โฆษณากับมุมมองของผู้บริโภค

เมื่อโฆษณาก้าวเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันผู้บริโภคยุคปัจจุบันโดยมิอาจหลีกหนีได้ มาดูกันว่าพวกเขารู้สึกและมีความคิดเห็นกันอย่างไรบ้างจากภาพยนตร์โฆษณาหรือ tvc ในปี 2551 ที่ผ่านมา จากผลสำรวจของนาโนเซิร์ซในหัวข้อที่ชื่อว่า “ผู้บริโภคชอบดูโฆษณา?”

กลุ่มตัวอย่างแบ่งเป็นเพศชาย 40.5% และเพศหญิง 59.5% สัดส่วนอายุของกลุ่มตัวอย่าง อยู่ในช่วงอายุ 18-25 ปี 30% ช่วงอายุ 26-35 ปี 33.5% และ ช่วงอายุมากกว่า 35 ปี 36.5% สำหรับรายได้ของกลุ่มตัวอย่าง อยู่ในช่วงรายได้มากกว่า 20,000 บาท 48% ช่วงรายได้ไม่เกิน 10,000 บาท 29.5% และ ช่วงรายได้ 10,000 – 20,000 บาท 22.5% ตามลำดับ ระดับการศึกษาส่วนใหญ่อยู่ในระดับปริญญาตรี เป็นพนักงานบริษัทเอกชนและกลุ่มนักศึกษา

โฆษณา ของแสลงของคนดู?

แม้ในปี 2551 ที่ผ่านมาจะ tvc ออกอากาศมากมาย แต่กลุ่มตัวอย่างรู้สึกไม่ชอบภาพยนตร์โฆษณามีสัดส่วนสูงถึง 48% ขณะที่อีก 37% บอกว่าชอบภาพยนตร์โฆษณา

ความรู้สึกของผู้บริโภคต่อการชมภาพยนตร์
ไม่ชอบ 48%
ชอบ 37%
เฉยๆ 15%

ขึ้นชื่อว่าโฆษณา ความคิดสร้างสรรค์ขาดไม่ได้

ผู้บริโภคได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับองค์ประกอบที่สำคัญของชิ้นงานโฆษณานั้นพบว่า สิ่งที่ผู้บริโภคเห็นว่าเป็นองค์ประกอบที่สำคัญคือ ความคิดสร้างสรรค์ของภาพยนตร์โฆษณา ซึ่งเป็นประเด็นที่สำคัญที่สุดโดยให้น้ำหนัก48% ด้านเนื้อหาของภาพยนตร์โฆษณา คิดเป็น 33.5% และการสื่อสารข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับสินค้าถึงผู้บริโภค หรือ Product Information 9% ตามลำดับ ขณะที่ให้ความสำคัญกับเทคนิคในการถ่ายทำเพียง 1.5% และมี 6%ที่ให้ความสำคัญกับดาราที่ใช้ในโฆษณา

นั่นหมายความว่าผู้บริโภคชอบดูโฆษณาที่มีไอเดียบรรเจิดมากกว่าจะมีฉากหรือเทคนิคตระการตา ไอเดียดับต่อให้โปรดักชั่นหรูหราก็ไม่เกิด

องค์ประกอบสำคัญของโฆษณาในความคิดเห็นของผู้บริโภค
ฉาก 0.5
ระยะเวลาของเรื่องนั้นๆ 1.5
เทคนิคในการถ่ายทำ 1.5
นักแสดง-ดาราที่นำมาแสดงในโฆษณา 6.0
ข้อมูลข่าวสารที่จะสื่อถึงผู้บริโภค 9.0
เนื้อหาของโฆษณา 33.5
ความคิดสร้างสรรค์ 48.0

ปี 2551 โฆษณาน้ำดี

หากให้ผู้บริโภคมองในเรื่องของคุณภาพของผลงานโฆษณานั้น พบว่าผู้บริโภคเห็นว่าผลงานโฆษณาในปี 2551มีคุณภาพ 78% โดยให้เหตุผลของการสนับสนุนงานโฆษณาที่เห็นว่าคุณภาพ เนื่องจากผู้บริโภคเห็นว่า ผลงานโฆษณามีเนื้อหาดีและมีความคิดสร้างสรรค์ที่ดี คิดเป็นร32.5% ลำดับต่อมาคือ ชิ้นงานโฆษณาให้ข้อคิดมีเนื้อหาสาระที่ดี 16.6% และโฆษณานั้นมีประโยชน์เพราะทรอดแทรกความรู้เพิ่มไปด้วย 13.4% สำหรับผู้บริโภคที่เห็นว่าชิ้นงานโฆษณาที่มีอยู่ในปัจจุบันยังไม่มีคุณภาพ เพราะเห็นว่ายังไม่มีความคิดสร้างสรรค์ในการสร้างงานโฆษณา และ เห็นว่าทำงานโฆษณาออกมาแล้วไม่เข้าใจดูไม่รู้เรื่อง

ซึ่งเป็นประโยชน์ให้เอเยนซี่โฆษณานำไปทบทวนและปรับปรุงผลงานให้เข้าถึงผู้บริโภคให้มากยิ่งขึ้น

คุณภาพของงานโฆษณาในสายตาผูบริโภค
ไม่มีคุณภาพ 22%
มีคุณภาพ 78%

เหตุผลการสนับสนุนผลงานโฆษณามีคุณภาพ %
มีเนื้อหาดีและมีความคิดสร้างสรรค์ดี 32.5
ให้ข้อคิดที่มีเนื้อหาสาระที่ดี 16.6
ทุกโฆษณานั้นมีประโยชน์เพราะสอดแทรกความรู้เพิ่มไปด้วย 13.4
โฆษณาบางชนิดช่วยสะท้อนความคิดของคนมากขึ้น 8.9
สร้างความน่าเชื่อถือให้กับสินค้าและทราบจุดประสงค์ของสินค้ามา 8.3
โฆษณาสามารถทำให้คนดูเกิดแรงบัลดาลใจ 7.6
สามารถเรียกกระแสความนิยมของคนชมได้เพราะโฆษณามีคุณภาพ 5.1
โฆษณาบางตัวทำออกมาสะท้อนภาพสังคมอย่างชัดเจน 4.5
ดูแล้วไม่เครียด 2.5

“ไทยประกันชีวิต” ที่สุดแห่งความประทับใจ

งานโฆษณาที่ผู้บริโภคชื่นชอบที่สุดจากการสำรวจครั้งนี้คือ งานโฆษณาของบริษัท “ไทยประกันชีวิต” นำโด่งด้วยสัดส่วน 44% ลำดับต่อมาคือ งานโฆษณาของบริษัท “AIS” 6% และ โฆษณาของ “HAPPY DTAC” 4%

เป็นที่น่าสังเกตว่า tvc ทั้ง 3 ชุด เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับ Emotional และมี tvc ของเครื่องดืมแอลกอฮอล์ติดอันดับ top 10 ถึง 2 ชิ้นด้วยกัน

ชิ้นงานโฆษณาในปี 2551 ที่ผู้บริโภคชื่นชอบ
กระดาษไอเดีย 2.0
ฮอลล์ 2.0
พอนด์ 2.0
100 pipers 2.5
รีเจนซี่ 2.5
Smoot E 3.0
จอห์นนี่วอล์กเกอร์ 3.5
Happy Dtac 4.0
AIS 6.0
ไทยประกันชีวิต 44.0

เคน-แอ๊ฟ คู่ขวัญพรีเซนเตอร์

สำหรับดารา-นักแสดง – นักร้อง ที่ผู้บริโภคต้องการให้มาเล่นภาพยนตร์โฆษณาจำนวน 10 ลำดับ ดังนี้ จำแนกชายและหญิงในแต่ละลำดับ ซึ่งผลสำรวจปรากฎว่า เคน ธีระเดช และแอ๊ฟ ทักษอร 2 พระนางจากช่อง 3 กลายเป็นขวัญใจอันดับ 1 ของกลุ่มตัวอย่าง
ทั้งนี้ในจำนวน 10 อันดับของแต่ละฝ่ายชายหญิงพบว่ามีโน็ต อุดมและโอปอล์ ซึ่งมีคาแรกเตอร์ตลก ขำขัน ติดโผเข้ามาด้วยนอกเหนือจากพระเอกนางเอกแถวหน้าของวงการบันเทิง

ฝ่ายชาย % ฝ่ายหญิง %
เคน ธีรเดช 18.0 แอ็ฟ ทักษอร 13.5
โดม ปกรณ์ ลัม 4.0 แพนเค้ก เขมนิจ 8.5
ปอ ทฤษฎี 3.0 แอน ทองประสม 7.5
วิลลี่ แมคอินทอช 3.0 อั้ม พัชราภา 5.0
เวียร์ ศุกลวัฒน์ 2.5 หมิว ลลิตา 3.5
ตูน บอดี้สแลม 2.5 กบ สุวนันท์ 3.0
ฟิล์ม รัฐภูมิ 2.5 นก สินจัย 2.5
พอล ภัทรพล 2.5 พอลล่า เทเลอร์ 2.5
โน๊ต อุดม 2.5 พลอย เฌอมาลย์ 2.5
อั้ม อธิชาติ 2.0 หยาดทิพย์ ราชปาล 2.0
หนุ่ม ศรราม 2.0 ปาณิสรา (โอปอล์) 2.0
มาริโอ้ เมาเรอ 2.0 เป้ย ปานวาด 2.0

เครื่องดื่มเพื่อสุขภาพต้องสื่อสารให้รู้เรื่อง
เครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ 13.5
อาหารเพื่อสุขภาพ 8.5
เครื่องสำอาง 7.0
ยา 5.5
การรณรงค์ลดภาวะโลกร้อน 5.5
เครื่องดื่มแอลกอฮอลล์ 4.0
อาหารกระป๋อง 4.0
โลชั่นทาผิว/บำรุงผิว 4.0
การท่องเที่ยวไทย 4.0
ผลิตภัณฑ์อาหารเสริม 3.5
โน๊ตบุ๊ค 3.5

สื่อทีวียังไงก็ได้ใจ

เนื่องจากชีวิตของผู้บริโภคทุกวันนี้มีสื่อหลากหลายประเภทเข้ามาปะทะ จากผลสำรวจพบว่าสื่อที่ผู้บริโภคเห็นว่าน่าสนใจมากที่สุดคือ สื่อหลักที่ยังคงทรงอิทธิพลอยู่อย่าง โทรทัศน์ ด้วยคะแนนเฉลี่ย 4.75 ลำดับต่อมาคือ สื่ออินเตอร์เน็ต ด้วยคะแนนเฉลี่ย 3.56 และ สื่อหนังสือพิมพ์ ด้วยคะแนนเฉลี่ย 3.53

สื่อ/Mean(ค่าเฉลี่ยระดับความน่าสนใจของสื่อ/Std. Deviation
โทรทัศน์ 4.75 0.60
วิทยุ 3.05 1.06
หนังสือพิมพ์ 3.53 0.97
นิตยสาร / วารสาร 3.11 1.01
อินเตอร์เน็ต 3.56 1.21
สื่อเคลื่อนที่ 2.58 1.06
สื่อกลางแจ้ง 2.57 1.15

(คะแนนเต็ม 5 คะแนน)