ตัวเลขขับเคลื่อนโลก : Sep 2009

อายุ 55-74 ดูทีวี-อ่าน นสพ.นานสุด
-คน 55-74 ปี ดูทีวีตั้งแต่ 6 โมงเช้าถึง 4 ทุ่ม อ่าน นสพ.เฉลี่ยวันละ 35 นาที
-คนรุ่นใหม่ที่มีครอบครัวแล้วแต่ยังไม่มีลูก ดูทั้งทีวีและอินเทอร์เน็ต โดยดูทีวีตั้งแต่ 1-5 ทุ่ม อ่าน นสพ.วันละ 23 นาที
-กลุ่ม 15-24 ปี ดูสื่อทุกจอ แต่อ่าน นสพ.เพียง 16 นาที

ที่มา : เอจีส มีเดีย

“ไม่เป็นไร” เริ่มไม่ได้ผล
เศรษฐกิจแย่ – หวัด 2009 รุมเร้า ทำให้คนไทยกับ คำว่า “ไม่เป็นไร” เริ่มไม่ได้ผล เพราะพฤติกรรมการบริโภคเปลี่ยน เริ่มคิดมากขึ้นในการใช้จ่าย เที่ยวน้อยลง อยู่บ้านมากขึ้น เพราะคนไทยกังวลว่าเศรษฐกิจวิกฤตรอบนี้จะเป็นปัญหาระดับโลก (53%) เป็นความกังวลที่สูงมาก รองจากอเมริกา (56%) เท่านั้น

พฤติกรรมเปลี่ยนไป (%) เทียบความรู้สึกจากปีที่แล้ว
——————————————————————————————-
พฤติกรรม ค่าเฉลี่ยทั่วโลก สูงกว่าเฉลี่ย ต่ำกว่าเฉลี่ย
—————————– ————————————————————–
เลือกซื้อของราคาถูกลง 37 โปรตุเกส อินเดีย
อยู่บ้านมากขึ้น 36 ไทย จีน
จ่ายช่วงวันหยุดน้อยลง 36 แอฟริกาใต้ ไทย
จ่ายซื้อของหรูน้อยลง 46 ไทย อินเดีย
ทานอาหารนอกบ้านลดลง 41 แอฟริกาใต้ บราซิล
ดื่มแอลกอฮอล์ลดลง 27 จีน ญี่ปุ่น
—————————————————————————————————

ที่มา : Mindshare Marketing & Media Flash

คนไทยกิน “ขนมหวาน” * น้อย
คนไทย 700 กรัมต่อคนต่อปี
เวียดนาม 2 กิโลกรัมต่อคนต่อปี
อเมริกา 14 “ “
อังกฤษ 10 “ “

* ขนมหวานสำเร็จรูป (Confectionery) : ลูกอม หมากฝรั่ง ช็อกโกแลต เฉลี่ย
ที่มา : ศูนย์วิจัยกสิกรไทย

ครึ่งปีแรก 2552 ผ่านไปเศรษฐกิจทรง กับทรุด
-เศรษฐกิจไทยถดถอย จีดีพี -6%
(ที่มา : สภาพัฒน์)

-บริษัทจดทะเบียนในตลาดหุ้น 500 บริษัท มีบริษัทที่ทำกำไรได้ 340 บริษัท รวมกว่า 2 แสนล้านบาท (208,506 ล้านบาท) แต่ก็ยังน้อยกว่าปีที่แล้ว 32%
ที่มา : ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

-ค่ายรถยนต์ในไทยทำยอดขายได้รวม 231,428 คัน ลดลงจากปีที่แล้ว 28%

กิน ดื่ม เที่ยว
-มูลค่าค้าปลีกอาหาร (Food Retail Market) 500,000 ล้านบาทต่อปี
(ที่มา : เซ็นทรัลฟู้ดรีเทล)

-เด็กไทยเฉลี่ยดื่มน้ำอัดลมเฉลี่ยวันละ 1 กระป๋อง ได้น้ำตาลเฉลี่ยครั้งละ 7.4 ช้อนชา โดยเด็กจำนวน 72% ดื่มน้ำดำ หรือโคล่า
(ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการ การศึกษาขั้นพื้นฐาน ร่วมกับกรมอนามัย

-ค่าใช้จ่ายต่อครัวเรือนของคนไทยปี 2551 อยู่ที่ 15,942 บาทต่อเดือน ส่วนใหญ่เป็น-ค่าอาหารและเครื่องดื่มมากที่สุดคือ 34.2%
-กรุงเทพฯ สมุทรปราการ นนทบุรี ปทุมธานี มีค่าใช้จ่ายสูงสูด อยู่ที่ 28,140 บาทต่อเดือน
-ต่ำสุดคือ ภาคเหนือ อยู่ที่ 11,746 บาทต่อเดือน

(ที่มา : สำนักงานสถิติแห่งชาติ)

คนไทยจ่ายค่าฮัลโหลมือถือเฉลี่ยไม่เกิน 300 บาทต่อเดือน
——————————————————————
ค่าย จ่ายต่อเดือน เฉลี่ยโทรต่อเดือน (นาที)
—————————————————————-
เอไอเอส 266 บาท 267 นาที
ดีแทค 215 บาท 240 นาที
ทรูมูฟ 114 บาท –
—————————————————————–
(ที่มา : ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย)