-
สหรัฐฯ เปิดระบบศึกษาการเคลื่อนไหวและรวมตัวกันของกลุ่มคน เพื่อต่อสู้กับโรคระบาดไวรัส COVID-19
-
รัฐบาลกลางและหน่วยงานปกครองระดับรัฐกำลังใช้ข้อมูล “โลเคชัน” ของบุคคลที่ได้จากอุตสาหกรรมโฆษณาออนไลน์
-
ข้อมูลดังกล่าวเป็นข้อมูลนิรนามซึ่งเจ้าหน้าที่นำมาใช้เพื่อศึกษาการเคลื่อนไหวของกลุ่มคน มากกว่าการติดตามแบบรายบุคคล
สำนักข่าว The Wall Street Journal (WSJ) รายงานว่า สหรัฐอเมริกาเริ่มใช้ข้อมูลโลเคชันจากการติดตามสมาร์ทโฟนมาช่วยรับมือป้องกันไวรัส COVID-19 แล้ว โดย ศูนย์ป้องกันและควบคุมโรค (CDC) และหน่วยงานระดับรัฐเริ่มโครงการรับข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลโลเคชันเพื่อตามหาว่าคนไป “ชุมนุม” รวมตัวกันที่ไหนบ้าง
เป้าหมาย ณ ขณะนี้ของโครงการ คือการตามหาว่าสถานที่ใดบ้างที่คนยังไปรวมตัวกัน และจะกลายเป็นแหล่งแพร่เชื้อไวรัส ตัวอย่างเช่น นักวิจัยในโครงการนี้พบว่าคนมักจะไปรวมตัวกันที่สวนสาธารณะพรอสเพ็ค ในย่านบรู๊กลีน เมืองนิวยอร์ก ข้อมูลที่ได้นี้จะถูกส่งต่อให้กับเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นเข้าไปตรวจสอบ
ข้อมูลเหล่านี้ค่อนข้างสำคัญมาก เนื่องจากประชาชนอเมริกันบางส่วนยังคงไม่ระมัดระวังในการหลีกเลี่ยงที่ชุมนุมชน แม้ว่ายอดผู้ติดเชื้อวันที่ 29 มี.ค. 63 ของสหรัฐฯ จะพุ่งเกิน 140,000 รายไปแล้ว
แหล่งข่าวกล่าวว่า เป้าหมายขั้นต่อไปของโครงการ คือการสร้างศูนย์รวมข้อมูลที่ให้เจ้าหน้าที่รัฐสามารถเข้าไปตรวจสอบได้ ภายในศูนย์นี้จะพบข้อมูลโลเคชันประชาชนจากมากกว่า 500 เมืองในสหรัฐฯ
Thousands of white people were at a market in Brentwood this morning violating the Shelter in Place order, and nothing happened.
30 Black women and kids had a children’s birthday party in South LA, and dozens of officers & helicopters showed up threatening to arrest everyone pic.twitter.com/d6qHF2c9Qv
— Tariq Nasheed ?? (@tariqnasheed) March 30, 2020
รายงานจาก WSJ ไม่ระบุว่าแหล่งข้อมูลของผู้ให้บริการโฆษณาออนไลน์ที่ว่าคือบริษัทใดบ้าง แต่เป็นไปได้ว่าบริษัทเหล่านี้นำข้อมูลโลเคชันบุคคลมาจากแอปพลิเคชันต่างๆ ที่ประชาชนกดอนุญาตให้เข้าถึงโลเคชันได้นั่นเอง
ข้อมูลนี้มีมูลมากยิ่งขึ้น เพราะกฎหมายเพื่อให้เงินเยียวยาชดเชยจากเหตุการณ์ระบาดไวรัสโคโรนาของสหรัฐฯ เพิ่งจะลงนามเมื่อสัปดาห์ก่อน และหนึ่งในรายการใช้จ่ายของกฎหมายนี้คืออัดฉีดเงิน 500 ล้านเหรียญสหรัฐ ให้ CDC สร้าง “ระบบรวบรวมข้อมูลและตรวจตราความปลอดภัย” เพื่อติดตามการแพร่ระบาดของไวรัส
นอกจากนี้ เมื่อช่วงต้นเดือนที่ผ่านมายังมีรายงานว่ารัฐบาลสหรัฐฯ ติดต่อกับบริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ เช่น Google และ Facebook เพื่อสร้างเครื่องมือติดตามในลักษณะดังกล่าว แต่มาร์ค ซัคเกอร์เบิร์ก ซีอีโอ Facebook ปฏิเสธในภายหลัง
อย่างไรก็ตาม ข้อมูลที่ถูกนำไปใช้เหล่านี้เป็นข้อมูลแบบไม่ระบุตัวตน หมายถึงข้อมูลจะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นของใคร และวันเดือนปีเกิดอะไร แต่นักกิจกรรมด้านความเป็นส่วนตัวของข้อมูลยังคงกังวลว่า ข้อมูลนิรนามเหล่านี้ยังสามารถหาทางประกอบกับเพื่อระบุตัวตนของเจ้าของข้อมูลได้อยู่ดี
แซม วู้ดแฮมส์ นักวิจัยด้านความเป็นส่วนตัวของข้อมูล เปิดเผยกับ Business Insider ว่า การที่รัฐทำงานร่วมกับธุรกิจเทคโนโลยีอย่างใกล้ชิดเพื่อติดตามการเคลื่อนที่ของประชาชนนั้นทำให้เกิดข้อกังวลอย่างมาก
“ธุรกิจนี้มีชื่อเสียงว่ามีความโปร่งใสต่ำ เริ่มด้วยข้อแรกเช่น ผู้ใช้แอปฯ จำนวนมากไม่ทราบว่าแอปฯ ที่ตนติดตั้งกำลังติดตามการเคลื่อนที่ของเจ้าของเครื่องอยู่ มันเป็นเรื่องจำเป็นที่รัฐบาลและใครก็ตามที่เกี่ยวข้องกับการเก็บข้อมูลอ่อนไหวเหล่านี้ต้องสร้างความโปร่งใสว่า พวกเขากำลังปฏิบัติการอย่างไร และใช้วิธีการใดบ้างเพื่อสร้างความมั่นใจว่าสิทธิความเป็นส่วนตัวของประชาชนจะได้รับการปกป้อง” วู้ดแฮมส์กล่าว
สหรัฐฯ ไม่ใช่ประเทศแรกที่ใช้ดาต้าแบบนิรนามในการศึกษาการแพร่ระบาดของไวรัส ทั้งอิตาลี เยอรมนี อังกฤษ ต่างนำกลยุทธ์นี้มาใช้หรือกำลังวางแผนจะใช้วิธีการนี้แล้ว แต่ในขณะที่กลุ่มประเทศดังกล่าวร่วมมือกับเครือข่ายโทรคมนาคมเพื่อขอดาต้า สหรัฐฯ เลือกที่จะใช้ดาต้าจากธุรกิจโฆษณาออนไลน์แทน
โลกตะวันตกอาจมีเส้นแบ่งเรื่องของการละเมิดสิทธิมนุษยชน แต่โลกตะวันออกนำระบบนี้มาใช้เข้มข้นกว่ามาก ยกตัวอย่างเช่น เกาหลีใต้ ซึ่งเก็บข้อมูลโลเคชันของผู้ติดเชื้อแบบรายบุคคล สืบละเอียดว่าเคยเดินทางไปที่ไหนมาบ้าง หรือ ไต้หวัน ที่จะติดตามโลเคชันบนมือถือของผู้ที่ถูกสั่งกักตัวในบ้าน เมื่อใดก็ตามที่บุคคลนั้นออกจากบ้าน จะมีสัญญาณแจ้งเตือนไปที่เจ้าหน้าที่ทันที (อ่านรายละเอียดทั้งหมดที่ 10 ประเทศที่ติดตาม “ดาต้ามือถือ” ประชาชน เช็กประวัติเดินทางเพื่อรับมือไวรัส COVID-19)