ทางออกของทั้ง SONY, AMAZON และผู้ให้บริการคอนเทนด์รายอื่นๆ

ยอมกำไรต่อหน่วยลดลง แต่ปริมาณที่ขายได้มากขึ้น ทั้งในส่วนของตัวเองและในส่วนของสำนักพิมพ์ เพื่อที่จะได้สิทธิ์ในการขายในแอพฯ เพราะถ้าลูกค้าสามารถซื้อหนังสือได้จากในแอพฯ เลยทันที ก็จะเป็นการเพิ่มโอกาสในการซื้อให้สูงมากยิ่งขึ้น ซึ่งปัจจัยการซื้อง่ายนี้ เป็นปัจจัยสำคัญที่สุดข้อหนึ่งที่ทำให้แอพฯ มียอดขายจากการดาวน์โหลดที่สูงมาก ลักษณะคือ กำไรต่อหน่วยลดลง แต่ชดเชยด้วยปริมาณการขายที่สูงขึ้นมาก

เปลี่ยนแปลง “Customer Journey” ของลูกค้า หาทางพาลูกค้าไปซื้อจากหน้าร้านที่เป็นเว็บไซต์ แล้วค่อยมาอ่านคอนเทนต์บนแอพฯ ซึ่งวิธีนี้ เป็นวิธีที่ Amazon Kindle ใช้อยู่ในปัจจุบัน ซึ่งมีข้อเสียคือ ขั้นตอนจะยากมากยิ่งขึ้น และอาจจะเป็นอุปสรรคจนทำให้ไม่อยากซื้อ เพราะ “Customer Journey” ที่ซับซ้อนมากขึ้น แต่ไม่ต้องแบ่งรายได้ให้ใคร รับไปเต็มๆ

เจรจา Business Model กันใหม่ เพื่อขอปรับเรื่องส่วนแบ่งรายได้ อาจจะขอให้แบ่งส่วนแบ่ง 10% ก่อนในการดาวน์โหลด 1,000 ครั้งแรก และจะค่อยๆ ขึ้นทีละ 5% เพื่อยอดดาวน์โหลดเพิ่มขึ้นทีละ 1,000 ครั้ง หรือจะเป็นในลักษณะตรงข้าม คือ ยิ่งโหลดมาก ยิ่งแบ่งน้อยลง แต่ยอมแบ่งมากๆ ในตอนแรก

อำนาจต่อรองของ Apple

การควบคุมแพลตฟอร์ม iOS ทั้งหมดไว้ในมือ มีฐานผู้ใช้มากกว่า 100 ล้านเครื่องทั่วโลก อาจจะเรียกได้ว่าเป็น Potential Market ของเจ้าของคอนเทนต์และนักพัฒนาแอพฯ

แอพฯ สโตร์ ที่สร้างรายได้ในปี 2010 กว่า 1.1 พันล้านดอลลาร์

ยอดดาวน์โหลดบนแอพฯ สโตร์มากกว่า 10,000 ล้านครั้ง แสดงถึงพฤติกรรมผู้ใช้ iPhone , iPod Touch และ iPad ว่าดาวน์โหลดและซื้อแอพฯ มากขนาดไหน (ฐานลูกค้าที่มีความคุ้นเคยในระบบของ Apple

สมาชิก iTunes ที่มีบัตรเครดิตและพร้อมจ่ายเงินมากกว่า 150 ล้านบัญชีทั่วโลก

อำนาจต่อรองของผู้ให้บริการคอนเทนต์

มีฐานผู้ใช้รวมกันจำนวนมาก

เป็นเจ้าของแอพฯ ที่มีความนิยมสูง เพราะเป็นบริการที่นิยม

เจ้าของคอนเทนต์ที่อาจจะมีอำนาจต่อรองสูง เช่น ค่ายเพลงยักษ์ใหญ่ต่างๆ หรือ บริการยักษ์ใหญ่ อย่าง Netflix, Spotify, Rhapsody

เป็นส่วนหนึ่งในการสร้างความน่าสนใจให้เครื่อง iPhone และ iPad เพราะสร้างแอพฯ ที่คนใช้บริการเยอะๆ เหมือนช่วยสร้างความแตกต่างให้มากกว่าคู่แข่งมากยิ่งขึ้น