ไลฟ์สไตล์ของวัยรุ่นยุคดิจิตอล นับวันยิ่งแน่นแฟ้นกับโลกออนไลน์

เป็นที่รู้กันเป็นอย่างดีแล้วว่า วัยรุ่นกับดิจิตอลเป็นเหมือนคู่สร้างคู่สมที่คุ้นเคยกันมานาน พวกเขาเกิดและเติบโตในยุคที่ Hi-speed internet เป็นของสามัญ แต่ในยุคปัจจุบันดิจิตอลเปรียบเสมือนลมหายใจของพวกเขาไปแล้ว

เวลา 1 ใน 8 ของวัน ของวัยรุ่นไทยใช้ชีวิตอยู่ในโลกออนไลน์ ผลวิจัยจาก Synovate PAX Media Survey รายงานว่า

63% ดูรายการทีวีผ่าน “จอ” นอกบ้าน โดยแบ่งเป็น
38% ดูผ่าน PC/Laptop
25% ดูผ่านจอ LCD ในรถ
13% ดูผ่านโทรศัพท์มือถือ
9% ดูผ่าน MP4

วรรณี รัตนพล หัวเรือใหญ่ Innitiative บอกว่า อย่างไรเสียสื่อโทรทัศน์ก็ยังคงอยู่ และยังคงทำหน้าที่แจ้งข้อมูลข่าวสารไปยังกลุ่มคนหมู่มากเป็นหลัก ขณะที่รูปแบบการรับชมก็เปลี่ยนแปลงไปเป็นจอรูปแบบต่างๆ ขึ้นอยู่กับความสะดวกในช่วงเวลานั้นๆ เป็นหลัก

“คนยังดูทีวีเหมือนเดิม เพียงแต่ว่าจะดูผ่านจออะไร ชีวิตส่วนใหญ่คนอยู่นอกบ้านจึงมีโอกาสได้สัมผัสจออื่นๆ นอกเหนือจากจอโทรทัศน์ที่บ้าน จอประเภทต่างๆ ก็พัฒนาคอนเทนต์มารองรับไลฟ์สไตล์ที่ไม่หยุดนิ่ง เคลื่อนที่ตลอดเวลา หรือ Mobility Lifestyle นี้เช่นเดียวกัน”

วัยรุ่นไทยใช้เวลาอยู่กับสื่อต่างๆ ต่อวัน มากกว่าค่าเฉลี่ยของเอเชียแปซิฟิก
สื่อ เวลาที่วัยรุ่นไทยใช้ (ชั่วโมง) เวลาเฉลี่ยของเอเชียแปซิฟิก (ชั่วโมง)
โทรทัศน์ 5.7 4.0
อินเทอร์เน็ต 3.1 2.8
วิทยุ 1.3 0.9
นิตยสาร 0.8 0.6
หนังสือพิมพ์ 0.9 0.7
ที่มา : Synovate Young Asian Survey

ด้านผลวิจัยอื่นๆ ที่น่าสนใจคือ
•บางรายมีพฤติกรรมออนไลน์ไว้ตลอดคืน และหลับคาจอไปเช่นนั้น
•คนไทยใช้ MSN เป็นอันดับที่ 9 ของโลก หรือราว 4.25 ล้านคน เพิ่มขึ้น 47%
•ผู้ชายนิยมดาวน์โหลดไฟล์ต่างๆ และเล่นเกมออนไลน์ ขณะที่ผู้หญิงนิยม Blog และฟังเพลง
•ตัวเลขของสมาชิก hi5 ในไทยเพิ่มขึ้นเป็น 4.3 ล้านคนมากกว่าผู้ใช้ MSN ราว 5 แสนคน และเฉลี่ยแล้วมีสมาชิกใหม่ราว 26,000 คนต่อวัน
•49% จะเล่นเกมไปด้วยขณะออนไลน์
•เกมที่ติดอันดับ Top Search เกือบทั้งหมดเป็น Flash Game
•90% จะเล่น Ad Game ที่เพื่อนฟอร์เวิร์ดให้ โดยใช้เวลาเฉลี่ยในการเล่น 25 นาที

ด้าน Music Matters ซึ่งเป็นผลการสำรวจประจำปี 2008 สำหรับ MTV ซึ่งได้รายงาน
พฤติกรรมของวัยรุ่นทั่วเอเชียเกี่ยวกับเรื่องการบริโภคดนตรีและเพลงในยุคที่สื่อดิจิตอลเป็นยิ่งกว่าศาสดา ในปีนี้สำรวจ 12 ประเทศ โดยเพิ่มเวียดนามและออสเตรเลีย ขณะที่ประเทศอื่นๆ คือ จีน ฮ่องกง สิงคโปร์ ไต้หวัน เกาหลี ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย อินเดีย และไทย

กลุ่มตัวอย่างอายุ 15-34 ปี อาศัยในเขตเมือง และเป็นกลุ่ม Middle Class ผลวิจัยบางส่วนที่น่าสนใจ มีดังนี้

Hot
ใช้เวลาในโลกออนไลน์ +56%
ฟังเพลง +53%
ส่งอีเมล์ +41%
เป็นสมาชิก Social Networking +37%

Cold
จ่ายเงินเพื่อซื้อหรือดาวน์โหลดเพลง -36%
ดูโทรทัศน์ -46%
เล่นเกม console -50%

พบว่า ปัญหา Pirate หรือแผ่นผี ของปลอมหรือการดาวน์โหลดจากอินเทอร์เน็ตแบบไม่เสียเงินนั้นยังคงครองความนิยมในหมู่วัยรุ่นเอเชีย

พวกเขานิยมดาวน์โหลดเพลงโดยไม่จ่ายเงิน และใช้โปรแกรม File-sharing เพื่อแบ่งปันเพลงกัน โดยวัยรุ่นจีน ฟิลิปปินส์ ไทย เป็น 3 ประเทศที่มีพฤติกรรมดังกล่าวสูงที่สุด ขณะที่อุตสาหกรรมเพลงในเอเชียถูกขับเคลื่อนจากวัยรุ่นใน 4 ประเทศ คือ จีน เวียดนาม มาเลเซีย และไทย
จีน 92%
ฟิลิปปินส์ 88%
ไทย 80%
อินโดนีเซีย 79%
มาเลเซีย 79%
เกาหลี 76%
เวียดนาม 73%
ฮ่องกง 67%
ไต้หวัน 63%
อินเดีย 57%
ออสเตรเลีย 51%
สิงคโปร์ 47%

ผลวิจัยอื่นๆ คือ 50% ดาวน์โหลดเพลงลงในโทรศัพท์มือถือ ขณะที่ 61% ดูมิวสิกวิดีโอผ่านโทรศัพท์มือถือ และ 74% ต้องการที่จะเปลี่ยนมาฟังเพลงผ่านโทรศัพท์มือถือแทนที่จะฟังจาก MP3 เหมือนเคย นอกจากนี้อีก 73% บอกว่าบริษัทโทรศัพท์มือถือและบริษัทผู้ผลิตเพลงควรจะทำงานร่วมกันมากขึ้น เพื่อให้การรับฟังเพลงผ่านโทรศัพท์มือถือเป็นได้อย่างสะดวกมากขึ้น

คอนเทนต์ยอดนิยมที่ถูกดาวน์โหลดมากที่สุดคือเพลงและริงโทน
โดยผลวิจัยนี้แบ่งเป็น 2 ช่วงอายุ
15-24 ปี // 25-34 ปี
โหลดเพลงใส่มือถือ 55%//46%
ริงโทน 51%//47%
วิดีโอ เกม 40%//30%
ภาพยนตร์ 37%//32%
มิวสิกวิดีโอ 37%//29%
รายการโทรทัศน์ 29%//23%
จ่ายเงินเพื่อดาวน์โหลดเพลง 27%//23%
ตัวอย่างภาพยนตร์ 25%//22%

จากผลวิจัยดังกล่าวพบว่า กลุ่มอายุ 15-24 ปี มีอัตราการดาวน์โหลดคอนเทนต์ในทุกรูปแบบมากกว่ากลุ่มอายุ 25-34 ปี ซึ่งสาเหตุมาจากกลุ่มแรกยังอยู่ในระหว่างการศึกษาหรือเพิ่งเริ่มต้นทำงานใหม่ การใช้ชีวิตในโลกออนไลน์ที่เกี่ยวกับความบันเทิงจึงอยู่ในอัตราที่สูงกว่า

การใช้จ่ายสำหรับ Mobile Music ของวัยรุ่นเอเชีย คิดเป็นสัดส่วน 30% ของทั่วโลก
จีน 68%
เวียดนาม 63%
มาเลเซีย 62%
ไทย 56%
อินโดนีเซีย 55%
ฮ่องกง 54%
ฟิลิปปินส์ 48%
ไต้หวัน 46%
เกาหลี 45%
สิงคโปร์ 44%
อินเดีย 42%
ออสเตรเลีย 32%

15-34 ปี เขาฟังเพลงผ่านอะไร
2007 // 2008
เครื่องเล่น MP3 19%//24%
iPod 2%//7%
โทรศัพท์มือถือ 8%//14%
PC 17%//31%
สเตอริโอ/เครื่องเล่นซีดี 13%//5%
วิทยุ 20%//6%
รายการเพลงทางโทรทัศน์/ 19%//12%
ช่องเพลงโดยเฉพาะ

จากผลวิจัยพบว่า เครื่องเล่นรูปแบบเก่าที่ไม่สามารถนำติดตัวไปไหนมาไหนได้นั้นจะมีอัตราการใช้งานที่ลดลง ยกเว้น PC ซึ่งเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต ขณะที่รูปแบบของการเข้าถึงเพลงแบบเดิมๆ เช่น วิทยุและโทรทัศน์กลับมีอัตราลดลงอย่างชัดเจน เนื่องจากไม่สามารถตอบสนองความต้องการในแง่ของไลฟ์สไตล์ในยุคที่ผู้บริโภคเป็นใหญ่ได้

เกิน 60% ของวัยรุ่นเอเชียชอบดนตรีตะวันตกชอบ Local Music
มาเลเซีย 95% ไทย 98%
ฟิลิปปินส์ 92% จีน 98%
ไทย 83% ไต้หวัน 96%
สิงคโปร์ 80% เวียดนาม 94%
จีน 74% ฮ่องกง 94%
ไต้หวัน 74% ฟิลิปปินส์ 93%
เวียดนาม 73% เกาหลี 93%
อินโดนีเซีย 70% อินเดีย 82%
อินเดีย 62% อินโดนีเซีย 77%
ฮ่องกง 62% สิงคโปร์ 66%
เกาหลี 62% มาเลเซีย 64%

ช่องทางในการรับชมและรับฟังดนตรี (Music Site)
Youtube 32%
MTV 16%
MySpace 10%
Channel V 10%
iTunes 10%

วัยรุ่นเอเชีย ยังไงก็รักดนตรี
รัก คลั่งไคล้ในเพลง 93%
ชอบเพลง 85%
ต้องการฟังเพลงทุกๆ นาที 20%
เกลียดเลย 1%

ผลวิจัยข้างต้นเป็นเครื่องยืนยันได้ว่า ไม่ว่ายุคสมัยใด ดนตรี บทเพลงก็ยังคงเป็นที่นิยมและเหมาะสมกับการที่จะใช้เป็นเครื่องมือในการสื่อสารและเข้าถึงกลุ่มวัยรุ่น และ 46% เชื่อว่าเพลงจะกลายเป็นรูปแบบดิจิตอลทั้งหมดในอนาคต แต่ไม่ว่าอย่างไรพวกเขาก็ยังนิยมของ “ฟรี” อยู่ดี