Wealth Management – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Tue, 19 Mar 2024 05:05:50 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ‘ทิสโก้’ เปิดตัว ‘TISCO My Goal’ โปรแกรมออกแบบแผนการเงิน เตรียมขยาย Advisory Branch เน้นลูกค้ามั่งคั่งสูง https://positioningmag.com/1466709 Tue, 19 Mar 2024 01:37:36 +0000 https://positioningmag.com/?p=1466709 ทิสโก้ (TISCO) เปิดตัวแอปพลิเคชัน ‘TISCO My Goal’ โปรแกรมออกแบบแผนการเงิน ทำให้ลูกค้าสามารถไปถึงเป้าหมายทางการเงินได้ ไม่ได้จำกัดแค่มนุษย์เงินเดือน ขณะเดียวกันก็เตรียมขยาย Advisory Branch เน้นกลุ่มลูกค้าความมั่งคั่งสูง

พิชา รัตนธรรม ประธานเจ้าหน้าที่ธุรกิจธนบดี และบริการธนาคาร ธนาคารทิสโก้ จำกัด (มหาชน) ได้กล่าวถึงนวัตกรรมการแพทย์ก้าวหน้าทำให้อายุเฉลี่ยของคนทั่วโลกมีแนวโน้มยืนยาวขึ้น ซึ่งผลที่เกิดขึ้นทำให้คนไทยมีอายุที่ยืนยาวมากกว่าเดิม อย่างไรก็ดีคนไทยจำนวนไม่น้อยกลับมีปัญหาเรื่องการวางแผนการเงินที่ถูกต้อง เนื่องจากค่ารักษาพยาบาลกลับสูงมากขึ้น

ด้วยสาเหตุดังกล่าวทำให้ ธนาคารทิสโก้ ต้องการเข้ามาที่จะเป็นผู้ช่วยการวางแผนทางการเงิน โดยชู 3 ประเด็นใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง เพิ่มความพร้อมด้านการเงิน ผ่านผลิตภัณฑ์ทางการเงิน อย่างเช่น ประกันชีวิต ประกันสุขภาพ ไปจนถึงประกันบำนาญ สนับสนุนเรื่องการดูแลสุขภาพ รวมถึง เพิ่มความพร้อมด้านที่อยู่อาศัยวัยเกษียณ

นอกจากนี้ธนาคารฯ​ ยังได้พัฒนา TISCO My Goal โปรแกรมวางแผนการเงินที่ครอบคลุมทั้งกองทุน ประกัน เงินฝาก รวมถึงวางแผนมรดกให้แก่ทายาท ซึ่งจะเป็นเครื่องมือช่วยให้เจ้าหน้าที่ธนกิจส่วนบุคคล (RM) นำไปใช้ออกแบบแผนการเงินเพื่อการเกษียณให้ตรงตามความต้องการของลูกค้าแต่ละราย หรือแม้แต่ลูกค้าจะสามารถนำไปวางแผนการเงินเบื้องต้นผ่านเว็บไซต์ หรือผ่านแอปพลิเคชัน TISCO My Wealth หรือแม้แต่ช่องทาง LINE OA TISCO Advisory

ประธานเจ้าหน้าที่ธุรกิจธนบดี และบริการธนาคาร ของธนาคารทิสโก้ ยังได้กล่าวว่าทาง TISCO เตรียมที่จะเปิดสาขาให้บริการที่ปรึกษาทางการเงิน หรือ Advisory Branch เพื่อให้บริการลูกค้าความมั่งคั่งสูง โดยเจ้าหน้าที่ RM ของธนาคารทิสโก้ทุกรายได้รับใบอนุญาตผู้แนะนำการลงทุน (IC License) และธนาคารทิสโก้ยังส่งเสริมให้เจ้าหน้าที่ RM ทุกสาขาได้รับคุณวุฒิที่ปรึกษาการเงิน (AFPT®) และนักวางแผนการเงิน (CFP®) อีกด้วย

สำหรับสาขาแรกของ Advisory Branch จะอยู่ที่สำนักงานใหญ่ของธนาคารทิสโก้ ซึ่งจะมีกำหนดเปิดภายในเดือนมีนาคมนี้ ก่อนที่จะมีการขยายสาขาไปยังที่ต่างๆ ในภายหลัง นอกจากนี้ใน Advisory Branch ยังจะมีการจัดกิจกรรมให้ความรู้ในเรื่องการเงิน ด้านสุขภาพ หรือแม้แต่ด้านไลฟ์สไตล์อย่างสม่ำเสมอ

ในด้านที่ปรึกษาทางการเงิน ธนาคารยังได้ชูจุดแข็งถึงการจัดทำบทวิเคราะห์จากศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจและกลยุทธ์ทิสโก้ (TISCO ESU) และยังรวมถึงบทวิเคราะห์ที่แนะนำการลงทุนสินทรัพย์ทั่วโลกที่เป็นภาษาไทยให้กับลูกค้า และยังรวมถึงโมเดลธุรกิจ Open Architecture ที่สามารถนำเสนอผลิตภัณฑ์การเงินแบบไม่จำกัดค่าย จะทำให้ลูกค้าได้ผลประโยชน์สูงสุด

โดย TISCO ได้ตั้งเป้าขององค์กรที่จะเป็น Top Advisory และมีสินทรัพย์ภายใต้การจัดการ (AUM) เพิ่มขึ้น ในปี 2024 ราวๆ 10-15% 

]]>
1466709
UBS ตัดสินใจปิดธุรกิจบริหารความมั่งคั่ง รวมถึงธุรกิจหลักทรัพย์ของ Credit Suisse ในประเทศไทย https://positioningmag.com/1449017 Tue, 24 Oct 2023 05:57:10 +0000 https://positioningmag.com/?p=1449017 ยูบีเอส สถาบันการเงินรายใหญ่ ได้ประกาศปิดธุรกิจบริหารความมั่งคั่ง รวมถึงธุรกิจหลักทรัพย์ของ เครดิตสวิสในประเทศไทยลง โดยการปรับโครงสร้างดังกล่าวนั้นมาจากเรื่องการควบรวมกิจการเครดิตสวิส

ยูบีเอส (UBS) สถาบันการเงินรายใหญ่จากสวิตเซอร์แลนด์ หลังจากที่ได้ควบรวมกิจการของเครดิตสวิส (Credit Suisse) เป็นที่เรียบร้อยแล้วนั้น ล่าสุดได้ปรับโครงสร้างธุรกิจในทวีปเอเชียใหม่ โดยล่าสุดตัดสินใจปิดบริการธุรกิจบริหารความมั่งคั่ง (Wealth Management) รวมถึงธุรกิจหลักทรัพย์ของ Credit Suisse ในไทยลงหลังจากซื้อกิจการสำเร็จ

การปิดธุรกิจ Wealth Management นั้นจะทำให้ลูกค้าของ UBS (หรือ Credit Suisse เดิม) สามารถเลือกว่าจะโอนพอร์ตการลงทุนไปยังประเทศสิงคโปร์ หรือเลือกที่จะใช้บริการโดยทำงานร่วมกับสถาบันการเงินที่เป็นคนกลางต่อ ซึ่งในรายงานข่าวนั้นไม่ได้ระบุถึงสถาบันการเงินรายใดในไทย

ผลกระทบดังกล่าวนั้นยังกระทบต่อ Private Banker ที่ทำงานกับ Credit Suisse ในประเทศไทยราวๆ 10-11 คนด้วย

สำหรับธุรกิจ Wealth Management ของ Credit Suisse ได้เปิดบริการในประเทศไทยตั้งแต่ปี 2016 เป็นต้นมา

ขณะเดียวกัน UBS ก็ได้ปิดธุรกิจหลักทรัพย์ของ Credit Suisse ในประเทศไทยลงด้วย ซึ่งก่อนหน้านี้ 2-3 เดือนที่ผ่านมาทาง Credit Suisse ได้ยกเลิกการออกบทวิเคราะห์หุ้นในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยทั้งหมด โดยให้เหตุผลถึงเรื่องของการควบรวมกิจการของ UBS ในช่วงที่ผ่านมา

ตัวแทนของ UBS ได้กล่าวกับ Hubbis ยืนยันถึงการปิดธุรกิจ Wealth Management ในประเทศไทย โดยเน้นว่าสถาบันการเงินรายนี้ยังให้บริการผ่านที่ประเทศสิงคโปร์ และยังมองว่าตลาดในประเทศไทยยังมีความสำคัญและยกระดับการให้บริการลูกค้าผ่านประเทศสิงคโปร์ 

ที่มา – Hubbis, Asian Private Banker, Funds Global Asia

]]>
1449017
HSBC ซื้อธุรกิจบริหารความมั่งคั่งของลูกค้ารายย่อยในจีนจาก Citi คาดปิดดีลเสร็จครึ่งปีแรกของปี 2024 https://positioningmag.com/1447657 Wed, 11 Oct 2023 12:48:01 +0000 https://positioningmag.com/?p=1447657 เอชเอสบีซีได้ประกาศซื้อธุรกิจบริหารความมั่งคั่งของลูกค้ารายย่อยในจีนจาก Citi โดยไม่ได้ระบุมูลค่าการซื้อกิจการ ซึ่งเป็นกลยุทธ์ของเอชเอสบีซีที่วางแผนขยายธุรกิจเพิ่มในทวีปเอเชีย คาดว่าดีลดังกล่าวจะแล้วเสร็จภายในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2024 ได้

เอชเอสบีซี (HSBC) สถาบันการเงินรายใหญ่ ได้ประกาศเข้าซื้อธุรกิจบริหารความมั่งคั่งของลูกค้ารายย่อยในประเทศจีนของ Citi โดยไม่ได้ระบุมูลค่าการเข้าซื้อกิจการแต่อย่างใด ซึ่งสถาบันการเงินรายดังกล่าวตั้งเป้าที่จะรุกธุรกิจการเงินในทวีปเอเชียเพิ่มมากขึ้น

ดีลดังกล่าว HSBC จะได้พอร์ตธุรกิจบริหารความมั่งคั่งของลูกค้ารายย่อยใน 11 มณฑลในประเทศจีน มีทรัพย์สินภายใต้การดูแลรวมถึงเงินฝากเป็นมูลค่า 3,600 ล้านเหรียญสหรัฐ

สาเหตุสำคัญที่ทำให้ Citi ต้องออกจากธุรกิจกลุ่มลูกค้ารายย่อยของจีนเนื่องจากแรงกดดันจากคู่แข่งนั่นก็คือธนาคารในประเทศจีนหลายแห่ง นอกจากนี้ยังรวมถึงคู่แข่งอย่างธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ดที่มีสาขาในประเทศจีน ซึ่งคู่แข่งเหล่านี้ก็มีบริการบริหารความมั่งคั่งให้กับลูกค้ารายย่อยเช่นกัน

ก่อนหน้านี้ในเดือนเมษายนปี 2021 ทาง Citi ประกาศแผนออกจากธุรกิจกลุ่มลูกค้ารายย่อยของจีน โดยเป็นส่วนหนึ่งของการปรับปรุงกลยุทธ์ของสถาบันการเงินรายดังกล่าว โดยธุรกิจดังกล่าวในจีนได้ให้บริการลูกค้ามั่งคั่งเป็นหลักด้วยการนำเสนอผลิตภัณฑ์เงินฝาก กองทุน หรือผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่เกี่ยวข้อง

นอกจากนี้แผนการดังกล่าวของ Citi ที่ได้ประกาศออกจากธุรกิจกลุ่มลูกค้ารายย่อยในจีนนั้นยังรวมถึงในประเทศไทยที่ธุรกิจดังกล่าวได้ UOB ซื้อธุรกิจดังกล่าวไปในท้ายที่สุด ซึ่งดีลล่าสุดนี้ทำให้ Citi ขายธุรกิจไปแล้วถึง 9 แห่ง ไม่ว่าจะเป็นจีน ไทย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ ออสเตรเลีย บาห์เรน อินเดีย ไต้หวัน เวียดนาม

Citi ได้กล่าวในแถลงการณ์ว่า กลยุทธ์ดังกล่าวนั้นทำให้โครงสร้างของ Citi นั้นดูเรียบง่ายมากขึ้น นอกจากนี้การขายธุรกิจดังกล่าวในจีนยังเหมาะสมกับลูกค้าที่อยู่ในประเทศจีน ซึ่งหลังจากนี้พนักงานกว่า 400 รายจะโอนย้ายไปเป็นพนักงานของ HSBC หลังจากนี้

หลังจากนี้ Citi ได้กล่าวว่าเตรียมที่จะปิดดีลการขายธุรกิจในอินโดนีเซียภายในปีนี้ และเตรียมที่จะนำธุรกิจในประเทศเม็กซิโกเข้าระดมทุนในตลาดหุ้นด้วย ซึ่งการปรับโครงสร้างดังกล่าวถือเป็นหนึ่งในแผนของ Jane Fraser ซึ่งเป็น CEO ที่ต้องการทำให้สถาบันการเงินรายนี้มีโครงสร้างเรียบง่ายขึ้น

ตรงข้ามกับกลยุทธ์ของ HSBC ที่วางแผนขยายธุรกิจเพิ่มในทวีปเอเชีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งธุรกิจบริหารความมั่งคั่งที่สถาบันการเงินรายนี้ได้รุกธุรกิจดังกล่าวอย่างหนักในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2023 มีเม็ดเงินเข้าในธุรกิจดังกล่าวมากถึง 27,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งเม็ดเงินดังกล่าวเติบโตมากถึง 21% เมื่อเทียบกับปี 2022 ที่ผ่านมา

คาดว่าดีลดังกล่าวจะแล้วเสร็จภายในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2024 และทาง Citi เองได้กล่าวว่าหลังจากนี้จะให้บริการลูกค้าชาวจีนที่มีความมั่งคั่งสูงผ่านสาขาในประเทศสิงคโปร์และฮ่องกงแทน

]]>
1447657
5 ล้านคนทั่วโลก ขึ้นแท่น ‘เศรษฐีเงินล้าน’ จากเเรงหนุนตลาดหุ้น ราคาบ้าน-ที่ดิน ‘เเพงขึ้น’ https://positioningmag.com/1338449 Thu, 24 Jun 2021 08:42:28 +0000 https://positioningmag.com/?p=1338449 ผู้คนทั่วโลกกว่า 5 ล้านคน ขึ้นเเท่นเป็นเศรษฐีท่ามกลางวิกฤตเศรษฐกิจที่รุนเเรงที่สุดในรอบศตวรรษ ด้วยเเรงสนับสนุนของตลาดหุ้น บ้านเเละที่ดิน ปรับราคาเเพงขึ้น

งานวิจัยความมั่งคั่งของประชากรโลก หรือGlobal Wealth Reportฉบับล่าสุด โดย Credit Suisse ระบุว่า ปี 2020 ที่ผ่านมา จำนวนเศรษฐีเงินล้าน (Millionaires) เพิ่มขึ้น 5.2 ล้านคน เป็น 56.1 ล้านคนทั่วโลก ขณะที่คนยากจนยิ่งจนลงเรื่อยๆ ในช่วงโรคระบาดโควิด-19

โดยประชากรวัยผู้ใหญ่มากกว่า 1% ก้าวสู่สังคมเศรษฐีเงินล้านเป็นครั้งแรก จากปัจจัยการฟื้นตัวของตลาดหุ้นและราคาบ้านและที่ดินที่ปรับตัวสูงขึ้น ช่วยเพิ่มมูลค่าทรัพย์สินให้คนเหล่านี้

Anthony Shorrocks นักเศรษฐศาสตร์และผู้เขียนรายงานฉบับนี้ กล่าวว่า การระบาดใหญ่ส่งผลกระทบระยะสั้นต่อตลาดมั่งคั่ง

โดยเห็นได้ว่า ช่วงครึ่งปีแรกของปี 2020 ตลาดหุ้นตกอยู่ในภาวะขาลงก่อนที่จะพลิกกลับมาเติบโตได้ในช่วงครึ่งปีหลัง นับตั้งแต่เดือนมิถุนายนเป็นต้นมา

ไม่ใช่เเค่ทรงตัวได้เมื่อยามเผชิญวิกฤต เเต่ตลาดมั่งคั่งทั่วโลก กลับเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงครึ่งปีหลัง

อย่างไรก็ตาม มีประเด็นที่น่าสนใจ คือ แม้จะมีเศรษฐีเพิ่มมากขึ้น แต่งานวิจัยก็พบว่า หากตัดปัจจัยด้าน ‘อสังหาริมทรัพย์’ ออกไปความมั่งคั่งของครัวเรือนทั่วโลกก็อาจจะลดลง โดยคนที่รวยเเค่ระดับมีกินมีใช้ส่วนใหญ่อยู่ในระดับเท่าเดิมเเละหลายรายน้อยลงกว่าเดิม

การกระตุ้นเศรษฐกิจของบรรดาธนาคาร ส่งผลให้ราคาอสังหาริมทรัพย์เพิ่มขึ้น และตลาดหุ้นขยับขึ้น เเต่หากต่อไปมีการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ย มูลค่าสินทรัพย์เหล่านี้ก็จะลดลงตามไปด้วย

จากผลวิจัยโดยรวม พบว่า ในปี 2020 ความมั่งคั่งทั่วโลก เติบโตที่ 7.4% และนับตั้งแต่ต้นศตวรรษที่ 21 ประชาชนผู้ถือครองทรัพย์สิน ระหว่าง 10,000-100,000 ดอลลาร์สหรัฐ มีจำนวนเพิ่มขึ้นเป็น 3 เท่าจาก 507 ล้านคนในปี 2000 มาอยู่ที่ 1,700 ล้านคนในช่วงกลางปี 2020

การขยายตัวนี้ สะท้อนให้เห็นการเติบโตทางเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ โดยเฉพาะจีน ที่มีการขยายตัวของชนชั้นกลางมากที่สุดในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา

ขณะเดียวกัน นโยบายเเละกฎระเบียบของภาครัฐ เเละการลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางทั่วโลกในช่วงโรคระบาด ก็มีส่วนสำคัญที่ช่วยสนับสนุนให้เกิดการกระจายรายได้ทั่วถึงมากขึ้น

Nannette Hechler-Fayd’herbe หัวหน้าสายงานด้านการลงทุนของ Credit Suisse ให้ความเห็นว่า นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลต่างๆ เเม้จะช่วยพยุงเศรษฐกิจให้เดินหน้าในช่วงวิกฤต เเต่ก็มีราคาที่ต้องจ่ายเเละต้องระมัดระวัง โดยขณะนี้ ระดับหนี้สาธารณะต่อ GDP ในหลายประเทศทั่วโลก ปรับตัวเพิ่มขึ้นมากกว่า 20%

 

ที่มา : BBC , Global Wealth Report

]]>
1338449
จับตา “เศรษฐีเอเชีย” ถือเงินสดเพิ่มขึ้นเป็น 40% รอโอกาสลงทุน หลังจบวิกฤต COVID-19 https://positioningmag.com/1296116 Wed, 09 Sep 2020 11:28:02 +0000 https://positioningmag.com/?p=1296116 สถานการณ์ COVID-19 ทำให้คนรวยในเอเชียถือเงินสดเพิ่มขึ้นเป็น 40% เพื่อรอโอกาสลงทุนในตลาดเงินและหุ้นนอกตลาด หลังวิกฤตโรคระบาดจบสิ้น

Joseph Poon หัวหน้าฝ่ายไพรเวท แบงกิ้งของ DBS Group สถาบันการเงินที่ดูเเลลูกค้ามั่งคั่งรายใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ให้สัมภาษณ์ว่า หลังการเเพร่ระบาดของ COVID-19 กลุ่มลูกค้านักลงทุนรายใหญ่ของธนาคาร ได้เพิ่มสัดส่วนการถือครองเงินสดเพิ่มขึ้น มาอยู่ที่ราว 40% ของพอร์ต จากเดิมเคยอยู่ที่ราว 30% ก่อนช่วงวิกฤต

การที่ลูกค้าถือเงินสดมากกว่าปกติ ถือเป็นปรากฏการณ์ที่น่าสนใจมาก โดยลูกค้าที่มีพอร์ตลงทุนอย่างน้อย 30 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ขึ้นไป เชื่อว่าตลาดจะมีโอกาสที่ดีในอนาคต หลังจาก COVID-19 หายไป

ผู้บริหารของ DBS เผยอีกว่า ตอนนี้กลุ่มลูกค้าเศรษฐีในเอเชีย กำลังพิจารณาที่จะลงทุนในสินทรัพย์ทางการเงิน ธุรกิจอีคอมเมิร์ซ ธุรกิจโลจิสติกส์ เเละบางคนเริ่มวางแผนที่จะลงทุนต่อในธุรกิจส่วนตัว หรือขยายธุรกิจร่วมกับพันธมิตร

Photo : Shutterstock

จากข้อมูลที่รวบรวมโดย Bloomberg ระบุว่า หุ้นนอกตลาด (Private Equity Firm) ถือเงินสดอยู่ถึง 1.6 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ หลังจากเกิด COVID-19 ทำให้ต้องหยุดการตกลงซื้อขายหุ้น

อย่างไรก็ตาม การถือเงินสดจำนวนมาก อาจทำให้ลูกค้าพลาดโอกาสที่จะลงทุนในตลาดหุ้นในช่วงที่ผ่านมา โดยดัชนี MSCI AC Asia Pacific เพิ่มขึ้นประมาณ 43% นับตั้งแต่ระดับต่ำสุดในเดือนมีนาคม

สำหรับธุรกิจของ DBS Private Bank ในช่วง 6 เดือนแรกของปีนี้ มีเงินไหลเข้าสุทธิเพิ่มขึ้น 2 เท่า เป็น 5 พันล้านดอลลาร์สิงคโปร์ โดยเงินทุนเหล่านี้ มาจากหลายเเห่ง ทั้งจากธุรกิจครอบครัวในอเมริกา ยุโรปและที่อื่นๆ ที่มองว่าสิงคโปร์เป็นประเทศที่มีการบังคับใช้กฎหมายที่แข็งเเกร่ง

เเม้ในช่วงวิกฤต COVID-19 จะเจอมรสุมเศรษฐกิจหนักหนาสาหัส เเต่ตลาดกลุ่ม “ลูกค้ามั่งคั่ง” ยังเนื้อหอมเสมอ เป็นโอกาสของธุรกิจ Wealth Management หรือ Private Banking จะเข้ามาเจาะใจลูกค้ากระเป๋าหนัก

ปัจจุบัน DBS Private Bank ให้บริการลูกค้าที่มีสินทรัพย์อย่างน้อย 5 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ (ราว 114 ล้านบาท) ณ สิ้นเดือนมิถุนายน มีอัตราการเติบโตจากปีที่แล้ว 7% ขณะเดียวหัน DBS กำลังจะขยายตลาดนอกสิงคโปร์ เเละตั้งเป้าหมายที่จะเพิ่มทรัพย์สิน 2 เท่าตัว โดยในไทยตั้งเป้าจะเพิ่มขึ้นเป็น 8 พันล้านดอลลาร์สิงคโปร์ ให้ได้ภายในปี 2023 นอกจากนี้ ธนาคารยังต้องการขยายธุรกิจในฟิลิปปินส์ด้วย 

ทั้งนี้ ภาพรวมธุรกิจบริหารความมั่งคั่งของไทย โดยเฉพาะกลุ่มลูกค้าที่มีสินทรัพย์เกิน 100 ล้านบาทขึ้นไป มีการเติบโตในอัตราสูงในช่วงหลายปีที่ผ่านมา จากรายงานปี 2019 มูลค่าความมั่งคั่งของกลุ่มนี้มีถึง 10 ล้านล้านบาท เติบโตขึ้นประมาณ 9.9%

 

ที่มา : SCMP , Bloomberg

 

 

]]>
1296116
เปิดบ้าน SCB Julius Baer เรื่องน่ารู้ธุรกิจดูแลพอร์ตลงทุน “เศรษฐีไทย” เข้าได้ต้องมี 100 ล้าน https://positioningmag.com/1294675 Mon, 31 Aug 2020 14:17:06 +0000 https://positioningmag.com/?p=1294675 ในช่วงวิกฤต COVID-19 จะเจอมรสุมเศรษฐกิจหนักหนาสาหัส เเต่ตลาดกลุ่มลูกค้ามั่งคั่งยังเนื้อหอมเสมอ

ภาพรวมธุรกิจบริหารความมั่งคั่งของไทย โดยเฉพาะกลุ่มลูกค้าที่มีสินทรัพย์เกิน 100 ล้านบาทขึ้นไป มีการเติบโตในอัตราสูงในช่วงหลายปีที่ผ่านมา จากรายงานปี 2019 มูลค่าความมั่งคั่งของกลุ่มนี้มีถึง 10 ล้านล้านบาท เติบโตขึ้นประมาณ 9.9% จึงเป็นโอกาสของธุรกิจ Wealth Management หรือ Private Banking จะเข้ามาเจาะใจลูกค้ากระเป๋าหนัก ที่กำลังมองหาโอกาสการลงทุนในตลาดต่างประเทศ ซึ่งตอนนี้ได้ผลตอบเเทนมากกว่าในไทย

ล่าสุดกับการจับมือของ ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) และ จูเลียส แบร์ (Julius Baer) กลุ่มธุรกิจบริการ Private Banking รายใหญ่จากสวิตเซอร์แลนด์ ที่ดำเนินธุรกิจใน 20 ประเทศทั่วโลก เปิดตัว บริษัทหลักทรัพย์ ไทยพาณิชย์ จูเลียส แบร์ จำกัด (SCB Julius Baer) ด้วยทุนจดทะเบียน 1,800 ล้านบาท โดย SCB ถือหุ้นใหญ่ 60% ส่วนจูเลียส แบร์ ถือหุ้น 40% ได้รับใบอนุญาตจาก ก...ในการประกอบธุรกิจนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์และธุรกิจจัดการกองทุนส่วนบุคคล มาตั้งเเต่ช่วงกลางปี 2019 เพื่อดูเเลการลงทุนของเหล่าเศรษฐีเมืองไทย

ส่วนตอนนี้หากใครเเวะเวียนไปเเถวถนนสุขุมวิท ก็จะได้เห็นอาคารที่ตกเเต่งด้วยสถาปัตยกรรมร่วมสมัย สไตล์ยูเรเชียตั้งอยู่โดดเด่น ซึ่งคือสำนักงานแห่งแรกในเมืองไทยของ ไทยพาณิชย์ จูเลียส แบร์ หรือ SCB Julius Baer นั่นเอง โดยเปิดให้บริการลูกค้าเป็นที่เรียบร้อยเเล้ว หลังต้องชะลอการเปิดไปเมื่อช่วงต้นปี เพราะสถานการณ์ COVID-19

วันนี้เราจะมารู้จัก SCB Julius Baer ให้มากขึ้นกับ ลลิตภัทร ธรณวิกรัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์ไทยพาณิชย์ จูเลียส แบร์ จำกัด ทั้งเรื่องกลยุทธ์เจาะลูกค้ามั่งคั่งระดับไฮเอนด์และแผนธุรกิจต่อไป รวมถึงพาชมบรรยากาศภายในเเบบเอ็กซ์คลูซีฟ

เจาะเศรษฐีไทย สินทรัพย์เริ่มต้น 100 ล้าน

เราจะเห็นว่าคนรวยในโลกเพิ่มขึ้นทุกปี แม้ในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ คนรวยจะลดลงราว 6-8% แต่ก็จะเห็นว่ามีคนบางกลุ่มที่รวยเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะฝั่งเอเชียที่แนวโน้มจะมีกลุ่มลูกค้าความมั่งคั่งระดับสูงจะเพิ่มมากขึ้นซีอีโอ SCB Julius Baer กล่าว

ท่ามกลางสภาวะการลงทุนที่ยังมีความผันผวน เเต่ด้วยความหลากหลายที่มีอยู่ จึงถือเป็นโอกาสที่ดีเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะนักลงทุนที่มีความมั่งคั่งระดับสูงของเมืองไทย หรือที่เรียกว่ากลุ่ม Ultra High Net Worth Individuals – UHNWIs / High Net Worth Individuals – HNWIs

สำหรับผู้มีความมั่งคั่งตามนิยามของ SCB Julius Baer ที่จะมาเป็นลูกค้าได้นั้นจะต้องมีสินทรัพย์เพื่อการลงทุน (ไม่รวมบัญชีเงินฝากและที่อยู่อาศัยประจำ) เริ่มต้นที่ 100 ล้านบาท หรือราว 3 ล้านเหรียญสหรัฐขึ้นไป นับว่าเป็นขยายต่อยอดมาจากฐานลูกค้าของ SCB Private Banking ที่เป็นกลุ่มที่มีสินทรัพย์เพื่อการลงทุน 50 ล้านบาทขึ้นไป เเต่ SCB Julius Baer จะเน้นไปที่การลงทุนในต่างประเทศเพื่อไม่ให้มีการบริการทับซ้อนกัน

จากรายงานของ Wealth Report Thailand 2019 เปิดเผยภาพรวมตตลาด HNWIs และ UHNWIs ในเมืองไทย มีราย 13,000 – 14,000 ครอบครัว ถือครองสินทรัพย์รวมกว่า 10 ล้านล้านบาท 

ลลิตภัทร ธรณวิกรัย – ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์ ไทยพาณิชย์ จูเลียส แบร์ จำกัด

ลงทุนต่างประเทศ 100% มุ่งเเนว Next Generation

SCB Julius Baer จะให้บริการบริหารพอร์ตการลงทุนในตลาดเงินตลาดทุนต่างประเทศ 100% รวมถึงสินทรัพย์ทางเลือกอื่นๆ ไม่จำกัดเฉพาะการลงทุนผ่านกองทุนรวม หรือผลิตภัณฑ์การลงทุนจากสถาบันใดสถาบันหนึ่ง

มุมมองการลงทุน ซีอีโอ SCB Julius Baer ชี้ว่า หุ้นยังให้ผลตอบแทนที่ดีโดยเน้นไปที่ สหรัฐฯ กับจีน เป็นหลักซึ่งการลงทุนในจีนเหมือนเป็นการบาลานซ์พอร์ตการลงทุน อย่างไรก็ตาม ต้องเป็นไปตามต้องการของลูกค้าว่าจะเลือกตลาดไหน

โดยสัดส่วนการลงทุนที่แนะนำ คือ หุ้น 51% พันธบัตร 40% ตลาดเงิน 5% และการลงทุนในสินทรัพย์ทางเลือก เช่น ทองคำ น้ำมัน 4%  

สำหรับการลงทุนในช่วงนี้ SCB Julius Baer เเนะนำว่าควรจะมุ่งเน้นไปในเเนว Next Generation จากพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป การเติบโตของธุรกิจอีคอมเมิร์ซ เดลิเวอรี่ ความบันเทิงบนเเพลตฟอร์มออนไลน์ ส่วนภาคธุรกิจที่ควรหลีกเลี่ยง คือการท่องเที่ยว โรงเเรมเเละการบิน เพราะจะฟื้นตัวช้ากว่าที่คาด

สำหรับธุรกิจการลงทุน Wealth Management นั้นตอนนี้มีการเเข่งขันสูงมาก เพราะแต่ละปีจะมีปีที่ดีและไม่ดี ถ้าหากจะดูการบริหาร จะดูที่ค่ากลาง 5-7 ปี หรือ 10 ปีดูพอร์ตการลงทุนลูกค้าระยะยาว

ขณะที่ภาพรวมการลงทุนและเศรษฐกิจโลกในปี 2020 ยังคงเป็นปีที่เต็มไปด้วยความท้าทายสำหรับนักลงทุน เเต่เริ่มเห็นสัญญาณการฟื้นตัวจากดัชนีชี้นำทางเศรษฐกิจในไตรมาส และคาดว่า GDP โลกในปี 2021 จะฟื้นตัวขึ้นได้ที่ระดับ 6.5% จากเดิมที่น่าจะติดลบประมาณ 3% ในปีนี้

“เรามองว่าตลาดตราสารทุนมีความน่าสนใจมากกว่าตลาดสินทรัพย์ปลอดภัย โดยภูมิภาคที่เราเน้นการลงทุน คือ สหรัฐฯ และจีน”

ยึด 3 กลยุทธ์ลุย Wealth Management

กลยุทธ์การดูแลลูกค้าผู้มีความมั่งคั่งระดับสูงของไทยนั้น SCB Julius Baer ชู 3 ข้อหลักๆ ได้แก่

  • Expert Advisory การมีทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการลงทุนที่มีความรู้ เชี่ยวชาญ และมีประสบการณ์ รวมถึงบริการอันหลากหลายและความสามารถด้านการบริหารความมั่งคั่งที่ได้มาตรฐานของจูเลียส แบร์
  • Personal Touch บริการที่เข้าใจกลุ่มลูกค้าคนไทยอย่างแท้จริง ด้วย ผู้จัดการธุรกิจสัมพันธ์  Relationship Manager (RM) คนไทยที่มีความรู้ ความเข้าใจตลาดเมืองไทย เข้าใจความต้องการของลูกค้าทั้งในเชิงวัฒนธรรม วิถีชีวิตและแนวคิดของคนไทยด้วยกัน พร้อมที่จะให้บริการได้ทันทีเนื่องจากประจำอยู่ที่สำนักงานใหญ่ในประเทศไทย
  • Seamless Access การให้บริการผ่าน Open Product Platform ที่มาพร้อมผลิตภัณฑ์และบริการที่ดีที่สุด เพื่อช่วยให้ลูกค้าสามารถลงทุนได้ทั่วโลกอย่างอิสระ และสามารถกำหนดกลยุทธ์การลงทุนที่สร้างผลตอบแทนที่ดีที่สุด ตรงตามความต้องการของลูกค้าแต่ละราย

ปั้น RM เสริมทัพใหม่ ดูเเลลูกค้าวีไอพี 

ทีม Relationship Manager ที่จะมาดูแลพอร์ตการลงทุนของลูกค้าของ SCB Julius Baer จะต้องมีประสบการณ์เเละผ่านการเทรนนิ่งมาอย่างน้อย 6-12 เดือน ทำหน้าที่ให้ความรู้ ความเข้าใจ และแนะนำการลงทุนที่เหมาะสม โดยดูจากความต้องการผลตอบแทนการลงทุนของลูกค้า ซึ่งในช่วงปีแรกบริษัทมี RM ราว 10 คน เเละปีนี้จะขยายทีมเพิ่มเป็น 30 คน โดย 1 คนจะดูแลลูกค้า 30 คน

นอกจากนี้ SCB Julius Baer มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการดูแลลูกค้าแบบใหม่ที่เรียกว่า New Operating Rhythm – Single Relationship Manager แม้ว่า SCB Julius Baer จะเน้นการลงทุนต่างประเทศให้ลูกค้า แต่ถ้าลูกค้ามีความต้องการที่จะลงทุนในประเทศไทยด้วยทาง Relationship Manager ก็สามารถดูแลลูกค้าได้

ตั้งเป้า 5 ปีมีสินทรัพย์ดูแล 1 ล้านล้านบาท

สำหรับแผนธุรกิจ 5 ปี (2020-2024) ของ SCB Julius Baer วางเป้าหมายว่า จะมีฐานมีลูกค้า 1,000 ครอบครัว บริหารพอร์ตสินทรัพย์ลงทุน 1 ล้านล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 10% ของกลุ่มบุคคลผู้มีความมั่งคั่งระดับสูงของประเทศไทย โดยถึงสิ้นปีนี้คาดว่าจะทำได้ราว 20,000-24,000 ล้านบาท

โดยกลุ่มลูกค้ามั่งคั่งคนไทย ปกติจะมีการลงทุนที่หลากหลายทั้งในไทยเเละต่างชาติ ขึ้นอยู่ว่าจะเลือกใช้บริการกับเจ้าใดในด้านไหน ซึ่งซีอีโอ SCB Julius Baer บอกว่า จุดเด่นที่จะทำให้ดึงดูดให้ลูกค้าไว้วางใจที่นี่ ก็คือมาตรฐานการทำงาน ความน่าเชื่อถือของเเบรนด์ เเละผลตอบเเทนที่คุ้มค่า

“SCB Julius Baer ยังมีจุดเด่นด้านการให้คำแนะนำการวางแผนจัดการลงทุนสินทรัพย์ และแผนการส่งต่อของครอบครัวไปยังทายาท ซึ่งคาดว่าจะตอบโจทย์ความต้องการของเศรษฐีเมืองไทยได้เป็นอย่างดี

เปิดบ้าน : สำนักงานเเห่งแรกในไทย คอนเซ็ปต์ Private Luxx

ด้านบรรยากาศภายในของสำนักงานแห่งแรกในเมืองไทย SCB Julius Baer ที่เพิ่งเปิดไปหมาดๆ ใจกลางถนนสุขุมวิท นับเป็นสถาบันการเงินแห่งแรกในประเทศไทยที่ตัวอาคารก่อสร้าง ด้วยสถาปัตยกรรมร่วมสมัยสไตล์ยูเรเชีย จากเดิมเป็นธนาคารไทยพาณิชย์ ที่ได้รับการออกแบบและก่อสร้างใหม่ ผสมผสานความโดดเด่นของ ธนาคารไทยพาณิชย์สาขาตลาดน้อย และสำนักงานจูเลียส แบร์ ณ เมืองซูริก ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เข้าไว้ด้วยกัน 

จุดเด่นอยู่ที่ความหรูหราเเละเป็นส่วนตัว ภายใต้คอนเซ็ปต์ Private Luxx” มีการแบ่งพื้นที่ใช้สอยให้มีลักษณะกึ่งเรสซิเดนท์ เเละตั้งชื่อห้องประชุมตามเมืองที่เป็นสาขาของจูเลียส แบร์ทั่วโลก ซึ่งจะมีการตกเเต่งที่เเตกต่างกันไปตามสถานที่นั้นๆ โดยลูกค้าสามารถเข้ามาใช้บริการเพื่อพูดคุยธุรกิจ หรือเเวะมาพักผ่อนได้ตามอัธยาศัย 

สำนักงานของ SCB Julius Baer เเห่งนี้ จะไม่มีประตูทางเข้าด้านหน้าเหมือนสาขาทั่วไป เเต่จะมีประตูเเละลิฟต์พิเศษเพื่อบริการลูกค้าโดยเฉพาะ เเละต้องทำการนัดหมายก่อน โดยจะมี RM เป็นผู้ดูแล ซึ่งเเน่นอนไม่ใช่ใครจะเข้ามาก็ได้ เเต่ต้องลูกค้าวีไอพี ผู้มีความมั่งคั่งถือสินทรัพย์ระดับ 100 ล้านบาทขึ้นไปนั่นเอง

]]>
1294675