คนไทยเทใจใช้ “ทวิตเตอร์” โตแรง สวนทางเฟซบุ๊ก โนสนโนแคร์ ลด Reach ฉุด Engage หาย 27%

โซเชียลมีเดียเฟซบุ๊ก, ไลน์ ,อินสตาแกรม, ยูทูป และทวิตเตอร์ ถือเป็นแพลตฟอร์มสุดฮิตของคนไทย มาดูกันว่าสถิติผู้ใช้ล่าสุดจากงาน Thailand Zocial Awards  2018 จะเป็นอย่างไร

ทวิตเตอร์ ยังเป็นแพลตฟอร์มที่ร้อนแรงต่อเนื่อง โดยล่าสุด เดือนกุมภาพันธ์ 2561 มียอดผู้ใช้งานทั้งสิ้น 12 ล้านราย เติบโตถึง 33% จากปี 2560 อยู่ที่ 9 ล้านราย ที่สำคัญพบว่ามีผู้ใช้งานประจำ (Active) มากถึง 5.7 ล้านรายเติบโต 80% จากปีก่อนมี 3.1 ล้านราย

ขณะที่อินสตาแกรมมีผู้ใช้งานจำนวน 13.6 ล้านราย เพิ่มขึ้น 24% จากปีก่อน 11 ล้านราย

ส่วนเฟสบุ๊ค แพลทฟอร์มใหญ่ที่มีผู้ใช้งานในไทย 49 ล้านคน  เพิ่มขึ้นแค่ 4% หรือ 2 ล้านคน เท่านั้น

ไทยอันดับ 8 ใช้เฟซบุ๊กมากสุดของโลก

เมื่อเจาะลึกแต่ละแพลตฟอร์ม ในเทรนด์โลกนั้นมีผู้ใช้งานเฟสบบุ๊คทั้งสิ้น  2.13 พันล้านราย เพิ่มขึ้น 10% และมีการเปลี่ยนแปลงที่แรง เมื่ออินเดียกลายเป็นประเทศที่มีผู้ใช้งานมากถึง 240 ล้านรายแซงหน้าสหรัฐ เจ้าตลาดที่มีผู้ใช้งาน 203 ล้านราย เหตุผลเพราะอินเดียมีประชากรมากกว่า มีผู้ใช้สมาร์ทโฟนเพิ่มขึ้น ส่วนไทยรั้งอันดับ 8 ของประเทศที่ใช้งานมากสุด

ในประเทศไทยก็มีการเปลี่ยนแปลง เมื่อพฤติกรรมผู้บริโภคจังหวัดเชียงใหม่ มีผู้ใช้งานมากเป็นอันดับ 2 แซงชลบุรีเรียบบร้อยแล้ว 

พีคไทม์ คนไทยใช้เฟซบุ๊กไม่เปลี่ยน

ช่วงเวลาที่คนไทยใช้ FB ยังไม่เปลี่ยนแปลงจากปีที่แล้ว มี 3 ช่วง คือ 10.00 -12.00 น  ,14.00 -15.00 น. และ 18.00 – 23.00 น

คนไทยชอบเม้นท์เน้นกดเลิฟ

สิ่งหนึ่งที่น่าสนใจคือรีแอ๊คชั่นในการกดไลค์ กดเลิฟ เปลี่ยนไป โดยปี 2560 การกดเลิฟ มากสุดมีสัดส่วน 44% เนื่องจากข้อความ รูปภาพ สื่อต่างๆที่นำเสนอบนเฟสบุ๊ค เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับในหลวงรัชกาลที่

รองลงมา กดหัวเราะ 555 มีสัดส่วน 21% และการหัวเราะก็เกิดจากสถานีโทรทัศน์ต่างๆ นำคอนเทนท์บันเทิงมาลง  และว้าว เป็นอันดับสุดท้าย

++เฟสบุ๊คลด Reach ดับฝันแบรนด์ปั๊มยอด Engagement

ทวิตเตอร์ โตแรง แต่เฟสบุ๊ค กลับแผ่ว ยิ่งมีการปรับ News Feed ลด Reach ส่งผลกระทบต่อนักการตลาด เจ้าของแบรนด์ในการ Engagement กับกลุ่มเป้าหมาย

พเนินจึงโชว์สถิติให้เห็นกันชัดๆจากการสำรวจเพจและแบรนด์ดัง 27 อุตสาหกรรม พบว่า ปี 2560-2561 แบรนด์มีการโพสต์ข้อความ คอนเทนต์ต่างๆมากกว่าเดิมถึง 52%  แต่มียอด Engagement โดยรวมเพิ่ม 12%  บ่งชี้ว่าแบรนด์ออกแรงเยอะในการทำตลาด อัดงบเพิ่มโพสต์กันยกใหญ่ แต่ยอด Engagement กลับลดลง

ขณะที่ยอด Engagementต่อโพสต์นั้น กลับแย่ยิ่งกว่าเพราะถ้าแบรนด์โพสต์ไป100 ข้อความ ยอด Engagementจะหายไปถึง 27% เรียกว่าถ้าแบรนด์ไหนมีความพยายามในการทำตลาดไม่ถึงใจล่ะก็ นอกจากจะต้องเสียพลังเงินสูงขึ้นเพื่อทำคอนเทนท์ที่ดี สูญพลังงานมากกว่าเดิมเพื่อแย่งพื้นที่สื่อบนแฟลตฟอร์ม หวังจะให้แบรนด์โดดเด่น หรือยืนอยู่ในจุดเดิมได้ต้องทุ่มสุดตัวจริงๆถึงจะเอาอยู่

ยุคนี้โพสต์วิดีโอเวิร์คสุด

แต่ถ้ายังอยากอยู่บนแฟลตฟอร์มเฟสบุ๊ค คอนเทนท์ที่มีประสิทธิภาพ บอกเลยว่าคือ VDO  เพราะยอด Engagement ต่อโพสต์สูงถึง 2,556 คิดเป็น 2 เท่า ของการโพสต์รูปภาพซึ่งอยู่ที่ 1,273

ไอจี ทวิตเตอร์มาแรง

ด้านความฮิตของทวิตเตอร์ ในปีนี้ สร้างปรากฎการณ์ตลาดหลายอย่าง นอกจากผู้บริโภคใช้งานจำนวนมากขึ้นแล้วเวลาในการเสพก็ยาวขึ้นด้วย ช่วงพีคที่เคยดูตั้งแต่2 ทุ่มจนถึงเที่ยงคืน ได้ขยายไปถึงตี 1 แล้ว สะท้อนให้เห็นว่าวัยรุ่นมีพฤติกรรมนอนดึกกว่าเดิม ดังนั้นนักการตลาด แบรนด์ที่มีสินค้าขาย 24 ชั่วโมงก็สามารถเข้าไปหาโอกาสจับกลุ่มเป้าหมายได้

เมื่อผู้บริโภคย้ายแพลตฟอร์ม หันไปใช้งานทวิตเตอร์เพิ่ม ระหว่างปี 2559-2560 มีแบรนด์ต่างๆ ตามติดกลุ่มเป้าหมายบนแพลตฟอร์มดังกล่าวมากขึน 83% ถือเป็นตัวเลขที่ท Active สูงมาก แต่สถิติไม่หยุดแค่นั้น เพราะแบรนด์มีการโพสต์หรือทวีตข้อความต่างๆเพื่อ Engage กับกลุ่มเป้าหมายเติบโตถึง124% หมายความว่าปีก่อนทวีตข้อความ 100 ข้อความ ปีนี้ทวีตเป็น 248 ทวีตนั่นเอง

ที่สำคัญ Feed back จากผู้บริโภคในการรีทวีตข้อความของแบรนด์เติบโต 101% สำหรับนักการตลาดแล้วไม่ควรมองข้าม

การรีทวีต สะท้อนว่ากลุ่มเป้าหมายอยู่ในแพลตฟอร์มนั้น และสิ่งที่แบรนด์พูดคุยกับผู้บริโภค ก็มีคนที่พร้อมจะแชร์และกระจายคอนเทนต์เหล่านั้น ช่วยสร้าง Engage ได้เยอะ พเนิน อัศววิภาส รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารโธธโซเชียลโอบีว็อคให้เหตุผล

ไอจี แพลทฟอร์มสุดฮิตแม่ค้าออนไลน์

อินสตาแกรมมีคนใช้งานทั่วโลก 800 ล้านราย เพิ่มขึ้น 14%ประเทศไทยใช้งานอันดับ 24 ของโลก มีจำนวน 13.6 ล้านคน เพิ่มขึ้น 24%

พฤติกรรมที่น่าสนใจของผู้ใช้ไอจีอย่างหนึ่งคือ ผู้บริโภคเริ่มเข้าใจการอัพรูปภาพหลายๆรูป(Carousel) 24% จากเดิมที่คิดว่าการใช้งานอัพรูปได้เพียงรูปเดียว ส่วนเวลาในการเสพไอจี ส่วนใหญ่เป็นเสาร์อาทิตย์ เพราะเป็นเวลาที่คนเดินทางท่องเที่ยว ตะลอนกิน รวมถึงแม่ค้าพ่อขายออนไลน์ไปหาไอเทมใหม่มานำเสนอลูกค้าในวันหยุด.