เม็ดเงินธุรกิจไลฟ์อีเวนต์ในภูมิภาคเอเชีย ไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบเทศกาลดนตรี หรือคอนเสิร์ต กำลังเติบโตแบบต้องจับตามอง อัตราการเติบโตที่หมายถึงไม่ได้จำกัดแค่จำนวนของอีเวนต์ที่จัด แต่รวมถึงรายได้ที่เกิดจากการจัดอีเวนต์
ในไต้หวัน ตามข้อมูลของกระทรวงวัฒนธรรม พบว่า ในปี 2012 มีจำนวนคอนเสิร์ตมากถึง 2500 งาน สร้างรายได้สูงกว่า4,080 พันล้านดอลลาร์ไต้หวัน ระยะเวลา 3 ปีหลังจากนั้น รายได้จากคอนเสิร์ตเติบโตขึ้นทุกปี เฉลี่ยปีละ 39%
ส่วนประเทศไทย รายได้จากมิวสิคอีเวนต์คาดว่าในปี 2018 เม็ดเงินน่าจะสูงถึง 167 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 5,300 ล้านบาทส่วนหนึ่งเป็นเพราะโชว์บิซสร้างรายได้ทดแทนจากการหายไปของรายได้จากยอดขายซีดี และนี่ส่งผลให้แบรนด์ต่างๆ สามารถทุ่มเม็ดเงินลงมาสนับสนุนมิวสิคอีเวนต์ได้ในทุกแง่มุมของกิจกรรม
ไม่ใช่เพียงแค่การมีโลโก้ของแบรนด์ปรากฏอยู่บนบิลบอร์ด หรือสินค้าที่ระลึกของงาน การสนับสนุนมิวสิค
อีเวนต์ในปัจจุบันมุ่งเน้นไปที่การสร้างประสบการณ์ให้เกิดขึ้นกับแบรนด์ในอีเวนต์นั้นๆ ซึ่งถ้าแบรนด์รู้จักและเข้าใจในกลุ่มเป้าหมาย และสามารถสร้างสรรค์กิจกรรมที่แทรกซึม Brand Experience เข้าไปได้แบบที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน สิ่งที่แบรนด์จะได้ไม่ใช่แค่การจดจำในตราสินค้า แต่เป็นคอมมิวนิตี้ที่มีประสบการณ์ร่วมกันกับแบรนด์
นอกเหนือจากการสร้างสรรค์กิจกรรมที่เกิดขึ้นในงาน บรรดาแบรนด์ที่สนับสนุนยังสามารถจัดงานพรี หรืออาฟเตอร์ปาร์ตี้ รวมถึงการเพิ่มสิทธิประโยชน์ต่างๆ ให้กับผู้ร่วมงาน อาทิ บัตรเข้าหลังเวที สินค้าที่ระลึกสุดพิเศษ หรืออื่นๆ ที่สร้างการจดจำและยังเป็นที่พูดถึงแม้งานจะผ่านมาแล้วเป็นปี
นี่เป็นเหตุผลที่ว่า ทำไมมีแบรนด์ที่นอกเหนือจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ทุ่มเม็ดเงินลงไปกับมิวสิคอีเวนต์มากขึ้น ทุกวันนี้ จะเห็นทั้งแบรนด์ไอที เสื้อผ้า ธนาคาร ประกัน ต่างหามิวสิคอีเวนต์ที่เหมาะกับแบรนด์คาแรคเตอร์ เพราะไม่เพียงแต่จะสร้างการจดจำในแบรนด์ให้กับคนจำนวนมาก แต่ยังเป็นการสร้างประสบการณ์ร่วมที่ปลูกแนวคิดของแบรนด์ลงไปในผู้ร่วมงานด้วย.
- ขอบคุณภาพจาก : pinnacleliveconcepts.com
- แปลและเรียบเรียงจาก : pinnacleliveconcepts.com