เยอรมนี ต้องการ ‘แรงงานมีทักษะ’ จากต่างประเทศ ‘4 เเสนคนต่อปี’ เเก้ปัญหาสังคมสูงวัย

รัฐบาลผสมชุดใหม่ของเยอรมนี มีความต้องการที่จะดึงดูดเเรงงานที่มีทักษะจากต่างประเทศ ปีละกว่า 4 เเสนคน เพื่อจัดการกับความไม่สมดุลทางประชากรเเละการขาดเเคลนเเรงงานในภาคธุรกิจสำคัญ ซึ่งเสี่ยงบั่นทอนการฟื้นตัวจากวิกฤตโควิด

ปัญหาขาดแคลนแรงงานที่มีทักษะ ทวีความรุนเเรงมากขึ้นในขณะนี้ ทำให้ชะลอเศรษฐกิจเยอรมนีลงอย่างรวดเร็ว” Christian Duerr ผู้นำพรรคร่วมรัฐบาล Free Democrats (FDP) กล่าวกับนิตยสารธุรกิจ WirtschaftsWoche

เราสามารถแก้ปัญหาแรงงานสูงวัยได้ โดยใช้นโยบายเข้าเมืองยุคใหม่ ที่จะนำแรงงานที่มีทักษะจากต่างประเทศ 400,000 คนเข้ามาให้ได้โดยเร็วที่สุด

รัฐบาลผสมชุดใหม่ของเยอรมนี ที่นำโดยพรรคโซเชียลเดโมแครตของนายกรัฐมนตรี Olaf Scholz เเละพรรค FDP รวมถึงพรรคกรีน มีความเห็นชอบร่วมกันในหลายประเด็นใหญ่ๆ อย่างการดึงดูดผู้เชี่ยวชาญจากประเทศที่อยู่นอกสหภาพยุโรป และเพิ่มค่าจ้างขั้นต่ำเป็นชั่วโมงละ 12 ยูโร (ราว 450 บาท) เพื่อดึงดูดให้คนเข้ามาทำงานในเยอรมนี

ด้านสถาบันเศรษฐศาสตร์เยอรมนี ประเมินว่า ในปีนี้กำลังแรงงานจะลดลงมากกว่า 300,000 คน เนื่องจากเเรงงานในวัยเกษียณมีมากกว่าเเรงงานอายุน้อยที่จะเข้าสู่ตลาดแรงงาน

เป็นเรื่องน่ากังวลเมื่อช่องว่างนี้ อาจจะเพิ่มขึ้นเป็นกว่า 650,000 คนในปี 2029 เเละจะส่งผลให้ปัญหาการขาดแคลนคนวัยทำงานในปี 2030 มีจำนวนถึง 5 ล้านคน โดยจำนวนการจ้างงานชาวเยอรมัน เพิ่มขึ้นเป็นเกือบ 45 ล้านคนในปีที่แล้ว แม้จะมีการระบาดของโควิด-19

หลังจากมีอัตราการเกิดต่ำมายาวนานหลายทศวรรษและการย้ายถิ่นฐานที่ไม่สม่ำเสมอ ทำให้กำลังแรงงานหดตัวลงเรื่อยๆ กลายเป็น ‘ระเบิดเวลาของระบบบำเหน็จบำนาญในเยอรมนี เมื่อพนักงานหนุ่มสาวมีจำนวนลดน้อยลง เเต่ต้องแบกรับภาระในการจัดหาเงินบำนาญให้กับผู้เกษียณอายุที่มีจำนวนมากขึ้น เเละเเนวโน้มว่าจะมีอายุยืนยาวมากขึ้นด้วย 

 

ที่มา : Reuters