ปี 2012 ดิจิตอลมาร์เก็ตติ้งเทรนด์มาแรงและชัดเจนในแบบที่แบรนด์ไม่ใช้ไม่ได้ ไม่ลองต้องเสียใจ ทำให้วงการดิจิตอลมาร์เก็ตติ้งได้เห็นงบโฆษณาขนาดใหญ่มากขึ้น โดยเฉพาะเม็ดเงินจากเทรนด์ใหญ่แบบ Mega Trend ที่จะเป็นกลยุทธ์ฮีโร่ช่วยให้แบรนด์บรรลุเป้าหมายได้ คือวิดีโอออนไลน์มาร์เก็ตติ้ง และโซเชี่ยลมีเดียแบบอินเตอร์แอคทีฟ โดยเฉพาะเฟซบุ๊ก
มีหลักฐานที่สนับสนุน คือคนรุ่นใหม่อยู่ในสื่อออนไลน์นานมากกว่าทีวี จนกลายเป็นสื่อที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคไปแล้ว ซึ่งงานวิจัยล่าสุดของนีลเส่นพบว่าคนไทยใช้อินเทอร์เน็ตเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และส่วนใหญ่ใช้เกือบทุกวัน และที่น่าสนใจคือค่าเฉลี่ยที่ออนไลน์ต่อสัปดาห์นั้น 16.6 ชั่วโมง ซึ่งแซงหน้าใช้เวลากับสื่อทีวีแล้วที่อยู่ที่ 10.9 ชั่วโมงเท่านั้น และกว่า 60% ดูรายการทีวี ดูรายการที่ตัวเองสนใจผ่านวิดีโออนไลน์
ขณะที่วิดีออนไลน์มาร์เก็ตติ้งได้ผ่านพิสูจน์ในปี 2011 มาแล้ว ด้วยจำนวนคนวิวหนังโฆษณา และไวรัลคลิปของบางแบรนด์เป็นล้านครั้ง ส่วนเฟซบุ๊กคนก็อยู่ในนี้นานขึ้น ด้วยค่าเฉลี่ยล็อกอินแล้วอยู่นาน 37 นาทีต่อครั้งต่อวัน
นี่คือเหตุผลที่ทำให้การใช้สื่อดิจิตอลปี 2012 ต้องรีเซต ปรับกลยุทธ์เพื่อจับลูกค้าให้อยู่ในเส้นทางที่พาวเวอร์ของสื่อดิจิตอลถูกใช้อย่างได้ผล ซึ่งไม่ใช่แค่สร้างการรับรู้สินค้า แต่คือการบอกต่อและรัก พร้อมจะปกป้องแบรนด์
กระแสนี้ทำให้เห็นเม็ดเงินเติบโตขึ้นอย่างชัดเจน โดยมีสินค้าแบรนด์ต่างๆ เริ่มกระหน่ำเทเม็ดเงินโฆษณาเข้ามาในสื่อออนไลน์มากขึ้น ซึ่ง “ศิวัตร เชาวรียวงษ์” นายกสมาคมผู้ดูแลเว็บไทย และกรรมการผู้จัดการ บริษัท เอ็มอินเตอร์แอคชั่น จำกัด เครือกรุ๊ปเอ็ม เอเยนซี่โฆษณาเบอร์ใหญ่ของวงการบอกว่าโดยภาพรวมเม็ดเงินในสื่อดิจิตอลเติบโตไม่ต่ำกว่า 30% หรือจากประมาณกว่า 2,000 ล้านบาทในปี 2011 เป็น 3,000 ล้านบาทในปี 2012
เม็ดเงินนี้กว่าครึ่งถูกใช้ไปในเว็บไซต์ต่างๆ ในรูปแบบเช่นการซื้อแบนเนอร์ และการใช้วิดีโอออนไลน์มาร์เก็ตติ้ง ที่เหลือจากนั้นประมาณ 30% ไปอยู่ที่เสิร์ชมาร์เก็ตติ้ง และ 10-20% เข้าไปในโซเชี่ยลมีเดีย โดยเฉพาะที่เฟซบุ๊ก ที่สองส่วนหลังนี้มีแนวโน้มเติบโตมากขึ้นเรื่อย ๆ เพราะกลุ่มธุรกิจเอสเอ็มอีต้องการถูกค้นให้เจอมากขึ้นและโซเชี่ยลมีเดียมีศักยภาพสร้างความผูกพันระหว่างแบรนด์กับกลุ่มเป้าหมายและเฉพาะเจาะจงได้มากขึ้น แถมยังต้นทุนต่ำกว่าการซื้อแบนเนอร์แบบเดิมๆ
จาก 2 Mega Trend นี้ทำให้วงการดิจิตอลมาร์เก็ตติ้งของไทยทั้งเอเยนซี่รายใหญ่จากอินเตอร์และเอเยนซี่อิสระของไทย ต่างโฟกัสพร้อมลุยเต็มที่ด้วยเทคโนโลยี และลูกเล่นความสร้างสรรค์ใหม่ๆ มารองรับ เพื่อบรรลุผลให้ได้ Play Like Share Buy และ Love อย่างไม่รู้จบ
การใช้เวลาบนสื่อออนไลน์ชาวเน็ตไทย |
– จำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในไทย 31% ของประชากรทั้งหมด |
ความถี่ในการใช้อินเทอร์เน็ต |
36% |
ใช้ทุกวัน |
52% |
ใช้หลายครั้งต่อสัปดาห์ |
9% |
สัปดาห์ละครั้ง |
3% |
1-2 ครั้งเดือน |
0.3% |
ใช้น้อยมาก |
เวลาที่ใช้กับสื่อต่างๆ ต่อสัปดาห์ |
อินเทอร์เน็ต |
16.6 ชั่วโมง |
ทีวี |
10.9 ชั่วโมง |
วิทยุ |
5.2 ชั่วโมง |
อ่านหนังสือพิมพ์ |
3.7 ชั่วโมง |
5 กิจกรรมฮิตที่ทำอย่างต่ำสัปดาห์ละครั้ง |
อีเมล |
85% |
ข่าว |
79% |
สื่อสารผ่านโซเชี่ยลเน็ตเวิร์ค |
74% |
อ่านคอมเมนต์เกี่ยวแบรนด์และสินค้า |
70% |
แชร์คอนเทนต์ |
69% |
การดาวน์โหลดวิดีโอออนไลน์ |
82% |
ทุกเดือน |
68% |
ทุกสัปดาห์ |
ช่องทางการดูรายการทีวี |
69% |
ดูรายการจากทีวี ตามเวลาที่ออนแอร์ปกติ |
33% |
ดาวน์โหลดจากอินเทอร์เน็ตจากแหล่งต่างๆ |
31% |
ทีวีออนดีมานด์เพื่อตามรายการที่พลาดไป |
30% |
อัดรายการไว้ |
3% |
บอกฉันไม่ดูทีวี |
ดูอินเทอร์เน็พร้อมกับดูทีวี และฟังวิทยุ |
ใช้เน็ตพร้อมดูทีวี |
72% |
ใช้เน็ตพร้อมฟังวิทยุ |
43% |
ในโซเชี่ยลมีเดียที่มีคนแอคทีฟ หรือการใช้งานประจำ |
เฟซบุ๊ก |
56% |
4Shared |
43% |
YouTube |
39% |
โซเชี่ยลมีเดียช่วยการตัดสินใจของผู้บริโภค |
78% |
พูดคุย หรือโพสต์ความเห็นเกี่ยวกับแบรนด์ |
90% |
อ่านคอมเมนต์เกี่ยวกับแบรนด์ |
88% |
ดูวิดีโอออนไลน์เกี่ยวกับสินค้าบริการที่คิดว่าจะซื้อ |
ความคิดเห็นต่อโฆษณาออนไลน์ |
21% |
เห็นว่าโฆษณานั้นตรงกับความสนใจและความต้องการ |
20% |
รู้สึกดีถ้าโฆษณารู้ว่าฉันใช้อินเทอร์เน็ตยังไง หมายถึงทำให้เห็นโฆษณาที่เกี่ยวกับความสนใจของฉันจริงๆ |
19% |
โฆษณาบนเว็บที่มีประโยชน์ |
ที่มา : นีลเส่น ตุลาคม 2011 (สำรวจชาวดิจิตอลอายุมากกว่า 15 ปี ) |