Nielsen เคยทำการสำรวจความเชื่อของผู้บริโภคต่อโฆษณาในช่องทางหรือสื่อต่างๆ พบว่า ผู้บริโภคมีแนวโน้มที่จะเชื่อโฆษณาเพิ่มขึ้น นั่นคงเป็นเหตุผลว่าเพราะอะไรงบโฆษณาในแต่ละปีจึงแทบจะไม่เคยตกลงเลย ถ้าไม่เพิ่มขึ้นอย่างน้อยก็ทรงตัว แบรนด์ไหนใช้เงินติดอันดับท็อปเท็นก็มักจะไม่ค่อยยอมถอนตัว เพราะนั่นเท่ากับเปิดโอกาสให้คู่แข่งเข้ามาแทนที่ทันที แถมการจดจำในแบรนด์ก็อาจจะลดลงได้อีกด้วย
เปรียบเทียบระหว่างปี 2007 กับปี 2009 ที่ Nielsen ทำการสำรวจความเชื่อที่ผู้บริโภคมีต่อโฆษณาพบว่า ผู้บริโภคเชื่อโฆษณาแบบสนิทใจและเชื่อบางส่วนรวมกันเฉลี่ยเพิ่มสูงขึ้นประมาณ 10% ในทุกๆ ช่องทาง
ตัวชี้วัดนี้แสดงให้เห็นว่าโฆษณามีประสิทธิภาพและได้ผลมากขึ้นในทุกๆ สื่อ
แต่ถ้าแยกเป็นรายภูมิภาค และเลือกโฆษณาใน 3 ช่องทางหลักที่นิยมสูงสุด ได้แก่ โฆษณาทางโทรทัศน์ โฆษณาทางสื่อสิ่งพิมพ์ และโฆษณาออนไลน์ คนทั่วโลกเชื่อโฆษณาที่เห็นทางโทรทัศน์และสื่อสิ่งพิมพ์สูงพอๆ กัน ขณะที่โฆษณาออนไลน์ยังได้รับความวางใจไม่ถึงครึ่ง และมีสถิติต่ำกว่าความรู้สึกที่ไม่เชื่อถือโฆษณาในออนไลน์เลยที่มีอยู่สูงกว่า
cellpadding=”2″ cellspacing=”2″>
3 ช่องทางหลัก
style=”vertical-align: top; text-align: center; font-weight: bold;”>
ภูมิภาค
style=”vertical-align: top; text-align: center; font-weight: bold;”>โฆษณาทางโทรทัศน์
style=”vertical-align: top; text-align: center; font-weight: bold;”>โฆษณาทางสื่อสิ่งพิมพ์
style=”vertical-align: top; text-align: center; font-weight: bold;”>โฆษณาออนไลน์*
style=”vertical-align: top; text-align: center; font-weight: bold;”>เชื่อสนิท
style=”vertical-align: top; text-align: center; font-weight: bold;”>ไม่เชื่อเลย
style=”vertical-align: top; text-align: center; font-weight: bold;”>เชื่อสนิท
style=”vertical-align: top; text-align: center; font-weight: bold;”>ไม่เชื่อเลย
style=”vertical-align: top; text-align: center; font-weight: bold;”>เชื่อสนิท
style=”vertical-align: top; text-align: center; font-weight: bold;”>ไม่เชื่อเลย
style=”vertical-align: top; outline-color: navy ! important; outline-style: dashed ! important; outline-width: 2px ! important;”>*รวมถึงเสิร์ชเอ็นจิ้น
ซับสไคร์บอีเมล แบนเนอร์ และวิดีโอออนไลน์
July 2009.
ที่น่าดีใจสำหรับคนไทยก็คือ จากผลสำรวจเดียวกันนี้ 5 อันดับแรกของประเทศที่มีสถิติว่าเชื่อโฆษณาที่ดูสนิทใจในแต่ละช่องทาง ไม่มีประเทศไทยติดอันดับเลยสักช่องทางเดียว ขณะที่เพื่อนบ้านเราหลายประเทศติดท็อป 5 กันทั่วหน้า เช่น เวียดนามเชื่อโฆษณาจากเสิร์ชเอ็นจิ้น แบนเนอร์แอดและวิดีโอออนไลน์อันดับหนึ่ง มากกว่า 60% ในทุกช่องทาง กัมพูชาเชื่อทีวีอันดับหนึ่งสูงถึง 82% ฟิลิปปินส์เชื่อโฆษณาในสื่อสิ่งพิมพ์เป็นอันดับสาม
จากความรู้สึกต่อโฆษณาของคนทั่วโลก ซึ่งยังคงมีสัดส่วนความเชื่อในโฆษณานั้นๆ อยู่สูง จึงเป็นเหตุผลให้เจ้าของแบรนด์ทุ่มเทโฆษณาอย่างต่อเนื่อง แต่นอกจากเรื่องเชื่อไม่เชื่อ แบรนด์ไหนจะเป็นที่จดจำได้แค่ไหน เพราะอะไร ในช่วงปีที่ผ่านมา มีผลสำรวจ Consumer Vibes เดือนธันวาคม 2554 ที่ผ่านมา ซึ่งมายด์แชร์ ทำร่วมกับ TNS ทำสำรวจกับกลุ่มตัวอย่างทั่วประเทศอายุ 18-39 ปีจำนวน 300 ตัวอย่างในช่วง พ.ย. – ธ.ค. 2554 ถึงความรู้สึกว่าแบรนด์เหล่านี้มีภาพลักษณ์ต่อผู้บริโภคด้านใดมากที่สุด มาให้ดูกัน
cellpadding=”2″ cellspacing=”2″>
(รวมทุกสื่อ)
Pantene / Clinic / Samsung / Nokia / Mistine
ถ้าแยกเฉพาะกลุ่ม 3 แบรนด์แรกที่คนจำได้สูงสุดดังนี้
cellpadding=”2″ cellspacing=”2″>
style=”vertical-align: top; text-align: center;”>Out of
Home Ads (ในช่วง 1 เดือน)
ที่มา :ผลสำรวจ Consumer Vibes ที่มายด์แชร์ ทำร่วมกับ TNS
โตโยต้าใช้งบโฆษณาแต่ละไตรมาสในปีที่ผ่านมาไม่เท่ากัน โดยใช้สูงสุดในช่วงไตรมาส 3 และระดับการรับรู้โฆษณาโตโยต้าของผู้บริโภคก็ไต่ขึ้นสูงสุดในช่วงเดียวกันและรักษาระดับไว้ได้จนถึงช่วงปลายปี สิ่งที่ทำให้ผู้บริโภคจำโฆษณาโตโยต้าได้ดีเพราะตลอดปีที่ผ่านมาโตโยต้าใช้งบโฆษณาทั้งในส่วนของ Hilux Vigo และ Vigo Champ ซึ่งเพิ่งเปิดตัวในช่วงปีที่ผ่านมาด้วย
สื่อนิตยสาร (ในช่วง 1 เดือน)
กลุ่มสินค้าสกินแคร์และคอสเมติคส์ และเครื่องดื่มใช้เงินสูงสุด 28% และ 16% ตามลำดับ โดยมี Mistine เป็นโฆษณาที่คนจำได้เป็นที่หนึ่งของกลุ่มสกินแคร์และคอสเมติคส์ 5% ส่วนเนเจอร์กิฟ คว้าที่ 1 ของกลุ่มเครื่องดื่มไปครองสูงถึง 8%
สำหรับโฆษณาแบรนด์ที่คนจำได้ติดอันดับสูงสุดของไทย (ไม่จัดอันดับ) ได้แก่ โค้ก เป๊ปซี่ เลย์ส โตโยต้า แพนทีน ซันซิล ไทยประกันชีวิต และเมืองไทยประกันชีวิต และเมื่อพิจารณาแบบจับคู่ก็จะได้คู่ชกที่น่าสนใจตามนี้
Coke VS Pepsi
Coke ใช้เงินเยอะกว่า โดยเฉพาะช่วงไตรมาส 1 และ 2 แต่แอดอะแวร์เนสค่อนข้างคงที่
Pspsi สร้างการจดจำโฆษณาได้สูงในช่วงที่มีอีเวนต์ใหญ่ โดยมีแคมเปญที่ออกมาพร้อมกับอีเวนต์เป็นตัวช่วยที่ดี
Sunsilk VS Pantene
Sunsilk ใช้เงินเยอะกว่า การรับรู้ในโฆษณาสูงกว่าและสูงขึ้นต่อเนื่องตั้งแต่ไตรมาสแรกจนถึงไตรมาสสามก่อนจะค่อยๆ ตกลง การรับรู้เป็นผลจากการใช้ดาราเป็นพรีเซ็นเตอร์ร่วมกับช่างผมมืออาชีพจากทั่วโลก
Pantene แม้จะใช้งบโฆษณาจำนวนมากโดยเฉพาะในไตรมาสสองและสาม แต่ผลตอบรับด้านการรับรู้โฆษณาของผู้บริโภคกับต่ำกว่าที่ควร
ไทยประกันชีวิต VS เมืองไทยประกันชีวิต
ไทยประกันชีวิต ใช้งบโฆษณาสูงสุดในไตรมาสสามช่วงเปิดตัวภาพยนตร์โฆษณาเรื่องพ่อและยิงโฆษณาถี่ยิบ ทำให้เกิดแอดอะแวร์เนสพุ่งสูงไปจนถึงปลายปี เป็นการย้ำว่าโฆษณากินใจยังได้ใจและเป็นที่จดจำได้ดีของคนไทย
เมืองไทยประกันชีวิต จากเดิมระดับของแอดอะแวร์เนสเกาะติดกับคู่แข่งมาจนถึงไตรมาสสองก็ถูกไทยประกันฯพุ่งขึ้นทิ้งห่างออกไป ขณะที่โฆษณาของเมืองไทยฯเป็นที่จดจำได้น้อยลงในช่วงปลายปี
Lay’s ใช้งบซื้อสื่อสูงสุดในไตรมาส 2 และลดงบลงเหลือแค่ 1 ใน 8 ในไตรมาส 3 แต่ยังรักษาแอดอะแวร์เนสไว้ได้ดีระดับหนึ่ง เพราะมีแคมเปญคิดรสใหม่ให้เลย์ส เป็นตัวสร้างการจดจำให้กับผู้บริโภคอย่างต่อเนื่อง
ตบท้ายด้วยผลสำรวจ Brand of the Year ในใจของผู้บริโภคไทยในหมดต่างๆ ดังนี้
cellpadding=”2″ cellspacing=”2″>
of the Year
style=”vertical-align: top; text-align: center; font-weight: bold;”>ประเภทแบรนด์ที่
style=”vertical-align: top; text-align: center; font-weight: bold;”>อันดับหนึ่ง
(%)
style=”vertical-align: top; text-align: center; font-weight: bold;”>อันดับสอง
(%)
style=”vertical-align: top; text-align: center; font-weight: bold;”>อันดับสาม
(%)
ที่มา : ผลสำรวจ Consumer Vibes ที่มายด์แชร์ ทำร่วมกับ TNS