคซีน 10% ขององค์กรเข้าระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์ (E-Donation) ของทางกรมสรรพากรตามเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของนิติบุคคลที่ยื่นความประสงค์เข้ามา เมื่อได้รับการโอนเงินชำระค่าวัคซีนจากองค์กรเรียบร้อยแล้ว เพื่อนำไปใช้ลดหย่อนภาษีได้ 2 เท่า

6. สำหรับโรงพยาบาลที่ขอรับการจัดสรรวัคซีนทางเลือกใดๆ จากทางราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์เพื่อนำไปจัดสรรต่อให้กับผู้ป่วยหรือผู้รับบริการของโรงพยาบาล สามารถกำหนดอัตราค่าวัคซีนเข็มกระตุ้นภูมิคุ้มกันตามความเหมาะสมโดยให้คำนึงถึงการเข้าถึงวัคซีนของส่วนรวมเป็นสำคัญ

7. อัตราค่าวัคซีนทางเลือกของราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ได้รวมประกันในการรักษาอาการข้างเคียงทั้งผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน (โดยเริ่มคุ้มครองเมื่อองค์กรอัพโหลดรายชื่อผู้ฉีดเข้าระบบ หรือโรงพยาบาลที่รับฉีดแทนได้ส่งชื่อผู้รับบริการเข้าระบบให้ทางราชวิทยาลัยและประกัน หากเกิดอาการแทรกซ้อนนก่อนหน้านั้น ทางโรงพยาบาลที่รับฉีดแทนจะเป็นผู้ดูแล)

 

ที่มา : ศูนย์ข้อมูลราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์

]]>
1356921
อินโดฯ เบรกขาย “ซิโนฟาร์ม” แก่บุคคลทั่วไป หลังผู้เชี่ยวชาญเตือนสร้าง “ความเหลื่อมล้ำ” https://positioningmag.com/1341890 Tue, 13 Jul 2021 15:19:44 +0000 https://positioningmag.com/?p=1341890 บริษัทเวชภัณฑ์ของอินโดนีเซียเลื่อนแผนการจำหน่ายวัคซีน “ซิโนฟาร์ม” ให้แก่ประชาชนโดยตรง หลังมีข้อท้วงติงจากผู้เชี่ยวชาญด้านสาธารณสุขว่ากลยุทธ์การตลาดเช่นนี้อาจสร้างความเหลื่อมล้ำ อีกทั้งรัฐบาลอินโดนีเซียก็มีนโยบายฉีดวัคซีนป้องกัน COVID-19 ฟรีให้แก่ประชากรทุกคนอยู่แล้ว

เสียงวิพากษ์วิจารณ์มีขึ้นท่ามกลางตัวเลขผู้ติดเชื้อและผู้เสียชีวิตที่พุ่งทุบสถิติ ซึ่งทำให้ระบบสาธารณสุขในบางพื้นที่ของเกาะชวาอยู่ในภาวะตึงตัวอย่างหนัก

บริษัท คีเมีย ฟาร์มา (Kimia Farma) เป็นรัฐวิสาหกิจด้านยาและเวชภัณฑ์ของอินโดนีเซีย ออกมาประกาศวันนี้  ว่าจะเลื่อนการจำหน่ายวัคซีนซิโนฟาร์มออกไปก่อน และขอเวลาเตรียมคำชี้แจงต่อประชาชน

“เราขอเลื่อนการจำหน่ายวัคซีนออกไปก่อน หลังจากที่มีผู้ให้ความสนใจอย่างมาก” โนเวีย วาเลนตินา โฆษก คีเมีย ฟาร์มา อาโปเทก (Kimia Farma Apotek) ซึ่งเป็นบริษัทในเครือ คีเมีย ฟาร์มา ให้สัมภาษณ์

ก่อนหน้านี้ ทางบริษัทประกาศจะนำวัคซีนซิโนฟาร์มมาจำหน่ายแก่ประชาชนทั่วไปในราคา 879,140 รูเปียะห์ต่อวัคซีน 2 โดส (ราว 1,978 บาท) เพื่อช่วยเร่งการสร้าง “ภูมิคุ้มกันหมู่” ในแดนอิเหนา แต่มีเสียงสะท้อนจากบุคลากรด้านสาธารณสุขว่าเวลานี้ควรจะเน้นฉีดวัคซีนฟรีให้แก่ประชากรกลุ่มเสี่ยงก่อน เพื่อไม่ให้เกิดความเหลื่อมล้ำ

“ต่อไปหากมีวัคซีนมากพอแล้ว เราอาจจะเปิดทางเลือกสำหรับการซื้อวัคซีน แต่ไม่ใช่ตอนนี้” ดียาห์ ซามีนาร์ซิห์ หนึ่งในที่ปรึกษาอาวุโสของเลขาธิการใหญ่องค์การอนามัยโลก (WHO) ระบุ

Photo : Shutterstock

กระทรวงสาธารณสุขอินโดนีเซียยังปฏิเสธที่จะให้ความเห็นในเรื่องนี้ โดยขอให้สื่อไปสอบถามรายละเอียดจาก คีเมีย ฟาร์มา เอาเอง

อินโดนีเซียเริ่มกระจายวัคซีนซิโนฟาร์มผ่านโครงการที่ให้บริษัทเอกชนสามารถสั่งซื้อวัคซีนไปฉีดให้แก่พนักงานของตนเองได้

ปัจจุบันอินโดนีเซียมียอดติดเชื้อสะสมกว่า 2.5 ล้านคน และมีผู้เสียชีวิตจากโควิด-19 ประมาณ 64,000 คน ซึ่งถือว่าสูงเป็นอันดับต้นๆ ของเอเชีย แต่ผู้เชี่ยวชาญเตือนว่าสถานการณ์โรคระบาดแดนอิเหนาอาจรุนแรงกว่าที่สถิติทางการประกาศ เนื่องจากยังมีการตรวจเชื้อน้อยมาก

งานวิจัยด้านเซรุ่มวิทยาที่เผยแพร่โดยฝ่ายบริหารกรุงจาการ์ตาเมื่อสุดสัปดาห์ที่แล้วพบว่า ประชากรจาการ์ตา 44.5% หรือประมาณ 4.7 ล้านคนจากทั้งหมด 10.6 ล้านคน มีภูมิคุ้มกันต่อ COVID-19 แล้วในเดือน มี.ค.

Source

]]>
1341890
ผลวิเคราะห์ชี้ 5 ใน 6 ประเทศที่มีการ ‘ติดเชื้อโควิดสูง’ ได้รับ ‘วัคซีนจีน’ https://positioningmag.com/1341457 Fri, 09 Jul 2021 06:33:05 +0000 https://positioningmag.com/?p=1341457 การวิเคราะห์ของเว็บไซต์ CNBC ระบุว่า ในบรรดาประเทศที่มี ‘อัตราการฉีดวัคซีนสูง’ และ ‘อัตราการติดเชื้อ COVID-19 สูง’ ส่วนใหญ่พึ่งพา ‘วัคซีนที่ผลิตในประเทศจีน’ โดยการหาข้อมูลดังกล่าวเกิดขึ้นหลังจากมีการตรวจสอบถึงประสิทธิภาพวัคซีนจากจีน เนื่องจากการมาของตัวแปรเดลต้าที่แพร่เชื้อได้ดีกว่า

CNBC ระบุ 36 ประเทศที่มีผู้ป่วยยืนยันรายใหม่มากกว่า 1,000 รายต่อล้านคน ณ วันที่ 6 กรกฎาคม โดยใช้ตัวเลขจาก Our World in Data ซึ่งรวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ รวมถึงองค์การอนามัยโลก รัฐบาล และนักวิจัยที่มหาวิทยาลัยอ็อกซ์ฟอร์ด จากนั้น CNBC ระบุประเทศในกลุ่ม 36 ที่มีประชากรมากกว่า 60% ได้รับวัคซีนโควิดอย่างน้อย 1 โดส

จากข้อมูลพบว่าผู้ป่วยโควิดรายสัปดาห์ซึ่งปรับตามจำนวนประชากรยังคง เพิ่มสูงขึ้น ในประเทศที่มีการฉีดวัคซีนมากที่สุดในโลกอย่างน้อย 6 ประเทศ และ 5 ประเทศ ในนั้นต้อง พึ่งพาวัคซีนจากประเทศจีน ได้แก่ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์, เซเชลส์, มองโกเลีย, อุรุกวัย และชิลี ส่วนอีกหนึ่งประเทศหนึ่งที่เหลือคือ สหราชอาณาจักรที่ไม่ได้รับวัคซีนจากจีนเป็นหลัก

  • มองโกเลีย เปิดเผยว่าประเทศได้รับวัคซีน 2.3 ล้านโดส เป็น Sinopharm ตามด้วย สปุตนิก วี ของรัสเซีย 80,000 โดส และ Pfizer-BioNTech ประมาณ 255,000 โดส
  • ชิลี ฉีดวัคซีน 16.8 ล้านโดสจาก Sinovac Biotech ได้ Pfizer-BioNTech 3.9 ล้านโดส และวัคซีนอีก 2 ชนิดในปริมาณที่น้อยกว่า 2 รายแรก
  • สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และ เซเชลส์ พึ่งพาวัคซีน Sinoarm อย่างมากในช่วงเริ่มต้น แต่แต่ละแห่งเพิ่งเปิดตัววัคซีนอื่น ๆ
  • อุรุกวัย มีวัคซีนของ Sinovac เป็นหนึ่งในสองวัคซีนที่ใช้กันมากที่สุด ร่วมกับ Pfizer-BioNTech
  • สหราชอาณาจักร ได้วัคซีน Moderna, AstraZeneca-Oxford, Pfizer-BioNTech และ Janssen ผู้ติดเชื้อในสหราชอาณาจักรเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากมีการแพร่กระจายของโรคเดลต้าที่แพร่ระบาดมากขึ้น

ทั้งนี้ มีหลายปัจจัยที่อาจทำให้จำนวนผู้ป่วยโควิดเพิ่มขึ้นในประเทศที่มีอัตราการฉีดวัคซีนสูง เพราะ วัคซีนไม่ได้ให้การป้องกัน 100% ดังนั้น ผู้ที่ได้รับการฉีดวัคซีนยังสามารถติดเชื้อได้ ในเวลาเดียวกัน ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าสามารถเจาะภูมิคุ้มกันของวัคซีนได้ดีขึ้น

(Photo by Andressa Anholete/Getty Images)

อย่างไรก็ตาม นักระบาดวิทยามองว่า ประเทศต่าง ๆ ไม่ควรหยุดใช้วัคซีน จากประเทศจีน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในขณะที่จำนวนของวัคซีนมีจำกัดในกลุ่มประเทศที่มีรายได้ต่ำและปานกลาง โดยหลายประเทศที่อนุมัติวัคซีนโดย Sinopharm และ Sinovac ส่วนใหญ่เป็นประเทศกำลังพัฒนาที่ไม่สามารถแข่งขันกับประเทศที่ร่ำรวยกว่าสำหรับวัคซีนที่พัฒนาในสหรัฐอเมริกาและยุโรป

แม้จะบอกว่าไม่ควรหยุดใช้วัคซีนจากจีน แต่เมื่อเดือนที่ผ่านมา คอสตาริกาปฏิเสธการส่งมอบวัคซีนที่พัฒนาโดยซิโนแวค หลังจากสรุปว่าไม่ได้ผลเพียงพอ แม้องค์การอนามัยโลกอนุมัติวัคซีนจาก Sinopharm และ Sinovac เพื่อใช้ในกรณีฉุกเฉินก็ตาม

ทั้งนี้ ประสิทธิผลของวัคซีนจีนทั้งสองชนิดนั้นมีผลออกมาว่าต่ำกว่าของ Pfizer – BioNTech และ Moderna ซึ่งทั้งสองวัคซีนมีประสิทธิภาพมากกว่า 90% โดยวัคซีนของ Sinopharm มีประสิทธิภาพ 79% ในการต่อต้านการติดเชื้อโควิดตามอาการ WHO กล่าว แต่ประสิทธิภาพของวัคซีนในบางกลุ่ม เช่น คนอายุ 60 ปีขึ้นไป ยังไม่ชัดเจน ประสิทธิภาพของการยิง Sinovac นั้นอยู่ระหว่างประมาณ 50-80% ขึ้นอยู่กับประเทศที่ถูกจัดขึ้นในการทดลอง

Source

]]>
1341457
ผู้ผลิตวัคซีน อาจโกยรายได้ปีนี้ เกือบ 6 ล้านล้านบาท ‘ซิโนฟาร์ม-ซิโนแวค’ สัดส่วน 25% https://positioningmag.com/1334373 Fri, 28 May 2021 08:30:43 +0000 https://positioningmag.com/?p=1334373 ในปีนี้ บริษัทวิจัยประเมินว่า บรรดาผู้ผลิตวัคซีนรายใหญ่ของโลก อาจทำรายได้สูงสุดเเตะ 190,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือเกือบ 6 ล้านล้านบาท โดยสองบริษัทจีนอย่าง Sinopharm (ซิโนฟาร์ม) เเละ Sinovac (ซิโนเเวค) โกยสัดส่วนรายได้ไปถึง 25%

Airfinity บริษัทด้านการวิเคราะห์ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ รายงานตัวเลขคาดการณ์รายได้จากการจำหน่ายวัคซีนป้องกันโควิด-19’ ของ 9 บริษัทใหญ่ เช่น Pfizer (ไฟเซอร์) เเละ Moderna (โมเดอร์นา) ของสหรัฐฯ Sinovac Biotech และ Sinopharm Group ของจีน

โดยระบุว่า กรณีการผลิตเป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ ผู้ผลิตวัคซีนทั้งหลายจะทำรายได้ราวสูงสุดถึง 190,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 5.9 ล้านล้านบาท ในจำนวนนี้ สองบริษัทจากประเทศจีน จะมีสัดส่วนรายได้อย่างน้อย 1 ใน 4 (ราว 25%)

เเต่หากเกิดข้อจำกัดด้านการผลิตและปัญหาการขาดแคลน อาจทำให้ตัวเลขรายได้ของปีนี้ ลดลงมาอยู่ที่ 115,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 3.59 ล้านล้านบาท)

วัคซีนโควิด-19 ได้รับการพัฒนาอย่างรวดเร็ว โดยได้รับการสนับสนุนจากกองทุนของรัฐบาลต่างๆ เพื่อฟื้นฟูสังคม และหลีกเลี่ยงต้นทุนทางเศรษฐกิจที่จะเสียหายหลายล้านล้านดอลลาร์

อย่างไรก็ตาม การเข้าถึงวัคซีนของประเทศยากจนหลายแห่ง ยังเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นต่อเนื่อง ส่วนหนึ่งมาจากภาระค่าใช้จ่าย และการกักตุนวัคซีนในประเทศร่ำรวย

Rasmus Bech Hansen ซีอีโอของ Airfinity ให้สัมภาษณ์กับ Bloomberg ว่านี่เป็นตลาดที่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ตัวเลขเหล่านี้จึงเป็นเรื่องสำคัญมาก ไม่ใช่ว่าทุกประเทศจะสามารถจัดหาวัคซีนที่จำเป็นได้ เพราะต้องใช้เงินลงทุนจำนวนมากเพื่อฉีดวัคซีนให้ประชากรทั้งหมด

Photo : Shutterstock

Airfinity ย้ำว่า การคาดการณ์รายได้ ขึ้นอยู่กับราคาและการที่บริษัทต่างๆ จะบรรลุเป้าหมายการผลิตและการจัดส่งหรือไม่ โดยขณะนี้มีบางบริษัทกำลังเผชิญปัญหานี้อยู่

ปัจจัยเหล่านี้ อาจทำให้จำนวนวัคซีนที่ผลิตได้จริงในปีนี้ น้อยกว่าที่เหล่าผู้ผลิตคาดการณ์ไว้ถึง 42% เเละอาจทำให้รายได้รวม ลดลงเหลือเพียง 97,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐเท่านั้น

ยกตัวอย่าง เช่น การผลิตวัคซีนของ Novavax (โนวาเเวกซ์) ในสหรัฐฯ ที่ประกาศจะเพิ่มกำลังการผลิตให้ได้มากกว่า 2,000 ล้านโดสในปีนี้ แต่ทาง Airfinity ประเมินว่าจะสามารถผลิตได้เพียง 400 ล้านโดส

จีนกำลังมีบทบาทสำคัญในการกระจายวัคซีนทั่วโลก หลังคู่เเข่งอย่างอินเดียต้องเจอกับวิกฤตการระบาดขั้นสาหัสทำให้ต้องระงับการส่งออกวัคซีนไปต่างประเทศชั่วคราว

Airfinity ประเมินว่า บริษัทจีนอย่าง Sinovac อาจทำรายได้จากการจำหน่ายวัคซีนมากถึง 25,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และ Sinopharm จะทำได้ 23,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งขณะนี้ทั้งสองบริษัท ทำรายได้ไปแล้วอย่างน้อยแห่งละ 16,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

ที่ผ่านมา เราเคยมองว่าการส่งออกวัคซีนของจีนเป็นเครื่องมือนโยบาย ทำให้ตัวเลขรายได้ที่เเท้จริงกลับถูกมองข้ามไปจริงๆ เเล้วราคาวัคซีนของจีนไม่ได้ถูกขนาดนั้น” Bech Hansen กล่าวว่า 

(Photo by Andressa Anholete/Getty Images)

ด้านรายได้ของ Pfizer และ Moderna บริษัทวิจัยประเมินว่า อาจทำรายได้ถึง 44,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และ 32 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ตามลำดับ แต่ตัวเลขจริงอาจจะลดลงกว่านั้น

โดย Pfizer เองตั้งเป้าจะจำหน่ายวัคซีนที่ร่วมพัฒนากับ BioNTech ของเยอรมนีได้ราว 26,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่วน Moderna ตั้งเป้าว่าจะทำรายได้ราว 19,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

สำหรับราคาของวัคซีนเเต่ละเจ้า ตามรายงานของ Airfinity ระบุว่า

  • Sinovac และ Sinopharm อยู่ที่โดสละ 12-23 ดอลลาร์สหรัฐ (ราว 375-720 บาท) 
  • Pfizer อยู่ที่โดสละ 12-14.50 ดอลลาร์สหรัฐ (ราว 375-453 บาท)
  • Moderna อยู่ที่โดสละ 18-32 ดอลลาร์สหรัฐ (ราว 563 – 1,000 บาท)
  • AstraZeneca อยู่ที่โดสละ 3.50-5.25 ดอลลาร์สหรัฐ (ราว 109 – 164 บาท)

ทั้งนี้ รายละเอียดเกี่ยวกับสัญญาการซื้อขายวัคซีนที่เเตกต่างกันทำให้คาดการณ์ตัวเลขยอดขายได้ยาก เนื่องจากผู้ผลิตจะกำหนดราคา ตามระดับรายได้ของประเทศนั้นๆ เช่นกลุ่มลูกค้าประเทศร่ำรวย บริษัทจะขายให้เเพงกว่าประเทศรายได้ต่ำหรือปานกลางนั่นเอง

 

 

ที่มา : Bloomberg

 

]]>
1334373
รีบไปต่อ! UAE จัด ‘Booster Shot’ เตรียมฉีด ‘เข็มที่ 3’ ให้ผู้รับวัคซีนซิโนฟาร์ม ครบ 2 เข็มเเล้ว https://positioningmag.com/1333006 Wed, 19 May 2021 12:42:28 +0000 https://positioningmag.com/?p=1333006 สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ หรือ UAE เริ่มเตรียมฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ‘เข็มที่ 3’ ให้กับประชาชนผู้ได้รับวัคซีนซิโนฟาร์มครบ 2 เข็มเเรกเเล้ว ท่ามกลางข้อกังวลเรื่องประสิทธิภาพ

หน่วยงานด้านสาธารณสุขของ UAE ประกาศว่า ผู้ที่ฉีดวัคซีนโควิด-19 ที่ผลิตโดยบริษัทซิโนฟาร์ม (Sinopharm) จากจีน ครบ 2 เข็มแล้วรออีก 6 เดือนหลังจากนั้นให้มาเข้ารีบวัคซีนเข็มที่ 3 เพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกันให้ดียิ่งขึ้นเป็นBooster Shot’ หนึ่งในกลยุทธ์ ‘เชิงรุก’ ต่อสู้กับโรคระบาด

เมื่อต้นเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้อนุมัติให้ใช้วัคซีนโควิด-19 ของซิโนฟาร์ม เป็นการฉุกเฉิน นับเป็นวัคซีนชนิดที่ 5 ของโลก เเละเป็นชนิดเเรกจากฝั่งเอเชีย ที่ได้รับไฟเขียวจาก WHO

ซิโนฟาร์มพัฒนาโดย China National Pharmaceutical Group ของรัฐบาลจีน ซึ่งใช้ฉีดเป็นตัวหลักของประเทศ เเละส่งไปยังประเทศกำลังพัฒนาอื่นๆ

สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เผยผลการทดลองวัคซีนซิโนฟาร์ม ระยะที่ 3 พบว่ามีประสิทธิภาพ 86% แต่การประกาศดังกล่าวมีรายละเอียดเพียงเล็กน้อย และไม่ได้เปิดเผยว่าตัวเลข 86% นั้นมีการคำนวณอย่างไร

Photo : Shutterstock

ตอนนี้ ข้อกังวลถึงความรวดเร็วในการกระจายวัคซีนเกิดขึ้นอีกครั้ง เมื่อประเทศ ‘เซเชลส์’ หมู่เกาะในมหาสมุทรอินเดีย ซึ่งมีอัตราการฉีดวัคซีนมากที่สุดในโลก เเต่ต้องเผชิญกับการระบาดของ COVID-19 ครั้งใหม่ แม้แต่ผู้ที่ได้รับการฉีดวัคซีนครบถ้วนทั้ง 2 โดสก็ยังติดเชื้อ

ซึ่งผู้อยู่อาศัยในเซเชลส์ส่วนใหญ่กว่า 57% ฉีดวัคซีนซิโนฟาร์ม ส่วนอีก 43% ฉีดแอสตราเซเนกา หรือ ‘Covishield’ ซึ่งเป็นเวอร์ชันที่ผลิตในอินเดีย

UAE อยู่ในกลุ่มประเทศที่สามารถกระจายวัคซีนได้เร็วที่สุด เมื่อเทียบกับอัตราประชากร โดยเลือกใช้วัคซีนของซิโนฟาร์มเป็นหลัก เพราะเป็นวัคซีนที่ได้ร่วมทุนพัฒนากับจีน โดย UAE ยังเป็นฐานการผลิตที่อยู่นอกจีนแห่งแรกด้วย

ขณะเดียวกัน ก็มีการขยายวัคซีนทางเลือกให้ประชาชนทั้งจาก ไฟเซอร์/ไบโอเอ็นเทค แอสตราเซเนกา และสปุตนิกวี

โดยยอดผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนาของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เคยพุ่งสูงสุด 4,000 ตัวต่อวันในช่วงปลายเดือนมกราคม แต่ลดลงเหลือน้อยกว่า 1,500 รายต่อวัน หลังมีมาตรการควบคุมที่เข้มงวดเเละเร่งฉีดวัคซีน ทำให้ขณะนี้เมืองสำคัญอย่างดูไบกลายเป็นพื้นที่แรกๆ ในโลก ที่กลับมาดำเนินธุรกิจท่องเที่ยวและจัดประชุมสัมมนาได้

ในช่วงปลายเดือนเมษายน สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ประกาศว่าจะมีการพิจารณาใช้มาตรการที่เข้มงวด เพื่อจำกัดการเดินทางของผู้ที่ไม่ได้รับการฉีดวัคซีนโควิด-19 เพื่อรณรงค์ให้ผู้คนหันมาฉีดวัคซีน ซึ่งตอนนี้มีการฉีดไปเเล้วเกือบ 11.5 ล้านโดส จากจำนวนประชากรทั้งหมดราว 10 ล้านคน

 

 

ที่มา : CNBC , Alarabiya , Reuters 

]]>
1333006
กรณีศึกษา ‘เซเชลส์’ ประเทศที่ฉีดวัคซีนมากสุดในโลก แต่โควิดกลับระบาดอีกรอบ https://positioningmag.com/1332399 Mon, 17 May 2021 04:55:43 +0000 https://positioningmag.com/?p=1332399 ‘องค์การอนามัยโลก’ (WHO) กำลังศึกษาถึงกรณีประเทศ ‘เซเชลส์’ ซึ่งเป็นหมู่เกาะในมหาสมุทรอินเดีย ซึ่งมีอัตราการฉีดวัคซีนมากที่สุดในโลก แต่ตอนนี้กำลังเผชิญกับการระบาดของ COVID-19 ครั้งใหม่ แม้แต่ผู้ที่ได้รับการฉีดวัคซีนครบถ้วนก็ติดเชื้อ

‘เซเชลส์’ ถือว่าเป็นประเทศที่ประสบความสำเร็จอย่างมากในการฉีดวัคซีน โดยมีอัตราผู้ที่ได้รับวัคซีน COVID-19 ถึง 60% มากที่สุดในโลก มากกว่าอิสราเอลและสหราชอาณาจักร โดย 57% ฉีดวัคซีน ‘Sinopharm’ ของจีน ที่เพิ่งได้รับการอนุมัติให้ใช้ในกรณีฉุกเฉินโดย WHO ส่วนอีก 43% ฉีด ‘AstraZeneca shot’ หรือ ‘Covishield’ ซึ่งเป็นเวอร์ชันที่ผลิตในอินเดีย โดยรวมแล้วเซเชลส์ที่มีประชากรมากกว่า 97,000 คน มีสถิติผู้ป่วยต่ำกว่า 8,200 ราย เสียชีวิต 28 ราย

อย่างไรก็ตาม เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมากระทรวงสาธารณสุขของเซเชลส์รายงานจำนวนผู้ป่วยเพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยมีผู้ป่วยรายใหม่ 120 รายในวันที่ 30 เมษายน และมีผู้ป่วยมากกว่า 300 ราย ในวันที่ 7-8 พฤษภาคมตามลำดับ และมีผู้ติดเชื้อใหม่ถึง 500 รายภายในวันเดียว อย่างไรก็ตาม ผู้ติดเชื้อ 63% ไม่ได้รับการฉีดวัคซีนหรือฉีดเพียงครั้งเดียว และ 37% ได้รับวัคซีนครบโดสแล้ว โดย 80% ของผู้ป่วยต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล แต่ผู้ที่ฉีดวัคซีนครบยังไม่มีผู้ใดเสียชีวิต

(Photo by Valery SharifulinTASS via Getty Images)

มีการคาดการณ์ว่าการระบาดรอบใหม่มาจากนักท่องเที่ยวหรือไม่ เนื่องจากเซเชลส์เป็นหนึ่งในประเทศที่พึ่งพิงภาคการท่องเที่ยวเป็นอย่างมาก ธนาคารโลก (Wolrd Bank) ระบุว่า การเติบโตทางเศรษฐกิจของเซเชลส์ลดลง 13.5% ในปี 2020 ที่ผ่านมา ดังนั้น หลังจากดำเนินมาตรการคุมเข้มเกี่ยวกับการเดินทางข้ามพรมแดนประเทศมานานเกือบ 1 ปี เซเชลส์ก็ได้เปิดรับนักท่องเที่ยวอีกครั้ง หลังจากมีการฉีดวัคซีนให้คนในประเทศ ตั้งแต่วันที่ 25 มีนาคมที่ผ่านมา

โดยนักท่องเที่ยวที่จะเดินทางมายังเซเชลส์ไม่จำเป็นต้องฉีดวัคซีนถึงจะเดินทางเข้าประเทศได้ แต่ต้องแสดงผลการตรวจหาการติดเชื้อ (PCR) ที่แสดงผลเป็นลบ ยืนยันว่าไม่พบการติดเชื้อไม่เกิน 72 ชั่วโมงก่อนเดินทาง และจากการระบาดดังกล่าวทำให้รัฐบาลออกมาจำกัดการพบปะสังสรรค์และการเว้นระยะห่างในพื้นที่สาธารณะเพื่อลดการติดเชื้อ ส่วนนักท่องเที่ยวยังคงเปิดรับตามเดิม

(Photo by Sergei FadeichevTASS via Getty Images)

เคท โอไบรอัน ผู้อำนวยการด้านการสร้างภูมิคุ้มกันวัคซีนและชีวภาพขององค์การอนามัยโลก กล่าวว่า สถานการณ์ดังกล่าวเป็นสถานการณ์ที่ซับซ้อนมาก จำเป็นต้องมีการประเมินอย่างละเอียด โดยเฉพาะ ‘สายพันธุ์ที่แพร่กระจาย’

“การประเมินเท่านั้นที่เราจะดูได้ว่ามันเป็นความล้มเหลวของวัคซีนหรือไม่หรือไม่”

อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ที่ชาวเกาะเผชิญอยู่เป็นเครื่องเตือนใจว่า ไม่มีวัคซีนที่ใช้อยู่ในปัจจุบันได้รับการพิสูจน์แล้วว่ามีประสิทธิภาพ 100% ในการป้องกันการติดเชื้อ COVID -19 แต่มีประสิทธิผลอย่างมากในการป้องกันการติดเชื้ออย่างรุนแรง และลดการเสียชีวิต

ทั้งนี้ WHO เตือนซ้ำว่าการฉีดวัคซีนเพียงอย่างเดียวไม่เพียงพอที่จะหยุดยั้งการระบาดของโรคได้ แต่ควรเป็นอาวุธอื่นในคลังแสงเพื่อต่อสู้กับไวรัส ส่วนการเว้นระยะห่างทางสังคมตลอดจนสุขอนามัยส่วนบุคคลที่ดียังคงถูกมองว่าเป็นพื้นฐานของการป้องกันการแพร่กระจาย

Source

]]>
1332399